จิตคือพุทธะ (ถอดจากเสียงหลวงปู่ดูลย์)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 23 กันยายน 2009.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  2. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    ครับ..

    พอเห็นคุณบุญพิชิต..ยกตำแหน่ง..ไอ้ลูกกระจ๊อก..มาให้..ก็พลันไปนึกถึงเรื่องพราหมณ์คนหนึ่งเข้า..จำได้เลา ๆ

    พระท่านว่า..ธรรมดาพอมีแขกมาบ้านของท่าน(พราหมณ์)..ท่านต้องยกสำรับกับข้าวมาต้อนรับแขกใช่มัย?

    พราหมณ์..ใช่

    พระท่านว่า..สำรับกับข้าวนั้นเป็นของใคร?

    พราหมณ์..ของผมเอง

    พระท่านว่า..ถ้าแขกเขาไม่ได้ทาน..สำรับกับข้าวนั้นจะต้องเป็นของใคร?

    พราหมณ์..ก็ของ ๆ ผม ถ้าแขกไม่ทาน ผมก็เก็บใว้ทานเองนะซิ

    พระท่านว่า..เช่นกัน..คำด่าของพราหมณ์..เราไม่รับ..คำด่านั้นพราหมณ์ก็ต้องรับ(ทาน)กลับไปเอง..

    พราหมณ์..???

    คุณบุญพิชิต..ทำให้ผมเข้าใจเรื่องนี้..อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน..:cool:

    บางที..ก็ต้องขอบคุณคนบ้า..เหมือนกันนะ..เป็นหลักกิโลเมตรอย่างดี(deejai)
     
  3. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    พี่..จีโอขา อาทิตย์นี้อย่าลืมถูบ้าน ซักผ้า เอาขยะไปทิ้ง ถ้วยชามล้างให้สะอาด
    ป้อนนมลูก แล้วเย็นนี้ซื้อกับข้าวด้วย เผื่อน้องหิวจะได้กินเลย
    ห้ามขาดตกบกพล่องนะจ๊ะคนดี อีกอย่างอย่าทำตัวเกเรเหลวไหล
    เที่ยวแหย่ชาวบ้าน ชาวช่องเขานะ ลูกพี่ตัวเองเพี้ยนไปคนหนึ่งแล้ว

    พี่...จีโอขา น้องเตือนแล้วนะ เรื่องงานบ้านงานเรือน อย่ามัวเที่ยวไปเกเร
    ยั่วชาวบ้านเขานะ ถ้าเย็นนี้ไม่เรียบร้อย พี่ก็น่าจะรู้นะว่าผลจะเป็นอย่างไร
    ....แผลเก่ายังไม่หาย อยากได้แผลใหม่ก็ลองดู:'(
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อวิชชา หมายถึงความไม่รู้ในอริยสัจ คือ
    • ไม่รู้ในทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นตัวทุกข์ เช่นไม่รู้ความเกิด ความแก่ ความตาย ความผิดหวัง เป็นเป็นตัวทุกข์
    • ไม่รู้ในเหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเกิดมาจากตัณหาในจิตของตนเอง มิใช่เกิดจากผีสาง เทวดา มิใช่เกิดจากการบันดาล
    • ไม่รู้ในความดับทุกข์ ได้แก่ความไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเมื่อเกิดแล้วสามารถดับได้ โดยการกำจัดตัณหาให้หมดไป
    • ไม่รู้ในข้อปฏิบัติสำหรับดับทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นจะดับสนิทได้ด้วยมรรค 8 มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มิใช่ดับได้ด้วยการวิงวอนขอร้องให้คนอื่นช่วย
    กลุ่มโมหะ ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 4 อย่าง คือ
    • โมหะ เป็นความหลง หรือธรรมชาติที่ปิดความจริงของอารมณ์
    • อหิริกะ เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายในการทำผิดทางกาย วาจา ใจ
    • อโนตตัปปะ เป็นธรรมชาติที่ไม่กลัวเกรงต่อผลของบาป
    • อุทธัจจะ เป็นความฟุ้งซ่านหรือธรรมชาติที่จับอารมณ์ไม่มั่น<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>
    โมหะ แปลว่า ความหลง ความเขลา ความโง่ หมายถึงความไม่รู้ตามที่เป็นจริง เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งได้แก่อวิชชา นั่นเอง
    โมหะ เกิดจากความคิดเห็นที่ผิด จากการไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้ประจักษ์ในเรื่องนั้นๆ ให้ถ่องแท้ถี่ถ้วนก่อน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุให้ไม่รู้บุญไม่รู้บาป ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาป ชักนำให้ไปทำความชั่วความไม่ดีต่างๆ เช่น ประมาท ทะเลาะวิวาท แก่งแย่งชิงดี อวดดี เกียจคร้าน บ้ากาม อกตัญญู เชื่อง่าย หูเบา
    โมหะ กำจัดได้ด้วยปัญญา คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นประจักษ์ในสิ่งนั้นๆ


    โลภะ แปลว่า ความโลภ ความอยากได้ เป็นเป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ
    โลภะ เกิดจากตัณหาคือความทะยานอยากได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตหิวโหยอยากได้ เกิดความดิ้นรน อยู่ไม่เป็นสุข หากหยุดยั้งไม่ได้ก็จะเป็นต้นเหตุให้ดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่อยากได้มาสนองความต้องการ หรือเมื่อไม่ได้โดยวิธีชอบธรรมก็นำให้ไปทำความชั่วความไม่ดีงามต่างๆ เช่น ลักขโมย ทุจริต คอรัปชั่น โกง ปล้น จนถึงฆ่าคนตาย
    โลภะ เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งปวง คือเป็นตัวทำลายศีลธรรม มโนธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม สามัคคีธรรม ยุติธรรมและธรรมชาติ
    กลุ่มโลภะ ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 3 อย่าง คือ
    • โลภะ เป็นความอยากได้ ยินดี ติดใจ ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์
    • ทิฏฐิ เป็นธรรมชาติที่เห็นผิด
    • มานะ เป็นความอวดดื้อถือตัว<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>
    โทสะ แปลว่า ความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ทั้ง 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    โทสะ เกิดจากมานะคือความถือตัวถือตน ความรู้สึกว่าตัวเด่นกว่าเขา ตัวด้อยกว่าเขา หรือตัวเสมอกับเขา เมื่อถูกกระทบเข้าก็เกิดความไม่พอใจ เกิดโทสะขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วหากระงับไม่ได้ก็จะนำให้ทำความชั่วความไม่ดีต่างๆ เช่น ทะเลาะวิวาทกัน กลั่นแกล้งกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากัน เป็นเหตุให้ตัวเองเดือดร้อน โลกก็เร่าร้อน ขาดสันติภาพ อยู่กันอย่างเดือดร้อน หวาดระแวงกันและกัน
    โทสะ กำจัดได้โดย เมตตา คือการมีความรักปรารถนาดีต่อกัน<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>
    ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 3 อย่าง คือ
    • โทสะ เป็นธรรมชาติที่ประทุษร้ายหรือความโกรธ
    • อิสสา เป็นธรรมชาติที่ไม่พอใจในคุณสมบัติหรือคุณความดีของผู้อื่นหรือความอิจฉา
    • มัจฉริยะ เป็นธรรมชาติที่หวงแหนในสมบัติและคุณความดีของตนหรือความตระหนี่
    • กุกกุจจะ เป็นธรรมชาติที่รำคานใจในความชั่วที่ได้ทำแล้วและรำคานใจหรือร้อนใจทียังไม่ได้ทำความดี<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>

    โลภะโทสะโมหะ คือกิเลส

    กิเลส ๑๐

    กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ กิเลสาฯ
    ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กิเลส

    กิลิสฺสติ เอเตหีติ กิเลสาฯ
    สัมปยุตตธรรม (คือ จิตและเจตสิก) ย่อมเศร้าหมองด้วยธรรมชาติใด
    ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรมนั้น
    ชื่อว่า กิเลส

    สงฺกิเลเสตีตี สงฺกิเลโส วิพาธติ อุปปาเปติ จาติ อตฺโถ ฯ
    ธรรมเหล่าใดย่อมเศร้าหมอง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังกิเลส
    เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เร่าร้อน

    คำว่า กิเลส หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำให้หมองเศร้า
    หรือ เร่าร้อน
    ฉะนั้น จิต เจตสิก รูป ที่เกิดพร้อมกับกิเลสเหล่านั้น
    จึงมีความเศร้าหมองเร่าร้อนไปด้วย เพราะตามธรรมดาจิตใจและกิริยาอาการ
    ของบุคคลทั้งหลายนั้น ถ้าไม่ได้เกิดเกี่ยวข้องกับโลภะ โทสะ เป็นต้น แล้ว
    บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกว่าจิตใจสบาย รูปร่างหน้าตาผ่องใส ไม่มีความ
    เดือดร้อนแต่ประการใด เป็นที่สบายตา สบายใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น
    แต่ถ้าจิตใจของผู้ใดเกิดขึ้นโดยมีโลภะ โทสะ เป็นต้น เข้าเกี่ยวข้องผูกพัน
    ด้วยแล้ว จิตใจของผู้นั้นก็จะมีความเศร้าหมองเดือดร้อน รูปร่างหน้าตา
    ไม่ผ่องใสปรากฏขึ้น แล้วแต่กำลังของกิเลสนั้นๆ และย่อมเป็นที่
    ไม่สบายตาสบายใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรง
    เรียก โลภะ โทสะ เป็นต้น เหล่านี้ว่า กิเลส ดังมีวจนัตถะแสดงว่า

    กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ = กิเลสา (วา)
    กิลิสฺสติ เอเตหีติ = กิเลสา

    ธรรมชาติใด ย่อมทำให้เร่าร้อน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กิเลส หรือ
    สัมปยุตตธรรม คือ จิต เจตสิก ย่อมเศร้าหมองด้วยธรรมชาติใด
    ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรมนั้น
    จึงชื่อว่า กิเลส (ได้แก่ กิเลส ๑๐)


    รวมหมายความว่า กิเลสเป็นสภาพธรรม (คือ สภาพตามธรรมชาติ
    ก็คือเป็นธรรมชาตินั่นเอง - deedi) ที่เศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งยังให้สัตว์
    ทั้งหลายเศร้าหมองและเร่าร้อน

    กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ
    (๑) โลภกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖
    ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความยินดีพอใจในโลกียอารมณ์ต่างๆ
    องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิตก ที่ในโลภมูลจิต ๘
    (๒) โทสกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖
    ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความโกรธความไม่พอใจ
    องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
    (๓) โมหกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว
    ปราศจากสติสัมปชัญญะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง
    คือความหลง ความโง่ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก
    ที่ใน อกุศลจิต ๑๒
    (๔) มานกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความทระนงตนถือตัว
    ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความเย่อหยิ่งถือตัว
    องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
    (๕) ทิฏฐิกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตามความเป็นจริง
    ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความเห็นผิด
    องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
    (๖) วิจิกิจฉากิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความสงสัยลังเลใจในพระพุทธ พระธรรม
    พระสงฆ์ เป็นต้น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความสงสัยลังเลใจ
    ในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑
    (๗) ถีนกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร
    ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความหดหู่
    องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอุกศลสสังขาริกจิต ๕
    (๘) อุทธัจจกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
    ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความฟุ้งซ่าน
    องค์ธรรมได้แก่ องค์ธรรมได้แก่อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
    (๙) อหิริกกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำบาป
    ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความไม่ละอายต่อทุจริต
    องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอุกศลจิต ๑๒
    (๑๐) อโนตตัปปกิเลส
    เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวผลของการกระทำบาป
    ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อทุจริต
    องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒

    รวมกิเลสมี ๑๐ องค์ธรรมก็คงมี ๑๐ เท่ากัน ชื่อของกิเลสและชื่อของ
    องค์ธรรมก็ตรงกัน

    โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิและวิจิกิจฉา
    อนาคามิมัคค ประหาร โทสะ
    อรหัตตมัคค ประหาร กิเลสที่เหลือ คือ โลภะ โมหะ
    มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และ อโนตตัปปะ ได้ทั้ง


    อีกนัยหนึ่ง จำแนกกิเลสออกตามอาการของกิเลส
    ก็จำแนกได้ ๓ พวกคือ
    (๑)
    อนุสยกิเลส

    ได้แก่กิเลสที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน หมายความว่า
    กิเลสจำพวกนี้นอนสงบนิ่งอยู่ ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์
    ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ได้ และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
    (๒)
    ปริยุฏฐานกิเลส
    ได้แก่กิเลสที่เกิดอยู่ภายใน หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้เกิดอยู่ใน
    มโนทวารเท่านั้น คือ ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อยู่ในใจ ยังไม่ถึงกับ
    แสดงออกมาทางวาจาหรือทางกาย ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางที
    ก็รู้บางทีก็ไม่รู้
    (๓)
    วีติกกมกิเลส
    ได้แก่กิเลสที่เกิดขึ้นภายนอก หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้ได้ล่วง
    ออกมาแล้วถึงกายทวารหรือวจีทวาร อันเป็นการลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์
    อย่างโจ่งแจ้ง

    อุปกิเลส ๑๖

    เครื่องเศร้าหมองอีกนัยหนึ่ง มีชื่อว่า อุปกิเลส
    มีจำนวน ๑๖ คือ
    (๑) อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรมคือ โลภะ
    (๒) โทสะ ร้ายกาจ ทำลาย องค์ธรรมคือ โทสะ
    (๓) โกธะ โกรธ เดือดดาล องค์ธรรมคือ โทสะ
    (๔) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ องค์ธรรมคือ โทสะ
    (๕) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน องค์ธรรมคือ ทิฏฐิ
    (๖) ปลาสะ ตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน องค์ธรรมคือ มานะ
    (๗) อิสสา ริษยา องค์ธรรมคือ อิสสา
    (๘) มัจฉริยะ ตระหนี่ องค์ธรรมคือ มัจฉริยะ
    (๙) มายา มารยา เจ้าเล่ห์ องค์ธรรมคือ โลภะ
    (๑๐) สาเถยยะ โอ้อวด องค์ธรรมคือ มานะ
    (๑๑) ถัมภะ หัวดื้อ องค์ธรรมคือ มานะ
    (๑๒) สารัมภะ แข่งดี องค์ธรรมคือ มานะ
    (๑๓) มานะ ถือตัว องค์ธรรมคือ มานะ
    (๑๔) อติมานะ ดูหมิ่นท่าน องค์ธรรมคือ มานะ
    (๑๕) มทะ มัวเมา องค์ธรรมคือ โมหะ
    (๑๖) ปมาทะ เลินเล่อ องค์ธรรมคือ โมหะ

    จาก
    คู่มือการศึกษา สมุจจยสังคหวิภาค
    พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗

    ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร)
    และ
    ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๓ และ ปริจเฉทที่ ๗
    หลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะโท

    รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ

    นอกจาก ความพอใจและความไม่พอใจอันเป็นสังขารธรรมที่มองเห็นจากตันหาหรือความอยากที่ส่งต่อของสัญญาขันธ์ สังขารธรรมอื่นๆในฝ่ายอกุศลธรรมก้มีดังที่ยกมาไห้
    http://palungjit.org/threads/อาการและคุณสมบัติต่างๆของจิต-เจตสิก-๕๒.217784/
     
  5. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่าน..จีโอครับ อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมานะครับ
    ทำแบบผม บุญพิชิต นี้แหละ เห็นมั้ยตามตื้อตามรังคราญ
    ชวนทะเลาะเหมือนคนบ้า ผมยังไม่ใส่ใจถือสาเลย

    ข้อความด้านบนเป็นนิทานชวนหัวหรือครับ
    ขนาดไปลอกเขามา แบบไม่ต้องออกแรงคิด
    ยังทำได้ น่าขำ น่าดูถูกเสียจริงๆ

    .......มันมีด้วยรึ สมัยก่อนพราหมณ์เรียกตัวเองว่า.... ผม
    ฮิ...ฮิ....บัก..น้อยจีโอเอ๋ย
     
  6. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    พุทโธ่เอ๋ย! เห็นมาแหย่คนโน้นที่คนนี้ ที่ไหนได้ไม่ได้มีความรู้ในธรรมแม้
    ซักกระผีก ผมจะแนะนำให้นะครับท่าน จีโอเอาสั้นๆ ขี้เกียจอธิบายยาว ผม
    สีซอไม่เป็น เล่นได้แต่ไวโอลิน
    ท่านไปศึกษาที่ผมแนะแล้วค่อยมาคุยกันใหม่นะ
    .....อวิชาคือและมีอะไรบ้าง
    .....อริยสัจจ์สี่คือและมีอะไรบ้าง
    .....อารมณ์คือและมีอะไรบ้าง

    เอาเท่านี้ก่อน อ่านและทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน แล้วค่อยมา
    โพสท์ ไม่งั้นจะอายเขาเสียเปล่าๆนะ ท่านบัก..น้อยจีโอเอ๋ย
    (แล้วก็เลิกไร้สาระเสียที่มันเซ็งจริงๆคร้าบ)
     
  7. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    pig_balletcatt17
     
  8. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262

    รู้แค่จดจำได้..

    แต่ในใจ..บ๋อแบ๋..คิก..คิก..คิก(deejai)

    มันจะไปได้อะไร..คุณบุญพิชิต..

    ดูลักษณะที่คุณโพสต์มานี้..มันโชว์ตับ ไต ใส้ พุง คุณซะหมดแล้ว..

    เรียกว่า..พออ้าปาก..ก็มองทะลุถึง..ก้น

    แต่คนอ้ามันก็ไม่รู้ตัวนะ..มันไม่เห็นก้นตัวเองหรอก

    นี้งัย..ถึงว่า..น่าสงสารcatt23
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ก็คิดเอาไว้แล้วว่าไม่เข้าใจแน่นอน เพราะนี่ไม่ใช่ตำราอย่างแน่นอน ถึงมีก็ยังขัดกับความเข้าใจของคนอย่างบุญพิชิตแน่นอนจึง บอกไว้แล้วว่าไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร แต่มีหลายคนเข้าใจหลายท่านเข้าใจ แถมยิ่งฟุ้งซ่านเพ้อเจ้อไปกันใหญ่คิดว่าคนโน้นเหมือนคนนี้ แม้พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ยังระลึกบุญคุณของพระพุทธเจ้าทุกองค์ในกาลก่อน ยิ่งคุยก็รู้ว่าเด็กน้อยบุญพิชิต มีแต่ตำราแถมไม่เข้าใจ และก็ไม่ได้ปฏิบัติเพียงแต่ฟังมาเท่านั้นเอง แต่ก็นะคิดสิ่งดีๆเข้าไว้อย่าฟุ้งซ่านไปกว่านี้เลย ผมมีคนเดียวในนี้ไม่มีหลายคนอย่างที่คุณคิดหรือคุณอาจจะเคยทำจึงคิดว่าเป็นได้ มันไม่ใช่สำหรับผมถ้าเรื่องแค่นี้ผมยังกลัวอยู่ แล้วผมจะไปทำอะไรได้อีกมากมายเล่า ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เด็กน้อยบุญพิชิตเอ๋ย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2009
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แล้วพี่จะบวกธาตุรู้เข้าไปทำไมครับ พุทธพจน์หนึ่งจะใช้กับคนจริตหนึ่งๆเท่านั้นครับ การเพิ่มเติมนั้นก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของบุคคลอีกแบบหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นมีหลายลักษณะพระศาสดาทรงทราบดี จึงจำแนกธรรมตามความหยาบ และ ละเอียด ของจิตใจครับ มันคนละบทคนละตอนเอามารวมกันไม่ได้ครับ ความว่ามีธาตุรู้นั้นก็อีกบทอีกตอนหนึ่งอีกคัมภีร์หนึ่งครับ ไม่ใช่เหรอครับ นี่ตามความเข้าใจที่ผมศึกษามาครับ
     
  11. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ฮา..ฮา..ใครทำอะไรไว้มันฟ้องตัวเองอยู่แล้ว
    สาระความรู้ไม่มี ด้อยปัญญา ไม่รู้ไม่เข้าใจที่เขาแย้ง
    ก็พยายามแก้อาย แก้เขินด้วยการดึงไปในเรื่องไร้สาระ
    .....ผมจะเห็นก้นตัวเองได้งัย ไม่เหมือนใครบางคน
    ชอบมองของเหม็น แล้วเผอิญตาผมไปมองหน้ามอง
    ศีรษะท่านอยู่แต่แปลก ผมมองทะลุไปได้ เห็นมีแต่
    กระโหลกโล่งๆ ทำไมก้อนเนื้อสมองไม่มีครับ

    .....ท่านจีโอ ผมว่าเลิกไร้สาระแล้วมาเข้าประเด็น
    เรื่องความกลัวทีค้างไว้ดีกว่า ท่านอย่าทำหน้าตายเฉไฉ
    แกล้งเปลี่ยนเรื่อง ความกลัวถ้าไม่เป็นอวิชา แล้วมันเป็นอะไรครับ
    ถ้าไม่รู้ ทำไมไม่ส่งข้อความส่วนตัวไปถามลูกพี่ละ

    ......เลิกนอกเรื่องได้แล้ว ผมไม่เล่นด้วยแล้วนะรำคาญ
     
  12. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านเข่งครับผมขอบอกสั้นๆนะครับว่า ผมไม่เคยกลัวคนเก่ง หรือแม้แต่
    ผู้ทรงภูมิทั้งหลายเลยครับ จะมีก็ให้ความนับถือผู้อาวุโสเท่านั้น
    แต่ผมขอยอมรับเลยครับว่า ผมกลัวคนบ้า คนสติเพี้ยนๆครับ
    .....กับท่านในกระทู้นี้ผมพอก่อน รอจนสติสตังค์ท่านสมบูรณ์ดีแล้วค่อยคุยกันใหม่
     
  13. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เด็กน้อยบุญพิชิตผู้ไม่มีสติมาตั้งแต่แรก เที่ยวโฆษณาว่าตนนั้นมีความรู้มากมาย คิดโน้นคิดนี่เสียวุ่นวาย พอเจอและเห็นในสิ่งที่ตนยังรู้ได้ไม่ถึงก็กลายเป็นกล่าววาจา อันน่าฟัง ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมคงสวนไปด้วยวาจาเช่นเดียวกันแต่ สำหรับคนที่ไม่มีสติจะให้ได้หรือให้เสีย นั้นก็บอกได้อย่างเดียวเลยว่า ต้องฝึกอีกมากมายนัก เพราะผมคิดว่าท่านไม่มีสติเหลือพอจะคุยหรือพูดกับใครให้รู้เรื่องได้เลย เพราะความโง่มันบิดใจท่านเสียสิ้นแล้ว ก็คงมีแต่ท่านเท่านั้นแหละที่รู้ แต่สิ่งที่ท่านรู้ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเกิดขึ้นจริง แค่ตำราที่ใครๆก็หาอ่านเอาได้สมัยนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากเลย สติ จริงๆไม่ใช่แค่คำพูดว่ามีมากมายอย่างนั้นอย่างนี้แต่การกระทำนั้น ราวฟ้ากับเหว คงไม่ต้องพูดอะไรมากเพราะพูดไปท่านก็ไม่ได้ดูดีขึ้นเลย เด็กน้อยเอ๋ย สติ จริงๆยังไม่มีไม่เกิดจะไปดูอวิชชชา จะไปรู้ความเคลื่อนไปของจิตที่เกิดดับ ซึ่งเป็นสังขารธรรม นั้นมันตลกสิ้นดี และยิ่งตลกซ้ำเพราะดันหลงไปคิดว่าตนเองนั้นมีภูมิธรรมสูงส่งเสียนี่กระไร เอ่อๆๆๆๆ ถ้ายังไม่รู้จักสติและดูไม่ออกว่า การกระทำที่มีสติกับไร้สติมันต่างกันอย่างไร ก็คงต้องไปอยู่กับสิ่งที่เลือกเหล่านั้นแหละ เพราะไม่รู้ว่าได้การอบรมมาจากไหน แต่คงอยู่ที่ตนเองมากกว่า ไม่ใช่เพราะใครทั้งสิ้น เด็กน้อยบุญพิชิต ผู้หลงตัวหลงตนอีกคนหนึ่งในนี้
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    เพราะมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ ๖ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ และธาตุรู้
    ซึ่งต่างจากสรรพสิ่งอื่นๆในโลก ที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ(อากาศ...ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)

    เพราะมีธาตุรู้(จิต) มนุษย์จึงรู้อะไรได้
    สรรพสิ่งอื่นๆในโลก ไม่มีธาตุรู้(จิต) จึงรู้อะไรไม่ได้

    (smile) อ้างอิงจาก วิภังคสูตร

     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ขึ้นชื่อว่ามนุษย์แล้ว ล้วนต้องมีธาตุรู้ประกอบอยู่ด้วยกันทุกทั่วตัวคน
    คนที่ตายแล้วมีธาตุรู้มั้ย??? ก้อนหิน ดิน ทรายมีธาตุรู้มั้ย???
    ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนเป็นธาตุ๔ทั้งสิ้น ที่ไม่มีธาตุรู้(จิต)ครองอยู่ใช่มั้ย???

    การจำแนกธรรมที่หยาบหรือละเอียดนั้น ขึ้นอยู่กับภูมิธรรมภูมิจิตของตนเอง
    ที่ได้สะสมมาจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เริ่มต้น(ศีล) ท่ามกลาง(สมาธิ) เบื้องปลาย(ปัญญา)

    ไม่ว่าจะมีภูมิธรรมภูมิจิตแต่เก่าก่อนมาดีมากขนาดไหน ก็ต้องเดินตามเส้นทางนี้ทั้งนั้น ขาดอันใดอันหนึ่งมิได้

    จิตคือธาตุรู้
    ปุถุชน รู้ผิดจากความเป็นจริง ไม่รู้จักอริยสัจจ๔ ตามความเป็นจริง จึงเห็นเพียงแต่จิตสังขารเท่านั้น
    พระอริยสาวกนั้น รู้ถูก เห็นถูก รู้อริยสัจจ๔ตามความเป็นจริง
    จึงมีจิตที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลส เป็นอมตะธรรมอมตะธาตุ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกแล้ว....

    ;aa24
     
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ก็พุทธพจน์บทนี้ไม่ได้กล่าวไว้นี่ครับ แต่บทอื่นกล่าวไว้นี่ครับ และที่ไม่กล่าวก็เพราะต้องการให้พิจารณาถอดถอนไม่ใช่เหรอครับ และบทที่กล่าวที่พี่ทั้งสองนั้นยกมา ก็เพื่อให้รู้ว่าสัตว์บุคคลตัวตนนั้นประกอบขึ้นด้วยสิ่งใดไม่ใช่เหรอครับ
     
  17. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    คิก..ๆ...ๆ..

    ความกลัวถ้าไม่เป็นอวิชา แล้วมันเป็นอะไรครับ

    นี้ถือว่าเป็นคำถามนะครับ..

    ดูที่ท่าน albertalos โพสต์สิครับ..ก็จะรู้ว่า..อวิชชาแปลว่าความไม่รู้นะ..ไม่รู้ในอริยะสัจจสี่เท่านั้นนะครับ..

    แล้วมีตรงไหนที่มีคำว่ากลัวบ้างละครับ..

    และเจ้าอวิชชามันก็ไม่กลัวด้วย..ถ้ามันรู้จักกลัว..มันไม่มามีสังขารหรอก..

    มันโง่มันจึงไม่กลัว..มันคิดแต่จะมีนั้นมีนี้..เพียงเพราะคิดว่า..จะมีความสุข..แต่มันมองไม่เห็นทุกข์..

    อย่าง..อยากมีบ้าน..เพราะคิดว่าจะดีมีความสุข

    แล้วกว่าจะมีบ้าน..มันต้องทำยังงัยบ้าง..ดิ้นรนไม?..เหน็ดเหนื่อยแค่ไหนกว่าจะมีบ้านนะ..

    กว่าจะมี..ก็ต้องดิ้นรน..อาการที่ดิ้นรน..นี้มันสุข หรือ มันทุกข์..?

    เมื่อมีแล้ว..ต้องมั่นดูแลรักษาเช็ดถู..ต้องคอยดูแลนี้มันสุข..หรือ..มันทุกข์? (ถ้ามันสุขจากการต้องคอยดูแล..ก็ไปเช็ดถูบ้านทั้งวันไปเลยซิ..เห็นมัย)

    พอตัวตาย..ที่อุตส่าหามาทั้งชีวิต..ก็เอาไปไม่ได้..

    อยากสุข..กลับมัวแต่ไปทำแต่เหตุให้เกิดทุกข์..

    เห็นความโง่มัย..คุณบุญพิชิต..โง่ที่มาเหน็ดเหนื่อยกับสิ่งที่เอาไปไม่ได้..นะ

    นี้แหละลักษณะของอวิชชา..ละ

    เพราะอะไรหรือ..ก็เพราะมันไม่รู้ทุกข์..ไม่รู้เหตุของทุกข์

    นี้แหละ..จึงเรียกว่า..อวิชชา..ก็ความโง่ดี ๆ นี้แหละ

    แต่ผมว่า..ที่พูด ๆ มานี้..มันคงไม่เข้าถึงใจคุณบุญพิชิตหรอก..ผมว่า

    เพราะคุณ..กำลังบอด..คิดแต่จะเหน็บยังงัยถึงจะดี..นะซิ:cool::cool:
     
  18. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ธรรมภูต [​IMG]
    [​IMG]

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงเบื่อหน่าย คลายกำหนัดและพ้นไปในกาย อันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ได้. เพราะเหตุไร ? เพราะความก่อขึ้น ความสลายตัว การรวมตัว การแยกตัว ของกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ อันบุคคลเห็นได้. เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับจึงพึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและพ้นไปในกายนั้นได้."

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจ (มโน) บ้าง วิญญาณบ้าง อันใด,<SUP></SUP> บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และพ้นไปในธรรมชาตินั้นได้ เพราะเหตุไร ? เพราะธรรมชาตินัน อันบุถุชนผู้มิได้สดับ ฝังใจ ยึดถือ ลูบคลำ (ด้วยใจ) มานานแล้วว่า "นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา." เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และพ้นไปได้ในธรรมชาตินั้น."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงถือกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ว่า เป็นตนดีกว่า. การถือว่า จิตเป็นตนไม่ดีเลย. เพราะเหตุไร ? เพราะกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ นี้ ที่ตั้งอยู่ ๑ ปี, ๒ ปี, ๓ ปี, ๔ ปี, ๑๐ ปี, ๒๐ ปี, ๓๐ ปี, ๔๐ ปี, ๕๐ ปี, ๑๐๐ ปี แม้ตั้งอยู่เกิน ๑๐๐ ปี ก็ยังเห็นได้. แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ในกลางคืนกับกลางวัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งก็ดับไป."

    ผมว่าตรงส่วนสีเหลืองไม่ได้กล่าวอะไรเกินเลยอย่างที่พี่ทั้งสองเข้าใจเลยนะครับ คำว่าผู้ไม่ได้สดับหมายถึง ผู้ที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนธรรมฟังธรรมอยู่นอกเขตบวรพุทธศานา จะมีความละความยึดมั่นหรือยึดมั่นถือมั่นอยู่ในกายนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เพราะ เป็นสิ่งที่เห็นได้รู้ได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลไปตามกาลเวลา ยังชอบกว่าก็คืออย่างที่บอกคือเห็นได้ชัดเจนกว่า ซึ่งใจความสำคัญนั้นพี่ทั้งสองกลับมองไม่เห็น ว่าพระศาสดาตรัสว่า เอาของพี่ก็ได้ ที่ว่าจะเข้าไปถือครองเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ก็เพราะอะไรถึงไม่ใช่เรื่องที่ชอบละ เพราะมันไม่มีตัวมีตนไงครับ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป มองเห็นลูบคลำได้ยาก พระศาสดาจึงตรัสสอนไว้ดังนี้
    พึงถือกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ว่า เป็นตนดีกว่า. การถือว่า จิตเป็นตนไม่ดีเลย
    อีกอย่าง พระไตรปิฏกบางฉบับก็...นะผมว่าพี่ไปตรวจสอบสิ่งที่พี่เอามาโพสต์อีกทีครับว่า มันมีเหตุผลตรงตามจริงหรือเป็นเพราะความไม่รู้ของผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ครับ ขอร้องให้เช็คหลายๆที่ครับ เพราะหากศึกษาจากตำราที่คัดมาไม่ครบ หรือคัดลอกและแปลจากผู้ไม่เข้าใจอรรถเข้าใจธรรม มันก็ไม่ได้ทำให้ความเห็นถูกเกิดขึ้นได้ครับ อันนี้เรื่องจริง อย่างพุทธพจน์สองอันนี้ ระหว่างของที่พี่โพสต์มากับที่ผมโพสต์มานั้นมีความแตกต่างในความหมายด้วยบัญญัติอย่างเห็นได้ชัดเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2009
  19. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หรือบางทีพุทธพจน์จะให้ความหมายเดียวกันแต่เราเห็นความสำคัญของพุทธพจน์นั้นในทางที่ต่างกันก็อาจเป็นได้ครับ
    ส่วนองค์ประกอบของสัตว์บุคคลนั้นก็ตามนั้น และที่สำคัญเลย คือ ขันธ์๕ กับจิตนั้นเป็นของที่ต้องมีคู่กัน ไม่ใช่ขันธ์ ๕ มีที่จิต หรือ จิต มีขันธ์๕ มันเป็นองค์ประกอบที่อยู่ร่วมกันครับ เป็นธาตุรู้ คือ รับรู้สภาวะต่างๆไม่ใช่เหรอครับ ถ้าไม่มีขันธ์๕ ก็ไม่มีจิต นี่เป็นสภาพที่มองเห็นแบบไม่ใช่ปรมัตถ์ก่อน เพราะยังไม่ถึงความเป็นปรมัตถ์จึงควรเห็นตามนั้นไม่ใช่เหรอครับ ยิ่งตรงที่ขันธ์๕เกิดดับไปที่จิตนี่ยิ่งจะไปกันใหญ่นะครับ พิจารณาให้ดีๆอีกทีครับพี่ทั้งสอง พี่ธรรมภูตและพี่ธรรมสวณัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2009
  20. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านจีโอครับ ก่อนจะเริ่มการสนทนาผมขอบ่นอะไรหน่อยนะว่า เวรกรรมอะไร
    ไม่รู้ที่ต้องมาสนทนากับท่าน เห็นๆอยู่แล้วว่าท่านไม่ได้มีความเข้าใจใน
    ธรรมเลย ยิ่งเรื่องการพิจารณาธรรมยิ่งไปกันใหญ่ เอาละคิดว่าเป็นความซวย
    ของผมเอง ที่หลงไปตอแยกับท่าน โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่า ควร
    สนทนาด้วยหรือไม่


    .......เพราะการที่ท่านไม่เข้าใจในเรื่องธรรม ท่านเลยอ่านแต่หัวข้อใหญ่มา
    แล้วก็มาว่าตามนั้น ซึ่งในความเป็นจริงยังมีรายละเอียดอีกมากในนั้น
    อย่างเช่นไม่รู้อริยสัจจ์สี่ ไม่รู้ทุกข์,สมุทัย,นิโรธ,มรรค
    แล้วทั้งสี่ก็มีมีย่อยอีกในความหมายของมัน เช่นทุกข์คือความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจ แล้วอะไรบ้างละที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ไม่สบายกายไม่
    สบายใจ ความกลัวนี้ก็เป็นส่วนหนี่งที่เมื่อเกิดขึ้น มันย่อมทำให้ไม่
    สบายกายไม่สบายใจ หรือจะเรียกความกลัวเป็นเหตุแห่งทุกข์ก็ได้

    .....ฉะนั้นถ้าความกลัวเป็นเหตุแห่งทุกข์แล้ว จึงเรียกว่าสมุทัย

    ......สรุป อวิชาหรือความไม่รู้ในอริยสัจจ์สี่ในเรื่องความกลัวนี้ คือ
    ไม่รู้สมุทัยที่ทำให้เกิดทุกข์ คือความกลัวนั้นเอง

    .....แล้วผมได้บอกว่าตัวท่าน มีอวิชาในเรื่องความกลัว เพราะตัว
    ท่านกลัวเมียแล้วยังไม่รู้ตัวอีก(นี้เป็นการอธิบายย้อนนะ ไม่ได้แหย่บอกแล้ว
    ไม่เล่นด้วย ไม่ไร้สาระ)
    ท่านจีโอครับ ผมเคยบอกท่านให้อธิบายความยาวๆ ตอนนี้ผมเปลี่ยนใจแล้ว
    ครับ ท่านเอาแต่สั้นๆก็ได้เพราะ สิ่งที่ท่านอธิบายมา ผมรู้สึกระอายแทนกับ
    ภูมิปัญญาของท่านเสียเหลือเกิน

    ......ใครบอกท่านครับว่า อวิชาคือความโง่ ความไม่รู้กับความโง่
    มันเหมือนกันหรือครับ พูดมาได้ให้เข้าตัวเอง

    ....ในทางโลก การกระทำหรือไม่ทำสิ่งใดด้วยความไม่รู้ ก็คือความ
    ไม่รู้เป็นเรื่องปกติธรรมดาครับ แต่ถ้ารู้แล้วว่า ไม่ดียังทำ นั้นถึงเรียกว่าโง่ เข้าใจมั้ยครับ

    .......อวิชาในทางธรรม หมายถึงความไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริง
    ในสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วข้างบนครับ เอาเป็นว่ามันไม่เกี่ยวอะไรกับ
    ความโง่ความแง่อะไร ที่ท่านนำมาสาธยายเสียเป็นคุ้งเป็นแคว
    อันที่จริงจะเรียกสาธยายก็ไม่ถูก ต้องเรียกว่า มาบ่นพิราบรำพรรณ
    ถึงชีวิตตัวเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...