เรียนถามธรรมะ จากท่านผู้รู้(๓)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย paradin, 23 กรกฎาคม 2006.

  1. paradin

    paradin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +7
    อะไรคือ บุญกริยาวัตถุ๑๐ มีอะไรบ้าง
    แต่ละอย่างทำอย่างไรจึงจะทำได้จนเป็นนิสัย
    แต่ละอย่างทำแล้วจะได้อะไรบ้าง
     
  2. กิมท้ง

    กิมท้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +165
    [​IMG]

    พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ
    ลักษณะของบุญ<O:p</O:p

    บุญ คือ อะไร? บุญคือสภาพที่ทำจิตใจให้สะอาดให้ผ่องใส ฉะนั้น ลักษณะของบุญในความหมายแรกนี้ จึงหมายถึงสภาพของจิตหรือคุณภาพของจิตที่ผ่องใส<O:p></O:p>
    อีกอย่างหนึ่ง บุญ หมายถึง ความสุข ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" ฉะนั้น ลักษณะของบุญในความหมายที่สองนี้ จึงหมายถึงความสุขความเจริญ<O:p></O:p>
    อีกอย่างหนึ่ง บุญ หมายถึง การทำความดี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "พึงสั่งสมบุญ ทั้งหลาย อันจะนำความสุขมาให้" ฉะนั้น ลักษณะของบุญในความหมายที่ ๓ นี้ หมายถึงการทำดี เช่น การให้ทาน การรักษาศีล เป็นต้น<O:p></O:p>
    *ดังนั้น บุญจึงมีลักษณะ ๓ ประการ คือ<O:p></O:p>
    ๑. เมื่อว่าถึงเหตุของบุญ บุญ ได้แก่ การทำความดี<O:p></O:p>
    ๒. เมื่อว่าถึงผลของบุญ บุญ ได้แก่ ความสุขความเจริญ<O:p></O:p>
    ๓. เมื่อว่าถึงสภาพของจิต บุญ ได้แก่ จิตใจที่ผ่องใสสะอาด<O:p></O:p>
    แม้ลักษณะของบาปก็มีนัยตรงกันข้ามกับลักษณะของบุญ การเข้าใจเรื่องบุญจะต้องเข้าใจลักษณะของบุญทั้ง ๓ ประการนี้ ถ้าเข้าใจเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ชื่อว่ายังเข้าใจบุญไม่ตลอด เช่น บางคนเข้าใจบุญเพียงแต่เหตุของบุญ เช่นว่า คนนี้ทำบุญด้วยการให้ทาน ส่วนคนโน้นทำบุญด้วยการรักษาศีล เป็นต้น นี้เข้าใจเพียงแต่เหตุของบุญเท่านั้น<O:p></O:p>
    บางคนเข้าใจบุญเพียงแต่ผลของบุญ เช่นว่า "คนนั้นมีความสุข เพราะเขามีบุญ" นี้เข้าใจเพียงผลของบุญเท่านั้น<O:p></O:p>
    บางคนเข้าใจบุญเพียงแต่สภาพของจิตที่ผ่องใส เช่นว่า "คนนั้นจิตใจของเขาสะอาด มีเมตตากรุณา เพราะเขาเป็นคนใจบุญ" นี้เข้าใจเพียงสภาพจิตที่สะอาดผ่องใสเท่านั้น<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น การทำความเข้าใจเรื่องบุญในพระพุทธศาสนา เราจะต้องเข้าใจถึงลักษณะของบุญทั้ง ๓ ประการดังกล่าวแล้ว จึงจะชื่อว่าเข้าใจบุญได้ทั้งหมดและถูกต้อง<O:p></O:p>

    บุญกิริยาวัตถุ<O:p></O:p>

    บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า หลักแห่งการบำเพ็ญบุญ หรือ ที่ตั้งแห่งการทำบุญ <O:p></O:p>
    บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ อย่าง คือ<O:p></O:p>
    ๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน<O:p></O:p>
    ๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล<O:p></O:p>
    ๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา<O:p></O:p>
    หมายความว่า วิธีหรือหลักแห่งการทำบุญในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดโดยย่อแล้วก็มีเพียง ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล และภาวนา<O:p></O:p>
    *แต่ถ้าขยายความให้กว้างออกไป <O:p></O:p>
    *บุญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ประการ คือ*<O:p></O:p>
    ๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน<O:p></O:p>
    ๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล<O:p></O:p>
    ๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา<O:p></O:p>
    ๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่<O:p></O:p>
    ๕. เวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ<O:p></O:p>
    ๖. ปัติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ<O:p></O:p>
    ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญ<O:p></O:p>
    ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม<O:p></O:p>
    ๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม<O:p></O:p>
    ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง<O:p></O:p>
    การทำบุญในพระพุทธศาสนา มี ๑๐ อย่างนี้เท่านั้น ไม่ได้มากไปกว่านี้ ถ้านอกไปจากนี้ก็ไม่ใช่บุญในพระพุทธศาสนา<O:p></O:p>
    บุญกิริยาวัตถุ ๓ ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ปรากฏในคัมภีร์รุ่นหลัง ๆ คือ อรรถกถาทีฆนิกาย และอภิธัมมัตถสังคหะ การที่ท่านขยายบุญกิริยาวัตถุออกเป็น ๑๐ ก็เพื่อให้เข้าใจหลักการทำบุญในพระพุทธศาสนาชัดเจนยิ่งขึ้น<O:p></O:p>
    คำว่า "มัย" ที่ต่อท้ายบุญกิริยาวัตถุทุกข้อนั้น มาจากคำบาลีว่า "มะยะ" แปลว่า "สำเร็จหรือเกิด" เช่น ทานมัย บุญสำเร็จจากการให้ทาน หรือบุญเกิดจากการให้ทาน<O:p></O:p>
    ขยายความบุญกิริยาวัตถุ ๑๐<O:p></O:p>
    ในการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนานั้น บางคนก็ทำถูก เพราะเข้าใจในการทำบุญและทำด้วยความมั่นใจเพราะเห็นว่าเป็นบุญ เป็นกุศล เป็นความดี หรือเป็นกรรมดี จึงทำ แม้จะสิ้นเปลือง เหน็ดเหนื่อยลำบาก และใช้เวลานานเพียงไร ก็ยินดีทำ เพราะเห็นชัดว่าการทำบุญนี้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นเป็นอันมาก<O:p></O:p>
    แต่บางคนไม่เข้าใจเรื่องบุญ หรือหลักการทำบุญ หรือเข้าใจเพียงบางส่วน เพราะไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจ เมื่อผู้อื่นบอกให้ทราบหรือบอกให้ทำอย่างใดก็ทำอย่างนั้น หรือเห็นเขาทำก็ทำบ้าง แต่ไม่เข้าใจในเรื่องของบุญ หรือเข้าใจเพียงบางส่วน อาจจะผิดหรือถูกก็ไม่รู้แน่ <O:p></O:p>
    บางคนก็ทำด้วยความงมงายและถูกหลอกลวง เพราะไม่รู้หลักการทำบุญที่ถูกต้อง พุทธศาสนิกชน ส่วนใหญ่จะเข้าใจเรื่องการให้ทานมากกว่าการทำบุญอย่างอื่น แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยที่ถูกหลอกลวง หรือให้ทานอย่างผิดหลักและได้ผลน้อย<O:p></O:p>
    ฉะนั้น จึงควรศึกษาให้เข้าใจถูกต้อง ในเรื่องการทำบุญในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะหลักการทำบุญ ๑๐ อย่าง ที่เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ เพราะถ้าเข้าใจหลักการทำบุญ ๑๐ อย่างนี้แล้วก็จะได้ทำบุญหรือสร้างความดีอย่างถูกต้อง ไม่งมงาย และได้ผลมาก ไม่เสียทีที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นับถือพระพุทธศาสนา<O:p></O:p>

    ๑. ทานมัย บุญที่เกิดจากการให้ทาน<O:p></O:p>

    การให้ทาน คือ การให้เป็นวัตถุสิ่งของของตนแก่ผู้อื่น เป็นบุญชนิดหนึ่ง เรียกว่า บุญ เกิดจากการให้<O:p></O:p>
    จุดมุ่งหมายของการให้ทานของคนเรามีหลายอย่าง เช่น<O:p></O:p>
    ๑. ให้เพื่อบูชาคุณ เช่นให้แก่พระสงฆ์ พ่อแม่ หรือครูอาจารย์ ผู้มีคุณแก่คนและสังคมโดยส่วนรวม<O:p></O:p>
    ๒. ให้เพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น มอบเงินทองหรือสิ่งของให้แก่พระศาสนา หรือเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ประเทศชาติ<O:p></O:p>
    ๓. ให้เพื่ออนุเคราะห์ เช่น ให้ญาติพี่น้อง ลูกหลาน ผู้น้อย เพื่อช่วยเหลือ หรือให้ด้วยความรักความเอ็นดู<O:p></O:p>
    ๔. ให้เพื่อสงเคราะห์ เช่น ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก คนประสบภัยพิบัติ หรือแก่ สัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น<O:p></O:p>
    ๕. ให้เพื่อชำระกิเลส เพื่อสร้างความดี เช่น ให้ทานเพื่อสำเร็จมรรคผล หรือ การบำเพ็ญทานบารมีของพระพุทธเจ้าเพื่อสำเร็จพระโพธิญาณ<O:p></O:p>
    แต่การให้ดังต่อไปนี้ ไม่จัดเป็นทาน คือ ให้ยาพิษ ให้น้ำเมา ให้ของเสพติดให้โทษ ให้สินบน ให้ค่าจ้าง ให้อาวุธเพื่อฆ่าตนเองหรือฆ่าผู้อื่น เพราะไม่ใช่ให้ด้วยกุศลจิต<O:p></O:p>
    การให้ทานทุกชนิด ย่อมมีผลทั้งสิ้น แม้แต่บุคคลเทน้ำลงในหลุมหรือบ่อเล็ก ๆ ด้วยหวังว่าจะให้สัตว์เล็ก ๆ ได้อาศัยน้ำนั้นเป็นอยู่ พระพุทธองค์ยังตรัสว่า เป็นบุญ ไม่จำเป็นต้องพูด ถึงทานที่ให้แก่มนุษย์ แต่ทานที่จะให้ผลมากได้นั้น ก็ต้องเป็นทานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้<O:p></O:p>
    ๑. ของที่ให้ทานนั้น เป็นของที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ไม่ใช่ของโกง หรือลักจากผู้อื่นมา<O:p></O:p>
    ๒. ของที่ให้นั้น เป็นของดี ของบริสุทธิ์ หรือของมีค่ามาก<O:p></O:p>
    ๓. ปฏิคาหกผู้รับทาน เป็นผู้มีคุณธรรมสูง หรือกิเลสเบาบาง ปฏิบัติเพื่อทำลายกิเลส หรือปราศจากกิเลส<O:p></O:p>
    ๔. ให้แก่สงฆ์ คือ เป็นสังฆทาน<O:p></O:p>
    ๕. ทายกผู้ให้มีใจเลื่อมใส ในกาลทั้ง ๓ คือ<O:p></O:p>
    ๑. ปุพพเจตนา ก่อนแต่ให้มีใจยินดี<O:p></O:p>
    ๒. มุญจนเจตนา กำลังให้มีใจเลื่อมใส<O:p></O:p>
    ๓. อปรเจตนา ให้เสร็จแล้วมีใจเบิกบาน<O:p></O:p>
    ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า<O:p></O:p>
    ปุพฺเพว ทานา สุมโน ททํ จิตฺตํ ปสาทเย<O:p></O:p>
    ทตฺวา อตฺตมโน โหติ เอสา ยญฺญสฺส สมฺปทา.<O:p></O:p>
    ทายกผู้ให้ทานนั้น ก่อนให้ก็มีใจยินดี กำลังให้ก็ทำ<O:p></O:p>
    ใจให้เลื่อมใส ให้เสร็จแล้วก็มีใจเบิกบาน ข้อนี้ คือ<O:p></O:p>
    ความสมบูรณ์ของยัญ (ทาน).<O:p></O:p>
    ทาน กับ จาคะ<O:p></O:p>
    การให้ทานในพระพุทธศาสนา บางครั้งเรียกว่า การบริจาค แต่บางทีก็พูดรวมกันว่า บริจาคทาน<O:p></O:p>
    แท้ที่จริง ทาน ก็คือการบริจาคหรือจาคะนั้นเอง เป็นเพียงแต่ว่า ถ้าพูดแยกกัน ทานก็มีความหมายอย่างหนึ่ง จาคะก็มีความหมายอย่างหนึ่ง คือ<O:p></O:p>
    ทาน หมายถึง การให้ โดยหวังผลตอบแทน เช่น หวังให้ร่ำรวย หวังให้รูปสวย หรือหวังให้เกิดในสวรรค์ เป็นต้น<O:p></O:p>
    ส่วน จาคะ หรือการบริจาค หมายถึง การสละ คือสละกิเลส สละความตระหนี่ถี่เหนี่ยวของตน สละความเห็นแก่ตัว สละความสุขส่วนตัว เพื่อส่วนรวม เช่น พระพุทธเจ้าทรงบริจาคทาน เพื่อมุ่งสำเร็จพระโพธิญาณ เพื่อตรัสรู้ มุ่งรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์<O:p></O:p>
    แต่ถ้าพูดถึงทานอย่างเดียว ไม่พูดถึงการบริจาค จาคะ หรือการบริจาคก็รวมลงในทานอย่างเดียว คือ ทาน หมายถึงการบริจาคด้วย แต่ถ้าพูดแยกกัน อย่างในทศพิธราชธรรม พูดถึงเรื่องทานด้วย พูดถึงการบริจาคด้วย ทานก็มีความหมายอย่างหนึ่ง บริจาคก็มีความหมายอย่างหนึ่ง ดังกล่าวข้างต้น<O:p></O:p>
    ผลของทานมีมาก ให้มนุษย์สมบัติก็ได้ ให้สวรรค์สมบัติก็ได้ ให้นิพพานสมบัติก็ได้ แต่โดยเฉพาะทำให้เป็นคนไม่ยากจน มีทรัพย์สมบัติ ทำให้มีบริวารมาก และเป็นที่รักของคนทั้งหลาย<O:p></O:p>

    ๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล<O:p></O:p>

    ศีล หมายถึง การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย ศีล แปลได้ ๓ อย่าง คือ<O:p></O:p>
    ๑. ศีล แปลว่า "ปกติ" คือ ทำกาย และวาจาให้เป็นปกติให้เรียบร้อย ไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด<O:p></O:p>
    ๒. ศีล แปลว่า "เย็น" คือ ทำให้คนเยือกเย็น ทำให้เย็นกาย เย็นใจ ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะขาดศีล<O:p></O:p>
    ๓. ศีล แปลว่า "เกษม" คือ ปลอดภัย ทำให้เบากายเบาใจ<O:p></O:p>
    ศีลมีหลายประเภท คือ<O:p></O:p>
    ๑. ศีล ๕ หรือ ศีลกรรมบถ สำหรับคนทั่วไป<O:p></O:p>
    ๒. ศีล ๘ หรือ ศีลอุโบสถ สำหรับอุบาสกอุบาสิกา<O:p></O:p>
    ๓. ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร<O:p></O:p>
    ๔. ศีล ๒๒๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔ สำหรับพระภิกษุ<O:p></O:p>
    การรักษาศีลต้องมีเจตนาจึงจะเป็นศีลได้ ถ้าไม่มีเจตนาจะงดเว้นหรือจะรักษาศีลแล้ว แม้ผู้นั้นไม่ทำความชั่ว เช่น ไม่ฆ่าสัตว์หรือไม่ลักทรัพย์ เป็นต้น ก็ไม่มีศีล เหมือนเด็กที่นอนแบเบาะ แม้ไม่ทำชั่วก็ไม่ก็ไม่มีศีล เพราะไม่มีเจตนาจะงดเว้น หรือเหมือนอย่างวัวควาย แม้มันไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ก็ไม่มีศีล เพราะไม่มีเจตนาจะงดเว้น<O:p></O:p>
    การที่จะมีศีลได้ก็ต้องมีวิรัติ คือมีเจตนาที่จะงดเว้นจากโทษนั้น ๆ<O:p></O:p>
    วิรัติ ๓<O:p></O:p>
    วิรัติ แปลว่า การงดเว้น มี ๓ อย่าง คือ<O:p></O:p>
    ๑. สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทาน เป็นวิรัติของปุถุชนทั่วไป เช่น สมทานศีล ๕ สมาทานศีล ๘ เป็นต้น<O:p></O:p>
    ๒. สัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เป็นวิรัติของผู้ที่ไม่ตั้งใจจะรักษาศีลมาก่อน คือ คนบางคนไม่ตั้งใจว่าจะรักษาศีล แต่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นจำเพาะหน้าอันอาจจะให้ล่วงศีลได้ แต่ไม่ยอมล่วงศีล เกิดงดเว้นขึ้นมาในขณะนั้น <O:p></O:p>
    เช่น มีโอกาสจะฆ่าสัตว์ หรือฆ่าคนได้ แต่ไม่ฆ่า หรือมีโอกาสจะลักของของคนอื่นได้แต่ไม่ลัก หรือมีโอกาสจะประพฤติผิดในกามได้ แต่ไม่ยอมประพฤติผิดในกาม โดยมาคำนึงว่า การกระทำเช่นนี้ไม่เหมาะไม่ควรแก่ฐานะ และสกุลของตนอย่างตนเอง จึงงดเว้นเสียในขณะนั้น การงดเว้นอย่างนี้ ท่านเรียกว่า สัมปัตตวิรัติ<O:p></O:p>
    ๓. สมุจเฉทวิรัติ งดเว้นได้เด็ดขาด เป็นวิรัติของพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป คือ พระอริยบุคคลทุกจำพวกมีศีล ๕ บริบูรณ์ที่สุด ท่านงดเว้นจากเวร ๕ ได้เด็ดขาด โดยไม่ต้องสมาทาน หรือคอยพะวงรักษา เพราะท่านเห็นโทษของการประพฤติล่วงศีลอย่างแท้จริง <O:p></O:p>
    แม้ใครจะมาบังคับให้ท่านประพฤติล่วงศีล ๕ ท่านยอมตายเสียดีกว่าที่จะประพฤติล่วง การละความชั่วในขั้นนี้ของท่านจึงเป็นสมุจเฉทปหาน คือ ละได้เด็ดขาด หรือเป็นสมุจเฉทวิรัติ คืองดเว้นได้เด็ดขาด<O:p></O:p>
    อานิสงส์ของศีล<O:p></O:p>
    ศีลมีอานิสงส์เป็นอันมาก เช่น ทำให้เป็นที่รักเป็นที่เคารพของคนทั้งหลาย อยู่ในสังคมอย่างสงบสุข ไม่ก่อเวรก่อภัยต่อผู้ใด ทำให้เป็นคนสง่างาม มีผิวพรรณผ่องใส แต่กล่าวโดยสรุปอานิสงส์ของศีล มี ๓ อย่าง ดังคำพระบาลีบอกอานิสงส์ของศีลว่า<O:p></O:p>
    ๑. สีเลน สุคฺตึ ยนฺติ บุคคลจะไปสู่สุคติได้ก็เพราะศีล<O:p></O:p>
    ๒. สีเลน โภคสมฺปทา บุคคลจะได้โภคทรัพย์สมบัติได้ก็เพราะศีล<O:p></O:p>
    ๓. สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ บุคคลจะดับทุกข์ความเดือดร้อนจนเข้าถึงพระนิพพานได้ก็เพราะศีล<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ทุกคนควรรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไว้เถิด ก็จะรับอานิสงส์ดังกล่าวแล้วในที่สุดได้<O:p></O:p>

    ๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา<O:p></O:p>

    ภาวนา เป็นหลักธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา หมายถึง การอบรมจิต หรือ การพัฒนาจิต คือ ทำจิตให้มีค่าสูง ได้แก่ ทำจิตให้สะอาด สงบ สว่าง <O:p></O:p>
    ภาวนา มี ๒ อย่าง คือ<O:p></O:p>
    ๑. สมถภาวนา การทำใจให้สงบ เป็นหลักธรรมขั้นสมาธิ<O:p></O:p>
    ๒. วิปัสสนาภาวนา การทำใจให้รู้แจ้งเห็นจริงจนตัดกิเลสได้หมด เป็นหลักธรรมขั้นปัญญา<O:p></O:p>
    ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ถ้าไม่ได้เจริญหรือบำเพ็ญภาวนาจนจิตของตนเกิดความสงบ เยือกเย็น เห็นคุณค่าของพระศาสนาในด้านนี้แล้ว ชื่อว่ายังไม่รู้จักพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เพราะธรรมขั้นทานและศีลนั้นแม้ในศาสนาอื่นก็มี ถึงจะไม่เหมือนกันก็ตาม<O:p></O:p>
    ในสมัยพุทธกาล เรียกการฝึกจิตว่า ภาวนา หรือ จิตตภาวนา แต่ในสมัยต่อมา ศัพท์ทางพระพุทธศาสนาเปลี่ยนไป พุทธศาสนิกชน จึงเรียกการฝึกจิตว่า "กรรมฐาน" แทนที่จะเรียกว่า "ภาวนา" คำว่า "กรรมฐาน" ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่ปรากฎในคัมภีร์อรรถกถา หรือ คัมภีร์รุ่นหลัง <O:p></O:p>
    คำว่า "กรรมฐาน" จึงมักคุ้นหูกว่าคำว่า "ภาวนา" แต่ในปัจจุบันคำว่า "ภาวนา" เริ่มนำมาใช้กันมากขึ้น เช่นมีการชักชวนให้มีการเจริญภาวนาพุทโธ กันในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยองค์ปัจจุบัน เป็นต้น<O:p></O:p>
    กรรมฐาน แปลว่า "ที่ตั้งแห่งการงาน" คือ จิตต้องมีงานทำจึงมีคุณค่าสูงขึ้นได้ และงานนั้นจะต้องมีฐานที่ตั้ง จึงเรียกงานฝึกจิตว่า "กรรมฐาน" คือ งานประเสริฐของจิต กรรมฐานก็คือภาวนานั่นเอง และมี ๒ อย่างเช่นกัน คือ<O:p></O:p>
    ๑. สมถกรรมฐาน กรรมฐานขั้นทำใจให้สงบ<O:p></O:p>
    ๒. วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานขั้นทำใจให้รู้แจ้งเห็นจริง<O:p></O:p>
    การเจริญภาวนาหรือการทำกรรมฐานนี้ได้บุญกุศลมากกว่าการให้ทาน และการรักษาศีล คือ ทาน มีผลน้อยกว่าศีล ศีลมีผลน้อยกว่าสมาธิ สมาธิมีผลน้อยกว่าปัญญา ปัญญามีผลมากที่สุด เพราะสามารถนำไปสู่การตัดกิเลสได้ เข้าสู่พระนิพพาน เข้าถึงความสิ้นทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง<O:p></O:p>

    ๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่<O:p></O:p>

    การอ่อนน้อมถ่อมตน จัดเป็นบุญประการหนึ่ง เพราะจิตไม่แข็งกระด้าง แต่การอ่อนน้อมนั้นต้องอ่อนน้อมต่อบุคคลที่ควรอ่อนน้อม ถ้าไปอ่อนน้อมหรือบูชาคนที่ไม่ควรบูชา ก็จะเกิดโทษแทนที่จะเกิดคุณ<O:p></O:p>
    คนที่ควรอ่อนน้อม ท่านเรียกว่า วุฑฒบุคคล ซึ่งมีอยู่ ๓ ประเภท คือ <O:p></O:p>
    ๑. วัยวุฑฒะ คือ คนที่แก่กว่าเรา อายุมากกว่าเรา เช่น พี่ ป้า น้า อา ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า<O:p></O:p>
    ๒. ชาติวุฑฒะ คือ คนที่มีชาติกำเนิดสูงกว่าเรา คือ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา แม้จะมีอายุน้อยกว่าเรา แต่ชาติตระกูลสูงก็ควรแสดงความเคารพ เพราะเป็นไปเพื่อความเจริญ<O:p></O:p>
    ๓. คุณffice:smarttags" />></O:p>
    การแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่ออวุฑฒบุคคล ๓ ประเภทดังกล่าวมาแล้ว ด้วยการกราบไหว้ ลุกรับ หรือพูดจาแสดงสัมมาคารวะ หรือให้เกียรติต่อท่านเป็นต้น จัดเป็นการทำบุญประการหนึ่งในพระพุทธศาสนา ย่อมได้รับความสุขความเจริญในชีวิตได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า<O:p></O:p>
    อภิวาทนสีลิสฺส นิจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ<O:p></O:p>
    พร ๔ ประการ คือ อายุยืน ๑ ผิวพรรณผ่องใส ๑<O:p></O:p>
    การมีความสุขกายสุขใจ ๑ การมีกำลังกายกำลังใจ ๑<O:p></O:p>
    ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการกราบไหว้เป็นปกติ <O:p></O:p>
    ประพฤตินอบน้อมต่อวุฑฒบุคคล (ผู้ใหญ่) อยู่เป็นนิตย์ฯ<O:p></O:p>

    ๕. เวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ<O:p></O:p>

    การช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ คือ การช่วยในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อส่วนรวมจัดเป็นบุญประการหนึ่ง เช่น ช่วยเขาสร้างสะพาน สร้างถนน ขุดคลอง ขุดสระ ขุดบ่อน้ำ สร้างศาลา สร้างวัด สร้างโรงพยาบาลปลูกต้นไม้ ทำถนนหนทางให้สะอาด ช่วยกวาดวัด ด้วยกำลัง กาย หรือช่วยงานบวชนาค งานกฐิน หรือช่วยงานทำบุญเลี้ยงพระ ช่วยนิมนต์พระ หรือช่วยขับรถรับส่งพระ หรือคนที่มาช่วยในงานเป็นต้น ทั้งหมดนี้จัดเป็นบุญทั้งสิ้น<O:p></O:p>
    แม้การช่วยเหลือคนเจ็บป่วย คนตกน้ำ คนถูกรถชน หรือคนประสบอุบัติเหตุต่าง ๆ ก็เป็นบุญ แม้แต่ช่วยนำคนแก่ข้ามถนนให้ปลอดภัย และชี้ทางให้แก่คนหลงทางก็จัดเป็นเวยยาวัจจมัย อันจัดเป็นบุญทั้งสิ้น<O:p></O:p>
    ผลของบุญข้อนี้มีมาก เช่น ไปที่ใดก็จะได้รับความสะดวกได้รับความช่วยเหลือ ไม่ขัดข้องเดือดร้อน ตายแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ มฆมาณพพร้อมด้วยเพื่อน ๓๓ คน ที่สร้างถนน และสร้างศาลา เพื่อสาธารณประโยชน์แก่คนทั้งหลายแล้วไปเกิดในสรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท เป็นตัวอย่างของบุญข้อนี้<O:p></O:p>

    ๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ<O:p></O:p>

    พุทธศาสนิกชน เมื่อทำบุญอันใดแล้วก็มักจะอุทิศส่วนบุญนั้นแก่ท่านผู้มีพระคุณ หรือแก่คนอื่น สัตว์อื่นเป็นอันมาก เพราะทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้น เป็นการแสดงออกถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ขี้เหนียว มีใจกว้างหวังประโยชน์สุขต่อคนอื่นสัตว์อื่น <O:p></O:p>
    เมื่อตนได้รับบุญแล้วก็หวังจะให้คนอื่นสัตว์อื่นได้รับบุญนั้นด้วย เหมือนคนมีความรู้แล้วก็ถ่ายทอดให้แก่คนอื่น ด้วยหวังให้เขาได้มีความรู้ความสามารถด้วย<O:p></O:p>
    บางคนทำบุญ เช่น ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาแล้วก็ไม่ยอมอุทิศบุญที่ได้รับนั้นให้แก่ผู้ใดก็ได้บุญแต่ผู้เดียว และได้บุญเฉพาะในเรื่องของทาน ศีล หรือ ภาวนาที่ตนได้ทำเท่านั้น แต่ไม่ได้บุญข้อปัตติทานมัย แต่ถ้าหากว่าผู้นั้นอุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้อื่นด้วย เขาก็จะได้บุญเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ<O:p></O:p>
    การให้ส่วนบุญนั้น สามารถให้ได้ทั้งแก่คนเป็นและคนที่ตายไปแล้ว บางคนเข้าใจผิดว่าการให้ส่วนบุญหรืออุทิศส่วนกุศลให้ได้เฉพาะคนตายเท่านั้น ข้อนี้เข้าใจผิด แท้ที่จริง การให้ส่วนบุญนี้สามารถให้ได้ทั้งแก่คนที่ยังมีชีวิตและแก่ท่านที่ล่วงลับไปแล้ว<O:p></O:p>
    การให้ส่วนบุญแก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ จะให้ต่อหน้าก็ได้ ให้ลับหลังก็ได้การให้ต่อหน้า เช่น เราทำบุญมาสักอย่างหนึ่ง จะเกิดจากทานก็ตามจากศีลก็ตาม หรือจากภาวนาก็ตาม เมื่อเราพบพ่อแม่หรือญาติมิตร ก็บอกว่า "วันนี้กระผม(หรือดิฉัน) ได้บวชลูกหรือบวชหลานมา ขอให้คุณพ่อ... จงได้ได้รับส่วนกุศลนั้นด้วย ขอให้อนุโมทนาในส่วนกุศลครั้งนี้ด้วย" ผู้รับจะ<O:p></O:p>
    อนุโมทนาหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ให้ย่อมได้รับส่วนบุญแล้ว ถ้าเขาอนุโมทนา เขาก็ได้รับบุญข้อปัตตานุโมทนามัย<O:p></O:p>
    การให้ลับหลัง เข่น ในปัจจุบัน ชาวไทยจำนวนมากรวมทั้งพระสงฆ์ เมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ก็มักจะบำเพ็ญบุญกุศลโดยเสด็จพระราชกุศล มีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา แล้วถวายพระราชกุศลแก่พระองค์ท่าน อย่างนี้ก็เรียกว่า ปัตติทานมัยเช่นกัน<O:p></O:p>
    การให้ส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เขาจะตายไปแล้วนานเท่าไรก็ได้ จะอุทิศเป็นภาษาไทยก็ได้ เป็นภาษาบาลี หรือภาษาอื่นใดก็ได้ มีน้ำกรวดก็ได้ ไม่มีน้ำกรวดก็ได้ มีกระดูกและชื่อของผู้นั้นก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น <O:p></O:p>
    อย่างในกรณีเปรตผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ก็ทรงจำชื่อพระญาติเหล่านั้นไม่ได้แม้แต่คนเดียว พระองค์อ้างในคำอุทิศว่า เป็นญาติเท่านั้นก็ถึงได้ เพราะเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้นกำลังรอรับส่วนบุญอยู่แล้ว ดังคำบาลีที่พระองค์อุทิศส่วนกุศลแก่พระญาติของพระองค์หลังจากที่พระองค์ทรงบริจาคทานแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า<O:p></O:p>
    "อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงถึงความสุข"<O:p></O:p>
    เพียงเท่านี้ก็สำเร็จ โดยพระองค์ไม่ได้บ่งชื่อญาติเหล่านั้นเลยแม้แต่พระองค์เดียว และในการกรวดน้ำครั้งนั้นไม่ต้องใช้น้ำเลย<O:p></O:p>
    การอุทิศส่วนบุญโดยมีน้ำกรวดเพิ่งนำมาใช้ในยุคหลังนี้เอง คือหลังจากครั้งพุทธกาล แต่จะเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่เท่าไร ยังหาหลักฐานไม่พบกล่าวกันว่า พุทธศาสนิกชน ในประเทศอินเดียเห็นพราหมณ์ลงไปในแม่น้ำคงคา เอามือวักน้ำแล้วหยอดลงไปในแม่น้ำตามเดิม พร้อมกับกล่าวอุทิศว่า "ขอให้น้ำนี้จงถึงแก่พ่อแม่ของข้าพเจ้า"<O:p></O:p>
    พุทธศาสนิกชนเห็นพวกพราหมณ์กรวดน้ำเช่นนี้ จึงเห็นว่าเข้าทีดี จึงได้นำน้ำมาประกอบในการอุทิศส่วนกุศล เรียกกันในปัจจุบันว่า "การกรวดน้ำ" พระสงฆ์เห็นว่าไม่ผิดหลักพุทธศาสนาอันใด จึงอนุโลมให้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน<O:p></O:p>
    แท้ที่จริง การอุทิศส่วนกุศลที่เรียกว่าปัตติทานมัยนั้น เดิมทีไม่ต้องใช้น้ำเลย ฉะนั้น การอุทิศส่วนกุศล จะมีน้ำด้วยก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น<O:p></O:p>
    แต่การอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ไปเกิดเป็นเปรตนั้น บุญนั้นจะต้องเกิดจากทานเท่านั้น และเปรตที่จะได้รับส่วนบุญนี้ก็เฉพาะ ปรทัตตูปชีวิเปรต คือ เปรตที่อาศัยทานที่คนอื่นให้ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์อย่างนี้<O:p></O:p>
    การที่พวกเปรตจะได้รับส่วนบุญนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ<O:p></O:p>
    ๑. การอุทิศของผู้ให้<O:p></O:p>
    ๒. การอนุโมทนาของเปรต<O:p></O:p>
    ๓. ปฏิคาหก (ผู้รับทาน) เป็นผู้ทรงศีล<O:p></O:p>
    ต้องพร้อมทั้ง ๓ ประการนี้ จึงจะสำเร็จผล ถ้าขาดแม้ข้อเดียว เช่น ปฏิคาหกไม่มีศีล บุญก็ไม่ถึง อันปฏิคาหกผู้รับทานนั้นไม่จำเป็นต้องได้ภิกษุสามเณรผู้ทรงศีลเท่านั้นเสมอไป ในคัมภีร์ท่านกล่าวไว้ว่า แม้อุบาสกผู้ทรงศีลก็สามารถทำให้ทานสำเร็จแก่พวกเปรตได้เช่นกัน ดังมีตัวอย่างปรากฏอยู่ในเรื่องนางเวมาณิกาเปรต ในอรรถกถาเปตวัตถุ<O:p></O:p>

    ๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...