ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    23 กันยายน 2545

    การตั้งใจต้องพยายามไปเรื่อย ๆ
    ใจมันยากนัก
    บุญกุศลของตนมันมากที่สุด ใจจึงจะตั้งได้ดี
    ฉะนั้นในเรื่องของบุญของกุศลให้พยายามน้อยก็เอา มากก็เอา
    สะสมไปจนกว่าจะเอาชนะความชั่วได้
    นั้นคือบุญรักษาใจ
    บุญตั้งอยู่ใจจึงตั้งอยู่ได้
    จิตของเรามันคิดอยู่ตลอดเวลา
    คิดอ่านฟุ้งซ่านส่งส่ายอยู่ทุกภพเป็นเทวดา
    เป็นมนุษย์
    เป็นเดรัจฉาน
    เป็นเปรตผี
    มันคอยคิดอ่านฟุ้งซ่านอยู่ตลอด จิตจึงยากจะอยู่บุญกุศลอันเราประกอบไว้ในแต่ละชีวิตมันก็จะมากขึ้นเรื่อย จนมีปัญญาความฉลาดคิดอ่านแก้ไขตนของตนได้ เช่นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    พระโสดาบัน เป็นคนเต็ม 100 %
    เป็นธรรม 25 %

    พระสติทาคามี เป็นคนเต็ม 100 %
    เป็นธรรม 50 %

    พระอนาคามี เป็นคนเต็ม 100 %
    เป็นธรรม 75%

    พระอรหันต์ เป็นคนเต็ม 100 %
    เป็นธรรมเต็ม 100 %

    มนุษย์ทั่วไปให้ดีสุดก็เป็นคน 90-95 %
    ส่วนมากมันอยู่แค่ 75-85 %

    พวก 50% ก็ลำบากใกล้คนบ้า
    พวก ต่ำกว่า 40 % พวกนี้เป็นบ้าเป็นบอ

    คำว่า เปอร์เซ็นต์ คือ ความมีสติ
    ความมีปัญญา
    ความตื่นรู้ตัวอยู่
    การแก้ไขคิดอ่านตนของตน

    เราภาวนาอยู่นี้ก็ให้ฉลาด
    ให้มีปัญญา
    ให้รู้จักบุญกุศล
    และหน้าที่ทำการเก็บบุญไปจนกว่าบุญจะมีกำลังแรงกล้า จนที่สุดเอาชนะความชั่วใด ๆ ได้
    จึงควรพยายามของตนอย่างหนัก

    ใจตั้งได้ดีแล้ว บุญเกิด
    วิชชาเกิด
    ฌานเกิด
    ปัญญาเกิด
    ญาณเกิด
    ธรรมเกิด
    มรรคผลเกิด
    กายของเราเดี๋ยวนี้มันเป็นที่อยู่ของใจ
    กายนี้ประกอบด้วยกองธาตุ กองรูป
    ใจนี้ประกอบกองนามกองขันธ์
    กายใจนี้ มีบุญกับบาปเป็นผู้ตกแต่งปรุงแต่งรักษาไว้
    การเกิดตายไปมาท่องเที่ยวอยู่นี้
    ตัวเราคนเดียวนี้หล่ะ มันมิใช่ของน้อย
    มันมากนักหนา
    ยาวนานแสนยาวไกล จนเวียนอยู่ตลอด ตัวเราคือใจมันก็อยู่ของมันอย่างนั้นมาตลอด อยู่มาทุกภพ ความรู้สึกอันหนึ่งมีอยู่ นั่นเป็นตัวใจ

    ตัวผู้นี้แหละพาให้เป็นบุญก็ได้
    เป็นบาปก็ได้
    เป็นธรรมก็ได้

    ผู้ไปนรกก็ตัวผู้นี้เพราะ มันพาคิดพาดำริ
    ผู้ไปสวรรค์ก็คือผู้นี้เพราะ มันพาคิดพาดำริ
    ผู้ไปนิพพานก็ต้องผู้นี้เพราะ มันพาคิดพาดำริ
    เราฝึกหัดเดี๋ยวนี้ก็พาให้ใจตั้ง
    จิตตั้งอยู่เป็นสมถะ
    จิตตั้งอยู่ได้ดีนั้นเป็นกรรมฐานสมาธิ
    จิตตั้งอยู่ได้ดีจนพอที่จะเกิดปัญญาได้นั้นเรียกว่า วิปัสสนา
    คำว่า วิปัสสนา คือ รู้แจ้งตามธรรมความจริง เป็นขั้น ๆ จนสุดท้าย ตัดขาดอุปทานใด ๆ ได้
    ขั้นต้น
    ก็รู้รูป รู้นาม
    รู้ปํ ทุกํ
    รูปํ อนิจจํ
    รูปํ อนัตตา
    สพฺเพสังขาร ทุกขา
    สพฺเพสังขารา อนิจจํ
    สพฺเพสังขารา อนันตา
    ได้สมาธิ
    ได้ความสงบ
    ได้ญาณ
    ได้วิปัสสนา รวมกันมาเสียก่อน จึงจะเป็นองค์วิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาแก้ไขตนของตนต่อไป

    จึงให้ตั้งใจของตน
    เราจะเกิดอีกเท่าใดเล่า ใครจะรู้ได้
    ตั้งใจไปจนกว่าจะเป็นโลกวิทู
    ธมฺมวิทู รู้โลกียะ
    รู้ โลอุตระ
    เดี๋ยวนี้ กายมีอยู่
    ใจรู้สึกภาวะมีอยู่
    ตั้งใจกำหนดภาวนาของตน
    มันเผลอไป
    มันฟุ้งซ่านไป
    มันคิดไปให้ตั้งใจใหม่
    ตั้งใจใหม่
    ตั้งใจของตน
    ....................................................................................................................................
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    24 กันยายน 2545

    ตั้งใจ
    ชีวิตที่เกิดมา
    โทษของทุกคนมันต้องมี
    ขาดสติขาดความเป็นคนไป มันต้องมี
    คนทำชั่ว ก็ชอบทำชั่ว
    มี
    -ใครห้ามก็ไม่ฟัง
    การทำความดี ส่งเสริม แนะนำพร่ำสอนเท่าใดก็ไม่ยอมทำ
    ชีวิตจึงเอาแน่นอนมิได้
    เอาแน่นอนมิได้ในการมีชีวิต
    การเกิด
    การป่วย
    การตาย
    กรรมของสัตว์ทั้งหลายก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน
    คิดคนละอย่าง
    มี
    -ทำคนละอย่าง
    มี
    -ผูกคนละอย่าง
    มันเรื่องของคนคือกรรม มีดีและชั่ว มันเป็นคู่ใจ จึงให้เพิ่มแต่ความดี
    ควรเพิ่มแต่บุญกุศลของตน
    บุญได้แล้วมันไม่สูญหาย มีแต่มากไปเรื่อย ๆ
    ความดีมากก็ได้สุขดีรักษา
    ความชั่วมากก็ได้บาปชั่วรักษา
    เกิดตายท่องเที่ยวอยู่เช่นนี้มันจึงได้ทุกข์มากกว่าได้สุข
    เพิ่มเติมความดี
    อย่าเพิ่มความชั่ว

    คนชั่วมันชั่วได้ง่าย เพราะมันอวดรู้ อวดฉลาด เหมือนสัตว์อวดเขี้ยว
    คนดีนั้นทำดีได้ง่าย
    เพราะรู้คุณของความดี รู้โทษของความชั่ว
    เดี๋ยวนี้ ภาวนา
    อันนี้กาย
    อันนี้ใจ
    ใจรู้สึกมีอยู่
    ผู้รู้สึก ผู้รู้นั้นตัวใจ
    ตัวความรู้สึกซาบซ่านอยู่นั้นมันวิญญาณเจตสิกเป็นรัศมีของใจ
    ให้รู้สึกมีอยู่
    ตั้งใจภาวนาของตน
    ...........................................................................................................................................
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    25 กันยายน 2545

    พยายามของตนต่อไป
    หากยังไม่พ้นทุกข์ก็ต้องเอาอยู่อย่างนี้ ทำไปอย่างนี้บำเพ็ญไปอย่างนี้ ภาวนาเป็นกิจที่ต้องใช้วิริยะ ใช้ความละเอียดและรักษาใจอย่างยิ่ง ในโลกเราจะเกิดได้อีกเท่าใด
    เกิดตายเป็นอยู่เช่นนี้ในโลกวัฏฏะ ใจเรามันจึงฟุ้งซ่านอยู่ตลอด
    อยู่ในทุกภพทุกภูมิ ใจเราก็ฟุ้งซ่านอยู่เช่นนี้ ซ่านไปในสุข
    ซ่านไปในทุกข์
    ซ่านไปในกาม
    ซ่านไปในอดีต-อนาคต
    ซ่านไปในปัจจุบัน
    หากละเสียความฟุ้งซ่านอันนี้ได้ ใจก็ตั้งอยู่ได้
    หยุดความคิด
    หยุดความฟุ้งซ่าน เสียใจ ก็อยู่ของใจได้
    เช่น พระโสปกะสามเณร ผู้ถูกอาว์ชายผูกมัดไว้ในป่าช้า
    พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาดู สัตว์โลกในตอนตี 4 ก็เห็นได้ว่าใจใสผ่องใสสะอาด
    จะได้สำเร็จแน่นอน จึงไปโปรดสอนให้รู้ในเรื่องกรรม ให้ระลึกแก้ไขในวิตกของกรรม


    กรรมของสัตว์เป็นเครื่องอยู่ของสัตว์-พาให้สัตว์หมุนไป กรรมของเรามีแล้ว มีแล้วไม่หาย เดี๋ยวนี้ให้รู้แต่ใจอันไม่มีใครผูกมัดไว้ นั้นมีอยู่ รู้อยู่
    พอท่านพิจารณาตามพุทธโอวาท รู้แจ้งใจตนเอง
    แก้ไขเครื่องผูกของใจได้พร้อมกับเครื่องผูกของกายหลุดออกจนหมด

    ฝ่ายนางผู้เป็นแม่ รู้ว่าลูกชายหายไปแต่บ่ายวานนี้ แต่ค่ำจนสว่างเสาะเที่ยวหาลูกชายไม่เห็น
    นางคิดถึงแต่องค์พระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้หมดแจ้งหมดตามคำเล่าลือของชาวนคร นางจึงรีบด่วนเข้าไปหา องค์พระพุทธเจ้าว่า “น้องหญิง เธอมาอะไรค่ำเช้ายังไม่สว่างอย่างนี้ มันผิดประเพณีของเรา คถาคต” มาตามหาลูกชายอายุ 3 ขวบ หายไปตั้งแต่เย็นเมื่อวาน ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้เห็นหมดจึงมาถาม

    เธอมัวแต่ตามหาคนอื่น เขามาเกิดเธอเรียกมาหรือ
    เขาหายไปเขาบอกเธอหรือ ทำไมเธอไม่ตามหาตนเอง
    ตนเองมีอยู่กับตนเอง เธอเองไม่รู้
    ตามหาตัวเองดีกว่าตามหาลูกชาย

    พอนางได้ฟังพุทธโอวาท น้อมใจตาม กำหนดรู้กาย-ใจ ของตน
    นางจึงบรรลุพระโสดาบัน ฝ่ายบุตรชายผู้ได้โสดาบันมาก่อนแล้ว ก็ฟังตามได้ชื่อพระอรหํ
    นางก็ได้เห็นลูกชายของตน
    พร้อมกับถวายให้บวชกับพระพุทธเจ้า ให้เป็นประโยชน์แก่ศาสนาต่อไป
    นี่แหละ อุปนิสัย ของคนเราแต่ละคน ฝึกฝนอบรมกันมา

    ผู้ตั้งใจ ก็ได้ตลอดมาลำดับ เพราะใส่ใจดี
    เพราะสะสมมานาน
    ด้วยเหตุนี้ ให้ขัดเกลานิสัยของตน
    ฝึกอย่างใดได้อย่างนั้น
    ให้รักษาตัวเอง
    อย่าไปฝึกหัดนิสสัยไม่ดี ไม่เข้าท่า ไม่ถูกเรื่อง นิสัยพาล

    ทำดี
    สะสมดี
    ใส่ใจนิสัยของปราชญ์บัณฑิต
    ต้องใส่ใจตนเองให้มาก
    ........................................................................................................................................
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    26 กันยายน 2545

    ใจมันอยากให้ตั้งใจของตนให้ดี
    นึกถึงใจจดจ่อต่อเนื่องในใจของตนต่อไป
    เรียกว่า พยายามรักษาใจ มี - ตรงไป รักษาความดี
    บุญกุศล
    ความสงบสุข
    ความสว่างปัญญา
    ธรรมะ
    ได้นิสสัยปัจจัย
    ตนของตนเดินเข้าใกล้พระรัตนตรัย
    อันนี้เป็นผลอานิสงสุ์ของการภาวนา

    การภาวนาจึงเกิดบุญได้มาก
    ผู้จะหลุดพ้นได้ต้องอาศัยบุญกุศล
    บุญมีกำลังพาให้ใจตั้งได้
    จึงควรเราจะคิดอ่านของตน
    เดี๋ยวนี้หน้าที่ต้องใช้ขันติ
    ใช้วิริยะ
    ใช้ศรัทธา
    ให้สติปัญญา
    เพื่อเป็นอาวุธ ต่อสู้พิจารณา เกิดตาย - เกิดดับ
    ทุกข์สุข - มรรคผล
    คิดอ่านเสมอ นรกมีอยู่ สวรรค์มีอยู่ พรหมมีอยู่
    เดรัจฉานมีอยู่ เปรตผีมีอยู่ มนุษย์มีอยู่
    มรรคผลนนิพพาน มีอยู่แล้ว

    เราต้องการในภูมิใด จะเกิดในภูมิใด
    วันนี้เรามีกาย-เรามีใจ-เรามีศรัทธา-เรามีใจอยากหาบุญกุศล
    ให้คิดอ่านตนของตน
    ให้คิดอ่าน-อย่าหลง อย่าเมา อย่าคบหาผู้คนพาล
    สะสมความดี
    สะสมอุปนิสัยปัจจัย
    ขัดเกลามรรคอันเป็นทางเดินสู่พระนิพพาน
    หากยังไม่ถึงก็เอาสวรรค์เป็นที่พักผ่อน
    เราภาวนาอยู่เดี๋ยวนี้
    อย่าให้อยากได้ อยากเป็น
    อย่าโกรธน้อยใจ ตัวเอง
    หน้าที่ตั้งใจ รักษาหน้าที่ของตนต่อไป
    ให้คิดอ่านให้ดี
    ชีวิตอยู่ให้เปล่าประโยชน์
    ความรู้สึก
    ผู้รู้สึกตัว
    จับผู้รู้ให้ได้
    ตั้งใจภาวนา
    .........................................................................................................................................
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    27 กันยายน 2545

    คนจะไปสวรรค์มันน้อย
    คนจะไปนรกมันมาก - มากเหมือนขนของวัว
    มากเท่าใดคิดดี
    เท้าวัว -เขาวัว -หูวัว - หางวัว คนไปสวรรค์ประมาณนี้
    ให้เราเข้าใจในอุปมานี้
    แม้สวรรค์ก็เป็นของยากยิ่งแล้ว

    กายเรามี ใจเรามี
    ใจรู้สึกอยู่ ทำความรู้สึกนั้นเอาไว้
    กายนิ่งอยู่เป็นที่รวมของก้อนธาตุ

    เราภาวนาเผลอไปตั้งใจใหม่
    ฟุ้งซ่านไปตั้งใจใหม่
    บริกรรมผูกใจไว้
    ให้พุทโธอยู่กับใจให้ได้
    ........................................................................................................................................

    28 กันยายน 2545

    จิตไม่อยู่ก็ให้นึกคำบริกรรม
    การบริกรรมเป็นการฝึกจิตเอาไว้
    เป็นการรักษาความรู้สึกอันหนึ่งเอาไว้

    ให้เราตั้งใจ
    ภาวนาต้องตั้งใจให้มาก
    จิตเราเป็นของยากที่จะให้อยู่คงที่
    สมถะเป็นการรักษาจิตให้ถึงความสงบ
    กรรมฐานเป็นที่ตั้งอันควรแก่งานของจิต ตั้งจิตไว้ตรงกลาง ระหว่างความสงบและวิปัสสนา
    ความสงบพาให้เกิด องค์ฌาน - องค์ฌานแก่กล้าก็เกิดปัญญาได้ง่าย
    วิปัสสนา พาให้เกิดความรู้จักได้หมายรู้แจ้งในเหตุปัจจัยของรูปและนาม หากรู้เฉย ๆ ไม่เกิดความรู้แจ้งก็มิใช่วิปัสสนา

    คำว่ารู้แจ้งต้องลงใน ทุกขํ
    อนิจจํ
    อนัตตา
    ด้วยเหตุนี้ ความสงบจึงเป็นฐานของปัญญา
    สมถะจึงเป็นฐานของวิปัสสนา
    ทั้งสองอย่างจึงอาศัยกันและกันเป็นเหตุปัจจัยของกัน

    ด้วยเหตุนี้จึงให้ตั้งใจ อาศัยบุญกุศลให้มาก
    บุญเกิดเพราะทำความดี
    วิริยะเกิดเพราะอาศัยศรัทธา
    ศรัทธาเกิดเพราะอาศัยการฟังให้มาก
    การฟังจะจับใจความเนื้ออรรถเนื้อธรรมได้ อาศัยการเกิดในโลกนี้นาน

    ฉะนั้นให้ตั้งใจ เพิ่มแต่บุญกุศล
    บาปมันรักษาใจ มันพาทุกข์ ชั่วมันเป็นรูป
    บุญรักษาใจ มันพาให้สุข ดีมันเป็นรูป
    บุญ บาป ดี ชั่ว ฌาน ธรรมมะ พาให้เกิดรูปนาม
    ภาวนาก็เพื่อจะใด้รู้ในเหตุผลของรูปนาม
    จึงจักรู้ช่องหนทางพ้นจากรูปนามได้ ตั้งใจบริกรรมไว้
    ..........................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญ ( โดย หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท ( ตอนที่ 11 )
    29 กันยายน 2545
    ให้จดจ่อบริกรรมผูกจิตเอาไว้
    เอาคำบริกรรมผูกใจเอาไว้
    หากใจตั้งแล้วก็ จะมีแต่ความรู้สึกอันหนึ่งตั้งรู้อยู่
    ใจตั้งแล้ว - สว่างเกิด
    วิชชาเกิด
    ปัญญาเกิด
    ญาณเกิด

    วิชชาเกิดได้แล้วย่อมได้เครื่องสอนใจตนของตนอย่างมาก
    ส่วนญาณนั้น พาให้เกิดเป็นมรรค
    เป็นช่องหนทางแก้ไขปัญหาในตนของตน
    แก้ไขอันพาเกิดพาตาย
    รู้ระงับดับไว้ได้ทัน

    ภารภาวนานี้ถึงได้ประโยชน์โดยมาก
    เพราะกิจลักษณะนี้เป็นกิจของผู้ใส่ใจ
    และประเด็นสำคัญก็ใช่ว่าเราจะทำไว้ - ทำได้ตลอดต่อภพต่อชาติเพราะชั่วเรามีดีเรามี จึงมิได้ทำดีได้ตลอดไป
    ให้คิดอ่านฝึกฝนการภาวนา
    จิตของเราเป็นอยู่ด้วยบุญด้วยบาป
    อยู่ด้วยสุขและทุกข์

    บุญรักษาจัดตั้งได้ง่าย
    ฌานรักษาจิต ก็เสวยอยู่ในองค์ฌาน
    จิตที่รู้ดีรู้ชั่ว ได้ทำดีละชั่ว
    จิตไม่รู้ดีไม่รู้ชั่ว ก็ได้แต่ชั่วเป็นของตน

    ให้คิดอ่านในตนของตนต่อไป
    ให้ตั้งใจอดทน
    ให้ - หา - นอน - กิน - กาม - เมา - มัน ได้อะไร
    ว่าได้สุขแต่ก็เป็นทุกข์

    อย่าเมาเกินไปให้รู้สึกตัวว่า บุญ บาป กรรม ดี กรรมชั่ว มันมีอยู่
    ตั้งใจให้ดี
    ไหว้พระ
    เมตตา
    เคารพ
    เลี้ยงบิดามารดา
    กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม วัตถุกรรม การกระทำใด ๆ อย่าให้เป็นโทษ
    ให้ตรงถูกต้อง
    สะสมไว้ให้เป็นสมบัติของใจ
    บุญมันจะค่อย ๆ มากขึ้นเอง
    ในที่สุดมากด้วยบุญ สมบูรณ์ด้วยบุญ
    จิตก็มีแต่พรหมวิหาร
    จิตก็มีแต่การเสาะแสวงหาธรรมมะอันพาให้พ้นทุกข์

    ให้คิดอ่านให้ดี
    เราจะได้เกิดในโลกนี้อีกนาน
    ให้ตั้งใจของตนเถิด
    .....................................................................................................................................
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    29 กันยายน 2545
    18.30-20.30 น.

    ตั้งใจของตนเก็บเล็กสะสมน้อย
    ให้ตั้งใจตลอดไป
    ชีวิตนี้เป็นชีวิตที่จะทำดีได้มาก
    เพราะเราได้เกิดมาแล้ว 1. เป็นผู้สมบูรณ์ในสรีวรร่างกาย
    2. ได้พบปะพระธรรมคำสั่งสอน ศีลธรรมของพุทธะ
    3. ได้ศรัทธา - ได้พบปะ
    - ได้สดับฟัง
    - ได้ระลึกถึง

    ชีวิตจึงเป็นคุณค่าของตน
    ตนของตนได้เพิ่มบุญ
    หน้าที่จะได้เป็นนิสัยปัจจัยต่อไป
    ต่อไปภายหน้าเมื่อได้พบปะพระพุทธเจ้า พระอริย์ พระอรหันต์ พระปัจเจกก์พุทธเจ้า ฤาษีโยคีผู้ทำความดีทั้งหลาย ก็จะได้รับผลได้รับประโยชน์โดยมาก เพราะเราตั้งใจพยายามไว้แล้วในวันนี้
    หน้าที่เราจะได้เกิดอีกในโลก จะอีกกี่ภพ จะอีกกี่ชาติ จะอีกเท่าใด จึงจะเอาชนะได้
    เอาชนะความชั่วได้เมื่อใดก็ได้สำเร็จเมื่อนั้น
    เดี๋ยวนี้ความตั้งใจในการทำสมถะถือทำใจให้สงบ ทำใจให้ตั้งอยู่ได้
    จึงมาฝึกฝนตนของตน
    เกิดมาแล้วนี้อย่าให้เสียเวลา
    อย่าให้หายใจเปล่าประโยชน์

    หน้าที่ของตนจะได้ความสุขความสบาย ให้คิดอ่านเถิดว่าเดี๋ยวนี้
    1. ยังไม่ตาย
    2. มีกำลังวังชา
    3. มีจิตใจ
    4. มีชีวิต
    ควรรีบเร่งขวนขวายทำหน้าที่ของตน
    ควรเพิ่มเติมความดีให้แก่ตนของตน
    ผู้บุญมีกำลังรักษาใจ บุญมีกำลังมาก
    ก็สามารถทำจิตของตนให้ตั้งอยู่ได้ จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
    ผู้บุญยังมีน้อย บุญไม่กล้า จิตฟุ้งซ่าน จิตไม่อยู่คงที่
    ตัวเราคืออะไรเล่า
    ตัวเราคือจิต - จิตผู้ถือดี
    จิตผู้ถือชั่ว
    สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นไปในดีและชั่วอันนี้
    กายนี้เป็นของชั่วคราว
    ใจผู้อยู่กับกาย
    มีรูปกายอย่างใด ใจก็อยู่อย่างนั้น

    ตัวเราจึงควรเพิ่มพลังให้แก่จิต
    1. บุญกุศล เป็นกำลัง
    2. ศีล เป็นกำลัง
    3. สมาธิ เป็นกำลัง
    4. ฌาน เป็นกำลัง
    5. ปัญญา เป็นกำลัง
    6. ธรรม เป็นกำลัง
    ตัวพวกเราเดี๋ยวนี้
    บุญมีอยู่นิดหน่อย บาปมีมากอยู่
    ภาวนาใจเลยไม่อยู่ คิดฟุ้งอยู่ตลอด
    ให้คิดดู...ตั้งแต่เกิดมาจนถึงบัดเดี๋ยวนี้
    เราเพิ่มอะไรมาก
    เรามีอะไรมาก ดีมากหรือชั่วมาก
    ชั่วมากหรือดีน้อย

    เป็นเด็ก - ก็กินเล่น
    เป็นหนุ่มสาว - ก็มัวเมาเพลิดเพลิน
    เป็นคนใหญ่ - ก็กังกลวิตกขวนขวายเสาะแสวงหา
    เป็นคนเฒ่า - ก็ห่วงลูกหลาน
    มันมีแต่เพิ่มความชั่ว
    จะเพิ่มดีมันน้อยมาก

    ตัวเราทุกคน ต้องคิดให้ดี
    ละชั่ว ทำดี ชำระตนของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
    พยายามของตนต่อไป อย่าท้อถอย
    แก้ไขตนตลอดไป
    เดี๋ยวนี้นั่งภาวนา
    ให้ระลึกถึงใจของตน
    บริกรรมผูกใจไว้
    ใจเรารู้สึกตัวรู้ ผู้รู้มีอยู่
    ตั้งใจ
    ......................................................................................................................................
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    30 กันยายน 2545

    ให้นึกพุทโธ
    อย่าให้ลืมได้
    รู้สึกนึกคิดพุท -โธ

    คำว่า พุท -โธ เป็นคำบริกรรม
    ผู้นึกผู้นั้นแหละใจ - ใจผู้รู้สึกไว้อยู่
    อย่าทิ้งความรู้สึกอันนั้น

    การฝึกหัดใจของตน อย่าให้มันคิด
    อย่าฝึกให้มันฟุ้งซ่านสับส่าย

    ใจของเราตั้งอยู่ได้นั้น มีสิ่งช่วยเหลือไว้อยู่
    บุญกุศล เป็นสิ่งช่วยเหลือค้ำชูใจไว้
    วิริยะ เป็นสิ่งช่วยเหลือค้ำชูใจไว้
    ขันติ เป็นสิ่งช่วยเหลือค้ำชูใจไว้
    ศรัทธา เป็นสิ่งช่วยเหลือค้ำชูใจไว้
    สติปัญญา เป็นสิ่งช่วยเหลือค้ำชูใจไว้
    หิริโอตฺตปฺปะ เป็นสิ่งช่วยเหลือค้ำชูใจไว้
    ผู้ใจไม่ตั้งนั้นบาปมาก บุญมีน้อย
    หรือบุญมากแต่มิได้ฝึกหัด มีกรรมชั่วแฝงเร้นอยู่ในใจ เหตุผลของใจ
    ใจเรามันยาก แต่ใจมันอ่อน มันเบาได้เพราะการฝึกหัด

    ผู้ไปนรก มิได้ไปด้วยความดี
    ผู้ไปสวรรค์มิได้ไปด้วยความชั่ว
    ผู้ไปนรกเสวยทุกข์ทั้งรูปกาย รูปใจ
    ผู้ไปสวรรค์ เสวยสุขทั้งรูปกายและรูปใจ
    สิ่งความชั่ว สิ่งความดี เป็นของคู่อยู่ในใจ
    ปุถุชนจึงเป็นอยู่ด้วยบรุพกรรมนี้ดี - 1
    ชั่ว - 1

    ตัวเราก็มีเชื้อของความดี เชื้อของความชั่วเป็นกุศล เป็นอกุศลคู่อยู่ในใจ
    ผู้ดีมากก็สุข
    ผู้ชั่วมากก็ทุกข์
    รูปกายสมบูรณ์ - 1 -
    มีศรัทธา - 1 -
    มีสติปัญญา - 1 - ดีรักษาใจ
    กายวิการ - 1 -
    ไม่มีศรัทธา - 1 -
    ขาดตกบกพร่อง - 1 -
    ปัญญาโง่ทึบ - 1 - ชั่วรักษาบาปมีอยู่
    จึงว่า ว่านิสสัยกิริยาของปุถุชนต้องเป็นอยู่เช่นนี้คือดีและชั่ว
    ชีวิตจึงเป็นสุขบ้าง
    ชีวิตจึงเป็นทุกข์บ้าง
    เป็นอยู่สลับสับเปลี่ยนกันไป
    สุดแต่เราเท่านั้นที่จะใส่ใจหรือไม่ใส่ใจ
    นั้นคือ จะแต่งดีหรือ
    จะแต่งชั่วไว้ในเรือนใจ

    ให้พยายามหาอุบายวิธีเพิ่มความฉลาดปัญญาตาใจให้แก่ตน เท่าใดเล่าจะชนะได้
    1. ตัวเรา
    2. กัลยาณมิตร
    3. ปฏิบัติอันสมควรแก่ธรรม
    เป็นกิจของเรา
    อย่าไปเอาคนชั่วมาเป็นหมู่
    อย่าไปเอาคนพาลมาเป็นหมู่พรรคพวก
    ความดีของตัวเราให้สะอาดหมดจด
    ความชั่วของเราให้เบาบางไปได้
    ต่อไปภายหน้าได้พบปะคนดี-ความดี-ดีของเราเดี๋ยว เดี๋ยวนี้ก็จะไม่สูญเปล่าไป
    เพราะจะได้รับผลอันควรแก่เหตุของตน
    ได้เหตุปัจจัย - 1 -
    ได้นิสสัย - 1 -
    ได้สวรรค์ - 1 -
    ได้ความเจริญในธรรม - 1 -
    ได้มรรคผลนิพพาน - 1 -
    เราภาวนาก็เพื่อให้เกิดสมถะ
    คำว่า สมถะ - 1 - สงบ
    - 2 - สุข
    - 3 - จิตตั้ง
    - 4 - โลกียะวิชชา
    เพื่อให้เกิดวิปัสสนารู้เหตุผลของการเกิดและการดับของรูปและนาม
    เดี๋ยวนี้ใจมีอยู่
    บริกรรมผูกใจไว้
    เอาระบบอย่างของครูอาจารย์ พระอริยะ พระอรหันต์
    และพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นครู
    ก็จะถึงได้ในนิพพาน ปรมํ สุขํ
    .......................................................................................................................................
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    1 ตุลาคม 2545

    ใจมันไม่อยู่ ใจมันตั้งยาก การทำให้ใจตั้ง มันยากเพราะความคิดมันมาก คิดไปข้างหน้า - ข้างหลัง คิดในปัจจุบัน พอใจอยู่ที่บ้าง สติก็พาคิดพานึก พาจำได้ เพราะจิตมันคิด มันจำเอาไว้ สัญญามันทำงาน ของถ่วงจิตใด ๆ มันจึงมีกำลัง
    สัญญาจำได้หมายรู้ มันพาทุกข์
    มันเป็นเครื่องถ่วงมิให้ความสงบขึ้นสูง
    เกิดได้ ส่วนของดีมีสาระให้แก่จิตนั้น สัญญากลับเลือนลางเพราะบาปมันแรง
    นี่ละจำได้ก็ทุกข์
    จำไม่ได้ก็ทุกข์
    การงานของจิต จึงเป็นอยู่เช่นนี้

    เหตุปัจจัยมันเป็นเช่นนี้ มันเคยคิด เคยจำ คิดปรุงแต่ง จำหมายเอาไว้มานาน
    นั้นคือ ฝึกให้คิด ฟุ้งซ่านมามาก พอมาทำสมถะ ทำความสงบ หนทางให้ใจตั้ง มันจึงยาก
    ให้บริกรรมของตน
    ใจผู้นึก
    พุท-โธ คำบริกรรม มิใช่ใจ
    ใจผู้นึกรู้
    พุท – โธ
    พุท – โธ
    พุท – โธ
    ....................................................................................................................................
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    2 ตุลาคม 2545

    พยายามตั้งใจของตน – ตั้งได้แล้วเป็นสมถะ - เห็นอุคคหะ - ปฏิภาค
    - ตั้งได้แล้วเป็นวิปัสสนา
    เห็นทุกขํ อนิจจํ อนัตตา
    - ตั้งได้แล้ววางสามัญได่พาให้เป็น มัคคญาณ
    รู้ความเกิด - ความดับ พ้นจากความเกิดความดับ

    อดทนไปไม่อดทนไม่ได้หรอก
    อดทนของใครของมัน ใช่อื่นไกล ใจเรามี กายเรามี
    ต้นทุนเค้าเดิมเรามีไว้แล้ว

    มีแล้วใช้มันเป็นประโยชน์คือความดี
    มีแล้วใช้มันเป็นประโยชน์คือความชั่ว
    มีแล้วใช้มันเป็นประโยชน์คือธรรมะ
    ให้กายใจธาตุขันธุ์เป็นธรรม อยู่เหนือธรรม
    เราเดี๋ยวนี้บาปพาไปบุญพาไปสลับสับเปลี่ยนกันอยู่
    ทำดีล้างบาปมิได้ ดีชั่ว ทุกข์สุขไม่หาย
    ตัดกรรมด้วยการไม่ทำกรรมชั่ว
    ใจของเรา อาหารของใจ คือ ความสงบสุข
    ความวิเวกของธรรม
    ตัวบุญศีลธรรม

    ตั้งใจไปเถิด ขันติ
    ชื่อว่าใช้อดทน
    อด - คำหนึ่ง
    ทน - คำหนึ่ง
    ท้อถอย ขี้คร้านไปทำไม
    ....................................................................................................................................
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    3 ตุลาคม 2545

    ตนของตนเองต้องหาไว้ให้ตนเอง - หาบุญหากุศล
    หาปัญญา
    หาธรรมมะ
    หน้าที่เราต้องหาไว้ให้แก่ตน
    หาทั้งความเจริญ
    หาทั้งทางละคลายหน่ายวาง
    ให้คิดอ่านให้ดีในชีวิตนี้จะหาดีหรือหาชั่ว - ดีชั่วไม่หายหรอก
    สุขทุกข์ไม่หายหรอก

    ทุกข์ทั้งหลายมีมากอยู่แล้วในกายใจของตน
    ให้คิดอ่านให้ดีในชีวิตนี้
    เรามีรูปกาย มีรูปใจ จึงให้ใช้เป็นทุนการปฏิบัติศึกษา
    ความตายเป็นของเรา
    ความเกิดเป็นของเรา
    หากยังดับ-เกิด ไม่ได้-ดับตายไม่ได้ เกิดตายจึงเป็นหน้าที่
    หากเราดับได้แล้ว ก็ไม่มาเป็นของเรา
    แต่เป็นของคืนให้แก่โลก
    ให้รู้จักตัวเราเอง
    อย่ามัวแต่จะไปรู้จักผู้อื่น บุคคลอื่น
    เดี๋ยวนี้ให้รู้จักใจ
    ใจผู้รู้สึกมีอยู่
    จับเอาผู้รู้ผู้นั้นให้ได้เสียก่อน
    จับอยู่ที่แล้วก็เป็นใจ
    หาความดีให้มากเข้าไว้
    ตั้งใจภาวนา
    ........................................................................................................................................
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    4 ตุลาคม 2545

    ตั้งใจให้บุญเกิดแต่ใจ - เกิดกับใจ - เกิดไว้ในใจ
    เมื่อบุญกุศลเกิดขึ้นแล้วมันง่ายเองดอก - ธรรมโลกีย์ก็เกิดได้
    - สมถธรรม กรรมฐานก็เกิดได้
    - ปัญญาสามัญก็เกิดได้

    ปัญญาสามัญนี้เกิดขึ้นมาแล้ว ปัญญาชั้นสูง คือ ปัญญาวิปัสสนาก็จะเกิดได้ตามมา อันเป็นปัญญารู้ได้เห็นแจ้งได้
    ให้ตั้งใจ โลกียธรรมนั้น มันต้องอาศัยสมาธิเสียก่อน
    เกิดวิชชา
    เกิดฌาน
    เกิดธรรมขั้นต้น

    วันนี้เราปุถุชนคนหนาคนมืดกันอยู่
    หมั่นทำจิตให้ตั้ง - ตั้งเป็นกลางอยู่ได้ก่อน
    ใจนั่นแหละผู้เป็นกลาง
    จับรู้อยู่ตรงนั้นเป็นกลางไว้ตลอดไป
    รักษาอารมณ์ความรู้สึกตรงนั้นเอาไว้
    ให้รู้ตัวอยู่เสมอ
    อย่าคิดนึกคิดปรุงคิดแต่ง
    เราฝึกหัดจิต มิใช่จิตฝึกหัดเรา
    บารมีธรรมมะจะแก่กล้าได้นั้น
    มันต้องตนของตนในวันนี้นี้เอง
    ตั้งใจไปเถิด
    ..........................................................................................................................................
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    5 ตุลาคม 2545

    นึกพุทโธอย่าให้มันขาด
    ใจของเราเองมิใช่ใจของใคร
    สมถะคือ จิตอยู่
    จิตตั้ง
    กรรมฐานคือ ปฏิภาค, กสิณ
    อสุภะ, พรหมวิหาร
    ปฏิกูล, อนุสฺสติ
    ธาตุ, ฌาน
    วิปัสสนาคือ ทุกขํ
    อนิจจํ
    อนคฺตา
    อุคคหโกศลนั้น เป็นฐานของวิชชา
    ปฏิภาคโกศลนั้น เป็นฐานของความรู้ความเห็นเป็นจริง
    ผู้จะเห็นในทางธรรมมะ ใจต้องเป็นธรรมสังเวชเสียก่อน ธรรมสังเวชจะเกิดได้ต้องอาศัย สังเวควัตถุ ทั้งหลาย
    พวกวิปัสสโก ผู้รู้จักแจ้งในดี-ชั่ว
    รู้ทางพ้นดีพ้นชั่ว
    พวกเตวิชโร พวกได้วิชชา 3 รู้ทางพ้นดีพ้นชั่วพร้อม
    พวกฉบัภิญโญ พวกได้วิชชา 6 รู้ทางพ้นดีพ้นชั่วพร้อม
    พวกปฏิสมฺภิทา 4
    เดี๋ยวนี้เราเองยังไม่แจ้งในตัวเอง ว่าตนอย่างไร มาอย่างไร จะไปอย่างไร
    ให้หมั่นขยันในตัวเอง
    บำเพ็ญตนไปจักรู้ได้เอง
    ตั้งใจบำเพ็ญไปเถิด
    อย่าท้อถอย ตนของตน วันนี้-วันหน้า ก็ตนคนเดิมนี้
    วัฏฏะของเราใช่ว่าวันนี้หรือวันพรุ่งนี้ก็จบลงได้
    ใครคนหนึ่ง เกิด-ตายอีกเท่าใด
    มันยาวนานมากนักหนา
    มิใช่จะเมา
    มิใช่จะเล่น
    ให้ตั้งใจทำความดีตลอดไป
    ธรรมมะสมบูรณ์ที่สุดแล้วนั้นเอง
    ตัดความชั่วออกไปจนหมด
    หมดชั่วก็ไม่เกิดอีกแล้ว
    ตั้งอยู่ได้ในจุดเหนือความดีนั้น เป็นธรรม
    ให้ตั้งใจไป
    ความชั่วเรามันแรง
    ภาวนาอยู่เดี๋ยวนี้ความฟุ้งซ่านมันแรงมันมาก
    นี่เป็นเพราะบุญเราน้อย
    หมั่นทำไป
    จนกว่าจะชนะได้ในโลก
    ........................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญ ( โดย หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท ( ตอนที่ 12 )
    6 ตุลาคม 2545
    ตั้งใจทำความดีไว้ให้ตนของตน
    ตนของตนทำอะไรไว้แล้วมันไม่หาย ส่วนที่เป็นสาระก็ไม่หาย
    ส่วนที่ไม่เป็นสาระก็ไม่หาย
    เดี๋ยวนี้เกิดมาทำหน้าที่ของตน
    ตนของตนเป็นผู้เพิ่มความดีเอาไว้ให้ได้

    บุคคลผู้บุญมากแล้ว เขาไม่ทำชั่ว
    เขาต้องได้ธรรมะ
    เขาต้องได้ปัญญาความสว่าง

    ตัวเราให้คิดนึก
    ให้เพิ่มบุญ - บุญมิใช่ของน้อยแต่เป็นของมากนักหนา
    - ความดีอันจะเอาชนะชั่วใด ๆ ได้
    ให้ทำความดีให้มาก เราเองให้เป็นผู้รับรู้เหตุผลของตน
    ว่าร้ายดีประการใด
    จะเอาดีหรือจะเอาร้าย
    ในชีวิตการเกิดมานี้ อย่าเสาะหาแต่สิ่งเป็นบาป
    ให้ฝึกใช้ปัญญาของตน ฝึกฝนไปจนกว่าจะเอาสำเร็จได้
    การสำเร็จจึงมิใช่ของง่าย กว่าจะได้มรรคผล เราจะตายเกิดอีกเท่าใด ความดีเรามากเท่าใดแล้วเดี๋ยวนี้
    พระอริยเจ้าที่ท่านได้สำเร็จไปแล้วนั้น
    ท่านทำความดีไว้มาก
    ผลของความดีบุญกุศลในชีวิตของตน ตนเราเองเท่านั้น จัดเป็นผู้ได้รับผลนั้น

    เดี๋ยวนี้ หน้าที่ของตนเท่านั้น
    ตัวเราคนเดียวเท่านั้นที่จะต้องสะสมความดี
    เมื่อเราทำดีจึงได้ชื่อว่าไม่เสียเปล่าประโยชน์ในการเกิดมา
    จงคิดนึกให้ดีเถิด

    สัตว์ผู้บารมียังไม่มาก
    สัตว์ผู้บารมีปานกลาง
    สัตว์ผู้บารมีแก่กล้า
    สุขทุกข์ในวันนี้จึงเป็นของทุกตัวสัตว์ทั้งหลายในโลก
    เราผู้รู้จักภาวะแล้วนี้ - อย่าถือเอาคนพาลมาเป็นตัวอย่าง
    ให้คิดอ่านตามแบบของผู้ตั้งใจในความดีงาม
    บุญกุศลถือเอาสัตตบุคคลเป็นแบบอย่าง
    ให้คิดอ่านของตน - อย่าให้เป็นบาปในกิริยาของใจ การเคลื่อนไหวของกาย การวาจาพูดคุย
    เดี๋ยวนี้ให้ภาวนา
    ใจไม่อยู่ให้บริกรรมผูกใจไว้
    อย่าให้มันลืม อย่าฝึกหัดให้มันคิด

    ให้รู้ตัวเสมอ
    อย่าเล่นกับความฟุ้งซ่านสับส่าย
    ตั้งใจของตน - 1 - กาย
    - 2 - ใจ
    ให้รู้อยู่เช่นนี้
    ..........................................................................................................................
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    7 ตุลาคม 2545
    เจริญภาวนาจิตไม่อยู่ - อย่าเสียใจ
    อย่าไปโกรธแค้น น้อยใจตนเอง
    อย่าไปอยาก อย่าบังคับข่มจิตเกินไป

    จิตเราไม่ตั้งเพราะบุญเรามีน้อย
    เมื่อบุญน้อยกำลังก็ไม่พอแก่การตั้งใจ - ผู้บุญมาฏแล้วลงมือขณะพร้อมตั้งใจ - ใจนี้ก็ต้องอยู่ได้
    ตัวเราให้เลี้ยงใจ
    อย่ามัวเมาหาแต่ของเลี้ยงกาย - การเลี้ยงกายนั้นมัน ได้แต่เป็น
    บาปล้วนแต่เป็นทางมาของบาป เป็นข้าศึกของตัว
    เป็นโทษแก่ใจ

    อย่าไปใส่ใจมันนัก ให้รู้เสาะหาพอ ได้อยู่ ได้ใช้ ได้กิน
    แต่ให้หาบุญใส่ใจให้มาก

    อย่าประมาทมัวเมาในของชั่วช้า
    ให้ตั้งใจให้ดี - สมบัติของใจเป็นของสำคัญ
    เรากิน ก็กินไปหาแก่เจ็บไข้ตายไป
    เราเล่น ก็เล่นไปหาแก่เจ็บไข้ตายไป
    เราเมา ก็เมาไปหาแก่เจ็บไข้ตายไป
    มันหาสาระอะไรมิได้ ลอกคราบมิได้ มีแต่เป็นบาปหนาหนัก
    ผู้ชั่วมีมาก
    พอมาทำความดีเข้าที่ภาวนา ใจจึงไม่อยู่
    ไม่สงบ ไม่สุข ไม่มีปิติ

    จิตมั่นส่ายสัดฟุ้งไปเรื่อย หากบ้าก็พอทีดีก็พอว่า
    แต่นี้บ้ากับดีพอ ๆ กัน
    ให้เรารู้จักความดีของตน
    ให้รู้จัดหนทางของตน
    ....................................................................................................................................
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    8 ตุลาคม 2545

    ตั้งใจของตน
    จะภาวนาให้เป็นต้อง รู้ คำบริกรรม
    รู้ ใครนึกคิดคำบริกรรม
    รู้ ตัวอยู่เสมอ
    ใจเรามีอยู่ แต่มันไม่ค่อยอยู่คงที่
    พอมาภาวนาก็ให้บริกรรมผูกใจไว้ก่อน
    เรียกว่าเจริญสมถกรรมฐาน
    นั้นคือ ทำใจให้สงบเสียก่อน
    พอใจสงบแล้วนานเข้าก็เป็นวิชชาได้รู้ ในโลกียะ

    เราฝึกหัดในชั้นนี้ก่อน
    ใจมันยาก
    มันยากเพราะมันดื้อ
    ไม่ยอมลงใจง่าย ๆ ตั้งใจภาวนา
    โลกุตตระยังอีกไกล
    บาปมันเกิดแล้ว ออกพ้นกายใจไปแล้วจึงค่อยรู้มัน
    เรายังไม่ทันมัน
    เรายังไม่รู้มัน
    โกรธเกิดจากอะไร
    หลงเกิดจากอะไร
    โลภเกิดจากอะไร
    ยินดี-ยินร้าย หรือเฉยเมยเกิดจากอะไร
    เรายังไม่รู้เลย
    จึงว่าโลกุตตระยังยาวไกลนัก
    .........................................................................................................................................
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    9 ตุลาคม 2545

    ใจเรามันยาก
    คิดอ่านฟุ้งซ่านอยู่มาก - มันไปในความเพลิดเพลิน
    มันไปในทุกข์
    มันไปในการแสวงหาเลี้ยงชีวิต
    มันไปใน เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
    จิตคิดไปฟุ้งไปในทุกที่สถาน ไปตามอยาก ไปตามฟุ้ง โมหะไป
    นานที่มาทำสมาธิเสียครั้งหนึ่ง มันจึงยาก

    เราทำสมาธิก็เพื่อให้จัดเป็นสมถะเสียก่อน
    นั้นคือ ให้จิตสงบ - ให้จิตอยู่
    จิตตั้งใจจึงเป็นสมถะ - กายเบาใจเบา
    กายเย็นใจเย็น
    กายสุขใจสุข
    กายใจเป็นสัดส่วนกัน
    หากดีกว่านี้ก็เป็นฌานเป็นวิชชาใด ๆ
    จึงกล่าวว่า ความสุขสงบเป็นต้นทาง
    สุขใดจะเสมอด้วยสุขสงบไม่มี

    แต่เดี๋ยวนี้เราเริ่มทำสมาธิสมถะ
    ใจมันฟุ้งซ่าน เพราะบุญมันน้อย จึงให้บุญกุศลเกิดไว้ได้มากเสียก่อน
    บุญกุศลมากแล้ว จิตจึงจะคงอยู่ได้
    จิตนี้เป็นของยากนัก
    ยากเพราะฝึกหัดยาก
    แต่การทำภาวนานั้นเป็นของง่าย
    เพราะมีภาระน้อยสุด

    ให้เราตั้งใจดูจิตของตน
    ดูรู้เรื่องแล้วจิตจึงจะรวมลงในอารมณ์เดียว
    ครั้นรวมได้แล้ว จิตก็ตั้งอยู่ได้
    ฝึกหัดนานไปใจก็ชำนาญเองดอก ฝึกเช่นนี้ทำเช่นนี้ ทำจนชำนาญและให้คิดนึกถึงความ
    เป็นปุถุชนคนหนาคนมืด
    มาจากไหนไม่รู้
    จะไปไหนไม่รู้
    แต่ให้มารู้ในการบุญ - การบาป
    ทำบุญละบาป - ให้รู้ความตั้งใจ
    ให้รู้ตนของตน
    ตนของตนคือกรรม
    กรรมดี กรรมชั่ว และผลของกรรม
    คิดดูให้รู้เรื่อง - รู้เห็นในคุณค่าของตน
    ภาวนาเดี๋ยวนี้
    คำบริกรรม - 1 -
    ผู้นึกคิด - 1 -
    กาย - 1 -
    ใจ - 1 -

    ตั้งใจภาวนาของตน
    ใจตั้งเป็นสมถะ
    ใจตั้งได้ดีแล้วเป็นกรรมฐาน ควรแก่การงาน
    รู้เรื่องจริงตามเป็นจริงแล้ว เป็นฌาณปัญญา
    ตั้งใจภาวนา
    จิตเรามันมีกำลังน้อยอยู่นี้ ให้ตั้งใจให้มาก
    ใส่ใจตนเองให้มาก
    ...........................................................................................................................................
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    10 ตุลาคม 2545

    พยามของตน ตั้งใจของตน
    เราจะได้ตั้งใจอีกเท่าใด กว่าจะลบแจ้งในโลก
    มีอุปมาว่าไว้ว่า กองกระดูกของสัตว์ผู้เกิดตายจะได้สำเร็จนั้นมากประมาณภูเขาลูกหนึ่งย่อม ๆ
    นี่...ต้องทำความดี เกิดตายมามากถึงขนาดนั้น

    ใจเรามันอยู่ได้ยาก
    บุคคลผู้มีบุญเท่านั้นที่ใจตั้งได้ง่าย ใจไม่ฟุ้งซ่าน
    เดี๋ยวนี้ ขณะฝึกหัด

    ใจย่อมฟุ้งซ่านอยู่เสมอ การฝึกหัดก็ฝึกหัดอยู่ตรงนี้
    บุญ-บาปเป็นของใจ
    สมบัติกายนั้นหาอยู่ไม่รู้จบไม่รู้พอ
    ตนเกิดในภูมิใด ใจก็ฟุ้งซ่านกับภูมินั้น หาอยู่เช่นนั้น
    ความต้องการถาม
    ความสามารถเอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น
    มันก็สมภูมิ เต็มอยู่ในภูมินั้น
    เราเป็นมนุษย์นี้อยู่ได้ในสถานกลาง ดี - 1 -
    ชั่ว - 1 -
    สุข - 1 -
    ทุกข์ - 1 -
    ใจเราก็วุ่นอยู่ในอยากได้ความดีอยากหนีความทุกข์
    เราทุกคนให้มั่นคงในตัวเอง

    ให้ตั้งใจในตัวเอง 1 สวดมนต์ไหว้พระ
    2 ศีล
    3 ภาวนา
    4 เมตตา
    5 เคารพอ่อนน้อม
    น้อยเก็บน้อย
    มากเก็บมาก
    ของน้อยรวมกันมากก็ได้ของมากเองหรอ
    ผู้หาบุญหากุศลเดี๋ยวนี้มีมาก
    หา-อยาก-อย่าหลง, หา-อยากให้ถูกต้อง

    ให้รู้จิตของตน นึกคิดอย่างใด
    จับให้อยู่ที่ใด
    ใช้อุบายอันใด ก็ให้แยบยลอันนั้น แน่นแฟ้น พิจารณาให้ชัดแจ้ง
    แรก ๆ มันก็ร่ำเรียน เป็นวิชชาของโลก
    นานเข้าก็เป็นธรรมไปเท่านั้นเองเพราะอาศัยการศึกษาของตน อาศัยการอบรมตนเองแต่วันนี้ เวลานี้
    รู้แจ้งโลก จบแจ้งโลก จึงได้ธรรมมะเป็นโลกุตตระ

    เราทั้งหลายให้รู้จักมอง มองธรรมดาให้เป็น
    เพราะ ธรรมมะมีอยู่ในตนของตน
    ขึ้นต้นทำบุญกุศลให้มาก ให้เจริญ รักษาบุญกุศลใหม่ ละลายบาปกรรมเก่า ไม่ทำชั่วใด ๆ อีก

    อย่าให้ผิดพลาดเพราะคนพาล
    คบคนพาลมันพาให้ผิดพลาดได้
    เดี๋ยว บาทพระคาถาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ายังมีอยู่
    ศีลธรรม ธรรมวินัย มีอยู่ครบ
    เป็นเครื่องชี้บอกหนทางความสุขสุคติไว้ให้อยู่
    เครื่องกางกั้นจิตมีอยู่คือ ศีล
    เครื่องอบรมจิตมีอยู่คือ ธรรม

    ให้มุ่งแก้ไขตนของตน
    เครื่องแก้ไขมีอยู่ ของที่จะให้แก้มีอยู่ ผู้แก้ไขมีอยู่
    ตั้งใจไปเรื่อย อย่าท้อถอย
    ให้รู้เรื่องของมันให้ได้
    ไม่ได้ในชีวิตนี้ก็ต่อไปได้ในชีวิตต่อไป

    เราภาวนา ใจไม่อยู่
    ใจมันฟุ้งซ่าน
    ให้บริกรรมผูกใจไว้ก่อน
    คำบริกรรม - 1 -
    ผู้บริกรรม - 1 -
    แยกให้ออก ผู้รู้บริกรรม กับคำบริกรรม คนละอัน
    จับรู้นั้นเรื่อยไป
    อย่าทิ้งผู้รู้สึกอันหนึ่ง ผู้นั้นไป
    ตั้งใจ
    ของคนทุกคน
    .......................................................................................................................................
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    11 ตุลาคม 2545

    ตั้งใจจิตไม่อยู่อย่าไปโกรธให้เจ้าของ
    อย่าให้มันอยาก
    อย่าน้อยอกเสียใจ
    ให้นึกเสียว่า...โอ...บาปเรามีมาก ต้องทำดีต่อไปให้มาก บุญมากก็ตั้งอยู่ได้ เพราะบุญเป็นกำลังของใจ ใจเรานี้ไม่มีกำลังพอที่จะรองรับส่วนบุญนั้นได้
    เพราะบาปมันปรุงใจ
    เหตุผลก็คือเราทำแต่บาปไว้มาก
    ในบุคคลผู้รักษาตัวเองได้นั้น บุญก็รักษาใจ
    ธรรมมะก็เป็นเครื่องบำรุงปรุงใจ
    ธรรมมะเป็นสิ่งบันดาลใจอยู่ตลอด
    จิตมีแต่ความสว่างอยู่ตลอดในท่านผู้สำเร็จ
    เพราะมีญาณทัสสนะรู้เหตุผลของใจ
    รูปกายอันเป็นอยู่ จึงอยู่ได้ด้วยธรรมเป็นธรรม
    รูปใจนั้นล้วนแต่เป็นธรรมไปแล้วโดยสุดส่วน
    ตัวเราเดี๋ยวนี้ เกิดมามันทำบุญมากกว่าบาป
    หรือเกิดมาทำบาปมากกว่าบุญ
    นี้เพราะบาปมันมาก พอมาทำภาวนาจึงได้ลำบากนักหนา
    ให้คิดอ่านของตนให้ดี
    เอาธรรมมาแก้ขันธ์
    เอาธรรมมาแก้ดีแก้ชั่ว
    เอาธรรมมาแก้ไขบุญบาปคุณโทษ
    เอาธรรมมาแก้โลก
    ชีวิตใดรู้ใจได้มันก็ตรง ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
    เพราะบุญส่งผล คนพบปะคนดี ได้ผลดีต่อยอด
    เราปุถุชนคนมืด คนหนา
    คำว่า มืด คือ ไม่รู้มาจากใด
    ไม่รู้จะไปที่ใด
    ความไม่รู้อันนี้เป็นของหมุนพาเกิด-ตาย
    หากไม่แก้ไขตนเอง เกิด-ตาย
    เกิด-ดับ
    ต้องเป็นอยู่เช่นนี้
    เมื่อไม่แก้ไขตนแต่อย่างใด ก็เป็นอันหมดหนทาง
    เราภาวนาอยู่นี้แม้ลำบากก็เพราะใจมัยาก
    แต่ให้พยายาม
    เสาะหาหนทางพาให้หลุดจากโลกวัฏฏสงสารนี้ให้ได้
    เดี๋ยวนี้ กาย - 1 -
    ใจ - 1 -
    ใจรู้สึกอยู่ กายนั้งอยู่
    จับตรงนี้ให้ได้ก่อน

    ปีติ - สุข - อุเปกขา - เอกัคคตา
    จิตเป็นหนึ่ง
    จิตอยู่ในองค์ฌาน
    ให้รู้ทางเดินแค่นี้ก่อน
    ตั้งใจกำหนดภาวนาของตน
    เอาผู้รู้นั้นจดจ่อต่อเนื่องเอาไว้
    .......................................................................................................................................
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    12 ตุลาคม 2545
    14.30-15.00 วันทำบุญอุทิศ - มีสวดพระปริตต์

    เช้า...นั่งภาวนา
    ได้น้อยหนึ่งก็เอา ชั่วระยะ ช้างพันหู งูแลบลิ้น
    ตั้งใจภาวนาของตน
    อย่าคิดไปนั่นไปนี่ อย่าให้มันคิด
    ตั้งใจของตน
    เก็บเล็กสะสมน้อยไปเรื่อย ให้ได้เป็นเหตุเป็นปัจจัย
    ให้ได้เป็นอารมณ์ประจำตน
    ระลึกถึงใจของตน
    ทำบุญให้มันเกิดขึ้นจากใจของตน
    หน้าที่จะได้ทำเช่นนี้อยู่ตลอดไป จนจะสามารถเอาชนะได้
    ...........................................................................................................................................

    13 ตุลาคม 2545
    ตั้งใจของตนเกิดมาชีวิตนี้
    ได้พบปะศาสนาของพุทธะ หน้าที่ทำความดี ไม่ทำความชั่ว
    เราทุกคนนี้ เมื่อใจจากไปเสียจากกาย
    ใจก็ถือเอาบุญและบาป

    บาปพาไปนรก
    บุญพาไปสวรรค์ - เราเป็นมนุษย์นี้ดีเกิดได้ ชั่วก็ได้
    ชีวิตใดเกิดมาพบปะบัณฑิต ก็ถึงสุขสวรรค์ได้
    ชีวิตใดเกิดมาอยู่กับคนพาล ก็ได้นรกตกต่ำ
    นรกมี สวรรค์มี พรหมมี เปรตมี ผีมี เดรัจฉานมี คนมี หนทางของความหลุดพ้นมี

    เรามีกายเรามีใจ - หากเพิ่มชั่วก็ได้บาปกรรม
    - หากเพิ่มดีก็ได้กุศลกรรม

    บุญ-บาป-ใจ-ไม่เป็นตนเป็นตัว
    แต่เป็นของมีอยู่ หาใช่ตัวคนแก่นสารอะไรไม่
    เราเป็นมนุษย์จะเพิ่มดีหรือจะเพิ่มชั่ว
    หากรังเกียจบาปกรรมความชั่ว ก็ทำดีได้ง่าย
    หากรักบุญธรรมบุญ ก็ทำดีได้ผล
    นั้นคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้
    อะไรคือ สมบัติของใจ
    อะไรคือ เครื่องรักษาใจ
    ส่วนใดของกาย ตายไปเราถืออะไรไปด้วย
    คิดอ่านในตน

    ปฏิปทาของตนในวันนี้ 1. ให้ไหว้พระสวดมนต์
    2. ศีล 5 ศีล 8
    3. เคารพ
    4. เลี้ยงบิดามารดา
    5. พิจารณาอกิณหเกิดแก่เจ็บตาย
    6. เมตตา
    7. ภาวนา
    8. พิจารณาทุกข์
    การเจริญภาวนา ก็คือ การทำบุญกุศลให้เกิดขึ้นแก่ตนให้งอกงาม เกิดแล้วในใจ
    บุญไม่หาย
    บาปไม่หาย
    กรรมไม่หาย
    ธรรมไม่หาย

    อบรมอย่างใด-สะสมอย่างใด-นิสสัยปัจจัย ก็เดินไปอย่างนั้น
    เดี๋ยวนี้ตัวเราอะไรมากกว่ากัน
    ชีวิตนี้เกิดมาแต่เกิดมาจนวันนี้ ชั่วมากกว่าดี บาปกรรมมากในใจ
    ให้ตั้งใจให้บุญกุศลเกิดขึ้น
    ได้เท่าใดก็ยินดีในตนเท่านั้น

    ตั้งใจรักษาใจบำรุงใจ ให้ใจเราอยู่ด้วยสุขสงบ
    อยู่ด้วยบุญกุศล
    อยู่ด้วยธรรม
    ตัวเราทุกคนเดี๋ยวนี้ ใจมันอยู่ยาก
    ใจมีอยู่
    กายมีอยู่
    ใจผู้นึกคิด
    กายตั้งอยู่-นั่งอยู่
    การฝึกหัดตนมิใช่ของง่าย
    อดทนพากเพียรตั้งใจไปเรื่อย ๆ
    ให้ตั้งใจ พยายามกันไป อย่าทำชั่ว ใส่ใจความดี
    ตัวเราวันนี้ ดีมีอยู่ แต่มันยังน้อย
    เดี๋ยวนี้ รู้ภาวะ ได้เดียงสา
    ในตนของตนก็ให้รักษาไป
    บุญกุศลของตนอย่างใด
    ธรรมมะปัญญาของตนอย่างใด
    อะไรมันเป็นของชั่วในใจให้ทิ้งเสีย
    ธรรมรักษากาย
    ธรรมรักษาใจ
    กายใจเป็นธรรม
    รูปนามเป็นองค์พระธรรม
    นั้นเองจึงพ้นทุกข์ได้
    เอ้า ! ตั้งใจภาวนา
    มันเผลอไป ตั้งใจใหม่
    ตั้งใจ กายอันนี้
    ใจอันนี้
    ใจผู้รู้สึก
    จับตรงนั้นเอาไว้
    .....................................................................................................................................
     

แชร์หน้านี้

Loading...