การโต้แย้งในการปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 4 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]
    <!-- Main -->[SIZE=-1]
    มื่อท่านเป็นนักปฏิบัติเื่พื่อการพ้นทุกข์ ย่อมรู้จักกัลยาณมิตรที่มีจริตนิสัยในการปฏิบัติอยู่
    สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอในหมู่กัลยาณมิตรก็คือ การนำเรื่องราว ประสบการณ์การปฏิบัติของตน
    มาบอกเล่าแก่ผู้อื่น ในการเล่าเรื่อง จะด้วยเหตุผลส่วนตัวเพราะอะไรก็ตาม

    แต่ที่ตามมาเสมอ ๆ ก็คือ

    1. เกิดการโต้แย้งจากผู้อื่น เพราะความเห็นต่างออกไป จะว่าด้วยเหตุอันใดก็ตาม
    2. เมื่อเกิดการโต้แย้งขึ้น ผลที่ตามมาคือ ความฟุ้่งซ่าน
    3. เมื่อเกิดการฟุ่งซ่าน ผลที่ตามมาก็คือ การขัดขวางความก้าวหน้าในการปฏิบัติ

    ที่คือจริตนิสัยของผู้ที่กำลังเดินในทางแห่งมรรค มักเป็นเช่นนี้เสมอ

    ท่านอาจจะโต้แย้งผมเช่นกันว่า ผมมองโลกในแง่ร้าย
    การโต้แย้งจะทำให้เกิดปัญญา เพราะถ้าตนเองปฏิบัติผิดทาง ผู้มาบอกทางที่ถูกจะทำให้
    เราเข้าใจได้ว่า ที่ถูกคืออย่างไร

    ผมจะบอกท่านว่า นักปฏิบัติที่เขาเดินทางมามากและรู้ว่าทางที่ถูกคือเช่นไรแล้ว
    คนพวกนี้จะมีนิสัยอย่างหนึ่ง ก็คือ การเงียบ ครับ เขารู้ว่าท่านผิด แต่เขาจะเงียบ
    ไม่เปิดปากใด ๆ เพราะอะไรหรือครับที่เงียบ มันมีเหตุผลอยู่ 2 ประการ

    ประการแรก นักปฏิบัีติทีเจนทางพวกนี้ ถ้ามีอะไรเกิดสั่นไหวในจิตใจ นั้นคือทุกข์เกิดแล้ว
    เมื่อทุกข์เกิดแล้ว ปัญญาในการปฏิบัติของเขาจะตัดทุกข์ที่เกิดในจิตของเขาอย่างฉับไว
    เมื่อปัญญาเขาตัดการสั่นไหวแล้ว การสั่นไหวก็ดับ เมื่อการสั่นไหวดับ เขาก็ไม่มีความคิดจะ
    ตอบอะไรแก่ใครอีก เมื่อไม่มีความคิดเกิดในจิตใจ เขาก็จะเงียบ

    ประการที่สอง ก่อนที่เขาจะเป็นนักปฏิบัติทีเจนทาง เขาย่อมเป็นนักปฏิบัติตั้นต้นที่ไม่เจนทางมาก่อน
    เขา จะรู้ว่า นักปฏิบัติที่ไม่เจนทางมาก่อน จะมีนิสัยอย่างหนึ่ง ก็คือ การยึดติดความคิดของตนเองเป็นอย่างยิง
    นักปฏิบัติพวกไม่เจนทางจะไม่ฟังใครนอกจากในสิ่งหรือคนที่เขาเชื่อ เขาศรัทธาเท่านั้น
    เมือคนอื่นมาพูด มาบอก เขาก็จะไม่เชื่อ นักปฏิบัติที่เจนทางก็จะรู้ด้วยประสบการณ์ของตนเองว่า
    พูดไป 2 ไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

    สิ่งที่ผมเขียนนี้ ผมแนะนำท่านว่า การโต้ัเถียงในเรื่องการปฏิบัติ

    ไม่เกิดผลดีใด ๆ แก่ท่านเลย และไม่เกิดผลดีใด ๆ แก่ผู้สนทนาแก่ท่านด้วย
    เพราะอย่างไรเสีย เขาก็ไม่เชื่อท่านอยู่ดีถ้าเขาไม่ศรัทธาในตัวท่านเป็นทุนอยู่แล้ว
    ถ้าท่านเข้าใจในการปฏิบัติ ท่านอาจบอกเขาได้ในสิ่งทีท่านเข้าใจก็ได้
    แต่ท่านต้องเข้้าใจในปฏิกิริยาในแง่ลบที่อาจเกิดขึ้นในสิ่งทีท่านพูดออกไป
    ท่านได้ทำหน้าทีของกัลยาณมิตรของท่านแล้ว
    กิจของท่านสมบูรณ์ในตัวแล้ว
    การโต้แย้งเป็นสิ่งที่เกินเลยจากหน้าทีของกัลยาณมิตร
    และเป็นผลร้ายแก่ทุกฝ่าย

    ฝากท่านพิจารณาด้วยปัญญาของท่านเอง


    ที่มา
    [/SIZE]http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=03-02-2010&group=5&gblog=75]BlogGang.com
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    [​IMG]
     
  3. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +705
    ตามนั้นเลยครับทั้งฟุ้งทั้งหลง
     
  4. THEFOOL23

    THEFOOL23 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +136
    การโต้แย้งในการปฏิบัติ เป็นสิ่งดี เป็นสิ่งดี เป็นสิ่งดี

    เราจะฟัด กับ กิเลส ในการปฎิบัติ ใครผิด ใคร ถูก ก็ต้อง เอามาแย้งกันให้ หมอบไปข้าง

    การปฏิบัติ นะ ไม่ ช่าย แมวดำ กับ แมวขาว ที่จับหนู ได้เหมือนกาน

    แต่ มัน คือ ธรรมมะ กับ กิเลส อย่าเอามารวมกาน ผิด คือ ผิด ถูก คือ ถูก

    ชั่ว ก็คือ ชั่ว ดี ก็คือ ดี อย่า เหมารวมกันว่า ดี ก็ คือ ชั่ว ชั่ว ก็ คือ ดี ได้คับท่าน

    อย่าหลงทาง
     
  5. SONICx

    SONICx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +225
    เจ้า ของกระทู้นี่ เป็นคน วิตกจริตอย่างใหญ่ ตนเป็นผู้ฟุ้งซ่านแล้ว ก็เหมารวมเอาผู้อื่นนั้นฟุ้งซ่านไปด้วยกับตน
    น่าสังเวชใจ
     
  6. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    รู้ว่าเราฟุ้ง ก็เป็นการตามรู้สภาวะอย่างหนึ่ง อยู่ในสติปัฏฐาน
    และการมีธัมมสากัจฉา สนทนาธรรมตามกาลก็นับเป็นสิ่งมงคลมิใช่หรือ

    ไม่ควรมองว่าเป็นการโต้แย้ง หากเราเปิดรับ สิ่งใด ๆ ก็ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น
    ปรับทุกอย่างมาเป็นการเรียนรู้
    ปรับจากศัตรูมาเป็นอาจารย์
    นับว่าเป็นการพัฒนาจิตไปอีกขั้นหนึ่งมิใช่หรือ
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  8. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    958
    ค่าพลัง:
    +1,699
    หวัดดี สันโดษที่รัก

    จะเอาเรื่อง วิปลาส 3 มาฝากในกระทู้หน่อยนะ
    เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่สนใจ

    1 ทิฏฐิวิปลาส คือ การเห็นผิด เห็นคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
    2 จิตวิปลาส คือการคิดผิด คิดคลาดคลื่อนไปจากความเป็นจริง
    3 สัญญาวิปลาส คือจดจำผิด จำคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง

    แบบว่า ถ้าใครมีตรงนี้มากๆ ปรับไม่ได้ เห็นถ้าจะวิปลาสยาวนาน
    คุยกับเขาให้ตายก็อาจไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย
    ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งจ๊ะ

    แต่ถ้าเป็นผู้มีจิตใจเป็นกลางได้แม้ในบางชั่วขณะ
    เขาก็สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นจริงตามความเป็นจริงได้
    ตามสุภาษิตที่ว่า มีศัตรูเป็นบัญฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นคนพาล
    เพราะเราสามารถหาประโยชน์ได้จากบัณฑิต แม้นจะเป็นศัตรูก็ตาม
    เพราะบัณฑิต ย่อมนำแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์และความเป็นจริงมาถ่ายทอด

    ({)
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465


    เอ...ผมเอามาจากเพลงจีน ....เป็นภาพบรรยายธรรมชาติกลมๆอย่างหนึ่ง
    ที่ใกล้เคียงก็รูปนี้

    [​IMG]

    แต่เนื้อหาสาระเวลาถอดความคิดที่สื่อถึงก็เป็นแบบภาพนี้

    [​IMG]

    * * * * *

    หากจะให้บรรยายเล่นๆ ก็

    เหนื่อยไหมกับการสูงเด่นเป็นดั่งขุนพลแนวหน้า
    แต่พอถึงเวลาเขาก็ทิ้ง ลืมกัน เหมือนดั่งไม่เคยรู้จัก

    ยามมีประโยชน์ก็เรียกใช้เหมือนดั่งเราเป็นแสงชัยยามมืด
    ยามสิ้นความมืดกลับสลัดทิ้ง ปลิดปลง อย่างไม่ใยดี

    สนุกไหมกับรสอร่อยของการเป็นผู้กรุยสร้าง
    ยังไม่รู้จางอีกหรือถึงยาม ที่มัน แปลเป็นขม

    หากไม่แลเห็นสิ่งจำเจแสนสนุกเดี๋ยวดีเดี๋ยวตรม
    ก็จะต้องสาระวนกับการปั่นกระทู้ ชูเพื่อนผอง มิคิดออกมา

    ....นะเอย นะเอย....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  10. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +158
    สภาพธรรม ธรรมมารมณ์
    แด่ศัตรูซึ่งจะเป็นคุณครูที่รัก
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ไม่ผิดหรอก ที่ลง นะเอย นะเอย เพราะมันมีความหมายจำเพาะหนะ
    พูดตรงๆ ก็คือ ผมหมายส่งเทียบยุทธนี้ต่อ แม่นางลีหมกโช้ว(ของใครหลายๆคน)

    แต่ก็ฟังเล่นๆได้นะ

    ส่วนเรื่อง เผลอแล้วรู้ นี่คุณเห็นว่าเป็นของแปลก ที่มันแปลกเพราะไม่เคย
    ยกมาทำมาก่อน ก็เลยแปลกๆ แต่ถ้าคุณเคยเทียวไปในค่ายสติปัฏฐานทั่วไป
    ก็จะได้รับการสอนคล้ายๆ แบบนี้แหละ เขาเรียกว่า ตามรู้ คือ ให้มันปรากฏ
    ก่อน(เผลอไป หมายเอาใน มโนทวารเท่านั้นนะ พ้นจากนี้ เรียก ผิดศีล)
    แล้วค่อยตามรู้ในสิ่งที่เผลอไปสดๆร้อนๆ (การพิจารณาสิ่งไรๆ โดยมี
    อินทรีย์สังวรณ์ มีศีล5อารักขา เรียกว่า สัมมาสมาธิ -- หลวงพ่อพุธ)

    และที่แปลกกว่า เผลอแล้วรู้ ก็คือ จะเกิดสมาธิได้อย่างไร ในเมื่อเผลอไป
    แล้วค่อยรู้ ในความรู้สึกเรา เผลอไป มันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร

    อันนี้ เราถกกันในกระทู้ที่คุณเข้าไปเมาเชือกกล้วยนั่นแหละ หากจะชี้ชัด
    ลงไปก็คือ มันเป็นการทำกรรมฐาน40 ชนิดหนึ่ง เรียกชื่อเป็นทางการว่า
    "อุปสมานุสสติกรรมฐาน" เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า "ทรงอารมณ์นิพพาน"

    ทีนี้คุณก็จะยังสงสัยอยู่ว่า แล้วสมาธิมาได้อย่างไร อันนี้ก็ต้องไปอ่านใน
    กระทู้เมาเชือกกล้วย ในส่วนที่ พระอานนท์ก็ถามพระสารีบุตรว่า "แล้วสมาธิ
    มาได้อย่างไร?" แล้วพระสารีบุตรก็กล่าวตอบไว้

    ถึงอย่างไร แม้ฟังคำอธิบายแล้วด้วยมานะเทียบเขาเทียบเราบางประการ ก็จะ
    ทำให้ไม่เข้าใจอีก เราก็ต้องสังเกตเอาที่ ความเป็น "พุทธิจริต" ของพระสารี
    บุตร แล้วก็ย้อนมาดูว่า คุณเกิดคนเก่งมีแววเป็น "พุทธิจริต" ไหม ซึ่งผมก็
    ชมยกใหญ่เดาสุ่มๆไปว่า คุณเกิดมี ทั้งนี้ที่เดาสุ่มได้ก็เพราะ จริงๆแล้วคนเรา
    ทุกคนต่างมี จริต6ประเภทในตัวเหมือนกันหมด เพียงแต่ตอนไหนมันจะเด่น

    ของพี่เกิดนี่ กำลังคิดอ่านการณ์ใหญ่ล้มสำนัก ก็แปลว่า กำลังระดมความคิด
    ก็ไอ้ตอนนี้แหละที่คุณเกิดกำลัง ใช้พุทธิจริตเด่นขึ้นมา ก็เลยโดนผมหยอด
    แล้วหยอดเล่าให้งงงวย เพราะโดนอาศัยประโยชน์ช่วง พุทธิจริต มันเด่น

    ไปๆมาๆ คุยไปคุยมา เด่นมากๆ เผลอๆจะเข้าใจคำสอนพระสารีบุตรด้วยซ้ำ
    เอานา ในประโยคที่ว่า "ดับภพคือนิพพาน" "ดับภพพาลสงสัยคำสอนคือ
    นิพพาน" ....น้าน!! ( อย่าลืมนะ ทรงอารมณ์นิพพานนี่ หากใช้ความเป็น
    พุทธิจริตเด่นมาระลึก ทำได้นะ ไม่มั่ว ไม่ใช่ส้มหล่น )

    นี่ยังไม่รวมคำ "สัญญาหนึ่ง" ปรกติเราได้ยินแต่ "จิตหนึ่ง"

    เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวลัดมากๆ จะฮาโตริกันเสียก่อน (แผลงมาจาก ซาโตริ
    ของมหายาน/เซน และเลี่ยง ซาโตริ เพราะมันใกล้ชื่อคนบางคน เดี๋ยวฃจะเพี้ยนเป็น ซาโต'ฤทธิ์ มันจะฮาไม่เลิก )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  12. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    958
    ค่าพลัง:
    +1,699
    (เพลง) คล้ายจะเศร้านะเอย



    :boo:
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อันนี้ ก็เกริ่นให้ฟังนะ ถือว่า เล่านิทานให้ฟัง

    จิตผมจะแบ่งเป็น 108 ขั้น

    แล้วแจงออกเป็น ภายใน ภายนอก คือ จากเราเอง กับจากสรรพสัตว์

    จากนั้นแจงออกอีก เป็นหกทาง คือ หู ลิ้น ตา คอ(กาย) จมูก ใจ

    พอชำนิชำนาญพอ ถึงจะแยกดูเป็น ชอบ ไม่ชอบ กับกูเฉยหวะ(สำคัญตนว่าเฉย - มีกูเฉย)
    [ ตรงนี้เท่ากับการดูขั้นที่ 5 ของพี่ ซึ่งก็พอเพียงเหมือนกัน แต่สำหรับบางคนนี่มันไม่คณามือ ]

    หลวงพ่อนิรนามที่คุณเห็นว่าสอนผิดหนะ เขาสอนได้ละเอียดแบบนี้ ทีนี้มันผิดเพราะ
    ไม่เคยได้ยินได้ฟังกันมาก่อน นี่ขั้นเบาะๆ นะ ขั้นกว่านี้ก็สอนได้อีก พูดแค่ไม่กี่คำก็น้อม
    ไปพิจารณาได้ ตรงนี้ก็แล้วแต่วาสนาของคนๆนั้น เนาะ

    เคยได้ยินไหม

    สาวกทั่วไป ไม่สามารถแก้ปัญหาของพระโมคคัลลานะได้
    พระโมคคัลลานะ ไม่สามารถแก้ปัญหาของพระสารีบุตรได้
    พระสารีบุตร ไม่สามารถแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้าได้

    ฉันใดก็ฉันนั้น พี่เกิดคิดว่า พระแต่ละธาตุกรรมฐาน จะไปแก้
    หรือเข้าใจพระกรรมฐานธาตุที่ต่างจากตนได้หรือ ไม่ได้หลอก

    มันเท่ากับก่อ สิ่งที่เป็น อจิณไตย เอามายื่นให้คนไม่รู้ ย่ามใจด้วยความประมาทเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    นี่ละเอียดแล้วหรือ นี่มันท่องมาจำมา ทั้งนั้น
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เดี๋ยวจะหาว่า ตำหนิเป็นอย่างเดียว

    จิตละเอียดมันไม่ได้ อยู่ที่ ฟ้า ดิน ภูเขา หรือ อายตนะที่แยกกันอยู่
    แต่มันอยู่ที่ความโง่ ความหลงที่ไม่มีตัวตน
    มันอยู่ที่ ความปรุงแต่ง ในเรื่องราว ความเข้าใจที่อยู่ในใจนี้

    นั่นแหละ จำแนกให้ดีเถอะ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ก็อย่างที่เล่า และแจกแจงไปแล้ว แต่คุณพูดปดว่าเข้าใจ จริงๆแล้วไม่เข้าใจ

    เพราะถ้าเข้าใจ แค่วรรคแรก ที่เกริ่นว่า ธรรมภายใน ธรรมภายนอก ตรงนี้
    หากคุณชัดแจ้ง แผ่กว้างด้วยการรับมาพิจารณาร่วม ไม่ใช่ผลักไป และไม่
    ใช่เอาไว้รองบาท(ทำสมาธิบางประเภท)

    เรื่องที่ว่า ทำไมธรรมจึงเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แปรไปตามแต่ละบุคคล คุณจะไม่
    ตั้งคำถามขึ้นมาเลย

    และหากคุณแทงตลอดด้วยความเข้าใจในคำว่า ธรรมภายใน ธรรมภายนอก แล้ว
    คัดออกมาแต่คำว่า ธรรม ก็จะเห็นว่า เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องของบุคคลคนใด
    คนหนึ่ง ....ธรรมะมันเป็นของกลาง กิเลสมันก็ของกลาง ของเดิม มีมาแต่สมัย
    ไหนๆ กิเลส อาการกิเลส มันก็ตัวเดิมๆ

    เรื่องสมถะ เดี๋ยวเอา หรือ เดี๋ยวไม่เอา นี่หากเข้าใจ ปฏิบัติด้วยตนเองมาจริงจัง
    ก็จะไม่ถามคำถามนี้หลอก ต่อให้เป็น กรรมฐานแบบลำดับของ พระสังฆราชที่
    รจนาไว้ ก็ยังมีหยุด มีเพิ่ม มีลด มีทอน มีเร้า มีสับ มีหลีก มีเมื่อไหร่ควรนั่งใกล้
    เมื่อไหร่ควรห่างไกล ปรากฏเป็นหลักสูตร

    จิตแรกที่บอกว่าผิด แท้จริงแล้ว คุณนั่นแหละผิด เพราะคนที่เข้าไปหาท่าน ต่าง
    รู้อยู่แต่แรกแล้วว่า ต้องการทราบการปฏิบัติแบบใด ต้องการได้ยินคำสอนแนว
    ไหน ก็กล่าวอนุเคาราะห์ไป แม้จซ้ำๆ ก็ไม่เหนือย

    แต่โดยหลักการแล้ว ก่อนจะบอกกล่าวแบบคล้ายๆรายบุคคล ก็จะมีการกล่าว
    สอนการทำกรรมฐาน40 ในลักาณะต่างๆไว้ก่อนเสมอๆ เว้นแต่เป็นคอสที่มีคนไป
    ติดต่อกันหลายวัน ก็จะเห็นเทศน์ทั่วไปช่วงแรกสั้นลง

    ทีนี้ คุณเกิด ก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะอาศันฟังๆ ตามเขามา คนที่เล่ามา เขาก็ตัดมา
    แค่ช่วง หรือ คำ ที่เขาเห็นเท่านั้น

    คุณเกิด ออกปากเองว่า ไม่ได้ไปหาด้วยตัวเองจริงๆ การที่ไม่ได้ไปหาด้วยตัวเองจริงๆ
    ควรแล้วหรือที่จะพูดแบบเต็มปากเต็มคำว่า รู้ถ้วนในความเป็นปรกติ(ศีล)ของคนๆนั้น

    เหมือนในพระไตรปิฏก ที่กล่าวถึงเรื่องการทะเลาะเบาะแว้ง เพราะคนบางคนอาศัยฟัง
    ตามๆพระภิกษุอีกท่านกล่าวถึวอีกท่าน ก็เที่ยวประกาศตามว่า รู้จักภิกษุนั้นนี่ ดีถ้วน
    พระพุทธองค์ก็ยกอุบายถามว่า การที่ได้ยินว่าสาวบ้านนั้นเมืองนั้นสวย ควรแล้วหรือที่
    จะกล่าวเออออไปกับเขาที่ว่าสวย ผะองไม้ไผ่ที่พาดเพื่อเสมอความสูงเทียมต้นตาล
    ทำตัวตีเสมอ สำคัญว่าเสมอ หากไม่เอาไปผาดเทียบใกล้ๆจริงๆ ไปเห็นด้วยตาจริงๆ จะ
    พึงรู้ได้จริงหรือ ....มุสาตั้งแต่แรกนั่นแหละ คนที่กล่าวตามๆกัน เพราะโดนสนตะพาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ตะหลกหนะคุณเกิด ก็คนๆนั้น เขาพึ่งเผลอด่าผมเป็นโพสแรกไปหยกๆว่า

    "นี่มันท่องจำมา"

    แล้วคุณเกิด จะให้เขาคนนั้น บรรยายไปเพื่ออะไร เพื่อตีความโดยอาศัย
    เทียบกับความจำกระนั้นหรือ

    ลองไปทำดูสิ แล้วจะเห็นว่า มันทำได้ ไม่ใช่จำมา แล้วตอบได้ด้วย
    ตัวเอง ละสงสัยได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ชินกับการเอาคำของคนอื่นทรงจำ
    ไว้ หรือ ถือเป็นความรู้ตนข่ม บริภาษคนเพื่อปิดทางตัวเอง แทนที่จะ
    หายสงสัย รู้ได้ด้วยตนเอง ก็จบเห่กัน เสียทั้งขึ้น ทั้งล่อง

    * * * *

    สังเกตไหมหละว่า จริงๆแล้วไม่เข้าใจ แต่ออกปากกับผมเสียงดังว่า เข้าใจ
    แต่แล้วก็ทนไม่ได้ ต้องหันไปถามคนอื่นว่า ช่วยอธิบายหน่อยสิ ผมไม่เข้าใจเท่าไหร่
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คำว่า สติ ของคุณที่มอง อารมณ์โกรธ อุปมาเป็นลำดับ 12345 นั้น ไม่ผิด
    เวลาจิตมีสมาธิดี เวลา สิ่งภายนอกมากระทบ มันก็อยู่แค่ ปลา่ยๆ เป็นกิริยาภายนอกไปเสีย ไม่เข้าไปถึงจิตทั้งดวง เพราะคนที่เข้าไปถึงจิตทั้งดวง มันก็หลงไปแล้ว มืดไปแล้ว
    ก็ ถือว่า เจริญสติ ได้ถูกต้อง เป็น จิตภาวนา

    ทีนี้ ต้องอาศัยปัญญา พิจารณาแยกแยะต่อไป ให้เหตุของมัน เช่นว่า มองให้เห็น สิ่งที่มีกระทบ หยุดไว้ได้เพียง ผัสสะ หรือ รูป ที่มากระทบเท่านั้น ด้วยมหาสติ และ สมาธิที่เท่าทัน ไม่ต้องถึงกับเข้ามาถึง อารมณ์

    นี่จึงเรียกว่า เท่าทัน แต่ถ้าอารมณ์โกรธ ให้รู้ว่าโกรธ นี่มันเข้ามากินทั้งใจไปแล้ว การระลึกรู้ ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร เพียงแค่สลับใจให้ไปเป็น การรู้แทน การโกรธ
    พอระยะยาวแล้ว ไม่ได้ก้าวหน้าอะไร
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ฟังของเขาไปแล้ว มาฟังแนวผมมั่ง

    สติ ที่คุณเห็นนั้น ยังใช้ไม่ได้(ยังไม่จบ จริงไหม) แต่ถือว่าใช้ได้(เอามาต่อยอดสิ)
    ให้เอามาเป็นเครื่องมือใช้ในการภาวนา( ใส่วงเล็บให้เห็น คุ้นๆไหมว่า แบบนี้แหละ ที่โดนกล่าวหา
    แต่หากฟังด้วย ภาษาปฏิบัตินะ มันจะไหลไป ข้ามไป แต่หากฟังเพื่อจับผิด พาล มันเกิด แล้วหยุดฟัง
    ทันที --- พาลมันเกิดที่คุณ ครูหยุดฟัง ผมเสียประโยชน์ หรือ คุณเสียประโยชน์หละ -- ผมหนะ
    เสียประโยชน์อยู่แล้ว เพราะคนอื่นๆ จะหาเรื่องกล่าวว่า เราก่อลัทธินอกศาสนา )

    ทำให้ สติ ที่คุณเห็นตัวนี้มันเกิดบ่อยๆ

    แต่เราจะไปจงใจให้มันเกิด คือ หาเรื่องโกรธ เพื่อดูโทษะ อันนั่นไม่ใช่ แต่ให้หมั่น
    น้อมใจไปไว้ หมั่นน้อมใจที่จะดู ยามใดที่โทษะมันผุดขึ้นอีก สติไปเห็นอีก โดย
    ไม่จงใจ ก็จะค่อยๆ รู้ว่า ที่มันยังเกิดได้ เพราะการเพียรน้อมไปดูมันไม่เพียงพอ

    และที่ไม่เพียงพอเพราะตอนนั้น นิวรณ์ทั้งหลาย มันครอบงำจิตด้วย นี่ก็จะเริ่มเห็น
    ว่า มีนิวรณ์ปรากฏร่วมกับโทษะ มันจึงยังไม่ขาดหายไปจากจิต ยังปรากฏ ก็
    ต้องเพียรน้อมไปอีก จนกระทั่งนิวรณ์เองก็ถูกระลึกรู้ พอนิวรณ์จะขยับก็ระลึกรู้
    นิวรณ์ก็ขาดกระเด็นออกไปอีก ห่างไปจากใจ จิตเริ่มตั้งมั่นเป็นขณะ ปิติ สุข
    เริ่มโชยในจิต แต่ก็ยังไม่เที่ยง โทษะตัวเดิมยังเดินเผ่นผ่านได้อีก เมื่อไหร่ที่
    เผลอ แต่เผลอคราวนี้ไม่ออกมาทางกายแล้ว นิวรณ์ครอบงไม่ได้แล้ว สมาธิ
    มันตัดเป็นกำลังเพิ่ม (ได้สมาธิแล้วนะ) และเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยสติ (สติ
    สัมปัชัญญาสัมปยุตด้วย) ศีลบริบูรณ์ในขณะจิตพร้อมกับจิตที่มีสมาธิ เกิดสัมมา
    สมาธินั่นเอง

    แต่โทษะมันยังอยู่ สมาธิมีแล้ว จิตตั้งมั่นแล้ว สัมมาสมาธิมีแล้ว มันก็เห็น
    ว่าธรรมทั้งหลายผ่านมายังอยาตนะนั่นเอง เห็นอยานตนะได้แล้ว เห็นได้
    ตามความเป็นจริง ไม่มั่ว ไม่เดา ไม่ใช่การจำ และไม่โดนแหกตา ใครมา
    บอกว่าเราจำ นี่เรารู้ทันทีว่าเขาไม่รู้

    แต่มันผ่านอยาตนะมา แล้วโทษะปรุงขึ้นเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะอยาตนะ
    แน่ เพราะมันแค่ทำหน้าที่รู้ รู้ที่หูดับที่หู รู้ที่ตาดับที่ตา มันรู้ มันไม่ได้ทำหน้า
    ที่โกรธ แล้วอะไรหละ ที่เป็นจุดและต่อมของโทษะ ที่ปรากฏขึ้นมา ก็จะเห็น
    ความเบาบางของกำแพงบางอย่าง แลไปมากๆ ก็เห็นว่ากำแพงนั้นไปทำอะไร
    มันไม่ได้ แต่มันปรากฏเมื่อไหร่เรามองไม่ทัน แต่เพียงรับรู้ว่ามันมีของมัน
    นี่เราจะเห็นทันทีว่ามันปิดบังสิ่งที่เรียกว่า อาสวะ หรือ ภพน้อย ภพใหญ่เอาไว้
    แล้วโทษะก็มาจากการยึดมั่นถือมั่น ภพน้อย ภพใหญ่ อาสวะเหล่านั้นไว้ มา
    ถึงตรงนี้นะ เพราะภพมันขยับ แล้วสติเกิด ภพนั้นขาดกระเด็น ...ตรงนี้แหละ
    เรียกว่า เกิดสติปัญญา ญาณสัมปยุต ภพดับ หากเห็นบ่อยๆ ก็ทรงอารมณ์
    ไว้สิ คนมีสติปัญญาจะพึงระลึกได้ เข้าออกได้ดั่งใจ เขาเรียกว่า ปลิโพธิ

    สติเกิดก็ตรงนี้ พอเข้าใจตรงนี้ได้ ก็ทำต่อเนืองๆ เพราะ พึ่งเริ่มต้นเท่านั้น!!!

    * * * *

    ปล. อาการขยับ หรือจับมั่นถือมั่น ตรงนั้นเรียก อภิชาญา โทมนัส หรือ เวทนาใจ
    ดูตัวนี้ก็ได้ หากดูอาการแน่นๆ ไหวๆ ในอก ได้เก่ง ลัดเข้ามาเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ก็นะ ใช่ว่า ไม่เห็น

    คุณเกิด นี่คุยได้ ผมเล่นอะไรต่อมิอะไร ผาดโผนแค่ไหน คุณเกิด
    ของผมไม่ลงมาโสมมกับผมด้วย แบบนี้ผมสบายใจ มีอะไรก็เท
    ให้หมดแหละ

    ก็พิจารณาไปครับ เอาตามสะดวก

    * * * **

    ของบางอย่างนะ เราเลี่ยงทำวจีกรรมได้

    เคยได้ยินไหม สังขารหนะ มี3 คือ มโน กาย วจี

    หากสิ่งใดล้นออกมาทาง กาย และ วจี เขาเรียกผิดศีล5

    แต่ถ้ามันยังอยู่แค่ในมโน เราอำพรางไว้ไม่ให้ออกทางวจีแบบตรงๆ ทื่อๆ
    มันจะถือว่า อยู่แค่ใน มโน ส่วนคนอื่นจะแผลงสิ่งที่เราอำพรางไปเป็นคำ
    ตรงนั่น คนๆนั้นทำผิดศีลของเขาเอง เราไม่เกี่ยว เราแค่ผิดในมโน ก็ถือว่า
    เบาลง

    นี่แบบนี้นะ คุณเกิด จะสนุกกับการปรักปรำใครๆ เขาได้อยู่ แต่คุณอย่าไปพูด
    อะไรที่มันตรงๆ เขาเรียกฉลาดในการทำความสกปรก สกปรกเหมือนกันแต่
    ระดับมันไม่มาก

    แล้วเมื่อไหร่นะ เวลาทำสมาธิแล้วมันไม่ลั่นก่ออกุศลแม้แต่ในมโนนะ นิวรณ์
    มันก็ครอบงำไม่ได้ สมาธิที่ทำอยู่ก็มีแต่จะก้าวหน้าได้อีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...