วิชาธรรมกายกับมโนมยิทธินี่เหมือนกันหรือเปล่าครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Anonymous, 3 ธันวาคม 2004.

  1. Anonymous

    Anonymous Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +35
    เท่าที่ศึกษาอ่านจากเวปดู วิชาธรรมกายเป็นวิชาถอดจิตท่องเที่ยวนรกสวรรค์ มีหุทิพย์ ตาทิพย์ คล้ายๆกับมโนมยิทธิ แล้วทำไมถึงเรียกต่างกันล่ะครับ ทั้งๆที่มันน่าจะเป็นวิชาเดียวกันเสียมากกว่า ธรรมกาย กับมโนมยิทธิต่างกันตรงไหนครับ?
     
  2. นายฉิม

    นายฉิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    2,105
    ค่าพลัง:
    +2,695
    ไม่เคยฝึกเลยซะกะอย่าง ธรรมกายหรือว่ามโน ฯ
    เพียงแต่รู้สึกว่า ไม่ว่าเราจะฝึกอะไร จุดมุ่งหมายน่าจะเป็นที่แห่งเดียวกันคือพระนิพพาน
     
  3. mikky

    mikky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    892
    ค่าพลัง:
    +577
    ต่างกัน

    มโนมยิมธิมุ่งที่ฤทธิทางใจ แต่ธรรมกายมุ่งไปที่กายต่าง ๆ 18 กาย ผลของการไปท่องเทียวที่ต่าง ๆ ได้ของมโนมยิมธินั้นเป็นผลทางตรงจากการฝึกมโนมยิทธิ แต่สำหรัธรรมกายนั้นเป็นเหมือนผลพลอยได้ และไม่ใช่ว่าคนได้ธรรมกายจะท่องเที่ยวได้ทุกคน ในขณะที่คนได้มโนมยิทธินั้นท่องเที่ยวภพภูมิต่าง ๆ ได้ทุกคน
     
  4. ปุถุชน

    ปุถุชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +715
    ลองดู

    กราบขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยไว้ ณ ที่นี้ก่อนจะลองตอบคำถามข้างบนนี้ครับ

    ผมเองยังไม่บรรลุวิชาใดแต่มีศรัทธาจึงขอลองตอบเท่าที่ความเข้าใจมีอยู่ครับ

    วิชามโนมยิทธิ ( มีหลายแบบ ) แบบที่หลวงพ่อฤษีท่านเมตตาเผยแพร่สั่งสอน
    1. เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้หลวงพ่อท่านนำมาสอนเพื่อการบรรลุอรหัตตผลอย่างไม่เสียเวลาเพราะคณะของหลวงพ่อมีบารมีมากแต่มีเวลาน้อย ไม่อย่างนั้นไม่ทันท่าน มัวแต่โต๋เต๋เสียเวลา
    2. เป็นการใช้ผลตัวปลายของอภิญญา และเป็นการปูทางเตรียมกำลังใจรับภาวะการทรงอภิญญาเมิ่อกำลังใจเข้มข้นและวิปัสนาญานพอตัวที่จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน
    3. ต้องเคยทรงอภิญญามาในอดีตชาติไม่ต่ำกว่าพันชาติ
    4. ใช้แก้ข้อสงสัยส่วนตัวที่มีต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้การปฎิบัติธรรมบรรลุผล ( อริยผล ) เร็ว เพราะเมื่อหมดข้อสงสัยก็เบื่อหน่ายในขันธ์ห้า ถ้าหมั่นฟังที่ท่านสอนตอนพบข้างบนและนำมาทำจริงก็ชนะกิเลสได้ในชาตินี้แน่ หรือแม้แต่แค่รักษาอารมณ์ใจของภาวะพระนิพพานที่รู้สึกอยู่ข้างบนนั้นไปนานๆก็กลายเป็นความชิน กิเลสดันหายไปเองตอนไหนก็ไม่รู้
    เรื่องอภิญญาหลวงพ่อฤษีท่านสอนต่างหากนอกเหนือไปจากมโนมยิทธิ บางทีท่านก็ส่งไป อยู่กับหลวงปู่โง่นที่พิจิตร
    5. บางท่านใช้ความเป็นทิพย์ของจิตในมโนมยิทธิทราบคติของตัวเช่น พุทธภูมิ หรือสาวกภูมิ ก็เรียนต่อจากอาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์ สร้างบารมีกันไป

    วิชาธรรมกายที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ ค้นจนพบ ( ท่านเรียก วิชชา )และเมตตานำมาเผยแพร่สั่งสอน
    1. เป็นวิธีปฎิบัติธรรมที่สอนให้ปฎิบัติจนถึงอรหัตตผลได้ทั้งเวลามากและเวลาน้อย
    2. เป็นการฝึกเพื่ออภิญญาโดยตรง ฝึกต่อเนื่องเป็นขั้นๆไปโดยมีครูที่มีเจโตปริยญานแนะนำวิธีการและตรวจสอบผลที่เรียกว่า " ต่อวิชา "
    3. มีการฝึกที่มีในลักษณะกีฬาทางจิต, วสี และการใช้อภิญญาอย่างเข้มข้นทั้งเพื่องานพุทธภูมิ ( ปราบมาร ) และ เพื่องานมรรคผลส่วนตัว ( สะสางธาตุธรรม ) เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่ต้องเรียนรู้และปฎิบัติตามที่หลวงพ่อท่านวางแบบไว้จะทำเฉพาะส่วนที่ชอบเท่านั้นไม่ได้
    3. ผมเชื่อว่าผู้ฝึกทางนี้ก็เป็นพวกที่ทรงอภิญญาในอดีตชาติอย่างโชกโชนมาแล้วเช่นกัน
    4. เหมือนกัน
    5. เหมือนกัน

    ที่สำคัญผมว่าใครชอบกินอาหารรสใดพระพุทธเจ้าท่านวางผัง จัดสูตรอาหาร บอกรสเปรี้ยวหวาน มัน เค็มไว้หมดแล้ว พระเดชพระคุณทั้งสององค์ท่านก็สอนสั่งแนะนำ ควรดูว่ารสไหนเราชอบ

    ว่าเท่านี้ผมมึนแล้วครับ
     
  5. ปุถุชน

    ปุถุชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +715
    ลองดู ( ต่อ )

    ท่านที่ได้มโนมยิทธิสามารถไปกราบถามจากหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญเองจะดีที่สุดโดยไม่ต้องคาดคะเนซึ่งอาจไม่ตรงความเป็นจริง

    อย่าลืมนะครับว่าท่านสามารถใช้มโนมยิทธิแก้ข้อสงสัยที่ตัวเองมีเกี่ยวกับเรื่องในพระศาสนาได้เป็นอย่างดี


    ในทำนองเดียวกันผู้ที่ เป็นธรรมกายก็สามารถอาราธนา พระธรรมกาย พาไปท่องเที่ยว พาไปกราบพระพุทธเจ้า สอนธรรมให้ตัว ได้เช่นกัน เป็นอภิญญาเดียวกัน


    เรื่องแนวทาง วิธีการสอนของแต่ละท่าน ความชอบ, ความเข้าใจ ต่อการสอนมีความเกี่ยวพันกับการสร้างบารมีร่วมกันในอดีตชาติเป็นอย่างมาก
     
  6. พฤติจิต

    พฤติจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +230
    กราบขอขมาพระรัตนตรัย และครูบาอาจารย์ของข้าพเจ้าทั้งหลายก่อนที่จะบังอาจตอบคำถามข้างบนนี้ครับ(เป็นเพียงความคิดเห็นอย่าถือเอาเป็นหลักการ)
    1.ถ้าจะด้วยวิธีการในการในการปฎิบัตินั้นแตกต่างกันตรงที่ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกใช้คำบริกรรมว่า นะมะพะ ธะ และมีนิมิตที่กำหนดแตกกต่างกัน(พุทธานุสติ,อาณาปาณสติ)ครับ ส่วน ธรรมกายใช้ อาโลกกสิณ
    อาณาปานสติ และ พุทธานุสติ ครับ
    2.ถ้าในเรื่องของ บาลี มโนมยิทธิ แปลว่า การมีฤทธิ์ทางใจ อยู่ในวิชชา 3 ครับ
    มองเห็นด้วยทิพย์จักขุ เท่านั้น ครับแต่ในทางปฏิบัติ ไม่แน่ใจ เพราะไม่เคยปฏิบัติถึงเสียทีครับ
     
  7. ปุถุชน

    ปุถุชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +715
    ลองดู มีข้อความแก้ไข

    ผมขออภัยทุกท่านอย่างสูงเพราะพบว่ามีข้อความไม่ถูกต้องจากความสะเพร่าของผมเอง

    ในข้อ 3 ของคำตอบส่วนวิชามโนมยิทธิที่ว่า
    " ต้องทรงอภิญญามาแล้วไม่ต่ำกว่าพันชาติ " ขอแก้เป็น
    " ต้องได้มโนมยิทธิมาแล้วไม่ต่ำกว่าพันชาติ "

    หากท่านใดพบข้อผิดพลาดเพิ่มอีกกรุณาแก้ให้ถูกด้วยครับจะได้เป็นการช่วยสร้างธรรมทาน
     
  8. เสาวนีย์

    เสาวนีย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +251
    โอ๊ะ! อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    อะ ดีทั้งคู่ แล้วแต่จริตแล้วกันค่ะ แต่นะค่ะ อยากหลงนะค่ะ นั่นแค่สิ่งรายทาง เหมือนเรานั่งรถชมวิวค่ะ
     
  9. kiatkiat

    kiatkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +825
    ขอบคุนครับ ........ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาอีก .....
     
  10. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,982
    ขุดๆๆ
     
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ตอบง่ายๆ ครับ ในวิชชาธรรมกายนั้น มีเรื่องมโนมยิทธิอยู่แล้วครับ ดังนี้


    วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน


    คำว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” แปลว่า พระองค์ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คุณวิเศษของพระองค์ในที่นี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) วิชชา, (๒) จรณะ อะไรเรียกว่า วิชชา วิชชาในที่นี้หมายเอา ความรู้ที่กำจัดมืดเสียได้ มืดคืออะไร ในที่นี้หมายเอาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงกันข้ามกับ อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้ คือไม่รู้ถูก หรือผิด เพราะว่าเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน จึงมืดมน ไม่รู้ไม่เห็นของจริงคือนิพพาน ข้อสำคัญอยู่ที่อุปาทาน ซึ่งแปลว่ายึดมั่น คือยึดมั่นในขันธ์ ๕ ถ้ายังตัดอุปาทานไม่ได้ตราบใด ก็คงมืดตื้ออยู่อย่างนั้น ตัดอุปาทานได้ มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือพูดให้ฟังง่ายกว่านี้ก็ว่า เมื่อตัดอุปาทานเสียได้ จะมองเห็นนิพพานอยู่ข้างหน้า อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้นั้น ได้แก่ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท และ อริยสัจจะ


    ขันธ์ ๕ เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ ๕ หรือวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เอง มืดมนวนอยู่ในที่มืดคือโลกนี้เอง ได้ในคำว่า อนฺธภูโต อยํ โลโก ซึ่งแปลว่า โลกนี้น่ะมืด ผู้แสวงหาโมกขธรรมถ้ายังติดขันธ์ ๕ อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ก็พวกมีขันธ์ ๕ พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตนรก เรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว


    วิชชา ที่ว่านี้หมายเอา วิชชา ๓ คือ (๑) วิปัสสนาวิชชา, (๒) มโนมยิทธิวิชชา, (๓) อิทธิวิธีวิชชา, แต่ถ้านับรวมตลอดถึง อภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชา เข้าด้วยกันแล้ว รวมกันเป็น ๘ คือ (๔) ทิพพจักษุวิชชา, (๕) ทิพพโสตวิชชา, (๖) ปรจิตตวิชชา, (๗) ปุพเพนิวาสวิชชา, (๘) อาสวักขยวิชชา


    ส่วน จรณะ นั้น มี ๑๕ คือ (๑) ศีลสังวร, (๒) อินทรียสังวร, (๓) โภชเน มัตตัญญุตา, (๔) ชาคริยานุโยค, (๕) ศรัทธา, (๖) สติ, (๗) หิริ, (๘) โอตตัปปะ, (๙) พาหุสัจจะ, (๑๐) อุปักกโม (วิริยะ), (๑๑) ปัญญา กับ รูปฌาน ๔ จึงรวมเป็น ๑๕



    วิปัสสนาวิชชาแยกได้เป็น ๑๐ ประการ คือ


    สัมมสนญาณ
    พิจารณาย่นย่อนามรูป คือ ความเห็นตามเป็นจริงของนามรูปนั้นๆ


    อุทยัพพยญาณ คำนึงถึงความเกิดความดับของสังขารร่างกาย ดังอุทาหรณ์เรื่องฟองน้ำ ดังที่กล่าวมาข้างต้น คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ ติดต่อกันไป


    ภังคญาณ คำนึงถึงแต่ความดับอย่างเดียว ให้เห็นว่าสังขารร่างกายที่เกิดมาแล้วนี้ มันรังแต่จะแตกดับอย่างเดียว และก็จะแตกดับอยู่รอมร่อแล้ว ประหนึ่งเรือนที่ปลูกอยู่ริมตลิ่ง ทั้งตัวเรือนก็เซซวนจวนจะพังอยู่แล้วด้วย ซึ่งเป็นความจริงแท้ เราพูดกันอยู่หยกๆ พอขาดคำ เราอาจจะตายเพราะโรคภัยอันตรายล้อมอยู่รอบข้าง ไม่รู้ว่ามันจะปรากฏขึ้นขณะใด


    ภยญาณ คำนึงให้เห็นว่าสังขารร่างกายเป็นภัย เสมือนสัตว์ดุร้ายไม่น่าจะเข้าใกล้ ซึ่งหมายความว่าไม่ควรจะหลงนิยมชมชื่น อันจะดูดดึงให้ใจเราหมกมุ่น เป็นเหตุให้ติดอยู่ในภพ


    อาทีนวญาณ นี่เป็นอีกแง่หนึ่งให้คำนึงถึงโทษแห่งสังขารว่า ถ้าเรามีอุปาทานยึดมั่นอยู่ว่า เป็นตัวเป็นตนของเราแล้ว มันจะให้ทุกข์โทษดังกล่าวในประการที่ ๔ นั้นดุจเดียวกัน


    นิพพิทาญาณ เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งสังขารดังกล่าวมาใน ๑-๒-๓-๔-๕ นั้นแล้ว ก็ให้เกิดปรีชาคิดเบื่อหน่ายสังขารเป็นกำลัง ไม่อยากได้ใคร่ดีแล้ว


    มุญจิตุกัมยตาญาณ ถึงขั้นนี้ก็ใฝ่ใจที่จะให้พ้นเสียจากสังขาร คือ ไม่อยากมีสังขาร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ทำลายสังขารเสียโดยความโง่ๆ เช่น ฆ่าตัวตาย ให้ดำเนินการที่คิดพ้นจากสังขารโดยอุบายที่ถูกทาง



    ปฏิสังขาญาณ คิดคำนึงหาทางพ้นต่อไป แต่หาทางออกทางพ้นไม่ได้ เพราะมันได้เกิดมาเป็นสังขารเสียแล้ว ผะอืดผะอมอย่างนี้ เรียกว่า กลืนไม่เข้า คายไม่ออก สำรอกไม่ไหว ต่อไปก็ถึง


    สังขารุเปกขาญาณ วางใจเป็นกลางไว้ เท่ากับว่าเมื่อกลืนไม่เข้า คายไม่ออกแล้ว ก็อมเฉยไว้ก่อน ต่อจากนี้จะมีญาณอีกอันหนึ่งเกิดขึ้น คือ


    อนุโลมญาณ คำนึงผ่อนให้เป็นไปตามความที่เป็นจริงของมัน นี่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เดินสายกลางหันเข้าหาอริยสัจ ๔ โดยวิธีดังที่บรรยายมาข้างต้น ว่าโดยรวบรัดตัดความ ก็หันเข้าหลักธรรมกายนั่นเอง พิจารณาเห็นแจ้งชัดอริยสัจ ๔ ด้วยตาธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณธรรมกาย จึงเป็นวิปัสสนาวิชชา แต่ละอย่างๆ ที่กล่าวมาใน ๑๐ ข้อนี้เป็นอาการหรือ อารมณ์ของวิปัสสนาที่จะพยุงจิตให้ข้ามขึ้นจากโลกีย์ไปสู่ภูมิโลกุตตระ คำว่าสังขารร่างกาย ในที่นี้หมายถึงนามรูปนั่นเอง ที่เรียกว่านามรูปนั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๕ อย่างนี้รวมกัน ย่นย่อลงเรียกว่า นามรูป



    มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ ใครบำเพ็ญได้ถึงที่ ย่อมทำได้ คือทำให้ใจมีฤทธานุภาพผิดไปจากธรรมดา จะนึกให้เป็นอย่างไรก็เป็นไปตามนึก ดังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ นึกจะให้เทวดามนุษย์เห็นกัน เทวดาก็มองเห็นมนุษย์ มนุษย์ก็มองเห็นเทวดา ซึ่งมีปรากฏใน เทโวโรหนสูตร นั้น เพราะมีธรรมกาย ธรรมกายนึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น


    อิทธิวิธี แปลว่า แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏได้ต่างๆ ดังเช่น เนรมิตจักร เนรมิตพระกาย และเนรมิตปราสาทราชฐานในครั้งทรงทรมานพระเจ้าชมพูบดี จนพระเจ้าชมพูบดีหมดทิฏฐิมานะ แล้วจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอน เป็นต้น


    ทิพพจักขุ แปลว่า ตาทิพย์ ซึ่งหมายความว่า มองเห็นอะไรๆ ได้หมด ไม่ว่าอยู่ใกล้ไกล อย่างไร ดังเช่นเรื่องพระมเหศวรทดลองพระศาสดา ให้ทรงปิดพระเนตรเสีย แล้วพระมเหศวรซ่อนตัว โดยจำแลงตัวให้เล็ก แทรกแผ่นดินไปซุกอยู่ในเมล็ดทรายใต้เชิงเขาพระสุเมรุ พระองค์ก็มองเห็น ทรงเรียกให้ขึ้นมา ยังหาว่าเป็นอุบายของพระองค์จะเดาลักเค้าเอา ในที่สุดพระองค์ก็เอาฝ่าพระหัตถ์ช้อนเอาตัวติดขึ้นมาพร้อมกับเมล็ดทรายนั้นให้เห็นประจักษ์ ตาทิพย์นี้แม้สาวกของพระองค์ก็มีได้ เอาตามนุษย์ ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกัน แล้วเอาตาธรรมกายมองซ้อนตากายอรูปพรหม จะเห็นชัด คล้ายกับว่า แว่นหลายๆ ชั้นซ้อนกัน


    ทิพพโสต แปลว่า หูทิพย์ ใครจะพูดอะไรกันที่ไหนได้ยินหมด โดยเอาแก้วหูกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกันตลอดแก้วหูของธรรมกาย ย่อมสัมฤทธิ์ผลเป็นหูทิพย์ ได้ยินอะไรหมด



    ปรจิตตวิชชา แปลว่า ความรู้ที่สามารถทำให้ล่วงรู้ถึงวาระจิตของผู้อื่นได้ ดังมีเรื่อง พวกยักษ์เป็นอุทาหรณ์ คิดว่าจะตั้งปัญหาถามพระศาสดา ถ้าแก้ไม่ได้จะจับโยนข้ามมหาสมุทร ครั้นมาถึงก็เรียกพระองค์ว่ามานี่ ยังมิทันจะได้พูดอะไรต่อไป พระองค์ก็ล่วงรู้เสียก่อนแล้วว่า อาฬวกยักษ์คิดมาอย่างไร พระองค์ทรงตอบเย้ยไปว่าจะเรียกตถาคตไยเล่า เข้าไปหา ท่านจะจับเราโยนข้ามมหาสมุทร แล้วในที่สุดได้ตรัสตอบไปว่า ปัญหาที่ท่านคิดจะถามเรานั้น พ่อของท่านบอกไว้ใช่ไหม แล้วเราจะบอกท่านได้ต่อไปด้วยว่า พ่อท่านได้รับบอกมาจากพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ล่วงรู้ใจคนได้อย่างนี้


    ปุพเพนิวาสวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ระลึกชาติหนหลังได้ ว่าชาติไหนเป็นอะไร เกิดที่ไหนมาแล้ว ดังมีเรื่องเวสสันดรชาดกเป็นหลักฐาน ไม่มีสิ่งที่จะพึงระแวงสงสัยอย่างไร เป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณแน่แท้



    อาสวักขยวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้นไป กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ทั้ง ๔ ประการนี้ พระองค์มีทัศนะปรีชาญาณหยั่งรู้วิถีทางที่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่มีในพระกมลของพระองค์แม้แต่สักเท่ายองใย


    หลวงพ่อวัดปากน้ำได้สอนไว้ใน ๏๏๏๏ .:: พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระธรรมเทศนาหลวงพ่อวัดปากน้ำ ::. ๏๏๏๏
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=46610
     
  12. หยุดในหยุด

    หยุดในหยุด สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +22
    วิชชาธรรมกาย แตกต่างกับ วิชามโนมยิทธิตรงที่ วิธีการฝึก และการ วางใจ

    มโนมยิทธิ
    ท่านให้เพ่งใจไว้ที่หน้าผาก แล้วท่อง "นะมะพะทะ" ไป จนกระทั่งบรรลุผลไปตามที่บุพจารย์ท่านวางหลักเอาไว้ เริ่มตั้งแต่พระเกตุแก้วจุฬามนี นั้น เป็นต้น
    เป้าหมายของการฝึก ก็เพื่อให้ได้มรรคผลนิพพาน อย่างช้าก็ชาติ ๆ ต่อ ๆ ไป อย่างเร็วก็ในชาตินี้
    อยู่ที่ "กำลังใจ" ของผู้ฝึกเป็นสำคัญ
    ในวิชามโนมยิทธิ มีการสอนเรื่ององค์ปฐม คือพระพุทธเจ้าองค์แรก
    มีเรื่องของพระวิสุทธิเทพ ซึ่งมีกายใสเป็นแก้วทรงเครื่อง
    นิพพานในความหมายของวิชามโนมยิทธิ คือเมืองแก้ว เป็นที่อยู่ที่รองรับพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
    ซึ่งมีกายเป็นอย่างพระพุทธรูปใส ตามอย่างที่วัดท่าซุงได้จัดทำพระพุทธรูปเรซินใสให้เช่าบูชา ขนาดหน้าตักต่าง ๆ นั้น

    วิชชาธรรมกาย
    ท่านสอนให้วางใจให้หยุด ให้นิ่งที่ ศูนย์กลางกาย (กลางท้อง เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือซึ่งวางซ้อนกันขึ้นมา)
    โดยให้ใจทำหน้าที่สองอย่าง คือ นึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงใส และคำภาวนาว่า "สัมมาอะระหัง"
    จะกระทั่งใจหยุด ก็เห็นดวงปฐมมรรค แล้วก็เข้ากายในกายไปจนครบ 18 กาย
    กายสุดท้ายคือกายธรรมพระอรหัตต์
    เป้าหมายการฝึก ก็เพื่อเรียนสมถะและวิปัสสนา เพื่อหมายเอาการบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นหลัก
    นิพพาน ในความหมายของวิชชาธรรมกาย คืออายตนะที่รองรับกายธรรมของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์
    ลักษณะของกายธรรม คือเป็นอย่างพระพุทธรูป ขาว ใส เกตุดอกบัวตูม นั่งขัดสมาธิ

    นี่คือข้ออธิบายอย่างคร่าว ๆ
    ไม่แน้นความเหมือน หรือความแตกต่าง แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
    แท้จริงแล้ว ก็สุดแล้วแต่ผู้ฝึก จะมีจริตโน้มไปในทางใด
    ถนัดทางไหน ก็ฝึกไปทางนั้น
    หากถามคนเรียนมนโนมยิทธิ ก็อาจจะได้รับคำตอบโน้มไปในทางการฝึกของตนว่า สะดวก และง่าย
    หากถามคนฝึกวิชาธรรมกาย ก็อาจจะได้รับคำตอบไปในทางเดียวกันว่า สะดวกและง่าย
    แต่หากเป็นผู้ฝึกที่เรียนจริง ทำจริง และมีคุณธรรมในตนอย่างเพียงพอแล้ว
    ย่อมจะไม่ดูแคลน และกล่าวว่าวิชาที่ตนฝึกนั้นดีกว่า สูงกว่า ประเสริฐกว่า
    มีแต่ว่าจะอนุโมทนากันไป ที่อุตส่าห์พยายามเพียรฝึกฝนอบรมตนตามอย่างพระบรมศาสดา
     
  13. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,516
    ค่าพลัง:
    +27,187
    วิชชามโนมยิทธิในสายหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    ใช้กำลังจากจตุธาตุววัฏฐาน

    วิชชาธรรมกายในสายหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี
    ใช้กำลังจากกสิณสว่าง
     
  14. sutthida

    sutthida เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    624
    ค่าพลัง:
    +3,388
    อนุโมทนาค่ะ ส่วนตัวฝึกมโนมยิทธิค่ะ แต่ยังไม่ค่อยรู้ ค่อยเห็นอะไร มากมายค่ะ
     
  15. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,516
    ค่าพลัง:
    +27,187
    นู๋เอเอรู้สึกยังไงก็ตอบอาจารย์ไปแบบนั้นแหละ
    ตอบไวๆเข้าไว้
    เห็นภาพหรือไม่เห็นก็ช่าง รีบตอบไว้ก่อนเลย
     
  16. นายดอกบัว

    นายดอกบัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +5,676
    เคยฝึกแบบธรรมกาย แต่สร้างลูกแก้วไม่ออก เลยเลิกหันไปฝึก อาณาปานสติแทน ถูกจริตกว่า
     
  17. sutthida

    sutthida เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    624
    ค่าพลัง:
    +3,388

    ทราบแล้วค่ะ วันนี้ไปบ้านสายลมฝึกญาณ 8 เริ่มจะตามทันบ้างแล้วค่ะ
     
  18. sorn42

    sorn42 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +36
    ตามความเข้าใจ ถูกผิดชี้แนะด้วยนะครับ เคยฟังวิทยุมาว่า มโนมยิทธิ เป็นหนึ่งในวิชา10 (ถ้าจำไม่ผิด) และวิธีที่หลวงพ่อเป็นการฝึกที่มุ่งตรงสู่ มโนมยิทธิ จึงเรียกตรงชื่อมา สำหรับของ ลพ.สด จากการฟังที่ ลพ.ฤาษี เทศน์ให้ฟัง ท่านบอกว่า วิชาธรรมกาย มีผลทั้งกสิน และมโนมยิทธิ ตรงนี้เพิ่งฟังมาไม่กี่วันนี้เอง อันนี้จะผิดก็ผิดที่ผมอาจจะสรุปไม่ถูกต้องเอง ก็พยายามฟังที่ ลพ.สอน ทุกวัน ได้ความรู้มากฟังไม่เบื่อเลย
     
  19. มหัศฤทธิ์

    มหัศฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +855
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านบอกไว้ว่าครูบาอาจารย์องค์แรกที่ทำให้ท่านรู้จัก
    พระนิพพาน ว่าไม่สูญ และเป็นเมืองแก้วก็คือหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ
    ท่านรู้ตอนที่หลวงปู่ปานส่งตัวไปเรียนวิชชากับหลวงพ่อสด เมื่อสมัยแรกบวช.
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำยังบอกอีกว่าวิชชาธรรมกายก็เป็นมโนมยทธิอย่างหนึ่ง
    แต่ต้องอาศัยกำลังใจที่สูงกว่า ท่านก็เลยใช้แบบง่ายๆในการฝึกในปัจจุบัน...
    ...(นี่ขนาดง่ายแล้ว ผมยังฝึกไปไม่ถึงไหนเลย ไม่เอาไหนจริงๆเลยน่ะครับ)...
     
  20. poom076

    poom076 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +689
    (verygood) (b-flower)
     

แชร์หน้านี้

Loading...