แนะนำเทคนิคช่วยฝึกจิตตามจริต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พรเทพ คชมาศ, 20 สิงหาคม 2006.

  1. พรเทพ คชมาศ

    พรเทพ คชมาศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +1,295
    เทคนิกฝึกจิตตามจริต<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    พระสงฆ์สายปฏิบัติมักไม่นิยมเทศนาพระธรรมมากนัก ท่านจะพูดถึงหลักธรรมแต่น้อยแล้วให้ปฏิบัติเลย เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ หลักธรรมนั้นเป็นเพียงสิ่งธรรมดา เรียบง่ายไม่ซับซ้อน สั้นๆ ไม่ยาว ท่านจึงไม่จำเป็นต้องพูดมาก เพียงแต่เพราะอวิชชาที่ครอบงำจิตเราปรุงแต่งไปสารพันยึดติดไปมาก มาย เราจึงไม่มีดวงตาเห็นธรรม ธรรมนั้นมีทุกที่ เปิดตารู้ได้ หลับตาก็รู้ได้ ได้ยินก็รู้ได้ ไม่ได้ยินก็รู้ได้

    <O:pหลักธรรมนั้นแสดงได้หลายรูปแบบ เหมาะกับบุคคลที่แตกต่างกันออกไป อุปมาเหมือนแตงโมผลหนึ่ง ผู้อธิบายต้องการบอกว่ามันเป็นแตงโม หาได้ต้องการปรุงแต่งให้พิศดารใดไม่ หากแต่ว่าผู้ฟังมิอาจเข้าใจโดยการยกแตงโมทั้งผลให้ดูได้ ผู้อธิบายจึงแบ่งแตงโมผลนั้นออกให้ดู ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดส่วนแบ่งแตงโมที่มากมาย แต่ล้วนก็หมายถึงแตงโม จึงไม่จำเป็นต้องดูทุกชิ้นส่วนของแตงโม<O:p
    <O:p
    หลักธรรมนั้น อาจยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ไตรลักษณ์ หรือลักษณะธรรมสามประการ คือ เกิดดับไม่เที่ยงเป็นธรรมดา (อนิจจัง) จิตนั้นเป็นผู้ก่อทุกข์เองเป็นธรรมดา (ทุกขัง) อย่าได้ยึดมั่นถือมั่นเป็นธรรมดา (อนัตตา) เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับบางคนนั้น อาจฟังธรรมหัวข้อนี้แล้วยังไม่คลายยึดติด อาจต้องฟังธรรมข้ออื่นแทนที่เหมาะสมกว่า ด้วยเหตุนี้ ประวัติการเทศนาของพระพุทธเจ้า จึงพบว่า พระองค์มักเทศนาโดยเลือกข้อธรรมที่เหมาะสมกับผู้ฟังในข้อธรรมที่แตกต่างกันไป เมื่ออธิบายจนผู้นั้นมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ก็มิต้องติดตามพระองค์ไปเพื่อฟังธรรมข้ออื่นอีก แต่เพียงบวชแล้วฝึกจิตของตนทุกขณะจนถึงนิพพานแทน แม้นไม่เคยได้ฟังธรรมหัวข้ออื่นจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ก็สามารถอธิบายหัวข้อธรรมที่ตนไม่เคยได้ยินนั้นได้สอดคล้องกับพระพุทธเจ้าโดยไม่ขัดแย้ง<O:p

    <O:p
    ปัจจุบัน เรารวบรวมหลักธรรมมากมายไว้ในพระไตรปิฎก บางท่านคิดว่าต้องศึกษาให้ถ่องแท้ทั้งหมด วนอยู่กับการไม่พอ ไม่หยุดนิ่ง สนุกกับพระธรรมบ้าง ยึดติดกับพระธรรมบ้าง เห็นพระธรรมเป็นสิ่งเสพติดบ้าง บ้างไปปรุงแต่งหลักธรรม คิดคำศัพท์ใหม่ๆ อุปโลกว่าตนนิพพานคิดได้เหนือกว่าพระพุทธเจ้าบ้าง ลักษณะแบบนี้ ล้วนยังมีการปรุงแต่งของจิต การยึดมั่นถือมั่นอยู่<O:p
    <O:p
    การฝึกจิตให้ได้ผลดีนั้น ต้องมีสามขาหยั่งสมดุล คือ สติ, สมาธิ และปัญญา ช่วยประกอบกัน โดยมีปัญญาเป็นเครื่องนำทางให้จิต โดยมีศีลเป็นกำแพงป้องกันระหว่างการฝึกฝน โดยสมาธิลดความฟุ้งซ่านของจิต และสติเป็นตัวเฝ้าระวัง บางท่านศึกษาแต่หลักธรรมเพิ่มปัญญา แต่ขาดสติเป็นตัวจับ จึงเผลอยึดหลักธรรมนั้นเสีย นั่นคือ อวิชชาปรุงแต่งกายมาเป็นหลักธรรมให้เรายึดมั่นถือมั่น บางท่านฝึกสมาธิเสียแน่วแน่ แต่ขาดปัญญานำทาง เมื่อสติเผลอพลั้ง สมาธิก็ไปจดจ่ออยู่กับอวิชชา ความโลภ, โกรธ, หลง เสียก็ได้ บางท่านฝึกสติดี แต่ขาดปัญญา ฝึกมานานแสนนาน เลยไม่มีดวงตาเห็นธรรมเสียทีก็มี ศีล, สมาธิ สติและปัญญา จึงเป็นสามขาหยั่งที่สำคัญช่วยฝึกจิต โดยผู้ฝึกอาจเริ่มฝึกจากสิ่งใดก่อน หรือฝึกควบคู่สลับกันไปก็ได้ เรามักได้ยินคำพูดว่า ศีล, สมาธิ และปัญญา เป็นชุดเดียวกัน แต่ในกรณีการฝึกจิตนี้ หากใช้ สติ, สมาธิ และปัญญา อาจเห็นผลชัดกว่า เนื่องจาก ศีลเป็นเรื่องการปฏิบัติตนภายนอก มากกว่าการฝึกฝนภายในจิต เพียงแต่ ศีล ช่วยเป็นกรอบเป็นกำแพงให้เราได้นั่นเอง <O:p
    <O:p
    ศีล แม้ยังเป็นการยึดมั่นถือมั่นอยู่ แต่เป็นกำแพงป้องกันสิ่งรบกวนจิต ทำให้จิตถูกกระทบน้อยลง หากผู้นั้นมิได้ก่อเรื่องราวในจิตตนมากมาย การอยู่ในที่สงบและการดำรงศีลอันบริสุทธิ์ ก็ล้วนเหมาะสมแก่การฝึกฝนจิตอย่างยิ่ง ศีลนั้นมีไว้ให้ผู้ไม่ปล่อยวางได้เลือกยึดถือแทนสิ่งอื่นส่วนผู้มีปัญญาเห็นธรรมมิได้ถือศีล หากแต่ว่าประพฤติศีลโดยมีปัญญาเป็นเครื่องนำทางต่างหาก ความแตกต่างในจุดนี้ ขอยกตัวอย่างเช่น ศีลนั้นห้ามฆ่าสัตว์ ผู้ยึดมั่นถือมั่นก็จะท่องไว้และไม่ฆ่าในทุกกรณี นี่คือการถือมั่น

    ส่วนผู้ปฏิบัติศีลโดยใช้ปัญญานำทางนั้น อาจฆ่าสัตว์ได้โดยไม่เกิดกรรมที่จิต เนื่องจากจิตมิได้ก่อกรรม แต่กระทำด้วยปัญญา ด้วยเพราะปัญญารู้ว่าสัตว์นั้นมีกรรมตามพันธุ์เกิดมาเป็นอาหาร และฆ่าด้วยสติที่รู้ตนตลอด ด้วยการอันควร มิได้มีจิตอกุศล มิได้คิดละโมบ มิได้คิดสนุกในการฆ่า หรือไม่มีทางเลือกอื่นในการดำรงชีวิตตามควรให้อยู่รอดได้แล้ว จึงได้ดำเนินชีวิตไปตามกรรมของสัตว์ตามแต่ละพันธุ์นั้นเอง แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า แม้จิตมิได้รับกรรมนั้น แต่กายผู้ก่อกรรมยังต้องเป็นผู้รับกรรมที่ก่อนั้นด้วย

    ด้วยเหตุนี้ หากพระสงฆ์ฆ่าโจรร้าย แม้นฆ่าด้วยสติปัญญา ย่อมต้องถูกกรรมตามทัน เช่น ถูกตำรวจจับ เป็นต้น พึงระลึกว่าอวิชชาและการยึดติดนั้น แปลงรูปได้ด้วยการปรุงแต่ง อาจแปลงรูปเป็นศีล เป็นหลักธรรมให้คนยึดติดได้ ปุถุชนผู้ยังยึดมั่นถือมั่น สมควรแก่การยึดคุณงามความดี ศีลธรรม เป็นการชั่วคราวก่อนเท่านั้น แต่เมื่อฝึกจิตดีแล้ว จะคลายความยึดมั่น ปล่อยวางเสีย แต่ไม่เสียศีลธรรม
    <O:p
    สมาธินั้นหมายถึงจิตที่จดจ่ออยู่นานกับสิ่งใดก็ได้ หากจิตจดจ่ออยู่ในกาย ก็มีสมาธิอยู่ในกาย จดจ่ออยู่ในธรรมก็มีสมาธิอยู่ในธรรม จิตจดจ่ออยู่ในความโกรธ ก็มีสมาธิอยู่ในความโกรธ ซึ่งจะเห็นได้ว่า สมาธิเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เราจมอยู่ในกองทุกข์ได้ด้วยเหตุนี้เอง สมาธิจึงต้องการปัญญาเป็นเครื่องนำทาง นำจิตไปสู่จุดที่ควรจดจ่อ ในขณะเดียวกัน หากจิตมีปัญญาดี แต่ไม่มีสมาธิแล้ว จิตย่อมฟุ้งซ่าน เกิดดับจิต เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนสติไม่อาจตั้งตัวได้ทัน เป็นช่องโหว่ให้อวิชชานั้นครอบงำเสียได้ การมีสมาธิดี จึงเป็นการช่วยสติ มิให้สติต้องวิ่งตามไปดูจิตที่ฟุ้งซ่านมากมาย รวดเร็วจนพลาดพลั้งและจับไม่ทันนั่นเอง เป็นการทำให้จิตนิ่งให้ได้ก่อน แล้วสติจะได้ทันพิจารณาจิตนั้นๆ
    <O:p
    สติ คือ ตัวรู้ รู้ตัว, รู้ทันจิตตน, รู้ว่าตอนนี้ ปรุงแต่งว่าดีหนอ, อยากได้แล้วหนอ, ยึดติดมาเป็นของเราแล้วหนอ, จิตไม่สงบเกิดทุกข์หนอ เป็นต้น การฝึกสตินี้ไม่จำเป็นต้องท่องภาวนาใดๆ ก็ได้ ขอเพียงรู้ตัวตลอด เท่าทันจิตตลอดว่าจิตเป็นเช่นไรก็พอ การฝึกสติที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การฝึกมรณะสติ เป็นสติที่มีปัญญาอยู่ในตัว โดยการฝึกให้รู้ตัวว่าความตายนั้นมีทุกขณะจิตหนอ บางครั้ง มรณะสติ ไม่สามารถเกิดขึ้นง่ายๆ ด้วยการดูศพ สำหรับบางท่านมรณะสติอาจเกิดขึ้นชั่วครู่ ในยามที่ตนรู้ตัวว่าความตายจะมาถึง แต่นั้นก็อาจสายไปเสียแล้ว สำหรับการฝึกจิต สตินี่เป็นตัวแรก ที่มักถูกทำลายก่อน โดยอวิชชาจะเข้าครอบงำสติไว้ กดไว้ มิให้รู้ตัว จากนั้นอวิชชาก็สามารถทำให้จิตเรานี้ปรุงแต่ง ให้เราหลงเชื่อในอวิชชานั้นเสียง่ายดาย เพียงแต่ตั้งสติได้เท่านั้น จิตก็จะรู้ตัว รู้เท่าทันอวิชชา แต่เมื่อสติเผลอ อวิชชาก็เข้าครอบงำอีก ด้วยความแยบคายสารพัดวิธี สติจึงต้องตื่นตัวอยู่ตลอด ดังคำว่า พระพุทธเจ้า คือ ผู้ตื่น (มีสติทุกขณะจิต) ผู้รู้ (มีปัญญานำทาง) ผู้เบิกบาน (สมาธิจิตแน่วแน่สว่างไสว) <O:p
    <O:p
    ปัญญานั้นมาจากความเข้าใจในหัวข้อธรรมในพระไตรปิฎก เลือกที่เหมาะกับตนเองเพียงหนึ่งหัวข้อธรรมก็พอ เพราะทุกหัวข้อธรรมล้วนเป็นเรื่องของสัจธรรมเดียวกัน สาธุชนพึงระวังว่าการเข้าใจในหลักธรรมนั้น มิใช่การยึดมั่นในหลักธรรม แต่เป็นการมองเห็นความจริงในสัจธรรมนั้นๆ ว่ามันเป็นเช่นนั้นเองหนอ โดยมิได้ปรุงแต่ง, อยากไม่อยาก, ตั้งกฏเกณฑ์, แบ่งแยกดีชั่ว,

    หรือยึดติด ประการใด การศึกษาพระธรรมมากขนาดใดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับการฝึกฝนสติและสมาธิด้วย หากฝึกฝนสติน้อยไป เมื่ออวิชชาครอบงำจิต จิตจะมีสติกลับมาได้ยาก แต่หากระลึกถึงหลักธรรมได้มากก็สามารถช่วยให้สติคืนกลับมาได้ง่ายด้วยเช่นกัน อาทิเช่น บางท่านรู้เพียงแต่การเกิดดับ เป็นอนิจจัง แต่พออวิชชาครอบงำ ปรุงแต่งจิตให้เห็นว่าหลักธรรมนี้หนอประเสริฐแท้ แน่แท้กว่าสิ่งใด ดีงามและควรยึดถือปฏิบัติ เช่นนี้ จิตก็ถูกอวิชชาหลอกเอาเสียแล้ว แต่หากมีความรู้ทางธรรม ปัญญาจักช่วยนำทางให้จิตมีสติเห็นว่า อวิชชานี้หนอ ปรุงแต่ง แล้วมาหลอกเรา ให้หลงลืมความเป็นอนิจจัง ยึดมั่นถือมั่นไปชั่วขณะ <O:p
    <O:p
    สำหรับท่านสาธุชนนั้น ย่อมมีจริตที่แตกต่างกันออกไป สามารถเลือกใช้วิธีฝึกจิตตามแนวทางต่างๆ ได้มากมาย ในที่นี้ข้าพเจ้าของแนะนำวิธีฝึกจิตตามจริต มิได้ต้องการให้ยึดติด หรือปรุงแต่งว่าดีถูกต้องเหนือใคร เพียงแต่เป็นเทคนิกส่วนตัว ที่ลองแนะนำให้ใช้กันดูเท่านั้น ดังต่อไปนี้ <O:p


    <O:p
    1. สำหรับผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
    <O:p
    ลักษณะที่สังเกตุง่ายๆ ของผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือ พูดหลายเรื่องในเวลาช่วงสั้นๆ นั่งสมาธิแล้วอึดอัดมาก หรือหลับตาเฉยๆ ไม่ค่อยได้ ทำให้พลอยล้มเลิกความตั้งใจที่จะฝึกจิตเสียโดยง่าย หรือไม่ก็พยายามข่มจิต หลอกจิต อันนำไปสู่อันตรายอย่างยิ่ง ถึงขั้นเสียสติได้ วิธีการฝึกจิตที่เหมาะสมของผู้มีลักษณะเช่นนี้ คือ อย่าพยายามปิดกั้นจิต อย่าเร่งร้อนใจเร็ว อย่าคิดเอาชนะจิตให้ได้ในครั้งแรกๆ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ให้ปล่อยมันออกไป ส่งแรงจิตออกไปแรงๆ (คิดถึงมันแบบเต็มๆ ไม่ต้องอั้น) แล้วใช้สติตั้งมั่นให้แน่วแน่ ยังไม่ต้องนึกถึงสมาธิ จิตคิดอะไร วิ่งไปไหน ให้มันวิ่งไปก่อน ใช้สติดูมัน

    อย่าให้พลั้งเผลอ แล้วค่อยรวบรวมสมาธิไว้กับการพิจารณาดูจิตแทน การดึงจิตมารวมเป็นสมาธิ เหมือนสติของเราเป็นคนนั่งดูหนัง จิตนั้นเล่นหนังให้เราดูเราก็ดูมันจนจบ จะเห็นสภาวะธรรม เกิดดับของจิตดวงแล้วดวงเล่า จนเกิดดวงตาเห็นธรรม เห็นความไม่เที่ยงของจิต เห็นความทุกข์ที่จิตได้รับ เห็นการปล่อยวางเป็นทางพ้นทุกข์ หรือกล่าวเป็นขั้นตอนง่ายๆ คือ ลืมตาแล้วพุ่งจิตที่ฟุ้งซ่านออกไป ตั้งสติดูจิตนั้น เมื่อเห็นจิตเป็นเช่นไร ให้มองเป็นสภาวะธรรม เช่น จิตเห็นช้าง ช้างเป็นธรรมดาหนอ จิตเห็นคนเข้ามาด่า คนโกรธเป็นธรรมดาหนอ หรืออาจหาอะไรทำแทนการนั่งหลับตาทำสมาธิ ก็จะช่วยให้จิตไม่ฟุ้งซ่าน มีสมาธิมากขึ้นได้ นอกจากนี้ จิตที่ฟุ้งซ่าน หากมีศีลช่วยป้องกันจะช่วยลดความฟุ้งซ่านลงได้ เช่นกัน<O:p


    <O:p
    2. สำหรับผู้ยึดง่ายถือง่าย
    <O:p</O:p
    ลักษณะภายนอก อาจสังเกตุได้ว่า ดูเคร่งครัด, ถือศีลมาก, หรือมีความรู้ในหลักธรรมมาก แต่ไม่ใช่ทุกท่านต้องเป็นเช่นนี้ หากทดลองสนทนาดู จะเห็นได้ชัด ผู้ยึดง่ายถือง่าย เมื่อถกเถียงกับคนที่ไม่เห็นด้วยมักยึดถือตนเป็นสิ่งถูกต้อง มิทันได้สังเกตุตนแต่คนรอบข้างนั้นจะเข้าใจโดยทันทีบางครั้ง การยึดง่ายถือง่ายนี้ อาจออกมาในรูป ชื่อ, ยศ, ของใช้ที่แสดงฐานะ เป็นต้น ผู้มีลักษณะเหล่านี้มักมีสมาธิสูงมากแต่สติน้อย ขาดความสมดุล สิ่งที่ช่วยฝึกจิตให้ผู้ยึดมั่นถือมั่น คือ การสนทนากับผู้มีสติและคอยเตือนสติอยู่เสมอ ธรรมดาผู้ยึดง่ายถือง่ายนั้น จะมีสติน้อยมาก จึงมิทันรู้ตน เมื่อมาฝึกสติก็มักไม่ได้ผลเลยในช่วงแรกๆ เพราะถูกความยึดมั่นถือมั่นนั้นบังตาเสียมืดมิด ผู้ยึดง่ายถือง่ายจึงควรฝึกสติกับผู้มีสติที่คอยเตือนตนอยู่เสมอ ทั้งนี้ ผู้คอยเตือนนั้นก็ไม่ทราบว่าเมื่อผู้ฝึกหลับตาลงแล้ว จิตนั้นล่องลอยไปที่ใด ผู้เตือนสติ จึงอาจใช้วิธีสนทนาแทน เพื่อวัดดูจิตของผู้ฝึก ก็จะสามารถช่วยเตือนสติได้ เมื่อถูกกระตุ้นเตือนสติบ่อยเข้า ผู้ฝึกจะมีสติกล้าแข็งขึ้น พร้อมฝึกสติด้วยตนเองต่อไป

    ดังนั้น ผู้ฝึกจึงควรฝึกโดยมีพระอาจารย์ดูแลอย่างดีในระยะแรกๆ หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ การฝึกสติประกอบการกระตุ้นสติ เช่น เสียงกระดิ่ง เป็นต้น อีกวิธีหนึ่ง คือการแหกคอก โดยการลองทำในสิ่งที่ตนมองว่าผิดมาตลอด ไม่ต้องผิดมาก แล้วตั้งสติดูสิ่งที่เกิด ก็จะเห็นลักษณะธรรม ว่าเป็นเช่นนี้เองหนอ วิธีนี้เสี่ยงมาก ไม่แนะนำนัก

    ขอแนะนำเบื้องต้นเพียงสองเทคนิกก่อน ทั้งนี้ สามารถนำไปใช้กับการฝึกร่วมกับครูบาอาจารย์ที่ท่านเคารพได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนวิธี เพราะที่เสนอนี้เป็นเพียงเทคนิกเท่านั้น

    ขอให้พิจารณาด้วยสติและสมาธิ บทความนี้อาจมีดี มีด้อย มีผิดบ้างปนกัน
    ด้วยจิตคาราวะ...
     
  2. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    โมทนาสาธุครับ เป็นคำแนะนำเพื่อการเจริญมรรคในชีวิตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติที่สุดอันหนึ่งทีเดียวครับ
     
  3. saksitd2004

    saksitd2004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +145
    ได้อ่านแล้วพบว่า มันไม่ยากเลย แต่ก็ไม่ง่าย ขออนุโมทนา สาธุ
    แต่เหมือนจะบอกใบ้ว่า "ถ้าไม่สำเร็จ...อย่าเลิก" ใช่ไหม...
     
  4. mayongnes

    mayongnes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +2,449
    อนุโมทนา กับพี่เจ้าของกระทู้ครับ อ่านแล้วรู้สึกดีมากๆครับ
     
  5. ponpon

    ponpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +492
    เตือนสติดีจังค่ะ
     
  6. oun_narak

    oun_narak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +265
    โมทนาครับ อยากให้อธิบายเรื่องจิตอีกนิดนึงครับ สรุปมันไม่มีตัวตน จิตกับกายทิพย์คนละตัวใช่ไหมครับ สรุปผมงงตัววิญญานไม่มีตัวตน หรือไม่ใช่ของเราหรือครับ โทษทีที่ถามกับปัญญาอันน้อยนิดของผม -*- (ช่วยด้วยยยยย)
     
  7. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
    ขออนุโมทนากับท่านเจ้าของกระทู้ อ่านแล้วยอดเยี่ยมมากผมกำลังหาคำตอบอยู่พอดี
    ขอบคุนอย่างสูงครับ
     
  8. YoUxIpUn

    YoUxIpUn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +172
    โมทนาค่ะ

    เข้าจเลยคะ ตอนที่คุณ สาระเบาๆ ได้บอกว่า

    เหมือนจะบอกใบ้ว่า "ถ้าไม่สำเร็จ...อย่าเลิก"ไช่ไหม
    ก้อเข้าใจขึ้นมากเลยคะ
     
  9. r-nisong

    r-nisong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +394
    เป็นข้อความที่อ่านแล้ว เข้าใจง่ายมากครับ ผมไม่เคยเจอคนที่อธิบายธรรมะได้ชัดเจน และเข้าใจง่าย อย่างนี้บ่อยๆ นัก โมทนาด้วยจริงๆๆๆๆๆ ครับ

    จริตคนเรามีมากกว่านี้อีกไม่ใช่เหรอครับ อย่าง โทสะจริต กับ ราคะจริต เป็นต้น จะรออ่านนะครับ
     
  10. มิสเตอร์ทราย

    มิสเตอร์ทราย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +49
    การหลอกตัวเองไม่ให้ทำผิดถือว่าเป็นการหลอกที่ไม่ผิด
     
  11. jdean

    jdean เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +147
    เข้าใจมากครับ
     
  12. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,810
    ค่าพลัง:
    +18,982
    มีความหมายอย่างไรครับ ช่วยชี้แจงให้ละเอียดด้วย

    ยังไม่เข้าใจครับ อิอิ
     
  13. bb.boy

    bb.boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +381
    อนุโมทนา สาธุ ด้วยคนครับ

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้ครับ
     
  14. พรเทพ คชมาศ

    พรเทพ คชมาศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +1,295
    สำหรับคุณ Oun narak

    หากศึกษาหัวข้อธรรมได้ ไม่กระจ่าง แล้วยุ่งยากมาก อยากแนะนำให้หาข้อธรรม ที่เหมาะกับจริต ทำให้เราเข้าใจสัจธรรมง่ายๆ ก็พอ ข้อธรรมในไม่เข้าใจไม่ต้องกังวล ไม่จำเป็นต้องรู้หมด เมื่อปฏิบัติถึงจุดหนึ่งจะเข้าใจเอง อีกประการหนึ่ง บางครั้ง ชนรุ่นหลังมีการขยายข้อธรรมกันมาก ไม่แน่ว่าอาจผิดเพี้ยน ขอให้พิจารณาต้นขั้วแรกเริ่มก่อน ทางที่ดี ไม่ควรปรุงแต่งหลักธรรมอย่างยิ่ง ไม่ต้องนำมาโยงกัน ไม่ต้องสงสัยหาคำตอบ ข้อธรรมที่เป็นสัจธรรม ย่อมนำความสว่างไสวมาให้ชีวิต เขาถึงเรียก เป็นประทีปนำทาง หากทำให้เรามืดมนแล้ว ลองใช้สติ และปัญญา พิจารณาดู ข้อธรรมนั้นอาจถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่

    ลักษณะการศึกษามากจนสติไม่ระวังพลาดพลั้งแก่อวิชชาอาจเกิด สัมมาฑิฐิได้



    สำหรับคุณ มิสเตอร์ทราย


    เป็นธรรมดา และสัจธรรมข้อหนึ่งนั่นเอง ที่ท่านได้กล่าวถือปุถุชนธรรมดาที่ยังละความยึดติดไม่ได้ ย่อมยึดศีลธรรมความดีงามเป็ฯเพียงชั่วคราว หากไม่ยึดความดีแล้วย่อมกลายเป็นทุจริตชน
     
  15. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขออนุโมทนาในธรรมทานครับ...สาธุ...สาธู...สาธุ
    เจริญในธรรมนะครับ...
     
  16. yim410

    yim410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +33
    อนุโมธนาผลบุญด้วยครับ
     
  17. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">ขอโมทนาค่ะ
    จิตมันซน เผลอไม่ได้เลย
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. พรเทพ คชมาศ

    พรเทพ คชมาศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +1,295
    ไม่ฝึกจิตก็ได้....... ได้ตามเหตุปัจจัยแห่งการไม่ฝึก
    ฝึกจิตก็ได้........ ได้ตามเหตุปัจจัยแห่งการฝึก


    จิตนั้นถูกฝึกโดยมิรู้ตัว
    ฝึกให้อยู่ในวัฏฏสงสาร คือ เวียนว่าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ อยู่ตลอดเวลา
    นี่เรียกว่ามีอวิชชาเป็นเหตุปัจจัยแห่งการฝึกโดยตลอด มิรู้ตัว

    จิตที่ถูกฝึกโดยรู้ตัว
    คือ ฝึกโดยมีสติ, สมาธิ และปัญญา มาช่วยในการฝึก ก็ย่อมเป็นไปตาม
    เหตุปัจจัยแห่ง สติ สมาธิ ปัญญา คือ ทางรอดจากวัฏฏสงสาร



    มีสองทางเท่านั้นเอง แล้วแต่เราจะปล่อยให้ฝึกไปทางใด




    สาธุ.....................................
     
  19. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,151
    ค่าพลัง:
    +18,075
    ขออนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ผู้ให้ความกระจ่างกับดวงจิตที่มืดบอด และอนุโมทนากับเพื่อนทุกข์ทุกท่านด้วยค่ะ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  20. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,166
    ค่าพลัง:
    +3,212
    จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ


    ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ

    โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว

    โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้

    วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก

    สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา

    พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี
    อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...