พระนอนองค์มหึมายาว 52 เมตร...ใหญ่ที่สุดในเวียตนาม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 2 เมษายน 2010.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>[​IMG]


    ทางการ จ.บี่งซเวือง (Binh Duong) สร้างพระนอนองค์มหึมานี้ ให้เป็นศูนย์รวมชาวพุทธอีกแห่งหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศ กินเนสเวียดนามได้บันทึก ให้เป็นพระนอนองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ASTVผู้จัดการออนไลน์-- เวียดนามเพิ่งทำพิธีเปิดให้ประชาชนชาวพุทธทั่วไปได้เข้านมัสการพระพุทธรูปปางนิพพานขนาดมหึมา ที่วัดโฮยแค๊ง (Hoi Khanh) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตนิคมถูเดิ่วโหมต (Thu Dau Mot) จ.บี่งซเวือง (Binh Duong) พิธีจัดขึ้นวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา

    พระนอนมีความยาวตลอดองค์ 52 เมตร ช่วงสูงที่สุดมีความสูง 24 เมตร ล้อมรอบด้วยดอกบัวที่ทำจากปูนปั้นจำนวน 840 ดอกและพระพุทธรูปขนาดเล็กอีกจำนวนมาก ประดิษฐานอยู่บนแท่นยกสูงในพื้นที่รวม 3,200 ตารางเมตร ในบริเวณศูนย์วัฒนธรรมพุทธศาสนาบี่งซเวือง

    ใต้พระนอนขนาดใหญ่นี้ทำเป็นห้องขนาดใหญ่จำนวน 4 ห้อง เพื่อใช้ประโยชน์เป็นห้องนิทรรศการ ห้องประชุมและทำเป็นห้องสมุด ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวซเวินจี๊ (Dan Tri)

    บันได้ขึ้นไปยังพระนอนมี 49 ขั้น แทนเวลา 49 ปีที่พระพุทธเจ้าทรงศึกษาพระพุทธศาสนาจนกระทั่งตรัสรู้ รอบๆ ฐานเป็นรูปสลักนูนต่ำแสดงภาพพุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติ จนถึงปรินิพพาน และยังมีรายละเอียดเชิงสัญลักษณ์อื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง

    คณะกรรมการประจำ สมาคมพุทธศาสนาบี่งซเวือง ได้จัดสร้างพระนอนองค์มหึมานี้ขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์รวมของชาวพุทธอีกแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศ

    และในวโรกาสที่เปิดให้ประชาชนเข้านมัสการนี้ ประธานาธิบดีเวียดนาม นายเหวียนมีงเจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) ได้ส่งสารแสดงความยินดีถึงสมาคมพุทธศาสนาของจังหวัด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไปในจังหวัดนี้ด้วย

    กินเนสบุ๊คเวียดนามได้บันทึกเอาไว้ เป็นพระนอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ซเวินจี๊กล่าว.

    [​IMG]

    บันได 49 ขั้น แทน 49 ปีที่พระพุทธองค์ทรงผนวชและศึกษาพระธรรมจนกระทั่งตรัสรู้ ยังมีรายละเอียดที่เป็นสัญลักษณ์เช่นนี้อีกมาก



    [​IMG]
    ภาพสลักนูนต่ำแสดงพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ กระทั่งเสด็จปรินิพพาน รายรอบฐานเบื้องล่างของพระนอน ให้ผู้คนได้ศึกษา


    IndoChina - Manager Online
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,270
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,079
    อนุโมทนาสาธุกับทุกท่านครับ
    พระนอนสวยงามมาก ดีใจที่พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองในเวียดนามครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2010
  3. godman

    godman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,254
    โหๆ องค์ใหญ่แบบนี้เป็นพุทธานุสติได้ดีเยี่ยมเลย อนุโมทนาครับ
     
  4. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับทุก ๆ ท่าน ที่ได้ร่วมทำบุญสร้างพระนอนที่ยิ่งใหญ่
    และได้ทำบุญสร้างกุศลทุกอย่างในกาลนี้ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    นิพพานัง ปรมัง สุญญัง
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
     
  5. time constant

    time constant เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +140
    สิ่งที่ดีจงสำเร็จแด่ท่านทั่งหลาย
     
  6. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,662
    ค่าพลัง:
    +9,236
    [​IMG]


    อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
    ขออนุโมทนาค่ะ

     
  7. โยมฝน

    โยมฝน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,238
    ค่าพลัง:
    +7,780



    [​IMG]
     
  8. hon9999

    hon9999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +2,430
    อนุโมทนาบุศล-กุศลจิตในการสร้างพระพุทธรูปทั้งองค์ทุกๆองค์ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  9. somkiatdhana

    somkiatdhana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +619
    ขออนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ครับ
    --------------------------------------
    พุทธวจน สุภาษิต( คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ) โดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตถิผโล วัดนาป่าพง ถ.ลำลูกกา คลอง 10 จ.ปทุมธานี


    1 “ เธอย่อมยุบ - ย่อมไม่ก่อ ; ย่อมขว้างทิ้ง – ย่อมไม่ถือเอา ; ย่อมทำให้กระจัดกระจาย - ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ; ย่อมทำให้มอด - ย่อมไม่ทำให้โพลง ซึ่งขันธ์ทั้งห้า ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    2 “ ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น ”<O:p</O:p
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕ (อ/๖๘๓)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    3 “ ไม่มั่นหมายซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายโดยความเป็นสิ่งทั้งปวงไม่มั่นหมายสิ่งทั้งปวง ว่าของเรา.”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    4 “ อารมณ์อันเกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน) ; แต่มีสิ่งโน้นซึ่งระงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    5 “ เมื่อเห็นสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามเป็นจริง ว่าเป็นเพียงการเกิดขึ้นของธรรมชาติล้วน ๆ ว่าเป็นเพียงการสืบเนื่องกันเป็นสาย ของสิ่งที่มีปัจจัยปรุงต่อ ๆ กันมาล้วน ๆ , แล้วความกลัวย่อมไม่มี “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    6 “ เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นกายอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดากายทั้งหลาย “ อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙ (อ/๑๑๙๘)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    7 “ บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้วควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน “ อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙ (อ/๑๑)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    8 “ เราย่อมกล่าวว่า การทำในใจเป็นอย่างดี ถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่านั่นเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย “ อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙ (อ/๑๑๙๙)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    9 “ เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    10 “ เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาตน ก็เป็นการรักษาผู้อื่น : เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาผู้อื่นก็เป็นการรักษาตนด้วย “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    11 “ สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี, สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    12 “ ผู้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งคาถาแม้เพียงสี่บท แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นแหละควรจะเรียกว่า เป็น พหุสูตผู้ทรงธรรม “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    13 “ สมถะเมื่ออบรมแล้ว … จิตจะเจริญ. จิตเจริญแล้ว … จะ ละราคะได้. วิปัสสนาเมื่อเจริญแล้ว … ปัญญาจะเจริญ. ปัญญาเจริญแล้วจะ ละอวิชชาได้ “ ทุก.อํ ๒๐/๗๗/๒๕๗.<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    14 “ เราขอกล่าวกะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษสุดท้ายของเราเลย “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    15 “ บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์, และย่อมทำประโยชน์ตนอันใหญ่หลวงให้เสื่อมสิ้น “<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    16 “ ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข , สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย เป็นอยู่ด้วย , และย่อมทำประโยชน์ตนอันใหญ่หลวงให้บริบูรณ์ด้วย “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    17 “ พวกเธอทั้งหลาย พึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่ได้เข้าถึง เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เถิด. “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    18 “ จงมาเถิด บุรุษผู้เป็นวิญญูชน ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีสัญชาติแห่งคนตรง, เราพร่ำสอนอยู่, แสดงธรรมอยู่, เธอปฏิบัติตามอยู่อย่างที่เราสอน ก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ( คืออรหัตตผล ) อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่าได้ต่อการไม่นาน “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    19 “ สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งเหล่านั้นอันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    20 “ นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส. อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. “<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    21 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    22 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    23 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความไ่ม่เที่ยง หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    24 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความจางคลาย หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    25 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    26 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    27 ถ้าเธอหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไป ทางเหย้าเรือนของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว ; เธอนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    28 “ ผู้เป็นธรรมวาที ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกับใคร ๆ ในโลก “<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๖๙/๒๓๙ (พ/๒๘๕)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    29 เมื่อใดเห็นด้วยปัญญา ว่า “ โลกนี้ไม่มีค่าอะไรมากไปกว่า เศษหญ้าเศษไม้ , เมื่อนั้นเขาย่อมไม่ปรารถนาสิ่งใด ๆ นอกจาก สิ่งที่ไม่มีการเกิดใหม่อีกต่อไป “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    30 “ บุคคล...ไม่ควรที่จะตายก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล “
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. Ukie

    Ukie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +594
    สวยงามมาก ๆ เลยค่ะ เห็นแล้วเกิดปิติ เลยนะคะ อนุโมทนาสาธุ ถ้ามีโอกาสอยากไปจังเลยค่ะ
     
  11. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    อนุโมทนาค่ะ

    ____________________-

    สุขใดเหมือนแม้นการไม่เกิดไม่มี

    จะไม่ละความเพียรถ้ายังไม่ถึงนิพพาน
     
  12. วัสสานะ

    วัสสานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +565
    พระนอนสีขาว บริสุทธิ์ พุทธลักษณะงดงามมาก สาธุ อนุโมทนา กับชาวเวียดนามและชาวโลก
     

แชร์หน้านี้

Loading...