เสร็จแล้ว งานบูรณะปิดทองติดเพชรสมเด็จองค์ปฐมวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pattana, 16 เมษายน 2010.

  1. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    เพชรและพระทุกรายการได้นำเข้าพิธีเสาร์ห้า เดือนห้า
    ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มี.ค. 53

    แบบที่ 1 ขาวใส ขนาด 7 มม. มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท
    แบบที่ 1
    [​IMG]


    แบบที่ 2 ขาวใส ขนาด 3 มม.(ข้าง) และ 4 มม. (กลาง) มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท
    แบบที่ 2
    [​IMG]


    แบบที่ 4 ขาวใส ขนาด 4 มม.(ข้าง) และ 7 มม. (กลาง) มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท
    แบบที่ 4
    [​IMG]


    สมเด็จพระพุทธชินราช ชุบเงิน มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท
    เข้าพิธีเสาร์ห้า ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 53

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    สมเด็จพระพุทธชินราช ชุบทอง มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท
    เข้าพิธีเสาร์ห้า ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 53

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    พระชัยหลังช้าง สก. <!-- google_ad_section_end -->
    เข้าพิธีเสาร์ห้า ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 53
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท (เหลือ 16 องค์)

    [​IMG] [​IMG]


    พระพุทธโสธรพิมพ์เล็ก ด้านหลังเป็นรอยพระพุทธบาทสี่รอย
    อธิษฐานจิตโดยครูบาวิฑูรย์ ชินวโร วัดวังมุย
    และนำเข้าพิธีเสาร์ห้า เดือนห้า วัดท่าขนุน และวัดท่าซุง
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    พระพุทธโสธรพิมพ์ใหญ่ ด้านหน้า "สัมปะจิตฉามิ "
    ด้านหลังเป็นยันต์สมเด็จองค์ปฐมและพระนามย่อของพระพุทธเจ้า 28 พระองค์
    อธิษฐานจิตโดยครูบาวิฑูรย์ ชินวโร วัดวังมุย
    และนำเข้าพิธีเสาร์ห้า เดือนห้า วัดท่าขนุนและวัดท่าซุง
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    โปรดช่วยค่าจัดส่งครั้งละ 50 บาทนะครับ


    ร่วมทำบุญบูรณะปิดทองประดับเพชรสมเด็จองค์ปฐม

    บัญชี ออมทรัพย์
    ชื่อบัญชี เจริญยศ สายทอง
    เลขที่บัญชี 654-235725-2
    ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขา ชุมพร<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2010
  2. 2zani

    2zani เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,549

    23/4/53 โอน 650 บาท เวลา 09.53 น.
    ที่อยู่แจ้งทาง pm
     
  3. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    ได้รับยอดโอนแล้ว จัดส่งให้วันพรุ่งนี้ครับ
     
  4. r_alongkorn

    r_alongkorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    554
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ผมได้รับแล้วครับเมื่อวานนี้..สวยงามมากๆครับ..เลยจะขอร่วมบุญเพิ่มแบบที่4อีก1ชุดครับ..รวม250บาทครับ แต่จะโอนอาทิตย์หน้านะครับ โอนแล้วจะแจ้งอีกครั้งครับ..อนุโมทนาครับ

    แบบที่ 4 ขาวใส ขนาด 4 มม.(ข้าง) และ 7 มม. (กลาง) มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท
    แบบที่ 4
    [​IMG]
     
  5. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    ครับ ถ้าได้เห็นของจริงแล้วจะพบว่าสวยกว่าในรูปมาก
    ขอโมทนาด้วยอีกครั้งครับ
     
  6. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    แจ้งการส่งของครั้งที่ 3 วันที่ 22 เม.ย. 53

    จำนวน 8 ท่าน
    คุณชนกันต์ EH320843644TH
    คุณ รดาอร EH320843658TH
    คุณชาญพิชญ์ EH320843661TH
    คุณธิติ EH320843675TH
    คุณ ธีรภัทร์ EH320843689TH
    คุณวัทธิกร EH320843692TH
    คุณวีรชัย EH320843701TH
    คุณวารุณี EH320843715TH

    รวมเงินค่าส่งในรอบนี้ 296 บาท

    ได้ถอนเงินออกมา 300 บาท เพื่อเป็นค่าส่ง คงเหลืออยู่ 4 บาท เก็บเป็นค่าส่งครั้งต่อไป
    ===========================

    **** ค่าจัดส่งจะใช้วิธีการเฉลี่ยเอา เนื่องจากมีบางท่านอาจไม่ได้โอนเงินค่าส่งมา แต่ส่วนใหญ่ค่าจัดส่งและค่ากล่องของแต่ละท่านอยู่ที่ประมาณ 46 บาท แต่บางท่านที่น้ำหนักเกิน 250 กรัม ค่ากล่องรวมค่าส่งจะอยู่ที่ 56 บาท แต่ในส่วนที่ขาดไปน้องเขาจะเป็นคนจ่ายให้เพื่อมิให้เกี่ยวข้องกับยอดเงินที่หลายท่านได้ร่วมทำบุญมา

    บางท่านอาจสงสัยว่า เพชรชุดเดียวทำไมถึงต้องใช้กล่องทำไมไม่ใช้ซองกันกระทืบแทน (ขออภัยครับ เนื่องจากผมเคยได้ยินเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เขาเรียกกันอย่างนี้จริงๆ) ซึ่งจะสะดวกรวดเร็วกว่าการใช้กล่องมาก

    ขอชี้แจงให้ทราบดังนี้ครับ เนื่องจากว่าซองกันกระทืบ(กันกระแทก)นั้นมีราคาที่แพงกว่ากล่องอยู่ 3 บาท จึงต้องการที่จะเก็บเงินจำนวน 3 บาทนี้เพื่อไปเฉลี่ยให้กับท่านอื่นในกรณีที่ค่ากล่องรวมค่าส่งเกิน 50 บาท จึงยอมเสียเวลาไปบ้าง (จริง ๆ เสียเวลากว่ามาก) เพื่อแลกกับเงินจำนวน 3 บาทคืนมาครับ (แบบว่า "งก" ใช้ได้เลยล่ะ) อีกอย่างเพื่อความปลอดภัยให้กับของที่ส่งด้วย เนื่องจากการใช้กล่องทำให้ของที่ส่งไม่แตกเสียหายครับ


    <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    [​IMG]

    หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร
    วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
    รวบรวมเรียบเรียง โดย ลูกศิษย์รุ่นหลังที่อยู่ในวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
    ที่มาของข้อมูล www.Chumphontour.com
    ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู ร.ศ. ๑๐๗ (ตรงกับวันอังคารที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๒) ได้มีทารกน้อยเพศชายถือกำเนิดขึ้น ณ บ้านหนองหลวง เมืองชุมพร เด็กน้อยอันภายหลังมีนามว่า “สง” เจริญเติบโตขึ้นพร้อมกับเด็กเหล่าผองเพื่อนวัยเดียวกัน สนุกสนานตามวิถีชาวนาชาวไร่
    แต่ชีวิตของท่านช่างอาภัพพ่อ ที่ด่วนจากไปตั้งแต่ท่านพอเริ่มจำความได้ หน้าพ่อเป็นอย่างไร ยังนึกไม่ค่อยจะออก ดีที่ยังมีผู้เป็นแม่เฝ้าอุ้มชูเลี้ยงดูตลอดมา สองชีวิตต่างช่วยกันทำมาหากินเลี้ยงชีพ ด้วยว่ายังมีเรื่องสวนไร่นา ตลอดจนกระบือหลายตัวอยู่จึงไม่สู้แร้นแค้นนัก อีกทั้งพืชผักผลไม้และกุ้งหอยปูปลาก็ยังสมบูรณ์ชุกชุมอยู่ เก็บทำมาหากินในแต่ละมื้อก็พออิ่ม หรือหากนึกสนุกก็ชวนสมัครพรรคพวกชาวบ้านพากันลงห้วยลงหนองน้ำหรือพรุ พากันครอบสุ่มทอดแห วางอวน ก็ได้ปลาช่อนปลาดุก และ สัตว์น้ำอื่นๆ ไว้ตากแห้ง หมักเกลือเก็บไว้กินเป็นเดือนๆ เงินทองจับจ่ายบ้างก็เพียงเพื่อซื้อเสื้อผ้า และยารักษาโรคเท่านั้น
    <TABLE id=table1 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    วิถีชีวิตของชาวชนบทก็เป็นแบบนี้ อยู่กันแบบเรียบง่ายทำพออยู่พอกิน ลำบากกายแต่สบายใจ หากไม่เกียจคร้านก็ไม่อดตาย จวบจนท่าน เจริญวัยเติบโตกลายเป็นหนุ่มน้อยวัย ๑๕ ปี ราวกับว่ามารดารอคอยเวลาเห็นลูกชายได้พึ่งพาช่วยเหลือตนเองได้บ้างแล้ว มารดาก็ได้เกิดล้มป่วยมีอาการทรุดหนักและเสียชีวิต จากท่านไปอีกคน ทิ้งไว้เพียงความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวงยิ่งนัก เพราะเป็นกำพร้าพ่อตั้งแต่เด็กแล้ว ตั้งแต่จำความได้ก็มีมารดาเพียงคนเดียวที่คอยเคียงข้างเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรเรื่อยมา เปรียบเสมือนเสาหลักแห่งชีวิต อยู่ๆ ก็ขาดท่านไปเสียอีกคน ยิ่งทำให้เกิดความเคว้งคว้างหงอยเหงายิ่งนัก ตามประสาผู้ยังอ่อนต่อโลก
    ฝ่ายน้าชายผู้เป็นน้องชายแท้ๆ ของมารดาท่าน เห็นว่าหลานตนกำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่นคึกคะนอง จริงอยู่ว่าพอที่จะเลี้ยงชีพดูแลตนเองได้ ทั้งมรดกไร่นาวัวควายก็พอเป็นทุน แต่ก็ยังอ่อนต่อโลก ประสบการณ์ยังน้อย ด้วยวัยเพียงแค่ ๑๕ ปีพอพ้นวัยเด็กได้ไม่นาน หากปล่อยให้อยู่แต่เพียงลำพังก็กลัวจะพานพบเพื่อนไม่ดีเข้า เดี๋ยวจะพากันออกนอกลู่นอกทาง ไม่ทำมาหากิน ทรัพย์สมบัติจะพลอยหายไปด้วย ทางที่ดีน่าที่จะมีผู้ควบคุมดูแล รอจนกว่าเติบใหญ่ทั้งสติปัญญาและร่างกายแล้วค่อยปล่อยให้ดำรงเองต่อไป คิดได้เช่นนั้นก็เอ่ยปากชวนหลานมาอยู่ร่วมชายคาด้วย
    ข้างท่านเองก็รู้จักคิด เห็นรู้อยู่ด้วยปัญญาว่า อันตนเองนั้นยังเล็กนัก เรือกสวนไร่นา ตลอดจนควายหลายสิบตัวที่มีอยู่คงเกินกำลังที่จะบำรุงรักบาดูแลได้ไหว หากได้น้าชายช่วยเหลือก็คงจะดี อีกทั้งตัวน้าชายเองก็รักตนเองเหมือนลูกแท้ๆ ตนเองก็เห็นมาตั้งแต่เด็ก และที่ผ่านมาก็ได้ถ้าชายช่วยเหลือครอบครัวอยู่บ่อยๆ ที่ออกปากชวนตนเองไปอยู่ด้วยก็เพราะรักและสงสาร หาได้หวังในทรัพย์สมบัติทั้งหลายไม่
    เมื่อคิดได้เช่นนั้นก็ตกปากรับคำชวนของน้าชาย แล้วขนข้าวขนของไปอยู่ร่วมครอบครัวกับน้าชายตั้งแต่นั้นมา
    ท่านอาศัยอยู่กับน้าชาย ช่วยน้าชายทำสวนทำนา ต้อนควายกินหญ้าอยู่ ๑ ปี ก็คิดออกบวชเป็นสามเณรเพื่อเข้าศึกษาภาษาศาสตร์ต่างๆ ในวัด อีกทั้งใจหนึ่งนั้นยังคิดถึงบุพการีทีล่วงลับไปแล้ว อยู่เสมอว่าท่านทั้งสองสิ้นไปตนเองไม่เคยบวชหน้าศพให้เลยสักครั้ง เมื่อคราบิดาสิ้น ตนก็ยังเล็กนัก ครั้งคราวมารดาตนเอง ก็ติดกิจงานบุญไม่ได้บวชอีก จึงเข้าปรารภกับน้าชาย ฝ่ายผู้เป็นน้าก็คิดว่า หลานตนเองอยู่ในช่วงวัยรุ่นหนุ่ม หากได้เข้าวัดศึกษาหาความรู้ไว้บ้างก็จะดีกว่าปล่อยให้วิ่งเล่นอยู่อย่างนี้ ทั้งภาระการงานตนเองก็พอจะทำเองได้ จึงเอ่ยอนุญาต แล้วก็เป็นธุระจัดการให้หลานตนได้บรรพชาเป็นสามเณรเรียบร้อย ท่านได้เข้าพักพิงที่วัดควรหรือวัดทึงทั่ง ใกล้บ้านอันอยู่ในตำบลวิสัยใต้นั้นเอง
    ท่าน เมื่อเข้าศึกษาอยู่ภายในร่มกาสาวพัสตร์ ก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาหาความรู้ต่างๆ จากพระอาจารย์อย่างอดทนขยันขันแข็ง ในช่วงแรกนั้นต้องปรับเปลี่ยนทั้งร่างกายและจิตใจ จากเด็กทั่วไปมาเป็นสามเณร ต้องถือปฏิบัติศีลทั้ง ๑๐ ข้ออย่างเคร่งครัด ต้องรู้จักวางตัวสงบเสงี่ยม
    ท่าน ศึกษาหาความรู้และคำสอนต่างๆ ที่ประสิทธิ์ประสาทมอบมาทุกแขนงได้อย่างดีพร้อม ประกอบกับระยะหลังมา เริ่มรู้สึกคุ้นชินในกฎข้อปฏิบัติและมีความรู้สึก เย็น ปลอดโปร่งใจภายในร่มพระศาสนา จึงตัดสินใจว่าจะอยู่จนถึงวัยอุปสมบท ก็จะได้อุปสมบทต่อไปเลย แล้วหลังจากนั้นค่อยคิดเอาอีกที
    แต่พอครบพรรษาปีที่สาม พระอาจารย์ที่สอนตำราแก่ท่าน อันมีศักดิ์เป็นลุงอยู่ด้วย มีกำหนดการที่จะเดินทางไปเมืองบางกอกหรือกรุงเทพมหานครเพื่อปฏิบัติกิจธุระบางประการ ท่านพอทราบข่าวก็อยากจะขอเดินทางไปด้วย เพราะตลอดมาเคยได้ยินแต่ชื่อและคำร่ำลือถึงความสวยงามของวัดวาอารามตลอดจนบ้านเรือน ผู้คนแต่งตัวสวยงาม จึงเข้าพบพระอาจารย์ ขอร้องให้พาตนไปด้วย ข้างพระอาจารย์พอทราบประสงค์ของสามเณรผู้เป็นลูกศิษย์ก็บอกลูกศิษย์ว่า จะพาไปด้วยก็คงไม่เดือดร้อนนักหรอก แต่กลัวว่าจะไปทำอะไรประดักประเดิดเป็นที่ไม่งามเข้า เพราะเป็นที่ต่างบ้านต่างเมือง สภาพแวดล้อมก็ต่างจากท้องถิ่นที่อยู่นี้มากนัก
    <TABLE id=table2 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ท่านได้ฟังพระอาจารย์ดังนั้น ก็คิดว่าจริงอยู่ดังที่พระอาจารย์ว่า อันตัวเราเป็นเพียงแค่สามเณรอยู่ในร่มพระพุทธศาสนาได้เพียงแค่ ๓ ปี สติตลอดจนสมาธิยังไม่มั่นคงพอ หากไปเห็นอะไรที่ทำให้เกิดกิเลสเข้าอาจเผลอปล่อยกริยาที่ไม่งามเข้าก็ได้ ตนน่าจะลาสิกขาเสียดีกว่า เพื่อจะได้ไม่อาบัติ ผิดศีลในร่มผ้าเหลืองให้เป็นที่แปดเปื้อนแก่พระพุทธศาสนาได้ อีกทั้งหากเป็นฆราวาสก็สามารถปรนนิบัติพระอาจารย์สะดวกกว่า ส่วนเรื่องอุปสมบทนั้น พออายุครบบวชค่อยคิดการอีกคราก็คงได้ ท่านคิดได้ตังนั้นก็เรียนต่อพระอาจารย์ถึงเรื่องลาสิกขา พระอาจารย์ได้ฟังแล้วก็คิดว่าศิษย์หลานตนนั้น “ร้อน” ซะแล้ว ถึงห้ามก็คงไร้ประโยชน์จึงอนุญาตให้สามเณรลาสิกขาได้ แล้วหลังจากนั้นก็พากันเดินทางเข้าเมืองหลวง
    การเดินทางในสมัยนั้นนับว่าลำบากมากอยู่ เนื่องจากถนนหนทางค่อนข้างทุรกันดาร โดยเฉพาะทางบกนั้น เส้นทางส่วนใหญ่จะเป็นทางเกวียนหรือทางด่านที่ชาวบ้านใช้สัญจรประจำ แต่ว่าทั้งสองข้างทางก็ยังรกทึบไปด้วยสุมทุมพุ่มไม้อยู่เช่นเดิม ถ้าเป็นเส้นทางในหมู่บ้านก็ไม่เท่าไรเพราะใช้สัญจรกันอยู่เป็นประจำ ต่างคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ถ้าเป็นเส้นทางที่ห่างไกลบ้านเรือนผู้คน มีผู้คนใช้สัญจรไปมาไม่ค่อยบ่อยนัก ซึ่งส่วนมากจะเป็นเส้นทางย่านชนบทใช้เป็นเส้นทางไปยังหมู่บ้านอื่นที่ห่างไกลออกไป เส้นทางแบบนี้จะค่อนข้างน่ากลัวมาก เพราะจะเป็นเส้นทางยาวๆ ไม่ค่อยมีผู้คนใช้ นานๆ เข้ามักจะรกทึบกลายสภาพเป็นป่าไปหมด พอมีผู้ใดผ่านมาครั้งหนึ่งๆ ก็ต้องออกแรงแผ้วถางไปด้วย อยู่เช่นนี้ นอกจากการเดินทางจะยากลำบากแล้ว อันตรายจากสัตว์ร้ายและโจรป่าก็เป็นอุปสรรคอยู่เช่นกัน
    พาหนะที่พอหาได้ก็คงจะเป็นพวกวัวหรือไม่ก็ควายเทียมเกวียน ดีหน่อยก็เป็นม้า แต่ถ้าไม่มีอะไรเลยก็ต้องสองขาก้าวเอา
    เมื่อทางบกค่อนข้างลำบากก็ต้องหาเส้นทางที่ดีกว่า และเส้นทางที่ว่าก็คือทางน้ำนั่นเอง โดยใช้เรือเป็นพาหนะ ดังนั้นกลุ่มชุมนุมชนหรือบ้านเมืองต่างๆ จึงมักจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำเสียเป็นส่วนมาก นับว่าเป็นความฉลาดหลักแหลมของผู้คนทุกยุคทุกสมัย แต่นั้นแหละ บ้านเมืองก็ไม่ได้มีแม่น้ำลำคลองติดต่อกันโดยตลอด เมื่อไม่มีคลองที่ไปได้ทุกที่ ก็หาทางแก้กันโดยใช้ทางทะเล ใช้เรือใหญ่แล่นเลียบอ่าวหรือตัดตรงไปตามแต่ความชำนาญ ทุ่นเวลาได้มากกว่าทางบกมากนัก เรือที่ว่าก็เป็นพวกเรือกำปั่นหรือเรือสำเภาที่สามารถบรรทุกสินค้าหรือผู้คนได้มากๆ ซึ่งผู้สัญจรส่วนใหญ่ก็เป็นพวกพ่อค้าที่ขนสินค้าของตนไปขายยังต่างถิ่น ใช้เวลาก็หลายวันอยู่ ต้องนอนบนเรือ กินบนเรือ ถ่ายบนเรือนั่นแหละ นับว่าท่านได้มองการไกล ข้อนี้นี่เองท่านถึงได้ลาสิกขาก่อนออกเดินทางนั่นเอง
    ท่าน และพระอาจารย์หรือที่เขาเรียกว่า หลวงลุงนุช ใช้เวลาเดินทางโดยเรือสำเภาอยู่หลายวันก็ถึงกรุงเทพฯ
    หลังจากเสร็จกิจธุระที่กรุงเทพแล้ว ทั้งสองลุงหลานอาจารย์ศิษย์ก็เดินทางกลับถิ่นเมืองชุมพร ท่านก็ใช้ชีวิตเป็นฆราวาสท่องเที่ยวตามประสาวัยหนุ่มอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วกลับมาดูแลทรัพย์สิน อันมีเรือกสวนไร่นาและควายหลายสิบตัวที่ฝากน้าชายช่วยดูแลไว้ พอได้กลับมาดูแลทรัพย์ของตนที่ห่างเหินไปนาน ด้วยอารมณ์แห่งคนหนุ่ม จึงคิดอยากใช้วิชาความรู้เข้าบำรุงรักษาทรัพย์สินที่มีให้เจริญงอกงาม แต่คิดว่า ด้วยตอนนี้ อายุของท่านครบบวช สามารถอุปสมบทได้แล้ว เราควรอุปสมบทเสียก่อนให้เรียบร้อยสักหนึ่งพรรษา แล้วค่อยลาสิกขาออกมาทำกิจการงานต่อไป คิดได้ดังนั้น ก็เข้าปรึกษาปรารภกับกับน้าชายเพื่อฝากฝังให้ดูแลทรัพย์สมบัติตนอีกครั้ง เพื่อตนจะได้อุปสมบทให้สมใจนึก
    ครั้งนี้ท่าน ได้เข้าอุปสมบท ณ วัดโขยงนอก อำเภอสวี เดือน พฤษภาคม ปีระกา (พ.ศ.๒๔๕๒) โดยมีอายุครบ ๒๐ ปีพอดี ซึ่งมีพระครูธรรมลังกาวี หรือ พระครูฮวบ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากเสร็จพิธีในเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดควร (วัดทึงทั่ง) ในตำบลวิสัยใต้ ถิ่นกำเนิดของท่านนั่นเอง โดยที่ท่านได้ตั้งใจที่จะบวชเรียนเพียงแค่พรรษาเดียว แล้วจะลาสิกขาออกไปดูแลทรัพย์สินที่มีอยู่ และในคืนแรกที่บวชนั่นเอง ท่านได้นิมิตว่า ตนเองได้นั่งบนแผ่นหนังผืนใหญ่ แล้วแผ่นหนังนี้ได้นำท่านลอยเหาะขึ้นไปบนท้องฟ้าวนเวียนไปทั่วทุกทิศถึงสามรอบแล้วก็นำท่านกลับมาที่เดิม
    เช้าวันรุ่งขึ้นท่านได้เข้ากราบพระอาจารย์ฮวบผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเล่านิมิตของท่านให้พระอาจารย์ฟัง พระอาจารย์ฮวบพอฟังแล้วก็ตรวจดูแล้วทำนายว่า
    “ต่อไปภายหน้าชื่อเสียงและบารมีของคุณจะฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ นับว่าเป็นนิมิตที่ดี”
    เมื่อพระอาจารย์ทำนายให้ฟังแล้ว ท่านก็ไม่ได้ตั้งใจอะไรมากนัก กลับคิดว่าคงเป็นชื่อเสียงทางด้านการทำงานในด้านทางโลกเบื้องหน้ามากกว่า เพราะตั้งใจที่จะบวชเพียงพรรษาเดียวก็จะลาสิกขาไปประกอบอาชีพ
    ในปีระกาครานั้น ได้เกิดโรคระบาดสัตว์อย่างร้ายแรงขึ้นในเมืองชุมพรและเมืองใกล้เคียงกัน วัว ควายของชาวบ้านทั้งหลายพากันล้มตายลงเป็นอันมาก มิสามารถรักษาได้ทัน ควายของท่านที่ฝากน้าชายดูแลไว้ล้มตายลงราวกับกับใบไม้ร่วงเช่นกัน โดยตัวสุดท้ายที่ตายเป็นควายตัวรุ่นๆ ตัวยังไม่ใหญ่นัก ได้มาล้มสิ้นลมหายใจตายอยู่ที่บันไดกุฏิท่าน เหตุการณ์นี้สร้างความเศร้าสลดสังเวชใจแก่ท่านมากเป็นอย่างยิ่ง เพราะควายทั้งหมด ประมาณ 80 ตัวนั้นนับว่าเป็นที่ผูกพันกับท่านมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ท่านเพียงได้แต่เอาสัจธรรมแห่งชีวิตเข้าปลอบใจ อันว่าชีวิตที่เกิดมาแล้วต้องมีวันแตกดับไป ไม่เว้นว่าสัตว์หรือคน ล้วนหนีไม่พ้น
    หลังจากท่านได้อยู่ครบ ๑ พรรษา ก็เตรียมการที่จะลาสิกขาพร้อมกับเพื่อนพระอีกรูปหนึ่งชื่อ “สง” เหมือนกัน โดยเมื่อถึงกำหนดวันที่จะลาสิกขา ต่างก็กำหนดนัดกันว่าหากใครตื่นก่อนก็ให้รีบไปปลุกอีกคนด้วย เมื่อตกลงเป็นที่เข้าใจกันดีแล้วก็เข้าจำวัด พอตอนใกล้รุ่งวันถัดมาอันเป็นกำหนดวันลาสิกขา ปรากฏว่าเพื่อนพระของท่านนั้นตื่นก่อน แล้วรีบไปทำพิธีลาสิกขาทันทีด้วยเกรงว่าจะสายไปไม่ทันกำหนดการ โดยลืมปลุกท่านตามที่สัญญากันไว้ พอเพื่อนพระผู้นั้นลาสิกขาเสร็จแล้ว ก็นึกขึ้นได้ว่าตนลืมปลุกเพื่อนเสียแล้ว ก็รีบวิ่งมาที่กุฏิเพื่อน เห็นประตูปิดอยู่ก็รีบเรียกปลุก ท่านหลับอยู่ด้วยเพราะจำวัดดึก พอได้ยินเสียงเพื่อนเรียกก็ตกใจตื่น รีบยกผ้าลาสิกขา พอเปิดประตูออกมาเห็นเพื่อนครองผ้าเป็นคฤหัสถ์อยู่แล้ว ก็บังเกิดความเสียใจ ถอยเข้ากุฏิ ปิดประตูดังปัง แล้วนั่งเสียใจและน้อยใจเพื่อนอยู่ในกุฏินั่นเอง
    การลาสิกขานั้นไม่เหมือนการบวชหรือการบรรพชา ซึ่งการบวชนั้นไม่ต้องดูฤกษ์ดูยามขอเพียงให้มีองค์ประกอบทางพิธีกรรมครบก็สามารถบวชได้แล้ว แต่การลาสิกขานั้นต้องมีกำหนดวันที่แน่นอน ต้องดูฤกษ์ยามตามกำหนด ถ้าไม่ใช่วันที่กำหนดเหมาะสมก็ลาสิกขาไม่ได้ หากฝืนกฎไม่เชื่อพอลาสิกขาออกมามักเกิดเรื่องไม่ดีต่างๆ เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นเสมอๆ ดังนั้นการลาสิกขาจะมีกำหนดวันที่เหมาะสมอยู่น้อยมาก หากพลาดวันและเวลาที่กำหนดดังกล่าวก็อาจต้องรอคอยไปอีกนานกว่าจะได้กำหนดวันและเวลาอันเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง พระภิกษุบางองค์บวชแล้วลาสิกขาไม่ได้ก็มีอยู่มาก
    ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ ท่านจะบังเกิดความเสียใจและน้อยใจเพื่อนเป็นอันมากดังกล่าว หลังจากปิดประตูนั่งเสียใจอยู่ภายในกุฏิอยู่นานจนเลยเวลาเพล ท่านก็สงบอารมณ์ลงได้ แล้วนั่งทบทวนถึงเหตุการณ์ที่ตนได้นิมิตตอนบวชได้คืนแรก และคำที่อุปัชฌาย์ได้พยากรณ์ไว้ ทั้งหวนระลึกถึงพ่อแม่ที่เสียชีวิตไปแล้ว ทั้งควายอีก 80 ตัวที่ตายจากไปทั้งหมดเหล่านั้นอีก ดังกับว่าภาระที่ตนต้องรับผิดชอบนั้นหมดสิ้นไปแล้ว ส่วนที่สวนที่นานั้นก็เป็นเพียงอสังหาริมทรัพย์ มันอยู่ตรงนั้นมานานแล้ว หาใช่ของเราไม่ส่วนน้าชายก็มีครอบครัวคอยช่วยเหลือดูแลกันเองอยู่ มิมีอะไรต้องเป็นห่วง ในที่สุดก็คิดได้ว่า อันตัวเราคงไม่มีความเป็นฆราวาสแล้ว ไม่มีภาระให้ต้องเป็นห่วงแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เข้าหาธรรมดีกว่า แต่หากอยากจะศึกษาให้ถึงแก่นแท้ คงศึกษาด้วยตนเองไม่ได้ คงต้องมีผู้รู้มาช่วยชี้แนะ แต่การหาผู้รู้จริงในด้านปฏิบัตินั้นหาได้ไม่ง่ายเลย
    แล้วในที่สุดท่านก็ตัดสินใจที่จะไม่ลาสิกขา จะออกเดินทางเสาะแสวงหาครูอาจารย์เพื่อศึกษาและปฏิบัติทางพระกัมมัฏฐานต่อไป วันนั้นท่านไม่ได้ฉันอาหาร เพราะมานั่งเสียใจจนเลยเวลาเพล พอดีกับเครื่องสัมภาระที่จำเป็นใส่ย่ามเรียบร้อยแล้วก็เขียนหนังสือบอกลาพระอาจารย์ไว้บนกระดานชนวน แล้วสะพายบาตรถือย่ามเดินทางออกจากวัดในคืนนั้น ท่านเดินทางเพื่อเสาะแสวงหาพระครูอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้มีความรู้ชั้นสูงในทางปฏิบัติกัมมัฏฐาน
    การเดินทางนั้นค่อนข้างลำบาก พาหนะทุ่นแรงยังไม่ค่อยจะมี ล้วนใช้แรงช้าง ม้า วัว ควาย เป็นหลักทั้งสิ้นดังนั้นจึงต้องเดินด้วยเท้าก้าวด้วยขาตลอด ท่านเดินทางเลยเขตเมืองชุมพรออกไปไกล ผ่านพบผู้คนหรือชุมชนที่ก่อตั้งกันอยู่ก็เข้าซักถามผู้คนถึงที่ตั้งของวัดต่างๆ พอพบแล้วก็เข้าไปสนทนาธรรม พลางสำรวจดูวัตรปฏิบัติชอบน่าเลื่อมใสต่างๆ นานา แต่พอได้พบเจอแล้วพิจารณาดูกลับไม่เป็นดังที่กล่าว บางแห่งก็มีแต่ความวุ่นวายหาความสงบไม่ได้ บางแห่งบนกุฏิพระก็มีแต่ของเคี้ยวของฉันสะสมอยู่เต็มไปหมด ซึ่งไม่เป็นที่น่ากระทำของภิกษุ เป็นดังนี้เสียส่วนมาก จึงปลีกตัวออกเดินทางออกไปเรื่อยๆ จวบจนเข้าฤดูพรรษา ท่านก็ได้เลือกเอาวัดแห่งหนึ่งที่คิดว่าสงบพอ ขอเข้าอยู่จำพรรษาด้วย พอสิ้นพรรษาแล้วท่านก็กราบลาเจ้าอาวาสวัดนั้นออกเดินทางต่อไป จนไกลไปถึงช่องแคบข้ามขึ้นเกาะภูเก็ต
    เมื่อขึ้นเกาะภูเก็ตแล้ว ก็ออกเดินทางธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ อันเกาะภูเก็ตนั้นเป็นเกาะที่มีประชาชนอาศัยอยู่มากพอสมควร ซึ่งส่วนมากก็ยึดอาชีพทำการประมง วางอวนริมอ่าว เป็นการหารายได้ ส่วนในเมืองก็เป็นพวกพ่อค้าแม่ขาย และอีกส่วนหนึ่งที่มีไม่น้อยก็คือ กรรมกรเหมืองแร่ ที่มีอยู่หลายแห่งในเกาะภูเก็ตก็ว่าได้ และด้วยว่าชาวภูเก็ตนิยมทำการประมงและเหมืองแร่เป็นหลัก การทำสวนไร่นา นั้นไม่ค่อยมี เหตุนี้จึงทำให้เกาะภูเก็ตยังอุดมไปด้วยป่าเขาที่สมบูรณ์อยู่มาก
    <TABLE id=table3 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่เกาะภูเก็ตนี่เองยังมีวัดที่มีชื่อเสียงเป็นศูนย์รวมจิตใจ ชาวพุทธของคนภูเก็ตอยู่วัดหนึ่งมีชื่อว่า “วัดโต๊ะแซ่” หรือชาวบ้านเรียก วัดโต๊ะแซะ ตามสำเนียงท้องถิ่น วัดโต๊ะแซ่นี้ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตพอสมควร ทั้งตั้งอยู่บนเนินเขา ทำให้วัดนี้มีความสงบร่มเย็นอยู่มากทีเดียว วัดนี้มีชื่อเสียงในด้านวัตรปฏิบัติ โดยภายในวัดมีการแบ่งการควบคุมดูแลเป็น 2 ส่วน ฝ่ายหนึ่งที่จะเป็นกลุ่มที่ศึกษาด้านปริยัติ มีอาจารย์พวง รองเจ้าอาวาสเป็นผู้ควบคุมดูแล ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นศึกษาด้านปฏิบัติ ซึ่งอยู่ห่างกันพอสมควร โดยมีหลวงพ่อทวดรอด เจ้าอาวาสเป็นผู้ดูแล ถึงแม้วัดจะมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่าย แต่เมื่อถึงเวลาต้องปฏิบัติกิจกรรมสังฆกรรมต่างๆ ก็มีความสามัคคีปฏิบัติร่วมกันเป็นอย่างดี
    เมื่อธุดงค์ผ่านมาแล้ว ทราบความจากชาวบ้านว่ามีวัดโต๊ะแซ่ที่มีชื่อเสียงด้านปฏิบัติ ก็สอบถามเส้นทางจากชาวบ้านแล้วเดินทางสู่วัดนั้นทันที
    พอมาถึงจุดทางแยกเข้าวัด อันมีศาลาริมทางตั้งไว้ให้ผู้สัญจรไปมาได้พักร้อนอยู่หลังหนึ่ง ก็มองเห็นสามเณรน้อยนั่งอยู่ในศาลานั้น ก็ดีไจเดินเข้าไปถาม
    “เณร แถวนี้มีวัดอยู่บ้างหรือไม่”
    สามเณรก็ตอบว่า “มี นี่ก็ออกมาคอยพระอยู่ ต้นบอกให้ออกมาคอย กลัวท่านจะเข้าวัดไม่ถูก ไปเถอะ ต้นคอยท่านอยู่”
    สามเณรนำท่านตรงไปที่กุฏิของต้นที่ว่าอันเป็นเจ้าอาวาส ล้างเท้าเสร็จก็ก้าวขึ้นบันได แต่ยังไม่ทันพ้นขั้นสุดท้ายเสียงหนึ่งเอ่ยมาจากในกุฏิ
    “เณร พระรูปนี้ตอนเป็นฆราวาสเป็นหมอเก่งมาก เณรขอต่อครูสิ”
    การต่อครูก็คือ การทำพิธีขออนุญาตขอเล่าเรียนวิชาจากบรมครูผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยมีผู้สอนวิชาเป็นหมอผู้ยังมีชีวิตอยู่ ณ ปัจจุบันเป็นผู้สอนให้ โดยกระทำพิธีว่าจะใช้วิชาที่ได้รับมอบมาในทางที่ถูกต้อง ฯลฯ เข้าใจกันได้ง่าย ๆ ว่าคือ อาการขอฝากตัวอะไรทำนองนั้น ท่านได้ยินดังนั้นก็แปลกใจอีกว่ารู้ได้อย่างไรว่า ตัวเรานั้นได้เคยเรียนวิชาด้านหมอเส้น หมอกระดูก มาก่อน
    เมื่อขึ้นไปบนกุฏิก็พบ ต้น หรือ หลวงพ่อทวดรอด ก็เข้ากราบ แล้วถอยออกมานั่งสำรวมอยู่พลางสังเกตในทีก็พบว่า หลวงพ่อรอดนั้นมีรูปร่างลักษณะสูงใหญ่ สีผิวเนื้อค่อนข้างขาว มีเส้นขนขึ้นดกทั้งตัว ทั้งยังสังเกตดูบริเวณภายในกุฏิก็พบว่า นอกจากเครื่องอัฐบริขารที่พึงมีแล้ว ก็ไม่ปรากฏสิ่งอื่นสะสม กองทิ้งไว้ให้เห็นเลย แสดงให้เห็นถึงความสมถะมักน้อยได้เป็นอย่างดี เห็นแล้วก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นมาภายในใจ จึงเอ่ยปากถามว่า
    “มีเสนาสนะว่างบ้างหรือไม่ ท่าน”
    “มี ให้สามเณรจัดไว้ให้เรียบร้อยแล้ว” พลางบอกไห้สามเณรนำอัฐบริขารท่านเก็บ
    ท่านนั้นคิดว่าตนคงมาพบอาจารย์ที่เสาะหาแล้วก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นมาด้วยและตัววัดนี้ก็เหมาะแก่การปฏิบัติกัมมัฏฐานเพราะมีความสงบร่มเย็นดี จึงตกลงใจขอมอบตัวเป็นศิษย์ทันที
    ท่านสังเกตดูอิริยาบถของหลวงพ่อทวดรอด ก็พอจะทราบได้ว่า ตัวหลวงพ่อนั้นมีอาการอาพาธรบกวนอยู่จึงเรียนถามอาการ และทราบว่าตัวท่านนั้นมีอาการอาพาธ ปวดเมื่อยเนื้อตัวมานานแล้ว แต่ไม่ถึงกับหนักนัก แต่ก็มีผลทำให้ฉันอาหารไม่ค่อยได้ ทำให้ซูบผอมลงไปพอสมควร ท่านก็ขออาสาทำการรักษาทันที ถึงแม้หลวงพ่อทวดรอดจะปฏิเสธ ด้วยความเห็นว่าเดินทางมาเหน็ดเหนื่อยควรจะพักเสียก่อน แต่ท่านก็ไม่ยอม เข้าทำการบีบนวดรักษาตลอดทั้งคืน
    ถึงแม้ตัวหลวงพ่อทวดรอด จะบอกว่า “เณรบีบมามากแล้วก็ไม่หาย ปล่อยตามสังขารเถอะ”
    แต่ท่านหาฟังไม่ หลังจากเสร็จกิจสงฆ์ในทุกวันแล้ว ก็จะมาบีบนวดรักษาหลวงพ่อทุกคืน จนอาการอาพาธของหลวงพ่อทวดรอดทุเลาขึ้นเป็นลำดับ เริ่มฉันอาหารได้มากขึ้นและในที่สุดก็หายเป็นปกติ ฉันอาหารมื้อหนึ่งได้เกือบเต็มบาตร ร่างกายสมบูรณ์ขึ้นมาก
    เมื่อเห็นอาการของหลวงพ่อทวดรอดหายเป็นปกติแล้ว ท่านเริ่มตั้งใจศึกษาพระธรรมปฏิบัติทั้งหลาย และฝึกปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง
    ท่านตั้งใจศึกษาพระกัมมัฏฐานอย่างตั้งอกตั้งใจจนได้รับคำชมเชยจากหลวงพ่อทวดรอดพระอาจารย์ว่า
    “ท่าน ท่านมีความเพียรเป็นที่ตั้ง เหมาะสำหรับเรียนพระกัมมัฏฐาน”
    โดยแรก ๆ ที่หลวงพ่อทวดรอดรับท่านเป็นศิษย์ ก็ได้กำหนดให้ท่านผู้เป็นลูกศิษย์ได้กระทำวัตร ๑๒ ข้อคือ
    ๑. อาคันตุกวัตร วัตรของอาคันตุกะผู้เข้าไปสู่อาวาสอื่น
    ๒. อาวาสิกวัตร วัตรของเจ้าอาวาสที่จะต้องปฏิบัติต่อพระอาคันตุกะ
    ๓. คมิกวัตร วัตรของผู้เตรียมจะไปที่อื่น
    ๔. อนุโมทนาวัตร วัตรทำการอนุโมทนาในโรงฉัน
    ๕. ภัตตัควัตร วัตรในการทำภัตกิจคือการทำวัตรก่อนฉันจังหันหรือฉันจังหันแล้ว
    ๖. เสนาสนวัตร วัตรที่ว่าด้วยการรักษาเสนาสนะ
    ๗. ชันตฆรวัตร วัตรในโรงไฟ
    ๘. วัจกุฏีวัตร วัตรในห้องน้ำห้องส้วม
    ๙. อุปัชฌายวัตร วัตรปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์
    ๑๐.อาจาริยวัตร วัตรของพระอุปัชฌาย์อาจารย์
    ๑๑.สัทธิวิหาริกวัตร วัตรของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ที่มีหน้าที่สงเคราะห์สัทธิวิหาริก
    ๑๒.อันเตวาสิกวัตร วัตรของอาจารย์ที่สงเคราะห์แก่อันเตวาสิก
    เมื่อหลวงพอทวดรอดได้อบรมกฎวัตร ๑๒ ข้อให้แก่ท่านผู้เป็นศิษย์แล้ว ก็ได้เริ่มสอนให้ท่านเจริญบำเพ็ญภาวนา ให้กำหนดอารมณ์เป็นหนึ่ง น้อมระลึกคุณของพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์ แล้วก็บริกรรมภาวนา เป็นลำดับ หลังจากนั่งเจริญภาวนาแล้วยังมีการเดินจงกรมอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ท่านมีความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง เคร่งครัดและสม่ำเสมอทีเดียว
    เช้าทำวัตรสวดมนต์ ออกบิณฑบาต กลับมาฉันจังหันในเวลาเพล แล้วพักผ่อนพอประมาณ ก็ไปปฏิบัติเจริญภาวนาต่อ
    ท่านปฏิบัติเช่นนี้จนจิตและสมาธิกล้าแข็งขึ้นมากจนครบหนึ่งพรรษาที่ได้ฝึกปฏิบัติอยู่ ก็คิดว่า จิตและ สมาธิของตนเองแก่กล้าพอสมควร นี่ก็ออกพรรษาแล้ว อันตัวเราน่าจะลองปลีกวิเวกออกยังป่าช้า ภูเขาหรือถ้ำ ตามแบบปฏิบัติของผู้ฝึกกัมมัฏฐานดูบ้าง จึงไปขออนุญาตหลวงพ่อทวดรอด พระอาจารย์ แต่กลับไม่ได้รับอนุญาต ท่านจึงอยู่ปฏิบัติพระกับฐานอย่างเคร่งครัด ณ วัดโต๊ะแซ่ต่อไป
    จนกระทั่งออกพรรษาที่สามที่ท่านได้ฝึกปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอยู่ ณ วัดโต๊ะแซ่ ท่านปรารภกับตัวเองว่า
    “ เราควรออกป่าหาวิเวกเพิ่มเติมเอาเองบ้าง อุบายต่าง ๆ เราก็พอเข้าใจ ควรอย่างยิ่งที่เราจะออกธุดงค์โดยลำพัง”
    คิดได้ดังนั้นก็เข้าขออนุญาตต่อหลวงพ่อทวดรอดผู้เป็นอาจารย์อีกครั้ง หลังจากที่ผ่านมาเคยขออนุญาตธุดงค์มาแล้วกึง 2 ครั้งแต่ไม่ได้รับอนุญาต แต่ว่าหนนี้หลวงพ่อทวดรอดกลับอนุญาต โดยหลวงพ่อทวดรอดได้กล่าวแก่ท่านผู้เป็นลูกศิษย์ว่า
    ”ไปเถิด แล้วอย่ามา ฉันไม่ใช่อาจารย์ที่แท้ของคุณ อาจารย์ที่แท้จริงยังอีกคน รีบไปเถอะ แล้วจะพบที่ท่าข้าม”
    พร้อมทั้งชี้บอกทางอันเป็นเส้นทางลัดแก่ศิษย์
    “เมื่อลงเรือฝั่งโน้นแล้วให้เดินตัดตรงไปที่เขายอดสูง เมื่อไปถึงยอดเขาสูงจะมีผู้นำทางไปทางลัด”
    เมื่อได้รับอนุญาตจากพระอาจารย์แล้วดีใจที่จะได้หาความวิเวกด้วยตนเอง แต่ก็ยังสงสัย ที่พระอาจารย์บอกว่า
    “ยังมีอาจารย์ที่แท้อีกองค์หนึ่ง และไปแล้วอย่ามา”
    หลังจากท่านเดินทางออกจากวัดโต๊ะแซ่ได้ไม่นาน หลวงพ่อทวดรอด เจ้าอาวาสวัดโต๊ะแซ่ก็อาพาธและมรณภาพในที่สุด
    ครั้นเมื่อเดินทางออกจากเกาะภูเก็ตแล้ว ก็มุ่งตรงสู่ภูเขาที่ไปถึงเชิงเขาสูงลูกหนึ่งที่หมายตาไว้ ก็วางบริขารทั้งหลายลง จัดแจงเตรียมกางกลดเพื่อพักผ่อนและเตรียมทำกิจไหว้พระสวดมนต์กระทำภาวนาตามปกติ เพราะเป็นเวลาเย็นมากแล้ว
    ท่านมองไปรอบๆ พลางคิดว่า ในป่าเขาแบบนี้หาได้มีบ้านเรือนผู้อื่นแล้วจะไปพบผู้นำทางที่พระอาจารย์ว่าไว้ที่ไหน แต่ถึงแม้จะสงสัยอยู่ในคำพูดของพระอาจารย์ ทว่าก็ยังบังเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาอยู่ว่า ถ้าพระอาจารย์บอกแล้ว อย่างไรก็คงจะพบได้แน่ๆ
    เพียงชั่วคิดยังไม่ทันที่จะปักกลด ประสาทหูก็ได้ยินเสียงกิ่งไม้ไหวยวบ ยวบ พอหันไปดูด้วยสติที่มั่นคง ก็พบว่าต้นเหตุที่ก่อเสียงขึ้น คือพญาช้างเชือกหนึ่งเป็นช้างพลายรูปร่างสง่างามใหญ่โต งาสีขาวสวยงามยาวโค้งเกือบเป็นวากำลังใช้งวงจับรูดใบไผ่และยอดไม้อ่อนใส่ปากเคี้ยวกินอยู่
    ครั้นช้างรูปงามนั้นหันมาเห็นท่านยืนจ้องมองดูมันอยู่ มันก็แสดงอาการปรบหูอันใหญ่โตทั้งสองข้างนั้นขึ้นลงสามครั้ง แล้วชูงวง ชี้มาที่ท่านยืนอยู่ ผงกหัวขึ้นลงคล้ายแสดงอาการเคารพ แล้วหันไปสนใจ กับอาหารยอดไม้ใส่ปากเป็นอาหารต่อไป ท่านพิจารณาแล้วก็คิดว่า
    “นี่คงเป็นผู้นำทางที่พระอาจารย์ว่าไว้ “
    คืนนั้น ท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ในกลดไปจนรุ่งสว่าง โดยมีช้างเชือกนั้นเดินหาอาหารกินอยู่รอบ ๆ ทำหน้าที่เป็นองครักษ์ไปในตัว
    ครั้นพอรุ่งเช้าเก็บกลดเสร็จ ยังไม่ทันที่จะหาลูกผลไม้ฉันเป็นอาหาร ช้างป่ารูปงามนั้นก็เดินห่างออกไป ทำให้ท่านต้องรีบเก็บบริขารทั้งหมดแล้วรีบตามข้างรูปนั้นไปทันที ด้วยเกรงจะตามกันไม่ทัน จนทำให้พลัดหลงกันในที่สุด
    ท่านเดินตามช้างป่าเชือกนั้นไปตลอด ไม่ว่าช้างจะไปทางไหนก็ต้องตามไปทางนั้น ขึ้นเขาลงเขาก็ต้องไป อาหารก็ไม่ได้ฉัน เพราะช้างผู้นำทางจะหยุดหาอาหารกิน ก็เป็นเวลาช่วงเย็นซึ่งก็เลยเวลาเพลสำหรับท่านไปแล้ว อาศัยว่าทำการภาวนาในขณะเดินตามช้างตลอดเวลา และการพักผ่อนทำภาวนาในช่วงกลางคืนที่ช้างพัก หยุดกินอาหาร จึงทำให้ท่านไม่บังเกิดอาการหิวอาหารหรืออ่อนเพลียแต่อย่างใด
    จนล่วงเข้าบ่ายของวันที่สาม ขณะที่เดินอยู่บนเชิงเขา ท่านก็สังเกตเห็นหลังคาบ้านหลายหลัง อยู่เบื้องล่างลงไป ฝ่ายช้างผู้นำทางนั้น ก็หยุดแล้วหันหน้าไปทางหมู่บ้านแล้วแสดงอาการปรบใบหูขึ้นสามครั้งแล้วหันหลังเดินกลับย้อนทางเดิมที่เดินมา ทิ้งท่านยืนลังเลอยู่เบื้องหลังว่า จะเดินตามช้างต่อ หรือหยุดตาม หรือเดินลงไปยังเบื้องล่างดี
    แต่จากการแสดงอาการของช้างเมื่อครู่ที่ผ่านมา ทั้งการย้อนกลับทางเดิมของช้างเชือกนั้น คล้ายกับว่า มันได้ปฏิบัติภารกิจของมันเรียบร้อยแล้ว ท่านกล่าวคำอาราธนาพรและขอบคุณช้างที่เดินห่างออกไปเป็นลำดับ แล้วหันมามองกำหนดทิศทางของหมู่บ้าน แล้วเดินลงไปยังหมู่บ้าน

    (ยังมีต่อ)

     
  8. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    เมื่อธุดงค์มาถึงบ้านปลายคลองน้อย อ. สวี ซึ่งยังคงเป็นป่าเขา มีบ้านเรือนตั้งอยู่เพียงแค่ไม่กี่หลังยังมิสู้เจริญนัก เมื่อท่านเห็นว่ามีหมู่บ้านตั้งอยู่ข้างหน้าจึงคิดที่จะหยุดพัก จึงเข้าไปปักกลดอยู่ในราวป่าใกล้ ๆ หมู่บ้าน
    ครั้นพอรุ่งเช้าต่อมา ท่านก็ออกเดินบิณฑบาต เข้าไปในหมู่บ้านแต่ปรากฏว่ามิมีผู้ใดถวายบิณฑบาตเลย เช้านั้นท่านเลยไม่ได้ฉันอาหารเลย ท่านคิดว่าชาวบ้านคงจะไม่ทราบว่ามีพระธุดงค์มาบิณฑบาตจึงไม่มีผู้ใดเตรียมอาหารได้ทัน แต่พอรุ่งเช้าถัดมา เมื่อท่านเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านอีก คราวนี้พอชาวบ้านเห็นพระธุดงค์เดินอุ้มบาตรเข้ามาก็พากันเข้าบ้านเปิดประตูเสียราวกับว่าพระธุดงค์นั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาของพวกเขาทั้งหลาย ทำให้วันนั้นท่านมิได้ฉันอาหารอีกเป็นวันที่สอง
    เมื่อเห็นอากัปกิริยาของชาวบ้านเช่นนั้น ทำให้ท่านตั้งใจว่าจะต้องทำให้ชาวบ้านได้ทำบุญให้ได้ เพื่อตนจะได้ฉันอาหารและเพื่อตนจะได้แสดงธรรมให้ชาวบ้านได้รับธรรมเข้าไปในจิตใจ และปรากฏว่าเหตุการณ์ก็ยังเป็นเช่นเดิม อยู่ถึง 6 วัน ซึ่งหมายความว่า ท่านก็มิได้ฉันอาหารเลยทั้ง 6 วัน ดังกับว่าเป็นการทดลองจิตและสมาธิความตั้งใจของท่านว่ามีความแน่วแน่อดทนเพียงใด
    พอเช้าวันที่ 7 ท่านก็พาร่างกายอันอิดโรยเข้าไปบิณฑบาตอีก เช่นเดิม ปรากฏว่าเช้านี้ ได้มีชาวบ้านผู้หนึ่งถวายข้าวสวยสุกมาสามช้อนทัพพี และเมื่อท่านกลับมาถึงกลดก็ลงมือฉันข้าวสวยสุกนั้นและปรากฏว่าพอข้าวคำแรกตกถึงกระเพาะ ท่านก็มีอาการหน้ามืดและสลบไปจวบจนบ่ายแก่ ๆ ก็ฟื้นขึ้นมา
    พอเช้าวันถัดมา พอออกบิณฑบาต ปรากฏว่าคราวนี้มีชาวบ้านทำบุญตักบาตรกันแทบทุกบ้านได้ภัตตาหารมาจนล้นบาตร ครั้นพอตกตอนเย็นก็มีชาวบ้านทำน้ำปานะมาถวายอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้มีโอกาสแสดงธรรมให้แก่ชาวบ้านดังที่ตั้งใจ ไว้
    ความจริงตอนที่ธุดงค์อยู่ ตัวท่านเองก็เคยไม่ได้รับบิณฑบาตจากชาวบ้าน เป็นเวลาหลาย ๆ วัน ก็ออกจะบ่อยอยู่ แต่ได้อาศัยน้ำตามลำธารช่วยแก้กระหาย และลูกผลไม้ต่าง ๆ ในป่าแก้หิว บวกกับการทำสมาธิ เจริญภาวนาทำให้สามารถช่วยให้ผ่านพ้นอยู่รอดมาได้ แต่เหตุการณ์ครั้งล่าสุดนี้ ท่านตั้งใจว่าจะไม่ฉันอะไรเลย หากไม่ได้รับบิณฑบาตจากชาวบ้าน ดังนั้น เมื่อร่างกายไม่ได้รับพลังงานสิ่งใดเลยตลอด ๖ วัน ก็ย่อมอ่อนเพลียเป็นธรรมดา หากไม่มีสมาธิและจิตใจที่แน่วแน่แล้วยากนักที่จะทำแบบนี้ได้ ขนาดที่เมื่อฉันอาหารคำแรกร่างกายปรับสภาพไม่ทัน ถึงกับช็อคสลบไป นับว่าท่านรอดมาได้ด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่และสมาธิอันเข้มแข็งโดยแท้
    <TABLE id=table7 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ขึ้นกุฏิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อออกจากปลายคลองน้อยแล้ว ก็มุ่งหน้าเข้าสู่บ้านเขาปีบ และที่บ้านเขาปีบนี่เองที่ท่านได้พบกับพระอาจารย์อีกครั้ง โดยเมื่อถึงเขตบ้านเขาปีบ ก็พบกับชายตัดฟืนคนหนึ่ง ด้วยความที่ท่าน เคยประสบกบเหตุการณ์แบบนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ที่บ้านท่าข้าม ทำให้เกิดความรู้สึกสงสัยระคนกับความเชื่อมั่นบางอย่าง จึงเข้าไปถามชายคนตัดไม้ว่า
    “ตัดไม้ทำอะไรโยม “
    คนตัดไม้บอกว่า “ จะเอาไปทำที่พักให้พระคุณท่าน“
    “ พระอยู่ที่ไหนล่ะโยม “
    ชายตัดไม้ชี้พลางเชิญชวน “อยู่แค่นี้เองคุณไปไหม ถ้าไปตามผมมาเถอะ“
    ท่านก็เดินตามชายตัดไม้ไป และเมื่อพบพระรูปดังกล่าว ท่านถึงกับยิ้ม เพราะพระรูปที่นั่งอยู่ในกลดคือ หลวงพ่อทวดเวียนพระอาจารย์ที่ตนเองตามหาอยู่
    เมื่อเข้าไปถึง หลวงพ่อทวดเวียนก็ถามว่า “คอยนานไหม”
    ท่านจึงเล่าให้อาจารย์ฟังถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นที่พระอาจารย์ได้จากไป จนกระทั่งได้มาพบกันในตอนนี้ ข้างหลวงพ่อทวดเวียนก็เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เมื่อตนเองออกจากบ้านท่าข้ามแล้ว ก็ธุดงค์ไปถึงเมืองตะนาวศรี เมืองมะริด แล้วลงเรือขึ้นไปยังเมืองร่างกุ้ง ได้นมัสการพระธาตุเจดีย์ที่ร่างกุ้งแล้วจึงย้อนกลับมาทางเดิม เข้าเมืองไทย และมาถึงที่นี่ในวันนี้เหมือนกัน
    หลังจากได้พบเจอกันแล้วทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ ก็อยู่ปฏิบัติธรรมปฏิบัติพระกรรมฐานอยู่ที่บ้านเขาปีบต่อไป โดยเลือกเอาบริเวณป่าช้าเงียบสงบวังเวงเป็นที่ปฏิบัติ
    หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า บ่ายวันหนึ่งมีคนหามศพมาฝัง หลวงพ่อทวดเวียนท่านเห็น ก็เรียกให้เอาศพมาที่ท่าน ๆ สั่งให้แก้เชือกที่หามออก แล้วแก้ฟากนาค ๗ ซี่ที่เอามัดห่อหุ้มศพออก และท่านใช้ให้ชายอีกคนหนึ่งไปเอาน้ำมาให้ท่านไห (โอ่ง) หนึ่ง
    ศพนั้นเป็นศพเด็กชาย ชื่อดำ พ่อของเด็กชายดำ บอกหลวงพ่อเวียนว่า เขาตายเมื่อเที่ยงนี้เอง พอดีคนที่ไปตักน้ำก็เอาน้ำมาให้หลวงพ่อทวดเวียน หลวงพ่อทวดเวียนเอาน้ำใส่ลงในบาตรล้วงเอาผ้าขาวในย่ามใส่ลงในบาตร และหยิบวัตถุเป็นเม็ดสีดำ คงจะเป็นยา ใส่ไว้ใต้ริมฝีปากบนของศพ แล้วท่านบริกรรมไปเอาผ้าขาวที่ใส่ไว้ในบาตรตบที่หัวศพไป ราวครึ่งชั่วโมงก็มีเสียงครางในลำคอ หลวงพ่อทวดเวียนก็บีบผ้าขาวให้น้ำย้อยลงในปากพร้อมกับบอกผู้เป็นพ่อว่า ไปต้มข้าวต้มมาให้
    ผู้เป็นพ่อรีบลุกขึ้นวิ่งไปต้มข้าวต้มด้วยความดีใจเป็นที่สุด ต่อมาไม่นานนักเด็กชายดำก็ฟื้นขึ้นมา เมื่อผู้เป็นพ่อเอาข้าวต้มมาและหยอดน้ำข้าวต้มให้จนมีอาการดีขึ้น เวลาพูดก็ได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น บรรดาพ่อแม่และญาติ ๆ ต่างก็มาตูยิ้มทั้งน้ำตา ต่างก็สรรเสริญหลวงพ่อทวดเวียนว่า
    “เป็นเสมือนเทวดามาชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นได้”
    เด็กชายดำมีเรี่ยวแรงพอพูดจาได้ดีแล้ว ก็เล่าให้ฟังว่า
    “มีคนมาพาเขาไป พอไปถึงกำแพงเมือง ซึ่งเขาไม่เคยเห็น มีผู้คนพลุกพล่าน ทุกเพศทุกวัย ต่างก็เดินทางเข้ากำแพงเมือง คนเดินออกไม่มี เขาก็เดินตามไปด้วย พอจะเข้าไปในประตูก็พอดีมีพระห่มจีวรออกสีดำเข้ามาดักหน้าเขาไว้ ไม่รู้เอาอะไรสีดำ ๆ จุกในปากเขา และสั่งให้กลับ เขาบอกว่า ไม่กลับ ก็ตบหัวเขาๆ ก็ถอยหลังเรื่อยมา ๆ จนเขารู้สึกขึ้นมานี่แหละ”
    พ่อแม่และหมู่ญาติต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ดำ ไม่ใช่ลูกเขาแล้ว ยกให้หลวงพ่อทวดเวียนเถิด”
    ดำก็อยู่กับหลวงพ่อทวดเวียนหลายเดือน เขาเป็นคนกล้า เข้านอนอยู่ที่แคร่ใต้กุฏิ เวลามีเสือเขาก็ไม่กลัวเสือ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อทวดเวียนกับหลวงปู่เดินธุดงค์ไปที่อื่น ก็ฝากดำไว้กับพ่อแม่ของดำให้ช่วยเลี้ยงดูไว้ให้ท่านด้วย
    เมื่อท่านได้ออกไปจากบ้านเขาปีบแล้ว ก็ได้ธุดงค์ไปในที่ต่างๆ โดยเฉพาะหลวงพ่อทวดเวียนกับหลวงปู่ อยู่ประจำพรรษาที่ถ้ำโพงพาง ๒ พรรษา (เดี๋ยวนี้เป็นวัดแล้ว อยู่ที่ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร) ซึ่งเป็นที่สงัดวิเวกอยู่ใกล้ทะเล เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมยิ่งนัก จากนั้นก็ไปประจำพรรษาที่วัดควน ตำบลวิสัยใต้ อีก ๑ พรรษา หลวงพ่อทวดเวียน ท่านก็ถึงแก่มรณภาพลง
    หลวงปู่ ท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อทวดเวียน ท่านเกิดอาพาธหนัก มีโยมผู้ชายมาอยู่เฝ้าพยาบาลเป็นจำนวนมาก ตอนที่ท่านมรณภาพไม่มีใครเห็น ตอนดึกสงัด โยมที่มาเฝ้านอนหลับกันหมด หลวงพ่อทวดเวียน ท่านลุกขึ้นแล้วนั่งห่มผ้าพาดสังฆาฏิ มีผ้าเคียนอก (รัดอก) ท่านเรียกว่า “ครองใหญ่” แล้วก็ลงจากกุฏิไป
    ใกล้รุ่ง พวกโยมที่มาอยู่เฝ้าพยายามต่างก็ลุกขึ้นมองหา ไม่เห็นหลวงพ่อทวดเวียน ก็ตกใจ รีบตามหา ก็ไม่พบ จนรุ่งสว่างหาจนทั่วก็ไม่พบ ส่วนหลวงปู่ ท่านก็ออกตามหาเหมือนกัน แต่ท่านไม่มาที่กุฏิ ท่านเข้าป่าใกล้วัดตามหา
    ตกตอนบ่ายจึงพบ ท่านเห็นหลวงพ่อทวดเวียนนั่งพิงต้นไม้ใหญ่อยู่ เมื่อเข้าไปถึง ก็ปรากฏว่า ท่านได้มรณภาพแล้ว (อาจารย์หลวงปู่ทั้งสองท่านล้วนแต่มรณภาพในท่านั่งคือ หลวงพ่อทวดรอด ท่านก็นั่งมรณภาพบนเก้าอี้ มาหลวงพ่อทวดเวียนก็นั่งมรณภาพใต้ต้นไม้)
    เมื่อทำบุญศพหลวงพ่อทวดเวียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ก็ออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมต่อไป ท่านอยู่ประจำพรรษาที่หัวกรูด ๑ พรรษา แล้วมาอยู่ประจำพรรษาที่สามแก้ว ๑ พรรษา ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นป่า เมื่อออกพรรษาที่ ๑๐ แล้วท่านธุดงค์เข้าสู่บ้านศาลาลอยครั้งแรก
    ท่านปักกลดอยู่ที่ใกล้หนองน้ำ ชื่อลุมควาย กำนันเฉยได้นิมนต์หลวงปู่ ให้ไปอยู่ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา ในครั้งนั้นเป็นวัดร้าง ท่านจึงรับนิมนต์คุณตาเฉย
    เมื่อหลวงปู่เข้าอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยนั้น ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๒ คุณตาเฉย ได้ทำกุฏิหลังเล็กรูปหลังคาและฝาแบบประทุนหรือสมัยก่อน ชาวบ้านเรียก กุฏิโกบ คืนแรกที่ท่านเข้าอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ตอนดึกท่านไปเข้าเว็จกุฏิ เมื่อออกมาท่านเห็น ศีรษะมีแค่คอ มีหนวดเคราห้อยรุงรัง ลอยผ่านหน้าท่านไป ท่านเอามือจับหนวดเคราดู ท่านแผ่เมตตาให้ จากนั้นก็หายไป
    รุ่งเช้า ท่านถามคุณตาเฉย ซึ่งปวารณาเป็นโยมอุปัฏฐากว่า
    “ตากำนัน ใครตายตรงนี้บ้าง”
    คุณตาเฉย ก็บอกท่านว่า “อ๋อ อ้ายง่อยมันผูกคอตายที่ต้นไม้นี้”
    (คงจะเป็นฉำฉา ซึ่งกุฏิหลังแรกของหลวงปู่ อยู่ใต้ต้นฉำฉา ต่อมาประมาณปี ๒๕๐๒ หรือ ๒๕๐๓ น้ำเซาะตลิ่งจนต้นฉำฉาต้นนี้ล้มลงในแม่น้ำ) หลวงปู่ก็เล่าให้คุณตาเฉยฟัง และท่านก็ได้แผ่เมตตาให้แล้ว
    คืนต่อมาท่านก็ได้บำเพ็ญกิจภาวนา สมาธิตามปกติ ท่านได้พบพ่อปู่เจ้าฟ้า ท่านขออยู่ประจำที่วัดนี้ พ่อปู่เจ้าฟ้าไม่ให้
    คืนต่อมาท่านขออีก คราวนี้ ท่านเล่าว่า พ่อปู่เจ้าฟ้าบอกท่านว่า “ให้ก็ได้ แต่ขอบายศรี ๓ ชั้น ๙ หัว”
    ท่านก็บอกพ่อปู่เจ้าฟ้าว่า ท่านมาจากอื่นไม่มีญาติ ก็ไม่รู้ว่าจะให้ใครทำขนมทำบายศรีให้
    พ่อปู่เจ้าฟ้าท่านให้ แต่มีข้อแม้ว่าอย่าเป็น “สมภาร” หลวงปู่ก็รับ (เหตุนี้สมัยหลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยจึงไม่มีเจ้าอาวาส ท่านบอกว่า ถ้าเขาตั้งท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็จะออกจากวัดนี้ทันที)
    หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า พ่อปู่เจ้าฟ้า ท่านสอนในท่านอนหงายทงเข่าทั้งสองขึ้น หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก เมื่อพ่อปู่ท่านมองตูตามนั้นแล้วกำหนดจำหมายไว้ (ซึ่งที่ตรงนั้นก็ตรงกับที่สร้างกฏิหลังแรกและหลังปัจจุบัน และหลังปัจจุบันนี้ อาจารย์พระครูพิพัฒน์ขันตยาภรณ์ ศิษย์หลวงปู่ และหลวงปู่ได้มอบให้เป็นเจ้าอาวาส วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย องค์แรกประจำอยู่ที่กุฏิหลังนี้)
    วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย แต่อดีตเคยเป็นวัดร้างอยู่วัดหนึ่งเป็นวัดเก่าแก่มากไม่มีประวัติใดๆ บันทึกไว้ว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างมาสมัยใด
    หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร ยืนกำหนดพิจารณาดูบริเวณวัดทั้งหมดด้วยอำนาจญาณ เรียกว่าอตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วในอดีตว่าเป็นวัดสมัยใด ใครเป็นผู้สร้างขึ้น ทำไมจึงรกร้างว่างเปล่ามาเป็นร้อยเป็นพันปี ด้วยอำนาจจิตที่กล้าแข็งซึ่งปุถุชนธรรมดาไม่สามารถรู้ได้ถึงเช่นนั้น
    ศึกไสยเวทย์
    ความจริงอีกมุมหนึ่งของวัดร้าง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยนี้ มีพระภิกษุอยู่ก่อนหน้านี้แล้วองค์หนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหาพอสมควร คือ หลวงพ่อบ่าว ท่านอยู่อีกมุมหนึ่ง มีกุฏิเล็ก ๆ พอได้อาศัยจำวัด
    หลวงพ่อบ่าวเป็นพระภิกษุที่มีวิชาอาคมพอตัว มีลูกศิษย์ลูกหา และได้รับความเคารพนับถือจากชาวบ้านตามสมควร แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบ เพราะลูกศิษย์ของท่านออกจะเป็นนักเลงไปสักหน่อย ด้วยถือดีว่ามีพระอาจารย์คงกระพัน
    การมาของหลวงปู่นั้น หลวงพ่อบ่าวทราบดีทุกระยะ ท่านก็สงบนิ่งไม่ว่าอะไร เพราะต่างคนต่างอยู่ ว่ากันไป น้ำคลองไม่ปะปนกับน้ำบ่อ ฉันใดฉันนั้น เมื่อหลวงปู่มาอยู่ได้นานวันก็มีคนมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ต่อมาปรากฏว่าลูกศิษย์ของหลวงปู่เกิดมีเรื่องกับลูกศิษย์ของหลวงพ่อบ่าวถึงขนาดลงไม้ลงมือกัน ลูกศิษย์ของหลวงปู่เป็นฝ่ายชนะไม่บอบช้ำ
    บรรดาคนหนุ่มต่างก็เฮมาหาหลวงพ่อสงฆ์กันมากขึ้น และนั่นคือต้นเหตุของเมฆหมอกของความขุ่นเริ่มขึ้น น้ำบ่อเริ่มไหลเข้ามาสู่น้ำคลอง ด้วยความรู้สึกที่ว่าตัวเองมีวิชาอาคมจะไปเกรงกลัวทำไมกับหลวงปู่
    จากแรงยุกระตุ้นของศิษย์จึงเกิดให้เกิด ศึกไสยเวทย์ ระหว่างหลวงพ่อบ่าวกับหลวงปู่ขึ้นด้วยประการดังนี้
    ในคืนนั้น
    ขณะที่หลวงปู่นั่งภาวนาอยู่ภายในกุฏิของท่านดึกพอสมควร สักสองยามเห็นจะได้ ท่านก็ได้ยินเสียงแมลงชนิดหนึ่งบินวนเวียนไปมาอยู่หน้าประตูกุฏิ เมื่อท่านลืมตาขึ้นมองออกไป เสียงแมลงนั้นก็ตกลงหน้าประตู หลวงปู่ยิ้มให้กับตนเองในความมืดแล้วเปิดประตูออกมาดู ตรงหน้าประตูมีใบไม้สดหล่นอยู่หนึ่งใบ ท่านก็หยิบใบไม้สดนั้นขึ้นมาพิจารณา แล้วขยี้ขว้างทิ้งลงไปจากกุฏิ
    สิ่งนั้นเตือนให้หลวงปู่ได้ทราบว่า บัดนี้ฝ่ายตรงข้ามได้เริ่มทักทายท่านแล้วด้วยใบไม้ที่เสกเป็นแมลง หวังจะให้มาต่อยท่าน แต่หมดแรงลงเสียก่อน
    <TABLE id=table8 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ให้พรแก่ญาติโยม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    นี่อาจจะเป็นยกแรกของการต่อสู้แบบไสยเวทย์
    เป็นธรรมดาของคนเล่นอาคม เมื่อผิดหวังครั้งแรกก็ต้องมีครั้งที่สอง และครั้งต่อๆ ไป จนกว่าจะชนะ ไม่ยอมแพ้แก่กันเพราะถือว่าเป็นการชิมลางสำหรับครั้งแรก หลวงปู่ก็รู้ว่าจะต้องมีต่อไปจนกว่าฝ่ายนั้นจะพบความสำเร็จในวิชาที่ตนเองร่ำเรียนมา
    คืนต่อมา
    ในเวลาดึกสงัดหลวงปู่ยังหาได้จำวัดไม่ ท่านกำลังนั่งเจริญภาวนาตามแนวทางของวิปัสสนา กสิณ ในความแจ่มแจ้งของดวงจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ในเพศสมณะ หลวงปู่ได้มองเห็นสิ่งหนึ่งดำมะเมื่อมลอยเคว้งคว้างตรงมายังกุฏิของท่าน ความรู้สึกบอกตัวเอง
    “มันมาอีกแล้ว”
    ท่านก็หาหวั่นไหวแต่อย่างใดไม่ คงหลับตาเจริญภาวนาของท่านต่อไปในความมืด
    ถึงแม้จะหลับตา แต่ท่านก็สามารถมองเห็นสิ่งผิดปกติที่ลอยเลื่อนตัวตรงเข้ามาหา แต่ว่าไม่อาจจะลอยเข้าในกุฏิได้ สิ่งนั้นวนเวียนอยู่ชั่วระยะหนึ่งก็หล่นวูบตกลงหน้ากุฏินั่นเอง
    เมื่อหลวงปู่เปิดประตูกุฏิออกมาดูก็พบว่า สิ่งนั้นคือหนังควายแผ่นใหญ่เท่าฝ่ามือหล่นอยู่หน้ากุฏิ อันวิชานี้เป็นมนต์ดำหรือ อวิชชาในด้านการเสกเข้าท้องฝ่ายตรงข้าม
    ในตอนเช้าเมื่อญาติโยมลูกศิษย์ลูกหามาที่วัด ท่านก็ไม่พูดอะไร แต่ได้พูดคุยเป็นปริศนาธรรมแก่ญาติโยมในเรื่องเกี่ยวกับมนต์ดำ ทำนองว่าคนที่เรียนวิชานี้ไม่ควรจะนำมาใช้ทำร้ายผู้อื่นเพราะเป็นบาป ถ้าหากนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ช่วยเหลือผู้คนดีกว่า มิฉะนั้นจะเป็นบาปและเข้าตัวเองได้
    การพูดทำนองตักเตือนหลวงพ่อบ่าว เพราะหลวงปู่รู้ว่าในกลุ่มชาวบ้านที่มานั่งรายล้อมอยู่นี้น่าจะมีลูกศิษย์หลวงพ่อบ่าวอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะวิชาอาคมของหลวงพ่อบ่าวยังไม่ถึงหรือเป็นเพราะการเทศน์ปริศนาธรรมกระทบมาก็ไม่ทราบได้
    ในคืนนั้นเอง
    หลวงปู่ก็ได้รับการเยี่ยมเยือนอีกครั้งจาก มนต์ดำ ที่ลอยมากระทบประตู ในตอนเช้าท่านเปิดประตูออกมาเพื่อจะออกบิณฑบาต ก็ได้เห็น หนังหมูที่มีเข็มเย็บผ้าจำนวนมาก หล่นอยู่หน้าประตูกุฏิ ท่านจึงนำไปฝังที่โคนต้นไม้
    ศิษย์ของหลวงปู่มีอยู่ ๒ คน คือผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งซึ่งอยู่คนละหมู่บ้าน และนายเกตุ
    ผู้ใหญ่บ้านนั้นได้รับวิชาไปจากหลวงปู่ไปหลายอย่างและมีอายุสูงกว่านายเกตุ มีความสุขุมและยึดมั่นในหลักคำสอนของหลวงปู่เป็นอย่างดี เรียกว่า พอจะมีความรู้ทางไสยเวทย์พอคุ้มตัวได้
    และในคืนต่อมานั้นเอง หลวงปู่ก็พลาดท่า เพราะสิ่งที่หลวงพ่อบ่าวส่งมานั้นได้เล็ดลอดเข้ามาจากประตูหน้าเข้ามาจนกระทั่งถึงตัวและเข้าไปสู่ท้องของหลวงปู่ได้
    ท่านต้องเอามือกุมไว้ไม่ยอมให้สิ่งนั้นหมุนอยู่ในท้อง เพราะมันเป็นมีดหมออาคม ถ้าหากให้มันหมุนได้ ตับไตไส้พุงจะฉีกขาดหมด หลวงปู่ต้องเก็บความเจ็บปวดไว้จนรุ่งเช้า บรรดาลูกศิษย์ใกล้ชิดมาพบ แล้วช่วยกันนำเอาสิ่งนั้นออกมาจากท้องของท่าน
    สิ่งที่ออกมาจากปากของหลวงปู่ก็คือมีดสองคม
    ท่านให้มันออกมาทางปาก ท่ามกลางความตกใจของลูกศิษย์ที่เห็นอยู่ในขณะนั้น หลวงปู่ไม่พูดอะไรเรื่องนี้ เพียงแต่ให้ลูกศิษย์ไปตัดไม้ไผ่เหลาให้บาง ๆ
    “พ่อหลวงจะทำอะไร”
    ลูกศิษย์ผู้นั้นเอ่ยถามอย่างสงสัย หลวงปู่นั่งนิ่งเอ่ยปากขึ้นว่า
    “ควายธนู เขาทำเราหลายครั้งแล้วถ้าเราไม่ตอบ เขาจะว่าเราขี้ขลาดตาขาว เราต้องสั่งสอนบ้าง”
    เมื่อลูกศิษย์ตัดไม้ไผ่มาแล้ว หลวงปู่ก็ลงมือเหลาจนบางเบาด้วยมือของท่านเอง ระหว่างการเหล่านี้ได้มีลูกศิษย์ของหลวงพ่อบ่าวได้รับคำสั่งให้มาดูว่าหลวงปู่เป็นอย่างไรบ้าง เพราะผลจากการส่งมีดสองคมมาทักทายเมื่อคืน
    แต่เมื่อมาถึงกุฏิ เห็นหลวงปู่นั่งเหลาไม้อยู่ ก็กลับไปบอกแก่หลวงพ่อบ่าวทันที ท่านได้รับรายงานก็สะดุ้ง รู้ด้วยจิตสำนึกทันทีว่า หลวงปู่นั้นอาคมสูงกว่า เพราะส่งมาหลายครั้งแล้วไม่ได้ผล แม้แต่มีดสองคมก็ไม่อาจระคายผิวของหลวงปู่ได้
    หลวงพ่อบ่าวไม่รู้ว่ามีดสองคมนั้นได้ผล แต่ยังไม่ถึงกับทำให้หลวงปู่ตายไปทันทีได้ ท่านแก้ไขในเวลาอันรวดเร็วหรือเรียกว่าพลาดท่าไปแล้วก็ได้ ถ้าหากไม่ใช่หลวงปู่ รับรองว่าคนนั้นจะต้องตายไปเพราะสองคมของมีดกรีดไส้พุงขาด
    เพราะข่าวที่ว่าหลวงปู่เตรียมรับมือด้วยควายธนูอย่างแน่นอน หลวงพ่อบ่าวจึงเผ่นหนีออกจากวัดหายไปแต่บัดนั้น
    ความจริงหลวงปู่หามีเจตนาจะทำร้ายถึงเลือดตกยางออกไม่ เพียงแต่ต้องการสั่งสอนให้หลวงพ่อบ่าวได้ทราบว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือคนยังมีคน
    ฝ่ายหลวงพ่อบ่าวออกจากวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยก็ไปอยู่ที่วัดวิหาร ห่างออกมาจากบางลึก ไกลพอประมาณ ความเจ็บแค้นเรื่องนี้กลายเป็นอาฆาต หลวงพ่อบ่าวจัดว่ามีวิชาอาคมสูงองค์หนึ่ง ได้เตรียมสูตรใหม่ที่จะเล่นงานหลวงปู่ด้วยการเอาข้าวเหนียวดำที่สุกแล้วมาปั้นเป็นตัวคน
    ตอนเย็นวันนั้นหลวงพ่อบ่าวได้ลงจากกุฏิมากวาดลานวัดดังเคยชิน ปรากฏว่าได้เกิดพายุหมุนอย่างรุนแรง จนทำให้ต้นยางหน้าวัดกิ่งหักกระเด็นลงมา เหมือนมีคนเอากิ่งยางทุ่มใส่หลวงพ่อบ่าว กิ่งยางหล่นลงมาทับร่างหลวงพ่อบ่าวซึ่งกวาดลานวัดถึงแก่มรณภาพทันที
    ข่าวมาถึงหลวงปู่ หลายวันต่อมา ท่านก็ไม่พูดอะไร ได้แต่อธิฐานจิตขออย่าได้จองเวรต่อกันเลย และทำการอโหสิกรรมแก่หลวงพ่อบ่าว ด้วยใจจริงแล้วท่านหาได้อาฆาตอะไรถึงขั้นจะทำให้ตายไปจากกันไม่ และเมื่อหลวงพ่อบ่าวจากไปแล้ว ท่านก็ไม่นึกถึงอะไร ปฏิบัติกิจของท่านต่อไป หาเอาใจใส่ไม่ ฟ้าดินต่างหากที่ไม่เป็นใจต่อการกระทำของหลวงพ่อบ่าว
    หลวงปู่สงฆ์กำหนดจิตรู้ด้วยอำนาจอนาคตังสญาณรู้เรื่องราวต่อไป แม้ยังไม่เกิดขึ้นว่า ต่อไปในบริเวณนี้วัดนี้จะมีความเจริญรุ่งเรือง คนที่เคยอยู่ คนที่เคยอุปถัมภ์ค้ำจุนจะได้มาพบกันจะไม่ว่างเว้น คนทั่วไปมาเยี่ยมเยือน ณ สถานที่แห่งนี้
    ดังนั้น หลวงปู่สงฆ์จึงตัดสินใจรับนิมนต์ และจำพรรษาที่วัดนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาซึ่งตรงกับ พ.ศ.๒๔๖๓ เมื่อสมัยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร ดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช
    หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร เวลานั้นมีอายุ ๓๐ ปี พรรษาที่ ๑๐ และได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในบริเวณวัดขึ้นใหม่ทั้งหมดพร้อมกับตั้งชื่อวัดตามกาลตามสมัยว่า วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
    ภายหลังจากที่หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร มาจำพรรษาที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ซึ่งแต่ก่อนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก ไม่มีเสนาสนะใด ๆ ทั้งสิ้น กลับมีถาวรวัตถุก่อสร้างขึ้นมากมาย
    ด้วยเหตุที่ว่า หลวงปู่สงฆ์เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบศีลจริยวัตรงดงาม จนเป็นที่เลื่องลือแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางผู้คนก็หลั่งไหลกันเข้าไปยัง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ดุจดังมีงานประจำปี ปีแล้วปีเล่าชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ต่างมีงานทำทุกวัน สภาพชาวบ้านแถบนั้นเริ่มมีชีวิตชีวาขึ้น ถนนหนทางสมันนั้นก็ยังไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้ ฐานะการเป็นอยู่ของชาวบ้านเริ่มมั่งมีขึ้นโดยอาศัยบุญบารมีของ หลวงปู่สงฆ์ เพราะชาวบ้านออกค้าขายตั้งแต่อาหารจนกระทั่งของที่ระลึกให้กับผู้เข้าไปเยี่ยมเยือนนมัสการการท่านทุกวัน ๆ สภาพสังคมที่ถูกทอดทิ้งมานานเริ่มส่งผลให้แก่ชาวบ้านมีความอยู่ดีกินดีขึ้นเช่นกัน
    ด้วยอำนาจคุณงามความดีของ หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาในป่าเขาถ้ำเหวต่าง ๆ ทนสู้กับอุปสรรคเภทภัยนานาประการนี้ ยังส่งผลให้กับชาวบ้านได้อยู่ดีมีความสุขถ้วนหน้า ก็เพราะคุณธรรมของท่าน
    วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ที่เคยถูกทิ้งมาเป็นเวลานานจนกลายมาเป็นวัดโอ่อ่า เสนาสนะครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะ หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร เป็นพระสุปฏิปันโน และมีศีลจริยวัตรที่เลื่อมใสของประชาชนทั้งหลาย
    ความเมตตาของหลวงปู่สงฆ์กว้างขวางไม่มีขอบเขตท่านสงเคราะห์ทั้งมนุษย์และสัตว์ด้วยเมตตาธรรม จนเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้เข้าไปนมัสการท่านจนปัจจุบันนี้
    การที่หลวงปู่มีความเมตตาต่อสัตว์ทุกชนิดนั้นท่านเล่าเป็นเหตุผลว่า
    “สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ ขนาดไหนก็ตาม แม้แต่มด ปลวกมันก็มีชีวิตจิตใจ รู้จักรัก รู้จักโกรธ รู้จักกลัว รู้จักหิว รู้จักสุขทุกข์เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน
    แต่ที่เขาต้องเกิดมาเป็นสัตว์เดรัจฉานนั้น ก็เพราะกรรมส่งผลให้เขามาเกิด เกิดมาเพื่อเสวยผลของกรรมเก่าของเขา เมื่อเขาพ้นจากสภาพสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นแล้วเขาอาจกลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา ก็ได้
    ดังนั้นเราควรมีเมตตากับสัตว์ทุกชนิดจงพิจารณาดูว่า บาปกรรมนั้นเป็นของมีจริง เหตุนี้ผู้มีปัญญาที่ชาญฉลาดที่มีโอกาสได้เกิดมาเป็นมนุษย์ นับว่าเป็นโอกาสที่ประเสริฐแล้ว ควรแต่ประกอบคุณงามความดี มีศีลมีธรรม ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อันจะเป็นการจองเวรจองกรรมกันต่อไป เพื่อเราจะได้ไม่ต้องเกิดมาใช้กรรมใช้เวรกันต่อไปอีก
    ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ควรก่อกรรมทำเข็ญ ด้วยการทำลายชีวิตผุ้อื่น ไม่ว่าสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ แม้แต่มดหรือปลวกก็มีบาปเหมือนกัน
    วาจาสิทธิ์
    <TABLE id=table9 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    โอ่งน้ำมนต์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร เป็นพระสงฆ์ในการถือสันโดษ มีจริยวัตรอันงดงามยิ่ง ท่านฉันอาหารเพียงวันละมื้อเดียว และไม่ยอมรับภัตปัจจัยใด ๆ เป็นส่วนตัวเลย ทุกวันมีผู้เข้ามานมัสการนำของมาถวายท่านอย่างมาก แม้แต่ตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็ได้มอบให้กับพระภิกษุรูปอื่นรับไปดำเนินธุระต่อไป
    ดังนั้น หลวงปู่สงฆ์ ท่านจำพรรษาอยู่ในวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เพียงเป็นประธานสงฆ์ หรือปูชนียบุคคลอันประเสริฐเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจแก่ พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาญาติโยมเท่านั้น
    หลวงปู่สงฆ์เป็นพระอาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานเป็นพระที่พูดน้อย รักความสงบ สำรวม กาย วาจา ใจ นับเป็นพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ในบวรพระพุทธศาสนาเป็นนาบุญอันประเสริฐของพวกเราทุกคน
    หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร สมัยเป็นฆราวาส เคยปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัจจะแต่เดิม แม้จะเป็นพระภิกษุแล้วก็ตาม อุปนิสัยนั้นก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นโดยลำดับ แม้เป็นพระภิกษุที่พูดน้อย แต่คำพูดของท่านที่พูดออกมานั้นจะบังเกิดผลได้จริงจังอย่างมหัศจรรย์ที่เรียกว่า วาจาสิทธิ์
    ด้วยเหตุนี้บรรดาลูกศิษย์ลูกหาญาติโยมทั้งหลายมักจะชุมนุมกันที่ศาลาเวลาเช้าก่อนไปทำงานเป็นประจำก็เพื่อขอวาจาสิทธิ์ของท่านนั่นเองถ้าท่านกล่าวคำใดกับใคร ก็จะเป็นความจริงอย่างนั้นเสมอ
    บางคนไม่ได้ขอฟังวาจาจากท่าน แต่ก็พยายามนั่งจ้องอยู่ดูอิริยาบถของท่าน ว่าจะออกมาในรูปใด พวกนักนิยมโชคลาภแทงหวย จะเอามาตีปัญหาเป็นตัวเลขอย่างฉมังยิ่งนัก เหตุว่าไม่กล้าเข้าไปขอโดยตรงกับท่าน เพราะท่านไม่นิยมพวกนักเล่นการพนันทุกชนิดนั่นเอง
    ครั้งหนึ่ง เคยมีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้หนึ่ง เดินทางเข้าไปนมัสการท่านพร้อมกับนำสัตว์เลี้ยงสี่เท้าไปถวายท่านด้วย
    หลวงปู่สงฆ์เห็นก็ได้ถามขึ้นว่า “อ้าว...นั่นเอานกมาทำไมกัน”
    ท่านผู้ใหญ่คนนั้นตอบว่า “ไม่ใช่นกหรอกครับหลวงปู่”
    ว่าแล้วก็เปิดกรงที่นำมาให้ดู แต่พอเปิดกรงออกเท่านั้นทุกคนที่มาด้วยต่างตกตะลึงในความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น เพราะแทนที่จะเป็นสัตว์สี่เท้าที่ตนจับใส่กรงมา แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่...กลับเป็นนกตัวหนึ่งบินปร๋อออกจากกรงหนีไปทันที....
    ปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่สงฆ์ในครั้งนั้น นำความตกตะลึง แก่ชาวคณะอุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายในวัดที่นั่งกันอยู่เต็ม และต่างก็พูดว่า “นี่เป็นวาจาสิทธิ์ของหลวงปู่” ทำให้ประชาชนที่ได้ทราบเรื่องในครั้งนั้น มีความเคารพนับถือ และไม่กล้าประพฤติความชั่วให้ปรากฏแก่สายตาหลวงปู่สงฆ์ไม่ว่าในที่ลับ หรือที่แจ้ง ทั้งหมดเกรงว่าหลวงปู่ท่านจะพูดวาจากล่าวตักเตือนและถ้าท่านดุด่าว่ากล่าวแล้วผู้นั้นจะเคราะห์ร้ายไปตามที่ท่านพูดวาจานั้น
    จึงนับว่า หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร สามารถใช้วาจา ขัดเกลากิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้ออกจากชีวิตจิตใจของผู้ที่ยิ่งถือทิฐิมานะ ได้มากทีเตียว
    ฉุดเรือข้าวเปลือก
    หลังวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยมีแม่น้ำ เรือบรรทุกข้าวบ้างอะไรต่ออะไรบ้างผ่านไปผ่านมาเสมอ
    วันหนึ่งมีคนเรือข้าวเปลือกที่เคยขึ้นมากราบนมัสการท่านเสมอจนคุ้นเคยกัน ได้แล่นผ่านมาทางหลังวัด ตอนนั้นหลวงปู่กำลังนั่งเล่นรับลมอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ เรือลำนั้นแล่นมาจวนจะถึงศาลาก็หยุด มิหนำซ้ำกลับหันหัวเรือไปอีกทิศ คือไปตามทางที่มา เรือวนอยู่อย่างนั้นจนคนเรือชักแปลกใจ ถ่อก็แล้วมันก็ไม่ไป เหลือบมองไปที่ศาลาเห็นหลวงปู่นั่งนิ่งอยู่ก็นึกรู้ทันทีว่า เพราะอะไรเรือจึงไม่ยอมไปข้างหน้า เอาแต่หมุนวนอยู่ท่าเดียว
    พอวาดเรือเข้าฝั่งได้ก็กระโดดตรงเข้ามาหาหลวงปู่ทันที
    “ท่านล้อผมเล่นทำไม” เอ่ยถามอย่างโกรธ ๆ
    หลวงปู่ท่านยิ้มมองหน้านายท้ายเรือ ความจริงหลวงปู่กับนายท้ายเรือคนนี้รู้จักมักคุ้นกันดีเนื่องจากเป็นเพื่อนเกลอกันตั้งแต่เด็ก ๆ ผ่านมาทีไรก็ต้องแวะหาหลวงปู่ทุกที แต่คราวนี้ไม่ยอมแวะ
    “กูไปทำอะไรมึง” หลวงปู่ทำหน้าดุ ๆ ตอบ
    “ก็ดึงเรือเอาไว้ทำไมล่ะ”
    “ดึงที่ไหน เรือไปโน่น” ท่านชี้มือทวนน้ำขึ้นไป มหัศจรรย์ เรือบรรทุกข้าวกลับทวนน้ำขึ้นไป นายท้ายเรือก็เลยต้องผละวิ่งตามเรือไป
    เป็นการเย้าแหย่ระหว่างเพื่อนเก่า ๆ ที่เล่าติดปากกันมาอีกเรื่อง แสดงให้เห็นว่า หลวงปู่นั้นมีพลังจิตสูงและมีอารมณ์สนุกสนานเหมือนกัน ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้เล่าว่า
    หลวงปู่นั้นใครจะพูดว่าอะไรท่านก็รู้ สมัยก่อนท่านมักจะสานควายธนูเอาไว้ชนกันเล่น แม้แต่ลูกกระสุนท่านก็สั่งได้ จะให้ไปถูกที่ไหน
     
  9. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    สิ่งมงคลและยาวิเศษ
    สิ่งอันเป็นมงคลที่หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร อนุเคราะห์ชาวบ้านที่ได้รับความทุกข์ร้อน โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เมื่อมาหาท่าน ท่านจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บโดยสิ้นเชิง และสิ่งของที่ท่านมอบให้นั้นก็ไม่กี่บาท ขอยกให้เห็นชัดดังนี้
    ที่ข้าง ๆ บันไดกุฏิของท่านจะมีตุ่มใส่น้ำมนต์ตั้งไว้ใบหนึ่ง ท่านจะลงมาจากกุฏิทำน้ำมนต์ ในเวลากลางคืนแล้วนำมาใส่ตุ่มไว้ ตอนเช้ามืดอีกครั้งหนึ่ง ท่านจะลงมาเทใส่ตุ่มที่หมดทุกวัน ๆ น้ำมนต์ในตุ่มนั้นจะมีผู้ที่รู้แหล่งเข้ามาขอตักไปบูชาหรือดื่มกิน
    น้ำมนต์ของหลวงปู่สงฆ์เป็นสิ่งมงคลที่มีความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ สามารถอาราธนาให้เกิดผลในสิ่งที่ตนปรารถนาได้ทุกประการตามแต่คำอธิษฐานจิตของผู้ใช้
    โอ่งน้ำมนต์ของท่านเรียงรายอยู่ตามบันได ทางขึ้นลงกุฏิทั้งด้านซ้ายด้านขวา แท้จริงถ้ามองเผิน ๆ มันจะเป็นโอ่งน้ำล้างเท้า แต่ทว่าไม่ใช่ เพราะคนสมัยนี้สวมรองเท้า ไม่ได้มาเท้าเปล่าแล้วมาล้างเชิงบันได เมื่อตื่นขึ้นตอนเช้าหลวงปู่จะทำน้ำมนต์ มาเทลงในโอ่ง ท่านทำอย่างนี้ทุกวัน
    น้ำมนต์ไล่ผีอย่างเห็นได้ชัด ครั้งหนึ่งมีคนแถวสามแก้วได้พาลูกสาวซึ่งมีอาการเหมือนถูกผีเข้าสิง ดิ้นทุรนทุรายร้องเอะอะเสียงดัง ญาติผู้ชายร่างกายแข็งแรงต้องช่วยกันพามาที่วัด มานั่งรออยู่เชิงบันได เพราะบนกุฏิหลวงปู่นั้น ผู้หญิงขึ้นไม่ได้ แล้วพ่อของเด็กก็ขึ้นไปเล่าอาการให้ฟัง
    เมื่อได้ฟังอาการแล้วหลวงปู่ก็เดินมาที่หน้ากุฏิมองลงมาที่เด็กสาวคนนั้น ชายสองคนจับแขนเอาไว้แน่น ขณะที่เด็กสาวสะบัดจะให้หลุด ปากก็ร้องเสียงดังเอะอะ หลวงปู่มองดูสักครู่ท่านก็ร้องบอก
    “นิ่งเสียบ้างซิ”
    เด็กสาวที่ร้องครวญครางส่งเสียงดังก็หยุดชะงักลงทันทีเมื่อสิ้นเสียงหลวงปู่ที่พูดลงมา สักครู่ก็ร้องอีก
    นายสร้าง คนติดตามหลวงปู่มานานหลายปีได้ยื่นขันน้ำที่ตักจากในโอ่งบนกุฏิส่งให้ หลวงปู่หยิบขันน้ำมาก็เทโครมลงมาทันที ถูกร่างของเด็กสาวคนนั้นอ่อนแรงจนนอนราบเรียบสงบ หลวงปู่หันหลังกลับเข้ากุฏิ สักครู่เด็กสาวคนนั้นก็ลุกขึ้นงัวเงีย อาการผิดปกติหายไปราวกับปลิดทิ้ง
    น่าสังเกตตรงที่ว่า น้ำที่นายสร้างตักใส่ขันความจริงเป็นน้ำดื่มกินธรรมดา เมื่อหลวงปู่รับขันมาท่านก็เทโครมทันที ไม่ได้เสกหรือเป่าใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าเป็นรูปแบบของคณาจารย์อื่น ๆ จะต้องมีการเสกการเป่าเสียก่อน แต่หลวงปู่ไม่ต้อง ได้มาเททันที
    เรื่องของการใช้น้ำมนต์ไล่ผีเข้าเจ้าสิงของหลวงปู่นั้นโด่งดังอยู่ ดังนั้นน้ำมนต์ของหลวงปู่จึงมีคนต้องการมาก
    ยาเส้น ตามปกติหลวงปู่สงฆ์ท่านชอบใช้ยาเส้นสีปากแล้วอมเอาไว้ ดังนั้นยาเส้นที่ท่านใช้แล้วเหล่านั้น จะกลับกลายเป็นของวิเศษ เป็นของที่มีมงคลศักดิ์สิทธิ์ คือ กลายเป็นของขลังอย่างยอดเยี่ยม
    สมัยก่อนนั้น คนที่ไปวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยจะหายาเส้น ไปสักจำนวนหนึ่ง บางคนก็เอาไปเป็นห่อ แล้วก็ให้หลวงพ่อเสกให้ต่อจากนั้นก็นำมาเป็นวัตถุมงคลติดตัว ต่อมาทางวัดมีความคิดดีนำเอายาเส้นอัดพลาสติกห้อยคอ ทำเหมือนกับลูกอม ปิดทองอีกด้วย
    เพราะยาเส้นโด่งดังและเป็นที่ต้องการของผู้ที่เข้าวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เรื่องมันมีอยู่ ค่อนข้างเกรียวกราวในชุมพร คือ
    ครั้งหนึ่ง ได้มีคนมาหาหลวงปู่ ท่านก็มอบยาเส้นไปให้ ยาเส้นนี้เดิมทีเป็นของใช้ประจำวันของหลวงปู่ ท่านเอามาสีฟัน คนที่เคารพนับถือเห็นว่าอะไรก็ตามที่ท่านใช้ย่อมจะเป็นมงคลทั้งสิ้น ก็เลยขอยาเส้นท่านไป เมื่อได้แล้วก็นำไปไว้ในเซฟ รวมกับเอกสารและของมีค่า เขาถือว่า ยาเส้นของหลวงปู่ เป็นของมีค่าด้วยชนิดหนึ่งต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี
    หลังจากนั้นไม่นานนักขโมยเกิดเข้าบ้านชายคนนี้ เมื่อมันเปิดเซฟออกมา มันก็เบือนหน้า เพราะในเซฟไม่มีสมบัติอะไรเลย ภายในเซฟมีแต่ยาเส้นกองเต็มไปหมดไม่มีของมีค่า
    แต่แล้วคนพวกนี้ก็ไปไม่รอด โดนจับได้ ของกลางไม่มีอะไร เพราะมันไม่ได้อะไรไปเลย บอกกับตำรวจเพียงว่า
    “ในเซฟมีแต่ยาเส้น ใครจะเอาไปทำไม”
    ความจริงยาเส้นในเซฟนั้นมีเพียงก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้น แปลกใจทำไมมันจึงมองเห็นว่ามีมากมายไปได้หรือจะเป็นเพราะ อภินิหารยาเส้นมงคลของหลวงปู่
    ยาเส้นของหลวงปู่นั้นแท้จริงก็คือ ยาเส้นที่หลวงปู่ชอบอมเอาไว้ หรือเรียกกันแบบภาษากลางว่า ถุนยา คือเอายาเส้นใส่ปากอมเอาไว้ เมื่อมีคนอยากได้ บางคนขอเอาจากปากท่านเลยก็มี ท่านก็คายออกใส่มือที่แบรออยู่
    น้ำปลา...ยาวิเศษ เรื่องนี้ได้ทราบจากชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อหลายปีมาแล้วว่า เขาปวดท้องมานาน ๑๐ กว่าปี ไปรักษาที่ไหนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เสียเงินไปเป็นแสนบาท นายแพทย์เก่งขนาดไหนก็รักษามาแล้ว ที่ไหนว่าเก่ง ๆ พอเจอโรคของบุคคลนี้เข้า ยอม กลัว รักษาไม่หาย
    ต่อมาได้ยินเขาเล่าลือว่าทางจังหวัดชุมพรมีพระที่วิเศษรูปหนึ่ง เคยรักษาโรคมาเป็นพันๆ คน และก็หายจนหมดสิ้นทุกคนคนป่วยจึงได้หอบสังขารชนิดผอมติดกระดูกมาหา หลวงปู่สงฆ์ นี่แหละ
    ทันทีที่เห็นหน้าหลวงปู่สงฆ์ คนป่วยก็มีความรู้สึกศรัทธาอย่างมากมาย ขนลุกขนพองอยู่ตลอดเวลา แม้ท่านจะกลับเข้ากุฏิไปแล้วก็ตาม ศิษย์ของท่านจึงนำน้ำปลาไปให้ท่านเพ่งกระแสจิตให้สัก ๑๐ นาที แล้วนำน้ำปลานั้นมาให้และบอกว่าให้กินน้ำปลานี้ ยาอื่นท่านบอกว่าไม่ต้องกินแล้ว ถึงกินก็ไม่หาย
    ด้วยความศรัทธาในองค์หลวงปู่สงฆ์ หญิงคนนั้นจึงเปิดขวดน้ำปลาดื่มเข้าไป แม้ว่าน้ำปลาจะมีรสเค็มจริงอยู่ แต่เวลาน้ำปลาผ่านลำคอไปแล้ว รู้สึกเย็น ๆ พอไปถึงท้องแล้วอาการปวดท้องเสียด ๆ นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่เกิดขึ้นอีกเลย
    เกิดความตื้นตันขึ้นมา ดื่มเข้าไปอีกต่อหน้าลูกศิษย์หลวงปู่สงฆ์ มีอาการยิ้มแย้มฉายให้เห็นท่าทีว่า อาการภายในสงบ ภายนอกก็แจ่มใส ผู้ป่วยนั้นก็ก้มลงกราบตรงเชิงบันไดกุฏิของหลวงปู่สงฆ์ แล้วได้ร่วมทำบุญกับวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยด้วยความศรัทธาแล้วจึงลากลับบ้านของตน
    <TABLE id=table10 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงปู่โปรดสัตว์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สำหรับชาวบ้านจะนำน้ำปลาเอามาให้หลวงปู่สงฆ์เสกเป่าเป็นมงคลขึ้น เสร็จพิธีแล้วน้ำปลาจะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีความขลังในการรักษาโรคผิวหนัง แผลเน่าเปื่อยได้ชะงัดดีนัก โดยเฉพาะผู้ที่ติดยาเสพติด น้ำปลาของหลวงปู่สงฆ์จะรักษาได้เป็นอย่างดี นับเป็นสิ่งมงคลในการรักษาโรคภัยอย่างไม่เคยมีผู้ใดกระทำมาก่อน
    น้ำล้างบาตร นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อท่านฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านจะเอาน้ำใส่บาตรเพื่อล้าง ผู้ประสงค์ก็จะคอยรับน้ำล้างบาตรกัน เมื่อผู้ใดได้น้ำล้างก้นบาตรแล้ว ก็จะนำเอาไปอธิษฐานบารมีเป็นที่พึ่ง เพื่อนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วก็ได้รับความสำเร็จทั่วหน้า
    เรื่องน้ำล้างบาตรของหลวงปู่สงฆ์ นี้ ก็มีเรื่องเล่ากันว่ามีสุภาพสตรีผู้หนึ่ง มีกิจการโรงแรมในจังหวัดชุมพร ได้เดินทางมาที่ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย และได้ขอน้ำล้างก้นบาตรจากหลวงปู่สงฆ์ เพื่อจะเอาไปแก้โรคภัยไข้เจ็บชนิดเรื้อรังที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เมื่อได้น้ำก้นบาตรใส่ขันใบใหญ่แล้ว เธอก็นั่งรถกลับจังหวัดชุมพร
    แต่ขณะนั่งรถมาระหว่างทางเธอได้พิจารณาดูน้ำล้างบาตรในขันที่ใส่มา เห็นเม็ดข้าวขาว ๆ และชิ้นเศษอาหาร ลอยปะปนอยู่ ดูสกปรกน่ารังเกียจ ก็เกิดเสื่อมความศรัทธาขึ้นมา และไม่เชื่อว่าน้ำล้างก้นบาตร นี้จะรักษาโรคได้จริง
    คิดได้ดังนั้นก็หยิบยกขึ้นมาเทลงข้างทางเสีย แล้วก็นั่งรถกลับมาถึงบ้าน คืนนั้นขณะกำลังนอนหลับอยู่ พอเริ่มเคลิ้ม ๆ หลับได้นิดเดียวก็รู้สึกคันระยิบระยับไปทั้งตัวเป็นที่น่าสงสัยนัก เธอผู้นั้นจึงลุกขึ้นไปเปิดไฟดูก็พบว่า หนอนตัวขาว ๆ จำนวนมากมาย ไต่ตามตัว และที่นอนยั้วเยี้ยเต็มไปหมด
    สตรีผู้นั้นตกใจและขยะแขยงแทบเป็นลม จึงร้องเรียกคนรับใช้ให้มาช่วยกันกวาดเอาตัวหนอนขาว ๆ เหล่านั้นออกมาจากห้องไปทิ้งเสีย
    สตรีผู้นั้นก็มิได้สนใจคิดอะไร ล้มตัวลงนอนต่อไป พอเกือบจะเคลิ้มๆ ได้สักเล็กน้อยก็รู้สึกเจ็บ รู้สึกว่าหนอนยังมีหลงเหลืออยู่อีกแต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งแรก จึงรีบเปิดไฟฟ้าขึ้นดู
    ทีนี้พบหนอนสีขาวๆ มากมายกว่าเก่า มีขนขึ้นเต็มตัว
    สตรีผู้นั้นเกิดความกลัวสุดขีด จึงวิ่งหนีออกมานอกห้องนอน แล้วเรียกคนใช้ออกมาให้กวาดหนอนไปทิ้งอีก คนใช้ทุกคนรีบกวาดหนอนตัวขาวๆ นั้นมารวม ๆ กัน เพราะครั้งนี้ดูมันคลานกันเต็มห้องไปหมด แต่ยังมิได้เอาไปทิ้งก็เกิดเหตุที่ทำให้ตกตะลึงอยู่ กับที่
    ฝูงหนอนดังกล่าวกลับกลายเป็นเมล็ดข้าวสารขาว ๆ ไปทั้งหมด
    แม้จะเป็นเมล็ดข้าวสารก็จริง แต่ ใจยังหวาดผวาด้วยความอัศจรรย์นั้นอยู่ ครั้นแล้วสตรีผู้นั้น เมื่อหายจากอาการตกตะลึง ก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเป็นอะไร รู้สึกสำนึกว่าตนเองได้ทำความผิดไว้อย่างมหันต์ที่คิดลบหลู่ดูหมิ่น น้ำล้างก้นบาตร ของ หลวงปู่สงฆ์เมื่อตอนกลางวันนี้ โดยนำน้ำก้นบาตรเททิ้งข้างทาง
    ดังนั้นสตรีผู้นั้นจึงจุดธูปเทียนขึ้นบูชา กล่าวคำอโหสิกรรมโทษที่ตนล่วงเกินด้วยความเกรงกลัว จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีหนอนมารบกวนอีกเลย สามารถนอนหลับได้อย่างสบายตลอดรุ่งเช้า
    กวางน้อย
    มีชาวบ้านคนหนึ่งได้นำลูกกวางมาถวายให้หลวงปู่ เป็นลูกกวางตัวผู้ ยึดถือหลักเอาไว้อย่างหนึ่งคือ ไม่ว่าคนหรือสัตว์ตัวเมียท่านจะไม่เลี้ยงเลย
    กวางน้อยตัวนี้กำลังซน หลวงปู่ก็เอาชายจีวรที่ท่านฉีกมาผูกคอไว้ มันก็เที่ยวของมันไปตามประสา เพราะไม่ได้ผูกมัดแต่อย่างใด บางครั้งไปกินพืชผักของใครเข้า เจ้าของโกรธไล่ตี มันก็วิ่งหนีกลับเข้าวัด
    เพราะความเกเรซุกซนของมันนี่แหละ โดนดีเข้าจนได้ มีคนเอาปืนลูกซองยิงมัน แต่ทว่าด้าน ยิงไม่ออกหลายครั้ง จนลือกันว่า กวางตัวนี้หนังมันดี ยิงไม่ออก
    วันหนึ่งมันออกไปกินยอดพลูของครูคนหนึ่งเข้าที่บ้านข้างวัด ครูคนนั้นก็เอาไม้ไล่ตี ปากก็ตะโกนด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ตกกลางคืน กวางตัวนี้ ชื่อไอ้น้อย ก็แอบเข้ามากินยอดพลูที่เหลือหมดที่ปลูกเอาไว้
    ครูนั้นโกรธมาก มาเล่าเรื่องแบบฟ้องหลวงปู่ ท่านก็หัวเราะพูดลอย ๆ ว่า
    “ก็ครูอยากไปด่ามันทำไม ไอ้น้อยไม่ชอบให้ใครด่า”
    ครูเก็บเอาความแค้นไว้ในอกเงียบ ๆ หลังจากนั้นได้ไปติดต่อกับคนรับซื้อสัตว์ป่า เพื่อจะขโมยไอ้น้อยกวางหลวงปู่มาขาย สมคบกับอีกคนหนึ่งเตรียมขโมยไอ้น้อย
    แล้ววันนั้นไอ้น้อยก็รับกรรม ถูกจับตัวเอาขึ้นบนรถไปหมายจะนำไปขายในกรุงเทพ ฯ บนรถบรรทุกไอ้น้อยมานั้นมีสัตว์ป่าอีกหลายตัวรวมอยู่ด้วย รถได้แล่นออกมาจากชุมพรจวนจะถึงเขาหินช้าง เกิดยางแตก กำลังเปลี่ยนยางอยู่นั้น ไอ้น้อยกวางหลวงปู่ก็หลุดหนีออกมาได้ ไอ้น้อยได้ไปเที่ยวอยู่แถว ๆ พ่อตาหินช้าง บ้านยายไท แถวน้ำตกกะเปาะอำเภอท่าแซะ อยู่ระยะหนึ่ง
    จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่ไอ้น้อย กำลังเที่ยวหาอาหารอยู่ในเวลาเช้า ไอ้น้อย หารู้ตัวไม่ว่า ความตายกำลังจะมาเยือนมันอยู่แล้ว ขณะที่มันกำลังเพลิดเพลินเล็มยอดไม้อยู่นั้น ก็ได้มีชายผู้หนึ่ง ชื่อว่า นายหวิน กำลังจะยัดเยียดความตายให้กับไอ้น้อย ด้วยอาวุธปืน
    นายหวินได้สับไกปืน เพื่อทีหวังจะล้มไอ้น้อยให้ได้ แต่ ๒ ครั้ง ๓ ครั้งแล้ว กระสุนของนายหวินก็ไม่ระเบิด แต่ทำไมจึงทำอะไรไอ้น้อยไม่ได้
    “มันกวางอะไร กวางของใคร ทำไม่จึงยิงไม่ออก แปลก”
    นายหวินรำพึงรำพันอยู่ในใจ ขณะที่นายหวินครุ่นคิดอยู่นั้น สายตาไปเหลือบเป็นผ้าสีเหลือง คือผ้าพระผูกอยู่ที่คอของไอ้น้อย ด้วยความมั่นใจในฝีมือตัวเอง ประกอบกับดวงของได้น้อยมันถึงฆาต เหมือนกับคำที่กล่าวว่า
    “ถึงคราวตายแน่นอน ทางแก้ไม่มี ตายแน่เราหนีกันไปไม่พ้น จะเป็นราชาหรือมหาโจร ต้องทิ้งกายสกนธ์สู่เชิงตะกอน”
    นายหวินได้เข้าไปปลดผ้าสีเหลืองที่ผูกคอไอ้น้อยไว้ ซึ่งเป็นเศษผ้าจีวรของหลวงปู่ออกจากคอไอ้น้อย
    อนิจจาความตายกำลังจะมาเยือน ไอ้น้อย เมื่อดวงมันถึงฆาต มันก็ทำอะไรไม่ถูก ธรรมดาแล้วมันไม่ค่อยจะให้ใครเข้าใกล้ตัวมัน ยกเว้น หลวงปู่ และกับคนที่มันรู้จักมักคุ้นเท่านั้น แต่เพราะสัตว์มันไว้ใจคน หารู้ไม่ว่า คน ๆ นั้นกำลังจะหยิบยื่นความตายให้
    นายหวินปลดผ้าเหลืองออกจากคอไอ้น้อยแล้วก็รีบวิ่งกลับไปยังบริเวณที่ได้เอาปืนพิงไว้กับต้นไม้ใหญ่ เบนลำกล้องปืนกลับมาสู่ตัวไอ้น้อยอีกครั้ง พร้อมกับลั่นไก “ปัง” เสียงปืนดังแน่นคับราวป่า ผู้ชำนาญเสียงปืน ถ้าได้ยินเสียงก็บอกได้ว่า กระสุนเข้าเป้าอย่างแน่นอน
    ไอ้น้อยล้มทั้งยืน ในขณะที่ปากของมันยังคาบยอดไม้อ่อนอยู่ แต่ว่ามันไม่มีโอกาสที่จะได้เคี้ยวอีกต่อไป เลือดแดงฉานทะลักออกมาจากท้องราวกับสายน้ำ ตาของไอ้น้อยค้าง แต่หากมันมีความรู้สึกสักนิด ก็จะสงสัยว่า “ทำไมวันนี้จึงสั้นเสียเหลือเกิน เรากินอาหารมื้อเช้ายังไม่ทันอิ่ม ก็มืดเสียแล้ว” โอ้อนิจจาความตายไม่เคยเว้นใคร แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน
    ฝ่ายนายหวิน มือเพชฌฆาต ดีอกดีใจที่ได้ล้มไอ้น้อยลงได้ใครล่ะจะแน่กว่าเรา ภรรยาของหวิน อยู่ที่บ้านตกใจ โดยไม่รู้สาเหตุ ตะโกนบอกเพื่อนบ้านใกล้เคียงว่า "หวินยิงกวางหลวงปู่ หวินยิงกวางหลวงปู่" ทั้ง ๆ ที่มิเห็นกับตา
    เพื่อนบ้าน เมื่อได้ยินดังนั้น ก็พากันไปดู พบหวินกำลังชำแหละเนื้อกวางตัวนั้นอยู่ บางคนก็คิดอยากจะช่วย แต่ในขณะนั้นเอง กลิ่นอุจจาระก็ส่งกลิ่นตลบอบอวน โดยไม่ทราบสาเหตุที่ไปที่มาของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ หวินและเพื่อนบ้านช่วยกันตรวจสอบ ก็พบว่ากลิ่นนั้นมาจากซากกวางที่ถูกยิงนั้นเอง ในที่สุด ก็ไม่มีใครเอาเนื้อนั้นไปได้เลยแม้แต่น้อย เพราะเหมือนจะเหม็นจนไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง
    ฝ่ายหวินเอง เมื่อเห็นเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นก็เริ่มตกใจกลัวจนใจเตลิดเปิดเปิง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “กวางที่ตัวเองล้มกับมือ กลายเป็นอุจจาระไปได้อย่างไร” สติวิปลาสขึ้นในบัดดลนั้นเอง วิ่งเตลิดเปิดเปิงกลับบ้านไม่ถูก
    เพื่อนบ้านกับภรรยาของหวิน เมื่อทราบดังนั้นจึงได้ไปบอกกล่าวขอโทษหลวงปู่ ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยว่า
    “หวินมันยิงกวางเสียแล้วล่ะ หลวงปู่”
    หลวงปู่ก็กล่าวว่า “คนยิงมันบ้า”
    นายหวินก็บ้าไม่ได้สติตั้งแต่บัดนั้นจนทุกวันนี้ จะด้วยกรรมที่หวินทำลงไปหรืออะไร เราเองก็ไม่ทราบได้ แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับนายหวิน เพราะนายหวินไปยิงกวางของหลวงปู่ตาย
    กิจวัตรของหลวงปู่สงฆ์ จันทสโร
    เวลา ๐๔.๐๐ น. ไหว้พระทำวัตรเช้า
    เวลา ๐๖.๑๐ น. ท่านออกจากห้องเตรียมที่จะออกบิณฑบาต ในระหว่างนั้น สามเณรอุปัฏฐากจะขึ้นปฏิบัติและญาติโยมมากราบขอพร
    เวลา ๐๗.๐๐ น. ออกบิณฑบาต เมื่อกลับมาแล้วท่านเข้าห้องไหว้พระอีก
    เวลา ๐๙.๐๐ น. ลงหอฉัน เพื่อฉันภัตตาหาร เมื่อฉันภัตตาหารและให้พรเรียบร้อย ท่านจะพูดคุยกับญาติโยมที่มาทำบุญ หลังจากนั้นท่านกลับขึ้นกุฏิและต้อนรับพุทธศาสนิกชนที่มาจากใกล้และไกลพอสมควร แล้วเข้าห้องพักผ่อน
    เวลา ๑๒.๓๐ น. ออกจากห้อง เพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มาขอพร
    เวลา ๑๔.๐๐ น. ท่านสรงน้ำแล้วเข้าห้องไหว้พระสวดมนต์
    เวลา ๑๖.๐๐ น. ออกจากห้องต้อนรับญาติโยมที่มาขอพร
    เวลา ๑๘.๐๐ น. เข้าห้องทำกิจภาวนา และให้ภิกษุสามเณรทั้งหมดต้องทำกิจภาวนาด้วย จนถึงเวลา ๒๐.๐๐ น.
    เวลา ๒๐.๐๐ น. เสร็จจากทำกิจภาวนาแล้ว ออกจากห้องให้ภิกษุสามเณรขึ้นปรนนิบัติ และเป็นโอกาสที่ท่านให้โอวาทแนะ นำ สั่งสอน
    เวลา ๒๒.๐๐ น. เข้าห้องพักผ่อน
    เวลา ๒๔.๐๐ น. ล่วงจากนี้ไปแล้วท่านจะทำกิจภาวนาไปจนถึงเวลา ๐๔.๐๐ น. อนึ่งถ้าเป็นวันพระกลางเดือนและ สิ้นเดือน เวลา ๑๓.๐๐ น.ท่านจะลงอุโบสถพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อสวดและฟังพระปาฏิโมกข์โดยมิได้ขาด
    หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร
    <TABLE id=table11 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    บิณฑบาต

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒ จนถึง วันอังคาร ที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตรงกับแรม ๙ ค่ำเดือน ๘ ปีกุน ก่อนหน้านี้หนึ่งวันหลวงปู่ได้ให้คนไปตามหลวงพ่อคงจากวัดวิสัยซึ่งเป็นหลานชายของท่าน ให้มาพบ และกล่าวว่า เมื่อท่านสิ้น ขอมอบบาตร ไม้เท้า และ ย่ามให้แก่หลวงพ่อคงนำไปเก็บรักษาไว้ด้วย
    วันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตอนเช้าหลวงปู่ท่านยังรู้สึกตัว มีสายน้ำเกลือติดอยู่ที่แขนท่าน นอนสงบอยู่บนเตียงที่กุฏิ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. เศษๆ ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดที่มาปรนนิบัติหลวงปู่เห็นท่านนอนนิ่ง แต่ทว่าน้ำเกลือไหลเปรอะออกมาจึงได้ไปตามหมอมาดู ปรากฏว่าหลวงปู่ท่านได้จากไปอย่างสงบเสียแล้ว น้ำไม่ได้เข้าสู่ร่างกายเพราะลมหายของหลวงปู่หยุด น้ำเกลือจึงไหลล้นออกมาไม่อาจเข้าร่างกาย หลวงปู่จากไปอย่างสงบไม่ทราบเวลาที่แน่นอนเพราะท่านนอนนิ่งอยู่อย่างนั้นไม่กระวนกระวายจนผิดสังเกต
    บรรยากาศ ณ เวลานั้นช่างเงียบเชียบ แม้แต่สายลมยังหยุดนิ่ง ใบไม้ไม่ไหวติงไม่มีแม้แต่เสียงนก เสียงกา ร้องเหมือนปกติเช่นเคย แสงแดดส่องประกายเหลืองจ้าผิดปกติจากทุกๆ วัน ทุกสรรพเสียงเงียบเชียบ ไม่เพียงแต่เสียงฆ้องกลองดังระงมไปทั่วซึ่งเป็นการบอกเหตุให้ชาวบ้านได้รับรู้ บ้างต่างก็พากันงุนงงเต็มไปด้วยความสงสัยสับสน มีบ้างที่รู้ถึงข่าวการอาพาธของหลวงปู่ก็เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ถึงลางบอกเหตุของการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ดังนั้นทุกคนในบริเวณที่รัศมีเสียงฆ้องกลอง สามารถดังถึง ก็รีบมาที่วัดเป็นการด่วน บางคนทิ้งจอบทิ้งเสียมไว้กลางทุ่งนาโดยมิได้นึกถึงสิ่งใด เพราะตอนนี้ทุกคนต่างต้องการมาให้ถึงวัดโดยเร็ว
    เมื่อมาถึงในบริเวณวัด พอทราบว่าหลวงปู่ท่านได้จากไปเสียแล้ว สร้างความเศร้าโศกเสียใจ บางคนถึงกับร้องไห้ฟูมฟายบางคนน้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว ด้วยคิดว่าตอนนี้ที่พึ่งทางใจได้จากไปเสียแล้ว ต่อไปนี้จะพึ่งใคร เพราะตอนสมัยหลวงปู่ท่านยังอยู่ ไม่ว่าจะเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเดือดร้อนด้วยเรื่องอันใดก็จะได้หลวงปู่เป็นที่พึ่งปัดเป่าทุกข์ร้อนต่างๆ ให้สิ้นไป ต่อจากนี้ไปจะหันหาไปพึ่งใครได้อีกเล่า ยิ่งทำให้บรรยากาศในบริเวณวัดวังเวงยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อบรรดาศิษย์ทั้งหลายที่อยู่ไกลออกไปทราบข่าวคราว ต่างก็พากันมาที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อย่างเนืองแน่นจากทุกสารทิศเพื่อกราบนมัสการสรีระและบำเพ็ญกุศล ถวายแด่ หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร
    ตั้งแต่เช้าจรดค่ำคืน ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน บ้างต้องจอดรถยนต์เดินกันเป็นระยะทาง ๒ - ๓กิโลเมตร
    ในระหว่างงานมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ หาใช่เพียงแต่ผู้คนไม่ที่มานมัสการสรีระของหลวงปู่ แม้แต่เต่าที่ท่านได้เคยเลี้ยงและได้ปล่อยไปแล้ว ยังกลับมาที่วัด เสมือนว่ามันจะทราบว่าหลวงปู่ได้ละสังขารแล้ว
    ในวันที่เต่าปรากฏนั้นเกิดพายุหมุนเล่นเอาสังกะสีหลังคาโรงที่สร้างเอาไว้สำหรับรองรับคนที่มาฟังเทศน์ ฟังการสวดพระอภิธรรม กระจัดกระจาย สังกะสีปลิวว่อน แต่ไม่มีใครได้รับอันตรายแต่อย่างใด
    เต่าตัวนี้มีขนาดประมาณ ๑๕ - ๒๐ นิ้วเห็นจะได้ เมื่อมาถึงที่ศาลา มีคนอุ้มเอาขึ้นไปวางไว้ตรงหน้าหีบศพของหลวงปู่ เมื่อวางเสร็จเต่าตัวนี้ก็ทำหัวผงกๆ จากนั้นก็นั่ง มีคนเห็นเต่าน้ำตาไหล อาบแก้มทั้งสอง ข่าวนี้กระจายไปทั่วเมืองชุมพร คนก็เลยมาดูเต่ากันมากขึ้น
    สิ่งที่น่าประหลาด คือ เมื่อนำเต่าออกมาถ่ายรูป หรือจะนำออกมาวางในลักษณะใดก็ตาม พอวางเสร็จสักครู่ เต่าก็จะหันหัว กลับไปที่หีบศพทุกครั้ง แล้วกลับไปนอนนิ่งใต้หีบศพของหลวงปู่
    ความแปลกยังมีอีก จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ จากจำนวนเต่า ๑ ตัว แรก กลายเป็น ๙ ตัว เพราะมีเต่าเพิ่มมาอีก บางตัวมาปรากฏอยู่หน้าลานวัด บางตัวชาวบ้านจับเอา มาส่งที่วัด เพราะ เขาเล่าว่าตอนขณะที่พวกเขาจะเดินทางมานมัสการหลวงปู่ เต่าได้ออกมาขวางหน้ารถ คล้ายกับว่าจะให้พามันมานมัสการหลวงปู่ด้วยนั่นเอง
    <TABLE id=table12 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    กิจวัตร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่เป็นอย่างนี้เพราะเหตุว่า เมื่อตอนหลวงปู่ยังอยู่นั้น หากชาวบ้านพบเต่าคลานอยู่หรือว่าจับได้ ก็จะนำมาถวายหลวงปู่ที่วัด ท่านก็จะเอาสีเขียนทาลงไป เขียนชื่อท่านบ้าง เขียนชื่อวัดบ้าง บางตัวก็จะมีอักขระขอม เป็นที่รู้กันว่านี่คือเต่าของหลวงปู่ เป็นเต่าพันธุ์เต่าหก มีลักษณะ ๖ ขา เป็นเต่าพันธุ์เฉพาะถิ่นในแถบเมืองชุมพรนี้ บางตัวหากจะยกต้องให้ผู้ชายกำลังดีๆ ถึง ๔ คนจึงจะยกได้
    มีเรื่องแปลกอีกว่า หลวงปู่ไปเข้าฝันชายคนหนึ่งแถวบ้านสามแก้วว่าให้ไปช่วยลูกของท่านที่ตกบ่อด้วย ชายคนนั้นไปดูตามบ่อต่างๆ ก็พบเต่ากำลังตะเกียกตะกาย จะขึ้นจากบ่อมาให้ได้ เขาก็ช่วยมาจากบ่อ พอดูที่กระดองเต่าก็เห็นอักษรเขียนว่า ว.ศ.ล. คือ เป็นตัวย่อของวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยนั่นเอง ก็เลยนำมาที่วัด มีชาวบ้านที่ได้มานมัสการหลวงปู่ เมื่อมาพบเห็นเต่าก็นำไปตีเป็นตัวเลข นำไปแทงหวย ในงวดวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ถูกกันเกือบทั้งเมืองชุมพร ข่าวเรื่องเต่าของหลวงปู่เป็นที่เกรียวกราวมากในจังหวัดชุมพร
    หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร
    ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒ จนถึง วันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตรงกับแรม ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีกุน เวลา ประมาณ ๑๐.๐๐ น. เศษๆ ท่านก็ได้มรณภาพ รวมสิริอายุได้ ๙๔ ปี ๓ เดือน ๒ วัน
    <TABLE id=table13 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    สรีระหลวงปู่ประดิษฐานในโลงแก้ว

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    รวมท่านอยู่ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยเป็นเวลา ๖๔ ปี ทางศิษยานุศิษย์ ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพของหลวงปู่ ตั้งแต่วัน ๒ - ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ และได้ทำพิธีปิดศพในคืนวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ หลังจากนั้นทุกๆ คืนจะมีการสวดพระอภิธรรมโดยพระภิกษุภายในวัด และโดยเฉพาะในวันอังคาร ซึ่งกับวันคล้ายวันเกิด และวันมรณภาพ ของหลวงปู่ท่าน จะมีการสวดพิเศษคือ การสวดในบท อนัตตลักขณสูตร และอาทิตตปริยายสูตร สลับกันไปทุกๆ วันอังคาร ของแต่ละสัปดาห์ และจะมีการสวดครบรอบวันมรณภาพในแต่ละปี โดยตรงกับ วันที่ ๒ สิงหาคม ของทุกๆ ปี จะมีการนิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในจังหวัดชุมพร มาสวดเป็นประจำทุกๆ ปี
    ปัจจุบัน สรีระของหลวงปู่ได้ประดิษฐานอยู่ บนศาลาธรรมสังเวช เพี่อให้พุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ได้กราบสักการบูชาตลอดไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2010
  10. ไชยชุมพล

    ไชยชุมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +1,873
    วันนี้ได้รับของที่ส่งมาแล้วครับ ขอบคุณครับ
     
  11. maxico

    maxico เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    384
    ค่าพลัง:
    +2,938
    โอนเงินให้แล้วครับ 950 บาท
    ร่วมบุญบูรณะสมเด็จองค์ปฐมวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยครับ

    ขอรับเพชร แบบที่ 2 กับแบบที่ 4 และ 9 อย่างล่ะ 1 ชุดและพระพุทธชินราชชุบเงินและชุบทอง อย่างละ 1 องค์ครับ

    รบกวนส่งมาที่

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cadmin%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><link rel="themeData" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cadmin%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_themedata.thmx"><link rel="colorSchemeMapping" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cadmin%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_colorschememapping.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cambria Math"; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:1; mso-generic-font-family:roman; mso-font-format:eek:ther; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:0 0 0 0 0 0;} @font-face {font-family:Calibri; panose-1:2 15 5 2 2 2 4 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1073750139 0 0 159 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; margin-top:0cm; margin-right:0cm; margin-bottom:10.0pt; margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-bidi-font-family:"Cordia New";} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; font-size:10.0pt; mso-ansi-font-size:10.0pt; mso-bidi-font-size:10.0pt; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-bidi-font-family:"Cordia New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 72.0pt 72.0pt 72.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif";} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]ณัฐวิทย์ ประสานสุข[/FONT][FONT=&quot]
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->[/FONT]
    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cadmin%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><link rel="themeData" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cadmin%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_themedata.thmx"><link rel="colorSchemeMapping" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cadmin%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_colorschememapping.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cambria Math"; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:1; mso-generic-font-family:roman; mso-font-format:eek:ther; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:0 0 0 0 0 0;} @font-face {font-family:Calibri; panose-1:2 15 5 2 2 2 4 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1073750139 0 0 159 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; margin-top:0cm; margin-right:0cm; margin-bottom:10.0pt; margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-bidi-font-family:"Cordia New";} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; font-size:10.0pt; mso-ansi-font-size:10.0pt; mso-bidi-font-size:10.0pt; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-bidi-font-family:"Cordia New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 72.0pt 72.0pt 72.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif";} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]211/215 เมืองทอง 2/2 ซอย 27 ถนนพัฒนาการ
    เขตประเวศ แขวงประเวศ กรุงเทพ 10250 <o></o>[/FONT]

    [FONT=&quot]<o>ขอโมทนากับทุกๆท่านครับ
    </o>
    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    ขอโมทนาด้วยครับ จัดส่งให้ในวันนี้ครับ
     
  13. direkk

    direkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +3,372
    เมื่อวานนี้ประมาณบ่าย 3 โมง คนที่บ้านได้ทำการโอนเงินให้แล้วครับ 1,050 บาท รบกวนพี่พัฒฯช่วยตรวจสอบด้วยครับ

    รบกวนส่งเพชรมาที่

    ดิเรก ขจรศักดิ์สุเมธ
    180/393 ชั้น18 อาคารสุขสวัสดิ์โมเดิร์นคอนโดวิวย์
    ถนนสุขสวัสดิ์ เขตราษฏร์บูรณะ
    กทม 10140

    ขออนุโมทนาบุญกับพี่พัฒฯและทุกๆท่านด้วยครับ สาธุ
     
  14. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    พระสมเด็จ รุ่นมหาเศรษฐี วัดเขาพลวงทอง
    เข้าพิธีเสาร์ห้า ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 53
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    ได้รับยอดเงินโอนเข้าบัญชีตั้งแต่เมื่อวานแล้วครับ แต่ไม่ทราบว่าเป็นของท่านใด เดี๋ยวจัดส่งให้วันจันทร์ครับเพราะวันนี้ส่งให้ไม่ทันแล้ว

    ขอโมทนาด้วยเช่นกันครับ
     
  16. รดาอร

    รดาอร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +192
    แบบที่ 4 ขาวใส ขนาด 4 มม.(ข้าง) และ 7 มม. (กลาง) มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท
    แบบที่ 4
    [​IMG]


    ได้รับเพชรเรียบร้อยแล้วค่ะสวยมาก และขอร่วมโอนุโมทนาเพิ่มแบบที่4
    เพิ่มอีก1ชุด ไม่ทราบพอยังมีเหลือบางหรือเปล่าคะ่
     
  17. vietnam

    vietnam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +2,684
    วันนี้ได้รับพระแล้วครับ

    ขอบคุณมากครับ
     
  18. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    ยังมีเหลืออยู่ประมาณพันกว่าชุด ยังสามารถร่วมทำบุญได้ครับ
     
  19. lektantan

    lektantan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,624
    ค่าพลัง:
    +22,640
    ได้มาแล้วเหมือนกัน
    อยากได้เพิ่มอีก ก็เหมือนทุก ๆ ท่านครับ

    เห็นแล้วแปลกจริง ๆ ความประกายนั้น มากเหลือเกิน
    แปลกแต่จริงครับ
     
  20. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,682
    ค่าพลัง:
    +204,077
    เพชรและพระทุกรายการได้นำเข้าพิธีเสาร์ห้า เดือนห้า
    ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มี.ค. 53


    แบบที่ 1 ขาวใส ขนาด 7 มม. มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท
    แบบที่ 1
    [​IMG]


    แบบที่ 2 ขาวใส ขนาด 3 มม.(ข้าง) และ 4 มม. (กลาง) มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท
    แบบที่ 2
    [​IMG]


    แบบที่ 4 ขาวใส ขนาด 4 มม.(ข้าง) และ 7 มม. (กลาง) มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท
    แบบที่ 4
    [​IMG]


    สมเด็จพระพุทธชินราช ชุบเงิน มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท
    เข้าพิธีเสาร์ห้า ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 53

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    สมเด็จพระพุทธชินราช ชุบทอง มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท
    เข้าพิธีเสาร์ห้า ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 53

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    พระชัยหลังช้าง สก. <!-- google_ad_section_end -->
    เข้าพิธีเสาร์ห้า ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 53
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท (เหลือ 16 องค์)

    [​IMG] [​IMG]


    พระพุทธโสธรพิมพ์เล็ก ด้านหลังเป็นรอยพระพุทธบาทสี่รอย
    อธิษฐานจิตโดยครูบาวิฑูรย์ ชินวโร วัดวังมุย
    และนำเข้าพิธีเสาร์ห้า เดือนห้า วัดท่าขนุน และวัดท่าซุง
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    พระพุทธโสธรพิมพ์ใหญ่ ด้านหน้า "สัมปะจิตฉามิ "
    ด้านหลังเป็นยันต์สมเด็จองค์ปฐมและพระนามย่อของพระพุทธเจ้า 28 พระองค์
    อธิษฐานจิตโดยครูบาวิฑูรย์ ชินวโร วัดวังมุย
    และนำเข้าพิธีเสาร์ห้า เดือนห้า วัดท่าขนุนและวัดท่าซุง
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    พระสมเด็จ รุ่นมหาเศรษฐี วัดเขาพลวงทอง
    เข้าพิธีเสาร์ห้า ทั้งวัดท่าขนุนและวัดท่าซุง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 53
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 100 บาท

    [​IMG]

    โปรดช่วยค่าจัดส่งครั้งละ 50 บาทนะครับ


    ร่วมทำบุญบูรณะปิดทองประดับเพชรสมเด็จองค์ปฐม

    บัญชี ออมทรัพย์
    ชื่อบัญชี เจริญยศ สายทอง
    เลขที่บัญชี 654-235725-2
    ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขา ชุมพร<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...