พุทธเดียวกัน แต่...หลากสีสันหลายวิธีห่ม "จีวร"

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 25 พฤษภาคม 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๕ พฤษภาคม ประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้ร่วมกับประเทศญี่ปุ่นจัดงาน "วันวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๓" โดยมีประมุขสงฆ์ ผู้นำชาวพุทธ นักปราชญ์ด้านศาสนา คณะสงฆ์ และผู้แทนจากองค์กรพุทธทั่วโลกกว่า ๕,๐๐๐ รูป/คน จาก ๘๐ ประเทศ มาร่วมประชุมในหัวข้อ "การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก ตามทัศนะชาวพุทธ"
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=607 border=0><TBODY><TR class=m8><TD vAlign=top></TD><TD class=mainnews vAlign=top width=98></TD></TR><TR class=m10><TD vAlign=top colSpan=3>[​IMG]





    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    การห่มจีวรของพระสงฆ์ของชาติและนิกายต่างๆ

    [​IMG] การห่มจีวรของพระสงฆ์ของชาติและนิกายต่างๆ


    [​IMG] การห่มจีวรของพระสงฆ์ของชาติและนิกายต่างๆ


    [​IMG] พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ

    ในการประชุมครั้งนี้รวมทั้งครั้งก่อนๆ มจร.ไม่ได้จัดการแสดงอะไรที่เป็นสีสันเหมือนกับการประชุมทางโลก แต่การประชุมของทุกกลุ่มย่อย ทุกห้อง โดยเฉพาะวันเปิดงานและวันปิดงาน กลับเต็มไปด้วยสีสันของจีวรที่หลากสี และรูปแบบการห่มที่หลากหลาย
    "สีของจีวรและรูปแบบการห่ม" ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับวงการสงฆ์ มักจะไม่ทราบว่าเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมิใช่น้อยเลย ข้อถกเถียงเรื่องสีและวิธีการห่มจีวรนั้นไม่ใช่เฉพาะเมืองไทยเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่มีกันมานานแล้ว และก็จะมีต่อไป การศึกษาเรื่องจีวรของพระภิกษุนั้น ย่อมทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ที่แพร่กระจายไปทั่วทวีปเอเชียได้เป็นอย่างดี

    พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร. บอกว่าเรื่องจีวรของพระภิกษุ จึงยังมีช่องว่างที่ทำให้ตีความได้หลายประเด็นอย่างวิธีการห่มจีวรของพระภิกษุในปัจจุบันที่เราพบเห็นกันในประเทศไทย พม่า รวมถึงศรีลังกา ต่างก็ถือว่าถูกต้องด้วยกันทั้งนั้น สีจีวรที่ออกเหลืองหม่น หรือสีเหลืองทอง ต่างก็มีปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะในหมู่นักบวช ซึ่งถือวินัยการห่มจีวรว่าเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของความบริสุทธิ์ของนิกายที่ตนนับถือหรือบวชอยู่ แม้พระภิกษุสงฆ์จะย้อมจีวรด้วยสีธรรมชาติแท้ๆ แต่ก็เชื่อว่าสีคงจะไม่ออกมาเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดแน่นอน คงจะมีผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้าง พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตสีที่ใช้ย้อมจีวรผ้ากาสายะ และสีใกล้เคียงอีกหลายชนิดหรืออาจมองได้อีกประการหนึ่งว่า ทรงมีพุทธวินิจฉัยว่า เป็นเรื่องที่สามารถยืดหยุ่นได้เนื่องจาก ไม่ใช่แก่นของพระพุทธศาสนา ซึ่งมุ่งกำจัดความทุกข์ทางใจ"

    การที่จะยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้จีวรสีใดย่อมเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดเจนได้ เป็นปัญหาหนึ่งที่เป็นที่สนใจของชาวพุทธอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เนื่องจากไม่เคยมีใครได้พบเห็นพระพุทธองค์ด้วยตัวเอง แต่สามารถประเมินได้จากหลักฐานพระคัมภีร์ในหลายแห่งที่พอเปรียบเทียบได้ คือ ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้า (พระพุทธเจ้า)ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาซึ่งมีสีดุจทอง ออกจากระหว่างบังสุกุลจีวรอันมีสีแดง ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งผ้าสองชั้นที่ย้อมดีแล้ว ทรงห่มจีวรมหาบังสุกุล ได้ขนาดสุตตประมาณ ปานผ้ารัตตกัมพล (ผ้าสีแดง) ๓. พระผู้มีพระภาค ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดงมีสีคล้ายสียอดอ่อนของต้นไทร

    ส่วนลักษณะการห่มนั้น ปรากฏว่ามีหลักฐานเป็นวัตถุธรรมที่เก่าแก่ที่สุด ที่นักโบราณคดีค้นพบในวัดทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นภาพพระภิกษุกำลังยืนแต่นุ่งเฉพาะผ้าสบง กายท่อนบนมิได้ห่มผ้าใด ๆ อยู่ด้วย พระภิกษุอินเดียในยุคแรกจึงไม่น่าจะสวมผ้าอังสะในขณะที่ตนเองอยู่ในวัด ส่วนการครองจีวรท่อนบนนั้นคงห่มเฉพาะตอนที่ตนเดินทางออกจากวัดเข้าไปในเขตหมู่บ้าน ในขณะที่รูปปั้นและหินสลักของศิลปะคันธาระ แสดงให้เห็นถึงวิธีการห่มที่คล้ายการห่มของพระลังกาวงศ์โดยห่มปิดไหล่ทั้งสองข้างเช่นกัน และยังมีภาพหินสลักที่พบในปากีสถานอันอยู่ในเส้นทางที่มีชื่อเรียกว่า “กะราโกรัม” ว่าพระภิกษุห่มผ้าที่ยาวคล้ายทรงกระบอกไม่มีรอยแหวกด้านข้าง คล้ายกับที่พระลังกาวงศ์หรือมหานิกายสวมใส่เวลาครองผ้าออกนอกวัด

    "ในการประชุมร่วมชาวพุทธนานาชาติครั้งนี้เราได้เห็นพระใส่จีวรหลายสี และแต่งกายหลายรูปแบบ แต่เราก็มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวกันคือพระศากยโคตมะพุทธเจ้า ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอาจจะแตกต่างกันบ้าง ภาพที่มองจากมุมกว้างอาจจะมองเห็นแปลกแยก ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ลงตัว สีของจีวร รูปแบบการนุ่งห่ม ความเห็นที่แตกต่างได้รับการประสานและสรุปอย่างลงตัวในการประชุมสุดยอดชาวพุทธครั้งนี้ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปยังนานาอารยประเทศต่อไป" พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณกล่าว
    หลากสีสันหลายวิธีห่ม

    เรื่องของสีจีวรรูปแบบการห่มนั้น พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ อธิบายให้ฟังว่า เมื่อพระพุทธศาสนาจากอินเดียเผยแผ่เข้าไปในจีน เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องสีของจีวรเนื่องจาก สีเหลืองนั้นเป็นสีของฮ่องเต้ประชาชนธรรมดาไม่มีสิทธิ์สวมใส่ ใครสวมใส่ชุดสีเหลืองต้องได้รับโทษ ผลคือพระจีนต้องเปลี่ยนสีจีวรเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ โดยมีจีวรสำหรับเณรเป็นสีดำ และอากาศที่หนาวเย็นทำให้พระจีนต้องปรับตัวมีชุดกันหนาวข้างใน และใส่รองเท้าให้มิดชิด

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าพระเวียดนามจะได้รับพระพุทธศาสนามาจากจีนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้รับมาทั้งหมด จะมีเอกลักษณ์ของตนเอง ที่ใส่จีวรสีเหลืองเปล่งปลั่ง เนื่องจากไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายของฮ่องเต้จีน

    ในทิเบต ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทำนองเดียวกันในเรื่องของชุดกันหนาว ซึ่งพระลามะสวมเสื้อกั๊กกันหนาวข้างใน หมวกและผ้าจีวรก็เป็นผ้าที่หนาทำจากขนสัตว์ และสีจีวรก็เปลี่ยนแปลงเป็นสีแดงปนม่วง สีนี้นิยมใส่กันมากในหมู่ชนเผ่าทั้งหลายที่อยู่ในที่ราบสูง เนื่องจากจะตัดกับสีของท้องฟ้าเป็นอย่างดีทำให้เห็นได้แต่ไกล และเป็นสีแห่งความปลอดภัยในพื้นที่แถบเทือกเขาหิมาลัย

    ภิกษุของมองโกเลียนั้นได้รับอิทธิพลจากทิเบต ในสมัยรุ่นหลานของเจงกิสข่าน หลานชายของจักรพรรดิเกิดความเลื่อมใสพระทิเบตรูปหนึ่ง โดยได้นิมนต์มาเป็นพระอาจารย์ประจำในราชสำนักและได้แต่งตั้งท่านให้เป็น “ดาไลลามะ หรือทะไลลามะ” ที่เกาหลีและญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาในประเทศจีน สีจีวรจึงคล้ายกัน แต่ในญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการเรื่องจีวรอย่างมากโดยเฉพาะในนิกายชิงกง หรือวัชรยานของญี่ปุ่นซึ่งนำมาทอ และวาดเป็นลวดลายวิจิตรพิสดารยิ่ง แต่ก็ยังคงลักษณะที่เป็นรูปคันนาเป็นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่น้อยให้สังเกตได้ง่าย

    การทำจีวรพระญี่ปุ่นเป็นศาสตร์ที่ได้รับตกทอดกันมากในวงศ์ตระกูล จีวรพระญี่ปุ่นที่สั่งทำพิเศษสำหรับเจ้าอาวาสนั้นมีราคาแพงมาก มีทั้งลวดลายและสีสันที่ละเอียดอ่อน เป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่เก่าแก่และมีอายุนับพันปี พระญี่ปุ่นยังได้รับพัฒนาจีวรของตนไปไกลกว่านั้นอีกมาก บางนิกาย ย่อจีวรให้เล็กลง จนเหลือเป็นเพียงผ้าผืนเล็กนิดเดียว คล้องเป็นเหมือนผ้ากันเปื้อนไขว้คอ กว้างประมาณคืบหนึ่งยาวประมาณคืบเศษ ๆ แต่ยังคงลักษณะลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบคันนา แบบจีวรของพระในเมืองไทยให้เห็นอยู่

    ส่วนการห่มจีวรที่ยุ่งยากที่สุดซับซ้อนและหลากหลายที่สุดนั้น พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ บอกว่า ต้องยกให้พระใน นิกายมหายาน เพราะพระลามะใส่จีวรที่มีสีแดงสด น่าดูที่สุด ส่วนการจะแยกว่าใครอยู่นิกายไหนนั้น ให้ดูที่สีผ้าอังสะ เช่นสีเหลืองนิกายเกลุก สีแสดนิกายศากยะ เป็นต้นพระลามะนิกายศากยะ นุ่งห่มผ้าจีวรสีแดง สบงสีขาว ไว้ผมและหนวดยาวเฟื้อย เป็นที่สนใจของผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างยิ่ง จนอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นดาราของที่ประชุมเลยก็ว่าได้ แต่ความจริงท่านเป็นพระลามะจัมยัง ตาซิ ดอร์เจ ผู้นำทางจิตวิญญาณ นิกายศากยะ จากประเทศสเปน

    "ภาพที่มองจากมุมกว้างอาจจะมองเห็นแปลกแยก ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ลงตัว สีของจีวร รูปแบบการนุ่งห่ม ความเห็นที่แตกต่างได้รับการประสานและสรุปอย่างลงตัวในการประชุมสุดยอดชาวพุทธครั้งนี้ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปยังนานาอารยประเทศต่อไป"

    ที่มา หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 25 พฤษภาคม 2553

    พุทธเดียวกัน แต่...หลากสีสันหลายวิธีห่ม "จีวร" | UNDV Conference 2010
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2010
  2. NamfonBaanfa

    NamfonBaanfa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +7,086
    อือมม์.....สีสันและวิธีการห่มจีวรแตกต่างกันมากทั้งๆที่เป็นสงฆ์ในพระพุทธศาสนา มีพระศาสดาองค์เดียวกันแท้ๆ.....ถ้าไม่ยึดเอาระบบอาจารยิวาสของตน แต่เอาพุทธวัจนะและพระอริยวินัยของพระพุทธองค์เป็นที่ตั้ง คงไม่มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในปัจจุบัน
     
  3. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    สาธุครับ ยังไงก็ต้องปรับเปลี่ยนครับ เพราะว่าลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศไม่เหมือนกัน
    ถ้าจะให้ห่มแบบที่พระไทย อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชาห่ม คงจะไม่ได้...
    ส่วนที่ไม่โดนผม โกนหนวด เป็นนิกายศากยะที่มาจากสเปน น่าจะเป็นพวก Monjes Buddistas... คล้ายพุทธธิเบตแต่จะแปลกๆไป - -
     
  4. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,173
    สีจีวรของพระสงฆ์ไทย


    เรื่องของจีวรพระ เป็นเรื่องแปลกมากเลย ควรจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ก็ไม่เป็น คือมีทั้งสีเหลือง เหลืองส้ม เหลืองอ่อน สีกรัก กรักทอง แก่นขนุน สีแดง กรักแดง แดงแบบฝาง แดงแปร๊ดไปเลยก็มี ถามว่าอันไหนถูก ก็ถูกทั้งนั้น ถ้าเป็นพม่าห่มสีแดง ไปดูในอภิสมาจาร สิ่งที่ท่านอนุญาตให้ใช้ โดยเฉพาะจีวร จีวรนี่ไม่ได้อยู่ในอภิสมาจารหรอก จะอยู่ในศีล ในปาฏิโมกข์เลย ท่านอนุญาตไว้ว่า ให้เป็นผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด สีเหลือง คือเหลืองขมิ้น สีกรัก คือสีแก่นขนุน สีเหลืองเจือแดงเข้ม ตกลงทุกสีใช้ได้ แต่ถ้าหากพระออกป่า ท่านก็มักจะใช้สีกรัก เพราะว่าเปื้อนยากหน่อย ถ้าเป็นสีเหลืองเปื้อนง่าย ก็เลยมีการแยกแยะกันอีก

    ปัจจุบันถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ บางทีเขาแยกพรรษาด้วยสีจีวร ห่มจีวรเหลือง ท่านถือเป็นพระใหม่ไปเลย ตั้งแต่ ๑-๕ พรรษา ห่มสีพระราชนิยม ก็เป็นพระปานกลาง เรียกว่า “มิชฌิม” ตั้งแต่ ๕-๑๐ พรรษา ถ้าเป็นพระเถระ ตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไป เขาจะห่มจีวรที่เป็นสีกรักเขียวๆ ที่เรียกว่า “สีแก่นขนุน” ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บางทีก็สีโน้นบ้าง สีนี้บ้าง วัดเดียวลายไปหมดก็มี บางวัดก็บังคับว่า ถ้าเป็นวัดเขาต้องห่มสีนี้ ปัจจุบันนี้ทางทองผาภูมิก็จะมีอยู่ ๔ สีด้วยกัน

    สีพระราชนิยมส่วนหนึ่ง เป็นสีที่ในหลวงท่านบอกว่าเหมาะ ดูแล้วสบายตาดี ไม่ใช่สีส้มแปร๊ดเลย ขณะเดียวกัน ไม่ใช่ดำมืดจนเกินไป แล้วก็มีสีกรัก แบบแก่นขนุนเขียวๆ ของพระปฏิบัติ พระป่า พระป่าสายปฏิบัติทางด้านทองผาภูมิก็มีหลายวัด อย่างวัดเวฬุวัน จะเป็นสายของหลวงปู่มั่น วัดป่าภูริทัตตวนาราม ของหลวงปู่มั่น วัดเขาถ้ำสหกรณ์นิคม ของหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง หลวงพ่อชาเป็นมหานิกายในดงธรรมยุต

    เพราะฉะนั้นวัดเขาถ้ำนี่เป็นวัดมหานิกาย ไม่ใช่ธรรมยุต (ไม่ชัด) สายวัดสังฆทานเขา ๔ วัดนี้ท่านจะห่มสีเขียวๆ เข้มแก่นขนุน จะมีวัดท่าขนุน วัดพุทธบริษัท วัดห้วยสมจิต จะห่มสีน้ำ แล้วก็มีหลายวัดที่เจ้าคณะอำเภอ ท่านบังคับบัญชาตามใจได้ จะห่มสีเหลืองอ๋อยไปเลย จะมีวัดเดียวคือ วัดพุทธโธภาวนา พุเย ท่านจะห่มสีกรักแดง ตามแบบของอาจารย์ท่านคือ หลวงพ่อภาวนาพุทโธที่สึกไปแล้ว

    กลายเป็นว่าอย่างน้อยๆ ปัจจุบันนี้ทองผาภูมิมีอยู่ ๔ สี แต่ถ้านับพระจีนไปด้วยก็ ๕ สี ทองผาภูมิมีวัดจีนอยู่เหมือนกัน วัดจีนจะอยู่เลยทางบ้านสะพานลาวไป มีอยู่วัดหนึ่ง แล้วก็ทางบ้านพุถ่องเข้าไปจะเป็นพุทธสถานฉงเต๋อ นั่นก็วัดหนึ่ง ผ้าไม่ทำให้หมดกิเลสหรอก หมดกิเลสอยู่ที่การปฏิบัติ

    อาตมาสมัยก่อนที่อยู่วัดท่าซุงก็ห่มสีเหลือง แล้วไปงานวัดหนึ่ง เขาไม่ให้ขึ้นศาลา ทั้งๆ ที่เราได้รับการนิมนต์อย่างถูกต้อง เพราะเขารังเกียจสีเหลือง เราก็เลยสบายนั่งอยู่ข้างล่าง ทำเอาท่านที่นิมนต์วิ่งมาประเภทเดือดเนื้อร้อนใจเป็นอย่างยิ่ง บอกไม่นึกเลยเขาจะทำกันอย่างนี้ บอกเขาว่าไม่เป็นไรหรอกคุณ คือท่านเป็นพระด้วยกัน นั่งข้างบนนั่งข้างล่างก็รับเท่ากัน แล้วผมนั่งข้างล่างผมไม่ต้องสวด สบายดีซะด้วย แล้วอย่างไรที่เรานั่งอยู่ก็โต๊ะอาหารอยู่แล้ว ถึงเวลาไม่ต้องขยับไปไหนได้กินแหงๆ อยู่แล้ว (หัวเราะ) มองโลกในแง่ดีใช่ไหม ? อะไรเกิดขึ้นกับเราดีทั้งหมด หาประโยชน์จากมันให้ได้ (หัวเราะ) ทำใจอย่างนี้ได้ไหม ? อย่าไปแบกเอาไว้

    คนบางคนบอกว่า “โลกมีไว้เหยียบ ไม่ได้มีไว้แบก” แบกไว้แล้วจะหนัก คนแบกโลกก็อยู่ต่ำ ถ้าคนค้ำโลกก็อยู่กลาง ถ้าคนวางโลกก็อยู่สูง เพราะฉะนั้นมีก็เหยียบเอาไว้ อย่าไปแบกเอาไว้ แบกมันหนัก เราแก้ไขคนอื่นไม่ได้หรอก คนอื่นเป็นโลก โลกทั้งโลกหนักเกินกว่าที่เราจะแก้ได้ แต่เราแก้ไขตัวเราเองได้

    เพราะฉะนั้น ดูที่ตัว แก้ที่ตัว ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เตือนตัวเองด้วยตัวเอง อย่าไปดูจริยาคนอื่นเขา ถ้าคิดจะจับผิดกัน มีข้อบกพร่องให้จับได้ตลอด ฉะนั้นดูที่ตัวเรา แก้ที่ตัวเรา เอาเฉพาะหน้าของเรา อย่าเอาเรื่องของโลก มาเป็นเรื่องของเรา อย่าเอางานของโลก มาเป็นงานของเรา อย่าเอาภาระของโลก มาเป็นภาระของเรา ปล่อยไว้ตรงนั้น กองไว้ตรงนั้นหละ ถ้ากองผิดกองพลาด ไปกองบนหัวคนอื่น ก็ขอโทษเขามั่ง (หัวเราะ) เยอะเหมือนกัน ประเภทไปกองใส่หัวคนอื่น

    อีกไม่กี่วันก็วันมาฆบูชา เพราะฉะนั้นลืมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้นะ ท่านบอกว่า สัพพะปาหัสสะ อะกะระณัง เว้นจากความชั่วทั้งปวง กุสะลัสสูปะสัมปะทา ทำความดีให้ถึงพร้อม สะจิตตะปะริโยทะปะทัง ทำจิตใจให้ร่าเริง เบิกบานอยู่เสมอ ตัวสุดท้ายนี่สำคัญที่สุดสำคัญอยู่ตรงจุดที่กำลังใจของเรา ถ้าเกาะอะไร ถ้าตายไปอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้นทุกวันต้องรักษาจิตใจของเรา ให้เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ การที่จะเบิกบานแจ่มใสอยู่ได้ สมาธิต้องทรงตัว ถ้าสมาธิทรงตัว กิเลสรบกวนไม่ได้ จิตใจก็จะผ่องใส ปัญญาก็จะเกิด



    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖(ต่อ)
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ





    .
     
  5. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    ศีลพรตใด ปฏิบัติแล้ว ทำให้จิตใจ ไม่เพื่อสะสมกองกิเลส มักน้อย สันโดษ วิเวก ขยัน เลี้ยงง่าย..........ธรรมนั้นแล เป็น ทางที่ชอบของสาวกพุทธะ เป็นทางที่ถูกที่ควร

    ส่วนรูปแบบภายนอกที่เราเห็นนั้น สวยงาม น่าเลื่อมใส เพียงใด....ก็มิใช่จะตัดสินว่านั่นคือ ..........สิ่งที่ถูกต้อง

    ดังนั้น รูปแบบ ปกหน้าหนังสือ มิใช่สิ่งวัดว่าเป็นหนังสือที่ดี มีสาระ น่าอ่าน...เนื้อหา ภายในต่างหากที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า หนังสือนี้มีคุณค่า น่าอ่านเพียงใด.......อย่ามองเพียงรูปแบบ ต้องดูให้เห็นถึงเนื้อหาภายในด้วย..............
     
  6. Phra Atipan

    Phra Atipan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,301
    [​IMG] อนุโมทนาสาธุครับ
     
  7. fullmoonsun

    fullmoonsun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +2,321
    Clothings&colors are just the material things. The way they behave is much more important.

    Anumothana Sathu
     
  8. ANUWART

    ANUWART เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,669
    ค่าพลัง:
    +14,320
    โมทนาสาธุครับ
    เชิญร่วมทำบุญสร้างพระประธานสมเด็จองค์ปฐมพร้อมวิหารแก้ว
    http://palungjit.org/threads/เ�...��.153668/
     
  9. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    อืม เราอยู่เมืองไทยหนาวสุดก็คงห่มผ้าไม่กี่ผืน ใส่เสื้อกันหนาวไม่กี่ตัว หากไปเมืองนอก สวมใส่เหมือนในไทยคงต้องตายเพราะอากาศหนาว พระท่านก็เหมือนกัน หากเราเข้าใจก็จะไม่สงสัยย์ ต่างนอกเหมือนใน ขอให้มีคำว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เอาไว้ในจิตของตนๆเถิด ขอสรรพชีวิตจงอยู่เป็นสุขเถิด สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...