อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และมหาสถูปเขาคลังนอก จ.เพชรบูรณ์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย วสุธรรม, 5 มิถุนายน 2010.

  1. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ค้นพบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
    และมหาสถูปเขาคลังนอก จ.เพชรบูรณ์


    [​IMG]

    ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 กรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานเขาคลังนอก ซึ่งเป็นการดำเนินงานศึกษาด้านวิชาการโบราณคดีทั้งหมด รวมไปถึงการออกแบบเพื่อการบูรณะในปีถัดไป

    ปัจจุบันโบราณสถานเขาคลังนอก มีที่ตั้งอยู่ในเขต หมู่ที่ 11 บ้านสระปรือ ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ทางด้านทิศเหนือของเมืองโบราณศรีเทพ ห่างออกไปราว 2 กิโลเมตร

    ที่มาของชื่อเขาคลังนอก เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่เดิม เพราะเหตุว่ามีรูปร่างลักษณะคล้ายภูเขาสูงใหญ่และเชื่อกันว่ามีทรัพย์สมบัติและอาวุธเก็บรักษาอยู่ภายใน ประกอบกับในเขตเมืองโบราณศรีเทพ มีโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายภูเขาที่เรียกว่า “เขาคลังใน” จึงได้เรียกโบราณแห่งนี้ว่า “เขาคลังนอก”

    สภาพก่อนการดำเนินงานทางโบราณคดีนั้น พบว่ามีลักษณะเป็นเนินคล้ายภูเขาขนาดใหญ่มีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ มีเศษอิฐและศิลาแลงกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งบริเวณ บริเวณด้านบนเนินปรากฏหลุมลักลอบขุดขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นโพรงลึกลงไป ทำให้เห็นโครงสร้างภายในที่ก่อด้วยอิฐอย่างชัดเจน จากการดำเนินงานทางโบราณคดี พบว่าผังของอาคารมีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีการยกเก็จหรือเพิ่มมุมตามระเบียบแบบแผนของอาคารแบบทวารวดี ฐานมีขนาดเฉลี่ย กว้างด้านละประมาณ 64 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอด ประมาณ 20 เมตร โดยใช้ศิลาแลงก่อสูงขึ้นไปจนมีขนาดใหญ่โต แบ่งเป็น 2 ชั้นหลักๆ โดยแต่ละชั้นสูงประมาณ 5 เมตร


    มีการประดับตกแต่งฐานอาคารโดยการก่อเป็นซุ้มคล้ายอาคารจำลองหลายขนาดที่มีเสาประดับ วางซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปโดยรอบ แต่ไม่พบร่องรอยของการฉาบปูนและปูนปั้นประดับเหมือนที่โบราณสถานเขาคลังใน และพบชิ้นส่วนยอดของสถูปขนาดเล็กที่ใช้ประดับอาคาร มีบันไดทางขึ้นสู่ด้านบนทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีซุ้มประตูตั้งอยู่ด้านบน เพื่อผ่านเข้าไปยังลานประทักษิณเพื่อประกอบศาสนพิธีที่ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว

    บนฐานเขียงด้านทิศตะวันออกของสถูปก่ออิฐด้านบน ยังปรากฏร่องรอยของหลุมเสาไม้ แต่ไม่พบร่องรอยของกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการก่อศิลาแลงทับซ้อนอยู่บนชั้นพังทลาย แสดงถึงการเข้ามาใช้พื้นที่ประกอบศาสนพิธีด้านบนในสมัยหลังอีกด้วย

    องค์สถูปด้านบนก่อด้วยอิฐแบบทวารวดี ลักษณะสถูปประกอบด้วยฐานเขียงที่ซ้อนกันตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง เหนือขึ้นไปพบว่ามีร่องรอยการก่อลดชั้นและยกเก็จที่มุม ซึ่งอาจมีองค์สถูปทรงกลมตั้งอยู่ด้านบน แต่ปัจจุบันพังทลายไปมากแล้ว


    ศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ แห่งภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ความเห็นว่า เขาคลังนอกมีลักษณะเป็นมหาสถูป ตั้งอยู่นอกตัวเมืองโบราณ อาจรับคติการสร้างจากพุทธศาสนามหายาน ที่นิยมสร้างอาคารบนฐานสูง รูปแบบผังมณฑลจักรวาล และมีความสัมพันธ์กับเขาถมอรัตน์ ที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองศรีเทพไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะเกือบ 20 กิโลเมตร โดยมีภาพสลักเกี่ยวกับพุทธศาสนามหายานอยู่ภายในถ้ำบนยอดเขา และน่าจะมีอายุร่วมสมัยกัน

    จุดเด่นของโบราณสถานแห่งนี้ อยู่ที่ฐานอาคาร ซึ่งยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และมีรูปแบบศิลปะอินเดียผสมผสานอยู่มาก กล่าวได้ว่าในประเทศไทยยังไม่เคยพบโบราณสถานที่ร่วมสมัยกัน ที่ยังคงสภาพและมีขนาดใหญ่เท่านี้มาก่อน แสดงคุณค่าทางรูปแบบศิลปกรรมอย่างชัดเจน

    โบราณวัตถุสำคัญที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี สลักจากหินทรายสีเขียว มีลักษณะประทับยืนปางแสดงธรรม (วิตรรกะ) 2 พระหัตถ์ ขนาดสูง 57 ซ.ม. กว้าง 16 ซ.ม.


    กล่าวโดยสรุปว่า โบราณสถานเขาคลังนอกมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นสถูปที่ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ มีการใช้พื้นที่ประกอบศาสนพิธีอยู่ด้านบน มีรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียอย่างชัดเจน อายุสมัยน่าจะอยู่ในช่วงราว 1,200 – 1,300 ปี มาแล้ว หรือในช่วงวัฒนธรรมทวารวดี และมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับชุมชนที่เจริญขึ้นที่เมืองโบราณศรีเทพ และเขาถมอรัตน์อย่างใกล้ชิดเช่นกัน

    โบราณสถานแห่งนี้ กรมศิลปากรได้สำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 80 ตอนที่ 29 วันที่ 26 มีนาคม 2506 หน้า 859 โดยขึ้นทะเบียนดังนี้ “คลังนอกเมืองศรีเทพ บ้านหนองปรือ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมทั้งเขตที่ดิน รวมเนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ 1 งาน” ทั้งนี้ได้ขึ้นทะเบียนพร้อมๆกับตัวเมืองศรีเทพและปรางค์นอก
    (ปรางค์ฤาษี)


    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
    กรกฎาคม 2551
    สานิตย์ เจือจาน
    (ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์)


    อ้างอิง
    ���ҳʶҹ��Ҥ�ѧ�͡
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2017
  2. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ความคืบหน้าการขุดแต่งโบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ บริเวณหมู่ ๑๑ บ้านสระปรือ ต.ศรีเทพ อ.ศรีเทพ อยู่ห่างจากเมืองศรีเทพไปทางด้านทิศเหนือราว ๒ กิโลเมตร จากเดิมที่มีสภาพเป็นเนินดินสูงใหญ่ กระทั่งกรมศิลปากรได้อนุมัติงบประมาณให้ขุดแต่งเมื่อราวปลายปี ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา ขณะนี้ จากการขุดแต่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งเสร็จสิ้นไปแล้วราว ๗๐ เปอร์เซ็นต์ พบว่าเป็นฐานอาคารประเภทสถูปเจดีย์โบราณ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ความสูงประมาณ ๒๐ เมตร ฐานกว้างประมาณ ๕๐ เมตร อยู่ในยุคสมัยทวารวดี


    นายสถาพร เที่ยงธรรม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กล่าวว่า โบราณสถานที่ขุดพบเชื่อว่าน่าจะเป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองศรีเทพ โดยเป็นส่วนฐานของอาคารประเภทสถูปเจดีย์ ด้านบนยังพบซากของเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐหลงเหลืออยู่ และที่น่าสนใจมากคือ ลักษณะฐานของอาคารมีรูปแบบศิลปะสมัยทวารวดีอย่างชัดเจน มีอายุประมาณกว่า ๑,๐๐๐ปี สภาพสมบูรณ์กว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ มากที่สุดที่เคยพบมา

    นายสถาพรกล่าวว่า สำหรับสถาปัตยกรรมตัวอาคารดังกล่าวได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะจากประเทศอินเดีย สถูปเจดีย์ขนาดใหญ่แบบนี้เคยพบที่เมืองนครปฐม จ.นครปฐม และเมืองคูบัว จ.ราชบุรี เป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่นอกเมืองเช่นกัน แต่ที่นี่จะมีความสมบูรณ์และมีรูปแบบศิลปะที่ชัดเจนมากกว่า จึงทำให้มีเสน่ห์มาก ส่วนในด้านคุณค่าคงเป็นรูปแบบศิลปกรรมของตัวอาคาร ป็นลักษณะการตกแต่งที่มีรายละเอียดที่สมบูรณ์ครบถ้วน จะมีคุณค่าเป็นอย่างมาก ทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ของอาคารในสมัยศิลปะแบบทวารวดี (มติชน ๑๕ เมษายน ๒๕๕๑)

    อ้างอิง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2017
  3. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    “เขาคลังนอก” ไขปริศนาพันปี มหาสถูปเจดีย์แห่งเมืองศรีเทพ"

    “….ปัญหาข้อสำคัญของเมืองศรีเทพ ยังไม่มีใครแม้แต่ตัวฉันเองได้เคยแตะต้อง ถ้ามีใครเอาใจใส่ตรวจดูบ้างก็จะดี คือ

    เมืองศรีเทพเพียงแต่ซากที่เหลืออยู่ เห็นได้ว่าต้องเคยเป็นราชธานี แม้เพียงประเทศราช ต้องเป็นที่อยู่ผู้คนพลเมืองมาก ถ้าไม่ถึงล้านก็ต้องกว่าแสน ได้ข้าวที่ไหนกิน ถ้าว่าโดยทางปัญญาพอคิดเห็นได้ ท้องที่ภายนอกเมืองศรีเทพคงเป็นไร่นาออกไปไกลเปรียบง่าย ๆ ก็อย่างเมืองลพบุรี นานั้นมันหายไปไหนเสียหมด จะเป็นด้วยเกิดเปลี่ยนแปลงโลกธาตุในแถวนั้น ให้แห้งแล้งฝนไม่ตกเหมือนแต่เดิม หรือด้วยเหตุอันอื่นใด..... “

    รับสั่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    เมืองโบราณที่มีนามว่า “ศรีเทพ” เป็นเมืองรูปวงกลมคู่แฝด ที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในแต่ละระดับวัฒนธรรมและเทคโนโลยี มาตั้งแต่ 3,000 ปี หรือ 500 ปี ก่อนพุทธศตวรรษ มาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 พัฒนาการจากยุคหิน มาสู่ยุคเหล็ก เข้าสู่ชุมชนใหญ่ในวัฒนธรรมแบบอินเดีย พัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองและกลุ่มรัฐเริ่มแรกในวัฒนธรรมทวารวดี รัฐและอาณาจักรในวัฒนธรรมเจนละและขอม ตามลำดับ


    เมืองศรีเทพตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ "240 กิโลเมตร" ห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ 120 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนลุ่มน้ำสำคัญคือ “ลุ่มน้ำสัก”หรือ “แม่น้ำป่าสัก” และ “ลุ่มน้ำเหียง” ที่เคยเป็นแม่น้ำสักสายเก่าในยุคโบราณไหลผ่านเมืองทางทิศตะวันตก

    Kn_03.jpg

    เมืองโบราณคู่แฝดนี้ มีคูน้ำและกำแพงเชิงเทินล้อมรอบ ที่ขุดดินจากคูน้ำขึ้นมาทำเป็นกำแพงดิน มีช่องประตูอยู่ 13 ช่อง "เมืองใน" เป็นเมืองยุคแรก "เมืองนอก" เป็นเมืองที่ขยายตัวในยุคหลัง จึงมีร่องรอยของการเสริมปราการด้านบนด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับเมืองในวัฒนธรรมขอมทั่วไป

    ในยุคแรก ราวต้นพุทธศตวรรษ บริเวณลุ่มน้ำป่าสักแห่งนี้ เป็นชุมทางของถนนเชื่อมโยงภูมิภาคตะวันตกและตะวันออกของภูมิภาคสุวรรณภูมิ เป็นชุมชน ”โคตรตระกูล” ที่มีหมู่บ้านรวมกันเป็นกลุ่ม กระจัดกระจายอยู่อย่างหนาแน่นในยุคเหล็กเมื่อราว 2,000 ปีที่แล้ว

    เมื่อวัฒนธรรมอินเดียพร้อมผู้คนต่างชาติพันธุ์จากแดนไกล เดินทางตามเส้นทางการค้าดั่งเดิมเข้ามาสู่ภูมิภาค เกิดการปะทะสังสรรค์ (Interaction) ระยะเวลายาวนานกว่า 3 – 4 ศตวรรษ กลุ่มชนโพ้นทะเล พื้นเมืองและลูกผสมเริ่มกลืนกลาย (Assimilation) ผสมผสานสังคมและวัฒนธรรมจนกลายเป็นพวกเดียวกันหรือใกล้เคียงกันในพุทธศตวรรษที่ 11 “เมืองโบราณรูปวงกลม” จึงกำเนิดขึ้นเป็น“เมืองเริ่มแรก” ที่มีระบบการปกครอง การจัดสรรทรัพยากรและการค้า ท่ามกลางชุมชนเก่าแก่ที่แวดล้อมอยู่

    Kn_04.jpg

    ลักษณะเช่นนี้ คือ “กระบวนการ” ของการกำเนิดเมืองเริ่มแรกในยุคปรากฏการณ์ “วัฒนธรรมทวารวดี” ทั่วภูมิภาคอุษาคเนย์ครับ

    เมืองโบราณศรีเทพ ในยุครุ่งเรือง เป็นเมือง “ชุมทางการค้าและพาณิชย์” ในเขตภูมิภาค มี “ถนน” ศิลาแลง เชื่อมต่อไปทางทิศเหนือทางประตูหนองบอน และทางทิศใต้ทางประตูหนองกรดหรือประตูมะกัก
    ชาวบ้านเล่าว่า สมัยก่อนพอจะเห็นถนนปูด้วยศิลาแลงกว้างประมาณ 4 เมตร ออกไปจากประตูเมืองทั้งทางเหนือและทางใต้ เรียกกันว่า “ถนนแข่งม้า” ยาวเข้าไปในป่า แต่ไม่รู้ว่าไปสิ้นสุดที่ใด ปัจจุบันก็พอจะเห็นแนวบ้าง จึงทำให้รู้ว่า เมืองศรีเทพเป็นเหมือน“ชุมทาง” (Hub) ขนาดใหญ่ของเส้นทางเดินคาราวาน ติดต่อเชื่อมโยงผู้คน “ใจกลางภูมิภาค” อุษาคเนย์ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 หรือ 1,600 ปีมาแล้ว

    ชื่อของเมือง “ศรีเทพ” เป็นชื่อใหม่ครับ เดิมชาวบ้าน (ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์จากทางหัวเมืองลาว - อีสานอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์) จะเรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า “เมืองไพศาลี” (ไพศาล + บุรี แปลว่า “เมืองใหญ่” ) หรือเมือง “อภัยสาลี” ตามคำบอกเล่าของพระธุดงค์ ที่นำชื่อมาจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

    หลักฐานจากจารึกสุโขทัย กล่าวถึงเมืองในลุ่มน้ำสักว่ามีอยู่ 2 เมือง คือเมืองลม (หล่มเก่า) และเมือง “บาจาย” ครับ
    ในครั้งที่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จขึ้นไปประพาสเมืองศรีเทพในปี 2447 เพื่อสืบหาเมืองโบราณที่มีชื่อปรากฏใน“สารตรา” บอกข่าวการสวรรคตของรัชกาลที่ 2 ไปยังเมืองในเขตลุ่มน้ำป่าสัก แต่พระองค์ก็ค้นหาไม่พบ คงมีแต่เมือง“วิเชียรบุรี” ที่ยกระดับขึ้นมาจากเมืองศรีเทพเดิมในสมัยรัชกาลที่ 3 เนื่องจากความดีความชอบของ “พระศรีถมอรัตน์” ในคราวศึกพระเจ้าเวียงจันทน์ และทรงมาพบเมืองร้างขนาดใหญ่กลางป่าใกล้บ้าน “นาตะกรุด” แห่งนี้เมืองร้างไพศาลี (ไพสาลี) หรือเมือง “บาจาย” จึงถูกเรียกกันใหม่ว่า “เมืองศรีเทพ” ตามข้อ “สันนิษฐาน” ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งแต่นั้นมา แต่ก็เรียกกันอยู่ในเฉพาะแวดวงชนชั้นสูงและนักวิชาการโบราณคดี ส่วนชาวบ้านก็ยังคงเรียกเช่นเดิม

    “ข่าวคราว”ของเมืองโบราณแห่งลุ่มน้ำสัก ได้ไปปรากฏครั้งแรกในหนังสือ London Illustrated News เดือนมกราคม 1937 (2480) ลงข่าวว่า ดร.ควอริช เวลส์ แห่งสมาคมสืบค้นวัฒนธรรมของอินเดีย (The Greater Indian Research Committee) ได้ค้นพบเมืองโบราณในป่ารกชัฏ ที่เชื่อว่าเป็นมหานครเก่าแก่ที่สุดกว่านครใด ๆ ในแหลมอินโดไชน่า “

    ซึ่งทางรัฐบาลไทย โดย “หลวงวิจิตรวาทการ” ก็ได้ชี้แจ้งข้อเท็จจริงว่า “เมืองศรีเทพนั้น แท้จริงก็เป็นที่รู้จักในหมู่นักโบราณคดีทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาตั้งแต่ครั้งที่กรมพระยาดำรง ฯ เสด็จไปสืบหา แม้กระทั้งที่ดร. เวลส์ ที่มาขออนุญาตทำการขุดค้นสำรวจ เพื่อตรวจสอบหา “วัฒนธรรมอินเดีย” ใน “ทวารวดี” ก็ยังได้มาขอความเห็นจาก “หลวงบริบาลบุรี” ว่า ควรไปขุดที่ไหนบ้าง” จึงไม่ใช่การค้นพบของชาวอังกฤษแต่อย่างใด"

    จาก ปี 2447 จนมาถึงวันนี้ กว่า 105 ปี เมืองโบราณบาจาย – ศรีเทพ ได้ผ่านประวัติศาสตร์ของกระบวนการ สำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ ศึกษา วิจัย และ “สร้างใหม่”เปิดเป็น “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา

    เมืองศรีเทพเป็นเมืองโบราณรูปวงกลมที่มีเรื่องราว “ซ้อนทับ” ของผู้คนในช่วงเวลาต่าง ๆ มากมาย เมืองรูปวงกลมขยายออกไปทางทิศตะวันออก เป็นเมืองคู่ ”แฝด” แสดงให้เห็นการต่อเนื่องในพัฒนาการของ “บ้านเมือง” อันยาวนาน
    อีกมุมหนึ่ง เมืองศรีเทพในความเห็นของผมคือเมือง “ฝาแฝด” กับเมือง “ลพบุรี” หรือ“ละโว้ – ลวปุระ” ในลุ่มน้ำลพบุรี (และอีกหลายเมือง ที่มีปรากฏการณ์วัฒนธรรมขอมไปซ้อนทับบนชุมชนทวารวดีดั่งเดิมกลายเป็นเมืองคู่) ทั้งสองเมืองมีรูปแบบการวางผังเมืองเหมือนกัน มีแม่น้ำทางทิศตะวันตก เหมือนกัน มีการขยายเมืองออกไปทางตะวันออกเหมือนกัน และมีเส้นทางการติดต่อของ “ถนน” โบราณเชื่อมโยงถึงกัน

    สองนครนี้ คือมหานครคู่แฝดแห่ง “อาณาจักรลึกลับ” อาณาจักรที่ถูกลืมเพราะ “อคติ” ในชนชาติ !!!
    .
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เรื่องราว “นิยายนอกกรอบ” ของมหานคร “บาจาย – ศรีเทพ”และ “มหานครลวปุระ” จะเล่ากันเป็นฉากเป็นตอนในคราวต่อไป และถ้ามีโอกาสในวันใด ผมก็อยากจะเชิญชวนผู้อ่านทุกท่าน เข้าร่วมการท่องเที่ยวเชิง “สำรวจ” โดยปลดแอก “พันธนาการทางวิชาการ” ที่ล้อมกรอบให้“เชื่อ” และ “หลง” ในมุมของความเป็น “ชาติ” ที่เพิ่งปรากฏขึ้นไม่ถึง 100 ปีที่แล้ว.....ด้วยกัน

    น้ำลายฝอยเรื่องราวบางส่วนของเมืองโบราณ ”ศรีเทพ” มาจนเปียกชุ่มแล้ว ก็ขอเริ่มไขปริศนามหาสถูปพันปี “เขาคลังนอก” กันเสียทีครับ

    Kn_08.jpg [/FONT]

    ชาวบ้าน (เชื้อสายลาว – อีสาน ย้ายเข้ามาใหม่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์) รู้จัก “เขาคลังนอก”กันมานานแล้วครับ เพราะดูสัณฐานเป็น“ภูเขาใหญ่” ที่มีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ มีเศษอิฐและศิลาแลงกระจัดกระจายหนาแน่นอยู่ทั่วทั้งบริเวณ เนินเขาลูกนี้ตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศเหนือของเมืองศรีเทพประมาณ2 กิโลเมตร ใครผ่านไปมาก็แลเห็นได้ง่าย เขา“คลังใน - คลังนอก” แต่เดิมชาวบ้านจะเรียกว่า “เขานอก – เขาใน” แต่เจ้าหน้าราชการหัวเมือง คิดจินตนาการว่าเป็นที่ “เก็บทรัพย์สมบัติ” ก็เลยไปตั้งชื่อใหม่ให้ชาวบ้านเรียกตาม ว่า “เขาคลังนอก”

    Kn_09.jpg [/FONT]

    มืองศรีเทพ เป็นเขต “ขุมทรัพย์” โบราณ ด้วยรอบ ๆ เมือง เป็นแหล่งฝังศพของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในยุค 2,500 – 2,000 ปี จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ชุมชน ในหลุมศพก็มี“ลูกปัด” ทั้งหิน แก้ว โมเสค และเครื่องพลีกรรมหม้อ ไห กำไล ให้ไว้ไปใช้ในโลกหน้า แต่เมื่อมีลูกปัด ก็มีการลักลอบขุด รอบเมืองศรีเทพจึงกลายเป็น“สวรรค์” ของนักค้าวัตถุโบราณมานานแล้ว

    Kn_05.jpg

    ยิ่งรูปสลัก “ประติมากรรม” โบราณเก่าแก่ ทั้งรูป "ธรรมจักร" ขนาดเล็กไปจนใหญ่ รูปประติมากรรมบุคคลทางความเชื่อในศาสนาและส่วนประกอบสถูปศิลา ก็ถูกทิ้งให้กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ

    ชาวบ้านดั้งเดิมเล่าว่า รูปสลักธรรมจักรที่เมืองศรีเทพนี้ ...มีมากมาย แต่ละชิ้นมีร่องรอยของการถูก ”ทุบ”เพื่อ “ทำลาย” มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ไม่ใช่เพิ่งจะถูกทุบเมื่อเร็ววัน รูปประติมากรรมบุคคลเกือบทั้งหมด ก็ถูกทุบทำลายไม่ค่อยสมประกอบ แต่ก็สามารถนำ “ชิ้นส่วน” มาต่อกันได้ เอาไปขายต่อได้
    รูปธรรมจักรและยอดสถูปจำนวนมาก ถูก “ขน - เคลื่อนย้าย” ออกไป ชาวบ้านที่ทำไร่และไปพบกับธรรมจักรศิลา ฝังอยู่ในไร่นา ก็จะมีคนมาขอ “ซื้อ” ในราคาไม่สูงนัก แต่ “ราคา” นี้ก็นับว่ามากหากเป็นที่ห่างไกล ....อย่างศรีเทพ
    ในครั้งก่อน ชาวบ้านจะสร้างบ้านอาศัย “ซ้อนทับ”อยู่ในเมืองโบราณ โบราณวัตถุ เล็กน้อย ๆ วัตถุโบราณที่ทำจากหิน ซึ่งเป็นวัสดุมาจาก “อินเดีย” จำนวนมาก โดยเฉพาะ “ธรรมจักร” และ “กวางหมอบ” ก็จะมี “ใบสั่ง” จาก “ราชการ” และ “ผู้มีอำนาจ” ที่ต้องการสะสม “วัตถุทางวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่” อยู่เสมอ

    เรียกว่า หากมีของ พร้อมรับซื้อทันที !!! “ธรรมจักร” ที่เหลือให้เห็นอยู่ในวันนี้ จึงมีจำนวนไม่มากนัก แต่ในยุคบุกเบิก หินสลักอันเป็นสัญลักษณ์ของการปฐมเทศนาใน “ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน” ชาวบ้านยืนยันว่า มีอยู่เกลื่อนกลาดไปทั่วเมืองศรีเทพ.... แต่วันนี้ มันแทบไม่เหลืออีกแล้ว
    ปรากฏการณ์ “คลั่ง” สะสมประติมากรรมโบราณ ในยุคปรากฏการณ์ “ทวารวดี” ขยายตัวไปเป็นวงกว้าง ผู้คนชั้นสูงและคหบดี ข้าราชการและผู้มีอำนาจรัฐ อย่างกรณี ของนาย จิม ทอมสัน ราชาผ้าไหมไทยผู้โด่งดังที่หายตัวไปอย่างไม่มีวันกลับ ความหลงใหลในศิลปกรรม ”ทวารวดี” ของเขา ได้ก่อให้เกิด “โศกนาฏกรรม” ต่อ เหล่ารูปสลักในถ้ำหินปูน บนเขาโดดความสูงกว่า 1,500 เมตร นามว่าถ้ำ “ถมอรัตน์” ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองศรีเทพ

    Kn_06.jpg

    รูปสลักแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ แห่งลัทธิ “มหายาน” ทั้ง 11 รูป ได้ถูกกะเทาะเอาเฉพาะส่วนใบหน้าและพระกรออกไปในค่ำคืนหนึ่ง !!!

    เมื่อทนต่อแรงกดดันจากหลักฐานที่มัดแน่นไม่ไหว ในเดือน ตุลาคม 2505 นาย จึงได้มอบใบหน้าของเหล่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์กลับคือสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

    Kn_07.jpg

    "...ถ้าจะนำสิ่งของเหล่านี้ออกแสดงในพิพิธภัณฑสถาน
    นอกจากนี้ยังมีพระพักตร์ เศียรที่ชำรุดและอื่นๆ รวมอยู่ในหีบด้วย ของเหล่านี้ได้มาจากในถ้ำ 2 แห่งบนเขาถมอรัตน์ กระหม่อมยังมีส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูปนาคปรกศิลา (ประมาณ 28 ชิ้น) กระหม่อมเข้าใจว่ามาจากบริเวณเดียวกัน ซึ่งอาจมีผู้ทิ้งลงมาจากหน้าผา ถ้าพิพิธภัณฑสถานสนใจ กระหม่อมจะส่งมาให้ในโอกาสต่อไป..." ถ้ำถมอรัตน์ เป็นถ้ำโบราณที่โดดเด่น ดังที่ ดร. ควอริช เวลล์ กล่าวไว้ว่า ”มันเป็นถ้ำคูหาศิลปกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่สะท้อนให้เห็นแสงเรืองรองของอารยธรรมในดินแดนแถบนั้นในสมัยโบราณ“ แต่มันก็ได้ถูกทำลายไปอย่างถาวรตลอดกาลแล้ว
    ก่อนปี 2550 “เขาคลังนอก” ก็ประสบเหตุการณ์“ลักลอบ” ขุดหารูปประติมากรรมและทรัพย์สินอันมีค่า เป็นหลุม “โพรงลึก” ทั่วไปทั้งเนินเขา จะหนักก็อยู่ตรงกลางเนิน ที่เป็นยอดของสถูปก่ออิฐ ชาวบ้านเล่าว่า ในการลักลอบขุดในยามค่ำคืน เคยมีการพบรูปประติมากรรมประดับเจดีย์ เป็นพระพุทธรูปยืนและปูนปั้น ประกอบเรื่องราวของ “ปู่โสม” เฝ้าสมบัติที่ดูเป็นเหมือนนิยาย แต่ชาวบ้าน (ซึ่งเคยเป็นคนขุดคนหนึ่ง) ก็ยืนยันว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง แต่เป็นเรื่องของคนในพื้นที่ที่เป็นเพื่อนกันขึ้นไปขุดหาสมบัติ แต่สุดท้ายก็ฆ่ากันตายเองเพราะ “ความโลภ”

    Kn_10.jpg

    Kn_11.jpg
    Kn_11.jpg
    Kn_12.jpg

    [

    ในยุคบุกเบิก นักโบราณคดีชาวต่างประเทศ สันนิษฐานว่า “เขาคลังใน – เขาคลังนอก” เป็นฐานของปราสาทแบบ “พีระมิด”ในศิลปะแบบขอมโบราณ ที่นิยมสร้าง “เขาไกรลาส” ไว้ที่จุดศูนย์กลางของเมือง

    ในปี 2551 กรมศิลปากร ได้ทำการขุดลอกหน้าดิน ขุดค้นและทำการศึกษาทางโบราณคดี เผยโฉม “สิ่ง” ที่ซ้อนอยู่ใต้เนินดินมานานนับพันปี

    เมื่อ “สถูปโบราณ” ปรากฏขึ้นแก่สายตา ทั้งความสมบูรณ์ของตัวอาคาร รูปแบบศิลปกรรมอินเดีย ที่ไม่เคยปรากฏในที่แห่งใดของอุษาคเนย์ และขนาดที่ใหญ่โต ก็ได้สร้างความ “ตื่นตะลึง” และความ “แปลกใหม่” ให้กับวงการโบราณคดีและการท่องเที่ยว

    ก็จะไม่ให้ตื่นตะลึงได้อย่างไรล่ะครับ ในเมื่อมหาสถูปแห่งนครบาจายแห่งนี้ มีขนาด ความยาวฐานด้านละ 64 เมตร ใหญ่กว่าพีระมิดที่ "เกาะแกร์" ที่มีความยาวเพียง 55 เมตร !!!

    ชวนให้ตื่นตะลึงต่อมาก็คือ “แผนผัง” ของมหาสถูป มีสัณฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีการ “ยกเก็จ” หรือ “เพิ่มมุม” ในแต่ละด้าน ใช้ “ศิลาแลง” เป็นวัสดุหลัก แต่ละก้อนก็สัมผัสได้ถึงความ“ละเมียดละไม” ในการตัดแต่งก้อน “แลง” จากใต้ธรณี มาบรรจงตัดเป็นก้อนโกลน เข้าเหลี่ยมเข้ามุมได้อย่างคมกริบ


    Kn_22.jpg


    Kn_23.jpg

    ที่ฐานศิลาแลง มี “มุข” ยื่นออกมาเป็น “กระเปาะ” หรือ “ยกเก็จ” ทำเป็นรูป “ซุ้มบัญชร” อาคารจำลองที่มีเสาประดับหลายขนาด วางซ้อนลดหลั่นกันโดยรอบ ซุ่มอาคารเหล่านี้แทนความหมายของ “ปราสาท” ของเหล่า “พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์” ที่อยู่รายรอบ “สรวงสวรรค์” ตาม “มณฑล” แห่ง “พระอาทิพุทธเจ้า” ใน “ลัทธิมหายาน” นั่นเอง



    อ้างอิง

    http://www.oknation.net/blog/voranai/2009/09/25/entry-1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2017
  4. Little Duck

    Little Duck เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +1,981
    สวัสดีค่ะ คุณวสุธรรม ..

    มาให้กำลังใจเจ้าของกระทู้ ..

    WITH LOVE ..
     
  5. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    Kn_42.jpg

    Kn_43.jpg

    ซุ้มบัณชรรูป "เกือกม้า" หรือ "กูฑุ" เจดีย์หมายเลข 26 หมู่ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves)ในอินเดียเหนือ - ตะวันตก

    Kn_44.jpg

    Kn_45.jpg

    ยอดบนของแต่ละซุ้มปราสาท หรือ “ศิขร”นั้น มีซุ้มรูปเกือกม้าที่เรียกว่า"กูฑุ (Kudus)" ศิลปะแบบอินเดียดั่งเดิม เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็น “เรือน” หรือ “ที่อยู่” อันได้แก่ "ปราสาทของเหล่าเทพเจ้า" รูปแบบของซุ้มปราสาทยอดกูฑุ มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ฐานเสาธรรมจักร (?) ศิลาขนาดใหญ่ ที่พบในเขตเมืองนครปฐมโบราณ ที่มีรูปซุ้มบัณชรปราสาทโดยรอบฐานยกเก็จ ซึ่งมีความหมายเดียวกัน นั่นคือที่สถิตของเหล่าเทพยดาที่แวดล้อมสรวงสวรรค์นั่นเอง
    Kn_14.jpg

    ฐานธรรมจักร (?) หินชีสต์อินเดียสีเขียวขนาดใหญ่ทำเป็นฐานยกเก็จหรือมุขยื่น
    มีเรือนปราสาทและยอดซุ้มบัญชร ที่มีใบหน้าเทพยดา ศิลปะแบบอินเดียดั่งเดิม
    มีลักษณะทาง ประติมานวิทยา "Iconology" คล้ายคลึงกับ "มหาสถูปเขาคลังนอก"

    Kn_17.jpg

    มุมมหาสถูปทางทิศตะวันตก
    .
    Kn_18.jpg

    มุมทางทิศเหนือ
    .
    ฐานของมหาสถูปเขาคลังนอก เป็นฐาน "ศิลาแลง" 2 ชั้น สูงประมาณ 5 เมตร ไม่ปรากฏร่องรอยของปูนปั้นประดับอย่างที่พบที่ “เขาคลังใน” ชั้นบนเป็น “ลานประทักษิณ” (ประกอบพิธีกรรม เดินวนรอบ) มีฐานอิฐรับยอดเจดีย์อีก 1 ชั้น รวมเป็น 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ บันไดมีผนังข้างเป็นชั้นรองเครื่องไม้หลังคา ปากทางขึ้นราวบันไดมีฐานของรูปสลักที่น่าจะเป็นรูปสิงห์คู่ ฐานโค้งเป็นบัว คล้ายกับศิลปะของกรีก - โรมัน ลานประทักษิณชั้นบนสุดของแต่ละทิศมี "ซุ้มประตูโค้ง" ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มุมของกำแพงแก้ว ก่อศิลาแลงเป็นฐาน เพื่อรองรับเจดีย์ขนาดเล็กที่ประดับไว้ตามมุม

    Kn_24.jpg


    Kn_52.jpg

    ในส่วนของฐานสถูปที่สร้างด้วยอิฐชั้นบนทางทิศตะวันออก ระหว่างการขุดค้น ได้พบรูปประติมากรรม พระพุทธรูปประทับยืน “ปางวิตรรกะมุทรา” หรือ “ปางแสดงธรรม 2 พระหัตถ์” สลักขึ้นจากหินชีสต์อินเดียสีเขียวอ่อน ขนาดสูง 57 ซ.ม. กว้าง 16 ซ.ม.

    Kn_36.jpg


    “ปางแสดงธรรม 2 พระหัตถ์” เป็นเอกลักษณ์สำคัญของศิลปกรรมแบบทวารวดีครับ จึงทำให้เราพอจะ “ไขปริศนา” อายุการสร้างของมหาเจดีย์องค์นี้ได้แม่นยำมากขึ้น

    เหนือขึ้นไปจากฐานอิฐ ด้านบนสุดน่าจะเป็นสถูป “ทรงโดมกลม” ที่เรียกว่า “อัณฑะ” (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า “องค์ระฆัง”) “สถูป” มีความหมายถึงเนินดินที่พูนขึ้นเหนืออัฐิของผู้ตาย (ส่วน ”เจดีย์” ก็คือ “อุเทสิกะเจดีย์” เป็นที่เสมือนระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับพระพุทธบาทและพระพุทธรูป) ด้านบนสุดเป็นฐาน “บรรลังก์” ที่พัฒนาศิลปะขึ้นมาจากรูปของ “รั้ว” ที่ล้อมรอบ “เศวตฉัตร” เครื่องยศแห่งพระพุทธองค์

    สูงสุดของเขาคลังนอก น่าเป็นรูปศิลาสลักศิลาขนาดใหญ่ ทำเป็น “เศวตฉัตร” ศิลา แห่งองค์พระพุทธเจ้า ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นแว่นชั้น ๆ และพัฒนาศิลปะมาเป็น“ปล้องไฉน” เป็นปล้อง ๆ บนยอดเจดีย์ในยุคต่อมาครับ

    ผมได้ไปพบกับยอดสถูปขนาดใหญ่ ทำจากหินชนิดเดียวกันกับพระพุทธรูปที่พบที่ฐานย่อเก็จ ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี เจ้าอาวาสท่านเล่าว่า มีข้าราชการใหญ่นำมาถวาย บอกชัดเจนว่า .....มาจากเมืองศรีเทพ

    เสียดายที่ผมเอาลูกปัด (ใหม่) ไปร้อยปิดเอาไว้เอง และก็ไม่ได้ถ่ายรูปไว้แต่แรก ก็คงจะมีแต่รูปวาดมาอวด มาเดา มาสันนิษฐานกับท่านผู้อ่านว่า“ยอดสถูปศิลาเก่าแก่ที่วัดบุดดา" เมืองสิงห์บุรี อาจจะเป็นยอดฉัตรของมหาสถูปแห่งเมือง “ศรีเทพ” นี้.....ก็เป็นได้
    แต่ในความเป็นจริง ก็ยากที่จะสันนิษฐานคาดเดารูปแบบสถาปัตยกรรม เพราะส่วนของสถูปอิฐด้านบน ได้พังทลายลงมาทั้งหมดแล้ว ในวันนี้ก็คงเหลือแต่แกนในให้เราเห็น ..... ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นจึงเป็น “จินตนาการ” ของผมเองครับ
    ในภาพรวม มหาสถูป “เขาคลังนอก” มีรูปแบบการวางผังแบบมณฑลจักรวาล ตามคติความเชื่อในลัทธิมหายาน ฐานสามชั้น ( ศิลาแลง 2 อิฐ 1 ) อาจแทนความหมาย “ตรีกาย” ของพระพุทธเจ้า อันได้แก่ ธรรมกาย – สัมโภคกาย – นิรมาณกาย“มหาสถูป” น่าจะรับอิทธิพลการก่อสร้างมาจาก ราชวงศ์ “ไศเลนทร” บนเกาะชวา จึงมีความหมายของ “ประติมานวิทยา” เช่นเดียวกับ "มหาบุโรพุทโธ”ที่เชื่อว่าแผนผังของบุโรพุทโธคือ “จักรวาล” และอำนาจของ “พระอาทิพุทธเจ้า” อันได้แก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน แบ่งจักรวาลออกเป็น 3 ตอน

    ฐานชั้นล่างหมายถึง “กามธาตุ” ชั้นรองขึ้นไปคือ “รูปธาตุ” ชั้นบนสุดคือ “อรูปธาตุ" พระอาทิพุทธเจ้าของมหายานมี 3 รูป (ตรีกาย) ตรงกับธาตุทั้งสามนี้


    “ธรรมกาย” ตรงกับ “กามธาตุ” , “สัมโภคกาย” (ประกอบด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์) ตรงกับ “รูปธาตุ” และ “นิรมานกาย” (ประกอบด้วยพระมนุษิพุทธะ) ตรงกับ “อรูปธาตุ”

    ชั้นศิลาแลงก็จะมี “วิมานหรือปราสาทศิขร” ยอด “ซุ้มบัณชร” ทรงเกือกม้า เป็นที่ประทับของเหล่า พระโพธิสัตว์ ,พระมนุษิพุทธะสี่พระองค์ ได้แก่พระโกนาคมทางทิศตะวันออก, พระกัสสปะทางทิศใต้, พระศรีศากยมุนีทางทิศตะวันตก, พระศรีอาริยเมตไตรยทางทิศเหนือ ,พระธยานิพุทธะห้าพระองค์ คือ “พระอักโษภวะ" ปางมารวิชัยทางทิศตะวันออก, "พระรัตนสัมภวะ" ปางประทานพรทางทิศใต้, "พระอมิตาภะ" ปางสมาธิทางทิศตะวันตก” “พระอโมฆาสิทธะ" ปางประทานอภัยทางทิศเหนือ และ“พระธยานิพุทธไวโรจนะ” ปางปฐมเทศนา” ทิศเบื้องบน
    .
    ชั้นบนสุด เป็นชั้น “อรูปธาตุ” ไม่มีตัวตน เป็นที่สถิตของ“พระอาทิพุทธเจ้า” (อาทิหมายถึงต้นกำเนิดของสรรพสิ่งบนโลก) ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า “สูงสุด” ในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานขนาดของมหาสถูปเขาคลังนอก มีความกว้าง – ยาว เป็นครึ่งหนึ่งของ “มหาบุโรพุทโธ” ศิลปะของที่นี่จึงดูเหมือนจะผสมผสานระหว่างศิลปะดั่งเดิมของลัทธิ “มหายาน” ของอินเดีย กับศิลปกรรมแบบศรีวิชัยของ “มหาบุโรพุทโธ”

    ที่มีความเหมือนกับบุโรพุทโธ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การปรากฏของ “ปลายหัวมกร (มะกะระ)” หรือ “ปลายมกรคลายสิงห์” สัตว์ชั้นสูงแห่งเทพเจ้าฮินดูที่นิยมสลักประดับตามปลายมุมฐานปัทม์ ก็มาปรากฏเป็นรูปโกลนแหลมเชิด ตามมุมต่าง ๆ ทั้งของซุ้มยอดกูฑุ และฐานทั่วไป


    หลายคนเมื่อมาเยือนและได้มาพบเห็นกับ “ยอดโกลนแหลมเชิด” นี้ ก็มักจะคิดถึง “รูปสลักมกรปลายมุม” ที่มหาบุโรพุทโธกันแทบทุกคน

    เราจึงอาจเรียกมหาสถูปเขาคลังนอกว่า “บุโรพุทโธน้อย”หรือ “บุโรพุทโธเมืองไทย” ก็คงไม่น่าอายนัก หรือจะเรียกว่า “มหาพีระมิดทวารวดี” ก็คงได้
    ด้วยสถาปัตยกรรมมที่มีขนาดใหญ่และโดดเด่น สอดรับกับแนวคิดในเรื่อง “ค่ายชุมชนอาณานิคม” ของชาวอินเดียโบราณจากชมพูทวีป ที่เดินทางเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ ในยุคพุทธศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา แต่ละ “กลุ่ม” มีการแข่งขันและแย่งชิงทรัพยากร แรงงาน และอำนาจการเมืองอยู่ตลอดเวลา (อ่าน”แนวคิด” ก่อนจะมาเป็น “ทวารวดี” ของผม ได้จาก Entry นี้ครับ

    http://www.oknation.net/blog/voranai/2009/09/08/entry-1

    กลุ่มชนผู้สร้าง “เขาคลังนอก” น่าจะเป็น "ชาวอินเดียโพ้นทะเล" ที่มาอาศัยยังเกาะชวา แล้วเดินทางต่อมายังปากน้ำสัก เดินทางคาราวานมายังเมืองบาจาย – ศรีเทพ แล้วก็ได้ตั้งถิ่นฐานท่ามกลางชุมชน “โคตรตระกูล” พื้นเมืองและลูกผสมเก่าแก่ดั่งเดิม ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้วมากมายรอบบริเวณเขาคลังนอก ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีเมืองรูปวงกลมเกิดขึ้น
    ชาวอาณานิคมกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ศรัทธาในลัทธิ “มหายาน” เช่นเดียวกับที่มหาบุโรพุทโธบนเกาะชวา จึงได้สร้างมหาสถูปขึ้น “ครั้งแรก” ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 -13 ด้วยศิลปะแบบปาละ - โจฬะ (เรือนบัญชรศิขระกับยอดกูฑุ กูฏะ) ผสมกับศรีวิชัย - ชวา (ปลายมกร)

    Kn_01.jpg


    แต่กลุ่มชนผู้ศรัทธาในลัทธิมหายาน ผู้รังสรรค์ศิลปะที่เขาคลังนอกและถ้ำถมอรัตน์ ก็คงมีอิทธิพลอยู่ได้ประมาณกว่าศตวรรษ เมื่อปรากฏกลุ่มอินเดียผสมชาวพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ ได้เข้ามาสู่พื้นที่ ก็ได้ “กลืน” มหาสถูปมหายาน แปลงฐานเจดีย์เดิม นำ ”ธรรมจักร” แบบนิกายเถรวาท เข้ามาประดิษฐาน (ปัจจุบันย้ายมาจัดแสดงกลางแจ้งอยู่ที่หน้าเขาคลังใน) “รื้อ”หรือ “ปฏิรูป” สถูปเก่าที่สร้างด้วยศิลาแลงและ “สร้าง” สถูปอิฐขึ้นใหม่ด้านบนตามแบบแผนเจดีย์ทวารวดีสายเถรวาท ปรากฏหลักฐานเป็นพระพุทธรูปปางวิตรรกะประดับองค์เจดีย์ที่ขุดพบ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีในยุคหลังพุทธศตวรรษที่ 14 หรือราว 1,200 ปี มาแล้ว

    การเปลี่ยนแปลงมหาสถูป “เขาคลังนอก”เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้าง "มหาวิหารเขาคลังใน" ในช่วงเริ่มต้นของเมืองรูปวงกลม พัฒนาขึ้นเป็น “เมืองเริ่มแรก” ในภูมิภาคสุวรรณภูมิ

    แล้วจนถึงเมื่อ ...คราวหนึ่ง บ้านเมืองศรีเทพเริ่มเสื่อมถอย จากทั้งภัยธรรมชาติ ความแห้งแล้ง ศัตรูพืช โรคระบาด มนุษย์ และ “สงคราม” มหาสถูปเขาคลังนอกปรากฏหลักฐานร่องรอยของการทิ้งร้าง มีความขัดแย้ง มีการทุบทำลาย ประติมากรรมแตกหัก จนแทบไม่ปรากฏรูปสลักใด ๆ ที่สมบูรณ์หลงเหลืออยู่บนพื้นดิน
    เจดีย์แห่งพระ “อาทิพุทธเจ้า” ก็เริ่มพังถล่มลงรอบข้าง ผสมกับดิน อิฐ สายฝน ลมพายุ น้ำหลากและอากาศร้อนชื้น ได้เร่งนำพาให้ธุลีดินมาพอกพูนสะสม เป็นฐานรากให้ไม้ใหญ่น้อยเลื้อยไล่ไปทั่วบริเวณ เติบโตขึ้นเป็นป่ารกชัฏปกคลุมฐานมหาสถูป เก็บงำเรื่องราวในอดีตไว้เป็น “ปริศนา” ยาวนานมากว่าพันปี
    เชื่อว่าในวันนี้ ท่านผู้อ่านก็คงจะได้คลี่คลาย“ปริศนา” มหาสถูปพันปีแห่งเมืองศรีเทพนี้ ไปพร้อม ๆ กับเรื่องราว “นอกกรอบ” ที่ขอร้องให้ “อย่าเชื่อ” โดยเด็ดขาดแล้ว
    เอาเป็นว่า ผม “ชวน” ไปดูด้วยตาของตัวเอง ไปสัมผัสกับกลิ่นอายจริง ชมเรือนปราสาทยอด “วงเกือกม้า” ที่ประทับของเหล่าพระพุทธเจ้า พระมานุษิพุทธะ พระธยานิพุทธะ พระโพธิสัตว์ ท่องเที่ยว“บุโรพุทโธแห่งเมืองไทย” และชม “เมืองศรีเทพ” .......กันอย่าง “ถึงใจ” สักครั้ง.....เอาไหมครับ !!!

    เครดิต Posted by ศุภศรุต ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ
    http://www.oknation.net/blog/voranai/2009/09/25/entry-1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2017
  6. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    สวยมาก ๆ ค่ะ
     
  7. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    อนุโมทนา สาธุ อิสานตอนบนยังไม่ค่อยเจอเท่าไหร่แต่ก็เก่าแก่น่าดู ถ้ารัฐสนใจให้มากกว่านี้ เช่นเมืองมหาศาล เจริญปุระนคร หนองหารหลวง ศรีโคตรบูรณ์ เมืองสาเกตุ เมืองเวียง เมืองละโว้ เมืองพระยืน เมืองมัญจาคีรีนคร ฯลฯ
     
  8. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เมืองเก่าศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

    ชื่อ
    เมืองเก่าศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

    สถานที่ตั้ง
    เมืองศรีเทพ เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ห่างจากฝั่ง ซ้ายของแม่น้ำป่าสักประมาณ ๘ กม.

    [​IMG]

    ประวัติความเป็นมา
    ปัจจุบันเมืองโบราณศรีเทพ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซากเมืองโบราณนี้ถูกพบครั้ง แรกในขณะที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเดินทางไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ ใน พ.ศ.๒๔๔๘ ลักษณะของเมืองโบราณมีคูน้ำและกำแพงดินขนาดใหญ่มากล้อมรอบ เป็นรูปวงกลมซ้อนกันอยู่ ๒ วง ซึ่ง สันนิษฐานกันว่าแนวคูเมือง กำแพงเมืองที่ซ้อนกันนั้น จะเป็นการขยายตัวของชุมชนในภายหลัง โบราณ สถานที่พบทั้งที่อยู่ภายในเมืองและนอกเมืองนั้นมีกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงความหนาแน่นของ ประชากร และโบราณสถานเหล่านั้นได้ชี้ให้เห็นถึงลำดับสมัยและช่วงระยะเวลาของการก่อสร้างที่แตกต่างกัน ประกอบกับโบราณวัตถุจำนวนมากที่พบทั้งที่เป็นประติมากรรมเนื่องในศาสนา ซึ่งมีความงดงามยิ่งกว่าที่พบ ในแห่งใด ๆ และวัตถุหลักฐานอื่น ๆ ทำให้สรุปได้ว่าเมืองศรีเทพเป็นชุมชนที่มีพัฒนาการที่ติดต่อกันมาเป็น เวลายาวนาน นับตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา และถูกทอดทิ้งร้างไปใน ที่สุดหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘

    [​IMG]

    ลักษณะทั่วไป
    ลักษณะผังเมืองประกอบไปด้วยพื้นที่ ๒,๘๘๙ ไร่ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ เมืองส่วนในและเมืองส่วน นอก เมืองส่วนในมีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ กม. มีช่องทางเข้าออก ๘ ช่องทาง พื้นที่ภายในเป็นที่ราบลอนคลื่น มีสระน้ำและหนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป มีโบราณสถานที่ขุดแต่งแล้วและยัง ไม่ได้ขุดแต่งประมาณ ๗๐ แห่ง ส่วนเมืองชั้นนอกลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน มีช่องทาง เข้าออก ๗ ช่องทาง มีโบราณสถานกระจายอยู่แบบเดียวกับเมืองส่วนใน เช่น โบราณสถานเขาคลังใน ปรางค์ ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง เป็นต้น ปัจจุบันได้รับการบูรณะและตกแต่งบริเวณสวยงาม เป็นแหล่งศึกษาประวัติ ศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจยิ่ง

    [​IMG]

    หลักฐานที่พบ
    ๑. ปรางค์ศรีเทพ
    เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์ สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ส่วนฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมร ทั่ว ๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้ พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖- ๑๗ ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการพยายาม จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่ไม่สำเร็จโดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย

    [​IMG]

    ๒. ปรางค์สองพี่น้อง ลักษณะเป็นปรางค์ ๒ องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศ ตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูเข้าทางเดียว จากการขุดแต่งทางโบราณคดีพบทับหลังที่มีจำหลัก เป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช อายุของปรางค์อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖- ๑๗ เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนของนครวัดและได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับ กำแพงแก้วล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่อยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางนี้ โดยเสริมทางด้านหน้าให้ ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น

    ๓. โบราณสถานเขาคลังใน ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นผังพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุ ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคลและสัตว์ประดับ เป็นศิลปะแบบทวาราวดี จาก ลักษณะผังเมืองจะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมืองเช่นเดียวกับเมืองทวาราวดีอื่น ๆ เช่น นครปฐม โบราณ เมืองคูบัว ราชบุรี และ จากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย มีลักษณะแบบเดียวกับเมืองคูบัว โบราณ บ้านโคก จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี อายุสมัยการก่อสร้างประมาณพุทธ ศตวรรษที่ ๑๑-๑๒

    ๔. เขาถมอรัตน์ เป็นเขาเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำป่าสัก ที่ตำบลสระกรวด อำเภอ ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ห่างจากถนนลำนารายณ์-เพชรบูรณ์ ประมาณ ๗ กม. เกือบถึงยอดเขามีถ้ำ ปาก ถ้ำอยู่ทางทิศเหนือ ภายในถ้ำมีความกว้างขวางพอสมควร มีเนื้อที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๑๐ เมตร ความลึกประมาณ ๒๑ เมตร เพดานถ้ำสูงราว ๑๒ เมตร ตรงกลางมีหินย้อยเป็นเสาใหญ่ ตั้งอยู่ในถ้ำมี ภาพจำหลัก พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ สมัยทวาราวดี มีพระพุทธรูปประทับยืนสูงประมาณ ๒ เมตรเศษ และมีรูปสลักพระพุทธรูปยืนขนาดเล็ก และพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิรวมทั้งหมด ๑๑ องค์

    เส้นทางเข้าสู่เมืองเก่าศรีเทพ
    เมืองเก่าศรีเทพอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๒๒๙ กม. ห่างจากอำเภอวิเชียรบุรี ประมาณ ๒๕ กม. และห่างจากอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ๑๑๗ กม. ริมทางสายสระบุรี-หล่มสัก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑) แยกขวามืออีก ๘ กิโลเมตรจะถึงแยกขวาเข้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองศรีเทพ ระยะทาง ๑ กม.

    อ้างอิง
    ྪú
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2017
  9. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,281
    ค่าพลัง:
    +2,145
    ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล ถ้ามีโอกาสจะต้องไปเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพแน่นอน
     
  10. Powernext

    Powernext เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +3,290
    โมทนาสาธุกับคุณวสุธรรมครับ..
    มีโอกาสควรไปสัมผัสพลังเทพครับ..
     
  11. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เมืองนี้ ได้ถูกเทพเทวดาสร้างใช่ไหมครับ
     
  12. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    อนุโมทนา....ครับ

    เคยไปเยือนเมืองศรีเทพครั้งหนึ่ง
    ยิ่งใหญ่อลังการตามที่โพสต์ไว้ ทุกประการ

    เชื่อว่าในอนาคตคงมีการขุดค้นพบสถูปอื่นๆตามมาอีก
    เพราะยังเป็นบริเวณที่รกร้างมาก
     
  13. Thepkanya

    Thepkanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2008
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +10,071
    เมื่อปีที่แล้ว (2552) ลืมตาตื่นตอนเช้ามืด โดยรำพึง คำออกมา ว่า...ศรีเทพ และตอนเช้าได้ค้นคว้า หารายละเอียดของคำ ๆ นั้น จึงพอรู้จักขึ้นมา ระดับหนึ่งแล้วลืมเรื่องนี้ไป เคยเล่าไว้ ในกระทู้.....ด้วย

    แล้วมาวันนี้ ก็มาเจอ คำ ๆ นี้อีก เลยเข้ามาอ่านได้รับความรู้กระจ่างกว่าเดิม และ ได้เห็น ภาพ....ที่ทรงนั่งห้อยพระบาท จากรูปที่โพสต์ไว้....ซุ้มบัณชรรูป "เกือกม้า" หรือ "กูฑุ" เจดีย์หมายเลข 26 หมู่ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves)
    คล้ายภาพ พระพุทธเจ้า นั่งแสดงเทศนา ที่ ถ้ำเขางู ไม่ทราบเกี่ยวกันไม่หรือไม่อย่างไร แต่คิดว่า วันหนึ่งจะหาโอกาสไปชมสถานที่จริง ต้องขออนุโมทนาบุญ กับ ท่านวสุธรรม ด้วย
     
  14. Thepkanya

    Thepkanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2008
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +10,071
    เอ/. พอกลับมาอ่านทบทวนดูใหม่ รู้สึกว่า จะเป็น จิกซอมาต่อภาพอะไรบางอย่าง....ต้องอนุโมทนาบุญกับกายเนื้อ และ เทพเทวดาที่เกี่ยวข้องกับท่านวสุธรรมด้วยจริง ๆ การที่อยู่ ๆ ก็มาเปิดกระทู้นี้ คงไม่บังเอิญแน่ ๆ
     
  15. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เมืองอภัยสาลี

    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->[​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ


    [​IMG] [​IMG]
    หินแกะสลัก


    [​IMG] [​IMG]
    ศิลาจารึกหิน


    [​IMG] [​IMG]
    ปรางค์สองพี่น้อง


    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อปี พ.ศ. 2447-2448 เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 2 รางวัลคือ รางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยมและรางวัลสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านอินเทอร์เน็ตดีเด่น

    สถานที่ตั้ง
    เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 107 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอวิเชียรบุรีประมาณ 25 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณสองพันไร่เศษ มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ ในสมัยก่อนเมืองศรีเทพต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ เพื่อนำไปใช้ทำน้ำพิพัฒยสัตยา เพราะถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
    การสำรวจทางโบราณคดี

    กรมศิลปากรได้ดำเนินการ สำรวจ ขุดค้น ศึกษา และพัฒนาบรรดาโบราณสถานและโบราณวัตถุในเมืองศรีเทพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยทำการการบูรณะ และบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างให้มั่นคงถาวร
    ประติมากรรมศิลาที่ค้นพบที่เมืองศรีเทพ ได้นำมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนใหญ่ของประติมากรรมดังกล่าวเป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ เช่น เทวรูปพระนารายณ์ พระกฤษณะ และพระอาทิตย์ เป็นต้น สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ศิลาจารึกที่มีลักษณะคล้ายเสาหลักเมือง จารึกเป็นภาษาสันสกฤต ยังไม่ทราบความหมาย ตัวอักษรมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11 ส่วนศิลาจารึกอีกสองหลักที่อ่านได้ หลักแรกกล่าวถึงพระเจ้าภววรมัน ตัวอักษรที่จารึกอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ส่วนอีกหลักหนึ่งจารึกเป็นอักษรขอมอายุประมาณ พุทธศตวรรคที่ 15-16 ได้กล่าวถึงชื่อบุคคลเกี่ยวกับอิทธิพลของขอม ศิลปะขอมสมัยบายนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-ประมาณ พ.ศ. 1760) เช่นรูปทวารบาลศิลา ดังได้กล่าวแล้วว่าเมืองโบราณศรีเทพเป็นเมืองสองชั้น คือมีเมืองในและเมืองนอก
    เมืองในเป็นส่วนที่สำคัญของเมืองศรีเทพ เพราะประกอบไปด้วยโบราณสถานขนาดใหญ่ถึง 77 แห่ง มีช่องทางเข้าออกได้ 8 ช่องทาง และมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป รูปร่างของเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละประมาณ 1600 เมตร ส่วนเมืองนอกอยู่ทางทิศตะวันออก โดยมีคูน้ำกั้นอยู่มีช่องทางเข้า - ออก อยู่ 7 ช่องทางและมีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไปเช่นกัน มีโบราณสถานที่พบแล้วอยู่ 57 แห่ง เมืองนอกนี้มีขนาดใหญ่กว่าเมืองใน ทั้งสองเมืองนี้มีเชิงเทินที่ก่อด้วยดินและศิลาแลงล้อมรอบ สูงประมาณ 6 เมตร ฐานกว้าง 18-27 เมตร และส่วนยอดกว้าง 5-9 เมตร นอกเชิงเทินมีคูเมืองล้อมรอบ ส่วนที่กว้างสุดประมาณ 90 เมตร มีประตูทั้งหมด 11 ประตู แต่ละประตูกว้างประมาณ 18 เมตร
    จากการขุดค้นทางโบราณคดีซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในชั้นดินระดับลึกสุด (ชั้นดินทราย) ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ 5 โครง โครงหนึ่งเป็นเพศหญิงนอนหงาย หันศีรษะไปทางทิศเหนือ มีกำไลสำริดคล้องแขนซ้ายบริเวณข้อศอก และมีเครื่องประดับทำด้วยหินสีส้มคล้องคอ รอบโครงกระดูกมีลูกปัดกระจายอยู่โดยรอบ จึงอาจกล่าวได้ว่าเมืองศรีเทพนี้มีความเก่าแก่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคประวัติศาสตร์ก็มีความสำคัญมาแต่โบราณกาล อาจเป็นเมืองที่ชาวอินเดียมาตั้งขึ้นแต่เดิม เพราะอยู่บนเส้นทางผ่านจาก ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรขอม ต่อมาขอมได้เข้าครอบครองจนกระทั่งขอมหมดอำนาจลง และเมืองศรีเทพได้ถูกทอดทิ้งเป็นเมืองร้างประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 18
    โบราณสถานและสถานที่สำคัญ

    ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ

    อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านขวามือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)
    ปรางค์ศรีเทพ

    เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่ว ๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย
    สระแก้วสระขวัญ

    สระแก้วจะอยู่นอกเมืองไปทิศเหนือ ส่วนสระขวัญจะอยู่ในบริเวณเมืองส่วนนอก สระน้ำทั้งสองสระนี้มีน้ำขังตลอดปี และเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการนำน้ำทั้งสองสระนี้ไปทำน้ำพิพัฒน์สัตยา ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน
    โบราณสถานเขาคลังใน

    เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถานบ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง ลักษณะทางผังเมืองจะคล้ายกับเมืองทวารวดีอื่น ๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองคูบัวที่ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย แบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูคล้าย
    ปรางค์สองพี่น้อง

    ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น
    นอกจากนี้ระหว่างองค์ปรางค์ทั้งสองแห่งคือปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพจะมีกำแพงล้อมรอบ และมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผัง ในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย
    อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี

    จัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูกช้างที่ได้ขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. 2531


    โบราณสถานอื่นๆ

    นอกจากโบราณสถานหลักแล้วยังมีโบราณสถานย่อย ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ทิศใต้ของเขาคลังใน พบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง พบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น และพบโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี ซึ่งได้มีการก่อสร้างทับในระยะที่รับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา จึงเห็นได้ว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็นเมืองแบบทวารวดีและมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางทิศใต้ยังพบอาคารมณฑปแบบทวารวดีขนาดใหญ่ และมีการพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นเทวาลัยประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ
    การเดินทาง

    การเดินทาง เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 130 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 21 (เฉลิมพระเกียรติ-หล่มสัก) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่ด้านขวามือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00–16.30 น. โทร. 0-5679-1787
    อัตราการเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

    • ค่าเข้าชมชาวไทย 20 บาท
    • ชาวต่างประเทศ 30 บาท
    • รถยนต์ 30 บาท
    เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.
    อ้างอิง

     
  16. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    นับเป็นความโชคดีที่เมืองโบราณนี้ได้ถูกค้นพบ แม้จะมีการลักลอบขุดสมบัติ และของมีค่า อันจะเป็นหลักฐานในการค้นหาประวิติศาสตร์ไปขาย แต่ก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นหลักในการค้นหาคือสิ่งก่อสร้าง ที่สร้างด้วยอิฐ หิน เหล็ก หรือแม้แต่เศษไม้เพียงไม่กี่ชิ้น ที่ยังคงสภาพ ให้เห็น

    สันนิฐานว่า เมืองศรีเทพที่ยิ่งใหญ่นี้ เดิมนับถือลัทธิศาสนาฮินดู ซึ่งมาจากทางอินเดีย โดยจะเห็นการสร้างสถูปและปรางค์ ด้วยหินในบริเวณที่เป็นใจกลางเมือง (คล้ายกับศิลปะของเขมรที่นครวัด) ซึ่งถือเป็นเขตสำคัญทางศาสนา ( คล้ายส่วนที่เป็นที่ตั้งของ พระบรมหาราชวัง และวัดพระแก้ว ในปัจจุบัน) ส่วนรอบๆเมืองซึ่งเป็นทั้งตั้งของบ้านเรือนของประชาชน ที่อาศัยส่วนใหญ่ถูกสร้างด้วยไม้ ซึ่งถูกกักร่อนทำลายให้ผุพังไปตามกาลเวลาจนหมด เหลือให้เห็นเป็นเพียงที่ราบรอบเทวสถาน และสระน้ำ ของชุมชนเท่านั้น

    ความที่เมืองศรีเทพมีอายุยาวนาน ( ศรีเทพ 800 ปี กรุงศรีอยุธยา 420 ปี กรุงเทพฯ 250 ปี ) จึงมีการเปลี่ยนแปลงด้านการปกครอง ศาสนา และวัฒนธรรมขึ้นหลายครั้ง ดังจะเห็นว่า นอกจากเทวรูปในศาสนาฮินดูแล้ว ยังมีการพบหลักฐานทางพุทศาสนาลัทธิมหายานอีกด้วย ซึ่งคาดว่าคงเข้ามาในระยะหลังก่อนการล่มสลายของชุมชน

    จากการขุดค้นหลักฐาน พบว่าใต้สถูป และปรางค์ ที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนา มีการฝังรูปสลักหินซึ่งเป็นรูปของพระศิวะ พระอาทิตย์ และรูปเคารพอื่นๆในศาสนาฮินดูไว้ โดยครั้งหนึ่งรูปเคารพเหล่านี้ได้ถูกประดิษฐานไว้ในพระปรางค์ และศาสนสถานเหล่านั้น แต่ภายหลังเมื่อพุทธศาสนาได้เข้าในในชุมชน จึงมีการนำพระพุทธรูปเข้ามาไว้แทนที่รูปเคารพเหล่านั้น หลักฐานที่มีค่าที่ค้นพบคือพระพุทธรูปที่ทำจากสัมฤทธิ์ที่มีรูปลักษณ์ต่างจากพระพุทธรูปในยุคอยุธยา และโบราณวัตถุที่ทุกคนจะต้องถ่ายรูปเมื่อมาเที่ยวชมคือ “ ธรรมจักร” ที่สลักด้วยหิน ที่มีลวดลายโบราณงดงามมาก

    จากสิ่งก่อสร้าง และอาณาเขตที่ยิ่งใหญ่ของเมืองศรีเทพ ทำให้สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณกำลังคน และกำลังศรัทธาที่ใช้ในการก่อสร้าง อาคารและศาสนสถานเหล่านี้มั่นคงยากแก่การล่มสลาย ทำให้ไม่สามารถบอกได้เลยว่า เมืองนี้เสื่อมสลายไปด้วยเหตุใด

    จากการสำรวจไม่พบการถูกทำลายโดยสงคราม และเมื่อเปรียบเทียบการเสื่อมสลายของเมืองนี้ คล้ายกับเมืองขนาดใหญ่ของเขมรคือนครวัด นครธม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าได้รับความกระทบกระเทือนจากการเสื่อมสลายของอาณาจักรเขมร ที่ทำให้เส้นทางค้าขายกับเขมรที่เคยรุ่งเรือง เนื่องจากเป็นเมืองศูนย์กลางการเดินทางค้าขาย กลับซบเซาลง แต่ก็เป็นเหตุผลที่ไม่น่าทำให้เมืองนี้ต้องเสื่อมสลายไป เพราะแม้การค้าขายจะซบเซา แต่เมืองก็น่ายังสามารถอยู่ต่อไป และควรมีการพัฒนาต่อเนื่องไปในยุคหลัง จะไม่หยุดลงที่ยุคเดิมเหมือนเมืองถูกทิ้งร้างไปโดยฉับพลัน

    เหตุผลใหญ่ที่มีการคาดเดา จากสภาพสิ่งแวดล้อม ที่ไปสอดคล้องกับนิทานพื้นบ้านที่กล่าวถึงคือ โรคระบาดของชุมชน ซึ่งก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะเป็นไปได้สูง ว่าจะเกิดโรคระบาดร้ายแรงในเมืองนี้ เนื่องจากเมืองศรีเทพ เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ที่มีผู้เดินทางมาจากต่างแดน หรือต่างประเทศอยู่เสมอ จึงเป็นเหตุให้มีการแพร่ขยายของโรคภัยที่มากับคนต่างถิ่นได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง แม้เมืองศรีเทพจะอยู่ใกล้แม่น้ำป่าสัก แต่ก็ไม่ได้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่มีน้ำไหลผ่านโดยตรง การใช้น้ำในการบริโภคของชาวเมือง อาศัยน้ำจากคูและสระหรือบ่อน้ำภายในเมือง ซึ่งกลายเป็นแหล่งระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ อันเป็นเหตุแห่งการล้มตาย และเคลื่อนย้ายของผู้คนไปยังที่อื่นอย่างกะทันหัน เมืองศรีเทพจึงถูกทิ้งร้างให้หยุดประวัติศาสตร์ของตัวเองไว้ในป่ารกนับร้อยปี

    เมืองโบราณชื่อศรีเทพ ที่เรามาพบในวันนี้ น่าจะเป็นเมืองศรีเทพในยุคแรกก่อนประวัติศาสตร์ แต่เมืองศรีเทพที่เราเห็นชื่อในพงศาวดารประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา น่าจะเป็นบริเวณเมืองศรีเทพที่ตั้งขึ้นใหม่ในบริเวณใกล้เคียงที่เก่า ซึ่งเกิดขึ้นหลังการอพยพออกมาตั้งเมืองเล็กเมืองน้อยหลายแห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ในยุคสุโขทัยและอยุธยา

    เท่าที่เล่ามานี้นับเป็นเรื่องที่เล่าแบบย่อจากความเข้าใจของตัวเอง ด้วยภาษาที่ง่ายเพื่อให้คนยุคเดียวกันได้เข้าใจความเป็นมา โดยอาศัยความรู้จากหนังสือหลายเล่ม คิดว่าหากท่านที่อยากไปชม “ เมืองศรีเทพ” จะได้อ่านไว้บ้างก่อนไปสถานที่จริงก็จะได้ประโยชน์บ้าง สำหรับโบราณสถานภายในเมืองศรีเทพ ที่จะได้พบมีมากมาย

    อ้างอิง
    http://www.suanlukchan.net/discussion.php?suan_chanruean_id=237
     
  17. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    “ศรีจนาศะ” อาณาจักรโบราณลุ่มแม่น้ำมูล

    แม้ว่านักประวัติศาสตร์ยังสรุปไม่ได้แน่ชัดว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีจนาศะ อยู่ที่เมืองโบราณชื่อ เมืองเสมา ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา หรือ เมืองศรีเทพ โบราณสถานในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสักในอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ก็เชื่อว่าเคยมีอาณาจักรนี้อยู่ในบริเวณประเทศไทย ไม่ใช่ ลาว หรือพม่าแน่นอน
    นักวิชาการหลายท่านต่างอ้างหลักฐานที่ตนหาได้ มาหักล้างกันให้ความจริงปรากฏ บอกความเป็นมาของอาณาจักรศรีจนาศะในช่วงสมัยรุ่งเรือง ลองมาฟังนานาทรรศนะนักวิชาการผู้ที่สังคมนี้ให้การเชื่อถือว่าเป็นเช่นไร
    รองศาสตราจารย์ ดร. ธิดา สาระยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อว่า ศรีเทพคือศรีจนาศะ เพราะเมืองโบราณศรีเทพคือดินแดนที่ปรากฏอยู่ในชื่อศรีจนาศะมาแต่โบราณ เมืองนี้รุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางสำคัญช่วงพุทธศตวรรษที่ 12- 15 ขอบเขตแห่งอำนาจของเมืองนี้มิใช่อยู่ที่ราบสูงโคราชหรือลุ่มน้ำมูลอย่างเดียว หากควรครอบคลุมอาณาจักรบริเวณลุ่มน้ำป่าสักซึ่งมีเครือข่ายการติดต่อถึงกัน ได้ปรากฏทั้งจากสภาพภูมิศาสตร์หลักฐานทางโบราณสถาน หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยนัยเชื่อว่าความหมายของคำว่า “นอกกัมพุเทศ” อันเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหมายถึงบริเวณลุ่มน้ำมูลเท่านั้น จึงน่าจะไม่ใช่การขยายตัวทางการตั้งหลักแหล่งของขอม เข้าสู่ภาคอีสานสมัยพุทธวรรษที่ 15 ชัดเจนพอ เพราะอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากลุ่มน้ำโขงทั้งทางตรงและทางอ้อมประสมประสานที่ศรีเทพในลุ่มน้ำป่าสักด้วย ทั้งก่อนและหลังพุทธวรราที่ 15 ดินแดนที่เรียกว่า “นอกกัมพุเทศ” ควรครอบบริเวณสองลุ่มน้ำอันอ้างชื่อมาแล้ว
    แต่นักวิชาการท้องถิ่นภาคอีสานอย่าง ผู้ช่วยศาตราจารย์ชลิต ชัยครรชิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น แสดงความเห็นว่า เมืองเสมาคือศูนย์กลางศรีจนาศะ ด้วยเหตุผลที่ว่า หลักฐานทางโบราณคดีอันประกอบไปด้วย จารึก และโบราณวัตถุที่พบอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำตอนบนสัมพันธ์โดยตรงกับอาณาจักรศรีจนาศะหรือจนาศปุรนะ จารึกบ่ออีกา จารึกเมืองเสมา จารึกหินขอน มีความสัมพันธ์กับศรีจานาศะ อันแสดงให้เห็นว่าศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล โดยมีความสัมพันธ์กับสองเขตวัฒนธรรม คือวัฒนธรรมทราวดีจากลุ่มแม่น้ำลพบุรี เข้าสู่แม่น้ำป่าสักและผ่านตรงมายัง เมืองเสมาหรือศรีจนาศะ โดยวัฒนธรรมทราวดีได้แพร่ขึ้นไปยังเมืองศรีเทพ อันเป็นเมืองร่วมสมัยกับอาณาจักรศรีจนาศะ เมีองศรีเทพเพชรบูรณ์จึงไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นอาณาจักรศรีจนาศะ ยิ่งเมื่อพิจารณาชื่อเมืองศรีเทพยิ่งพบว่า เมืองศรีเทพ ถูกเรียกชื่อใหม่ ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์จากเดิมที่ชาวบ้านเรียกเมืองท่าโรงและวิเชียรบุรี อันไม่สอดคล้องกับศรีจนาศะหรือจานาศะปุระแต่ประการใด หลักฐานจารึกและโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำมูล สัมพันธ์กันโดยตรงกับความเป็นอาณาจักรศรีจนาศะ
    ดังนั้น ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีจนาศะจึงเป็นบริเวณลุ่มแม่มูล อันได้แก่เมืองเสมา มากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น

    หลักฐานที่พบเห็น สามารถให้ความกระจ่างในความสงสัยได้ รองรับสมมติฐานที่ตนคิดและคนอื่นคิดได้เช่นกัน ความเชื่อแต่ละบุคคลในศาสตร์การค้นหาความจริงในอดีต เชิงวิชาการ ทำให้นักวิชาการมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ทั้งฝ่ายนักวิชาการในเมืองหลวง ซึ่งเชื่อหลักฐานลายอักษรและหลักศิลาจารึก ส่วนฝ่ายนักวิชาการท้องถิ่น มุ่งเน้น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถานที่จริงและความเป็นไปได้
    นักวิชาการอีกท่านที่สังคมเชื่อถือ อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ แสดงทรรศนะไว้ในหนังสือ ศรีจนาศะ รัฐอิสระที่ราบสูง ตอนหนึ่งในบทนำว่า บริเวณต้นแม่น้ำมูล ที่ปัจจุบันเป็นจังหวัดนครราชศรีมากับดินแดนต่อเนื่อง มีหลักฐานชัดเจนว่ามีอิสระ ชื่อศรีจนาศะ ตั้งอยู่เมื่อปี พ. ศ. 1300 แต่สังคมไทยไม่รู้จัก
    ความชัดเจนยังไม่ปรากฏ แต่ถ้าความจริงปรากฏมาจากเหตุผลกลใดก็ตาม หากช่วยหนุนให้เชื่อว่าแถวลุ่มแม่น้ำมูลมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางวัฒนธรรม บางทีรัฐบาลคงต้องทบทวนบริบทที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลใหม่ว่า การยัดเยียดสิ่งต่างๆที่คนบริเวณนั้นไม่ต้องการ เป็นการทำลายประวัติศาสตร์ชนชาติและความรู้สึกประชาชนอย่างที่สุด.

    อ้างอิง
    .:+: Thaipoem Forever :+:.
     
  18. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ขออนุโมทนาเพื่อนธรรมทุกท่าน
    โปรดใช้วิจารณญานในการศึกษาครับ
    ข้อมูลที่ผมหยิบมานี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด
    แต่ผมอยากให้เป็นจุดเริ่มต้นความสนใจ
    หากเพื่อนธรรมท่านใดมีข้อมูล
    กรุณาร่วมบุญด้วยการนำข้อมูลมาเผยแพร่ได้
    แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. บางคน

    บางคน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +27
    ช่วยพิสูจน์ภาพนี้ได้ไหมถ่ายได้ที่เขาคลังนอก

    ผมไปถ่ายมากับเพื่อน....
     
  20. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ผมลงภาพให้ครับ


    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...