ล่องน้ำปิงกับเรือหางแมงป่อง แล้วย้อนรอยคำไทยโบราณ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 6 มิถุนายน 2010.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    <OBJECT class=sIFR-flash id=sIFR_replacement_0 height=34 width=930 classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000>
























    </OBJECT>ล่องน้ำปิงกับเรือหางแมงป่อง แล้วย้อนรอยคำไทยโบราณ



    [​IMG]
    ทุกวันนี้ อีกหนึ่งโปรแกรมท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่ ที่เริ่มจะเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของนักท่องเที่ยวกันมากขึ้นแล้ว คือ การล่องเรือหางแมงป่อง ย้อนรอยลำน้ำปิง ไปกับบ้านเรือหางแมงป่อง ที่จะพานักท่องเที่ยวนั่งเรือล่องไปตามแม่ปิง ชมทัศนียภาพที่สวยงามของสองฟากฝั่ง มีพิธีกรบรรยายบนเรือ โชว์ภาพโบราณและเครื่องมือจับสัตว์น้ำตามแบบภูมิปัญญาชาวเมืองเหนือ เป็นที่ถูกอกถูกใจของนักท่องเที่ยวยิ่งนัก

    ไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสได้ไปสัมผัสกับประสบการณ์นี้ จึงอดไม่ได้ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง

    [​IMG]



    เรือหางแมงป่อง จัดเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของเมืองเหนือที่มีเฉพาะที่เชียงใหม่ เป็นเรือโบราณ คู่ลำน้ำปิง สมัยก่อนชาวเวียงเหนือใช้เป็นพาหนะขึ้นล่องติดต่อกับพระนคร ใช้ลูกถ่อ 12-18 คนถ่อ โดยในยุคต้นเรือหางแมงป่อง เป็นเรือที่เจ้านายฝ่ายเหนือใช้ ที่สำคัญ เป็นพาหนะที่นำ พระนางจามเทวี พระธิดาแห่งเมืองละโว้ หรือเมืองลพบุรี พร้อมด้วยข้าบริวารหมู่ใหญ่กว่า 500 เสด็จมาปกครองเมืองหริภุญชัย

    [​IMG] การเดินทางด้วยเรือหางแมงป่องของคนสมัยก่อน



    ลักษณะของเรือหางแมงป่อง จะคล้ายกับเรือหางยาว รูปลักษณ์เหมือนกับกาบมะพร้าว มีประทุน ท้ายยกงอนสูง ด้วยความชาญฉลาดของคนโบราณล้านนา ใช้ไม้สักทั้งต้นที่มีขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-8 เมตร ขนาด 20 คนโอบ มาขุดทำเป็นเรือ เพราะไม้สักเป็นไม้ที่หาง่ายในพื้นที่ภาคเหนือ น้ำหนักเบา และคุณสมบัติพิเศษคือลอยน้ำได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ไม่บิดไม่งอ สามารถทนแรงกระแทกกับโขดหินได้ดี ดังนั้นจึงเป็นเรือชนิดเดียวที่สามารถล่องในน้ำปิงได้ เพราะลำน้ำปิงจะเต็มไปด้วยเกาะแก่งและหาดทรายมากมาย

    [​IMG] ภาพสะพานนวรัฐ สมัยก่อน



    โปรแกรมล่องแม่ปิง เริ่มต้นลงเรือที่ท่าศรีโขงหน้าวัดศรีโขง ก่อนจะล่องลงใต้ผ่าน "คุ้มเจดีย์กิ่ว" ที่เคยเป็นคุ้มของ "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี" ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ" เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 และองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ "ตลาดต้นลำใย" "วัดเกตการาม ท่าวัดเกต" ชุมชนชาวเรือหางแมงป่องในอดีต ท่าช้าง บริษัทต่างชาติที่ได้สัมปทานป่าไม้ ที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ "สะพานนวรัฐ" โบสถ์คริต์แห่งแรกของเชียงใหม่ ภัสตราคารจีนแห่งแรกของเชียงใหม่ สะพานเหล็ก กรมป่าไม้แห่งแรกของเชียงใหม่ แล้ววกกลับล่องขึ้นเหนือตามเส้นทางเดิม

    นอกจากทัศนียภาพอันสวยงามของ สองฟากฝั่งแม่น้ำปิงแล้ว สิ่งที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับเราตลอดระยะเวลา 1 ชั่วโมงเศษ คือ ความรู้ในเรื่องคำพื้นเมืองจาก คุณสมัคร วงษ์เวช หรือ "อาจารย์ติ๊งต๊อง" พิธีกร อาทิ ชื่อของแม่น้ำ "ปิง" ซึ่งหมายถึงเชี่ยวกราก, รุนแรง เมืองเชียงใหม่ หรือ "นพบุรีศรีนครปิง" แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนกันเป็นนพบุรีศรีนครพิงค์ สาเหตุที่บ้านของคนเมืองเหนือนิยมสร้าง"กาแล" ไว้บนหลังคา เพราะกาแลหมายถึง ความมั่งมีศรีสุข นั่นเอง

    [​IMG] พิธีกรบนเรือบรรยายอดีตสภาพสองฝั่งแม่ปิง



    เกร็ดความรู้ต่างๆ เช่น กังหันไม้ไผ่ที่ใช้ผันน้ำเข้าไร่นา คนเหนือจะเรียกว่า "ขลุก ขลุก" มาจากเสียงไม้ไผ่ซึ่งมีอากาศอยู่ภายในช่องกระบอก เมื่อลงน้ำก็จะมีเสียงดังขลุก ขลุก หรือหมวกที่ข้าหลวงหรือเจ้าเมือง นายอำเภอ เจ้าหน้าที่สวมใส่สมัยก่อน เวลาออกตรวจพื้นที่ คนเหนือจะเรียกว่า "หมวกก๋าโล่" หรือหมวกตราโล่ (ตราแผ่นดิน) ก่อนจะเรียกเพี้ยนต่อมาเป็น "หมวกกะโล่" ในปัจจุบัน

    ช่วงที่เรือแล่นผ่านที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของ จ.เชียงใหม่ อายุราว 200 ปี อาจารย์ติ๊งต๊อง ก็ได้เล่าถึงการสื่อสารสมัยก่อน จะใช้นกพิราบเป็นหลัก ซึ่งส่งจดหมายจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ จะใช้เวลา 2 วัน แต่ต่อมานกพิราบมักจะดักยิงเอาไปต้มกินพร้อมจดหมาย ทำให้การสื่อสารต้องเปลี่ยนไปใช้ม้าแทน ซึ่งก็ไปตรงกับของฝรั่งที่ใช้ม้าส่งจดหมายเช่นกัน เรียกว่า "ฮอร์ส เมล์"(Horse Mail) เชื่อว่าเพี้ยนมาเป็น "ฮ็อตเมล์"(hotmail) ในปัจจุบัน โดยที่ ฮอร์ส เมล์ นี้ก็สุดจะรวดเร็ว จดหมายจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ ใช้เวลาเพียง 75 วันเท่านั้นเอง

    [​IMG]



    จนกระทั่งเริ่มมีโทรเลขเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สมัยนั้นประเทศที่มีเทคโนโลยีโทรเลขทันสมัยที่สุด ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการจะนำเข้ามาในประเทศไทย โดยหวังสิ่งตอบแทน คือ อังกฤษต้องการเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้น ส่วนฝรั่งเศสอยากได้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแหลมมลายูเป็นเมืองขึ้น ด้วยพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรอันยาวไกลของ "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง" ทรงเลือกโทรเลขจากของอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศสต่างเกรงใจพี่เบิ้ม ทำให้เชียงใหม่และ 3 จังหวัดภาคใต้ของไทยรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นไปได้ในที่สุด

    หรือสิ่งของที่นำเข้ามาในสมัยโบราณ แล้วก่อให้เกิดผลเสียในปัจจุบัน 4 อย่าง ได้แก่ ผักตบชวา, ต้นไมยราบยักษ์ ที่นำเข้ามาด้วยจุดประสงค์ใช้ทำฟืนสำหรับอบใบยาสูบ แต่เมื่อใบยาสูบไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ต้นไมยราบก็หมดประโยชน์ไปด้วยเช่นกัน ชาวบ้านทำลายด้วยการตัดโยนทิ้งแม่น้ำ เมื่อไหลไปเกยที่ไหนก็งอกขึ้นที่นั่นจนแพร่พันธุ์ไปทั่วประเทศ, ต้นยูคาลิปตัส และหอยเชอรี่

    [​IMG]



    ที่สำคัญคือ ความรู้ ที่มาที่ไปของคำศัพท์ไทยโบราณ ที่เราใช้สืบเนื่องกันมา เพี้ยนบ้าง ไม่รู้ความหมายบ้าง อาจารย์ติ๊งต๊อง เป็นต้องสอดแทรกให้ทราบนับตั้งแต่เรือเริ่มออกจากท่า ซึ่งจะต้องใช้เท้าถีบหัวเรือส่งออกมา เรือถึงจะแล่นต่อไปได้ กลายเป็นที่มาของคำว่า "ถีบหัวเรือส่ง" หรือ "ถีบหัวส่ง" เมื่อเรือแล่นออกจากท่าไปแล้ว ก็จะมีการนำเอาไม้มาปักจองไว้เป็นสถานที่ทำแพจอดเรือ อันเป็นที่มาของคำว่า "กันท่า" เมื่อพ่อบ้านออกเรือไปแล้ว ก็เป็นโอกาสของหนุ่มๆ ที่จะเข้าไปเกี้ยวสาว หากลูกสาวบ้านไหนเป็นใจรู้กันกับไอ้หนุ่มก็จะแอบไปเอาไม้ที่ปักจองไว้ออก ป็นที่มาของคำว่า "ให้ท่า" จากนั้นก็จะเอาสะพานไม้มาวางพาดให้ไอ้หนุ่มเดินเข้ามาหา จึงเป็นที่มาของคำว่า "ทอดสะพาน"

    การเดินทางสมัยก่อนจะใช้ทางน้ำ เป็นหลัก ซึ่งเรือโดยสารจะออกจากท่า 5 เดือนต่อครั้ง หากคนไหนมาไม่ทันเรือ ก็จะต้องรอไปอีก 5 เดือนกว่าจะได้ไปอีกรอบ เป็นที่มาของคำว่า "พลาดท่า" นั่นเอง และหากเจ้าของเรือคนไหนปักไม้กันท่าไว้ไม่แน่น ไม้หลักไหลไปตามน้ำ ก็จะถูกเรือลำอื่นมาจอดแทน เป็นที่มาของคำว่า "เสียท่า" และเมื่อถูกเรือลำอื่นมาเสียแทนแล้ว แถมยังตามไปเอาไม้หลักมาคืนไม่ได้ ก็เท่ากับว่า "หมดท่า" เมื่อจะเข้าเทียบท่า หากคนถ่อ คนถือหางเสือ ไม่สามัคคีกัน จอดเรือไม่ได้สักที ทำให้เรือ "ไม่เข้าท่า" แต่พอจอดได้แล้วล่ะก็ "เออ เข้าท่า!" หรือระหว่างล่องเรือ มีสายลมพัดเย็นสบาย คนถ่อเรือข้างหน้า หันไปคุยกับคนคัดท้าย แต่ปรากฏว่าคนคัดท้ายทำเฉย ก็ต้องมีการต่อว่าต่อขานกัน "เฮ้ย! ไอ้นี่ทำหูทวนลม"

    [​IMG]



    หรือแม้กระทั่งการจอดแวะพักอิริยาบทที่ท่าเรือ บ้านหางแมงป่อง พิธีกรพาชมเครื่องไม้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำของชาวเวียงเหนือ ก็ยังมีที่มาของคำที่เราใช้กันในปัจจุบัน เช่น "สุ่มสี่สุ่มห้า" มาจากอากัปกิริยาในการใช้ "สุ่ม" จับปลา ซึ่งกว่าจะได้ปลาแต่ละตัวนั้น คนจับจะต้องครอบสุ่มลงไปไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้ง หรือการเดาสุ่มนั่นเอง เมื่อครอบสุ่มลงไปแล้วเอามือลงไปควาน คว้าจับปลา หากจับเจอแต่น้ำขี้โคลน หรือน้ำเปล่าๆ ก็คือ "คว้าน้ำเหลว"

    [​IMG]



    [​IMG]


    อุปกรณ์จับปลาอีกอย่าง "ลอบ" ที่ชาวบ้านสมัยโบราณนิยมใช้ โดยจะเอาไปวางไว้ตรงทางน้ำไหล หรือตามกอหญ้าดักปลา มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ก้นรอบเป็นรูปรีๆ มีความยาว 1-2 เมตร เหลาไม้ไผ่เป็นซี่กลมๆ ประมาณ 20 ซี่ มัดด้วยหวาย เถาวัลย์ หรือลวด ไม้ไผ่แต่ล่ะซี่ห่างกันเกือบ 3 เซนติเมตร หากจะดักปลาตัวเล็กก็เรียงซี่ไม้ไผ่ให้ติดกัน ปากลอบดักปลาทำงา 2 ชั้น เมื่อปลาว่ายเข้าไปก็จะว่ายออกมาไม่ได้เพราะติดงากั้นไว้ เมื่อสอดมือเข้าไปหยิบปลา หากไม่ระวังก็จะถูกซี่ไม้ที่เรียกว่างานั้นขูดเอาพอเจ็บ หรือเรียกว่า "ลอบกัด" หากดักลอบทิ้งไว้ทั้งคืนแล้วเจอมือดีมาแอบขโมยปลาในลอบไป เรียกว่าถูก "ลักลอบ" ดังนั้น ถ้าอยากจะได้ปลา คนดักลอบต้องหมั่นมาคอยดูลอบของตัวเอง อันเป็นที่มาของสุภาษิตคำพังเพย "ดักลอบต้องหมั่นกู้ เจ้าชู้ต้องหมั่นเกี้ยว"

    [​IMG]



    เสียดายเวลามีจำกัดเพียงชั่วโมงเศษๆ อาจารย์ติ๊งต๊อง บอกว่า ยังเหลือคำโบราณอีกเยอะ หากใครคนไหนสนใจก็ไปเที่ยวชมได้ รับประกันความเพลิดเพลิน.

    ภาพบางส่วนจากเว็บไซต์ Scorpion Tailed River Cruise, Boat Riverside, Scorpion Tailed Boat Village, Mae ping river cruise,
     
  2. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ดีจังได้ดูภาพเก่า ๆ
     
  3. Prathuang

    Prathuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    658
    ค่าพลัง:
    +178
    เยี่ยมมากๆๆ.........น่าไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...