สงสาร"มรดกโลก" อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา :ความเสี่ยงต่อการถูกถอดถอน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 20 กรกฎาคม 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ปัญหาภูมิทัศน์และการแย่งยื้อพื้นที่ขายของระหว่างผู้ค้าเก่ากับผู้ค้าใหม่บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่หลายฝ่ายเกรงว่าจะเป็นมูลเหตุทำให้"องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ" (ยูเนสโก) ถอดถอนจากการเป็นมรดกโลกร้อนถึงกระทรวงวัฒนธรรมและกรมศิลปากรต้องออกมาชี้แจงว่า รัฐบาลได้ทุ่มงบฯ จากโครงการไทยเข้มแข็งจำนวน 141 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหานี้ เชื่อว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2553 รวมไปถึงการจัดระบบการจราจรภายในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้งหมดด้วย

    เหลือระยะเวลาอีก 5 เดือนก็จะสิ้นปี ขณะที่พ่อค้าแม่ขายยังต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอยู่ทุกวัน ต้องติดตามดูว่าบทสรุปมรดกโลกจะลงเอยอย่างไร?

    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 โดยจดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย

    กรุงศรีอยุธยานับเป็นราชธานีแห่งแรกของเมืองไทย เป็นเมืองที่ถ่ายทอดคติทางการปกครอง ความเจริญทางเทคโนโลยีและศิลปวัฒนธรรมให้กับกรุงเทพมหานครโดยตรงที่สุด มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน วันเวลาเปลี่ยนผ่าน กรุงเทพมหานครหรือบางกอกก้าวขึ้นมาเป็นเมืองหลวงแทนที่

    กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนพื้นที่เป็นเกาะ เป็นที่ลำน้ำหลายสายมุ่งเข้าสู่พระนคร ในขณะที่กรุงเทพมหานครตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งเป็นเกาะบนแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีการขุดคลองจากพื้นที่อันเป็นปริมณฑลเข้าสู่พระนคร ความเป็นเกาะของกรุงเทพฯ จึงถูกเรียกว่าบางเกาะก่อนที่จะเพี้ยนมาเป็นบางกอกอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน

    การปลูกฝังให้เข้าใจรากเหง้าความเป็นมาของบ้านเมืองเป็นสิ่งจำเป็นที่คนไทยทุกคนควรรับรู้ เพื่อให้เกิดความสำนึกรักและหวงแหนในแผ่นดิน ในถิ่นฐานบ้านเกิดของเรา...

    หนังสือกรุงศรีอยุธยาของเรา ซึ่งเขียนโดยรศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ถือเป็นเอกสารรูปเล่มที่อธิบายถึงพัฒนาการการกำเนิดกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่แรกเริ่ม อ้างอิงข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ซึ่งค้นพบใหม่ ซึ่งตีความใหม่อย่างรัดกุมมาอธิบาย

    “เรื่องกรุงศรีอยุธยาของเราเขียนมาร่วม 20 ปี และพิมพ์มาหลายครั้งแล้ว ดูเก่าและซ้ำๆ ซากๆ ถึงเวลานี้ก็ควรจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ทันสมัยและก้าวหน้าไปกว่าเดิม เพราะมีการพบข้อมูลใหม่ ข้อคิดใหม่ ความรู้ใหม่ และคำถามใหม่เพิ่มขึ้นโดยคนรุ่นใหม่ๆ อีกมากมาย” ผู้เขียนกล่าว

    หนังสือเล่มนี้ถือเป็นงานเขียนที่จะสร้างพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาราชธานีได้ละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์ที่สุด เพราะเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 8 พร้อมกับปรับปรุงเนื้อหาใหม่ แก้ไข เพิ่มเติม จนมองเห็นถึงอิทธิพลของกรุงศรีอยุธยาที่ส่งผลต่อการสร้างบ้านแปลงเมืองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    เพราะอย่างไรกรุงศรีอยุธยาหรือกรุงเทพมหานครต่างก็เป็นเมืองหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย

    สมควรที่ลูกหลานไทยต้องช่วยทำนุบำรุงและดูแลสืบไป...

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1279209727&grpid=&catid
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2010
  2. เด็กสร้างบ้าน

    เด็กสร้างบ้าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,195
    ค่าพลัง:
    +538
    ประเทศไทยมีของสวยงานเยอะ ถ้าคนไทยเราเห็นคุณค่า ใส่ใจ รักษาไว้ ก็คงจะดีครับ
     
  3. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    จะโทษใครไม่ได้เลยนอกจากต้องโทษตัวเราเองค่ะ
     
  4. ปรานต์

    ปรานต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +668
    ต้องดูสุโขทัยเป็นตัวอย่างครับ
     
  5. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...