พิ ธี ล้ า ง พ ร ะ พั ก ต ร์ พร ะ ม ห า มุ นี แ ห่ ง มั ณ ฑ ะ เ ล ย์

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย พงษ์ญาดา, 1 กันยายน 2010.

  1. พงษ์ญาดา

    พงษ์ญาดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2009
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +1,871
    <IFRAME id=_atssh641 style="BORDER-RIGHT: 0px; BORDER-TOP: 0px; Z-INDEX: 100000; LEFT: 0px; BORDER-LEFT: 0px; WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px; HEIGHT: 1px" name=_atssh641 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh21.html#cb=0&ab=pz-0&dh=palungjit.org&dr=&du=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fnewthread.php%3Fdo%3Dpostthread%26f%3D76&dt=&inst=1&lng=th&pc=men-250&pub=xa-4a63547a655e9e11&ssl=0&sid=4c7daa0eb79cad89&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srx=0&ver=250&xck=0&rev=80002" frameBorder=0 width=1 height=1></IFRAME>
    <IFRAME id=_atssh199 style="BORDER-RIGHT: 0px; BORDER-TOP: 0px; Z-INDEX: 100000; LEFT: 0px; BORDER-LEFT: 0px; WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px; HEIGHT: 1px" name=_atssh199 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh21.html#cb=0&ab=pz-0&dh=palungjit.org&dr=&du=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fnewthread.php%3Fdo%3Dpostthread%26f%3D76&dt=&inst=1&lng=th&pc=men-250&pub=xa-4a63547a655e9e11&ssl=0&sid=4c7da7c95dfa92fb&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srx=0&ver=250&xck=0&rev=80002" frameBorder=0 width=1 height=1></IFRAME>
    <IFRAME id=_atssh906 style="BORDER-RIGHT: 0px; BORDER-TOP: 0px; Z-INDEX: 100000; LEFT: 0px; BORDER-LEFT: 0px; WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px; HEIGHT: 1px" name=_atssh906 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh21.html#cb=0&ab=pz-1&dh=palungjit.org&dr=&du=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fnewthread.php%3Fdo%3Dpostthread%26f%3D76&dt=&inst=1&lng=th&pc=men-250&pub=xa-4a63547a655e9e11&ssl=0&sid=4c7da5d278b373d6&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srx=0&ver=250&xck=0&rev=80002" frameBorder=0 width=1 height=1></IFRAME>
    <IFRAME id=_atssh179 style="BORDER-RIGHT: 0px; BORDER-TOP: 0px; Z-INDEX: 100000; LEFT: 0px; BORDER-LEFT: 0px; WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px; HEIGHT: 1px" name=_atssh179 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh21.html#cb=0&ab=pz-1&dh=palungjit.org&dr=&du=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fnewthread.php%3Fdo%3Dpostthread%26f%3D76&dt=&inst=1&lng=th&pc=men-250&pub=xa-4a63547a655e9e11&ssl=0&sid=4c7da584b957e5c6&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srx=0&ver=250&xck=0&rev=80002" frameBorder=0 width=1 height=1></IFRAME>
    <IFRAME id=_atssh379 style="BORDER-RIGHT: 0px; BORDER-TOP: 0px; Z-INDEX: 100000; LEFT: 0px; BORDER-LEFT: 0px; WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px; HEIGHT: 1px" name=_atssh379 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh21.html#cb=0&ab=pz-0&dh=palungjit.org&dr=&du=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fnewthread.php%3Fdo%3Dpostthread%26f%3D76&dt=&inst=1&lng=th&pc=men-250&pub=xa-4a63547a655e9e11&ssl=0&sid=4c7da3b7670b13de&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srx=0&ver=250&xck=0&rev=80002" frameBorder=0 width=1 height=1></IFRAME>
    <IFRAME id=_atssh314 style="BORDER-RIGHT: 0px; BORDER-TOP: 0px; Z-INDEX: 100000; LEFT: 0px; BORDER-LEFT: 0px; WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px; HEIGHT: 1px" name=_atssh314 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh21.html#cb=0&ab=pz-0&dh=palungjit.org&dr=&du=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fnewthread.php%3Fdo%3Dpostthread%26f%3D76&dt=&inst=1&lng=th&pc=men-250&pub=xa-4a63547a655e9e11&ssl=0&sid=4c7da3916d6c5ba0&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srx=0&ver=250&xck=0&rev=80002" frameBorder=0 width=1 height=1></IFRAME>
    <!-- retweet and facebook --><!-- keep in file social.html --><!-- end retweet and facebook -->
    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    พิธีล้างพระพักตร์ พระมหามุนี แห่งมัณฑะเลย์
    หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพม่าที่พลาดไม่ได้

    [​IMG]


    การเดินทางเที่ยวในเมืองมัณฑะเลย์ หากจะให้สะดวกก็ควรจะติดต่อเช่ารถที่มีให้บริการหลากหลายรูปแบบไว้ล่วงหน้า เรามีแค่ 2 คน เลยติดต่อเช่ารถ
    แท็กซี่คันเล็กๆหน้าโรงแรมเอาไว้ในราคาวันละ 20 เหรียญกิจกรรมแรกของวันนี้เรามีเป้าหมายในการไปเฝ้าดูพิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี
    พระพุทธรูปองค์สำคัญของเมืองนี้ อันเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพม่าที่หากมีโอกาสมาเที่ยวไม่ควรพลาด ด้วยพิธีจะเริ่มราวตีสี่ครึ่ง ถึงตีห้า
    เราจึงต้องนัดหมาย ให้รถที่ติดต่อไว้มารับราวตีสี่



    วัดพระมหามัยมุนีอยู่ไม่ไกลจากที่พักมากนัก รถแล่นมาราว 10 นาทีก็ถึงแล้ว เราเดินผ่านแผงขายสินค้า 2 ข้างทางของทางเดิน แล้วเข้าไปนั่งปนๆ
    กับพุทธศาสนิกชนชาวพม่าตรงลานด้านในสังเกตเห็นว่ามีการแบ่งโซนเอาไว้หลายโซนหากไม่นับรวมโซนที่เป็นที่ตั้งองค์พระ ซึ่งตอนนี้มีประตูเหล็ก
    ปิดกั้นอยู่ โซนที่ใกล้องค์พระที่สุดเป็นที่ที่ผู้ชายนั่ง โซนถัดมาจะมีรั้วเตี้ยๆล้อมเอาไว้เป็นโซนที่หญิงชายที่อาสามาฝนแท่งทานาคา ที่จะใช้ชโลม
    พระพักตร์พระมหามุนีนั่งเตรียมการ ส่วนโซนสุดท้ายเป็นโซนที่บรรดาพุทธศาสนิกชนมานั่งสวดมนต์ภาวนา รอการเริ่มพิธีอย่างเป็นทางการ
    บางคนอาจจะนำผ้าสะอาดมาฝากให้พระที่ทำพิธีนำไปเช็ดซับพระพักตร์ แล้วส่งกลับคืนมา ซึ่งเจ้าของผ้าก็จะนำไปเก็บไว้บูชาหรือใช้ปัดเป่าสิ่งอัปมงคล

    โรคาพยาธิต่างๆให้พ้นจากตัวเองและลูกหลานผู้ใกล้ชิด

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ขณะที่เรารอ จะมีเสียงเคาะกังสดาล ระฆัง ผสมกับเสียงสวดมนต์ … ราวตีห้าตรง มีพราหมณ์มาเปิดประตูเหล็ก ที่กั้นเอาไว้ออก เผยโฉมองค์
    พระพุทธรูปที่สำคัญออกสู่สายตาทุกคน ณ ที่นั้น ภาพสีทองอร่ามขององค์พระดูงดงาม มองเห็นเครื่องประดับมูลค่าสูงที่มีผู้ศรัทธานำมาถวาย
    ประดับอยู่เต็มองค์ มองไกลๆ เห็นเป็นเกร็ดๆ ปุ่มปมอยู่ทั่วองค์พระ

    [​IMG][​IMG]

    [​IMG][​IMG]


    แล้วพิธีล้างพระพักตร์ที่ได้ทำสืบเนื่องทุกวันเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ก็เริ่มตามลำดับขั้นตอนตามที่ได้อัดวีดีโอมาให้ชมด้านล่างค่ะ …
    เริ่มจากการเตรียมการของคณะพราหมณ์ แล้วพระที่ทำพิธีเข้าประจำที่ ก่อนจะเริ่มพิธีด้วยการปะพรมน้ำผสมเครื่องหอมจากเปลือกไม้ทะนาคา …
    จากนั้นก็จะใช้แปรงขนาดใหญ่ขัดสีบริเวณพระโอษฐ์ดั่งการแปรงฟัน แล้วใช้ผ้าเปียกลูบไล้เครื่องหอมดั่งการฟอกสบู่จนทั่วพระพักตร์
    แล้วจึงจะมาดำเนินขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการใช้ผ้าสะอาดเช็ดพระพักตร์ให้แห้ง และขัดสีให้เนื้อทองสัมฤทธิ์ที่พระพักตร์สุกปลั่งแวววาวอยู่เสมอ
    พิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ดำเนินการมาแล้วทุกๆวันกว่า 200 ปีที่ผ่านมา

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ทุกๆวันจะมีผ้าสะอาดที่ชาวบ้านนำมาวางกองเป็นตั้ง เพื่อขอโอกาสที่ผ้าของตนจะถูกหยิบขึ้นมาสัมผัสพระพักตร์พระมหามัยมุนีหลังเสร็จพิธีชาวบ้านจะนำผ้าของตนกลับไปสักการบูชา

    ระหว่างการทำพิธี สามารถถ่ายรูปและวีดีโอได้ หลังจากพิธีเสร็จสิ้นลงก็อนุญาตให้ผู้ชายขึ้นไปปิดทององค์พระได้ ดังนั้นพวกผู้หญิงจึงมักจะฝากแผ่นทองไปให้เหล่าชายที่อยู่ในพิธีช่วยนำ ไปปิดบนองค์พระให้ และสามารถขอน้ำมนต์ ใส่ขวดมาได้ด้วย วันนั้นมีพราหมณ์ถือขวดน้ำมนต์ที่ใช้ล้างพระพักตร์พระพุทธรูปลงมาแจกจ่ายใส่มือ ให้เราลูบบนผมเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วยค่ะ

    [​IMG][​IMG]

    สำหรับประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปองค์นี้อย่างย่อๆ มีดังนี้ค่ะ ..
    ตามตำนานของพวกอาระกัน หรือชาวยะไข่ เล่ากันมาว่า ... กษัตริย์ยะไข่พระองค์หนึ่งเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 9 ฟุต เพราะมีญาณหยั่งรู้ว่า ในอดีตพระองค์เคยเป็นสหายกับพระพุทธเจ้ามาก่อน ชาติต่อมาเมื่อเกิดมาเป็นกษัตริย์เมืองยะไข่
    จึงสร้างพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์เหมือนกับพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าได้ประทานลมหายใจ อันศักดิ์สิทธิ์เข้าไปในกายพระพุทธรูปองค์นี้ด้วย ประหนึ่งมอบชีวิตวิญญาณไว้เป็นตัวแทนชาวพม่า จึงถือว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต จึงเป็นที่มาของ ธรรมเนียมการล้างพระพักตร์ถวาย เหมือนกับมนุษย์ที่ต้องล้างหน้าตอนเช้าทุกวัน

    ความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหามัยมุนีเลื่อลือไปกว้างไกล จนเป็นที่หมายปองของ กษัตริย์พม่าหลายพระองค์นับมาตั้งแต่พระเจ้าอโนรธามหาราช แห่งอาณาจักรพุกาม บุเรงนองมหาราช แห่งหงสาวดี และอลองพญามาราช แห่งรัตนปุระอังวะ กษัตริย์ทุกพระองค์ต่าง ล้วนเพียรพยายามที่จะยกทัพไป
    ชลอเอาพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานเป็นสิริมงคลในดินแดน พม่าทุกยุคสมัย แต่ต้องล้มเหลวครั้งแล้ว ครั้งเล่า เพราะความทุรกันดารและภูมิประเทศที่เป็นเขาสูงของอาระกัน

    [​IMG][​IMG]

    จนกระทั่งล่วงมาถึงสมัยของพระเจ้าประดุง หรือ โพธิพญา กษัตริย์ที่เคยทำสงคราม 9 ทัพในสมันรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าประดุงได้ถือเอาฤกษ์เอาชัยด้วยการยกกองทัพไปตีเมืองยะไข่จนสำเร็จ แล้วเชิญพระมหามุนีออกมาจากยะไข่ ด้วยการตัดองค์พระเป็น 3 ท่อน แล้วจึงขนมาประกอบใหม่ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2327 ด้วยเหตุที่มีความสำเร็จในการแย่งชิงพระมหามัยมุนีมาได้ พระเจ้าปดุงจึงทรงมั่นพระทัยว่า ทรงมีฤทธานุภาพเหนือมหาราชทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์ของพม่า จึงทรงกรีธาทัพหมายตีกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเพิ่งสถาปนาได้ไม่นานถึง 2 ครั้ง คือสงคราม 9 ทัพและการศึกที่ท่าดินแดง แต่ต้องพ่ายแพ้กลับไป กรณีของพระมหามัยมุนี ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าของชาวอาระกัน หรือยะไข่ จึงเป็นบาดแผลที่ฝังรากลึกระหว่างคน 2 ชาติ ตราบจนทุกวันนี้ วันที่ศรัทธาในพระมหานัยมุนียังไม่เสื่อมคลาย

    [​IMG][​IMG]

    ต่อมาในสมัยของพระเจ้าสีป่อ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า … เกิดไฟไหม้วัด ในปี พ.ศ. 2427 เล่ากันว่า ทองคำเปลวที่ชาวพุทธนำมาปิดทับถมบนองค์พระมหามุนีนั้นหลอมละลายไหลลงมา รวมๆแล้วหนักกว่า 700 บาท เป็นผลให้ผิวโลหะขององค์พระพุพอง เป็นปุ่มปมทั่วทั้งองค์ ที่น่าอัศจรรย์ก้คือ พระพักตร์ขององค์พระยังคงสุกปลั่งดังเดิม
    [​IMG][​IMG]

    *** ความงามอันลือเลื่องของพระมหามัยมุนี ทำให้มีการหล่อพระพุทธรูปขึ้นในภายหลังเลียนแบบพระปางมารวิชัยทรงเครื่องกษัตริย์องค์นี้มากมาย ในเมืองไทย มี “พระเจ้าพาราเข่ง” ที่วัดหัวเวียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อีกองค์หนึ่ง คือ “พระมหามัยมุนี” ที่วัดไทยวัฒนาราม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/OzW2-ifREyI&hl=en_US&fs=1& width=640 height=505 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true">​
    </EMBED />






    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    www.oknation.net/blog/supawan/2010/09/01/entry-1
     
  2. BORRIPHATC

    BORRIPHATC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +228
    ขออนุโมทนาบุญครับ.......กับข้อมูลความรู้ที่ช่วยเผยแพร่ เป็นบุญครับ
     
  3. รากแห่งธรรม

    รากแห่งธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,173
    พระมหามัยมุนี” ที่วัดไทยวัฒนาราม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก <<< วัดนี้ถ้าใครได้ไปแล้ว ขอบอกว่า กลางศาลาใหญ่ประดิษฐาน สังขารของอดีตท่านเจาอาวาสที่สร้างองค์พระมหามุนีจำลองซึ่งพระพักต์ทำจากทองคำแท้ๆๆ ขนาดใหญ่ไว้ด้วย องค์ใหญ่มากๆเลย

    เจ้าอาวาสองค์ก่อนใจดีมาก เราเคยไปกราบขอพร หลายครั้ง ท่านเป็นพระอริยเจ้าศีลจาริยวัตรงดงามอีกองค์เลยทีเดียว
     
  4. hon9999

    hon9999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +2,430
    "พระเจ้าพาราเข่ง” ที่วัดหัวเวียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผมได้เคยไปนมัสการมาเมื่อประมาณช่วงปีใหม่ของปี2551 สำหรับองค์พระมีพุทธลักษณะองค์สวยงามมาก แต่ ส่วนของวัดนั้นผมว่าเนื่องด้วยอาจมีคนมานมัสการน้อยจึงทำให้ดูเก่าๆไปนิดหนึ่งครับ ไว้จะรื้อรูปเก่ามาให้ชมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...