พศ. จัดงานเทศน์มหาชาติและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 31 สิงหาคม 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]



    นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องการจัดงานเทศน์มหาชาติและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม


    เทศน์มหาชาติ จัดเป็นโบราณประเพณีอย่างหนึ่ง ซึ่งบรรพบุรุษไทยยึดถือสืบทอดและปฏิบัติสืบต่อกันมาในปัจจุบันวัดต่าง ๆ ได้จัดให้มีการเทศน์มหาชาติขึ้น ในเทศกาลช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือน สำหรับการเทศน์มหาชาติเป็นการร่วมกันจรรโลงมรดกทางวัฒนธรรมที่สูงค่าให้อยู่คู่กับพระพุทธศาสนาโดยน้อมรำลึกถึงเรื่องราวในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ชาติ เป็นพระเวสสันดร พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมียิ่งใหญ่คือการบริจาคทรัพย์สมบัติ พระโอรส พระธิดา และพระมเหสี ซึ่งการกระทำดังกล่าวเรียกว่า “มหาทาน” ยากที่ปุถุชนทั่วไปจะทำได้

    การจัดงานเทศน์มหาชาติเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม คุณธรรมอันดีงามทางพระพุทธศาสนาและเป็นการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ได้มีการเชิญชวนกระทรวงต่าง ๆ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสฟังเทศน์มหาชาติ และร่วมเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์มหาชาติในแต่ละกัณฑ์ โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้กราบอาราธนาพระภิกษุที่มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติมาเป็นองค์แสดงแต่ละกัณฑ์ โดยกำหนดให้มีงานเทศน์มหาชาติและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓

    กำหนดให้มีพิธีเปิดงานในวันจันทร์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์ นายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ประธานฝ่ายฆราวาส กล่าวถวายรายงาน จากนั้นจะเป็นการเทศน์กัณฑ์คาถาพัน

    วันอังคารที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓ เทศน์กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ กัณฑ์วนประเวศน์ กัณฑ์ชูชก ตามลำดับ

    วันพุธที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ เทศน์กัณฑ์จุลพน เทศน์กัณฑ์มหาพน และเวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงสดับพระธรรมเทศนามหาชาติเวสสันดรชาดก “กัณฑ์กุมาร” ๑๐๑ พระคาถา

    วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓ เทศน์กัณฑ์มัทรี เทศน์กัณฑ์สักกบรรพ เทศน์กัณฑ์มหาราช เทศน์กัณฑ์ฉกษัตริย์ เทศน์กัณฑ์นครกัณฑ์ และเทศน์ปุจฉาวิสัชนา ๒ ธรรมาสน์ เรื่อง “อริยสัจ ๔”

    โอกาสนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ขอเชิญพุทธศาสนิกชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา เฝ้ารับเสด็จฯ และร่วมฟังเทศน์มหาชาติ ร่วมปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกรียติในครั้งนี้โดยพร้อมเพรียงกัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานพุทธมณฑล โทร. ๐ ๒๔๔๑ ๐๙๐๒, ๐๒ ๔๔๑ ๙๐๑๒ นางจุฬารัตน์ บุณยากร กล่าว.

    พศ. จัดงานเทศน์มหาชาติและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง


    <STYLE>table {background:none;} td {background:none;}</STYLE><STYLE>body{background-image:url("http://palungjit.org/attachments/a.758353/");}</STYLE>
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260

    [​IMG]

    เทศน์มหาชาติ จัดเป็นโบราณประเพณีอย่างหนึ่ง ซึ่งบรรพบุรุษไทยยึดถือสืบทอดและปฏิบัติสืบต่อกันมา
    ในปัจจุบันวัดต่าง ๆ ได้จัดให้มีการเทศน์มหาชาติขึ้น ในเทศกาลช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือน
    สำหรับการเทศน์มหาชาติเป็นการร่วมกันจรรโลงมรดกทางวัฒนธรรมที่สูงค่าให้อยู่คู่กับพระพุทธศาสนา
    โดยน้อมรำลึกถึงเรื่องราวในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ชาติ เป็นพระเวสสันดร
    พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมียิ่งใหญ่คือการบริจาคทรัพย์สมบัติ พระโอรส พระธิดา และพระมเหสี
    ซึ่งการกระทำดังกล่าวเรียกว่า “มหาทาน” ยากที่ปุถุชนทั่วไปจะทำได้

    [​IMG]

    <TABLE id=Table1 width="90%" align=center><TBODY><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๑ กัณฑ์ทศพร</TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>กล่าวถึงเหตุที่จะมีเรื่องเวสสันดรชาดกขึ้นกับเล่าเรื่องพระนางผุสดีในอดีตจนถึงทูลขอพร ๑๐ ประการ จากท้าวมัฆวารผู้ภัสดาพระนางผุสดีได้รับพรทิพย์ ๑๐ ประการ ในวันจะเกิดมาเป็นมารดาของพระเวสสันดร ณเมืองสีพีราษฎร์ เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมานครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรมพระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้วพระราชโอรสมีพระนามว่า "สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดีพระธิดาแห่งราชากรุงมัททราช พรจากภพสวรรค์แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดงถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ข้อนั้นมีดังนี้ ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป ขอให้พระครรภ์งามไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ ขอให้ผิดพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้

    [​IMG]


    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์</TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต พระนางเทพผุสดีได้จุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษา จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค" เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ ๑๖ พรรษา ราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดาชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อมาพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร

    [​IMG]


    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ </TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐

    [​IMG]


    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศ</TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายพระพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระนคร กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฎิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรมซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา

    [​IMG]


    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก</TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า

    [​IMG]


    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน</TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี


    [​IMG]

    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน </TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับอจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤๅษีจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร


    [​IMG]

    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร</TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก


    [​IMG]

    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี </TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึก จนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทาง จนค่ำเมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบ นางจึงได้ทรงอนุโมทนา

    [​IMG]


    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ</TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรี พระเวสสันดรจึงพระราชทานให้ พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ

    [​IMG]


    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช </TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้ เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี


    [​IMG]

    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ </TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกต พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก


    [​IMG]

    </TD></TR><TR bgColor=palegoldenrod><TD width="100%" colSpan=2>กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์</TD></TR><TR bgColor=whitesmoke><TD width="100%" colSpan=2>เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนคร พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี และเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชน ท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาไปตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

    ขอขอบคุณและอนุโมทนาสำหรับข้อมูลจากhttp://www.dhammasukho.net/sound2.php


    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา
    [​IMG]</O:p>





    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2010
  3. สุทธิมา

    สุทธิมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    784
    ค่าพลัง:
    +2,118
    [​IMG]

    อนุโมทนาสาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เย็นจิต

    เย็นจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +709
    ผมนึกว่าในกรุงเทพ อยากไปร่วมจังเลยแต่น่าจะจัดเดือนตุลาฯ กันยาฯนี้ต้องรีบทำงานปิดงบประมาณ T_T
     
  5. pipat551

    pipat551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +345
  6. lasomchai

    lasomchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +2,035
    ขออนุโมทนาบุญกุศลด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...