เรื่องเด่น คุณสมบัติและอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย PalmPalmnaraks, 23 มกราคม 2005.

  1. PalmPalmnaraks

    PalmPalmnaraks บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่ยังเป็น อนิยตะโพธิสัตว์ ที่สร้างบารมีสมบูรณ์แล้ว จะได้รับพุทธพยากรณ์เป็น
    ครั้งแรก ต่อพระพักตร์พุทธเจ้า ต้องมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์ จึงได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า

    dfd9c7.jpg


    จะได้ตรัสรู้เป็นองค์พระพุทธเจ้า ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น ก็กลายเป็น นิยตะโพธิสัตว์ ทันที
    คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้

    ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ
    1. ได้เกิดเป็นมนุษย์
    2. เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกระเทย
    3. มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน(ถ้าเกิดเปลียนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที)
    4. ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อพระพักตร์
    5. ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤาษี ดาบส หรือปริพาชก
    ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสผู้ครองเรือน
    6. ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ
    7. เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ
    8. ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง

    กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ
    1. อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
    2. อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
    3. อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
    4. หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจรีญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ

    อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ
    1. เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
    2. วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ
    3. อโลภ พอใจในการบริจาคทาน
    4. อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
    5. อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
    6. นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 พฤษภาคม 2017
  2. Ghosty Rat

    Ghosty Rat บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    "พระโพธิสัตว์" คือ ผู้ซึ่งจะได้มาตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านอธิษฐานจิตถึงพระพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรม ช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม สะสมบารมี ๑๐ ทัศ ทุกๆคนเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ไม่ประพฤติเบียดเบียนสนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรม

    คุณธรรมหลักของผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ คือ "มหาเมตตา" แปลว่า ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระโพธิสัตว์จึงมีคุณธรรมอื่นๆต่อเนื่องกันคือ

    มหากรุณา คือความปราณีต่อสรรพสัตว์(หมายรวมมนุษย์) ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง สงสารผู้ยากลำบากทั้งหลาย เฝ้าตามช่วยแนะเพื่อความสุขของเขา เป็นความยินดีกรุณาของพระโพธิสัตว์ทั้งลาย

    มหาปัญญา คือเป็นผู้มีความรู้หรือศึกษาหาวิชาใส่ตัว ได้เป็นประโยชน์ส่วนตนเอง ส่วนผู้อื่นช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว

    มหาอุบาย คือรู้ในวิธีนำตนและผู้อื่นให้พ้นภัยและสัมฤทธิผลเข้าถึงในคุณธรรมต่างๆที่มีประโยชน์

    มหาปณิธานของพระโพธิสัตว์

    ๑. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมด
    ๒. เราจะต้องตั้งใจศึกษาพระะรรมทั้งหลายให้เจนจบ
    ๓. เราจะไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
    ๔. เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ทศภูมิของพระโพธิสัตว์

    ทศภูมิของพระโพธิสัตว์ คือภูมิจิตของพระโพธิสัตว์ มี ๑๐ ภูมิดังนี้
    ๑. มุทิตาภูมิ พระโพธิสัตว์มีความยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์ (ภูมินี้บำเพ็ญหนักในทานบารมี)
    ๒. วิมลาภูมิ (ปราศจากมลทิน) พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา (ภูมินี้มีศีลบารมีเป็นใหญ่)
    ๓. ประภาการีภูมิ (มีความสว่าง) พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชาได้เด็ดขาด มีความอดทนทุกประการ (ภูมินี้มีขันติบารมีเป็นใหญ่)
    ๔. อรรถจีสมดีภูมิ (รุ่งเรือง) พระโพธิสัตว์มีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (ภูมินี้มีวิริยะบารมีเป็นใหญ่)
    ๕. ทุรชยาภูมิ (ผู้อื่นชนะยาก) พระโพธิสัตว์ละสภาวะสาวกญาณ กับปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกั้นพุทธภูมิ (ภูมินี้มีญาณบารมีเป็นใหญ่)
    ๖. อภิมุขีภูมิ (มุ่งหน้าต่อทางนิพพาน) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท (ภูมินี้มีปัญญาบารมีเป็นใหญ่)
    ๗. ทูรังคมาภูมิ (ไปไกล) พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก (ภูมินี้มีอุบายบารมีเป็นใหญ่)
    ๘. อจลาภูมิ (ไม่คลอนแคลน มั่นคง) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี
    ๙. สาธุบดีภูมิ พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณ (ภูมินี้บำเพ็ญหนักในพลบารมี)
    ๑๐. ธรรมเมฆภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในญาณบารมีมีจิตอิสระ ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม (บำเพ็ญหนักญาณบารมี)

    เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทศภูมิเต็มบริบูรณ์แล้ว ย่อมมีพระคุณเทียบเท่าพระพุทธเจ้า เหลืออีกชาติเดียวก็จักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับพระศรีอริยเมตตไตรยโพธิสัตว์

    จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ

    ๑. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
    ๒. พระโพธิสัตว์ ครองชีวิตโดยไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีภยันตราย
    ๓. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์
    ๔. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารมาขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
    ๕. พระโพธิสัตว์ คิดว่าจะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
    ๖. พระโพธิสัตว์ จะคบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผล
    ๗. พระโพธิสัตว์ จะไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอทุกอย่าง
    ๘. พระโพธิสัตว์ จะทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
    ๙. พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาจะมีหุ้นส่วนด้วย
    ๑๐ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะโต้ตอบ หรือฟ้องร้อง

    อุดมการณ์โพธิสัตว์ มีหน้าที่หลัก ๒ ประการ

    ๑. โพธิสัตว์นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์แล้ว ยังมุ่งในความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีในโลกนี้
    ๒. โพธิสัตว์ปรารถนาให้สรรพสัตว์ได้บรรลุนิพพาน โดยตนเองปฏิเสธการเข้าถึงนิพพานของตน เพื่อที่จะได้ยังมีโอกาสรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าจะต้องยังอยู่ในที่แห่งความทุกข์ยาก เพื่อสร้างคุณความดีช่วยเหลือสรรพสัตว์ ซึ่งนับว่าเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่โดยตั้งปณิธานสำคัญว่า


    "ข้าฯจะไม่เข้าสู่ปรินิพพานจนกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจะพ้นทุกข์
    ข้าฯจะยังคงอยู่ที่นี่ตราบจนวัฏสงสารจะสิ้นสุดลง
    แม้ว่าข้าฯยังจะต้องอยู่ที่นี่อีก แม้เพียงชีวิตใดชีวิตเดียว"


    ยาน (yanas) หรือเส้นทางซึ่งนำไปสู่การบรรลุโพธิ แบ่งเป็น ๓ ประเภท

    ๑. สาวกยาน คือ ยานของพระสาวกที่มุ่งเพียงอรหันตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
    ๒. ปัจเจกยาน คือ ยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
    ๓. โพธิสัตวยาน คือ ยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีจิตใจเมตตา ใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหันตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวาง และเป็นรู้แจ้งในสุญญตธรรม

    โพธิสัตว์จะต้องมีจรรยา ๔ คือ

    ๑. โพธิปักขิยจรรยา คือ ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง อันประกอบด้วยคุณธรรม ๓๗ ประการ คือ
    ๑.๑ สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ๑.๒ สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรอันบุคคลตั้งไว้ชอบ ได้แก่ สังวรปธาน(เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน), ปหาปธาน(เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว), ภาวนาปธาน(เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน) และอนุรักขนาปธาน(เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม)
    ๑.๓ อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
    ๑.๔ อินทรีย์ ๕
    ๑.๕ พละ ๕ ได้แก่ สัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ และปัญญา
    ๑.๖ โพชฌงค์ ๗ ได้แก่ สติ(ความระลึกได้), ธัมมวิจยะ(ความเฟ้นหาธรรม), วิริยะ(ความเพียร), ปีติ(ความอิ่มใจ), ปัสสัทธิ(ความสงบใจ), สมาธิ(ความมีใจตั้งมั่น), อุเบกขา(ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง)
    ๑.๗ มรรค ๘ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ

    ๒. อภิญญาจรรยา คือ การปฏิบัติความรู้ทั้งมวล

    ๓. ปารมิจาจรรยา คือ ปฏิบัติเพื่อการสร้างสมบารมี ซึ่งในทางเถรวาทจะกล่าวถึงทศบารมี ๑๐ ประการ แต่ฝ่ายมหายานจะกล่าวถึงบารมีหรือปารมิตาที่สำคัญ ๖ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา โดยสาระที่แท้จริงแล้วก็คือการพัฒนาหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง ส่วนเนกขัมบารมี ซึ่งแม้จะไม่ได้ระบุไว้ในบารมีของฝ่ายมหายาน แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด จะพบว่า ในการบำเพ็ญฌานบารมีนั้น เมื่อปฏิบัติในขั้นสูง ผู้ปฏิบัติจะรักษาพรหมจรรย์ ซึ่งใกล้เคียงกับการออกบวชในประเด็นที่เป็นผู้ออกจากกามเช่นกัน

    ๔. สัตตวปริปาจรรยา คือ การอบรมสั่งสอนสรรพสัตว์

    I am sorry if I did something wrong with your topic but I add more what I got and thank you for this information
     
  3. กระสือข้างส้วม

    กระสือข้างส้วม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,212
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +392
    โอ้โห...สงสัยยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกหลายชาติแฮะ กว่าจะได้มาเป็นโพธิสัตว์
    เพิ่งเป็นแค่เมล็ดเองหงะ....
     
  4. Boatnoy

    Boatnoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +351
    มีต่ออีกมั้ยครับ
     
  5. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +5,790
    ทำความดีไปเรื่อยๆ ครับ สะสมไปเรื่อยๆ ถึงเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นครับ อย่าคิดมากสะสมไปเรื่อยๆครับ น้ำฝนหยดลงตุ่มทีละนิดยังเต็มได้ นับประสาอะไรกันกับการที่เราทำความดีสม่ำเสมอครับ สักวันคงเต็มเอง. อย่าท้อใจสู้ๆๆๆ



    (sing) (sing) (sing) (sing) (sing)
     
  6. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +1,938
    ฮึบๆ ดันๆ
     
  7. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,191
    ค่าพลัง:
    +1,095
  8. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +708
    ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านสู้ต่อไปฮะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...