อริยมรรคมีองค์ ๘

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย wvichakorn, 21 ตุลาคม 2010.

  1. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,657
    ค่าพลัง:
    +9,236
    [​IMG]

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุท ธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุท ธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุท ธสฺส



    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ขอนอบน้อมแด่พระธรรม พระสงฆ์



    [​IMG]



    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒

    วิภังคปกรณ์</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <CENTER></CENTER><CENTER>๑๑. มรรควิภังค์</CENTER><CENTER>สุตตันตภาชนีย์</CENTER><CENTER>อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑</CENTER><CENTER> </CENTER>[๕๖๙] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
    [๕๗๐] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
    [๕๗๑] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในอันออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ
    [๕๗๒] สัมมาวาจา เป็นไฉน ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ความงดเว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่าสัมมาวาจา
    [๕๗๓] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ
    [๕๗๔] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ
    [๕๗๕] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงมั่น ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
    [๕๗๖] สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ
    [๕๗๗] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายในไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิ อยู่ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกายบรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
    <CENTER></CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๗๔๘๘ - ๗๕๔๑. หน้าที่ ๓๒๔ - ๓๒๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=7488&Z=7541&pagebreak=0


    </PRE>


    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=58083[/MUSIC]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2010
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,883
    อ่านเสียงดังชัดเจน ไม่มีเสียงรบกวน ขออนุโมทนากับคุณตุ่มด้วยค่ะ
     
  3. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
    ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
    ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

    ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ
    ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ

    ความดำริในอันออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท
    ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ

    ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
    ความงดเว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
    นี้เรียกว่าสัมมาวาจา

    ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์
    ความงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ

    บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว
    เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ

    ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
    ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
    ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร
    เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร
    เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
    ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร
    เพื่อความดำรงมั่น ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ
    ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

    ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
    พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ

    ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
    บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่
    บรรลุทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ภายใน ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิอยู่
    เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกายบรรลุตติยฌาน
    ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า
    เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้
    เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
    นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ


    อนุโมทนาบุญจ๊ะพี่ตุ่ม








    <CENTER></CENTER>
     
  4. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,657
    ค่าพลัง:
    +9,236

    ขออนุโมทนาค่ะ
    (ปุ่มอนุโมทนา..ไปไหน)
     
  5. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,185
    <TABLE cellPadding=6 width=693><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...