อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ หรือปล่อยรู้ไปตามธรรมชาติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 14 พฤศจิกายน 2010.

  1. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    หากคุณ ขันธ์ เคยฟังเทศน์ จากพระพุทธเจ้า คุณขันธ์จะ รู้ ว่า จิต เจตสิก และ ผู้รู้ คืออารัย ปัญญา กับ ความฉลาด ไม่เหมือนกัน จะหมายเอาความจำได้หมายรู้เป็น ปัญญา ก้อไม่ใช่ ปัญญา เกิดจาก สติ สมาธิ ( ถามว่าคน บ้า มี สติมั้ย ตอบ มีแต่ ควบคุมไม่ได้ ) เมื่อเรา มีสติ อยู่เป็นเวลานาน สมาธิ คือความตั้งมั้นใน สติ ผล คือ ปัญญา รู้เท่าทัน (อธิบายเป็นตัวหนังมันยากเหมือนกันนะ) ลงตามหาจิตเอาเอง
     
  2. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    คุณจะขึ้น บันได อย่าลังเลว่าจะก้าว เท้าขวา หรือ ซ้ายก่อน ไม่ว่าก้าว เท้า ซ้ายหรือขวา ก้อขอหั้ยเรา รู้ ว่าก้าวเท้า เพราะ การก้าวเท้าจะทำหั้ยเราไปถึง จุดหมาย
     
  3. prayut.r

    prayut.r เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +1,707
    ผมขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะครับ ในมุมของคนที่ชอบปฏิบัติ อานาปานสติ+พุธโธ

    จากที่ผมชอบฟังเทศก์จากหลวงพ่อฤาษี "ท่านบอกว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจ แต่ไม่ให้บังคับลมหายใจ"

    ตอนผมปฏิบัติใหม่ๆ พอผมกำหนดรู้ปุ๊บ จะเกิดอาการบังคับลมหายใจตามมาทันที ตามมาด้วยความรู้สึกอึดอัดหน้าอก มาตลอด

    ผมก็เลยมาถามแนวทางจากผู้ปฏิบัติธรรมในบอร์ดนี้ ก็มีคนบอกว่าตอนแรกมันจะรู้สึกเหมือนบังคับลมหายใจก็ปล่อยมันไป กำหนดรู้ไอ้ลมหายใจที่อึดอัดนั้นแหละไปเรื่อยๆ

    จนมันชินกลายเป็นลมหายใจตามธรรมชาติของเราเองนั้นแหละ ผมก็ปฏิบัติตามก็เห็นว่าเป็นผลจริง ปัจจุบันนี้อาการดังกล่าวก็หายไป

    ดังนั้นผมก็ไม่เห็นว่าจะมีใครผิดใครถูก เพราะเราปฏิบัติอะไรตอนเริ่มต้นมันจะไม่ชิน (เหมือนการบังคับ)
    แต่ทำสม่ำเสมอ จนมันกลายเป็นปกติของเราแบบไม่ได้บังคับมัน (เป็นธรรมชาติของเรา)

    แต่ไม่ว่าทำแบบไหน มันก็ทำให้เรามีสติเหมือนกันมิใช่หรือครับ? เอ๊ะหรือผมเช้าใจผิด?
     
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    คุณดูลมหายใจที่เป็นธรรมชาติ แล้วคุณได้อะไร (นี่เป็นข้อความของ ขันธ์) สิ่งที่ได้ ก่อนเลย เมื่อทำนานๆๆ คือ สติ
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ก็ไม่ได้เข้าใจผิด หรือต้องหาผิดหาถูกหรอกครับ

    เพียงแต่ว่า หากจะพูดฟันธงลงไปว่า อานาปานสติ ทำอย่างไร

    มันก็มีให้เลือกว่า

    จะเลือกพูด ตรงที่ส่วนถูกไปเลย หรือว่า เราจะบรรยายประสบการณ์ของเรา
    ตั้งเป็นอรัมภบทก่อน

    ถ้าบรรยายที่เราทำมา(พลาด) ก่อน ก็คงต้องพูดตรงที่ ทำแล้วอึดอัด มาก่อน

    แต่ถ้าเรา เอาส่วนที่เราปฏิบัติมาออกไป แล้ว พูดเฉพาะส่วนที่ใช่ มันก็จะ
    อีกเรื่องหนึ่ง

    ปัญหาเลยมาลงที่ว่า จะฟันธงอย่างไร จริงๆ จำเป็นไหมที่เราต้องพูดถึง
    จุดที่เราผิด เพื่อขยายความส่วนที่บริสุทธิที่มีอยู่

    สมมติว่า เห็นว่า จำเป็น คราวนี้ มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่ อานาปานสติ
    จะมีวิธีตั้ง 108 1009

    แต่ 108 1009 ที่ระบุขึ้นมานั้น จริงๆแล้ว มันใช่ อานาปานสติ หรือเปล่า
     
  6. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    หายใจ พักให้ใจเย็น(ก่อน)

    ลมหายใจแน่ไว้ ..............ผูกจิต
    ระงับดับความคิด ............แค่รู้
    รูปนามแค่หลงติด............กองอยู่
    วางซึ่งอาการคู่ ..............หนึ่งรู้ ชูธรรม



    * โคลงขำขำ คลายเครียด ให้พักอาการจิต
     
  7. prayut.r

    prayut.r เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +1,707
    อ๋อ ผมเข้าใจแล้วครับผม ^-^
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ผมว่าเจ้าของกระทู้กล่าวไว้ดีแล้วนะครับ
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เคยได้ยินแต่ รูป จิต เจตสิก นิพพานครับ

    คนบ้าไม่เรียกว่ามีสตินะครับ คนปกติธรรมดา ก็ยังไม่ถือว่ามีสติด้วยครับ

    ถ้าเช่นนั้น คนเราจะวิปัสสนาได้ ต้องอาศัยกำลังสมาธิเป็นบาทฐานใช่ไหมครับ

    มันก็เช่นเดียวกัน ในทีแรกต้องกำหนดลมหายใจก่อน พอเริ่มนิ่ง เริ่มมีกำลัง สติ สมาธิ พอเ้หมาะ จึงเห็นรูปนาม หรือลมหายใจตามจริง อย่างนี้ผิดไหมครับ

    ในทางสมาธิ มันก็เป็นขั้นไม่ใช่หรือครับ ขนิก อุปจาร อัปปา ถ้าชำนาญแล้ว ก็น้อมเอาได้ อย่างคนทำบ่อย ๆ ชำนาญ จะเข้าฌาน ก็น้อมเอา

    กรุณาใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยครับ
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ภาษาไทยวันละนิด
    หั้ย เขียนว่า ให้

    ภาษาไทยในทางการสอนธรรม

    ขนิก เต็มๆ คือ ขนิกสมาธิ

    อุปจาร เต็มๆ คือ อุปจาระสมาธิ

    อัปปา เต็มๆคือ อัปนาสมาธิ


    เอ...ผู้รู้ ผู้รู้ มาสะกดให้ถูกที
     
  11. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ที่เขากล่าวมานั้นก๋โอเคแล้วละครับ อย่าไปเอาเรามาวุ่นวายครับ บางท่านไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่ามีเรามาเกี่ยวข้องจึงไม่ใช่อานาปาณสติ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเรื่องของเราและไม่เรานั้นมันไม่เกี่ยวกับอานาปณสติเลย ดังนั้นห้ามมองเรื่องนั้นเลย เพราะวัตถุประสงค์ของอานาปาณสติไม่ใช่เพื่อให้รู้เราหรือไม่ใช่เราครับ เป็นอุบายของการฝึกสติ ถ้าพูดแบบบ้านๆก็คือฝึกเราให้เป็นเราก่อน ให้เห็นก่อนว่าเรานั้นเป็นอะไร เป็นลมหรือเป็นแล้งกันแน่ ทีนี้หากไปเข้าใจว่าเราไม่กำหนดมันกลายเป็นการผสมแบบไฮบริด ซึ่งถามว่ามันผิดไหมมันก็ไม่ผิดแต่ผลที่ได้รับมันอาจไม่เป็ฯอย่างที่ควรเนื่องจากสติเป็นของสำคัญ มันจึงเป็นเหตุให้หลงและไหลไปได้หากมาพิจารณาว่าเป็นเราหรือไม่เป็นเราเรียกว่ามันนอกประเด็นของการทำอานาปาณสติ ซึ่งพระศาสดาทรงเอาผลของการฝึกอานาปาณสตินั้นมาพิจารณาธรรมหรือเรียกว่า วิปัสสนา โดยอาศัยความละเอียดของสติที่ฝึกมานั้นจึงให้ผลอย่างสูงสุด
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    บอกให้เอาบุญไหมโยนิโสมนสิการนะครับ การที่คนเราคิดว่าตนนั้นเลิศเลอกว่าใครเป็นอุปกิเลส การที่ตนเองคิดว่าตนเองบรรลุธรรมแล้วก็เป็นอุปกิเลส และที่เห็นว่าบางอย่างไม่สอดคล้องนั้นเพราะธรรมยังเป็นธรรมตามความคิดไม่ใช่ธรรมตามธรรม และมันก็เป็นความคิดของแต่ละคนๆ เวลาเรามองเราจะมองว่าธรรมนั้นๆสอดคล้องต่อผลการปฏิบัติไหม เป็นแบบที่พระศาสดาตรัสไว้ไหม ซึ่งแน่นอนผลการปฏิบัตินั้น มีเพียงพระศาสดาจะรับรองได้ และอีกคนหนึ่งก็คือตัวเรา ดังนั้นผู้ที่มีธรรมอยู่จะพิจารณาเห็นได้เองกระจ่างแจ้งเอง ไม่ติดอยู่ไม่ยึดไว้ เพราะหนทางวิธีการนั้นเป็นไปตามกำลังของปัญญาแต่ละคน ดังนั้นการมองว่าตนเป็นแบบนั้นเป็นแบบนี้ผู้อื่นเป็นแบบนั้นเป็นแบบนี้ ดีกว่าเลวกว่านั้นจึงเป็นอันตกไปเพราะด้วยโยนิโสมนสิการของตนเองเท่านั้น
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    นอกจากภาษาไทยวันละนิดแล้ว

    ยังมีภาษา บาลีวันละนิด

    โพสนี้ ขอเสนอ คำว่า ... สิกขติ กับ ปริยาปุณาติ...

    สิกขติ แปลว่า การศึกษา คือการที่กระทำด้วย การค้นคิด
    การหัดคิด การหัดนึก ด้วยการกระทำทางใจ

    ปริยาปุณาติ แปลว่า การเรียน คือ
    การกระทำตามด้วยทางกาย ทางวาจา โดยมีผู้ทำให้ดู
    แล้วทำตาม ทางกาย และวาจา

    เช่น มีผู้เขียนรูปวัวให้ดู แล้วคนที่ดู
    ก็หัดเขียนตามคนที่เขียนให้ดู ตามต้นแบบ
    เรียก ว่า การเรียน
    บาลี ว่า ปริยาปุณาติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤศจิกายน 2010
  14. ?????

    ????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +239
    กรรมฐานกองนี้ถูกจริตผมเป็นที่สุด ส่วนตัวในการเจริญอานาปานสติการกำหนดนั้น ผมก็แต่งลมหายใจ เอาให้มีสติชัดๆ ชัดที่สุด อาจจะหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ทำไปจนกระทั้ง ลมหายใจมันจะแนบไปกับจิตเอง(ช่วงแรกๆที่ฝึกใหม่อึดอัดบ้างเหมือนกัน) ตอนลมหายใจแนบไปกับจิต ตอนนี้การกำหนดแต่งลมหายใจจะหายไปเองมันก็จะมีความรู้ตัวชัดๆเด่นอยู่ตรงนั้น ก็จะเห็นลมหายใจแผ่วเบาลงเรื่อยๆจนไม่มี(ตอนนี้ก็รู้จักลมหายใจเฉยๆ เพราะอาการกำหนดไม่ปรากฏ) สรุปที่ทำมาแล้วเป็นผลดีสำหรับผมคือ ผมกำหนดลมหายใจโดยการแต่งลมหายใจเพื่อให้มีสติชัดที่สุด ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้จิตไม่มั่นคงเพราะไม่มีสติกำกับตอนเริ่มต้น สาธุกับท่านทั้งหลาย ผิดถูกประการใดขออภัย นี้เป็นการปฏิบัติส่วนตัว
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ถูกต้องแล้ว เป็นอานาปานสติที่ถูกต้อง
     
  16. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    อานาปานสติ ก็แค่ตามรู้ลมหายใจ เข้า-ออก เข้า-ออกยาวหรือสั้น
    จะทำแบบธรรมชาติ หรือ จับสามฐาน หรือ จับเจ็ดฐานแบบหลวงพ่อสด ก็ได้ทั้งนั้น

    คราวนี้มาดูว่า อานาปานสติ ใช้แบบไหนในมรรค สัมมาสติหรือสัมมาสมาธิ

    สัมมาสติ ก็จะเป็นแบบ สติปัฏฐานสี่ จะใช้สติรู้ตาม จึงทำให้ได้อย่างมากก็ฌานหนึ่ง
    เพราะสติปัฏฐานเป็นอารมณ์พิจารณา ด่อเมื่อบรรลุมรรคผลแล้วถึงจะเข้าสู่ฌานสี่

    สัมมาสมาธิ ก็จะเป็นแบบ การจับสามฐานและเจ็ดฐาน และแบบธรรมชาติด้วย
    จะทำให้เข้าได้ถึงฌานสี่ เพราะเป็นการทำให้จิตตั้งมั่น
     
  17. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    อ้างอิง......
    จึงขอสรุปว่า อานาปานสติ จะต้องกำหนดลมหายใจเอง เรียนรู้เอง เอาใจไปวางไว้เอง ไม่ใช่ไปรู้ลมหายใจตามธรรมชาติ เว้นแต่เราจะชำนาญในกองลม แล้ว ธรรมชาติของลมหายใจเป็นปกติแล้ว จึงควรรู้ในลมปกตินั้น

    อยากรู้ จะต้อง กำหนดลมเอง หรือ รู้ลมเอง ก็ต้องลงมือทำเอง จึงจะรู้ได้ด้วยตนเอง แล้วเอามาตอบในกระทู้ ......หรือ ไม่ตอบ ก็ได้

    วันเดียวก็รู้คำตอบครับ ????? สังเกตที่อารมณ์ ความรู้สึก มันจะบอกเจ้าตัวเอง......
     
  18. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ขอสรุปว่า อานาปานสติ ให้ตามรู้ลมเข้าออก สั้นยาว จะบังคับลมหายใจให้สั้นยาว

    หรือไม่บังคับก็ได้ (ธรรมชาติ)
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    สิ่งที่พากันสับสนกันตลอดคือ

    คนมักคิดว่า เมื่อทำอานาปานสติสมาธิ ส่วนปลายจะต้องได้ ฌาณ1234

    เหล่านี้เป็นอาการตัณหาที่แอบตั้งเอาไว้ เลยทำให้ อานาปานสติ มักพูด
    รวมเป็นเนื้อเดียวกันกับการทำรูปฌาณ (มักยกว่า รู้ลมให้ชัดๆ ซึ่งต่าง
    จากพุทธวัจนะที่ให้รู้ สรรพสัญญา สรรพสังขาร สลับกับ การรู้ลมหาย
    ใจว่าเข้าหรือออก ณ เบื้องหน้าขณะนั้น)

    จริงๆแล้ว ต้องแยกกันให้เด็ดขาด ต้องใช้ปัญญาให้มากๆ ต้องใช้สติให้
    มากๆ ถึงจะน้อมวิจัยแยก อานาปานสติสมาธิ ออกมาจากการทำสมาธิที่
    เป็นรูปฌาณ หรืออรูปฌาณ

    อานาปานสติสมาธิ ก็คือ การทำสมาธิที่ต้องมี สัมปชัญญะ รู้เนื้อรู้ตัว
    ตลอด ตรงนี้ต้องกลับไปเน้นอีกทีว่า พระพุทธองค์เน้นว่า เราจะไม่กล่าวว่า
    อานาปานสติ มีในผู้ที่ขาดสัมปชัญญะ ขาดสติ เผลอสติ

    ตรงนี้จึงต้องพิจารณาให้ดีๆว่า การทำรูปฌาณนั้น บางกรณีนั้น ทำได้
    แล้วก็ขาดสติ ไม่ใช่ว่าจะมีสติเสมอไป อรูปฌาณบางกรณีทำได้แล้วก็ไม่ได้มีสติ
    ขาดสติเช่นกัน ดังนั้น การแนบจิตเข้าไปกับลม หรือยกองค์นิมิตของลม
    ขึ้นเป็นรูปฌาณนั้น ไม่ใช่เรื่องการทำอานาปานสติ แต่เป็นเรื่อง การทำรูป
    ฌาณโดยการทำกสิณ การกำหนดที่ตั้ง หรือจุดกระทบ ก็เป็นเรื่องของการ
    ทำกสิณ ซึ่งไม่ได้รับประกันว่า ยกรูปฌาณนั้นๆได้แล้ว จะมีสติบริบูรณ์อยู่

    ซึ่งต่างจาก อานาปานสติ ที่ไม่มีการแนบเข้ากับลม เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ก็
    ต้องใส่ใจศึกษาที่จะเปลื้องจิต ปล่อยจิต ไม่ตั้งตัวจิตผู้รู้ขึ้นมา และการใส่
    ใจศึกษาที่จะเปลื้องจิต ปล่อยจิต ตรงนี้เรียกว่า พิจารณาจิตในจิต

    ต้องเน้นว่าการใส่ใจปล่อยจิต เปลื้องจิต เป็นเรื่องพิจารณา จิตในจิต

    ที่ต้องเน้นเพราะ เมื่อถึงขั้นตอนนี้ คนจะหวงแหนจิต กลัวจะไม่มีจิต
    เลยสารวนอยู่กับการหาที่ตั้งของจิต ให้จิตมีที่ตั้ง เพื่อตั้งจิต ยกจิต

    ทั้งๆที่ อานาปานสติที่ถูกต้องตามพุทธวัจน บอกอยู่โต้งๆว่า ให้ปล่อย
    ให้เปลื้อง และอย่าลังเลสงสัยกลัวว่า จะไม่มีจิต เพราะถ้าลังเลเมื่อไหร่
    กำจัดอภิชญา โทมนัสในการปล่อยจิตไม่ได้เมื่อไหร่ ตัณหาก็จะเข้าครอบ
    งำแล้วนำไปสู่การทำ รูปฌาณเชิงกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็น
    การตกไปจากการทำอานาปานสติไปแล้ว

    ซึ่งหากตกจากอานาปานสติไปแล้ว ถ้าไปทำรูปฌาณได้ ก็ยังดี แต่ต้อง
    รอให้รูปฌาณนั้นสำเร็จเสียก่อน จึงจะกลับมาพิจารณากิเลส อาสวะ ภพ
    เล้กภพน้อยที่จะทยอยย้อนออกมาให้เห็น ก็เรียกว่า อ้อมออกไปทำรูปฌาน

    แต่หากไม่ลังเล แล้วเชื่อตามพุทธวัจนะ ลองพิสูจน์ด้วยการเปลื้องจิต ปล่อย
    จิต บทต่อไปของการใส่ใจศึกษาอานปานสติ จะเดินเข้าสู่การพิจารณาไตรลักษณ์
    ต่อไปทันที ไม่ต้องอ้อมไปไหน จิตจะได้รับการอบรมปัญญาให้เกิดทันที ไม่
    ต้องอ้อมไปในรูปฌานก่อนแต่อย่างใด

    เมื่อได้รับการอบรมไตรลักษณ์ไปตามขั้นตอนของอานาปานสติตามพุทธวัจนะนี้
    ไม่ใช่ไปเสพหรือเชื่อตามสาวก(ที่ไม่มีทางรู้ถ้วนในอานาปานสติ เพราะปัญญา
    อินทรีย์น้อย สติอินทรีย์น้อย) เมื่อนั้นก็จะเริ่มเห็นการใช้ัปัญญาเข้าตัดกิเลส จิต
    จะเริ่มขึ้นสู่โพชฌงค์ต่อไป

    ขอให้ลองกลับไปทบทวนอานปานสติ ตามพุทธวัจน ว่าหลังจากบทที่ผ่านการ
    อบรมเรื่องไตรลักษณ์แล้ว พระพุทธองค์ได้ยก อุปมาอุปไมยให้สดับ ก็จะเห็น
    ว่ายกอุปมาอุปไมยดั่งการไหลของสายน้ำ ที่จะมีความแน่นอนในการไหลไปสู่
    จุดหมาย และพระพุทธองค์ก็ยกซ้ำๆ เพื่อยืนยันให้สาวกผู้ปฏิบัติตามได้น้อม
    ใจขึ้นมาเชื่อฟัง อย่าได้เผลอไปทำกสิณเสียก่อนจะเดิน อานาปานสติ ให้
    ครบตามสูตร

    ผู้ใดก็ตาม ที่เดินอานาปานสติครบตามสูตรเนืองๆ แม้จะไม่ได้ยกจิตเข้า
    รูปฌาณเลย หรือไม่ได้ยกจิตเข้าอรูปฌาณเลย ก็ยังมีฐานะพึงหวังได้
    ในอรหัตถ์ผล แม้แต่ช่วงวาระสุดท้ายของการแตกดับของกาย ก็ยังสามารถ
    มีสติบริบูรณ์ที่จะพิจารณาเข้าสู่อรหัตถผลได้อยู่

    ตรงนี้ขอให้สังเกต บทบรรยายสรรพคุณอันมากของอานานปานสติ จะมี
    น้อยมากที่จะเอาคำว่า ปฐมฌาณ ทุติยฌาณ ตตติยณาณ จตุถฌาณ
    เข้ามาปนในเนื้อหาวิธีการทำอานาปานสติ

    ปฐมฌาณ ทุติยฌาณ ตตติยณาณ จตุถฌาณ จะมีกล่าวเข้ามาก็ต่อเมื่อ
    บุคคลนั้นๆกระทอานาปานสติสมาธินี้ให้มากๆ หากปราถนาจะยกเป็นรูป
    ฌาณหรืออรูปฌาณก็สามารถทำได้

    ขอให้สังเกตว่า มันแยกกัน ไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับการทำ ฌาณ
    อานาปานสติ เป็นเพียงสมาธิตัวหนึ่งที่ทำมากๆแล้ว เป็นเหตุให้
    เกิดรูปฌาณได้ เกิดอรูปฌาณก็ได้

    จึงอยากชี้ชัดลงไปว่า อานาปานสติ ก็คือ อานาปานสติ ตามพุทธ
    พจน์มีเท่าใด ก็ควรให้มีเท่านั้น พุทธพจน์สอนถ้วนแล้วอย่างไร ก็
    ขอให้พิจารณาปฏิบัติตามนั้น

    อย่าไปฟังคำสอนของสาวก ที่หยิบจับอุบายธรรมในการทำรูปฌาณ
    มาไข้วเขวออกไปจาก อรรถสาระอันแท้ของ อานาปานสติ

    เว้นแต้ สติสัมปชัญยะ จะมีไม่มากพอ ก็ควรต้องยอมกร่อนสัทธรรม
    โดยการไขว้เขวอานาปานสติให้เป็นเรื่องการทำรูปฌาณไปเสีย ก็ไม่
    ว่ากัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2010
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ขอแถลงอีกครั้งว่า

    ก่อนเริ่มบทสอนอานาปานสตินั้น พระพุทธองค์จะยกว่า ในสมัยที่พระพุทธองค์
    อยู่ในฐานะ "พระโพธิสัตว์" ท่านทำอานาปานสตินี้มาเป็นจำนวนมาก อันนี้
    ท่านยกมาเพื่อเตือน สาวก ที่อาจจะเอิดตัวว่า รู้ดีในอานาปานสติ ซึ่งไม่ใช่
    ฐานะ ไม่มีสาวก(ธรรมดาๆ)คนไหนที่จะรู้ดีในอานาปานสติ เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าใครจะ
    ฟังคำสอนของสาวกในเรื่องอานาปานสติ ขอให้พึงระลึกว่า ท่านผู้นั้นอาจจะ
    สอนรูปฌาณ หรืออรูปฌารอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า ไม่ใช่สอนเรื่องอานาปานสติ
    ที่ตนไม่มีฐานะ

    การที่พระพุทธองค์สำเร็จรูปฌาณ หรืออรูปฌาณ จากสำนักดาบษทั้งหลายได้
    โดยง่าย ไม่ใช่เพราะดาบษเหล่านั้นสอนท่านให้ทำ แต่เป็นเพราะ พระพุทธองค์
    เจริญอานาปานสติมาเป็นจำนวนมาก มากเกินกว่าสาวกจะหยั่งถึงได้ และเพราะ
    ความที่ได้ประกอบอานาปานสตินั้นมามาก เพียงปราถนาจะยกเป็นรูปฌาณ หรือ
    อรูปฌาณก็จึงทำได้โดยง่าย

    ขอให้พิจารณาในฐานะ อฐานะตรงนี้ให้ดีๆ ควรแค่ไหนที่จะหยิบจับ ทำการอธิ
    บาย อานาปานสติไปทางอุบายของตน ถ้าอดไม่ได้อยากจะสอน ก็ขอให้
    สำนึกในใจว่าตอนนั้น มีเป้าหมายที่จะสอนสมาธิชนิดใดกันแน่ แล้วเงียบ
    งำไว้อย่าได้บอกผู้ฟัง


    หรือจะ

    ทรงจำคำสอน อานาปานสติ ให้มีแต่ พุทธวัจนะ เท่านั้น ควรกว่าไหม

    จะเว้นไว้สักกรรมฐานได้ไหม ที่จะไม่เข้าไปทำลาย ไปพูดให้ผิดพุทธวัจนะ
    แม้แต่คำเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...