ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี วิถีพลังชุมชนแห่งใหม่ใน กทม.

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 5 ธันวาคม 2010.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    ตลาดน้ำกับวิถีแบบไทยๆ แทบจะแยกกันไม่ออก เคยคุยกับคนที่บ้านอยู่ริมแม่น้ำเขาบอกว่า ไปไหนมาก็แล้วแต่ พอกลับมาเห็นแม่น้ำ เห็นเรือพาย เรือจ้าง แล้วชื่นใจสุดๆ ช่วงหลังผู้คนโดยเฉพาะคนเมืองอย่างคน กทม. จึงชอบที่จะไปเดินตลาดน้ำ ตลาดบก ตลาดเก่ากันมากขึ้น
    ที่ผ่านมาชื่อเสียงของตลาดที่คุ้นหูกันดีเห็นจะหนีไม่พ้น ตลาดคลองสวน 100 ปี ตลาดสามชุก ตลาดดำเนินสะดวก ไม่รวมตลาดจงใจจับสไตล์เก่ามาผสมกับแบบโมเดิร์นอย่างเพลินวาร
    ล่าสุด หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักตลาดน้ำแห่งใหม่ นั่นคือ "ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี" เขตภาษีเจริญ เพราะเพิ่งเปิดขึ้นมาเมื่อต้นปี 2553 แต่ในตลาดมีความอร่อยเพราะอุดมไปด้วยของกินโบราณ ทั้งคาว หวาน ของท้องถิ่นที่หากินได้ยากจากตามห้างสรรพสินค้าไม่แพ้ตลาดน้ำอื่นๆ เช่น ตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำดำเนินสะดวก และตลาดน้ำดอนหวาย โดยเฉพาะรูปแบบการค้าขาย
    จุดเด่นของตลาดแห่งนี้ต้องบอกว่าเกิดจากความร่วมมือของชาวบ้านริมน้ำวัด นิมมานนรดีกับเขตภาษีเจริญ เป้าหมายในการทำตลาดน้ำควบคู่กับรักษาสิ่งแวดล้อม และคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตของท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับกระแสการท่องเที่ยวยุคใหม่ และแนวทางของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ที่กำหนดนโยบายภายใต้ "7 Green Concept" ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยึดเป็นแนวทางปฏิบัติตามแนวคิด นำเสนอวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืน ไม่ฉาบฉวย
    หากจะเล่าที่มาของตลาดแห่งนี้ ต้องเริ่มตั้งแต่การเกิดขึ้นของคลองภาษีเจริญ ซึ่งไม่ใช่คลองธรรมชาติ แต่มีพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด และใช้เงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นเงิน 112,000 บาท เมื่อขุดคลองเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2415 พระองค์จึงพระราชทานนามให้ว่า "คลองภาษีเจริญ" มีความยาว ประมาณ 25 กิโลเมตร
    ลักษณะคลองเป็นเส้นตรง ไปเชื่อมกับแม่น้ำท่าจีน ที่ล่องตามแม่น้ำออกอ่าวไทยได้แถวบริเวณ อ.มหาชัย จ.สมุทรสงคราม
    ส่วนแรงบันดาลใจที่ทำให้ขุดคลอง เพราะความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาเบาว์ริงระหว่างสยามประเทศกับอังกฤษ ที่ทำให้รัฐบาลสยามเสียรายได้จากการผูกขาดการค้ากับต่างชาติ
    หากจะลืมตาอ้าปากและยืนได้ด้วยตัวเอง จำเป็นจะต้องสร้างเส้นทางการค้าหรือ ตลาดใหม่ขึ้น ขณะนั้นชาวบ้านสมัยก่อนนิยมอยู่ใกล้แม่น้ำ และเมื่อคลองภาษีเจริญเกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านขยับขยายออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่ ริมคลองสายนี้ ทำให้เกิดการค้าขายในคลอง มีผู้คนพายเรือออกมาขายของซื้อของกันจนแน่นคลอง กลายเป็นตลาดขึ้นมา
    ครั้นถึงยุคที่ถนนหนทางเกิดขึ้นมากมาย วิถีชีวิตริมน้ำเปลี่ยนแปลงไป ยิ่งเมื่อมีตัดถนนเพชรเกษม ลักษณะคู่ขนานกับคลองภาษีเจริญ ทำให้ถนนดังกล่าวเป็นเส้นทางสายหลักนับแต่นั้นเป็นต้นมา
    ขณะที่วิถีริมคลองได้ลดบทบาทลงจนเกือบจะปิดตัวลง กระทั่ง "วิภาวี พงศ์พิริยะวนิช" ผู้อำนวยการเขตภาษีเจริญเข้ามารับตำแหน่ง และในต้นปี 2553 ได้แนะนำให้ชาวบ้านริมคลองช่วยกันฟื้นฟูตลาดดังกล่าวให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้น มาอีกครั้ง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน โดยมุ่งเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาคนท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร โดยมีเขตให้การสนับสนุน
    อาศัยบ้านริมคลองที่เป็นตึกแถวไม้ของคนจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่แล้ว ใช้เป็นหน้าร้านขายของต่างๆ อาหารนานาชนิด เช่น ขนมเบื้องญวน ข้าวเหนียวปิ้ง ห่อหมก ห่อหมกมะพร้าวอ่อนรสชาติดี ข้าวหมูแดง กาแฟโบราณรสเข้ม บัวลอยหวานหอม ฯลฯ พร้อมทั้งยังมีร้านขายของชำที่ขายสินค้าประเภทของใช้ ของเล่น และขนมในยุค 20-30 ปีที่แล้วให้ได้เห็น กระเป๋าลายไทยตัดเย็บด้วยมือของชาวบ้านจำหน่ายในราคาสบายกระเป๋า
    ยังมีร้านคลินิกการแพทย์แผนไทย รักษาโรคต่างๆ ด้วยการนวด การใช้ยาสมุนไพร ซึ่งเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาไทยในสมัยโบราณ นับรวมร้านทั้งหมดได้ประมาณ 50 ร้าน
    บริเวณหน้าวัดนิมมานรดี ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามตลาดเพียงเดินข้ามสะพานปูน ความยาวประมาณ 20 เมตร ให้นักท่องเที่ยวสามารถซื้ออาหารและให้ปลา โดยตลาดดังกล่าวเปิดให้บริการรับนักท่องเที่ยวในวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเช้าถึงบ่าย
    "มธุรส ทรัพย์ธำรง" หรือ "ป้ามธุรส" หนึ่งในคณะกรรมการผู้ก่อตั้งตลาดน้ำนิมมานรดี พร้อมทั้งตำแหน่งแม่ค้าขายกาแฟโบราณ บอกว่า ตลาดของเราแตกต่างจากคนอื่น เพราะเป็นตลาดธรรมชาติที่เน้นภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยเฉพาะวัตถุดิบที่นำมาทำขนม จะได้จากการปลูกเองหรือก็ไปซื้อมาจากสวนของชาวบ้านด้วยกัน จึงได้รสชาติและคุณภาพของอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัย
    ยกตัวอย่างร้านกาแฟของตัวเอง แต่ไฮไลต์ที่นักท่องเที่ยวชอบกลับเป็น "น้ำดอกอัญชันมะนาว" ที่รสชาติถูกผสมผสานจากดอกอัญชันและความสดชื่นจากมะนาว สวน ดื่มแล้วรู้สึกชื่นอกชื่นใจดีแท้
    "ที่สำคัญเราไม่ใช้ถุงพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมที่ย่อยทำลายยาก มาให้ลูกค้าได้หิ้วถือระหว่างรับประทาน แต่เราจะเชือกที่ถักกันเองที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ มามัดที่ฝาแก้วเพื่อให้หิ้วได้สะดวกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ป้ามธุรส เล่าถึงแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของตลาดให้ฟัง
    แม้น้ำคลองภาษีเจริญจะไม่ใสแจ๋ว เพราะเป็นช่วงที่ค่อนข้างยาวผ่านหลายพื้นที่ แต่ก็ไม่มีขยะลอยโดดเด่นให้รำคาญตามากมาย เพราะ "ป้ามธุรส" บอกว่า เราใช้แนวทางช่วยกันรักษา โดยขยะต่างๆ ทุกคนจะต้องช่วยกันเก็บ จะไม่โยนลงแม่น้ำเด็ดขาด ขณะที่ทางเขตก็จะมีเรือมาช้อนขยะจากลำคลองทุกวัน
    "หากไม่เชื่อและมีเวลาลองนั่งคลองภาษีเจริญตลาดสาย จะพบว่าบริเวณลำน้ำในช่วงตลาดนิมมานรดีจะใสสะอาดไม่มีขยะลอยน้ำ แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ที่คนของเขายังไม่ตระหนักในเรื่องของการรักษาธรรมชาติเท่าที่ควร" ป้ามธุรส หนึ่งในผู้บุกเบิกตลาดน้ำนิมมานรดีที่วางเป้าหมายให้เป็นตลาดแห่งความ รื่นรมย์ระบุ.
    [​IMG]



     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ช่วยกันโปรโมทมาก ๆ หน่อย จะได้มีคนไปท่องเที่ยวกันเยอะ ๆ น่าจะบอกแผนที่หรือการเดินทางไว้ด้วยนะครับ
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    หากมีภาพ และแผนผังประกอบ จะมีประโยชน์มากๆค่ะ
     
  4. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    เพิ่มเติม

    ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี อันซีน กทม.

    [​IMG]


    ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี อันซีนกทม. (เดลินิวส์)

    ย้อนอดีต "แฟนฉัน"

    เมื่อกล่าวถึงตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวในระดับต้น ๆ หลายคนต้องนึกถึงตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตลาดน้ำดอนหวาย ฯลฯ ต่หากนึกถึงตลาดน้ำในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้นตลาดน้ำตลิ่งชัน ในวันนี้จะพาไปแนะนำตลาดน้ำแห่งใหม่ในเมืองกรุง ที่มีกลิ่นอายของตลาดน้ำไม่แพ้ตลาดที่กล่าวไว้ข้างต้น นั่นคือ "ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี"

    ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี มีอายุเก่าแก่ถึง 139 ปี ตั้งในชุมชนที่อยู่ริมคลองภาษีเจริญ ฝั่งตรงข้ามวัดนิมมานรดี ถนนบางแค เขตภาษีเจริญ ซึ่งสภาพทั่วไปของตลาดแห่งนี้ ยังคงลักษณะบ้านเรือน และวิถีความเป็นอยู่ของคนริมคลองในสมัยก่อนเอาไว้ได้ แต่เดิมบริเวณนี้เป็นย่านตลาดที่มีการค้าขายมานาน ตั้งแต่สมัยที่ขุดคลองภาษีเจริญใช้เป็นเส้นทางสัญจรไป-มา เริ่มในปี พ.ศ. 2415 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5

    แต่ความสำคัญของตลาดแห่งนี้ได้ลดน้อยถอยลงไปเมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่แล้ว ที่มีการตัดถนนเพชรเกษม ซึ่งมีลักษณะคู่ขนานไปกับคลองภาษีเจริญ ทำให้ถนนเพชรเกษมกลายเป็นเส้นทางคมนาคมหลักแทน จนถึงยุคนี้ที่กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กำลังมาแรง มีตลาดน้ำหลายแห่งที่สามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบไทยดั้งเดิมไว้ได้ จนได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทางเขต ภาษีเจริญจึงมีแนวคิดฟื้นฟูตลาดน้ำแห่งนี้ให้มีชีวิตชีวา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง

    จากวัดนิมมานรดี เดินข้ามสะพานข้ามคลองภาษีเจริญเข้าสู่ตลาดน้ำนิมมานรดี จะพบกับร้านค้าขายของต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นบ้านไม้แบบห้องแถวในสมัยก่อน สภาพเหมือนที่ตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี หรือที่ตลาด 100 ปี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งรายล้อมไปด้วยตึกสูงสร้างใหม่แบบสังคมเมืองหลวง ถือเป็นภาพที่หาดูได้ยากยิ่งในเมืองกรุงยุคนี้

    ร้านค้าที่นี่ขายอาหารหลากหลายชนิด ทั้งอาหารในแบบปัจจุบัน หรืออาหารในยุคเก่า ๆ ที่หากินได้ยากในสมัยนี้ อาทิ ขนมเบื้องญวน ข้าวเหนียวปิ้ง ห่อหมก ฯลฯ มีร้านขายของชำ ที่ขายสินค้าประเภทของใช้ ของเล่น และขนมในยุค 20-30 ปีที่แล้วให้ได้เห็น รวมทั้งได้เห็นการใช้เรือเดินทางสัญจรทางน้ำ นอกจากนี้ยังมีร้านคลินิกการแพทย์แผนไทย รักษาโรคต่าง ๆ ด้วยการนวด การใช้ยาสมุนไพร ซึ่งเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาไทยในสมัยโบราณ และหลังจากเดินจับจ่ายซื้อของจนเมื่อยแล้ว ที่นี่ยังมีบ้านต้นไม้ สวนไม้หอม ซึ่งจัดสถานที่ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักเหนื่อย มีบ้านศิลปิน ที่จัดแสดงงานศิลปะภาพเขียนให้ผู้ที่ชื่นชอบได้เข้าชม มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบอกเล่าเรื่องราวและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวชุมชน บริเวณนี้ เรียกได้ว่าถ้าเข้ามาเที่ยวที่นี่จนครบทุกจุด อาจลืมไปเลยว่ากำลังเดินอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร

    นางสาววิภาวี พงศ์พิริยะวนิช ผู้อำนวยการเขตภาษีเจริญ เปิดเผยว่า นอกจากการเชิญชวนชาวบ้านและผู้ค้าที่อาศัยบริเวณตลาดแห่งนี้ ให้ช่วยกันฟื้นฟูตลาดให้มีชีวิตชีวาดึงดูดนักท่องเที่ยว ทางเขตฯ ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอื่น ๆ เพิ่มเติม ประกอบด้วย การพายเรือเที่ยวคลองภาษีเจริญ และคลองย่อย ๆ ใกล้เคียง การจัดทัวร์ล่องเรือไหว้พระ 9 วัด ในพื้นที่ใกล้เคียง และในระยะยาวจะจัดให้มีบ้านพักแบบโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยว ที่ต้องการดื่มด่ำบรรยากาศตลาดน้ำยามค่ำคืนได้นอนพักผ่อนอีกด้วย

    [​IMG]



    หากยังไม่เหน็ดเหนื่อยเกินไปกับการเดินเที่ยวที่ตลาดน้ำนิมมานรดี ก็ยังสามารถเดินข้ามคลองภาษีเจริญไปกราบนมัสการหลวงพ่อเกตุจำปาศรี และเจ้าแม่กวนอิมที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดนิมมานรดี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ยังสามารถเดินลัดเลาะเข้าไปเที่ยวในซอยริมคลองราชมนตรี ซึ่งเป็นคลองแยกจากคลองภาษีเจริญที่อยู่ในละแวกเดียวกัน ในซอยนี้เป็นที่ตั้งของตลาดริมน้ำที่มีร้านขายของชำ ร้านอาหาร ร้านตัดผม ร้านซ่อมพัดลมเก่า ร้านตัดเสื้อ ในยุค 20-30 ปีที่แล้วตั้งเรียงรายอยู่ตลอดทั้งซอย ใครที่ยังติดใจกับฉากในภาพยนตร์เรื่องแฟนฉันที่เคยโด่งดังมาเมื่อ 5-6 ปีก่อน ต้องไม่พลาดในการมาเดินเที่ยวที่ตลาดแห่งนี้ด้วย

    เที่ยวตลาดน้ำยุคเก่าในเมืองกรุง ไม่ไปไม่รู้ !

    ที่มา http://travel.kapook.com/view9422.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2010
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ตลาดน้ำแห่งนี้ ค่อนข้างเงียบเหงา ซบเซา คนไม่เดิน เพราะว่าด้านหน้าติดตลาดสดบางแค คนส่วนมากก็จะเดินซื้อของที่หน้าตลาดสดมากกว่า และตัวตลาดน้ำเองก็มีพื้นที่เรือนแถวไม่ยาว เป็นพื้นที่สั้นๆ....

    ส่วนเรื่องอื่นๆ ในรายละเอียดปลีกย่อยไม่ขอเอ่ย.....
     
  6. pinkiss

    pinkiss Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +40

แชร์หน้านี้

Loading...