เตือนพระหาเงิน ผิดทั้งวินัย ผิดทั้งกฏหมาย!

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย THODSAPOL SETTAKASIKIT, 28 พฤศจิกายน 2010.

  1. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    พระภิกษุแลกเปลี่ยนซื้อขาย เป็นอาบัติหรือไม่?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
    อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระบัญญัติ
    ๓๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ
    เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
    เล่ม ๓ หน้า ๙๕๙
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/951_1000.htm

    ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณ
    บ้าง เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณบ้าง
    ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับ
    คอ เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.
    ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ คือ ที่เรียกกันว่าเป็นแท่ง
    ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ได้แก่ ของ ๒ อย่างนั้น
    ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ
    มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั้ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.
    บทว่า ถึงความซื้อขาย คือ เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่มิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูป-
    พรรณเละมิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสัคคีย์นั้น ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์
    *วิธีสละอยู่ถัดต่อจากนี้
    เล่ม ๓ หน้า ๙๖๐
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/951_1000.htm

    อธิบายการบริโภคปัจจัยมี ๔ อย่าง
    จริงอยู่ การบริโภค มี ๔ อย่าง คือ ไถยบริโภค (บริโภคอย่าง
    ขโมย ) ๑ อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้ ) ๑ ทายัชชบริโภค (บริโภค
    อย่างเป็นผู้รับมรดก) ๑ สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) ๑. บรรดา
    การบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภคของ ภิกษุผู้ทุศีล(ผู้ละเมิดศีล)ซึ่งนั่งบริโภคอยู่
    แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่า ไถยบริโภค. การบริโภคไม่พิจารณาของ
    ภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลพึงพิจารณา
    จีวรทุกขณะที่บริโภคใช้สอย บิณฑบาตพึงพิจารณาทุก ๆ คำกลืน. เมื่อ
    ไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน หลังฉัน ยามต้น ยามกลาง
    และยามสุดท้าย. หากเมื่อเธอไม่ทันพิจารณาอรุณขึ้น, ย่อมตั้งอยู่ในฐานะ
    บริโภคหนี้. แม้เสนาสนะ ก็พึงพิจารณาทุก ๆ ขณะที่ใช้สอย
    เล่ม ๓ หน้า ๙๕๒
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/951_1000.htm


    สังวรสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยสังวร คือ การตั้งจิตอธิษฐานว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีกเท่านั้น. อาชีวปริสุทธิศีล ชื่อว่า ปริยิฎฐิสุทธิ.<sup>๑</sup> ก็อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น
    ท่านเรียกว่า ปริยิฎฐิสุทธิ<sup>๒</sup> เพรา.่เป็นความบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหา
    ของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้วยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นโดยธรรม โดยสม่ำ
    เสมอ. ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีล ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ. จริงอยู่
    ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ เพราะ
    บริสุทธิ์ด้วยการพิจารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุ
    ย่อมพิจารณาโดยแบบคายแล้วเสพจีวร ดังนี้

    เล่ม ๓ หน้า ๙๕๒
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/951_1000.htm

    ตัวอย่างสำหรับศึกษา
    อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์
    อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบปัตตจตุกกะนี้ อันแสดงถึงความที่รูปิยสัพ-
    โยหารสิกขาบทนี้หนัก. ความพิสดารว่า ภิกษุใด รับเอารูปิยะ แล้ว
    จ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น, ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น แล้ว
    ให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น. บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ ภิกษุนั้น
    ไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไร ๆ. ก็ถ้าว่า ทำลายบาตรนั้นแล้ว
    ให้ช่างทำกระถาง. แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำมีด แม้ไม้
    สีพื้นที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำเบ็ด แม้ปลาที่เขาให้
    ตายด้วยเบ็ดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อนแล้ว แช่
    น้ำ หรือนมสดให้ร้อน. แม้น้ำและนมสดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน.
    ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ก็ภิกษุใด รับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วย
    รูปิยะนั้น, แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ ไม่สมควรแม้แก่
    สหธรรมิกทั้ง ๕. แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้น ให้เป็นกัปปิยะได้. จริง
    อยู่ บาตรนั้น จะเป็นกัปปิยะได้ ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของมูลค่า
    (คือสละเงินที่โยมถวายคืนเจ้าของ)
    และ เมื่อให้บาตรแก่เจ้าของบาตร. ภิกษุจะให้กัปปิยภัณฑ์แล้วรับเอาไปใช้สอย
    สมควรอยู่.
    ฝ่ายภิกษุใด ให้รับเอารูปิยะไว้แล้วไปยังตระกูลช่างเหล็กกับด้วย
    กัปปิยการก เห็นบาตรแล้วพูดว่า บาตรนี้ เราชอบใจ. และกัปปิยการก
    ให้รูปิยะนั้นแล้ว ให้ช่างเหล็กตกลง. แม้บาตรใบนี้ อันภิกษุนั้นถือเอา
    โดยกัปปิยโวหาร เป็นเช่นกับบาตรใบที่ ๒ นั่นเอง จัด เป็นอกัปปิยะ
    เหมือนกัน เพราะภิกษุรับมูลค่า.
    ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรแก่สหธรรมิกที่เหลือ ?
    แก้ว่า เพราะไม่เสียสละมูลค่า.
    อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รับรูปิยะไปยังตระกูลช่างเหล็ก พร้อมกับกัปปิย-
    การก(ผู้จัดหาของสมควรถวายแก่ภิกษุ)ที่ทายกส่งมาว่า ท่านจงซื้อบาตรถวายพระเถระ เห็นบาตรแล้ว ให้กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้บาตรนี้
    แล้วได้ถือเอาไป. บาตรนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่
    ชอบ, แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า.
    ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ มีชื่อว่าอนุรุทธเถระ.
    ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตนให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว สละแก่สงฆ์.
    พวกสัทธิวิหาริกแม้ของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฏก ก็ได้มีบาตร
    เช่นนั้นเหมือนกัน. พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว
    ให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล. นี้ชื่ออกัปปิยปัตตจตุกกะ. ก็ถ้าว่า ภิกษุ
    ไม่รับรูปิยะไปสู่ตระกูล แห่งช่างเหล็ก พร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายก(ผู้ปราวณา)ส่งมา
    ว่า เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระ เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า บาตรนี้เรา
    ชอบใจ หรือว่า เราจักเอาบาตรนี้(พระไม่ได้สั่งการเพียงบอกความประสงค์เท่านั้น), และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นให้แล้ว
    ให้ช่างเหล็กยินยอมตกลง. บาตรนี้สมควรทุกอย่าง ควรแก่การบริโภค
    แม้เเห่งพระพุทธทั้งหลาย.
    เล่ม ๓ หน้า ๙๖๘
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/951_1000.htm
    *เพิ่มความหมายของศัพท์
    กัปปิยะ แปลว่า สมควร
    อกัปปิยะ แปลว่า ไม่ควร
    ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A1%D1%BB%BB%D4%C2%D0


    บุญในการเปิดเผยธรรมวินัยนี้ จงสำเร็จแก่ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลกิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  2. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    หากใครก็ตามที่เข้ามาบิดเบือนหรืออวดอ้างคำสอนที่ผิดๆกรุณหยุดการกระทำของตัวเองมิฉนั้นกรรมจะไปสู่ตัวเองและครอบครัว
     
  3. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ถ้าจะอาฆาต พยาบาท จากการที่ถูกตบแผลให้วกมารู้จักว่ามีแผล ก็ไม่ว่ากันครับ เพราะรู้อยู่ว่าคนที่มีแผลอยู่ แต่บอกว่าเป็นแผลนั้นไม่เจ็บหรอก เป็นแผลนั้นไม่เจ็บหรอก มาเถิดเราควรมีแผล
    ก็ต้องกระตุกกันหนักหน่อย คือสกิดเบาๆแล้วไม่รู้เรื่อง ก็เลย ต้องตบแผล เมื่อเจ็บขึ้นมา จะมีอาการอาฆาต พยาบาท ตามมา อันนี้ก็รู้อยู่ แต่ก็ต้องตบแผลนั้น เพื่อให้รู้จักความจริง ส่วนจะรักษาหรือไม่ ก็ไม่ได้บังคับใคร จะเก็บแผลนั้นไว้ให้อักเสบต่อไปก็ตามแต่คนๆนั้น จะชอบใจ และไม่ได้จำเพาะเจาะจงตบแค่หนึ่งคน สองคน หรือ สิบยี่ สิบคน แต่ตบแผลนี้ทั้งหมดทุกคนที่คิดว่าต้องดูยุคสมัย ให้ได้รู้จักวกเข้ามาดูความจริงกัน ว่าอย่างไรเรียกว่า ไม่มีกาลมีเวลา
    แล้วไม่โกรธผู้ที่ใช้นามว่าsompob16ที่ด่าหลวงปู่หรือ?
    มันไร้สาระ ทั้งข่าวนั้นก็เป็นข่าวด้านเดียวและเก่าแล้ว ไม่เป็นปัจจุบัน ใครจะด่าหรือชื่นชม มันก็เป็นของเปล่าประโยชน์สำหรับเรา เพราะคติหรือทางไปของแต่ละคนมีอยู่ คนด่าก็มีทางไปของคนด่า คนชมก็มีทางไปของคนชม แต่ละคนมีทางไปอยู่แล้ว ผู้เปิดธรรมวินัยก็ต้องไปตามทางของผู้เปิดธรรมวินัย ทุกคนมีความเจ็บความตายรออยู่เบื้องหน้า จึงไม่ได้จะไปสนใจอย่างนั้น

    ถูกต้องครับ การบิดเบือนอวดอ้างคำสอนที่ผิดๆสมควรหยุดกรรมนั้น เพราะนอกจากจะทำให้พุทธศาสนาสูญหายโดยฉับพลันแล้ว ยังทำให้ผู้ทำตาม เกิดบาปอันเป็นความทุกข์ ไม่ทางใจก็ทางกายหรือทั้งกายใจทั้งโลกนี้และโลกหน้า
    ฉะนั้น จึงควรหยุดกรรมที่บิดเบือนหรืออวดอ้างที่ผิดๆ เป็นอย่างยิ่ง
    แต่ถ้าใครเป็นผู้เปิดเผยคำสอนที่ถูกต้อง ตรงต่อคำของพระพุทธเจ้า ก็ควรเปิดเผยแก่ประชาชนต่อไป อันเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ เพื่อดำรงรักษาความรู้ในบุญบาปมรรคผลนิพพานที่ถูกต้องต่อไป

    ส่วนว่ากรรมนั้นจะไปสู่ตนเองและครอบครัว ก็ถูกต้องแล้วครับ
    ถ้าทำกรรมดีหรือกระทำดี ผลของกรรมดีหรือผลของการกระทำดีย่อมมาสู่ผู้ทำและครอบครัว ทั้งมีความสุข ความเจริญ สวรรค์พรหมรออยู่ ตามแต่ระดับการทำ
    อันผู้ไม่ประมาททำแล้ว
    ถ้าทำกรรมชั่วหรือกระทำชั่ว ผลของกรรมชั่วหรือผลของการกระทำชั่วย่อมมาสู่
    ผู้ทำและครอบครัว ทั้งมีความทุกข์ ความเสื่อม ความลำบาก นรก รออยู่ ตามแต่ระดับการทำ อันผู้ประมาททำแล้ว

    แล้วทำไมจึงตอบ?
    ก็เมื่อในกระทู้ต่อๆไป เมื่เปิดธรรมวินัยออกมาแล้ว จะได้ไม่ต้องมาคิดมาก ว่า ยกมากระทบกระเทียบเราหรือเปล่า หรือ หักหน้าเราหรือเปล่าหว่า อันจะเป็นความเจ็บปวดไปเปล่าๆ ไม่ได้หวังมาผูกเวรกับใคร จึงมาแก้ไว้ก่อน
    ส่วนใครจะทำอะไรต่อไป มันก็เรื่องของเขา ส่วนผู้เปิดมีหน้าที่ของอุบาสกที่ต้องทำและต้องเปิดธรรมวินัยต่อไป เผื่อจะมีใครสักคนที่อาจจะเข้าใจได้ว่าทางมาทางไปของพุทธศาสนาเป็นยังไงทางเดินของพระอริยะที่ต้องฆ่าโลภ โกรธ หลง เป็นยังไงก็เท่านั้น ไม่มีอะไรมาก
     
  4. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ต่อไปก็คงไม่ถามชื่อนามสกุล
    ไม่ตอบโต้ผู้ไม่มีชื่อนาสกุลอีกแล้วครับ เพียงเท่านี้แหล่ะ
     
  5. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    ไปเวปสามแยกเถอะไป อย่ามาทำเป็นอวดภูมิแถวนี้เลย ที่อยู่ทีขึ้นนี้ไมทราบว่าอยู่ทุกวันหรือเปล่าจะไปขอคำชี้แนะ แล้วทำไมหรือต้องถามชื่อ ใครเขาจะบอก คุณคิดว่าคุณเป็นใครหรือบ้าหรือเปล่าถ้าบ้าก็ไปหาหมอ แค่มารยาทเล็กยังไม่มีจะขอรายชื่อไปสมอ้างเป็นสาวกหรืออย่างไรครับ 5555คนดีๆไม่มีใครเขาทำกันนี่รายแรกกรณีศึกษา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 ธันวาคม 2010
  6. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าว
    คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    สัตว์เหล่าใด ขวนขวาย ในความเกลียด
    บาปด้วยตบะ รักษาความสงบสงัดอยู่ ติด
    อยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก สัตว์เหล่านั้น
    ย่อมสั่งสอนชอบ(คือสั่งสอนอย่างถูกต้อง) เพื่อปรโลกโดยแท้.
    [๓๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัวร้ายกาจ
    จึงได้ตรัสคาถาตอบมารผู้มีบาปว่า
    รูปใด ๆ (รูปทั้งหมดไม่เว้นแม้รูปกายของพระองค์)จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น
    และจะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที
    รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญแล้ว
    วางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาใส่เหยื่อล่อ
    เพื่อฆ่าปลา ฉะนั้น.
    เล่ม ๒๔ หน้า ๔๐๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book24/401_450.htm

    จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะ(พอใจชอบใจ)ให้เกิดขึ้นในเหล็กและ
    โลหะเป็นต้น เพลิดเพลิน พร่ำเพ้อ หลงใหล เหล็กและโลหะเป็นต้น
    ย่อมหวงแหนรักษา คุ้มครอง เหล็กเป็นต้นไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เหล็ก
    ของเรา โลหะของเราชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญด้วย
    อำนาจตัณหา ด้วยประการฉะนี้. ก็หรือว่าปุถุชนย่อมทะยานอยากในปฐวี
    ภายนอกนี้ว่า ขอเหล็กและโลหะเป็นต้นของเราพึงมีอยู่อย่างนี้ตลอดไป
    หรือตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ยังไม่ได้(แม้ความปราถนาอื่นๆก็เช่นเดียวกัน)ว่า
    ด้วยศีลหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นผู้มีอุกปกรณ์ มีเหล็ก และโลหะเป็นต้น ที่ถึงพร้อมแล้ว
    (ด้วยเหล็กและโลหะนี้จะทำให้เราเป็นผู้มีศีลและพรหมจรรย์)อย่างนี้.
    ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจาก
    อำนาจตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.

    เล่ม ๑๗ หน้า ๖๗
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book17/051_100.htm

    บุญในการเปิดธรรมวินัย จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า
    ชาวทิพย์ที่ดูแลกิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และ ผู้ต้องการตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  7. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    โอ๊ย....ทุเรศ 555555เอาไว้สอนผู้ให้กำเนิดคุณดีกว่าครับ ที่นี่คนรู้จริงเขามีเยอะ อย่าแสดงตัวว่าตัวเองวิเศษกว่าคนอื่นเลย ในบอร์ดนี้ขวามือจะมีช่องสี่สีเหลี่ยมท่านใดคิดว่าพวกนี้ทำลายพทุธศาสนาให้ท่านกดแจ้งได้เลยครับเพราะขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินงานอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 ธันวาคม 2010
  8. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ต่อจากกระทู้ก่อน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
    กล่าวว่า ผู้ใด ยินดีปฐวีธาตุ ผู้นั้นยินดีทุกข์
    ผู้ใดยินดีทุกข์ ผู้นั้นย่อม
    ไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้.
    เล่ม ๗๑ หน้า ๗๐ บรรทัด ๒๐
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book17/051_100.htm

    คิดถึงแนบแน่นในทองเหลืองคิดว่าจะเป็นอย่างไร?
    เล่ม ๔๓ หน้า๑๗ บรรทัด ๗
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book43/001_050.htm

    คิดถึงแนบแน่นในทองเหลืองคิดว่าจะเป็นอย่างไร? (ต่อ ๒)
    เล่ม ๕๑ หน้า ๑๐๗ บรรทัด ๒๐
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book51/101_150.htm

    คิดถึงแนบแน่นในทองเหลืองคิดว่าจะเป็นอย่างไร? (ต่อ ๓)
    เล่ม ๒๘ หน้า ๓๕๗
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book28/351_400.htm

    พึ่งวัตถุต่างๆแล้วเข้าใจว่าพ้นทุกข์ได้แม้ฤษีนี้ก็คิดเช่นนั้น
    เล่ม ๔๒ หน้า ๓๔๕ บรรทัด ๒๑
    http://www.samyaek.com/tripidok/book42/301_350.htm

    เลื่อมใสวัตถุ ว่าเป็นวัตถุมงคล พระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร?
    เล่ม ๓๕ หน้า ๒๔๔ บรรทัด ๑๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book35/201_250.htm

    ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงชื่อว่าอุบาก อุบาสิกา?
    เล่ม ๓๑ หน้า ๓๖๔
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book31/351_400.htm

    อุบาสก อุบาสิกา เลื่อมใสวัตถุมงคล?
    เล่ม ๓๖ หน้า ๓๗๓
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book36/351_400.htm

    พุทธ คืออะไร? ธรรม คืออะไร? สงฆ์ คืออะไร?
    เล่ม ๓๙ หน้า ๑๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=84.0

    พุทธานุสติของพระพุทธเจ้าให้นึกถึงวัตถุเนืองๆหรือเปล่า?
    เล่ม ๓๖ หน้า ๕๒๙
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book36/501_550.htm

    ปัจจุบันชาวพุทธเจริญศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือเจริญศรัทธาในวัตถุ?
    เล่ม ๓๖ หน้า ๑๐๗
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book36/101_150.htm

    ผุ้เจริญพุทธานุสติโดยไม่เกาะวัตถุ
    เล่ม ๓๖ หน้า ๔๒๒
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book36/401_450.htm

    แม้เด็กนี้ก็ไม่ได้เกาะวัตถุนึกถึงพระพุทธเจ้า
    เล่ม ๔๓ หน้า ๑๗๐ บรรทัด ๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book43/151_200.htm

    ผลของการถึง พุทธ ธรรม สงฆ์ อย่างถูกต้อง
    เล่ม ๗๑ หน้า ๙๒
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book71/051_100.htm

    ที่ค้างคาไว้ก็ได้ชี้ไปตามสมควร ถึงปากทางเข้าพุทธศาสนา ที่เหลือนั้นคือผู้ที่จะเดินทางไปเท่านั้น อันผู้อื่นไม่สามารถจะกระทำแทนได้ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นผู้ต้องกระทำขึ้นเอง เห็นเอง รับผลเอง ผู้อื่นเป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น

    บุญจากการเปิดธรรมวินัยนี้ จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลกิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  9. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101

    สำคัญ เงิน ว่าเป็นกระดาษ?

    บทภาชนีย์
    ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
    [๑๐๗] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์
    ต้องอาบัติปาจิตตีย์
    รูปิย ะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
    รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
    อาบัติปาจิตตีย์

    เล่ม ๓หน้า ๙๔๔


    วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๘ ข้อ ดังต่อไปนี้.
    ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หาก
    สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
    ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร
    หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
    ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร
    หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
    ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร
    หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
    เล่ม ๗ หน้า ๑๖๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book07/151_200.htm

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้
    ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระ
    ผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
    พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่
    คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร
    เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลง
    ในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า
    นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว
    แน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
    เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้. พึงถึง
    ความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และ
    ภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาปเทส
    ข้อที่หนึ่งนี้ไว้.
    เล่ม ๑๓ หน้า ๒๙๓
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book18/251_300.htm

    บุญจากการเปิดธรรมวินัยนี้ จงสำเร็จแก่ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลกิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  10. Natdarun

    Natdarun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +500
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010
  11. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ...มุนี (นักบวช) ไม่ละกาม ย่อมเข้าไม่ถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้
    ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริง ๆ พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น
    เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งโปรยโทษดุจธุลี ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า
    ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง

    ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า
    หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด

    ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติ ไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น...
    เล่ม ๒๔ หน้า ๓๓๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book24/301_350.htm
    ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณทั้งห้าก็ควรแก่ผู้นั้น เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า มีปกติมิใช่สมณะ มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียน พึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ แต่ เรา ไม่กล่าวโดยปริยายไร ๆ ว่า สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน.
    เล่ม ๙ หน้า ๕๓
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book09/501_550.htm

    กามคุณ หมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" เเปลว่า อารมณ์คือกามคุณ ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ทางเพศเพียงอย่างเดียว<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup>
    ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/กามคุณ

    กำหนัด หมายถึง ความใคร่ในกามคุณ
    ที่มา http://guru.sanook.com/search/กำหนัด

    ความใคร่ หมายถึง
    ความปราถนา,ความต้องการ,ความอยาก
    ที่มา http://guru.sanook.com/search/ความใคร่/

    มิจฉาชีพขั้นสุดยอด รู้จักหรือไม่?
    เล่ม 2 หน้า 617
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book02/601_650.htm

    พระภิกษุผู้มุ่งออกจากวัฏฏะ หรือ แค่คนหัวโล้นห่มเหลือง?
    เล่ม 34 หน้า 448
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book34/401_450.htm
    ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป (หากพอใจในชั่ว ก็ปรารถนาจะทำให้ ได้ผลชั่วยิ่งๆขึ้นไป เพราะฉันทะเป็นคำที่ยังไม่เข้าฝ่ายใดแต่เมื่อไปประกอบฝ่ายใดก็เป็นพวกในฝ่าย นั้น)
    ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/อิทธิบาท_๔


    เล่ห์เหลี่ยมมารยาของคนหัวโล้นห่มเหลือง (บางคน) เป็นอย่างไร?
    เล่ม 67 หน้า 577
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book67/551_600.htm
    ถ้าใครสะเทือนใจเรื่อง โล้นห่มเหลือง ว่าไม่ควรเรียก เพราะท่านคือ พระ ก็ให้ดูความหมายตามเล่มและหน้าที่ยกมาครับ
    ถ้าออกนอกธรรมวินัยแล้วกลับคืนรักษาตนตามธรรมวินัยตามที่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระภิกษุ สามเณร ก็ยังยินดีในการเคารพอยู่แต่ไม่เคารพในเหล่าผู้ที่ออกนอกธรรมวินัย
    และก็ให้เข้าใจนะว่า พระโมคคัลลานะก็พระ พระสารีบุตรก็พระ พระเทวทัตก็พระเหมือนกัน.


    เมาคาผ้าเหลือง ?

    เล่ม 34 หน้า 169

    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book34/151_200.htm

    ยังควรเมาอยู่หรือ?
    เล่ม 36 หน้า 139

    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book36/101_150.htm

    ทำโดยไม่รู้ตัวมีผลหรือไม่?
    เล่ม 35 หน้า 408
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book35/401_450.htm

    ทำเล่นๆ เป็นอย่างไร?
    เล่ม 49 หน้า 479
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book49/451_500.htm

    เหมือนกันไหม? ภิกษุเข้าใจว่าทำผิดแล้วจะไม่ไปนรก กับ ก้อนหินถูกโยนไปในห้วงน้ำแล้วเข้าใจว่าจะไม่จม
    เล่ม 29 หน้า 190

    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book29/151_200.htm

    นี่ก็เป็นภิกษุทุศีลเช่นกัน
    เล่ม 26 หน้า 721
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book26/701_750.htm

    ปัจจุบันพระภิกษุส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้หรือเปล่า?

    เล่ม 53 หน้า 202
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book53/201_250.htm



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน
    มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภสักการะ
    และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้
    มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้
    เราประพฤติเพื่อสังวร (สำรวม) เพื่อปหานะ (ความละ)
    เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัดยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)


    เล่ม 35 หน้า 79
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book35/051_100.htm


    บุญจากการเปิดเผยธรรมวินนัยนี้ จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลรักาากิจการที่ข้าเกี่ยวข้อ ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป

    ----------------------------------------------------------------------------
    อะไรบ้างที่เรียกว่า ทุกข์?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  12. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุสงฆ์ยังหวังอะไร
    ในเราตถาคตเล่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมที่ตถาคตแสดงแล้ว ได้ทำมิให้มีใน
    มิให้มีนอก ดูก่อนอานนท์ ตถาคตมิได้มีกำมืออาจารย์ (ปิดบังซ่อนเร้น)
    ในธรรมทั้งหลาย ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดพึงมีความดำริอย่างนี้ว่าฉันจักบริหาร
    ภิกษุสงฆ์ ดังนี้ก็ดี หรือว่า ภิกษุสงฆ์พึงยกย่องฉัน ดังนี้ก็ดี ดูก่อนอานนท์
    แน่นอน เขาผู้นั้นพึงปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว กล่าวถ้อยคำบางประการ. ดูก่อน
    อานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริ(ความคิด)อย่างนี้ว่า เราแลจักบริหารภิกษุสงฆ์หรือว่า
    ภิกษุสงฆ์พึงยกย่องเรา ตถาคต ดังนี้. ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้น ยังจักปรารภ
    ภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวถ้อยคำไร ๆ คราวเดียว. ดูก่อนอานนท์ ก็ในกาลบัดนี้ เรา
    ตถาคตแก่เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับแล้ว วัยของตถาคต
    ก็กำลังดำเนินเข้าเป็น ๘๐ ปีอยู่. ดูก่อนอานนท์ เกวียนคร่ำคร่าเดินไปได้ด้วย
    การแซมด้วยไม้ไผ่แม้ฉันใด ร่างกายของตถาคตก็ดำเนินไปได้ เหมือนด้วย
    การแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันนั้นนั่นแล ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ตถาคตเข้าถึง
    เจโตสมาธิ หานิมิตมิได้อยู่ เพราะไม่มนสิการนิมิตทั้งปวง เพราะเวทนา
    ทั้งหลายบางอย่างดับไป ในสมัยนั้น ร่างกายของตถาคตมีความผาสุกยิ่ง.<sup>(๑)</sup>
    เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ
    อยู่เถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ(ที่พึ่งอาศัย,ที่ประพฤติตาม) อย่ามี
    สิ่งอื่นเป็นสรณะเลย
    เล่ม ๑๓ หน้า ๒๗๔
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book13/251_300.htm

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าเปลือกไม้ แม้ใหม่ก็สีทราม สัมผัส-
    หยาบ และราคาถูก แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก
    แม้เก่าแล้วก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก ผ้าเปลือกไม้ที่คร่ำคร่าแล้ว
    เขาก็ทำเป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวบ้าง ทิ้งเสียที่กองขยะบ้างฉันใด
    ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี
    ภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลว เรากล่าวความทุศีลมีธรรมเลวนี้
    ในความมีสีทรามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีทรามฉะนั้น
    อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคม ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน เรากล่าว
    การคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดสิ่งอันไม่เกื้อกูลเกิดทุกข์นี้
    ในความมีสัมผัสหยาบของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้าเปลือกไม้มีสัมผัสหยาบ
    ฉะนั้น
    อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย ... ของ
    ชนเหล่าใด ข้อนั้น ย่อมไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
    การรับปัจจัยอันไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายก(ผู้ถวายสิ่งของที่สมควร)นี้ ในความมีราคาถูกของ
    ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเป็นดังผ้าเปลือกไม้มีราคาถูกฉะนั้น
    อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนั้น กล่าวอะไรในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
    ก็กล่าวเอาว่า ประโยชน์อะไรด้วยถ้อยคำของท่านผู้โง่เขลาอย่างท่านก็เผยอจะ
    พูดด้วย ภิกษุเถระนั้นโกรธน้อยใจ ก็จะใช้ถ้อยคำชนิดที่เป็นเหตุให้สงฆ์ลงอุก-
    เขปนียกรรม (คือห้ามไม่ให้ติดต่อเกี่ยวข้องกับภิกษุทั้งหลาย) เหมือนเขาทิ้ง
    ผ้าเปลือกไม้เก่าเสียที่กองขยะฉะนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้ากาสี แม้ใหม่ก็สีงาม สัมผัสนิ่ม และราคาแพง
    แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง แม้เก่าแล้วก็สีงาม
    สัมผัสนิ่มและราคาแพง ผ้ากาสี ถึงคร่ำคร่าแล้ว เขายังใช้เป็นผ้าห่อตคนะ (คือ
    เงินทองเพชรพลอย่อมมีค่า) บ้าง เก็บไว้ในคันธกรณฑ์ (หีบอบของหอม)
    บ้าง ฉันใด.
    ฉะนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี
    ภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี เรากล่าวความมีศีลมีธรรมดีนี้
    ในความมีสีงามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้ากาสีมีสีงามฉะนั้น
    อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวการคบ-
    หาสมาคมทำตามอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขนี้ ในความมีสัมผัสนิ่มของ
    ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้ากาสีมีสัมผัสนิ่มฉะนั้น
    อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย...ของ
    ชนเหล่าใด ข้อนั้นย่อมเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
    การรับปัจจัยอันเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาแพงของ
    ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า เสมือนผ้ากาสีมีราคาแพงฉะนั้น
    อนึ่ง ภิกษุเถระผู้มีคุณธรรมอย่างนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์
    ภิกษุทั้งหลายก็พากันว่า ท่านทั้งหลาย จงสงบเสียงเถิด ภิกษุผู้ใหญ่จะกล่าว
    ธรรมกล่าววินัยนี้ ดังนี้
    เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า เราทั้งหลาย
    จักเป็นอย่างผ้ากาสี ไม่เป็นอย่างผ้าเปลือกไม้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
    พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
    เล่ม ๓๔ หน้า ๔๘๙
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book34/451_500.htm


    บุญจากการเปิดเผยธรรมวินนัยนี้ จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษากิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป




    ---------------------------------------------------------------------
    การจะต้องจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์หรือเปล่า?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  13. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    พี่คมน์ เว็บพลังจิตเปิดกว้างจริงหรือเปล่า สงสัยครับ เห็นโมฆบุรุษผู้ปราถนาเป็นพระพุทธเจ้าแต่ไม่เห็นความสำคัญของธรรมวินัยที่ตนจะไปเป็นผู้หนักแน่นในธรรมวินัยนี้ มาโพส ก็เลยสอบถามสักหน่อยครับ ก็เคยเห็นคุณวีรชัยบอกไว้ จำได้ท่อนหนึ่งว่าเพื่อสัมมาทิฏฐิอีก ก็น่าจะตรงกันกับพี่คมน์ แต่เห็นโมฆบุรุษ
    ผู้ปราถนาเป็นพระพุทธเจ้าแต่ไม่เห็นความสำคัญของธรรมวินัยที่ตนจะไปเป็นผู้หนักแน่นในธรรมวินัย เข้าใจว่าคำที่ยกมานี้เป็นคำของหลวงปู่แต่งเองเขียนเองหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ แต่ไม่ตรวจสอบกลับไปกลับมาในพระไตรปิฎก เพราะธรรมวินัยนี้น่าอัศจรรย์อยู่ ที่มีการไขว้ล็อคกลับไปกลับแล้วสามารถชำระด้วยธรรมวินัยนั้นเองได้ เรียกว่ามีรสเดียว ไม่ว่าจะไปทางไหน แต่เห็นโมฆะบุรุษ ไม่มีที่อ้างอิง ที่ตรวจสอบ งัดขึ้นด้วยความคิดเจ้าของไม่ใช่ไปตามคำของพระพุทธเจ้า มาตู่เหยียบปากพระพุทธเจ้าว่าจำคำครูบาอาจารย์มาพูด ทั้งๆที่ยกมานั้นเป็นคำพระพุทธเจ้า เพราะพระไตรปิฎกชุดนี้ ในหลวงเป็นผู้อุปถัมภ์แปลขึ้นมา เมื่อช่วงครบ ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เว็บพลังจิตก็ใช้อยู่แต่ไม่ถนัดจึงต้องไปใช้ที่โน้น เห็นพี่คมน์ยกมาครั้งเดียว พอถามกลับไปเพื่อให้มีฐานพิจารณาเนื้อความสูตรนั้นนั้นก็เงียบไป เพราะอันนั้นคือฐานของเนื้อความนั้น และก็เคยมีผู้อื่นยกมาบ้างยิบๆเย็บๆแล้วก็งัดด้วยความคิดตนเองอีก แต่ไม่มีใครเอาพุทธพจน์มาล็อคกัน มาขัดถูกัน เพื่อให้รู้ยิ่งขึ้นไป ไม่มีใครยกสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายรับเงินทองเถิด ชาวพุทธทั้งหลาย ปั้นรูปเราแล้วพึ่งเคารพรูปที่ปั้นขึ้น นั้นคือตัวแทนเราตถาคต ไม่เห็นมี มีแต่ฟังตามๆกันมา เห็นเขาทำๆกันก็ทำๆกันไป ตื่นว่าได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ นึกเดาเอาเอง คาดคะเนเอา ตรึกตามอาการ ตรองตามอาการ เข้ากันกับสำนักของตนแต่ไม่เข้ากับพระพุทธเจ้าก็ถือเอา
    ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ก็เอาคำที่น่าเชื่อถือมาเป็นใหญ่ เพราะบวชมานานบ้าง เพราะมีคนนับถือเยอะบ้าง เพราะวัดใหญ่โตบ้าง มันน่าเชื่อถือจึงงัดกับคำพระพุทธเจ้า ถือว่าครูอาจารย์บอกสอนมาอย่างนี้แล้ว ก็งัดกับคำพระพุทธเจ้าอีก
    แต่ไม่มีใครหาคำพระพุทธเจ้ามางัดเป็นเรื่องเป็นราวอธิบายต่อๆไป เพราะจะยอมในคำพระพุทธเจ้าอยู่ เพราะคำนั้นจะไม่ขัดกับสูตรอื่น วินัยอื่นเลย (เพิ่มทีหลัง..จะขัดกันโดยอัตโนมัติถ้านั้นไม่ใช่
    ธรรมวินัย ) นี่เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์อย่างมาก เลยต้องสอบถามครับ ถ้าว่าปิดทางความคิดจริงก็จะได้ไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2010
  14. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    สมัยก่อนยังไม่มีเงินตราใช้กันก็ใช้การแลกเปลี่ยนสิ่งของแล้วเงินก็คือเครื่องหมายค่าในการแลกเปลี่ยน คุณต้องกลับไปตายแล้วเกิดในยุคนั้นน่าจะเหมาะจะได้เข้าใจเหตุผม รู้จักคำว่าทางสายกลางไหมคุณยกเอาคำพูดคำแปลมาเอ่ยอ้างแบบศรีธนชัยคุณไม่สมควรอยู่ในโลกปัจุบันหรอกน่าไปตายซะ รู้น่ะต้องรู้ให้จริงคำว่าเงินทองสมัยก่อนหมายถึง แร่เงินทองของมีค่าซึ่งสมัยนั้นยังไม่ได้มีการกำหนดการแลกเปลี่ยน แต่เข้าใจนะคนอย่างพวกคุณพยายามทำตัวให้เหนือคนอื่น โดยการเอาพระธรรมคำสั่งสอยมาเป็นเครื่องมือ เงินก็คือกระดาษแผ่นหนึ่งถูกำหนดว่าสามราถแลกค่าได้ แล้วทุกวันนี้พวกคุณพยายามทำตัวเหนือยิ่งกว่าพระเสียอีกโดยการกล่าวว่าสอนสั่งพระตัวคุณมีศีลกี่ข้อกลางคืนยังเสพสมอยู่กับภรรยาหรือเปล่า อย่ามาทำตัวแบบนี้มันขัดแย้งกันเอง หากคุณทำตัวเหนือยิ่งกว่าพระสงฆ์แล้วทุกวันนี้คุณใช่อะไรซื้อของเอาอะไรแลกเปลี่ยนข้าวที่คุณกิน เบื่อจะพูดกับคนประเภทนี้สมองไม่ได้พัฒนาความคิดให้สมกับเป็นมนุษย์เลย
     
  15. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    หากตีความพระธรรมวินัยผิดก็เป็นโทษนะครับ

    พระรับเงิน แต่ใจไม่ติดกับเงินนั้น ไม่ถือว่าเป็นโทษครับ

    โมทนา
     
  16. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,604
    เว็บพลังจิต ยืนยันว่า เราเคารพพระทองเหลือง และเห็นด้วยที่พระรับเงิน แต่ใจไม่ติดกับเงิน

    ดังนั้น หากท่านเห็นว่า แนวทางนี้ไม่ถูกต้อง ท่านสามารถใช้บริการเว็บอื่นได้นะครับ

    โมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2010
  17. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    แล้วทำไมอันนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นผิดหล่ะพี่คมน์

    รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
    อาบัติปาจิตตีย์
    เล่ม ๓หน้า ๙๔๔
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/901_950.htm

    พรรณนารูปิยสิกขาบท
    รูปิยสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
    ในรูปิยสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
    บทว่า ปฏิวึโส แปลว่า ส่วน.
    ในบทว่า ชาตรูปรชต นี้ คำว่า ชาตรูป เป็นชื่อแห่งทองคำ.
    ก็เพราะทองคำนั้นเป็นเช่นกับพระฉวีวรรณแห่งพระตถาคต; เพราะฉะนั้น
    ท่านจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า ท่านเรียกพระฉวีวรรณของพระศาสดา.
    เนื้อความแห่งบทภาชนะนั้นว่า โลหะพิเศษมีสีเหมือนพระฉวีวรรณของ
    ของพระศาสดา นี้ชื่อว่า ชาตรูป (ทองคำธรรมชาติ ). ส่วนเงินท่านเรียก
    ว่า รูปิยะ. ในคำทั้งหลายว่า สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง เป็นต้น.
    แต่ในสิกขาบทนี้ ท่านประสงค์เอากหาปณะเป็นต้นอย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง
    ที่ให้ถึงการซื้อขายได้. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า รชต
    นั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า กหาปณะ โลหมาสก ดังนี้ เป็นต้น.
    [อธิบายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์และทุกกฏ]
    บรรดาบทว่า กหาปณะ เป็นต้นนั้น กหาปณะที่เขาทำด้วย
    ทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า กหาปณะ.
    มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น ชื่อว่า โลหมาสก.
    มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี โดยที่สุดแม้มาสกที่เขา
    ทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป ก็ชื่อว่า มาสกไม้.

    พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 946
    มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่า
    มาสกยาง.
    ก็ด้วยบทว่า เย โวหาร คจฺฉนฺติ นี้ ท่านสงเคราะห์เอามาสก
    ทั้งหมดที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน โดยที่สุดทำ
    ด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้าง
    มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง. วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้
    (และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด จัดเป็น
    วัตถุแห่งนิสสัคคีย์, วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
    ทับทิม บุพราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย นาไร่ สวนดอกไม้
    สวนผลไม้เป็นต้น จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า
    ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
    น้ำอ้อยงบเป็นต้น จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.
    บรรดานิสสัคคิยวัตถุและทุกกฏวัตถุนั้น ภิกษุจะรับนิสสัคคิยวัตถุ
    เพื่อประโยชน์ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะบุคคลและเจดีย์
    เป็นต้น ย่อมไม่ควร, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์
    แก่ตนเอง. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่เหลือ เป็น
    ทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้รับทุกกฏวัตถุ เพื่อประโยชน์ทุกอย่าง, ไม่เป็น
    อาบัติในกัปปิยวัตถุ. เป็นปาจิตตีย์ด้วยอำนาจที่มาในรัตนสิกขาบทข้างหน้า
    แก่ภิกษุผู้รับวัตถุมีเงินเป็นต้นแม้ทั้งหมด ด้วยหน้าที่แห่งภัณฑาคาริก
    เพื่อต้องการจะเก็บไว้.
    เล่ม ๓ หน้า ๙๔๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/901_950.htm



    ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณ
    บ้าง เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณบ้าง
    ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับ
    คอ เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.
    ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ คือ ที่เรียกกันว่าเป็นแท่ง
    ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ได้แก่ ของ ๒ อย่างนั้น
    ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ
    มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั้ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.
    บทว่า ถึงความซื้อขาย คือ เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่มิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูป-
    พรรณเละมิใช่รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
    ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสัคคีย์นั้น ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

    เล่ม ๓ หน้า ๙๖๐
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book03/951_1000.htm



    ---------------------------------
    ถูกให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำเป็นทุกข์หรือเปล่า?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  18. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
  19. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    เอ๋า..ก็เคารพไปตามแต่จะเคารพกัน จะถวายไปก็ตามแต่จะถวายกัน
    ก็คิดว่าน่าจะเข้าใจที่คุยกันแต่แรก ว่าไม่บังคับมาให้ตาม ให้มาเชื่อ แต่มันมีความจริงที่พระพุทธเจ้ากล่าวอยู่ค้านก็ค้านไปเปิดออกก็เปิดไป จะเห็นไปด้วย หรือไม่เห็นไปด้วย ก็ไม่ได้ยัดเยียด
    แต่ทำไมเหมือนยัดเยียดจัง?
    ก็เปิดคำของพระพุทธเจ้าออกมาอันไหนถูกต้อง จะไม่มีขัดกัน แต่อันไหนขวางก็จะขัดกับพระพุทธเจ้าโดยตรง
    แต่ไม่ใช่มาขัดเพราะผู้เปิดคิดเองพูดเอง แต่พูดไปยกไปตามที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก

    ที่ว่าเห็นว่าแนวทางนี้ไม่ถูกต้องนั้น ผมเห็นว่ามีถูกต้องอยู่ และไม่ถูกต้องอยู่
    ไม่ได้เหมาว่าผิดทั้งหมด หรือถูกทั้งหมด ว่าหลบเลี่ยงไปอีกหรือเปล่า ก็กลับไปที่ความจริง ที่มันมีทั้งสองอย่างอยู่ แต่ใครจะถือตามปนๆกันไปก็ถือไป
    ผลมันก็ปนๆกันไป
    มติของเว็บหรือเปล่าพี่ ถ้าใช่จะได้ไปครับ
    เพราะเท่าที่ผ่านมาก็ได้ผลเกินความคาดหมายแล้วครับ
    มีคนที่เข้าใจตามสมควร บุญก็ได้ตามสมควรแล้ว บาปก็มีตามสมควร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2010
  20. prayut.r

    prayut.r เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +1,707
    ที่จริงก็แค่อยากรับฟังเฉยๆแล้วอ่ะนะครับ แต่เห็นบางคำพูดก็อดจะแสดงความเห็นไม่ได้จริงๆ

    คงจะเห็นว่าเวปนี้มีห้องบอร์ดอภิญญาด้วย ศึกษาพระพุทธพจน์มาเยอะ คงรู้จักคำนี้นะครับ เพราะอยู่ในหมวดการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ แล้วเข้าใจถึงผู้เข้าถึงอภิญญาไหมครับ?

    บางคนในบอร์ดนี้หรือไม่ใช่ในบอร์ดนี้ (ที่ผมรู้จัก) เขาสามารถปฏิบัติกันจน "จิต" เข้าถึงพระพุทธเจ้ากันได้แล้ว (เชื่อไม่เชื่อก็ฟังไว้เฉยๆนะครับอย่าคิดมาก) เขารับฟังคำสอนจากพระโอษฐ์โดยตรงกันได้แล้ว
    ก็เลยอยากบอกว่าไม่ใช่ว่าท่องพระไตรปิฏกจบเป็นสิบๆ เที่ยวจะมีดีกว่าคนอื่นนะครับ เพราะบางท่านซึ่งเป็นสายปฏิบัติ (อาจด้อยด้านพระไตรปิฏก/ไม่ทราบเลย) เขาก็ปฏิบัตกันได้แบบที่ผมกล่าวตอนต้นแล้ว แต่เขาก็ไม่พูดกันหรอกนะครับ เพราะมันจะเหมือนอวดอุตริกันซะมากกว่า

    ถ้าอยากรู้ว่าที่ผมพูดนี่จริงเหรอ? ก็ลองวางตำราชั่วคราว (ไม่ใช่ไม่ให้เชื่อนะครับ) แล้วหันมามองจิตตัวเองดูบ้างว่า

    1.ศีล 5 ปฏิบัติได้สมบูรณ์รึไม่ (ตัดการทำบาปทั้งปวง)
    2.การปฏิบัตสมถะภาวนาทุกขณะจิตทำได้รึไม่ (ตัดนิวรณ์ 5 ให้สิ้น)
    3.การพิจารณาตัดขันธ์ 5 ทำบ้างรึไม่ (ตัดความยึดมั่นถือมั่นในโลกนี้ให้สิ้น)

    ถ้าทำได้ทั้ง 3 สิ่งก็จะเข้า สู่ภาวะแห่ง ศีล-สมาธิ-ปัญญา แล้วปฏิบัตต่อไปให้ถึงโคตรภูญาณ

    แล้วท่านก็ไปฟังจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองดีกว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...