อักษรลาวเก่ากว่าอักษรไทย 113 ปี แสดงว่าอักษรไทยได้จากอักษรลาว?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย โดเรม้อน, 25 ธันวาคม 2010.

  1. โดเรม้อน

    โดเรม้อน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    849
    ค่าพลัง:
    +75
    อักษรลาวเก่ากว่าอักษรไทย 113 ปี แสดงว่าอักษรไทยได้จากอักษรลาว?

    posted on 05 Jul 2008 12:13 by papillonprince

    [​IMG]
    มติชน
    เรียบเรียงจากต้นฉบับถอดความจากภาษาลาวเรื่องอ่านศิลาจารึก 835 ปี โดยบุนมี เทพสีเมือง จากคอลัมน์มรดกลาว พิมพ์ในนิตยสารท่องเที่ยวเมืองลาว ฉบับที่ 26 ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548)


    คนไทยเกือบหมดประเทศเชื่อตำราว่า อักษรไทยเป็นอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.1826 หรือ 722 ปีมาแล้ว รัฐบาลไทยจัดงานฉลองทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ.2526 ครบรอบ 700 ปี "ลายสือไทย" ของพ่อขุนฯ แล้วยังจัดงานฉลองใหญ่ เมื่อองค์กร UNESCO ยกย่องเป็นมรดกโลกทางปัญญา เมื่อ พ.ศ.2547


    ประวัติศาสตร์อักษรไทยบอกไว้ชัดเจนนานแล้วว่าลาวรับอักษรพ่อขุนรามคำแหงไปใช้งานหนังสือสมัยหลังๆ

    แต่แล้วลาวเพิ่งค้นพบจารึกอักษรลาว ระบุศักราช พ.ศ.1713 หรือ 835 ปีมาแล้ว มีอายุเก่ากว่าอักษรไทยของพ่อขุนฯ ราว 113 ปี ถ้าเป็นจริงตามนี้ย่อมหมายความว่าอักษรลาวเก่ากว่าอักษรไทยราว 113 ปี และอักษรไทยได้จากอักษรลาว ?



    อักษรลาวเก่าสุด

    บทความเรื่องอ่านศิลาจารึก 835 ปี โดย บุนมี เทพสีเมือง ในนิตยสารท่องเที่ยวเมืองลาว (ฉบับที่ 26 เดือนกรกฎาคม-กันยายน ค.ศ.2005 คอลัมน์ "มรดกลาว" หน้า 40-43) ถอดความโดยสรุปดังต่อไปนี้


    มีศิลาจารึกอักษรลาว อายุ 835 ปีหลักหนึ่ง สร้างขึ้นในปีจุลศักราช 532 ตรงกับ พ.ศ.1713 ค.ศ.1170 ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ในสิมวัดวิชุน บ้านวิชุน เมืองหลวงพระบาง

    หากเทียบใส่ศิลาจารึกรามคำแหงที่ประเทศไทย เห็นว่าศิลาจารึกอักษรลาวหลักนี้มีอายุหลายกว่า 113 ปี การสมเทียบดังกล่าว แม่นอิงใส่ตัวเลขที่บอกปีจารึกไว้ในศิลาจารึกรามคำแหงนั้น (สร้างขึ้นที่เมืองสุโขทัยในปีมหาศักราช 1208 ตรงกับจุลศักราช 645)


    ศิลาจารึกอักษรลาวหลักนี้ ประดิษฐานอยู่วัดวิชุนดนนานปานใดแล้ว, วัดวิชุนมีความสำคัญแนวใด เพิ่นจึงเอาศิลาจารึกบูราณหลักนี้มาประดิษฐานไว้

    สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญในวัดนี้แม่น พระธาตุหมากโม ชื่อนี้เอิ้นตามชาวบ้านนิยมเอิ้นกันมาแต่ดนนานจนเป็นชื่อที่รู้กันโดยทั่วไปตามความเป็นจริงนั้น พระธาตุนี้มีชื่อเป็นทางการว่า พระธาตุปะทุมมะเจดี แปลว่า พระธาตุเจดีย์ดอกบัว ส่วนสิมของวัดวิชุนนี้ ก็มีรูปทรงแบบสถาปัตยกรรมลาวเดิม สมัยอาณาจักรลาวล้านช้างยุคต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14



    ประวัติวัดวิชุน

    <TABLE style="WIDTH: 197px; HEIGHT: 601px" cellSpacing=10 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    คำอ่านศิลาจารึกอักษรลาว "หลาน กวาน ตาย ร่หาพ่อ เฮียน ๔ พี่น้องหนี เข้าป่า จุละสังกราส ๕๓๒ แต่นัน สะปาสน ใด! ไว้ แก่ตู อย่าร้อน ใจกวาน ผู้นันเบา เป็น คนร้าย ไว้ แก่ตู"

    อักษรลาวได้ต้นเค้ามาจากอักษรสันสกฤต ซึ่งบ่มีตัว ฮ บ่มีวรรณยุกต์ คนลาวบูราณได้ใช้ตัว ร ออกเสียงเป็นตัว ฮ
    ศิลาจารึกและสำเนาจารึกที่วัดวิชุน หลวงพระบาง ประเทศลาว อ่านโดย บุนมี เทพสีเมือง ผู้เชี่ยวชาญอักษรลาวโบราณ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>วัดวิชุน มีชื่อเต็มเขียนไว้ที่ป้ายหน้าวัดว่า "วัดวิชุนนะลาด" หากเขียนถูกตามเค้าศัพท์แท้แม่น "วัดวิชุละราด" (อ่านว่า วิ-ชุน-ละ-ราด แปลว่า สายฟ้า) ชื่อนี้ตั้งขึ้นตามพระนามของพระเจ้าวิชุลราช ผู้นำพาสร้างวัดนี้เมื่อ จ.ศ.874 วันเสาร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีเต่าสัน ตรงกับ พ.ศ.2055 หรือ ค.ศ.1512


    มีประวัติบันทึกว่า ภายหลังที่พระเจ้าวิชุลราชได้ขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินอาณาจักรลาวล้านช้างในปี จ.ศ.863 แล้ว พระองค์ก็ได้ปรับปรุงการบริหารบ้านเมืองให้เป็นระบบระเบียบดีตามฮีตคอง ประเพณีแล้ว ก็ได้หันมาบำรุงสร้างวัดวาศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ในนั้นพระองค์ได้เป็นเจ้าศรัทธานำประชาชนสร้างวัดวิชุนขึ้นเพื่อเป็นบ่อนประดิษฐานพระบาง (ก่อนหน้านั้นพระบางยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมะโนลม)

    ในการสร้างนี้เพิ่นได้กำหนดอาณาเขตกว้างขวางให้เป็นอารามหลวง (เพยวัด) สร้างสิมให้กว้างใหญ่เพื่อให้เป็นบ่อนประกอบพระราชพิธีต่างๆ เมื่อสำเร็จแล้วก็อัญเชิญเอาพระบางมาประดิษฐานอยู่ในสิมแห่งนี้

    สิมวัดวิชุนหลังเก่า สร้างด้วยไม้มีค่าสูงหมดทั้งหลัง มีขนาดยาว 36 เมตร กว้าง 18 เมตร ประดับเอ้ด้วยไม้ ควัดลวดลายศิลปะที่วิจิตรจบงามหลาย มีประตูเข้า-ออก 4 ป่อง มีป่องเอี้ยม 21 ป่อง

    เคียงคู่กับการสร้างสิมหลังนี้ พระนางพันตินะเชียงเบด พระอัครมเหสีของเจ้าวิชุลราช ก็ได้สละทรัพย์ส่วนพระองค์ นำพาไพร่ฟ้าประชาชนสร้างพระธาตุลูกหนึ่งชื่อว่า พระธาตุปะทุมมะเจดี แปลว่า พระธาตุดอกบัว ซึ่งตั้งโดดเด่นอยู่ด้านหน้าสิมอย่างสง่างาม ในเวลาต่อมา คงเป็นเพราะลักษณะของพระธาตุคล้ายคือ หน่วยหมากโมตัดครึ่ง คนทั่วไปจึงพากันเอิ้นว่า พระธาตุหมากโม มาจนถึงทุกวันนี้

    สิมวัดวิชุน และพระธาตุหมากโม ตั้งโดดเด่นสง่างามมา 376 ปี จึงได้ถูกพวกโจรฮ่อมาม้างเพทำลายในปี ค.ศ.1888 เพื่อเอาของมีค่าสูงซึ่งประดับเอ้อยู่ยอดช่อฟ้าของสิมและยอดพระธาตุ

    ปี ค.ศ.1894 พระเจ้าสักกะริน กษัตริย์หลวงพระบาง ได้ปรึกษาหารือกับคณะสงฆ์ตกลงกันทำการสร้างแปลงสิมวัดวิชุนขึ้นใหม่ เพราะสิมหลังเก่าทรุดโทรมเพพังหลาย ในการก่อสร้างปัวแปงสิมขึ้นใหม่ แม่นก่อฝาผนังและเสาด้วยดินจี่ เฮ็ดให้มีรูปทรงเดิม ภายหลังสำเร็จแล้ว บรรดานักปราชญ์อาจารย์ทั้งลาวและฝรั่งเศส ในเวลานั้น ได้ตกกันริบโรมเอาวัตถุบูราณและศิลาจารึกต่างๆ ที่มีอยู่ตามวัดร้าง วัดเก่าแก่ต่างๆ ซึ่งบ่มีการปกปักรักษาที่ดี เข้ามาเก็บเมี้ยนไว้ในสิมวัดวิชุนนี้ เพื่อป้องกันบ่ให้ถูกทำลายหรือสูญหายไป



    บ่อนประดิษฐานศิลาจารึกอายุ 835 ปี

    ศิลาจารึกอักษรลาวอายุ 835 ปี ได้ประดิษฐานอยู่ในสิมวัดวิชุนนี้มาแต่ท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์สิมวัดวิชุนขึ้นใหม่ ในสิมวัดวิชุนปัจจุบัน มีศิลาจารึกประดิษฐานอยู่ 6 หลัก จารึกอักษรลาว 4 หลัก อักษรธรรม 2 หลัก ทั้งหมดตั้งอยู่เทิงแท่นไม้เลียนกันเป็นแถว อยู่ทางด้านซ้ายของพระเจ้าองค์หลวง หลักที่ 1 นับจากด้านขวามือแม่นศิลาจารึกอักษรลาว อายุ 835 ปี



    ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับศิลาจารึกอักษรลาว อายุ 835 ปี

    <TABLE style="WIDTH: 130px; HEIGHT: 38px" cellSpacing=10 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    นิตยสารท่องเที่ยวเมืองลาว ฉบับที่ 26 ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน ค.ศ. 2005 </TD></TR></TBODY></TABLE>ลักษณะทั่วไปของศิลาจารึกเป็นเสาหินสูงยาวรี ด้านหน้าส่วนเทิงเป็นพื้นราบเพียงสมควร จารึกตัวอักษรใส่ไว้ ส่วนลุ่มเป็นพื้นบ่ราบเพียง ยังคงสภาพรอยหินแตกตามธรรมชาติ ด้านข้างและด้านหลังมีรูปทรงส้วยรี แบบรูป 4 เหลี่ยมคางหมู บ่มีจารึกตัวอักษร ศิลาจารึกหลักนี้ตั้งอยู่เทิงแท่นไม้รูป 4 เหลี่ยม

    ขนาด สูงจากแท่นถึงยอด 103 เซนติเมตร ความกว้างส่วนปลาย 21 เซนติเมตร ส่วนกลาง 36 เซนติเมตร ส่วนลุ่มติดแท่น 32 เซนติเมตร ความหนาเฉลี่ย 12 เซนติเมตร

    ประเภท เป็นท่อนหินแข็ง ทนทานต่อลบเลือน คล้ายคือกับหินแกรนิต, สีเทา

    ตัวอักษร จารึกด้วยตัวอักษรลาวบูราณ มี 11 แถว

    ภาษา จารึกเป็นภาษาลาวบูราณ

    ปีจารึก จารึกปี จ.ศ.532 ตรงกับ พ.ศ.1713, ค.ศ.1170 ไล่อายุมาถึง ค.ศ.2005 มีอายุได้ 835 ปี


    ผู้ปกครองประเทศ คงเป็นหัวหน้าชุมชนลาวเจ้านครรัฐใดรัฐหนึ่ง เพราะว่าศิลาจารึกหลักนี้ สร้างขึ้นก่อนพระเจ้าฟ้างุ่ม สร้างตั้งอาณาจักรลาวล้านช้าง 183 ปี

    การจดก่ายจำลองตัวอักษร ผู้เขียนได้พยายามอ่านจนได้ข้อความครบถ้วน (ในเบื้องต้น) แล้วจดก่ายจำลองตัวอักษรจากศิลาจารึกหลักนี้ ครั้งแรกในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.2001 แล้วรายงานให้กรมพิพิธภัณฑ์และวัตถุบูราณที่นครหลวงเวียงจันเพื่อทราบ และได้ส่งสำเนาให้สถาบันค้นคว้าวัฒนธรรมที่เวียงจัน 1 ฉบับ ในต้นปี 2002

    ผู้เขียนได้กลับไปอ่านเพิ่มเติมอีก เพราะในครั้งก่อนบางตัวอักษรยังอ่านบ่ทันได้ข้อความชัดเจน การอ่านในครั้งใหม่นี้ ได้สังเกตเห็นบางตัวอักษรเพิ่มเติมอีก เพราะเมื่อก่อนบ่ได้สังเกตเห็น ตัวอักษรบางตัวที่ลบเลือนหาย การอ่านในครั้งใหม่นี้เห็นว่าได้ข้อความครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงได้จดก่ายจำลองตัวอักษรขึ้นใหม่
     
  2. โดเรม้อน

    โดเรม้อน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    849
    ค่าพลัง:
    +75
    พระแก้วมรกตกำเนิดจากล้านนา...ล้านช้างได้ไปแล้วค่อยมาอยู่กับสยาม
     
  3. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +2,392
    บ้านพี่ เมืองน้อง ^^
     
  4. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    เลขเขมร ๐-๙

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • untitled.jpg
      untitled.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.3 KB
      เปิดดู:
      1,689
  5. Kinglondon

    Kinglondon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2010
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +70
    ไทยลาวล้วนพี่น้อง ถ้าฝรั่งเศษ ไม่มาทำป่าเถื่อนแบบผู้ไร้อารยะ เราก็คงเป็นประเทศเดียวกัน
    (ตั้งใจเขียนผิดนะครับผมเหมารวมฝรั่งทุกชาติที่มาแบ่งดินแดนเราไปพรากพี่พรากน้อง)^_^
     
  6. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,269
    ค่าพลัง:
    +2,136
    แต่ล่ะท่านกล่าวไว้ดีแล้ว[​IMG]
     
  7. keetamantarai

    keetamantarai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +251
    ต้องนิยามให้ได้ก่อนว่า ชนชาติไทย คือ ใครบ้าง .....ถ้ายังหาคำจำกัดความไม่ได้ เราในวันนี้ ไม่มีอะไรเลย ยกให้คนอื่นเขาให้หมด .
    อักษรมีวิวัฒนาการ เหมือนกับ วัฒนธรรมและประเพณี ....ไทย ลาว พม่า ขอม เป็นพี่น้องกัน ต่างคนต่างมาผสมผสาน รวมเป็นหนึ่งเดียว ...
     
  8. โดเรม้อน

    โดเรม้อน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    849
    ค่าพลัง:
    +75
    fyu22222222222222222222222222222222222222
     
  9. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,422
    ค่าพลัง:
    +4,651
    ผมขอแย้งครับ พระแก้วมรกตแกะมาจากหยกอ่อนน้ำเขียว ที่มีอยู่ในดินแดนอัฟกานิสถาน จึงไปสอดคล้องกับประวัติที่เชื่อถือได้ดังนี้

    พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน ถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ
    พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ
    พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ทรงมีพระราชโองการ ให้ส่งพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ ไปยังลังกาทวีป เพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฎกและขอพระแก้วมรกตกลับมาด้วย แต่เรือที่บรรทุกพระแก้วมรกตถูกพายุพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา สั่งให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย
    หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย
    ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต่อมา เจ้ามหาพรหมพระอนุชาของ [พระเจ้ากือนา]เเจ้ผู้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือสามหัวเมือง คือเชียงราย เชียงแสน และเมืองฝางได้ ลี้ภัยจากศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่ ไปอาศัยอยู่กับพระยาญานดิส เจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมาเมื่อจะกลับไปเมืองเชียงราย ก็ได้ทูลขอพระแก้วมรกตต่อพระเจ้ากำแพงเพชร พระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้เจ้ามหาพรหม
    เมื่อเจ้ามหาพรหมชราภาพลง ด้วยความเป็นห่วงในพระแก้วมรกต จึงได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงราย โดยไม่มีใครรู้
     
  10. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    สมัยก่อนมันไม่มีแบ่งประเทศอย่างนี้หรอก...
     
  11. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,422
    ค่าพลัง:
    +4,651
    ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
    อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
    ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
    อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว และ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด
     
  12. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,422
    ค่าพลัง:
    +4,651
    อักษรที่ใช้ทั้ง ไทย ลาว เขมร ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากอักษรพราหมี ซึ่งเกิดขึ้นหลังพุทธกาลประมาณ พ.ศ. 65-150 แล้วขยายอิทธิพลมาทั้งการค้า ศาสนา ชนพื้นแพเดิมจึงรับอทธิพลนั้นเพื่อการค้า (เช่นอย่างที่เราเรียนภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น) แล้วก็เกิดการกลืนภาษาที่ใช้ไป เช่นกันกับที่เราเขียน พูด ไทยปนอังกฤษ นั่นแหละครับ
     
  13. โดเรม้อน

    โดเรม้อน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    849
    ค่าพลัง:
    +75
    อืม................................................................
     
  14. wara99

    wara99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    381
    ค่าพลัง:
    +898
    นี่เหละคือการใหลของวัฒนะธรรม อักษรก็เปลี่ยนไปตามความนิยมและง่ายต่อความเข้าใจ

    ดังนั้นคนในพื้นภูมิภาคนี้ ก็เคยไปมาหาสู่กัน รู้จักกัน เป็นผัวเมียกัน เป็นพี่น้องกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน

    ที่ไหนอุดมสมบูรณ์ ก็ชวนพี่น้องไปอยู่ทำกสิกรรม ที่ไหนมีการค้าขายดีก็ชวนพี่น้องไปอยู่ ทำมาค้าขาย

    บ้านเมืองไหนผู้ปกครองมีคุณธรรม เมืองเล็กเมืองน้อย ก็แห่ไปขออยู่ด้วย หรือพึ่งบารมีคนดี

    บ้านเมืองไหนผู้ปกครองเกเรไม่เอาเรื่องการเมืองเอาแต่มุ้งประชากรเดือดร้อน ก็โยกย้ายหนีกันไป

    คำว่าประเทศชาติ มาที่หลัง เขตแดนมากำหนดที่หลัง แล้วก็สอนให้รักชาติๆจะได้เฝ้าสมบัติไว้ ใครยักย้ายก็จะรู้

    เขตแดนมีเพื่ออะไร มีเพื่อแบ่งสมบัติ แดนนี้ของเอ็ง แดนนี้ของข้า แดนใครแดนมันจะได้ไม่ทะเละกัน

    ดูดทรัพยากรของเขาไปให้มากที่สุด นานๆเข้าไม่รู้จะเอาอะไร ก็ประกาศให้เขาเป็นอิสระภาพ

    ทั้งคำว่าชาติ และเขตแดน นี่แหละคือซากของอิสระภาพ ที่เขาทิ้งไว้ให้

    แล้วเราก็งมโข่ง ทะเละกันอยู่ ตะโกนลั่นว่า ของกูของกู แท้จริงมันคือของกลาง

    ของปู่ย่าตายาย ร่วมกันสร้าง ร่วมกันใช้

    เราต้องบูรณาการรักษา เกิดมาชาตินี้เป็นคนไทยไปร้องแรกแหกกระเชิงของกูๆ

    ชาติหน้าเกิดในเขมรจะทำยังไง ของกูอีกไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2011
  15. AFIKLIFI

    AFIKLIFI Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    560
    ค่าพลัง:
    +53
    อือ เพื่อนที่อยู่ที่combodia บอกว่าเขมร กัมพูชา และ ขอม ไม่เหมือนกัน ต่างกันมากและก็พูดกันคนละสำเนียงเกือบคนละภาษาเลย เขาบอกเรามาอ่ะ เคยไปด่ากับเขมรเขาบอกว่าพวกคนไทยเลียนแบบเขาทั้งหมด ก็เลยงงว่าเอ๋ เลียนแบบเหรอเพราะว่านึกถึงประเทศลาวเขาใกล้เคียงพวกเรามากกว่าเขมรอีก
     
  16. โดเรม้อน

    โดเรม้อน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    849
    ค่าพลัง:
    +75
    รากเหง้าเผ่ากา เถียงกันทำไร ฝรั่งมังค่า(มังคี่) แยกเราออกจากกัน ยุแยงตะแคงรั่ว เอาศาสนามาแบ่งแยก ให้คนทำชั่ว มั่วเทคโนโลยี่ มอมเมาด้วยอำนาจเงินตรา ตีค่าคนเป็นสิ่งของ บนฟ้าขอบฟ้ามีฟ้าอยู่ ใยไม่ขึ้นไปดูแลมอง ใครเป็นเจ้าของฟ้านี้หนอ ...ชื่นชมแต่ฝรั่งมังค่า อะไรคิดได้เอาไปประเคนฝรั่งหมด ไท หาของทำเองไม่ได้หรือไร ใครว่างๆมาดูห้องทดลองผมบ้างนะคนไท มีดี คือกันเด้อ
     
  17. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,422
    ค่าพลัง:
    +4,651

    ถ้าไล่เลียงจริงๆ อักษรและภาษาไทย ก็พัฒนามาจากขอมอีกที ขอมเป็นชนชาติที่เจริญทั้งทางปัญญาและวัฒนธรรม แต่รักสงบ ไม่ชอบการสงคราม จึงโดนทำลายไปในที่สุด หลายๆอย่างเป็นงานสร้างของขอม เช่นปราสาทหินที่ยิ่งใหญ่อย่างนครวัด ปราสาทหินต่างๆ บุโรพุทโธ ปรัมบานัน ปราสาทหินต่าง จนสุดท้ายขอมก็ล่มสลายอย่างแอตแลนติสไป (วิเคราะห์จากงานศิลป์นะครับ ไม่ได้ไปตามทฤษฎีฝรั่ง เพราะเราเชื่อฝรั่งมาเกินไป ทั้งที่เขากำลังจะขโมยวัฒนธรรมเราไป)

    ขอมรับเอาอักษรพราหมี มาแล้วเอามาจารึกเรื่องราวการสร้างปราสาทต่าง เป็นจารึกที่เก่าแก่ที่สุด แต่ก็ใช้อักษรพราหมี แต่เขียนทับศัพท์ จากนั้นก็มการดัดแปลงมาเรื่อยๆ

    ขอมกับเขมรเป็นคนละชนชาติ เช่นมอญกับพม่าครับ ขอมรักสงบ ไม่ชอบการสงคราม สุดท้ายก็สิ้นแผ่นดิน
     
  18. konngaam

    konngaam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    615
    ค่าพลัง:
    +369
    ขอบคุูณสำหรับความรู้ที่ได้เพิ่มมาครับ
     
  19. koncheen

    koncheen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2008
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +30
    เขมร พม่า ลาว เขาก็มีภาษาใช้ใครเก่าแก่กว่าก็ว่ากันไปตามหลักฐานแต่เราก็ภูมิใจที่เราก็มีของเราใช้จะเรียนแบบหรือเปล่าไม่รู้รู้แต่ว่าเราแตกต่างจากเขาก็เพราะมีการพัฒนา???????มั้ง
     
  20. mamboo

    mamboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +1,973
    อย่าคิดมากเลยค่ะ..

    การที่เรา คิด และ พูด ว่า.. สิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นของเรา .. มันเป็นแค่การพูดถึง "ช่วงเวลาหนึ่งๆ"

    ณ พ.ศ.หนึ่ง.. อักษรไทย ก็คืออักษรไทย

    แต่ถ้าถอยหลังย้อนไป.. จะกลายเป็นวว่า อักษรไทย พัฒนามาจาก ลาว

    ในขณะเดียวกัน..

    ณ พ.ศ.หนึ่ง อักษรลาว ก็คือ อักษรลาว

    แต่ถ้าถอยหลังย้อนไปอีก... ก็จะพบว่า อักษรลาว ก็พัฒนามาจากอีกที่หนึ่ง...

    ----

    ก็เหมือนกับ.. ณ เวลาหนึ่ง.. มนุษยคนแรกของโลก เป็น นิโกร(นี่อ่านมาจากบทความวิทยาศาสตร์นะคะ)

    บรรพบุรุษของเรา เป็น นิโกร แต่ทุกวันนี้ เรานับเอาแค่ คนไทย หน้าตาคล้ายๆเรา ว่าเป็นญาติพี่น้องของเรา.. แต่เราก็ตั้งแง่ว่า นิโกร เป็นคนละพวกกับเรา (ทั้งๆที่เขาเป็นบรรพบุรุษของเรา)

    ------

    เรื่องประวัติศาสตร์เนี่ย มันเป็นเรื่องของ "ช่วงเวลา"

    ณ ช่วงเวลาหนึ่ง สิ่งๆนี้ เป็นของเมืองนี้ ประเทศนี้.. แต่พอผ่านไป หรือ ถอยหลังกลับไป มันก็จะไปเป็นของ คนอื่นๆ ประเทศอื่นๆ

    เหมือนปราสาทเขาพระวิหารไง >< เป็นของ "ขอมโบราณ" เจ้าของตัวจริงเขาตายไปหลายร้อยปีแล้ว แต่คนไทยกับเขมร ฆ่ากันตาย ยิงกันตาย เพื่อไปขี้ตู่ว่า มันเป็นของตัวเอง

    -----

    ทั้งหมดทั้งปวง ก็เป็นเรื่องของ ความยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นของตน..
     

แชร์หน้านี้

Loading...