ผมยังติดคำนี้น่ะครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย salieaf, 9 มกราคม 2011.

  1. salieaf

    salieaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +38
    ขอถามท่านอาจารย์ทั้งหลายครับ คำว่าจิต ในทางปฏิบัติแล้ว คือการกำหนดความรู็สึกไปที่จุดๆ นั้นใช่ไหมครับ เช่นการกำหนดจิตไว้ที่ก้นกบ คือการจับความรู้สึกที่ก้นกบใช่ไหมครับ ผมติดข้อสงสัยน่ะครับ ทำให้ผมปฎิบัติไม่ได้สักทีครับ ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ
     
  2. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    เอาให้ง่ายไว้ครับ จิต คือความรู้สึก ก็ได้ แต่ก็ไม่เชิง
    อย่าไปติดที่คำว่าจิตมาก ถ้าติดคำว่าจิตก็ให้อ่านประโยคให้ครบ
    อย่างว่า เอาจิตไปที่ปลายจมูก อันนี้ยังพอทำได้
    แต่ถ้าบอกว่าเอาจิตไปจับที่จิต มันจะงงกันไปใหญ่
    เอาเป็นเอาจิตไปจับที่กาย ซึ่งกายนั้นก็จะมีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนอยู่ 3 จุดในขณะที่ร่างกายสงบนิ่งที่สุดนั่นก็คือ ลมหายใจที่รู้สึกได้ที่ปลายจมูกและการพองยุบที่ท้อง และจังหวะหัวใจเต้น พอเรานั่งนิ่งๆหลับด้วยแล้วยิ่งจะเห็นสัมผัสนั้นได้ชัดเจนขึ้น
    คราวนี้ก็แล้วแต่ใครถนัดหรือชอบเพ่งหรือกำหนดรู้ ก็ตามอัธยาศัยครับ..:cool:
     
  3. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ผมว่าก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า เรานั้งสมาธิ หรือ ปฏิบัติ เนี้ยคืออะไรก่อน

    หรือว่า ทำไปเพื่ออะไร นั้งหลับตาแล้วเกิดอะไร ได้อะไร ทำไมต้องหลับตา

    ลืมตา ต่างจากหลับตาไหม

    นั้นคือ......................

    พอเรากำหนดหลับตาในท่านั้งสมาธิ

    จิตใจเรา อารมณ์ ตัวรู้ของเรา ถูกทวารที่เรียกว่าตา ปิดลง

    ทำให้จิตเรา แผ่ซานไปกับความมืด เพราะไม่มีการมองเห็น

    พอจิตเราฝุ่งซานกับความมืด เพราะไม่มีสิ่งให้ยึด (ภาพ จาก ดวงตา)

    พระท่านจึงให้เรา กำหนด คำบริกรรมภาวนา เช่น พุทโธ - สัมมาอรหันต์ -นะมะพะธะ เป็นต้น

    หรือกำหนดอาการ พอง-ยุบ ของการหายใจ เพื่ออะไร

    เพื่อให้จิตที่อยู่ในความมืด มีสิ่งรู้ สิ่งระลึก แทนการมองเห็นด้วยตาเนื้อปกติ

    จิตที่อยู่ในความมืด มันเกเร มาก เพราะ วิ่งไปมาตลอด หาทางจับให้อยู่นิ่งได้ยาก

    คำบริกรรมภาวนา หรือ ดูลมหายใจ หรือ เพ่ง จุดใดจุดหนึ่งในกาย

    จึงเป็นเพียง สิ่งรู้ สิ่งระลึก ของจิต ที่อยู่ในความมืดนั้นๆ

    ให้จิตตัว เกเร นั้น มันแนบติดกับ ตัวรู้ในสติที่เรา กำหนดให้ได้

    พอมันแนบติดได้แล้ว จิตตัวเกเร ก็จะทรงตัวอยู่ได้ โดยปราศจากตัวรู้ที่เรากำหนด

    ตามแต่กำลังที่แต่ละคน จะทำได้นานเท่าไร ถ้าทำได้ชำนานมากขึ้น คือ

    จิตตัวรู้ ลอยอยู่ได้โดย ปราศจาก สิ่งรู้ของจิต ถ้ากำลังดีพอก็สามารถ ทรงฌาณได้

    ตามอัธญาศัย แต่พระท่านบอกว่า มันเป็นเพียงของเล่น คือทางผ่านของผู้ปฏิบัติ

    ไม่ได้เป็นไป เพื่อมรรคผล แต่กำลังการทรง ของจิตที่ดี มีผล ต่อ วิปัสสนาญาณ

    ที่ดี มันจะแปลงสภาพไป พิจรณา ไตรลักษณ์ ด้วยตัวเอง ไม่ได้เกิดจากการกำหนด

    พิจรณาด้วยสัญญา ความจำหมายกำหนดรู้ แต่จะทรงอารมณ์พิจรณาตามอัตโนมัติ

    ซึ่งนั้นแหละ ที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน

    ปล. ไม่รู้จะทำให้เข้าใจมากขึ้น หรือ งง กว่าเดิมนะเนี้ย
     
  4. salieaf

    salieaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +38
    ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำดีๆให้ครับ ถามต่ออีกนิดนะครับว่า
    1. อารมณ์ฌาณ น่ะครับ ประมาณแบบไหนครับ หรือว่าจะมีความรู้สึกวึดๆๆ เหมือนตัวจะเอียง แล้วก็จะกลับมาที่เก่าน่ะครับ
    2. อีกอย่างเวลาผมนั่งหลับตาจะเห็นก้อนม่วงๆๆ ดำๆๆ บ้างก็ฟ้าๆๆ ครับเห็นวงๆ ในเปลือกตาด้วยครับ ไม่ทราบมันคืออะไรครับ
    3.วานก่อนกำลังนั่ง ไม่ทราบว่าขั้นไหน มีคนจุดประทัด ผมตกใจเกือบดึงสมาธิกลับไม่ทัน เหนื่อยมาก แต่ดีที่ว่าผมไม่ว่าและไม่คิดอะไร ถ้าเมื่อก่อนน่ะไม่แน่นะครับ อาจมีด่า ไม่ทราบว่าคนจุดจะบาปไหมครับ ที่ทำผมตกใจ )
    4.สมาธิเมื่อนั่งแล้วแต่ได้ยินเสียงรอบข้าง รับรู้ภาวะแต่ไม่สนใจเนี่ย ถือว่าได้สมาธิยังครับ หรือต้องไม่ได้ยินอะไรเลยจึงจะถือว่าเป็นสมาธิที่ถูกต้องครับ
    ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  5. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985

    ขอเป็นอาจารย์สัก 3 นาที...............

    การปฏิบัติในทางจิต ก็คือ การฝึกให้จิต ระลึกรู้(มีสติ) อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น ระลึกรู้อยู่กับ ลมหายใจ เข้า-ออก อยู่ตลอดเวลา อย่างต่อเนื่อง (เป็นสมาธิ)


    ผมจะใช้สัญญลักษณ์แสดงให้เห็นง่าย ๆ โดยใฃ้ . คือการมีสติระลึกรู้ ดังนั้น หากจิตมีการระลึกรู้อย่างต่อเนื่องตลอดไป จะแสดงสัญญลักษณ์ ดังนี้..........................................................................

    และถ้าจิตคิดออกไปในเรื่องอื่นนอกเหนือจากสิ่งที่เรากำหนด สัญญลักษณ์ + ก็จะแสดงได้ดังนี้ ..........++++................+++++++............................................

    การฝึกให้จิตเป็นสมาธิอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คิดออกไปเรื่องอื่นเลยคือสิ่งที่เป็นความต้องการของทุกคน ที่จะต้องฝึกให้สามารถ ควบคุมจิตของตนให้ได้อย่างต่อเนื่องกันไป โดยไม่ส่งจิตออกไปคิดถึงเรื่องอื่น ๆ เลย ....จบ.
     
  6. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    ตอบรวม ๆ กันไปข้อเดียวกันเลยนะครับ.........

    สภาวะที่อารมณ์การรับรู้ของเราในขณะนั่งสมาธิ เป็นความปิติ สบายใจ แนบแน่นในใจ และเสียงต่าง ๆ ไม่รบกวนการนั่งสมาธิของเรา คือ ไม่สนใจ จะรับรู้อยู่แต่สิ่งที่เราใช้ในการฝึกอยู่ เช่น ลมหายใจ คำบริกรรม เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นระดับฌาณหนึ่ง

    ส่วนการสะดุ้งนั้น แสดงว่าใจคุณกำลังเริ่มเข้าสู่ความสงบ พอมีเสียงอะไรที่มารบกวน หากยังไม่เข้าสู่ระดับฌาณ หูยังไม่ดับ กำลังพลิน ๆ เสียงนั้นยังได้ยินอยู่ ทำให้สะดุ้งได้ และใจหาย ชีพจรจะเต้นแรงมาก แบบใจหายแว็บเลย ....

    ได้สมาธิหรือยัง ??? ให้สังเกตอารมณ์ที่ใจ มันจะอิ่มใจ มีปิติ สุขใจเหมือนกับที่เราทำอะไรสำเร็จแล้วนั่งดูผลงานของตนเอง แล้วดีใจ ไม่ใช่เฉยและกังวลใจแบบทั่วไปที่เราเป็นอยู่..........
     
  7. salieaf

    salieaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +38
    ขอบคุณครับที่ช่วยชี้แนะความกระจ่างให้ผมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...