สู้กับความง่วง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Cleansing Light, 14 มกราคม 2011.

  1. Cleansing Light

    Cleansing Light สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +20
    ข้าพเจ้าเคยมีประสบการณ์แก้ง่วง... จะเล่าให้ฟัง

    มีอยู่ว่า วันหนึ่ง เวลาเที่ยงวัน ซึ่งเป็นเที่ยงวันไหนข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ จำได้แต่เมื่อปีที่แล้วเดือนมิถุนาเห็นจะได้ ข้าพเจ้ากำลังทำงานตอนกลางวันแล้วรู้สึกง่วง (เพราะมันได้เวลานอนกลางวันซึ่งข้าพเจ้าจะทำเป็นกิจวัตรอยู่แล้ว+เมื่อคืนนอนดึ๊ก..ดึก).... และเคลิ้มๆ จวนเจียนจะหลับแล้ว แต่ว่างานยังคามืออยู่เลย ซึ่งตอนนั้นจิตก็ยังคิดได้ว่างานนี้เป็นงานสำคัญอยู่หากทำเสร็จไม่ทันอาจจะมีผลเสียหายหลายประการได้ จึงคิดวิธีแก้ง่วง (พยามฝืนจากจวนเจียนจะหลับมาเป็นแค่เคลิ้มๆเพื่อที่จะคิด(เก่งเนอะ :cool:) )
    ก็เลยหยิกตัวเองแรงๆ หลายๆที หยิกแล้ว หยิกอีก หยิกแล้ว.... หยิกอีก ก็ยังไม่หายง่วง
    ก็เลยหาของเผ็ดกิน ก็รู้สึกเผ็ด พอหายเผ็ดก็ยังง่วงอีก
    พอไม่ไหวเลยลุกขึ้นจากโต๊ะทำงานไปล้างหน้า พอกลับมาเสร็จก็เช็ดหน้าให้แห้ง
    แล้วก็จับปากกาทำงานต่อ พอเขียนได้ไม่ถึง 2 3 บรรทัด
    ก็วูบบบบ.........................! ไปเลย
    มารู้สึกตัวอีกที หลัง ครึ่งชั่วโมงผ่านไปแล้ว
    หลับไปนานขนาดนั้น ก็ยังง่วงอยู่ แต่พยามจะฝืนให้ไม่ง่วง พลันก็คิดได้ว่าเราเคยฝึกจิตได้แค่ฌานขึ้นต้นๆเลยอยากรู้ว่าพลังจิตแก้ง่วงได้เปล่า
    จึงลงมือเลย นั่งกอดอก เอนตัวลง ยืดขาตรงเหยียด (มันคือท่าที่ทดลองกับตัวเองแล้วรู้ว่าเป็นท่าที่ตัวเองเข้าสู่สมาธิเร็วที่สุด) แล้วก็หายใจเข้า........ ออก.... เข้า...... ออก....... ตื่น.......... ตื่น........... ตื่น........
    เรื่อยๆ พอได้ประมาณ 1 นาทีกว่า แสงสีขาว เริ่มมาแล้ว แวบๆ แล้วตัวก็ค่อยๆเบา หายใจเข้าไปทีเหมือนตัวจะลอย ตามมาด้วยเริ่มซู่ๆซ่าๆ ขนลุก และก็เห็นแสงสีขาวๆ เขียวๆ ฟ้าๆ ชมพูๆ แบบระยิบระยับ พุ่งไปตรงข้างหน้าแรงขึ้น แรงขึ้นเรื่อยๆ แล้วปิติเริ่มมา แล้วตอนนั้นจิตก็รวมเลย อยู่แบบเป็นหนึ่งไม่ออกนอก อยู่แต่ข้างใน พอครบองค์ประชุมในขั้นแรกๆของฌานเท่านั้นหล่ะความง่วงหายเป็นปลิดทิ้งเลย แล้วก็ค่อยๆคลายออกจากฌานรวมแล้วใช้เวลา 3 นาทีกว่าๆ ซึ่งง่ายกว่า 3 วิธีแรกอีกที่ใช้เกือบ 10 นาที แต่ไม่หายง่วง
    และหลังจากออกฌานแล้วทำงานได้แบบไม่มีง่วงเลย เอ้อ...แปลกดีเนอะ




    ก็เป็นประสบการณ์แก้ง่วงด้วยการฝ่าความง่วงด้วยการนั่งภาวนาในขณะอยู่ในความง่วงจนจิตรวมแล้วหายง่วงเลย.......

    ก็เอามาเล่าให้ฟังเผื่อจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยกับพวกที่เป็นนักปฏิบัติ....
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คัดลอกธรรมมาไห้พิจารนา
    นิวร
    3.ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ
    ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป
    ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

    อิททิบาท
    วิริยะ แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ ภาวะของผู้กล้า เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ หมายถึง การลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรัก ทำด้วยความพากเพียรพยายาม ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น หากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใดๆ ก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไป โดยไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นหวัง เดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือ ความสำเร็จ
    "วิริยะ" เป็นเหตุให้กล้าลงมือทำงานและกล้าเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆ ขณะทำงาน ตรงกันข้าม หากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า


    <DL><DD><DL><DD>"คนจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร" </DD></DL></DD></DL>วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว
    วิริยารัมภกถา เป็น ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ5 ในกถาวัตถุ10)

    วิริยเจตสิก
    ในทางอภิธรรม มีการกล่าวถึงวิริยะ ในลักษณะของเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์)


    วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่อดทนต่อสู้กับความยากลำบาก ที่เกี่ยวกับการงานต่างๆ ทั้งฝ่ายดีและไม่ดี
    • มีความอดทนต่อสู้กับความลำบาก เป็นลักษณะ
    • มีความอุดหนุนธรรมที่เกิดพร้อมกับตน ไม่ให้ถอยหลัง เป็นกิจ
    • มีการไม่ท้อถอย เป็นผลปรากฏ
    • มีความสลด คือสังเวควัตถุ8 เป็นเหตุใกล้ หรือมีวิริยารัมภวัตถุ8 เป็นเหตุใกล้
    จิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกับวิริยเจตสิกนี้ ย่อมมีอุตสาหะ พากเพียร ไม่ท้อถอย เพราะอำนาจของวิริยะนั่นเอง ที่ช่วยอุดหนุนไว้ ส่วนการที่วิริยะจะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยเหตุ ที่มี
    • สังเวควัตถุ8 (ชาติทุกข์ ,ชราทุกข์ ,พยาธิทุกข์ (ทุกข์จากความป่วยไข้) ,มรณทุกข์ ,นิรยทุกข์ ,เปตติทุกข์ ,อสุรกายทุกข์ ,ดิรัจฉานทุกข์ (ทุกข์จากการเกิดในสภาพที่ไม่ดีต่างๆ))
    • หรือ วิริยารัมภวัตถุ8 (วัตถุอันเป็นอารมณ์ ให้เกิดการปรารภความเพียร เช่น การงาน ,การเดินทาง ,สุขภาพ ,อาหาร)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สมาธิมาก แต่วิริยะหย่อน

    เป็นธรรมอีกหนึ่งเหตุทำให้ง่วง ปิดกั้นการเจริญธรรม
     
  4. tim6996

    tim6996 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2010
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +40
    อนุโมทนาที่ท่านได้ทำสมาธิแก้ง่วงนะครับ
     
  5. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากว่าปฎิบัติอยู่เป็นนิตย์ก็จะกำหนดได้เป็นปกติ คนที่มีสมาธิดีจะสามารถกำหนดให้ข้ามพ้นความง่วงนอนได้เป็นเรื่องปกติ
    แต่หากจะกล่าวถึงการง่วงนอนในเวลาที่นั่งกรรมฐาน
    ต้องกล่าวว่าเป็นนิวรณ์ที่ใครๆก็รู้ ในขณะที่เรานั่งนิวรณ์ตัวแรกที่เราต้องผ่านไปให้ได้คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เพราะความสงสัยนี้เองที่ทำให้เกิดความฟุ้งซาน ความฟุ้งซานก็ทำให้คิดถึงสิ่งที่ถูกใจ และ ไม่ถูกใจ และหากว่าจิตตามความคิดไปเรื่อยๆผลก็คือหลับเพราะความเพลินในอารมณ์
    ฉนั้นสิ่งที่เป็นต้นเหตุของนิวรณ์ 5 ก็คือ วิจิกิจฉา และสิ่งที่จะสามารถนำมาต่อกรได้คือ ความศัทธา เมื่อมีความศัทธาก็จะเชื่อมั่นในการปฎิบัติ ฉนั้นการภาวนาจึงเป็นอุบายหลอกจิตที่สามารถทำให้จิตใจมีความมุ่งมั่นในการปฎิบัติเพราะมีศัทธา
    และเมื่อภาวนาไม่หยุดด้วยความศัทธา สมาธิก็เกิด เมื่อสมาธิเกิดอาการง่วงนอนก็จะส่งผลได้น้อยลงไปเรื่อยๆ หรือ บางคนไม่มีผลเลยก็มี
    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...