เตือนพระหาเงิน ผิดทั้งวินัย ผิดทั้งกฏหมาย!

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย THODSAPOL SETTAKASIKIT, 28 พฤศจิกายน 2010.

  1. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    จริงหรือ?รูปทองเหลืองเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า

    ดูก่อนอานนท์ บางที่พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วง
    แล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี
    วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัย
    อันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
    เล่ม ๑๓ หน้า ๓๒๐
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book13/301_350.htm

    แล้วรูปทองเหลืองจะรักษาไว้ได้หรือ?


    ชื่อว่าอามิสบูชานั้น ไม่สามารถจะดำรงพระศาสนาแม้ในวันหนึ่งบ้าง แม้ชั่วดื่ม
    ข้าวยาคูครั้งหนึ่งบ้าง. จริงอยู่ วิหารพันแห่งเช่นมหาวิหาร เจดีย์พันเจดีย์ เช่น
    มหาเจดีย์ ก็ดำรงพระศาสนาไว้ไม่ได้(ทองเหลืองหล่ะ?). บุญูผู้ใด ทำไว้ก็เป็นของผู้นั้นผู้เดียว.
    ส่วนสัมมาปฏิบัติ (ปฏิบัติได้ถูกต้อง) ชื่อว่าเป็นบูชาที่สมควรแก่พระตถาคต. เป็นความจริงปฏิบัติ
    บูชานั้นชื่อว่าดำรงอยู่แล้ว สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย
    เล่ม ๑๓ หน้า ๔๒๑ บรรทัด ๑๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book13/401_450.htm

    อะไรที่รักษาไว้ได้คงถ้วน ๕,๐๐๐ ปี
    อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
    อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสาม
    พระองค์นั้นมีมาก สิขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก
    เพราะอันตรธาแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่ง
    สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน
    ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด
    ระยะกาลยืนนาน ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน
    ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้
    เหล่านั้นข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะ
    อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวก
    ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน
    ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด
    ระยะกาลยืนนาน ฉันนั้นเหมือนกัน
    เล่ม๑ หน้า ๑๔
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book01/001_050.htm

    ทรงสรรเสริญเพราะเหตุว่า ทำไฉนหนอ ภิกษุทั้งหลายแม้ได้
    ฟังการสรรเสริญของเราแล้ว จะพึงสำคัญวินัยว่า คนควรเรียนควรศึกษาใน
    สำนักแห่งอุบาลี ศาสนานี้จักเป็นของตั้งอยู่ได้นาน จักเป็นไปตลอด ๕,๐๐๐ ปี
    ด้วยประการอย่างนี้
    เล่ม ๔ หน้า ๗๗๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book04/751_800.htm


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตดำรงอยู่
    ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต
    เล่ม ๑๑ หน้า ๖๖ บรรทัด ๘
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book11/051_100.htm


    เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดู
    พระ
    รูปอันประเสริฐเกิดเพราะบารมีทุกอย่าง มีดวงพระเนตร
    สีนิล ล้วนเกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสัณฐานอันงดงาม ครั้ง
    นั้น พระศาสดาทรงทราบว่าเรายินดีในพระพุทธรูปจึงได้
    ตรัสสอนเราว่า อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่า
    เกลียด ซึ่งคนพาลชอบเล่า ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม
    บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็
    ชื่อว่าไม่เห็น
    เล่ม ๕๒ หน้า ๑๑๕ บรรทัด ๒๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book52/101_150.htm


    ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา

    ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม
    เล่ม ๒๗ หน้า ๒๗๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book27/251_300.htm



    (พระราหุลกับผู้ถือรูปทองเหลือง?)
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าก็ทรงดำริว่า บัดนี้
    ราหุลมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้ว. เป็นเวลาที่จิตฟุ้งซ่านไปใน
    รูปารมณ์เป็นต้นอันน่ากำหนัด. ราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็นผู้มักมากหรือ
    หนอ. ครั้นแล้วพร้อมกับทรงคำนึงได้ทรงเห็นจิตตุปบาทของราหุลนั้น ดุจเห็น
    ปลาในน้ำใสและดุจเห็นเงาหน้าในพื้นกระจกอันบริสุทธิ์. ก็ครั้นทรงเห็นแล้ว
    ได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า ราหุลนี้เป็นโอรสของเรา เดินตามหลังเรา มาเกิด
    ฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพว่า เรางาม ผิวพรรณของเราผ่อง
    ใส. ราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนิน ไปนอกทาง เที่ยวไปในโคจร ไปยังทิศ
    ที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศ. อนึ่งกิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายใน
    ย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน แม้ประโยชน์ผู้อื่น แม้ประโยชน์ทั้งสองตามความ
    เป็นจริง. จากนั้นจักถือปฏิสนธิในนรกบ้าง ในกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง ในปิตติ-
    วิสัยบ้าง ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง เพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสาร-
    วัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด. เพราะ
    ความโลภนี้ยังความพินาศให้เกิด
    ความโลภยังจิตให้กำเริบ ภัยเกิดแต่ภายใน
    ชนย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น คนโลภย่อมไม่รู้
    อรรถ(ความหมาย) คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม ความมืด
    ตื้อย่อมมีในกาลที่ความโลภครองงำคน.

    เล่ม ๒๐ หน้า ๒๘๗
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book20/251_300.htm

    มูลปริยายสูตร (๑)
    (๑) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้พญารัง ใน
    สุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
    เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระ-
    ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธ-
    พจน์นี้ว่า.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุที่เป็นมูลของ
    ธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังเหตุนั้น จง
    ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
    (๒) พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งทลาย ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดใน
    ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็น

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2
    สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม้ได้รับแนะนำในธรรมของ
    สัตบุรุษ.
    ย่อมหมายรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดย
    ความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุดิน ย่อมสำคัญหมายในธาตุดิน
    ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมสำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา
    ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ? เราตถาคตกล่าวว่า
    เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
    ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ โดยความเป็นธาตุน้ำ ครั้นหมายรู้ธาตุน้ำโดย
    ความเป็นธาตุน้ำแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุน้ำ ย่อมสำคัญหมายในธาตุน้ำ
    ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุนั้น ย่อมสำคัญหมายธาตุน้ำว่าของเรา
    ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุน้ำ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะ
    เขาไม่ได้กำหนดรู้.(ไม่ได้เรียนรู้)
    เล่ม ๑๗ หน้า ๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book17/001_050.htm

    พึงทราบว่า ย่อม
    สำคัญปฐวีภายนอกเหมือนอย่างปฐวีภายใน.
    อย่างไร ? จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะ(พอใจรักใคร่)ให้เกิดขึ้นในเหล็กและ
    โลหะเป็นต้น เพลิดเพลิน พร่ำเพ้อ หลงใหล เหล็กและโลหะเป็นต้น
    ย่อมหวงแหนรักษา คุ้มครอง เหล็กเป็นต้นไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เหล็ก
    ของเรา โลหะของเราชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญด้วย
    อำนาจตัณหา ด้วยประการฉะนี้. ก็หรือว่าปุถุชนย่อมทะยานอยากในปฐวี
    ภายนอกนี้ว่า ขอเหล็กและโลหะเป็นต้นของเรา พึงมีอยู่ อย่างนี้ตลอดไป
    หรือตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ยังไม่ได้ว่า ด้วยศีลหรือพรหมจรรย์นี้ เรา
    จักเป็นผู้มีอุกปกรณ์ มีเหล็ก และโลหะเป็นต้น ที่ถึงพร้อมแล้ว อย่างนี้.
    ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจาก
    อำนาจตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.
    อนึ่ง ปุถุชนอาศัยสมบัติหรือวิบัติ แห่งเหล็กและโลหะเป็นต้น
    ของตนแล้ว เกิดมานะขึ้นว่า ด้วยอุปกรณ์นี้ เราจึงดีกว่าเขา เสมอเขา
    หรือเลวกว่าเขา (รุ่นนั้นขลังกว่ารุ่นนี้) ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญ
    อันเกิดมาจากอำนาจมานะอย่างนี้.
    เล่ม ๑๗ หน้า ๖๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book17/051_100.htm

    อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนใดสำคัญปฐวี สำคัญในปฐวี สำคัญจาก
    ปฐวี สำคัญว่า ปฐวีของเรา ปุถุชนนี้ เพราะเหตุที่ตนไม่อาจจะละ
    ตัณหา หรือทิฏฐิที่อาศัยปฐวีได้ ฉะนั้น จึงยินดีปฐวีโดยส่วนเดียว.
    อนึ่ง ปุถุชนใด ยินดีปฐวี ปุถุชนนั้น ย่อมยินดีทุกข์ และทุกข์เป็นโทษ
    เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ แม้เพราะการเห็นโทษ. สมดังที่พระผู้-
    มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
    กล่าวว่า ผู้ใด ยินดีปฐวีธาตุ ผู้นั้นยินดีทุกข์ ผู้ใดยินดีทุกข์ ผู้นั้นย่อม
    ไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้.
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความสำคัญและความยินดี อันมี
    ปฐวีเป็นที่ตั้งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงนำเหตุที่เป็นเหตุสำคัญ และยินดี
    ของปุถุชนนั้น จึงตรัสว่า เรากล่าวว่า ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร,
    ความไม่รู้รอบ เป็นเหตุแห้งข้อนั้น ดังนี้.
    ข้อนั้น มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ถ้าว่ามีคำถามสอดเข้ามาว่า ปุถุชน
    นั้น ย่อมสำคัญปฐวีนั้น เพราะเหตุอะไร คือว่า เพราะเหตุไร จึง
    สำคัญยินดีปฐวีนั้น ดังนี้ไซร้. ตอบว่า (เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ตรัสว่า) เราตถาคตกล่าวว่า ข้อนั้นอันปุถุชนนั้นมิได้กำหนดรู้แล้ว มี
    อธิบายว่า เพราะเหตุที่ข้อนั้น อันปุถุชนนั้นมิได้กำหนดรู้แล้ว จริงอยู่
    ปุถุชนใด ย่อมกำหนดรู้ปฐวี ปุถุชนนั้นย่อมกำหนดรู้(เรียนรู้)ด้วยปริญญา ๓
    คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา.
    ในปริญญา ๓ อย่างนั้น ญาตปริญญาเป็นไฉน ? คือปุถุชน
    ย่อมรู้ปฐวีธาตุว่า ปฐวีธาตุนี้ เป็นไปในภายใน ปฐวีธาตุนี้เป็นไปใน
    ภายนอก นี้เป็นลักษณะของปฐวีธาตุนั้น เหล่านี้เป็นกิจ เป็นปัจจุ-
    ปัฏฐาน และเป็นปทัฏฐานของปฐวีธาตุนั้น ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า
    ญาตปริญญา.
    ตีรณปริญญาเป็นไฉน? คือปุถุชนพิจารณาปฐวีธาตุ กระทำให้เป็น
    สิ่งที่ตนรู้แล้วอย่างนี้ ด้วยอาการ ๔๐ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นต้น ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า ตีรณปริญญา.
    ปหานปริญญาเป็นไฉน ? คือบุคคลพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อม
    ละฉันทราคะในปฐวีธาตุด้วยอรหัตตมรรค ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า
    ปหานปริญญา.
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72
    อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดนามและรูป ชื่อว่า ญาตปริญญา. การ
    กำหนดรู้มีการพิจารณากลาปะ เป็นเบื้องต้น และอนุโลมญาณ เป็นที่สุด
    ชื่อว่า ตีรณปริญญา. ญาณในอริยมรรค ชื่อว่า ปหานปริญญา.
    ปุถุชนใด ย่อมกำหนดรู้ปฐวี ปุถุชนนั้นย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓
    เหล่านี้. ก็ปริญญาเหล่านั้น ไม่มีแก่ปุถุชนนั้น เพราะฉะนั้น ปุถุชน
    ชื่อว่า ย่อมสำคัญ ย่อมยินดีปฐวี เพราะไม่กำหนดรู้ด้วย เหตุนั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้
    ไม่ได้สดับ ฯลฯ ย่อมสำคัญปฐวี ย่อมสำคัญในปฐวี ย่อมสำคัญจาก
    ปฐวี ย่อมสำคัญว่า ปฐวีของเรา ชื่อว่า ย่อมยินดีปฐวี ข้อนั้น
    เพราะเหตุอะไร เราตถาคตกล่าวว่า (เพราะ) ข้อนั้นอันปุถุชนนั้น
    มิได้กำหนดรู้แล้ว.(ไม่ได้เรียนรู้)
    เล่ม ๑๗ หน้า ๗๐
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book17/051_100.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  2. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    สุดยอกจริงๆ ไอ้พวกเวปสามแยกนี่ หน้าด้านไม่มีส่วนไหนหยิกเจ็บแล้ว มาอาศัยที่นี่เผยแพร่อีกแล้ว แสดงว่าเวปสามแยกไม่มีใครเข้าล่ะซิ ถึงต้องกระสันกระซ่านเป็นหมาเดือนสิบร้อง เขาไม่ต้อนรับแล้วยังจะมาหาพวกสาวกอีก อ๋อ อาจจะเป็นเพรากรามพันธุ์มันด้านจากผู้ให้กำเนิด มันเลยด้านมาถึงเผ่าพันธุ์
     
  3. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
    สำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง(คงอยู่ตลอด)หรือไม่เที่ยง.(คงอยู่ตลอด)




    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?





    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ควร
    หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ?




    เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) ?



    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?




    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
    หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ?




    สัญญาเที่ยง(คงอยู่ตลอด)หรือไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) ?




    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?.




    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) เป็นทุกข์ มีดวามแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
    หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั้นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ?.



    สังขารทั้งหลายเที่ยง(คงอยู่ตลอด)หรือไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด).



    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?.




    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
    หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั้นของเรา นั่นเป็นตนของเรา ?




    วิญญาณเที่ยง(คงอยู่ตลอด)หรือไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด).




    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?.





    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง(คงอยู่ตลอด) เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
    หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ?

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ
    นั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ
    ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่
    สักว่ารูปเธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่คนของเรา.
    เวทนา(ความรู้สึก)อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
    หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็
    เป็นแค่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็น
    จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    สัญญา(ความจดจำ)อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ภายใน
    หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็
    เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตาม
    เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา .
    สังขาร(ตัวผสมกัน)ทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
    ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้ง

    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 56
    หมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม
    เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    วิญญาณ(ธาตุรับรู้)อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
    หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็
    เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม
    เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    [๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยาสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อ
    หน่ายย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้น
    แล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่
    ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้.
    เล่ม ๖ หน้า ๕๓ ตัดคำตอบออกเพื่อให้ได้พิจารณาคำตอบเองครับ
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book06/051_100.htm

    ใช่ครับ แต่ก็เปิดต่อไปแหล่ะครับ เผื่อผู้ที่เคยเป็นญาติๆกัน เคยเกื้อกูลกันมาจะตื่นตัวระมัดระวังตัวกันเอาเองครับ
    ไม่ได้หวังว่าจะมีผู้เข้าใจทั้งหมดครับ เข้าใจกันเท่าไหร่ก็เท่านั้นแหล่ะครับ ตามมีตามได้แหล่ะครับ

    มีหน้าที่เปิดอย่างเดียวครับ ที่เหลือ ธรรมมานุภาพครับ
    ยานี้เป็นของพระทธเจ้าให้ไว้ครับ โยมมีหน้าที่นำพายาเข้าร่างกายผู้เป็นโรคเท่านั้นครับ ที่เหลือคือ ฤทธิ์ของยาครับ


    เด็กทำตามผู้ใหญ่ หรือ ผู้ใหญ่ทำตามเด็กครับ?


    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม-
    ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา ภิกษุผู้เถระ(ผู้บวชเกิน ๑๐ พรรษา)ก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็น
    หัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อ
    ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
    ไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้
    ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
    ความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
    ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้
    แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบ
    ล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย...

    เล่ม ๓๖ หน้า ๑๙๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book36/151_200.htm

    ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี เรากล่าวความมีศีลมีธรรมดีนี้
    ในความมีสีงามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้ากาสีมีสีงามฉะนั้น
    อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้น​
    ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวการคบ-
    หาสมาคมทำตามอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขนี้ ในความมีสัมผัสนิ่มของ
    ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้ากาสีมีสัมผัสนิ่มฉะนั้น
    อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย...ของ
    ชนเหล่าใด ข้อนั้นย่อมเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
    การรับปัจจัยอันเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาแพงของ
    ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า เสมือนผ้ากาสีมีราคาแพงฉะนั้น
    อนึ่ง ภิกษุเถระผู้มีคุณธรรมอย่างนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์
    ภิกษุทั้งหลายก็พากันว่า ท่านทั้งหลาย จงสงบเสียงเถิด ภิกษุผู้ใหญ่จะกล่าว
    ธรรมกล่าววินัยนี้ ดังนี้
    เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า เราทั้งหลาย
    จักเป็นอย่างผ้ากาสี ไม่เป็นอย่างผ้าเปลือกไม้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
    พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
    เล่ม ๓๔ หน้า ๔๘๙
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book34/451_500.htm


    อันนี้ไปดูที่ กระดานหน้าที่ ๗ ในกระทู้เดียวกันนี้ อยู่ช่องกระทู้ที่ ๒ นับจากด้านบน
    ที่ตัวอย่างศึกษา อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์ เปลี่ยนจาก บาตร เป็น ซีดีเปล่าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ประเดิม หยุดถวายเงิน ทองแก่พระภิกษุ สามเณร วัดสามแยก
     
  5. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ไม่รู้ว่าตรงกับพระคุณเจ้าหรือเปล่าครับ
    โยมเข้าใจ ความหมายของคำว่าไม่เชื่อตำราที่พระพุทธเจ้าสอนนั้น
    คือ เป็นผู้ชัดเจน ไม่ได้เชื่ออีก
    ไม่ใช่ว่ายังไม่ชัดเจนแล้วไม่เชื่อ เพราะมันชัดเจนแล้วจึงไม่ได้เชื่ออันนั้นอีก
    ยก ตัวอย่างนะครับ ถ้าโยมบอกว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีความโกรธอยู่ พระคุณเจ้าจะเชื่อตำรา หรือ ชัดๆว่า มันมีโกรธอยู่ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้จริง

    แล้วถ้าพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระทุศีล มีนรกรองรับ พระคุณเจ้าจะเชื่อตำรา หรือ ชัดเจน หรือ สงสัยในพระพุทธเจ้า ว่าจะจริงหรือ?
    แต่ โยมไม่สงสัยนะครับ แม้จะไม่ไปโดนเผาก็ตาม แต่ก็ไม่ต้องการไปชัดเจนด้วยครับ เพราะมันชัดเจนในข้ออันเจริญแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปชัดเจนในข้อเสื่อมครับ
    จึง เชื่อว่าพระทุศีลมีโทษจริง ผู้เกี่ยวข้องมีโทษจริง เพราะทำคุณสมบัติไตรสรณคมน์ให้สะอาดแล้วมันเจริญก็เลยไม่สงสัยครับ มันชัดข้อนี้แล้ว ข้ออื่นๆเจริญและเสื่อมตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แน่นอนครับ
    เพราะข้อนี้มผลจริงตามนั้นแม้ในปัจจุบัน จึงไม่สงสัยที่จะต่อๆไปในอนาคต
    แต่ผู้ที่บอกกันว่าศรัทธาพระพุทธเจ้า อย่างแนบแน่นแน่นอน แต่เมื่อพระองค์ตรัสว่า พระทุศีลมีโทษไม่เกื้อกูลแก่ผู้เกี่ยวข้องด้วย
    พระที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้เกื้อกูลประโยชน์สุข แก่ผู้เกี่ยวข้องด้วย ก็กลับลังเลสงสัยว่าจะจริงไหมหว่า?
    ผู้บอกว่าตนเชื่อมั่นแน่นอน ตนนั้นศรัทธาพระพุทธเจ้าแน่ แต่กลับลังเลสงสัย ในพระพุทธเจ้า ว่าจะจริงหรือ?
    แล้วอย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ที่ศรัทธาหรือจะเรียกว่าอะไร?
    อีกอันหนึ่งเชื่อในพระพุทธเจ้า แต่ไปถือเครื่องรางของขลัง รูปทองเหลือง ทองแดงฯ ว่าเป็นวัตถุมงคล ว่าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า
    หา วัตถุมาแทนพระพุทธเจ้า ก็เลยเป็นการคลำหาผิดๆมาถือเพื่อให้ตนพ้นภัย เพื่อให้ตนพ้นความลำบาก เป็น มงคล+ปรามาส ไป คือลูบคลำความเป็นมงคล เป็นการถึง วัตถุสรณ์คมน์ไป เพราะถือวัตถุไม่ได้ถือธรรม ตู่กันไป ว่าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า

    รู้จักครับ
    สีลพฺพตปรามาส เป็นคำรวมกันหรือที่เรียกว่าคำสมาส ถอดออกมากลายเป็น สีล + วตฺต(ตัวจริงของ พฺพต) + ปรามาส ถอดให้ชัดอีก เป็น ศีล+วัตร+ปรามาส =
    ข้อ ปฏิบัติที่ทำให้สะอาดปราศจากโทษ + ข้อประพฤติ + การลูบคลำ การแปลคำสมาสคือคำที่ผสมกัน จะแปลจากด้านหลังมาด้านหน้า จึงได้ความหมายเป็น การลูบคลำข้อประพฤติข้อปฏิบัติที่ทำให้สะอาดปราศจากโทษ

    ต้นตอคำนี้มาจากไหน
    เล่ม ๖๕ หน้า ๔๙๙
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book65/451_500.htm

    แต่โยมไม่ได้ถือว่าถือศีลบริบูรณ์แล้วคือพระอรหันต์นะครับ
    เพราะรู้จักกันว่ามันแค่ฐานเท่านั้นไม่ใช่ยอดแหลมบนสุด เป็นบันไดขั้นแรก ยังมีขั้นต่อๆไปอีก
    รู้จักครับ ไม่ตู่ว่าศีลดีแล้วคือพระอรหันต์
    แต่กล่าวตามพระพุทธเจ้าว่าพระทุศีลมีโทษ พระมีศีลย่อมมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
    หรือพระคุณเจ้าจะไม่รักษาศีล เพราะเข้าใจว่าเป็นการลูบคลำศีล
    ใคร่ควรญตรวจสอบด้วยดีแล้วจึงตัดสินใจย่อมมีผลมากครับ

    สังโยชน์มันมี ๑๐ ไม่ใช่หรือครับ ถ้าไม่เอาก็ควรจะทั้งหมดไม่ใช่หรือครับ?

    ไม่ว่าพระคุณเจ้าจะเห็นอะไร
    แต่โยมเห็นพระคุณเจ้ากำลังติเตียนสิขาบท เป็นอาบัติปราจิตตีย์ หรือที่เรียกว่าทำความดีให้ตกไป ประทุษร้ายภิกษุเหล่าอื่น

    เห็น พระคุณเจ้ากำลังตู่วินัย ว่าไม่เป็นวินัย ด้วยการกล่าวว่า เงินคือกระดาษรับได้ ทั้งๆที่ มีวินัยอยู่ว่า รูปิยะ สำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

    เห็นพระคุณเจ้าตู่สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ว่าเป็นธรรม ด้วยการตู่รูปทองเหลืองก้อนทองเหลือง ว่าคือ ตัวแทนพระพุทธเจ้า

    ผู้ที่กล่าวตู่พระพุทธเจ้า ถือว่าได้ทำบาปเป็นอย่างมาก


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม
    ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็น
    ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน
    เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ
    บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมจะยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน.
    [๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า อธรรม
    ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ
    ที่แสดงคำพูดอันตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้กล่าวไว้ว่าตถาคตภาษิตไว้
    กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงคำพูดอันตถาคตได้ภาษิตไว้ กล่าวไว้ว่า ตถาคต
    มิได้ภาษิตไว้ มิได้กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันตถาคตมิได้สั่งสมว่า
    ตถาคตสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันตถาคตได้สั่งสมไว้ว่า ตถาคตมิได้
    สั่งสมไว้ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
    ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็น
    ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์กื้อกูล ชน
    เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ
    บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน.
    เล่มที่ ๓๒ หน้า ๑๗๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book32/151_200.htm


    ...พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
    สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ (คือภิกษุผู้ไม่กล่าวตามธรรม)
    ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
    ๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม.
    ๓. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย.
    ๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย.
    ๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัส ไว้ ว่าพระตถาคตทรงภาษิตไว้ ทรงตรัสไว้.
    ๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ทรงตรัสไว้.

    ๗. แสดงมรรยาทอันพระตถาคต มิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา.
    ๘. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา.
    ๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติไว้.
    ๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้.

    ๑๑. แสดงสิ่งที่มิใช่อาบัติ ว่าเป็นอาบัติ.
    ๑๒. แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ.
    ๑๓. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก.
    ๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา.
    ๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้.
    ๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ.
    ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
    ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ


    สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ (ภิกษุผู้กล่าวตู่ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า)
    ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ แล.

    ลักษณะของภิกษุผู้กล่าวตู่ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า 18 ประการ
    (มีโทษมาก)
    เล่ม 7 หน้า 481
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book07/451_500.htm

    ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่านั้น อันใดว่า ธรรมเหล่านี้
    เป็นไปเพื่อมีราคะ ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากราคะ
    เป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากทุกข์
    เป็นไปเพื่อมีอุปาทาน ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากอุปาทาน
    เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย
    เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
    เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
    เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
    เป็นไปเพื่อความสะสม ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากความสะสม.
    เธอพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย
    นั่นไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา.

    ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่านั้นอันใดว่า ธรรมเหล่านี้
    เป็นไปเพื่อปราศจากราคะ ไม่เป็นไปเพื่อราคะ
    เป็นไปเพื่อปราศจากความประกอบทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์
    เป็นไปเพื่อปราศจากอุปาทาน ไม่เป็นไปเพื่อมีอุปาทาน
    เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก
    เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ
    เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
    เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่
    เป็นไปเพื่อปราศจากความสะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม
    เธอพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย
    นั่นเป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา.

    เพราะฉะนั้น พึงสอบสวนในพระไตรปิฎก พุทธวจนะ ที่ชื่อว่าสูตร
    พึงเทียบเคียงในเหตุคือวินัยมีราคะเป็นต้น ที่ชื่อว่าวินัย
    ความในข้อนี้มีดังกล่าวมาฉะนี้.
    เล่ม 13 หน้า 405 (มหาปรินิพพานสูตร)
    http://www.samyaek.com/tripidok/book13/401_450.htm

    ผู้กล่าวตู่
    เล่ม ๓๓ หน้า ๓๔๗ - ๓๔๙
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book33/301_350.htm

    เล่ม ๗๐ หน้า ๒๑๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book70/201_250.htm



    บุญจากการเปิดธรรมวินัย จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษากิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป

    ---------------------------------------------------------------
    หลักของกาลมสูตรคือการใคร่ควรญตรวจสอบพินิจพิจารณาเป็นไม่ใช่หรือครับ?
    ควรจะอ่านข้ามๆ หรือ ค่อยๆอ่าน ค่อยๆพินิจพิจารณาดีหล่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอถามชาววัดสามแยก

    การไม่รับเงินทอง แต่ไปเรี่ยไรสิ่งของโยม ทำนองก้อมแกล้มบอกบุญ นี่ผิดไหม
     
  7. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ได้ยกถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนาในระหว่างว่า ทองและ.เงินควรแก่พระสมณะเธอสายพระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระสากยบุตรรับ ทองและเงิน เมื่อชนทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้พูดกะบริษัทนั้นว่า นาย พวกท่านอย่าได้พูดเช่นนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ข้าพระพุทธเจ้าสามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเท็จชื่อว่าพยากรณ์ธรรมอันสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูป ผู้กล่าวตามวาทะ ย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนหรือ พระพุทธเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาละ นายบา้น เธอพยากรณ์(ตอบ)อย่างนี้ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูปผู้กล่าวตามวาทะย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน ดูก่อนนายบ้าน ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้ สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณทั้งห้าก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า มีปกติมิใช่สมณะ มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียน พึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ แต่ เรา ไม่กล่าวโดยปริยายไร ๆ ว่า สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน.
    เล่ม ๙ หน้า ๕๓
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book09/501_550.htm


    อธิบายเพิ่มเติมเรื่อง การลูบคลำศีลและวัตร
    คนถูกปิดตา คนถูกความมืดครอบงำ คนตาบอด คนถูกความไม่รู้ครอบงำ
    อาการของคนคลำ คือ คลำหาไป เดาไป ไม่เห็นแล้วคลำเอามา
    คลำไปว่าศีลอย่างนี้จึงจะสะอาด วัตรอย่างนี้จะทำให้เราเจริญ การได้เห็นรูปทองเหลืองถือเป็นมงคล
    แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้คลำเอา ชัดแจ้ง ไม่มีอะไรที่ไม่ทรงทราบ จึงไม่ได้คลำเอามาบัญญัติ
    ผู้ที่เรียกตนว่าอุบาสกอุบาสิกาแต่ไปเอาของศีลและวัตรนอกศาสนามาทำก็มีเยอะนะครับครับ วางของตรงนั้นแล้วจะมีลาภ เลขมงคลถ้ามีแล้วเฮง กราบไหว้ศาลพระภูมิแล้วบ้านจะปลอดภัย ก้าวเท้าขวาออกจากบ้านก่อนแล้วดี หนังตาขวากระตุกร้าย หนังตาซ้ายกระตุกดี หันหน้ารูปทองเหลืองไปทางทิศใต้เงินจะหมด ตัดผมวันอาทิตย์แล้วจะอายุยืน
    สารพัดไปครับ ถือมงคลตื่นข่าวไป ก็เป็นการลูบคลำมงคลไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  8. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  9. แฟรงค์MBT

    แฟรงค์MBT สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมมาจากเวปประมูล ภาษาเวปผมคือหยุดให้อาหารนกโลกน่ะครับ
     
  10. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    พระพุทธเจ้าไม่สามารถปั้นเปรียบได้
    เล่ม ๓๒ หน้า ๑๘๒
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book32/151_200.htm

    เล่ม ๓๒ หน้า ๒๑๔
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.samyaek.com/tripidok/book32/201_250.htm

    ความเห็นผิดไปจากความจริง ย่อมมีสิ่งรองรับ
    ...
    เล่ม ๓๑ หน้า ๓๔๔
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book31/301_350.htm


    ศาสนานี้ย่อมมีอนุสนธิ คือ มีการเกี่ยวเนื่องกันเป็นสาย

    เมื่อท่านเว้นอรรถ(ความหมาย)เบื้องต้น กล่าวแต่อรรถเบื้องปลาย ย่อมรู้ว่า
    อรรถเบื้องต้นมีอยู่ดังนี้ แม้เมื่อท่านเว้นอรรถเบื้องปลาย กล่าวแต่อรรถเบื้องต้น
    ก็รู้ว่าอรรถเบื้องปลายมีอยู่ดังนี้ เมื่อท่านเว้นอรรถทั้งสอง กล่าวแต่อรรถใน
    ท่ามกลาง ย่อมรู้ว่าอรรถทั้งสองมีอยู่ดังนี้ เมื่อท่านเว้นอรรถในท่ามกลาง
    กล่าวแต่อรรถทั้งสองส่วน ย่อมรู้ว่าอรรถในท่ามกลางมีอยู่ดังนี้. แม้ในเบื้องต้น
    และเบื้องปลายแห่งบาลี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ก็ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เมื่อ
    พระสูตรเริ่มศีลเป็นต้นไป ในที่สุดก็มาถึงอภิญญา ๖ ภิกษุย่อมรู้ว่า พระสูตร
    ไปตามอนุสนธิ ตามกำหนดบท ดังนี้ เมื่อพระสูตรเริ่มแต่ทิฏฐิไป เบื้องปลาย
    สัจจะทั้งหลายก็มาถึง ภิกษุย่อมรู้ว่า พระสูตรไปตามอนุสนธิ เมื่อพระสูตรเริ่ม
    แต่การทะเลาะบาดหมางกัน เบื้องปลายสาราณียธรรมก็มาถึง เมื่อพระสูตร
    เริ่มแต่ดิรัจฉานกถา ๓๒ เบื้องปลายกถาวัตถุ ๑๐ ก็มาถึง ภิกษุย่อมรู้ว่า พระ-
    สูตรไปตามอนุสนธิ ดังนี้.

    เล่ม ๓๖ หน้า ๓๖๑
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tri<wbr>pidok/book36/351_400.htm

    อรรถ แปลว่า ความหมาย
    อนุสนธิ คือ อนุ+สนธิ = เนื่องกัน,ตามกัน+ต่อกัน,ติดกัน = ต่อเนื่องกัน , ติดตามกัน



    เล่นกสิณรูปทองเหลืองแล้วมีฤทธิ์ เป็นฤทธิ์พุทธานุสติหรือฤทธิ์อะไร?
    แล้วตามความเป็นจริงผลที่ได้คืออะไร?

    บุญจากการเปิดธรรมวินัย จงสำเร็จแก่ ญาติ เทวดาที่รักษา นายเวร เชื้อโรคข้า ครอบครัวข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษากิจการที่ข้าเกี่ยวข้อง ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา และผู้ต้องการตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  11. แฟรงค์MBT

    แฟรงค์MBT สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +0
    นาย THODSAPOL SETTAKASIKIT

    เห็นอ้างอิงจากเวปสามแยกตลอดแปลว่าแหล่งอ้างอิงอื่นๆ ใช้ไม่ได้
    หรือไม่น่าเชื่อถือใช่มั้ย ถ้าใช่ทำไม ไม่ไปเผยแพร่ที่เวป3แยกล่ะ

    มาก่อกวนอะไรที่เวปนี้ล่ะ ก็เห็นอยู่ว่าเขาไม่ต้อนรับ

    ปล.หยุดให้อาหารนกโลก
     
  12. roentgen

    roentgen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +67
    เห็น Link มีแต่ที่มาจากวัดสามแยก

    ถอนอุปาทานไม่ขึ้นเสียแล้วกระมัง


    ประเด็นแรกจาก
    ความเห็นที่ 182

    เธอว่า สงฆ์ ต้องยึดในมติสงฆ์เป็นหลักใช่มั้ย?

    เมื่อสงฆ์ กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

    สงฆ์ ปกครองสงฆ์เอง ก็ต้องถือตาม ๆ กันมา

    จริงอยู่ ที่ถือศีลเคร่งครัดกันอย่างดี เราก็ขออนุโมทนาด้วยในส่วนนั้น

    แล้วที่เธออ้างมา เพื่อ "สนับสนุนทฤษฏีของเธอ" เองเท่านั้น

    ดูตามกาลที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสหรือเปล่า?

    เอาหลังสุดมาไว้ก่อนหน้าสุด มั่ว ๆ ซั่ว ๆ ยกมาโพส

    เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย <เรื่องนี้เกิดภายหลัง อุปเสน มิใช่หรือ?

    สมัยนั้นบัญญัติเพราะว่าอะไรล่ะ?

    และที่ท่านพระอานนท์ท่านพูดคุยกับพระเถระ

    ก็เกิดหลังที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับอุปเสนเสียอีก

    เพราะว่าเราทั้งหลายชอบยกพระพุทธพจน์มาเพื่อโจมตีกันเองนี่แหล่ะ

    จึงหยิบโน่นบ้าง นี่บ้าง ตัดมาเฉพาะที่เราต้องการเพื่อสนับสนุนตนเอง

    แล้วก็แปะไว้ Link ไว้ (ส่วนมาก็มาจากวัดป่าสามแยก สงสัยพระไตรปิฏกเว็ปอื่นใช้ไม่ได้แหง ๆ)

    แล้วด้วยเหตุอะไรล่ะ? ทำไมพระพุทธองค์ทรงตรัสให้ถอนหรือปรับเปลี่ยนไปตามกาล?

    เรื่องนี้สงฆ์ส่วนมากในปัจจุบันว่าอย่างไร เราก็ว่าอย่างนั้นแหล่ะ

    แม้ว่าจะประพฤติดี แต่ถ้ามาแยกตนเอง อย่างพระเทวทัต

    ทูลขอให้พระเคร่ง ๆ แยกสงฆ์ออกมา เป็นอย่างไรล่ะ? สังฆเภท

    ถ้าประพฤติได้ดี ตามสิกขาบทได้เป๊ะ ๆ ขออนุโมทนานะ

    แต่ถ้าประพฤติดี แล้วเที่ยวปรามาสผู้อื่น แยกกลุ่มของตนออกมา อันนั้นไม่ขอยุ่ง


    ประเด็นที่สอง "สบายจริงแต่บาปยาวนาน กับ ลำบากขัดเกลาตน"

    ขัดเกลาตนไม่เกี่ยวกับวัตถุหรอก

    ต่อให้ไม่มีอะไรเลย หรือมีอะไรทุก ๆ อย่าง

    แต่ "ใจไม่ไปข้องเกี่ยว ยึดติด หรือข้องเกี่ยวเพียงสักแต่ว่า"

    ก็ขัดเกลาตนได้

    ถ้าวัดอยู่ในชุมชนที่ไม่ดี เช่น เต็มไปด้วยชุมชนค้ายา หรือคนฉ้อโกง

    (ยังมีอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้กล่าว)

    ชาวบ้านนั้นรู้ว่าพระ-เณร เรียน ไม่มีอุปัฏฐาก ก็ต้องจับจ่ายใช้สอยเอง

    แต่เราว่านะ

    "ถ้าเธอไม่ได้ไปช่วยทำอะไรให้พระ-เณร เหล่านั้นดีชึ้น
    ก็อย่าไปทำให้มันแย่ลงไปกว่าเดิมเลย"

    คนที่เอาแต่ว่า ว่า ว่าคนอื่น โดยไม่ไปช่วยอะไรเขาเลยเนี่ย

    เราว่านะ มันดีตรงไหน?

    เอาแต่บอกว่า "เฮ้ย ทำอย่างนี้ผิดนะ อย่าทำ ห้ามทำ"

    แต่ "ไม่ได้ไปช่วยอะไรเขาเลยนอกจากห้าม"

    ไปสิ "ไปเป็นไวยาวัจจรให้พระ-เณรที่ศึกษาเล่าเรียนทั่วทั้งประเทศ"

    ถ้ามีแต่ปากเอาไว้พูด แต่สองมือไม่ลงมือไปทำ ไปช่วย ก็หยุดเถอะ

    มันจะแย่ไปกว่าเก่าเสียอีก

    เหมือนคำที่ว่า มือไม่พายแต่เอาเท้าไปราน้ำ ซะอีก


    ประเด็นที่สาม

    เพราะอะไรเราถึงบอกว่า อย่าเพิ่งเชื่อตามตำรา

    เคยอ่านจดหมายเหตุฟาเหียนมั้ย?

    พระไตรปิฏกถูกแก้ไข แม้ในกระทั่งชั้นบาลี

    กว่าจะมาถึงเรา มีอะไรบ้างถูกสอดแทรกเข้าไป?

    มีอะไรบ้างถูกตัดทอน ถอน หรือไม่ได้จารึกบ้าง?

    (เช่น อนุปุพพิกถา ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฏก)

    ไม่เช่นนั้นจะมีพระพุทธพจน์ที่บอกอย่าเชื่อตามตำราทำไม?

    เธอว่าเราติเตียนสิขาบท ก็เรื่องของเธอ

    เป็นการกล่าวหาของเธอเองโดยแท้ ไม่เกี่ยวกับเรา

    เราเคยบอกแล้วว่า สิกขาบทใด ๆ ที่ยังรักษาได้ รักษาไว้

    สิ่งใดที่กาลในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย สถานที่ไม่เอื้ออำนวย

    เราพึงรู้ และเข้าใจอยู่เสมอ แม้เธอไม่เตือนเราก็รู้

    แต่พระเองก็มีหน้าที่ต้องปลงอาบัติกันทุกวัน

    ลงฟังพระปาฏิโมกข์กันทุก ๆ กึ่งเดือนกันอยู่ละ



    ประเด็นที่สี่

    เราเองก็ไม่เคยปิดว่าไม่ได้รับกระดาษสมมุตินะ

    แต่แร่เงิน แร่ทองแท้ ๆ คงไม่รับแน่ ๆ

    ว่าแต่ความเดือดร้อนมาจากคณะสงฆ์ส่วนใหญ่หรือส่วนน้อยกันแน่?


    ประเด็นที่ห้า ความเห็นที่ 183

    สมัยพุทธกาลยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูป

    พระบรมศาสดาเองก็ทรงรู้ว่ากาลข้างหน้ามีการสร้างรูปเคารพแทน

    แต่ไม่ได้ระบุไว้ เพราะพระพุทธองค์ท่านทรงไม่บัญญัติอะไรไว้ล่วงหน้า

    ให้เป็นไปตามยุค ตามสมัย

    จริงอยู่ว่าพระพุทธรูป ที่เป็นรูปแทน ดำรงค์รักษาอะไรไว้ไม่ได้

    แต่เป็นสิ่งที่เคารพแทนเท่านั้น

    ซึ่งถ้าเธอยังยึดมั่นว่า พระพุทธรูปไม่ใช่พระพุทธเจ้า

    แล้วเหตุใดยังยึดมั่นว่า กระดาษสมมุติ เป็นเงิน-ทอง กันอยู่?

    ไม่ยึดมั่นอย่างหนึ่ง แต่กลับยึดมั่นอีกอย่าง

    ทั้ง ๆ ที่มันก็เป็นแค่ "วัตถุ" เท่านั้นมิใช่หรือ?"

    ขึ้นอยู่กับว่าจะสมมุติให้มันเป็นอะไรเท่านั้นแหล่ะ

    สมัยโบราณ ก็สมมุติเอาเปลือกหอยมาเป็นเงินทอง

    "เพื่อไว้ชำระหนี้ตามกฏหมาย" เท่านั้น

    แล้วหอยมันเป็นเงินทองจริงหรือเปล่า?

    กำลังสอนอะไรขัดแย้งกันหรือเปล่า?

    แค่เรื่องพระพุทธรูป เป็นสิ่งสมมุติเอาไว้กราบไหว้ สวดมนต์

    ใคร ๆ ก็รู้ว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้าจริง ๆ แต่เป็น "รูปแทนไว้เคารพ"

    บางคนยังต้องพึ่ง บางคนไม่ต้องพึ่งแล้ว

    มันก็แล้วแต่จริต นิสัย ภูมิธรรม ของแต่ละบุคคล

    และความคิดที่ว่าจะให้ทุก ๆ คนเป็นเหมือนกันหมดนั้น "เป็นไปไม่ได้"

    ถ้าอยากให้มันเป็นไปได้ "ก็เหนื่อยเปล่า" เอาแล้วกัน

    เราเผยแพร่ เราทำพอประมาณ ไม่ได้หวังอะไรมากนัก

    แจก CD สื่อธรรมะ คำสอน ฯลฯ

    ไม่ได้คาดหวังว่า "เฮ้ย ทุก ๆ คนต้องเป็นไปอย่างที่เราสอนนะ"

    เราแค่บอกว่า "โน้นทางนั้นดี ทางนี้ดี จะไปหรือไม่ไปเรื่องของเธอนะ"

    แค่นั้น!!


    ประเด็นที่หก ความเห็นที่ 185

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อยู่ใต้กฏไตรลักษณ์

    ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน

    แน่นอนว่า พระพุทธรูปก็ไม่ใช่พระพุทธเจ้า

    กระดาษสมมุติ ก็ไม่ใช่เงินทอง ต่อไปเอาพลาสติกทำธนบัตร

    ก็คงจะบอกว่าพลาสติกนั่นคือเงินทอง

    "เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใด ๆ เพียงสักแต่ว่า ไม่ยึดติด ไม่หลง ไม่มัวเมา"

    ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรในโลก


    ประเด็นที่เจ็ด

    จริงอยู่เด็กทำตามผู้ใหญ่

    แต่การสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นนั้นต้องสอนจากภายใน

    สอนสิ่งภายนอกไม่ได้ผลเท่าไรหรอก

    ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นมาจากภายใน มันก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งหลายในโลก


    ประเด็นที่แปด

    ถ้าอย่างนั้น เรายอมต้องอาบัติ เพื่อที่จะได้เผยแพร่ธรรม

    อย่าลืมว่าเราไม่มีใครมาเป็นไวยาวัจจกร

    และชุมชนแถวนี้ก็อย่าให้พูดเลย อันตรายมากกว่าปลอดภัย

    เรารู้ เราเข้าใจ ว่าอะไรเป็นอาบัติ อะไรไม่ใช่อาบัติ

    ถ้ายอมบาปแค่นี้เพื่อแลกกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลของพุทธศาสนิกชนละก็

    "ฉันยอม"

    ถ้าไม่รู้จักเสียสละอะไรสักอย่าง ก็จะไม่ได้อะไรสักอย่าง


    ประเด็นที่เก้า ความเห็นที่ 187

    สังโยชน์มี 10 เรารู้

    แต่เธอกล่าวถึงเรื่องอะไรไม่ทราบ?

    และต้องยกมาแสดงทั้งหมดนั่นเลยหรือ ในเมื่อเธอพูดถึงเรื่องศีล?


    ประเด็นที่สิบ

    ก็ยังยึดมั่นถือมั่นต่อไปนะ กระดาษ เนี่ย

    ก็บอกไปแล้วว่า เรารู้ว่าอะไรเป็นอาบัติ อะไรไม่ใช่อาบัติ

    ถ้าจะกล่าวว่าใครสักคน เราเองก็ไม่ว่าเปล่า ๆ หรอก

    "ควรจะทำอะไรได้เพื่อเขาบ้าง"

    เอาแต่ว่ากล่าวโทษท่านอย่างนั้น อย่างนี้

    แต่ตัวเองก็ดีแต่มาว่า ไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือใครเลย

    คิดว่าดีแล้วหรือ? ว่าอย่างไร?

    เราก็เห็นเธอมองแต่จุดดำในกระดาษสีขาว

    โดยละเลยสีขาวที่มีมากกว่าจุดดำนั้น ๆ

    แล้วอีกอย่างว่าประทุษร้ายภิกษุอื่น?

    บอกว่าอาบัติไม่ใช่อาบัติ?

    นั่นมันคำพูดเธอเองมิใช่หรือ?

    รูปทองเหลือง ก้อนทองเหลือง พูดไปแล้ว

    กาลามสูตร ก็บอกไปแล้ว

    แม้ในพระไตรปิฏกเอกก็ถูกแก้ไขมาแล้ว เพิ่มเติมมาแล้ว

    โดยจดหมายเหตุฟาเหียนก็เคยได้บอก

    (มีในพระเจ้ามิลินทปัญหา และพระนาคเสน)

    เธอแน่ใจได้อย่างไรว่าที่ตกทอดมาถึงกาลปัจจุบันนี่

    จะเป็นของเดิมแท้ ๆ ทั้งหมด?

    ฝากเอาไว้ไปคิด



    ขอให้เจริญในธรรม
     
  13. roentgen

    roentgen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +67
    อีกอย่างหนึ่งที่ควรจะบอก

    เราเคยเห็นพวก Super Hero ออกมาผดุงความยุติธรรม รักษาความถูกต้อง

    เป็น Super Hero ที่ "ลงมือทำ" ไม่ใช่ไปยืนบอกว่า "อย่า อย่า อย่า"

    เคยเห็น หรือดูพวก Super Hero มั้ย?

    มีใครไปยืนบอกเหล่าวายร้ายเฉย ๆ บ้างว่า "อย่าทำนะ"

    โดยที่ยืนบอกอยู่เฉย ๆ ไม่ไปจัดการ ไม่ไปทำด้วยตัวเอง?

    เราก็เพิ่งเคยเห็นนี่แหล่ะ คนที่อยากให้มันถูกต้อง แต่ว่า "เอาแต่พูด"

    ไม่ได้ช่วยอะไรให้สังคมมันดีขึ้นนอกจากสร้างความขัดแย้งเลย

    เจริญพร
     
  14. แฟรงค์MBT

    แฟรงค์MBT สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +0
    มือถือสากปากถือคัมภีร์ ผมอาจจะพูดแรงไป
    มันมีบุคคลเช่นนี้อยู่จริงๆ แบกตู้คัมภีร์84000พระธรรมขันธ์ คาดว่าข้ารู้หมด
    แค่คลิกข้อมูลในเวปเอา แต่เอาเข้าจริงๆ ท่านทำแล้วหรือยัง
    ท่านก็แค่อ่านๆๆแล้วก็อ่านแล้วท่านก็ตัดสินจากความเห็นของคนอื่นว่าคนอื่นผิด


    ถ้ากระทบใครก็ขออภัยละกัน
     
  15. roentgen

    roentgen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +67
    คนส่วนใหญ่ ๆ ในสังคม มี ๒ ประเภท

    ๑.ทำดี แล้วโดนด่า
    ๒.ไม่ทำห่า แล้วเที่ยวด่าคน

    ประเภทแรก ทำดี ทำสิ่งดี ๆ คือ ลงมือทำเลย วิธีการอาจจะไม่ถูกต้อง 100% แต่ว่าประโยชน์ที่ได้รับเป็นประโยชน์จริง ๆ แล้วก็มีคนวิพากษ์ วิจารณ์ ตำหนิ ติเตียน ว่ากล่าว
    เช่น ตำรวจจับผู้ร้าย จับไม่สำเร็จก็จะมีมนุษย์วิจารณ์ว่าอย่างนั้นอย่างนี้
    "แต่คนที่วิจารณ์ไม่เคยไปช่วยห่าอะไรเลย ไม่เคยไปลงมือทำ ลำบากอย่างตำรวจ"
    แต่ถิอดี มีมานะ อวดเก่ง อยากวิจารณ์ วิพากษ์ ว่ากล่าวผู้อื่น

    ประเภทที่สอง ดีแต่ปาก พูดจาดูดี เอาแต่ว่าโน่น ว่านี่ คนนั้น คนนี้ เที่ยวเพ่งโทษบุคคลอื่นอยู่เป็นนิจ "แต่ไม่เคยลงมือช่วยเขาทำอะไรเลยนอกจากเพ่งโทษผู้อื่น"
    ความผิดตัวเองมองไม่เห็น ตนเองทำอะไรดี หรือไม่ดีมองไม่เห็น เอาแต่มาจ้องว่าคนนั้นจะทำผิดอะไรมั้ย คนนั้นทำดีมั้ย ถูกมั้ย แต่ตนเองก็ไม่ได้ไปทำห่าอะไรให้มันดีขึ้น
    เที่ยวตำหนิ ติเตียน ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรนอกจากความขัดแย้งเลย

    เราเห็นมนุษย์ผู้หนึ่ง มีมานะ คือ ความถือตัว
    อาจจะถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา เราดีเด่นกว่าเขา ผู้อื่นเขาเลวทรามหมด
    ไม่รู้ว่าสำนักนี้สอนให้เพ่งโทษผู้อื่นกันหรืออย่างไร
    ส่งจิตออกนอกเสียเวลาเปล่า ๆ ปล่อยจิตมันเกิดดับเล่น ๆ เปล่าประโยชน์

    ถ้าจะพูด ให้เด็ก ป.5 ป.6 มันมานั่งอ่านให้ฟังก็ได้ มันก็อ่านให้ฟังได้
    เปิดตำราอ่านเอาเลย เด็กมันก็อ่านให้ฟังได้ทั้งเล่มนั่นแหล่ะ
    แต่ถ้าบอก "ลงมือทำซิ" ก็๋จะทำอิดออด บอกไม่ว่าง ไม่ทำ
    "แล้วจะมาพูดทำห่าอะไร?"

    อยากให้มันถูก แต่ไม่ลงมือไปทำให้มันถูก เอาแต่พูด ดีแต่ปาก
    ไม่เกิดประโยชน์นอกจากความขัดแย้ง

    ตนเองไม่เคยไปเป็นพระ-เณร ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคเข้ามาเรียนจริง ๆ หรอก
    ดีแต่พูดว่าเขาไปงั้น ๆ ตัวเองไม่เคยไปรับรู้ปัญหา หรือไปประสบปัญหาด้วยตัวเองหรอก
    เรียกร้องหา "ความถูกต้อง" อย่างคนบ้า แต่ไม่ไปทำ ไม่ไปช่วย
    สังคมมันจะแย่ลงเพราะมีแต่คนพูด ไม่มีคนลงมือทำ

    ลองดูนะ
    เข้าไปตามวัดที่มีพระเรียนกันเยอะ ๆ
    แล้วไปแจ้งว่าอยากทำให้พระบริสุทธ์ ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย
    อาสาเป็นไวยาวัจจกรให้
    เอ้า ไหนลองดูซิ ถ้าเขาไม่หาว่าเป็นไอ้สิบแปดมงกุฏหวังฮุบเงินพระเณรก็ให้รู้ไป
    สมัยนี้ไว้ใจใครได้ซะที่ไหน ขนาดพระยังไม่ไว้ใจพระด้วยกันเองเลย
    ถ้าประกาศหาไวยาวัจจกร ก็จะมีคน ๓ ประเภท
    ๑.กลัวโกงเงินพระ หรือกลัวทำเงินพระหาย หรือไม่มีเวลา ไม่เอา
    ๒.รีบเข้ามาอาสา เพื่อโกงเงินพระโดยไม่สนใจ
    ๓.เฉย ๆ ไม่สนใจ "แต่ยังมีหน้ามาวิจารณ์ ติเตียนกัน"

    เราเองไม่เคยบอกว่าความเห็นของเรานั้นถูกต้อง แน่นอน
    เพราะว่าเราทำเพราะความจำเป็น ด้วยเหตุจำเป็น
    มิใช่ว่าจะทำโดยละเลย เพิกเฉย
    ถามพระที่บวชเกิน ๓ พรรษาขึ้นไปทุกรูปก็รู้หมดนั่นแหล่ะว่าอะไรเป็นอะไร
    ซึ่งการปลงอาบัติ ออกจากอาบัติ ลงฟังพระปาฏิโมกข์ ก็มีทำกันประจำทุกวัน ทุกกึ่งเดือน
    ไปปริวาสบ้าง ก็มีไปกัน
    มีแต่พวกเรื่องมาก หรือมากเรื่องนี่แหล่ะ
    "ที่อยากให้ถูกต้อง" แต่กลับ "ไม่ช่วยทำห่าอะไรนอกจากมาตำหนิ"

    หาประโยชน์อะไร?

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  16. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    ประเด็นเดียวครับ
    บ๊ายบ่าย
    ---------------------
     
  17. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2011
  18. THODSAPOL SETTAKASIKIT

    THODSAPOL SETTAKASIKIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +101
    แก้ไขให้แล้วนะครับ ที่ว่าติดอยู่ที่เดียว
    สาเหตุแรกเลยที่ไม่ได้ลิ้งค์ที่อื่น คือ มันง่ายครับ
    เคยจะเปลี่ยนใช้ของเว็ปนี้ทีนึง ตอนต้นๆกระทู้ช่วงเรื่องพระพุทธเจ้าเคารพธรรม
    แต่มันไม่เซียนที่เปิด ก็เลยใช้โน้นแหล่ะง่ายดี
    จะไปใช้ของมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พุทธศาสนาก็ต้องดาวน์โหลดไฟล์
    ก็เลยไม่ได้ใช้ในตอนแรก แต่ก็ชอบอยู่นะข้อดีคือผู้เปิดอ่านจะได้พระไตรปิฎกลงเครื่องด้วย
    ส่วนที่ลานธรรมตามที่พี่คมณ์บอกนั้น เป็นคำบาลีมากอยู่ คนที่จะเข้าใจต้องมีฐานการเรียนบาลีมาด้วยจึงจะรู้เรื่องได้ดี ไม่งั้นหยิบออกมาต้มคนไม่รู้เรื่องนี่ ง่ายๆเลยครับ แต่คนที่รู้เรื่องก็คงต้มยากหน่อย และจะต้องไปเปิดหาใหม่เพราะอยู่คนละที่กับเล่มที่ศึกษาและใช้กันอยู่ก็เลย ไม่ได้ไปใช้ครับ ชอบที่จะได้เรียนรู้บาลีอยู่ครับ แต่ก็ควรที่จะให้คนอื่นกระจ่างด้วย
    เล่ม ๒๓ หน้า ๓๒๖
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/

    ส่วนที่ไม่ได้แก้มานาน จะไม่แจงเลยก็กะไรอยู่ ครับ
    รูปทองเหลืองและเงินไม่ต่างกัน ทั้งคู่เป็นของที่ไม่สมควรแก่สมณะผู้จะหนีจากทุกข์
    เล่ม ๗๑ หน้า ๗๐ บรรทัด ๒๐
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/
    http://www.samyaek.com/tripidok/book17/051_100.htm
    และถ้าแก้แล้วใครจะหาเลี่ยงไปไหนอีก ก็บ๊ายบ่ายครับ


    ไวยาวัจจกรแห่งชาติคงไม่เข้ามาอ่านหรอกมั้ง
    ถ้าไวยาวัจจกรแห่งชาติทำหน้าที่ตามพระไตรปิฎก พระก็คงไม่โอดควรญเท่าไหร่
    ประชาชนชาวไทยก็คงมีความรู้ในการประพฤติปฎิบัติที่ถูกต้องต่อภิกษุสามเณรชี ในพุทธศาสนา หรือ จะต้องรอมหาเถระสมาคม ไม่รู้กลไกนะครับ ได้ยินมาว่ามหาเถระสมาคมมีกฏระเบียบว่ามีหน้าที่ต้องรักษาธรรมวินัย แต่พระรับเงินกันเพียบ ไวยาวัจจกรแห่งชาติหรือสำนักพุทธศาสนาก็ไม่ได้ให้ความรู้กับประชาชนเรื่อง วินัยพระเลย มีแต่ส่งเสริมให้พระผิดวินัย
    และถ้าว่าพูดอย่างนี้ผิดกฏหมายก็ไม่ควรปล่อยไว้ ควรแจ้งดำเนินคดีครับ

    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม-
    ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา ภิกษุผู้เถระ(ผู้บวชเกิน ๑๐ พรรษา)ก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็น
    หัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อ
    ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
    ไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้
    ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
    ความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
    ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้
    แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบ
    ล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย...

    เล่ม ๓๖ หน้า ๑๙๕
    http://palungjit.org/tripitaka/index.php
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/


    บุญจากการเปิดธรรมวินัย จงสำเร็จแก่ ญาติ นายเวร เชื้อโรคข้า ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนา ชาวทิพย์ที่ดูแลรักษาพุทธศาสนาและผู้ต้องการตลอดไป
     
  19. bhothisata

    bhothisata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +5,182
    กราบนมัสการพระคุณเจ้า ถ้าพระคุณเจ้าได้มีโอกาสฟังเทปธรรมะของหลวงพ่อฤๅษีจากเสียงธรรมในเวบพลังจิต โยมไม่ได้จำว่าเรื่องอะไร ท่านเทศน์สอนพระและผู้มาปฏิบัติว่า "ท่านจะเอาจริงกับพวกที่คอยสนใจเรื่องของคนอื่นจนลืมดูตัวเอง ไม่สนใจข้อปฏิบัติระเบียบของวัด ว่ากล่าวอย่างไรก็ไม่ฟัง ท่านบอกว่าคนประเภทนี้จะว่าหน้าด้านก็คงจะไม่เท่าไหร่ สำคัญที่ใจด้านนี่ซิ มันสอนกันยาก" โยมก็เลยนำมาให้พระคุณเจ้าได้ทราบ ถ้าหากยังไม่เคยได้ฟัง
    พระคุณเจ้า ท่านว่า อเสวนา จ พาลานัง อย่าเสวนากับคนพาล เพราะคนพาลเวลาเสวนาด้วย มักจะหาข้ออ้าง หาเหตุผลเข้าข้างตัวเองเพื่อให้ตัวเองถูก คนประเภทนี้จะไม่มองตรรกวิทยา หาเหตุผลถูกผิด พูดจาวกไปวนมาเหมือนคนเมายา เช่นว่า พระพุทธเจ้่าท่านบัญญัติสิกขาบทว่า ห้ามพระสะสมเงินทอง แต่ท่านก็ตรัสอีกว่า สิกขาบทบางบทที่ทำให้พระภิกษุอยู่ยากอาจละเสียได้บ้าง คนประเภทนี้ก็ยังดันทุรังไปเอามติสงฆ์มากล่่าวอ้าง โยมได้แต่มองด้วยความสงสารในปัญญาว่า เอ ตกลงจะยึดพระพุทธเจ้าหรืิอมติสงฆ์ หรือเมามั่วไปว่า อันไหนทีี่ยกมาแล้วทำให้ตัวเองดูดี หาเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่าข้าถูก ก็หลับหูหลับตายกมาอ้าง มันขัดแย้งกันเองหรือไม่ข้าไม่สน อันที่จริงพระท่านบอกโยมว่าอย่าไปยุ่ง แต่โยมได้รู้จักพระคุณเจ้าก็ดีนะขอรับ "ว่างๆโยมจะไปถวายเงินกับพระคุณเจ้ากับมือ ถ้ามีโอกาส" ถ้่าถวายกับคนอื่น โยมกลัวว่าพระคุณเจ้าจะไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร เผลอๆเอาเงินโยมไปทำอะไรก็ไม่รู้
    พูดถึงไอ้เรื่องให้คนอื่นรับเงินนี่ โยมว่่าพวกเถรใบลานเปล่าพวกนี้คงไม่กล้าไปถือให้หรอกครับ โยมให้เวลาแค่เดือนเดียวให้ไปทำจริงๆ พวกเถรพวกนี้คร้่านจะวิ่งกลับมาว่า เอากลับคืนไปเถอะครับ พระท่านเรียกใช้เถรใบลานเปล่าจนไม่มีเวลาไปทำมาหากิน ต้องตื่นดึกๆดื่นมาคอยไปซื้อของให้ เดี๋ยวก็ คุณรันทด ๑ ครับ กระดาษอาตมาหมด ขณะนี้เวลาตีสาม อาตมาจะเข้าส้วม เอ้อ ช่วยคุณรันทด ๑ ไปซื้อกระดาษให้อาตมาหน่อยนะครับ ตีสามผ่านไป เวลาตีสามครึ่ง คุณรันทด ๑ ครับ สบู่อาตมาหมดช่วยไปซื้อให้หน่อยนะครับ (รันทด ๑ ด่าอยู่ในใจ พระอะไรเรียกอยู่ได้ไม่ต้องหลับต้องนอนกัน) เวลาตีสี่ คุณรันทด ๑ ครับ ชาอาตมาหมดพอดีช่วยไปซื้อให้หน่อยนะครับ โยมยกตัวอย่างเท่านี้ คนทั่วไปที่เป็นบัณฑิต มีปัญญาขบคิดสมองไม่ฝ่อไม่ตะแบง เขาก็เข้าใจกันแล้วใช่ไหมครับพระคุณเจ้า นี่แค่ตัวอย่างเบาๆ แค่ คุณรันทด ๑ กับพระคุณเจ้ารูปเดียวนะครับ หรือถ้ามึนมากไม่เข้าใจกระจ่างชัดต้องยกตัวอย่าง คุณรันทด ๑ กับพระคุณเจ้ารูปร้อยรูป โยมจะดูน้ำหน้าพวกเถรหอบใบลานพวกนี้ซิว่า วันๆตัวเถรเหล่านั้นจะไปมีเวลาทำมาหากินไหม มีเวลาเป็นตัวของตัวเองไหม โยมคงไม่ต้องยกตัวอย่างถึง คุณรันทด ๒, คุณรันทด ๓ กับพระคุณเจ้าเป็นพันๆรูปนะครับ เพราะโยมเชื่อว่าโยมสนทนากับพระคุณเจ้่า (อภิญญาบุตร) ที่เป็นบัณฑิต เหมือนพระคุณเจ้ากล่าวนั่นแหละขอรับ แ..... ปากอยู่ได้ ไปทำมันวันนี้เลย ยกไปทั้งเวบสามแยกเลยนะ วัดไหนมีพระเป็นร้อย ไปเถอะเชิญไปจับเงินแทนพระเลย แล้วก็บริการท่านอย่าให้ขาดตกบกพร่องนะขอรับ วันไหนพระหลายร้อยรูปเดือดร้อนเวลาเดียวกัน แต่อยู่ต่่างที่ต่างถิ่น ต่างประเทศ โยมจะคอยดูน้ำหน้าเถรหอบพระไตรปิฎกพวกนี้ว่าจะทำประการใด
    พระคุณเจ้าขอรับ ในพระไตรปิฎกท่านบอกไว้ไม่ใช่หรือขอรับ ว่าคนที่มีบารมีต่ำ ปัญญาต่ำ (จะใช้คำว่า ใจด้าน ได้ไหมขอรับ กระผมมิได้ด่าว่าใครนะขอรับ เพียงแต่ยกเอาคำพระท่านมาอุปมาอุปมัย) มักจะไม่ทำ ทาน ศีล ภาวนา โยมเชื่อว่าพระคุณเจ้าทราบ คนบารมีกลาง มักทำทานเข้าวัดฟังธรรมบางโอกาส ,คนบารมีสูง ชอบให้ทาน เข้าวัด รักษาศีล ภาวนา ไอ้พวกเถรทั้งหลายที่ ......ปาก ทานไม่ค่อยทำ ศีลไม่ครบ แล้วภาวนามันมีตรงไหนขอรับ คนประเภทนี้จัดอยู่บารมีประเภทไหนหรือครับ พระคุณเจ้าช่วยตอบแบบดังๆหน่อยนะครับ แล้วก็เที่ยวหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองว่า "ที่ยังไม่ทำเพราะยังสงกะสัย (จงใจเขียนครับเดี๋ยวท่านอื่นจะอ่านแล้วเครียด สงสัย) อยู่ ยังไม่กระจ่าง ถึงยังไม่ทำ" โยมว่าถ้าเถรพวกนี้มันตายก่อน คงไม่มีโอกาสได้ทำ เสียชาติที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วไม่ได้ทำ พระพุทธเจ้าท่านสอนโยมไม่ให้ประมาทขอรับ โยมกลัวตายก่อน ถึงต้องภาวนาบ่อย ทุกกำหนดจิตที่ระลึกได้ แล้วสมถะภาวนา ถ้าฆราวาสทำแล้วมันผิดอาบัติตรงไหน อย่างไรขอรับ ถึงนั่งรอสงสัยให้หายสงสัยแล้วค่อยทำ พระคุณเจ้าช่วยตอบดังๆหน่อยนะขอรับ หรือว่าฆราวาสทำแล้วอาบัติแบบไม่มีกฎ คงจะมาจากสำนักนั้นตั้งขึ้นหรืิอกระมังครับ
    เอาละครับพระคุณเจ้า วันนี้โยมขอสนทนาธรรมเท่านี้ก่อนนะขอรับ แล้วโยมจะมาสนทนากับพระคุณเจ้าใหม่ เผื่อพวกหนอนที่ชอบกินอาจม(ขี้) แล้วบอกว่าอร่อย จะได้มีดวงตาเห็นธรรมบ้าง เอ๊ย มิใช่ขอรับ หนอนย่อมมองว่าอาจมอร่อยอยู่แล้ว เปลี่ยนมันไม่ได้หรอกขอรับ โยมแค่หวังให้ท่านที่เดินผ่านหนอนเหล่านั้นมา ได้มาอ่านและทำความเข้าใจ จะได้ไม่ทำตัวดีไปกว่าพระอรหันต์ที่ขุมไหนๆ ( เถรเหล่านี้ดีกว่าพระอรหันต์ ตรงที่มีขุมลึกๆให้ไป สำหรับพระอรหันต์ท่านไม่มีขุมให้ไป ขอรับ ดังนั้นพวกนี้ดีกว่าแน่ๆ )
    บ๊าย บ๊าย อ้อ ไม่ใช่ซิขอรับ ถึงโยมจะทำงานกับฝรั่ง มังคุดทุกวัน แต่โยมก็ยังเป็นคนไทยขอรับ กราบนมัสการพระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าเจริญในธรรม จับเงินทุกๆวันเพื่อสงเคราะห์ธรรมทานแก่พุทธศาสนิกชนด้วยเทอญ โยมโมทนาบุญด้วยทุกประการครับ
     
  20. roentgen

    roentgen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +67
    ขอเจริญพร
    ขอใช้ภาษาแบบที่ชอบแล้วกันนะ

    ++++++++++++++++

    ดูกร ท่านทั้งหลาย!
    เธอพึงกล่าวอย่างหนึ่งว่า
    ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในรูป
    แต่เธอยังยึดมั่น ถือมั่น ด้วยความมั่นหมายแห่งรูปอื่น
    ยังติดในสมมุติบัญญัติแห่งสิ่งนั้น
    เธอพึงพิจารณาเอาเถิด
    ว่าการไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น ก็ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวงด้วย

    ดูกร ท่านทั้งหลาย!
    ก็รูปนั้น มีชนทั้งหลายสมมุติกันเรียกว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้
    เช่น สิ่ง ๆ หนึ่ง ไม่รู้จะเรียกอะไร ชนทั้งหลายก็ตั้งชื่อ ขานนาม
    เรียกสิ่ง ๆ นั้นว่าอย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่จะสมมุติขึ้นมา
    เพียงเพื่อจะสื่อสารกันได้ และสามารถเข้าใจกันได้
    เธอพึงพิจารณาและลอกเปลือกแห่งสมมุตินั้นออก
    จะพบความจริง สิ่งจริงแท้แห่งสิ่งนั้น ๆ
    ว่าไม่ได้มีความมั่นหมาย หรือความสำคัญใด ๆ ให้ต้องมาคิดมากวุ่นวาย ปวดหัวเลย
    ก็เป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมรวมกันบ้าง ธาตุ ๔ ปรุงแต่ง สรรสร้างบ้าง
    ประณีตบ้าง เลวทรามบ้าง พอดูได้พอประมาณบ้าง
    ที่ดี งาม ประณีต ชนทั้งหลายต่างหลงไหล ยินดี ติดใจ
    ที่เลวทราม หยาบ ไม่สวยงาม ก็ต่างเกลียดชัง ไม่พอใจ ไม่ชอบบ้าง
    ที่พอดูได้พอประมาณ ก็เฉย ๆ หรือไม่สนใจบ้าง
    สิ่งทั้งปวงเหล่านี้ โดยธรรมชาติแท้ ๆ นั้นไม่ได้มีความมั่นหมายสำคัญอะไร
    มีแต่ที่บุคคลทั้งหลายต่างให้ค่า ให้ความสำคัญ ให้ราคา ให้คุณภาพ
    ด้วย "สมมุติ" ด้วยกันทั้งนั้น

    ดูกร ท่านทั้งหลาย!
    ก็เมื่อสิ่งทั้งหลายที่บุคคลสมมุติกันขึ้นมานั้น แท้จริงธรรมชาตินั้นไร้แก่นสาร
    จักมัวไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายไปด้วยเหตุอะไร?
    นี่รูป นั่นก็รูป
    นี่สมมุติแห่งรูปนั้น นี่สมมุติแห่งรูปนี้
    ถ้าใจเข้าถึงความจริง ลอกเปลือกนอกที่ลวงตานั้นออกเสีย
    จิตใจไม่ยินดี ไม่เพลิดเพลิน ไม่หลงไหล ไม่ติด ไม่ชิงชัง ไม่เกลียด ไม่ยึดมั่น
    เข้าไปเกี่ยวข้องต่อสิ่ง ๆ ใด เพียงสักแต่ว่าเข้าไปเกี่ยวข้องเท่านั้น
    ใจไม่ข้องเกี่ยว มีความเป็นกลางต่อธรรมทั้งปวง
    ลอกเปลือกนอกที่ห่อหุ้ม เข้าถึงความจริง เข้าถึงแก่นธรรม
    เมื่อนั้น สิ่งใด ๆ ทั้งหลายในโลก
    จะรูป หรือนามก็ดี ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นเสียแล้ว

    ดูกร ท่านทั้งหลาย!
    เมื่อความยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งทั้งปวงนั้นไม่มี
    เห็น สักแต่เพียงว่าเห็น
    ได้ยิน สักแต่เพียงว่าได้ยิน
    ได้กลิ่น สักแต่เพียงว่าได้กลิ่น
    ลิ้มรส สักแต่เพียงว่าลิ้มรส
    สัมผัส สักแต่เพียงว่าสัมผัส
    รู้ สักแต่เพียงว่ารู้
    เมื่อจิตไม่มีความยึดมั่น
    ไม่เข้าไปยึดมั่นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    การกระทำนั้นย่อมเป็นเพียงกิริยา
    ไม่ได้ก่อกรรมอันนำไปสู่ชาติ ภพ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
    เพราะจิตไม่ได้ก่อกรรม แล้วจักมีวิบากอันใดเล่า?
    เมื่อการกระทำเป็นสักแต่ว่ากิริยาเท่านั้น
    แม้เราปรารถนาให้บุคคลทั้งหลายได้เข้าใจถึงความจริง
    ความจริงถึงแก่น แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากนัก ที่จักเข้าใจได้
    หากมัวติดในสิ่งสมมุติทั้งหลาย
    หรือไม่ติดสิ่งหนึ่ง แต่ยังติดอีกสิ่งหนึ่ง
    ก็ยังยากอยู่ ที่จักเข้าถึง

    ดูกร ท่านทั้งหลาย
    ธรรมบทที่ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา" นั้น
    กับ "รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงไม่ถือมั่น รูปทั้งปวง ก็ไม่ควรถือมั่นด้วยเช่นกัน"
    ธรรมบทแรก ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้พิจารณาแล้ว
    ธรรมบทที่สองเองก็เช่นกัน ไปในทางเดียวกัน สอดคล้องกัน ไม่ขัดแย้งกัน
    เพราะเมื่อเธอกล่าวถึงรูปอย่างหนึ่งที่บุคคลทั้งหลายพึงกำหนิดว่าเป็นสิ่งแทนสิ่งหนึ่ง ๆ ว่า
    รูปนั้น ไม่ใช่สิ่งนั้น
    รูปทั้งหลาย อันบุคคลสมมุติไว้แล้วว่าเป็นสิ่งแทนสิ่ง ๆ หนึ่ง ก็พึงไม่ใช่สิ่ง ๆ นั้นด้วย

    ดูกร ท่านทั้งหลาย!
    การจักเข้าถึงความจริง พึงลอกเปลือกที่ห่อหุ้ม
    ลอกสิ่งสมมุติทั้งหลายนั้นเสีย เข้าถึงความจริงแท้ แก่นแท้
    เมื่อความยึดมั่นถือมั่นไม่มีมาจากจิต
    เมื่อนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก

    ด้วยประกาลฉะนี้ แล....

    ++++++++++++++++++++++++++++

    การที่เราเข้ามาเสวนานั้น เราพึงเห็นประโยชน์แก่บุคคลทั้งหลาย
    เราไม่คิดว่าใครเป็นคนพาล คนดี คนกลาง ๆ
    เพราะ "ไม่มีคน" (อนัตตา)
    มีแต่สิ่งสมมุติ สิ่งทั้งหลายที่สมมุติกันขึ้นมา

    การเสวนากันเรื่องพระวินัยเนี่ย
    เป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งได้ดีมาก ๆ
    ไม่ต้องไปดูที่ไหนหรอก ในวัดที่อาตมามาอาศัยเดินทางไปเรียน
    ก็ต่างมีทิฏฐิกันไปอย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง
    เมื่อทิฏฐิไม่ตรงกัน ย่อมวิวาทกันด้วยวาทะบ้าง
    แบ่งแยกกันบ้าง แตกสามัคคีกันบ้าง
    สุดท้ายก็ไปก่อกรรมหนักหนาสาหัส อย่าง "สังฆเภท"
    ปฏิบัติดี ไม่ดี ถูก ไม่ถูก ให้วัดด้วยเจตนา นี่เป็นทิฏฐิของเรา
    เจตนาบริสุทธ์ เจตนาประกอบไปด้วยประโยชน์จริง ๆ
    ก่อเกิดประโยชน์มหาศาลแห่งมหาชนทั้งหลาย
    จริงอยู่ วิธีการไม่ถูก แต่เราตั้งเจตนาอันชอบไว้แล้ว
    แม้ต้นจะคด แต่ปลายกลับออกดอกอย่างสวยงาม
    "ได้แค่นี้ก็พอใจแล้ว"

    ขอให้เจริญในธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...