รบกวนถามเรื่องการฝึกสติน่ะครับผม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แชมป์คุง, 1 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ความคิดทำร้ายตัวเอง

    ในรูปการสนทนา มีถารถามตอบกันอยู่แล้ว โดนถามก็ต้องตอบ ตอบได้ก็บอกว่าได้ ไม่ได้ก็บอกไม่ได้ สงสัยก็บอกว่า สงสัย มันก็เท่านั้นเอง สำหรับผู้ฝึกฝนในสัจจะ หากคิดว่าเป็นกัลญาณมิตรกันมีความจริงใจกับเพื่อน จะไปกลัวทำไมครับ คนมุ่งหวังในสัจจะ ย่อมมองตัวเองดูใจตัวเองเป็นหลัก

    การอ่านพระไตรจนจบ ก็ไม่เห็นจะต้องไปอายเลยนี่ครับ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่อง เทียบครูบาอาจารย์เล๊ย


    สิ่งที่ท่านศึกษามา ก็นำมาบอกได้
    สิ่งที่ผมศึกษามาผมก็นำมาเสนอ สงสัยผมก็ถามไป จะชวนให้สังเกตุผมก็บอกไป จะชวนให้สงสัยผมก็บอกไป แต่จะไปตามคำชวนผมหรือเปล่าก็อีกเรื่องนึงครับ .... การนำมาเสนอ ก็เพื่อให้เข้าไปค้นคว้าเอง ผมก็ไม่ได้ฟิกนี่ครับ ว่าต้องเป็นอย่างนั้นแบบนี่
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ผมบอกตั้งแต่ต้นที่ถามว่าเคยได้ยินจากท่านและคุณนิวรณ์แค่นั้น....และเห็นว่าไม่ถูก...เพราะตั้งแต่ศึกษามามันไม่มี.....ถ้าท่านเห็นว่ามี....ก็มี...ผมก็ยอมรับ....เท่านั้นหละครับ....

    อธิบายประเด็นนี้อีก ที ที่ทำให้ท่านต้องมาถาม
    เริ่มแรก คำว่า ฌานฤษี หรือบาลีเรียกว่า อารัมนูปนิชฌาน
    ท่านมาถามเพราะเห็นว่าไม่ถูก ตามที่ท่านศึกษามา

    และผมก้ได้บอกไปแล้ว ว่า ผมพูดมาจากหลวงปู่พุธ ฐานิโย

    แต่ท่านภาณุเดชก็ยังไม่เชื่อ ยังถามต่อไปเพื่อให้ผม นำคำหลวงปู่พุธ ฐานิโยมาจริงๆ กรณีนี้ ท่านดูใจตัวเองไหมว่า ถามผมเพื่อ อะไร ในเมื่อตอบแล้ว ก็ยังไม่เชื่อ ยังต้องให้หามายืนยันด้วยคำหลวงปู่ หรือในใจคิดว่าผมโกหก หรือคิดว่าผมมั่วนิ่มถึงได้ต้องย้ำให้ไปหาคำยืนยันที่เป็นที่มาจริงๆ
    ประเด็นนี้
    ถ้าคนที่คิดว่าเป็นกัลญาณมิตรกัน บอกครั้งเดียวไม่ถามซ้ำหรอกครับ
    ก็เลยกลายเป็นประเด็น โยงไปถึง คำนี้ในพระไตรฯ
    ว่ามีคำนี้ มาไหม .

    .. จนโยงมาอีกประเด็นใหม่เรื่องการปฏิบัติในการสอนในพระไตรฯ




    เพราะพยายามที่จะสอบใจตนเองว่าเป็นผู้ที่มีมานะอยู่ไม....หลงผิดอยู่ใหมตลอดเวลาที่ปฏิบัติมา.....

    ...อ่านประโยคนี้จากความคิดเห็นของผม ท่านยังหลอกตัวเองอยู่อีกไม่ได้ทำตาม ที่พิมพ์ไป



    ผมประกาศไว้เลยแล้วกันว่า....ผมไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดีต่อท่านเลยแม้แต่น้อย...แม้ตอนนี้ก็ตาม.....และไม่ว่าจะเป็นอนาคตเท่าไรเช่นกัน......

    อ่านประโยคนี้ มันต้องแน่นอนอยู่แล้วครับ ควรเป็น สำนึกขั้นต้น สำหรับ
    นักปฏิบัติ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ ก็เรียกว่า นักปฏิบัติไม่ได้ ไม่ต้องบอกใครก็ได้ แต่ต้องให้ลึกอยู่ในใจเราเสมอครับ

    ผมเคารพธรรมหลวงพ่อพุธมาก....แต่ผมไม่รู้ว่าท่านจะเคารพมากขนาดใหน....เอาเป็นว่าผมหวังว่าท่านจะเอาสิ่งที่หลวงพ่อพุธท่านต้องการจะแนะนำมาแนะนำต่ออย่างจริงใจและบริสุทธิ์ใจ...โดยที่ไม่มีอคติในใจตนเองมาปรุงต่อแม้แต่น้อยมันอาจเป็นสิ่งที่ยาก...แต่ผมคิดว่าถ้าท่านเคารพธรรมหลวงพ่อพุธจริงผมเชื่อว่าท่านทำได้...นะครับ.....
    ... อ่านนี่แล้วก็ยังหลอกตัวเองอีก ความเห็นผมนะ


    ความปรรถนาดีที่ท่านถ้ามีผมขอน้อมถวายพระพุทธเจ้า...ความไม่ปรารถนาดีที่มีของท่านถ้ามี...ผมไม่ขอรับ....ส่วนตัวผม....ขอให้ท่านมีสุข....และเข้าใจธรรมของหลวงพ่อพุธ ให้มาก.....ท่านดีนะครับ...เป็นพระหายาก....
    ผมโมทนากับเจตนาที่ดีของท่านครับ........
    อ่านนี่ก็หลอกตัวเองอีก ....ความเห็นผมอีกเช่นกัน
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ผมถามหน่อยเถอะ ผมไปห้าม ใครฝึกสมาธิแบบฤษีตั้งแต่เมื่อไร เพราะผมเองก็ฝึก ทางเดินต่อ จากการฝึกสมาธิแบบฤษี หลวงปู่พุธ ท่านก็สอนไว้

    ก็อย่างว่า ถ้าฟังหลวงปู่พุธจริง นับถือท่านจริง ทำตามท่านจริง เห็นว่าท่านเป็นพระหายากคงไม่ถามผมหรอก


    ถ้าไม่แยกสอนให้ชัดเจน คนมันจะรู้เรื่องไหมเล่า

    ในการสอนธรรมะ ท่านภาณุเดช คิดว่า พระพุทธเจ้า จะสอน การทำมิฉจาสมาธิไหมล่ะ ในเมื่อท่านสอนแต่สัมมาสมาธิ ซึ่งก็ยืนยันในตัวไปโดยปริยายแล้วว่า เมื่อรู้จัก ที่เป็นสัมมาแล้ว อีกอันก็คือมิจฉาสมาธิไปในตัว แล้วจะไปสอนสิ่งที่ไม่ถูกทำไม คำว่ามิจฉาสมาธิก็ยังมีปรากฎ เพียงแต่ไม่ได้บอกวิธีทำ แต่บอกอันที่เป็นสิ่งถูก คือสัมมาสมาธิเท่านั้น แค่เพียงเท่านี้ ท่านคิดว่า ไม่ได้แยกชัดเจนหรือ

    ประเด็นที่แตกมานี้ ท่านถามผมเรื่องแยกการสอนการปฏิบัติชัดเจนไหม

    ผมก็ตอบว่า แยกชัดเจน
    ท่านภาณุเดชเข้าใจว่าแยกเป็นวิธี
    ถามหน่อย แล้วมันต่างกันกับที่ผมเข้าใจตรงไหนครับ



    คราวนี้ คำว่า มิจฉาสมาธิ ผมจะอธิบายเพิ่ม นี่เป็นความเห็นความเข้าใจของผมล้วนๆไม่เกี่ยวว่าจะยกมาจากตำราไหน

    การทำสมาธิ คนที่ยัง ไม่เคยทำมาก่อน ถึงจะอ่านตำรามาว่าสัมมาสมาธิทำแบบนี้นะ
    แต่ในการเริ่มลงมือทำ มันจะเป็น มิจฉาสมาธิเสมอ

    ซึ่ง ในการเริ่ม มิจฉาสมาธิ ก็แบ่งเป็น สองอย่าง
    1.มิจฉาสมาธิที่ประกอบด้วย กุศล หรือ เป็นการทำสมาธิ ที่มีศีลเป็นเครื่องป้องกัน สมาธิแบบนี้ก็มีมาก่อนพระพุทธเจ้ามาสอน จะเรียกว่าการทำสมาธิแบบฤษีก็ได้จัดอยู่ในกลุ่ม ที่เป็นสัมมาทิฐิ ตายไปก้ไปสุขติ

    2.มิจฉาสมาธิที่ประกอบไปด้วยอกุศลคือ สมาธิที่ไม่ประกอบด้วยศีลเป็นเครื่องป้องกัน อันนี้ก็มีมาก่อนพระพุทธเจ้ามาสอน จัดอยู่ในกลุ่ม มิจฉาทิฐิ ตายไปก็ไป ทุคติ

    คราวนี้ ผู้ที่ลงมือเริ่มฝึกสมาธิ จะปนเป กับการฝึกสมาธิแบบนี้ ใครมีศีลดี ก็ยังสมาธิที่เป็นกุศลเป็นพื้นฐาน
    ใครศีลไม่มีก็ทำแต่สมาธิที่เป็นอกุศล ยิ่งด้วยตัณหา


    และสมาธิที่มีศีลดีประกอบกุศล จึงเป็นฐาน การเข้าไปเกิดสัมมาสติและสัมมาสมาธิต่อไป


    สัมมาสมาธิจึงเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา ที่ละแม้กุศล และอกุศล โดยมีการทำกุศลเป็นบาทฐานในการเจริญ
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    แต่บทท้ายที่กล่าวไว้ว่า อารัมนูปนิชฌาน มีมาในพระไตรปิฏก ผมไม่กล่าวอะไรมากนะ ท่านอาจารย์ ป. อ. ปยุตฺโต ได้อธิบายให้ไว้แล้ว...และถ้าหากท่านจะยึดถือว่ามาจากพระไตรจริงมันก็ไปค้านกับบทต้นนะครับ...เพราะพระพุทธองค์ท่านไม่ได้แยก...หรือท่านจะกล่าวว่าท่านแยกอยู่ตามเดิม...โดยไม่วางความคิดเดิม....ซึ่งคัดแย้งชัด...อันนี้นเรื่องของท่านแล้วหละครับ...
    ... ตัดสินคนอื่นง่ายจัง


    ข้อนี้ผมแน่ใจครับ....ถ้าท่านไม่แน่ใจอันนั้นมันคงเป็นเรื่องของท่าน.....

    ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ ป. อ. ปยุตฺโต ครับ....เพราะจะหาท่านผู้ที่ทรงจบและอธิบายได้อย่างท่านหาไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน.....และข้อมูลที่หาได้มา...ไม่ได้มีเวบเดียวครับ...หรือว่าฐานข้อมูลทั้งหมดที่มีในทุกเว็บ...ล้วนแต่ตกบกพร่องนั้น..คืออาจไม่เหมือนกับต้นฉบับ...อันนี้ผมไม่เห็นด้วยนะ....เพราะผมสอบทานมาแล้วหลายเวบ...และส่วนตัวก็เคยเอาหนังสือเทียบเวบมาหลายเล่ม...ถ้าไม่เชื่อก็คือใจตัวเองมันปิดกั้นเท่านั้นหละครับ.......

    แต่บทท้ายที่กล่าวไว้ว่า อารัมนูปนิชฌาน มีมาในพระไตรปิฏก ผมไม่กล่าวอะไรมากนะ ท่านอาจารย์ ป. อ. ปยุตฺโต ได้อธิบายให้ไว้แล้ว...และถ้าหากท่านจะยึดถือว่ามาจากพระไตรจริงมันก็ไปค้านกับบทต้นนะครับ...เพราะพระพุทธองค์ท่านไม่ได้แยก...หรือท่านจะกล่าวว่าท่านแยกอยู่ตามเดิม...โดยไม่วางความคิดเดิม....ซึ่งคัดแย้งชัด...อันนี้นเรื่องของท่านแล้วหละครับ...



    ข้อนี้ผมแน่ใจครับ....ถ้าท่านไม่แน่ใจอันนั้นมันคงเป็นเรื่องของท่าน.....

    ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ ป. อ. ปยุตฺโต ครับ....เพราะจะหาท่านผู้ที่ทรงจบและอธิบายได้อย่างท่านหาไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน.....และข้อมูลที่หาได้มา...ไม่ได้มีเวบเดียวครับ...หรือว่าฐานข้อมูลทั้งหมดที่มีในทุกเว็บ...ล้วนแต่ตกบกพร่องนั้น..คืออาจไม่เหมือนกับต้นฉบับ...อันนี้ผมไม่เห็นด้วยนะ....เพราะผมสอบทานมาแล้วหลายเวบ...และส่วนตัวก็เคยเอาหนังสือเทียบเวบมาหลายเล่ม...ถ้าไม่เชื่อก็คือใจตัวเองมันปิดกั้นเท่านั้นหละครับ.......

    ความสงสัยนั้นผมไม่มีต่อแล้วหละครับ...เพราะผมอ่านได้จากพระสูตรต่างๆไม่มีแบ่ง....ท่านให้ผมไปหาหนังสือเก่า....ผมไม่เอาหละครับ....หรือท่านจะไปหาเพิ่มเพื่อย้ำเติมในสิ่งที่เราสนทนากันในวันนี้....หรือท่านจะยอมเชื่อในความคิดเดิม...แบบไม่ถอน...อันนั้นก็คงต้องปล่อยเป็นเรื่องของวาสนาของท่านต่อไป...หรือท่านจะยอมแนะนำในสิ่งที่เข้าใจผิดต่อไป...ก็เป็นกรรมต่อไปหละครับ...ผมก็บอกตามที่บอกได้...

    ความสงสัยนั้นผมไม่มีต่อแล้วหละครับ...เพราะผมอ่านได้จากพระสูตรต่างๆไม่มีแบ่ง....ท่านให้ผมไปหาหนังสือเก่า....ผมไม่เอาหละครับ....หรือท่านจะไปหาเพิ่มเพื่อย้ำเติมในสิ่งที่เราสนทนากันในวันนี้....หรือท่านจะยอมเชื่อในความคิดเดิม...แบบไม่ถอน...อันนั้นก็คงต้องปล่อยเป็นเรื่องของวาสนาของท่านต่อไป...หรือท่านจะยอมแนะนำในสิ่งที่เข้าใจผิดต่อไป...ก็เป็นกรรมต่อไปหละครับ...ผมก็บอกตามที่บอกได้...

    ท่านตัดสินคนอื่นง่ายดีครับ

    ถ้าว่าด้วยเรื่องตำรา

    เรื่องหนังสือที่ผมชวนไปอ่าน จะมีอยู่ตามวัดเก่าๆเกือบ หลายๆวัดในประเทศไทย ที่อยู่ในตู้ เก็บพระไตรปิฎก ซึ่งไม่ได้ถูกตัดทอน ในการนำมาลงในเวป


    ความหมายที่แปลจากบาลี มาเป็นภาษาให้คนไทยได้อ่าน
    ของท่าน พระพุทธโฆศาจารย์ และอรรถกถาที่ พระพุทธโฆศาจารย์ ได้อธิบายไว้

    อย่างมาในสมัยนี้ คำกว่า โทษะ แปลว่า โกรธ ที่เห็นๆโดยทั่วไปในเวป

    แต่พระพุทธโฆศาจารย์ ท่านให้ความหมายไว้ว่า โทษะ แปลว่าเร็ว ไม่ได้แปลว่าโกรธ

    ถ้าจะอธิบายในทางธรรมเพิ่มเติมก็ คือ ความเร็ว ในการคว้า ในการยึด
    คนที่มีโทษะ จริต ก็คือ คนใจเร็ว


    อีก คำคือ คำว่า โมหะ พระพุทธโฆศาจารย์ ท่านให้ความหมายไว้ ๓ คำ ถ้าแปลเป็นไทย คือ เผลอ หลง ลืม
    ผู้ที่มีโมหะครอบงำจิต ก็คือ ผู้ที่ เผลอ ผู้ ที่หลง ผู้ ที่ลืม

    อย่างนี้ก็เป็นตัวอย่าง คำในคัมภีร์เก่าๆ ที่แสดงไว้ ผมก็ชวนมาอ่านเฉยๆ

    ไม่มาอ่านก็ไม่เป็นไรครับ


    ทางกลุ่มประเทืองปัญญากำลังจัดทำ เพื่อจะลงทุกถ้อยคำในพระไตรฯ ตามที่มีมา ให้เพื่อนผู้ใฝ่ศึกษาได้อ่านกัน
    ก็ต้องใช้เวลาหน่อยเพราะเยอะมากครับ แต่ นำมาลงแน่ๆครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ความคิดที่ท่านวิจารเป็นส่วนตัวในส่วนของผมนั้น...เอาเป็นว่าผมไม่สนใจแล้วกัน....

    เพราะเอาไปเป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวกับธรรม....และเอาไปเอามาผมเริ่มเห็นว่ากระทู้นี้มันคงไม่จบ....
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เรื่องการแบ่งการปฏิบัติเป็นแบบสมถะและวิปัสสนานี้มันเป็นปัญหากันมานาน เป็นจุดก่อเกิด และเป็นต้นแห่งปัญหาไม่ว่าจะสัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ ในยุคปัจจุบัน.....

    ต้องยอมรับว่าแม้แต่ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านสอนก็สอนไม่เหมือนกัน.....หลวงพ่อพุธ ท่านแยก(เป็นแบบสมถะและวิปัสสนา..ไม่ว่าจะแยกเป็นวิธีการหรืออย่างไรก็ตาม)....แต่ถ้าเคยไปศึกษาจากหลวงพ่อชา ท่านจะบอกว่าไม่แยก(เป็นวิธีการดำเนินซึ่งกันและกัน..และส่วนตัวหลวงพ่อท่านก็เห็นเป็นเรื่องไร้สาระเสียด้วยซ้ำ).......

    ที่นี้ก็มาดูในพระไตรปิฏก...ในเรื่องของสมถะและวิปัสสนา.....ท่านบอกคำอย่างเด่นชัด เพราะมีคำว่าสมถะและวิปัสสนา ปรากฏอยู่ชัด......แต่...พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า สองสิ่งนี้ต้องคู่เคียงกันไป...แม้พระอานนท์ ก็บอกว่าการปฏิบัตินั้นแบ่งได้ ๔ อย่าง....แต่ทุกอย่างก็มีสองสิ่งนี้ไปด้วยกัน....

    ต้นความคิดที่ผมได้รับมาก็คือ หลวงพ่อชา ท่านบอกว่าประมาณว่าเป็นสิ่งเดียวกัน และท่านบอกเพียงแค่เป็นคำเท่านั้น.. เพราะเป็นส่วนแห่งกันและกัน......ผมพูดเดี๋ยวจะว่าไม่มีเนื้อความให้.....จะยกหลวงพ่อชามากล่าวในส่วนหลัง....
    แล้วพอมาหลวงพ่อพุธ ท่านก็มีการพูดแยกนะว่านี่คือ วิธีแห่งสมถะ นี่คือวิธีแห่งวิปัสสนา.......แต่ในพื้นฐานแล้วมีส่วนเกี่ยวเนื้อกันตามความที่ท่านได้สรุปไป.....ผลก็คือ แยกว่าสิ่งนี้คือการปฏิบัติแบบสมถะ และนี่คือ การปฏิบัติแบบวิปัสสนา(เป็นเหตุต้นที่เราพูดกันถึงฌานฤาษีและฌานในพระศาสนา)......

    พูดไปพูดมาไม่รู้ว่ามันจะจบไปในที่ตรงใหน.....เอาอย่างนี้แล้วกัน.....จะยกพระธรรมเทศนาหลวงพ่อชามาบางตอน......แล้วให้คุณวิษณุพิจารณาเห็นว่า.....จะเป็นอย่างไร.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ๑๕. ท่านอาจารย์เคยสอนว่า สมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญา นี้เป็นสิ่งเดียวกัน ขอท่านอาจารย์อธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ


    นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆนี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะ และอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยให้เกิดปัญญา หรือวิปัสสนาได้ในที่สุด แล้วจิตก็จะสงบ ไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่ หรือเดินอยู่ในเมืองที่วุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่าครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็นคนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนาก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน และถ้ามองอีกแง่หนึ่ง ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน


    อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไปและเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัวของท่านเอง


    ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า "วิปัสสนา" สมถะก็ถูกเหยียดหยาม หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า "สมถะ" ก็จะพูดว่า จำเป็นต้องฝึกสมถะก่อนวิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วยตัวท่านเอง

    ________________________________________

    ที่มา หลวงพ่อชา สุภัทโธ ในเรื่อง คำถามและคำตอบแนวการปฏิบัติธรรม ในข้อที่ ๑๕
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    การสร้างบุญบารมี

    หมวด ภาวนา โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ

    การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่างคือ "สมถภาวนา (การทำสมาธิ)"และ "วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)" แยกอธิบายดังนี้ คือ ​


    ๑. สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
    สมถภาวนาได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิหรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า "กรรมฐาน ๔๐" ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดปละด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากว่าศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน(เป็นกำลัง)ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่าวพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู" คำว่า "จิตสงบ" ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า "ขนิกสมาธิ" คือสมาธิเล็ก ๆน้อย ๆ สมาธิแบบเด็ก ๆที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดทรงจิตอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์(มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้นที่ ๒ คือ ดาวดึงส์)
    สมาธินั้นมีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน(อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือ ชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑ ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน
    การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุดเพราะไม่ต้องเสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินเสียทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ยังต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างเทียบกันไม่ได้
    อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้

    ๒. วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
    เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ตาม แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะว่าสมาธินั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไร ๆ แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป - นาม" โดย รูปมี ๑ ส่วน นามนั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น พระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย
    ๑. อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้วก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาวและเฒ่าแก่จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ
    สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่าอุปาทานขั้นธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆมาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นมาก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองๆไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์" แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆเหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน
    ๒. ทุกขัง ได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้" ทุกขัง ในที่นี้ไม่ได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทนตั้งอยู่ในสภาพนั้น ๆได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัวและต้องเปลี่ยนแปลงตลอดไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็ก ๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไปแล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน
    ๓. อนัตตา ได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ" โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนแต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เช่น รูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่าเซลล์ แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า "ธาตุดิน" ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า "ธาตุน้ำ" ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า "ธาตุไฟ" ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า "ธาตุลม" (โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้หมายความอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ" อันหมายถึงแร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบ ๆ เหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ และส่วนที่เป็นลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้

    สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนี่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้ ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้นเอง ขันธ์ ๕ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็น พระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตตกระแสธรรมตัด กิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ"

    ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกันจะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผลต่อไป ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงทีว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม" ดังนี้ จะเห็นได้ว่าวิปัสสนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม้ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใดแต่ก็ได้กำไรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราย ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบกับศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแล้วแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุดก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียวโดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพานก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

    ที่มา.... http://www.larnbuddhism.com/grammathan/pawana.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ผมว่า คุณภาณุเดช หลงประเด็นตัวเองไปไกลมาก

    จุดประสงค์หลักของ คุณภาณุเดช คือ ไม่ให้กล่าวแยกคำว่า สมถะ และ วิปัสสนา

    เป้าหมายที่ คุณภาณุเดชต้องการคือ ใครพูด สมถะ เพียงคำเดียวก็ถือว่า โอ
    แต่หากใครหน้าไหน ยกคำว่า วิปัสสนา คุณภาณุเดชก็จะเริ่ม ไม่โอ

    พูดง่ายๆ คือ หากโลกนี้ยุบคำว่า วิปัสสนาไปเลยได้ เหลือแต่ สมถะ คำเดียว
    คุณภาณุเดช ก็จะโอ

    แต่ กาลมันไม่เป็นเช่นนั้น

    เพราะ พุทธพจน์เอง ก็บัญญัติคำสองคำขึ้นมาใช้คือ มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา

    และเมื่อไหร่ก็ตาม เมื่อมีการกล่าวถามถึงนัยยะของ คำของพระพุทธองค์
    ถึงคำว่า สมถะ และ วิปัสสนา ผู้ตอบคำถาม ก็ต้องอธิบายให้แยกขาดจากกัน

    ไม่โง่แบบ คุณภาณุเดชแน่ๆ ที่จะบอกคนที่ถามว่า

    "เห้ย มึงถามคำถามไร้สาระ จะไปแยกคำ มาถามทำไม "

    อาหาร กับ ขี้ บ้านคุณภาณุเดช เอามันมาตั้งบนโต๊ะ เสมอกันหรือ

    อาหาร กับ ขี้ มันเหมือนกันก็ต่อเมื่อ คุณกินมันเข้าไป แล้วถุย
    หรือ สำรอกออกมา หรือไม่ก็กลืนลงไปแล้วรอให้ลำไส้มันดูดเข้า
    ไป นั้นแหละ เขาถึงค่อยบอกว่า กายเราดูดขี้เป็นอาหาร แต่มัน
    คนละ กาล คนละเวลา คนละเทศะ สถานะที่ที่อยู่กับปาก และ
    ที่มันอยากอยู่กับท้อง

    ตกลง เอาคำครูยกมา แล้วเข้าใจ เจตนาท่านไหม ว่าท่านห้ามส่วนไหน

    ท่านห้าม เรื่องการเอาสองคำนี้ มาเป็น ประเด็นฟาดฟัน กดข่มกันและกัน

    ความไร้สาระ คือ เรื่อง การฟาดฟันกัน และ การกดข่มกัน

    แต่ขอโทษเถอะ เรื่อง การจำแนกแยะแยะ อธิบายให้ละเอียดว่า อย่างไหน
    คือ สมถะ อย่างไหน คือ วิปัสสนา เวลาไหนควรทำสมถะ เวลาไหน
    ควรทำวิปัสสนา ไม่มีครูคนไหน ละเว้นการแจกแจงหรอก

    มีแต่ คุณภาณุเดช ที่เมาประเด็น ไถๆ ไปนี่แหละ ไร้สาระกว่าคนที่เอา
    คำสองคำนี้มาเถียงกันซะอีก

    เพราะ ดูเหมือนว่า คณภาณุเดช ต้องการให้โลกนี้ ใช้คำว่า "สมถะ" ก็พอ

    ไหนละ อ้างว่า ต้องการรักษาพุทธพจน์ แค่ คำเพียงสองคำ ก็รักษาไว้ไม่ได้
    แจกแจงโดยพิสดารก็ไม่ได้ว่าต่างกันอย่างไร

    จะกลบให้เหลือเพียงคำเดียวท่าเดียวเลย เมาหรือเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  11. ไส้อั่ว

    ไส้อั่ว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +40
    น่าเบื่อหน่าย เถียงกันอยู่ได้ ต่างคนต่างถือดี มีทิฐิมานะ ต่างคนต่างบอกว่าตัวเองถูก เจ้าของกระทู้ถามวิธีการฝึกสติ แล้วคนที่มาสอนคนอื่นเค้าเรื่องสติ สอนไปสอนมา กลับมาเถียงกันซะอีก จนเตลิดเปิดเปิงไปไหนแล้ว ตกลงเข้าใจคำว่า "สติ" ไหมว่า

    พอแล้ว

    โธ่เอ๋ย !
     
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ก็ต้องมีบ้างหละครับ

    หากเรา ยอมให้ กลบคำ ไม่พูด สมถะ แยกออกกับคำว่า วิปัสสนา

    มันจะเหลือแต่คำว่า "สมถะ" คำเดียว

    พอเหลือแต่ "สมถะ" "สมาธิ" คำเดียว ไม่มีการหยิบคำว่า "วิปัสสนา"
    มาพุดอีกตามความประสงค์ของคุณภาณุเดช เป็นไงคราวนี้

    พุทธศาสนาจะหายไปไหน หรือว่าจะอยู่ จะถูกกลืนไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้

    อะไรคือ สิ่งแตกต่าง และ ดีที่สุด ที่มีเฉพาะในพุทธศาสนา ปล่อย
    ให้คุณภาณุเดชทำให้เลือนหายไปอย่างง่ายๆ เสร็จกัน!!

    ตราบใดที่เรา รักษาคำว่า วิปัสสนาไว้ได้ และ แจกแจงได้ถึงความพิเศษ
    แตกต่างกัน

    เมื่อนั้น ฌาณฤาษี ไม่มีทางได้หลอมรวมกันกับ สัมมาสมาธิ หรอก
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ผมว่าตัวผมไม่ได้เป็นอย่างที่คุณกล่าวนะ....เพราะไม่มีในความคิดผม....

    การกล่าวคำพูดใดนั้นควรระวังนะครับ.....คำพูดเป็นของหลวงพ่อชา ท่านได้เทศนาไว้....ไม่ใช่ความรู้ผม.....ท่านจะปรามาสพระอริยเข้าได้.....

    ขอบคุณที่ได้วิจารย์ความคิดและเจตนาของผมโดยคุณนะครับ....แต่ผมรู้ตัวดีว่าผมไม่ได้เป็นเช่นนั้น....และสิ่งที่ผมได้ทำมาทั้งหมดย่อมบอกแก่ทุกคนได้ว่าผมเป็นอย่างไร...

    อย่าลืมไปดูคำถามนะครับ....

    เอ....หรือว่าผมจะไม่สนทนากับคุณดี...เพราะดูแล้วการที่เราสนทนากันครั้งนี้มันไม่มีประโยชน์......เพราะผมเชื่อแน่ว่าคุณคงจะรู้คำตอบนั้นอยู่...และอีกอย่างถ้าใจปิดก็คือจบ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    เหรอๆ ไหน อธิบายหน่อยสิว่า ทุกวันนี้ คุณทำวิปัสสนาอย่างไรบ้าง
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ขอบคุณครับ....ไม่ต้องสนใจผมหลอกนะ....ไปทำของท่านให้ดีเถอะครับ....
     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ถ้าอย่างนั้น ผมก็ขอกล่าว แยก สมถะ และ วิปัสสนา เป็นธรรมสอง
    อย่างไปอย่างเดิมนะ

    และ เพราะว่าผมแยกคำสองคำนี้ออกจากกัน ก้เพื่อที่ว่า จะใช้เป็น
    เครื่องมือแยกว่า ผู้ทำฌาณคนไหน มีการทำวิปัสสนาด้วยหรือไม่

    หากไม่แยกคำว่า วิปัสสนาเอาไว้ ไม่ทำความรู้จักเอาไว้ เราจะเอา
    อะไรไปถามคนที่ "เหาะ" มาอยู่ตรงหน้าว่า ท่านเป็นพุทธศาสนาหรือเปล่า?

    หากเราไม่รู้จัก ไม่รู้การถามไถ่ถึง "วิปัสสนา" สงสัยคงต้องกราบ
    คนนอกศาสนาเป็นที่พึ่งไปอย่างมัวเมา
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เอาเป็นว่าผมจะรอฟังทรรศนะของคุณวิษณุอีกที.....แล้วถ้าท่านนิวรณ์จะตอบคำถามหรือไมก็แล้วแต่(เพราะท่านออกนอกเรื่องเป็นปกตินิสัย..โดยพยายามใช้อารมณ์พาให้ออก วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผม..ผมจะไม่ต่ออารมณ์นั้นครับ)........

    ปกติผมจะไม่สนทนาต่อกระทู้ยาวขนาดนี้.....และไม่ค่อยสรรเสริญเท่าไร.....
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    เอาหน่า คุณก็พูดว่า จะพูดสั้นๆ ตั้งแต่โพสแรกของวันนี้แล้ว

    จะกล่าว ซ้ำไปทำไม

    ตกลง อนุญาติ ยอมทนเห็น ผมกล่าว แจกแจง สมถะ และ วิปัสสนา
    เป็นองค์ธรรมสองอย่าง ไม่ใช่อันเดียวกันหรือเปล่า

    ถ้ายอม นั้นหมายถึง ต้องยอมให้ผมแยก สัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ ด้วย

    ถ้ายอม นั้นหมายถึง ต้องยอมให้ผมแยก ฌาณฤาษี กับ สัมมาสมาธิ ด้วย

    แล้วทีหลัง อย่ามา ทำเป็นกระแซะ ถามซ้ำๆซากๆว่า แยกทำไม!! อีก
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่ท่านตอบตามครูบาอาจารย์....และเทียบได้กับพระไตรปิฏก....และการตอบนั้นเป็นผลที่ส่งให้ผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติที่ถูกตามรอยพระบาทพระพุทธเจ้า...ไม่มีช่องโหว่ตามที่ได้ส่งอคติและแนวคิดของตนเข้าไป.....ผมจะสรรเสริญท่าน..และเป็นกำลังใจให้ท่านเสมอ......

    แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านสอนบิดเบื่อนธรรมของพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์....ตลอดจนมีทางที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้ผิดพลาดและหลงไป....ตลอดจนทำให้เกิดแนวโน้มสัจธรรมปฏิรูป...เพื่อพระศาสนาแล้วเมื่อนั้นถ้าผมยังอยู่และผมตรวจสอบหาได้.....ผมก็จะถามท่านอยู่อย่างนี้......จนกว่าว่าท่านจะตอบในสิ่งที่เป็นสัจธรรมตามรอยพระบาทและครูบาอาจารย์ท่านทั้งหลายที่ปฏิบัติดี.....
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ก็ถามไปสิ ใครว่าอะไรหละ

    แต่จะถาม คำถามเดิมหรือเปล่า

    ทำไมคุณวิษณุ กับ คุณนิวรณ์ ต้องกล่าวแยก สมถะ และ วิปัสสนา
    ออกจากกันด้วยครับ?

    ทำไมคุณวิษณุ กับ คุณนิวรณ์ ต้องกล่าวแยก ฌาณฤาษี และ สัมมาสมาธิ
    ออกจากกันด้วยครับ?

    ผมว่าน๊า ไอ้คำถามสองคำถามนี้ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับ สัทธรรมปฏิรูป ตรงไหน

    เออ...ถ้าว่า

    คุณวิษณุครับ คุณนิวรณ์ครับ คุณสอนให้ทำสมถะอย่างเดียวแล้วคุณรับรอง
    ว่าได้วิปัสสนาในตัวทันที แบบนี้ ผมว่าสัทธรรมปฏิรูปนะครับ รายละเอียด
    น่าจะมีแยบคายกว่านี้ ?

    เอา ถ้าเจอคำถามแบบนี้ ผมค่อยอึ้ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...