เชื้อสายครุฑหรืออดีตสัตว์ในหิมพานต์ มาแลกเปลี่ยนเรื่องป่าหิมพานต์กันคะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ม่อนดอยด์, 11 มกราคม 2011.

  1. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    55+...จัดป่ะพี่หญิงอิอิ^^...หายากแท้หนอคนที่รักเป็นนี่^^...
     
  2. Ricky

    Ricky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +682
    มันกลายเป็นว่าติดเป็นยาเสพติดไปแล้วอ่า ^^
     
  3. Ricky

    Ricky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +682
    งั้นสงสัยคงต้องไปตามหาปลาหมึกตัวเล็กๆจากป่าหิมพานต์มากินแล้วล่ะ ^^
     
  4. Ricky

    Ricky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +682
    โหหห หมึกจากหิมพานพ์พันนี้ช่างลี้ลับซะจริง
    แบบนี้คงต้องกินเป็นหมื่นตัวอ่าาา ^^
     
  5. ม่อนดอยด์

    ม่อนดอยด์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +349


    [​IMG]

    แบบนี้กิงมะลง สงสาร บวก มะอิ่ม -*-
     
  6. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    สงสัยจะโดนแทงข้างหลังทะลุถึงหัวใจมา ฮิฮิ
     
  7. ม่อนดอยด์

    ม่อนดอยด์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +349

    [​IMG]

    "บัวบาน" มีตำนานเล่าขานถึง 4-5 เรื่อง ..จึงไม่แน่ใจว่าเป็น"บัวบาน"ไหนที่ถูกต้อง
    แต่ทั้งหมดก็คือที่มาของ “วังบัวบาน” วังน้ำที่อยู่เบื้องล่างชะง่อนผาสูงบริเวณเหนือน้ำตกห้วยแก้ว อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่
    วังน้ำนี้เดิมเรียกว่า "วังคูลวา" หรือ "วังกุลา" ตามเรื่องเล่าถึง"คูลวา-กุลา" ซึ่งหมายถึงแขกคนหนึ่งพลัดตกลงไปตายในวังน้ำแห่งนี้
    ซึ่งคำว่า "คูลวา-กุลา" ในภาษาล้านนาหมายถึงแขกหรือฝรั่งชาวต่างชาติซึ่งถือว่าไม่เป็นที่พึงต้อนรับ
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักเขียนสารคดี บันทึกไว้ว่า วังน้ำแห่งนี้ เปลี่ยนชื่อ เป็น"วังบัวบาน" เมื่อ พ.ศ.2497 เมื่อมีเหตุหญิงสาวชื่อ "บัวบาน" ตกลงไปตายในวังน้ำแห่งนี้ [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]อุดม รุ่งเรืองศรี ได้เขียนถึง"บัวบาน"ไว้ในเวบ lannaworld ถึงการเสียชีวิตว่ามีทั้งเชื่อว่าอุบัติเหตุ ฆ่าตัวตาย และถูกฆาตรกรรม[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]แต่ทุกตำนาน มีเรื่องที่เหมือนกัน นั่นคือ"บูชารัก" โดยกล่าวถึงที่มาของทั้งหมดจาก 4-5 ที่มา[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ศิริพงษ์ ศรีโกศัย นักจัดรายการวิทยุที่ใช้นามแฝงว่า"ย่าบุญ" เล่าเรื่อง"บัวบาน"เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2540 ว่าที่ตั้งบ้านของบัวบาน ปัจจุบันอยู่ฟากถนนตรงกันข้ามกับอาคารอำนวยการหลังเก่าของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]บัวบาน เป็นครูสอนในโรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนซินเซิง โรงเรียนฮั่วเคี้ยวและโรงเรียนฮั่วเอง มีคนรักเป็นนายทหารรักษาพระองค์ [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ต่อมา ครูบัวบานถูกทหารคนดังกล่าวสลัดรัก ทำให้เจ้าตัวเสียใจมากและได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงไปในวังน้ำแห่งนั้น [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ขณะที่ เจ้าบุญศรี ณ เชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์เมื่อ 13 ตุลาคม 2541 โดยยืนยันว่า บ้านของครูบัวบานที่ศิริพงษ์กล่าวมานั้นถูกต้อง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]แต่ข้อมูลที่แตกต่างกันก็คือ ครูบัวบานเป็นคนสวยที่ถูกกล่าวขานทั่งล้านนา ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ.2482-2488) [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เจ้าบุญศรีเล่าวว่า ครูบัวบาน สอนที่โรงเรียนวัดฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง เชียงใหม่ และในช่วงสงครามนั้น ก็มีทหารหน่วยราบจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาตั้งฐานทัพที่วัดฟ้าฮ่าม [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]นายทหารหนุ่มคนหนึ่ง เมื่อครูบัวบานคนสวย ก็สนิทสนมและคยหาเป็นคู่รักกัน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ต่อมา นายร้อยตรีผู้นั้น ถูกเรียกตัวกลับกรุงเทพฯ แต่ได้สัญญากับครูบัวบานว่าจะขึ้นมาแต่งงานกัน แต่นั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงไม่ได้ เพราะนายทหารหนุ่มคนนั้นมีภรรยาอยู่ที่กรุงเทพฯแล้ว [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ระหว่างที่รอ ครูบัวบานที่เริ่มตั้งท้องก่อนนายทหารหนุ่มกลับกรุงเทพฯก็เริ่มครรภ์โตมากขึ้น และเมื่อรู้ความจริงว่าเธอถูกหลอก ครูสาวคนสวยจึงตัดสินใจไปกระโดดน้ำตาย[/FONT]

    สุสานแม่บัวบานปัจจุบันร่างของบัวบานถูกฝังไว้ ณ สุสานเด่นดำรงธรรม บ้านเด่น ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้ๆบ้านหญิงทิพย์เลยคะเคยไปดูแต่หาไม่เจอ

    แม่บัวบาน นามสกุล ไชยวงศ์แก้ว เป็นชาวเชียงใหม่ อาศัยอยู่บริเวณหลังโรงเรียนปรินส์รอยแยลวิทยาลัย มีอาชีพเป็นครูสอนอยู่หลายโรงเรียนด้วยกันคือ ดาราวิทยาลัย ซินเซิง ฮั่วเคี้ยวเอง เคยเป็นอาจารยสถาบันที่หญิงทิพย์เคยเรียนนี่เองคะ ดาราวิทยาลัย

    [​IMG][​IMG]


    อย่างไรก็ตาม ในบทความชื่อ "วังบัวบาน"ของสมาน ไชยวัณณ์ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร "คนเมือง ฉบับดำหัว" ฉบับต้อนรับสงกรานต์ 2511 กลับชี้ว่า ครูบัวบานเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุ
    โดยบทความดังกล่าว ได้อ้างเอาคำสารภาพก่อนตายของอดีตครูประชาบาลคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนรักของครูบัวบาน
    ผู้เขียนบทความกล่าวว่า ตนรู้จักกับครูบัวบานเป็นอย่างดี โดยครูบัวบาน เกิดมาในครอบครัวของผู้มีชื่อเสียงดี ฐานะดี จบการศึกษาจากโรงเรียนฝรั่งที่มีชื่อในตัวเมืองเชียงใหม่ และมีความสัมพันธ์ฉันคนรักกับครูประชาบาลคนหนึ่ง
    บังเอิญครูประชาบาลหนุ่มคนนั้นมีภรรยาอยู่แล้ว
    สมานเขียนในบทความนี้ว่า วันหนึ่ง ครูประชาบาลคนรักเก่าของครูบัวบานป่วยหนักอยู่ในบ้านกลางเมืองเชียงใหม่ เจ้าตัวก็ได้สารภาพกับภรรยา บุตรและญาติสนิทว่า ตนมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับครูบัวบาน ทั้งๆที่ตนก็มีภรรยาอยู่แล้ว
    จากนั้น เมื่อครูบัวบานตั้งครรภ์ ก็ได้นัดครูประชาบาลคนรักไปตกลงกันในที่ปลอดคนแห่งหนึ่งบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว
    ครูบัวบานรู้เรื่องครอบครัวของแฟนหนุ่ม แต่ได้ขอให้เขาจัดวานแต่งกับตนเพื่อมิให้เป็นที่ละอายแก่ชาวบ้าน และเพื่อลูก
    หลังเจรจาพูดคุยกันอยู่พักหนึ่ง ครูหนุ่มก็บอกว่าตนไม่อาจด่วนทำอะไรลงไปได้ เพราะมีลูกเมียอยู่แล้ว
    ครูบัวบานไม่อาจทนฟังต่อไปได้ จึงผละจากแล้ววิ่งหนีไปโดยระมัดระวัง จนเกิดอุบัติเหตุตกจากหน้าผาลงสู่ "วังคูลวา-กุลา"
    สมานเขียนด้วยว่า ผลกรรมที่ทำให้ครูบัวบานเสียชีวิต ทำให้ครูหนุ่มคนนั้นต้องกลายเป็นอัมพาต เพราะเกิดพายุใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ ทำให้มะพร้าวต้นหนึ่งล้มฟาดลงมาทับหลังของครูประชาบาลผู้นั้นจนหลังหักและกลายเป็นอัมพาต
    เจ้าตัวจึงยอมเปิดปากสารภาพกับสมาน และย้ำว่าครูบัวบานเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุ

    [​IMG]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]แต่ในวิทยานพินธ์ปริญญาโท สาขาภาษาและวรรณ-กรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2531 ของสุธาทิพย์ สว่างผล กลับเป็นอีกเรื่อง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]โดยสุธาทิพย์อ้างอิงจากนิทานพื้นบ้านไทย ของ วสันต์ ปัณฑวงศ์ พ.ศ.2522 ที่กล่าวถึงครูบัวบาน ว่ามีปลัดอำเภอหนุ่ม รักกับลูกสาวคหบดีชื่อบัวบาน และได้หมั้นหมายกันไว้โดยที่ไม่มีผู้ใดขัดข้อง [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]แต่อุปสรรครักก็มี เพราะปลัดอำเภอเป็นทาสการพนันทุกชนิด จนติดหนี้ติดสินไปทั่วเมือง และทำผิดด้วยการยักยอกเงินของทางราชการไปใช้หนี้และเล่นการพนัน [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ต่อมา ปลัดหนุ่มคนนั้น ได้ขอเงินจากบัวบานว่าจะไปใช้หนี้ราชการ แต่กลับนำไปเล่นการพนันอีกจนหมด [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เมื่อหมดตัว ลัดอำเภอหนุ่มก็ได้นัดบัวบานไปสารภาพผิดที่หน้าผา แต่ทั้งคู่กลับทะเลาะกันอย่างรุนแรง ทำให้บัวบานทนไม่ได้ จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตาย [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][​IMG][/FONT]​

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]สุธาทิพย์ สว่างผล ได้ไปสัมภาษณ์คนที่สนิทกับครอบครัวของครูบัวบานผู้หนึ่ง คือนางอรุณ หมู่ละสุคนธ์ เลขที่ 130 ถนนแก้วนวรัฐ อ.เมือง เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2531 [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]นางอรุณเล่าว่า บัวบานและหนุ่มชาวภาคกลาง รักกันโดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง และเมื่อเกิดเรื่อง บัวบานเสียชีวิตชายหนุ่มก็หายหน้าไป ทำให้ญาติของบัวบานคิดว่าเป็นการฆาตกรรม แต่ผู้เล่าเห็นว่าน่าจะเป็นอุบัติเหตุ หรือบัวบานกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายมากกว่า[/FONT]

    ทั้งหลายทั้งหมดคือความอาภัพรักของ"บัวบาน"
    สิ่งที่เหมือนกันในทุกเรื่องก็คือ บัวบานเป็นสาวสวยและผิดหวังในความรัก ก่อนจะเสียชีวิตที่"วังบัวบาน"
    จากเรื่องราวดังกล่าว มีเรื่องเล่าต่อว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ได้นำเรื่องนี้มาแต่งเป็นคำกลอนตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยใช้นามปากกา"เลิศ ลานนา" (มีคนกล่าวว่าเป็นนามปากกาของบุญเลิศ พิงค์พราวดี)
    บ้างก็ว่าภิกษุที่แต่งกลอนนั้น เป็นพระอยู่ที่วัดดอยสุเทพ
    ต่อมา "สนิท ส." (สนิท สิริวิสูตร) นักแต่งเพลงชาวเชียงใหม่ ก็ได้นำบทกลอนดังกล่าวมาปรับปรุงให้เป็นเพลง คือเพลง"วังบัวบาน" โดยให้ อรุณ หงสวีณ แต่งทำนอง และ มัณฑนา โมรากุล เป็นผู้ขับร้อง อัดแผ่นเสียง
    และนี่คือเพลง"วังบัวบาน"....อีกตำนานรักของเชียงใหม่

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=lzk0F8uh4-g&feature=related"]YouTube - วงจันทร์ ไพโรจน์ วังบัวบาน[/ame]​


    เพราะแบบนี้แหละคะ สาวเหนือจึงกลัวหนุ่มบากกองกันเหลือเกิน บ่าวบางกอก ว๊อกนัก แปลว่า ขี้จุ๊แหละคะ

    จาก : โอเคเนชั่น คะ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กุมภาพันธ์ 2011
  8. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=cC2SSVTkvkU]YouTube - C02 เอื้องผึ้ง จันทร์ผา WMV V9[/ame]

    เอาเพลงนี้มาแปะฝากสาวเหนืออย่างพี่หญิงทิพย์ เป็นเพลงที่ปราญฯชอบมากเพลงหนึ่ง ฝากสาวๆเอาตำนานนี้มาให้อ่านกันบ้างได้ไหมคะ

    ป.ล.ปลาหมึกพี่หญิงทพย์มันดูน่ารักและก็น่ากลัวเนอะ><"

    yayas ลูกแก้วสวยจังเลยค่ะ ^o^
     
  9. ม่อนดอยด์

    ม่อนดอยด์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +349
    น้องไม่กินเลยเหรอ ดีจังเลย งั้นไปเป็นร่างเจ้าแม่กวนอิมวัน
    กินเจได้เลยนะนี่ ยิ่งสวยๆ อยู่ด้วย บารมีก็มีเยอะอยู่
    เรื่องสัตว์ในหิมพาน ต้องมีไอ่นี่ด้วยคะ
    [​IMG]
    เค้าเรียกว่า ธาตุกายสิทย์ หรือเหล็กไหล แต่อันนี้ไม่รูว่าของจริงไหม เขาบอกว่าลักษณะมันดูแข็งแรงแต่ท่าจับจะนุ่มมากหยิบไม่ติดมือ อยู่ไม่นิ่ง ไหลไปตลอด คนที่มีบุญหรือเป็นเจ้าของทำนั้นถึงจะ ได้ครอบครอง จะมีในสัตว์หิมพานเกือบทุกตัวนะคะ เพราะเสมือนกับเขาบำเพ็ญเพียรมาถึงขั้นหนึ่งแล้ว ส่วนพญานาคก็จะมีแก้วพญานาค คด ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งนะคะที่จะพบใน สรรพสิ่งที่บำเพ็ญเพียรมา จาก พืชและสัตว์คะ
     
  10. ม่อนดอยด์

    ม่อนดอยด์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +349
    ปอยหลวง แห่คัวตาน

    ฝากyayas จัดให้น้องปราญหนักๆเลยนะคะ วันนี้พี่จะว่างอีกทีดึกๆ นู้น พอดีที่บ้านเค้าจัดงาน ปอยหลวง งื่มต้องแปลด้วยเนาะเป็นงานทำบุญใหญ่ที่วัดน่ะคะ
    เขาจะเอา ของปัจจัยไปถวายวัด พอดี ครอบครัวพี่ก็เป็น หนึ่งในเจ้าภาพคะ ก็ตอนประมาณสามทุ่มก็จะมีแห่คัวตาน ก็คือการแห่เอาวัตถุปัจจัยไปถวายวัด คะแล้วเขาจะจัดแบบนี้ แล้วก็แห่ฟ้อนไปถึงวัดนู้นเลย ก็จะมีครัวตานที่มาจากวัดอื่นๆ เวลาวัดไหนมีงาน หัววัดทั่วเชียงใหม่ก็จะไปร่วมทำบุญ และคัวตานบ้าน คะ ไปถวายเอารูปมาฝาก จะได้ นึกออกประมาณไหน เดี๋ยวจาเอาบุญมาฝาก นะคะ ^^

    [​IMG][​IMG]
    อันนี้แบบต้นคัวตานคะ เดี๋ยวจะถ่ายที่บ้านมาให้ดูนระ

    p s เดี๋ยวตำนานรักสาวเหนือต่อไปจะเอาเรื่องเจ้าน้อยสุขเกษม กับ มะเม๊ยะมาลง อันนี้เคยเห็นกู่ของเจ้าน้อยสุขเกษมแล้วไปดูมาถึงที่เลยคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กุมภาพันธ์ 2011
  11. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    ตำนานของมะเมี๊ยะนี่เศร้ามากค่ะ เดี๋ยวต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนอ่าน
     
  12. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    ...เอากันเข้าไปแต่ล่ะคน...-*-...แทงข้างหลังทะลุหัวใจมันโดนจนชินเจ็บจนชิน...ขอเป็นเพลงผู้ชายคนนี้กำลังหมดแรงดีกว่า^^...จะลงเองก็-*-...ไม่ได้ลงไม่ติดไม่รู้เป็นอะไร-*-...
     
  13. ม่อนดอยด์

    ม่อนดอยด์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +349
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TH scope=row align=left>
    **เเวะมาพักผ่อนแป๊บๆๆ เดี๋ยวต้องไปช่วยงานต่อเอาเรื่องมาฝาก น้อง ปราญ NEED
    อีกหนึ่งตำนานรักเจ้าเชียงใหม่

    เจ้าน้อยสศุขเกษม และ มะเมี๊ยะ

    [​IMG]

    </TH></TR><TR><TH scope=row align=left>เดือนหนาวยังเนานิ่ง ไม้ใบเริ่มแปลงสี จากเข้มเขียวเป็นแดงส้มน้ำตาลไหม้ หมอง ๆ ไปทั้งเมืองบุญเชียงใหม่มัวหม่นด้วยหมอกฝ้า จะเป็นหมอกหนาวหรือควันไฟผิงไออุ่นก็ไม่ทราบได้ อีกสักช่วงยาม งิ้วหลวงและทองกวาวจะพราวต้น ฤดูสอบไล่และย้ายที่เรียนเริ่มมาถึง ใจหวิวหวำ อย่างไงชอบกล คิดถึงอะไรสักอย่างในภวังค์ลึก ๆ ใจเหมือนมีเรื่องกังวลลี้ลับแฝงเร้นให้อาทร

    เดือนเหงามาเร้าอก ระนึกถึงแต่เรื่องเก่าเรื่องหลัง เป็นตำนานผสานความจริง เรื่องของหญิงชายคู่นั้น คำเล่าเศร้าสร้อยงดงาม ฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าชายผู้สูงศักดิ์สุดหล่อ ฝ่ายหญิงคือสามัญชนต่ำต้อย เป็นเพียงแม่ค้าขายบุหรี่ยามวน มิใช่ลูกสาวเจ้าของห้างดังใช้ของแบรนด์เนม เรื่องจึงจบด้วยการจากพราก ฝ่ายหนึ่งพ่ายรัก อีกฝ่ายตรอมใจตาย


    </TH></TR><TR><TH scope=row align=middle>[​IMG]</TH></TR><TR><TH scope=row align=left>อัศจรรย์นิมิต
    ก่อนจะเขียนเรื่องนี้ ขนคิงลุกสามครั้งด้วยเกิดเหตุอัศจรรย์ เครื่องพิมพ์หยุดทำงานโดยไร้สาเหตุถึง 3 หน ข้อมูลลบหาย ต้องร่ายใหม่จากความจำ เอกสารที่อยากอ่านค้นทั้งเรือนก็ไม่พบ พอยกมือจบหว่างคิ้วขอสูมา กลับพบว่าวางอยู่ส่องหน้า เหตุเหล่านี้คงเหมือนนักร้องแม่หญิงชาวเชียงใหม่ผู้มาดมั่นนามสุนทรี เวชานนท์ เธอต้องแต่งใจคารวะทุกครั้ง กลั้นสะอื้นทุกคราเมื่อจะร้องเพลงมะเมียะ และเล่ากันอีกว่า ตอนทำละครเวทีเรื่องมะเมียะ (2546) เจ้าหน้าที่เก็บของคนสุดท้ายก่อนโรงจะปิด เหลือบเห็นเจ้าน้อยศุขเกษม ยังยืนสง่าอยู่กลางเวที อีกเรื่อง เกิดขึ้นโดยบังเอิญเร็ว ๆ นี้ เมื่อปิยมิตรท่านหนึ่งยืมหนังสือมะเมียะไปอ่าน เธอพบว่าปี 2552 คือปีที่ครบ 129 นับแต่เจ้าชายเกิดมา กลับเลขเก้ามาไว้ข้างหน้า เพราะคำว่า เจ้า คือ เก้า ได้เลข 912 หลังวันที่ 16 มหาปิยมิตรท่านนั้นหอบตะกร้าผลไม้มาฝาก แทนคำขอบคุณที่ให้ยืมหนังสือ เหล่านี้ ถือเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่ควรนับเป็นตัวอย่าง
    เจ้าน้อยศุขเกษม ตามความที่บันทึก ณ กู่บรรจุอัฐิ ที่วัดสวนดอก บอกว่า “เจ้าอุตรการโกศล ณ เชียงใหม่ นามเดิม เจ้าน้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่ เป็นบุตรชายใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่กับแม่เจ้าจามรี เกิด ปี มะเส็ง พ.ศ. 2423 ถึงแก่กรรม พ.ศ.2456 ประมวลชนม์ได้ 33 ปี”ส่วนสาเหตุการวายชนม์นั้น ตามเอกสารที่ออกจากศาลาว่าการมหาดไทย เมื่อวันที่ 26 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2456 บันทึกไว้ว่า
    “เจ้าอุตรการโกศล (น้อยศุขเกษม) กรรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ได้ป่วยเป็นโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรังมาช้านาน ได้ถึงแก่กรรมเสียเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2456 นี้แล้ว อายุได้ 33 ปี”

    ตำนานรัก
    เรื่องความรักที่จบด้วยการจากพราก มีโครงเรื่องและประวัติชีวิตตามนี้ “เจ้าพ่อเจ้าแม่ส่งเจ้าชายรูปงามไปเรียนหนังสือที่เมืองเมาะละแหม่ง ประเทศพม่า ได้พบสาวงามเชื้อชาติศัตรูของแผ่นดิน เป็นแม่ค้าขายหมากเหมี้ยงบุหรี่ไร้ค่า เจ้าพ่อเจ้าแม่ไม่พึงใจเมื่อเจ้าชายพาภรรยากลับมาเชียงใหม่ จำต้องให้แยกทางกัน ฝ่ายหญิงเสียใจบวชเป็นชีตลอดชีวิต ฝ่ายเจ้าชายผู้มีรักแท้ก็ตรอมใจตายในที่สุด และก่อนที่เจ้าน้อยศุขเกษมจะเดินทางไปเรียนหนังสือ ได้หมั้นหมายกับเจ้าหญิงองค์หนึ่ง นามเจ้าหญิงบัวนวล สิโรรส ธิดาเจ้าสุริยวงศ์ (คำตั๋น สิโรรส) กับเจ้าแม่สุคันธา แต่หลังจากเจ้าน้อยฯ พาภรรยาชาวพม่ากลับมาด้วย เจ้าหญิงบัวนวล จึงขอถอนหมั้น กาลต่อมาเมื่อส่งตัวมะเมียะกลับเมาะละแหม่งแล้ว ในปี พ.ศ. 2448 เจ้าน้อยศุขเกษมได้แต่งงานกับเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ โดยมีพระราชชายาเจ้าดารารัศมีและเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ เป็นญาติผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย จนถึงปี พ.ศ. 2456 เจ้าน้อยศุขเกษมก็วายชนม์ด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง แต่ชาวประชาเล่าว่า ท่านสิ้นเพราะดื่มสุราหนัก อันเป็นผลมาจากความตรมใจ”
    ส่วนรายละเอียดในชีวิตจริงและการละครนั้น มีเนื้อหาชัดเจนราวกับผู้ประพันธ์แอบนอนฟังอยู่ใต้เตียง สะท้อนความเศร้าโศกอย่างซึมลึก ผู้อ่านบางท่านก็เสริมต่อจินตนาการจนกลั้นน้ำตาไม่ฟังเฝ้าพรั่งพรู และขอบอกก่อนว่าหากใครต้องการทราบเรื่องย่อ หรืออย่างละเอียด โปรดติดตามจากผลงานเหล่านี้ คือ เพลงมะเมียะ ของจรัล มโนเพ็ชร (2520) หนังสือ ชื่อ เพ็ชร์ลานนา ของปราณี ศิริธร ณ พัทลุง (2507) บทละครและการตามหามะเมียะที่เมาะละแหม่ง ของ ร.ศ.จีริจันทร์ ประทีปะเสน (2547) ส่วนเรื่องลุ่มลึกและภาพประกอบจากต้นฉบับต้องรบกวนเรียนถามผู้เป็นสารานุกรมแห่งเจ้านายฝ่ายเหนือ อาจารย์พิเชษฐ์ ตันตินามชัย และบุคคลที่ถือว่าเป็น ‘คนใน’ ที่รู้เรื่องนี้ดีที่สุด คือ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ หลานอาว์ในเจ้าน้อยศุขเกษม ส่วนคนสุดท้ายที่รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ได้แต่เก็บความมาเล่าต่อ คือผู้ข้าฯ คนเขียนเรื่องนี้ แล

    </TH></TR><TR><TH scope=row align=left>[​IMG]



    </TH></TR><TR><TH scope=row align=left>โรมิโอ-จูเลียต ล้านนา
    เมื่อทศวรรษที่ผ่านมามีประเด็นทับซ้อนเกี่ยวกับเรื่องความรักของเจ้าน้อยฯกับมะเมียะอยู่หลากหลายประเด็น เช่น “เจ้าชายก็ตรมใจตาย มะเมียะเลยไปบวชชี” นั้น มีความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด กล่าวคือ ตามที่เราทราบกันว่า นิยายเรื่องนี้แต่งโดยปราณี ศิริธร ณ พัทลุง นำเรื่องเล่าจากคนในคุ้มเจ้า มาเพิ่มรายละเอียดให้เป็นเรื่องยาว ส่วนนักวิชาการรุ่นปัจจุบันก็ตีความว่า เรื่องนี้ไม่ธรรมดา เพราะแสดงให้เห็นว่าเป็นประเด็นทางการเมือง เพราะตอนนั้นฝ่ายสยามซึ่งมีอำนาจเหนือล้านนาเกรงว่า ความสัมพันธ์นี้จะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต หากลูกชายของอุปราชเมืองเชียงใหม่ ได้เมียเป็นชาวพม่าภายใต้อาณัติของอังกฤษ จึงต้องกีดกันแยกความรักของคนทั้ง 2

    รศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง และพ่อครูมาลา คำจันทร์ แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตามลำดับ ดังนี้
    “เจ้านายในล้านนาสูญเสียทั้งอำนาจในการปกครองและรายได้จากการค้าไม้สัก อำนาจของสยามในล้านนานับวันเพิ่มขึ้น ช่วงเวลานั้นเอง (พ.ศ. 2441) เจ้าแก้วนวรัฐซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้าราชวงศ์ก็ได้ส่งราชบุตรคือ เจ้าน้อยศุขเกษมวัย 15 ปี ไปเรียนที่โรงเรียน St. Patrick School โรงเรียนกินนอนชายซึ่งเป็นคาทอลิกในเมืองเมาะละแหม่งและในปี พ.ศ. 2445 เจ้าศุขเกษมได้พบและหลงรักกับมะเมียะวัย 16 ปี ที่ปลอมตัวเป็นชายร่วมเดินทางมาด้วย และครั้นทราบว่าลูกชายรักและได้สามัญชนชาวพม่าเป็นภรรยา วิกฤติการเมืองก็เกิดขึ้นทันที และเจ้านายในเชียงใหม่ก็ทำทุกอย่างเพื่อให้หนุ่มสาวแยกทางกัน ผลักดันให้มะเมียะต้องกลับเมืองเมาะละแหม่งเพียงสถานเดียว ...กลายเป็นตำนานรักที่ยิ่งใหญ่ของล้านนา ที่ทำให้คนไทยทั่วประเทศตกตะลึงนึกไม่ถึงว่าเรื่องรักที่เป็นเรื่องจริงจะยิ่งใหญ่สะเทือนใจยิ่งกว่าเรื่องรักของพระลอ- เพื่อนแพง หรือโรมีโอ-จูเลียต ที่เป็นเรื่องแต่ง”

    “เจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะสาบานรักต่อกันที่วัดไจ้ตะหลั่นและคำสาบานที่ว่าหากใครไม่รักจริงหรือเปลี่ยนใจเป็นอื่น ขอให้อายุสั้น เจ้าน้อยคงจะรักจริง รักมาก แต่ถึงอย่างไรเจ้าก็ยังเป็นหนุ่มอายุน้อยมาก ถึงแม้จะเป็นราชบุตร บุตรของเจ้าอุปราช พ.ศ. 2446 ที่ดูเหมือนจะยิ่งใหญ่ แต่ที่ใหญ่ยิ่งกว่าคืออำนาจส่วนกลาง รักแท้จึงแพ้อำนาจ เจ้าชายจึงต้องขื่นขมตรมตรอมตลอดมา กระทั่งเสียชีวิตด้วยวัยสามสิบกว่าปี”

    เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ กล่าวในฐานะคนในว่า “เรื่องมันไม่ได้เป็นนิยายอย่างนั้น มันไม่ได้ใหญ่โตจนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพียงแต่มันไม่เหมาะสม เพราะตามตำแหน่ง เจ้าน้อยฯ ต้องเป็นเจ้าหลวงในอนาคต หลายคนคงลำบากใจที่ได้เมียเป็นชาวพม่า และที่สำคัญ อุตส่าห์ส่งไปเรียนหนังสือ กลับได้เมียมา เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องไม่พอใจ คงเหมือนสมัยนี้แหละ บางคนก็ต่อว่าเจ้าปู่เรา (เจ้าหลวงแก้วนวรัฐ) ว่าแบ่งขีดแบ่งชั้นกีดกันความรัก ความจริงอีกอย่างคือเจ้าอาว์ (เจ้าน้อยศุขเกษม) ก็รูปหล่อ เป็นลูกเจ้าอุปราชฯ ท่านก็เป็นคนสำราญตามประสาเจ้าชายหนุ่ม และตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ท่านมิได้หมกมุ่นตรอมใจจนตายอย่างนิยายว่า เรื่องเพิ่งจะมาเศร้าโศกปวดร้าวเมื่อคุณปราณี ขยายให้เป็นนิยายนี่เอง และถ้าเรื่องนี้เป็นไปตามนั้น ไม่มีทางจะปิดชาวเชียงใหม่ได้มิดหรอก ”


    </TH></TR><TR><TH scope=row align=middle>[​IMG]</TH></TR><TR><TH scope=row align=left>ตามหามะเมียะที่เมาะละแหม่ง
    ความอิกขลิกค้างคาใจอยู่กับทุกคนที่สนใจเรื่องในอดีต ตำนานรักจากเค้าความเป็นจริงเย้าใจให้หาข้อพิสูจน์อยู่เสมอ รองศาสตราจารย์จีริจันทร์ ประทีปะเสน ลงทุนตามหามะเมียะที่เมืองเมาะละแหม่ง ประเทศพม่า ได้สัมภาษณ์เจ้าอาวาสวัดไจ้ตะหลั่น วัดที่เชื่อกันว่าเจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะเคยสาบานว่าจะรักกันมั่นยืนยาว เจ้าอาวาสเล่าว่าเมื่อราวปี พ.ศ. 2505 ตอนท่านบวชเณร ที่วัดแห่งนี้มีแม่ชีรูปหนึ่งอายุประมาณ 70 ปี ชื่อ ด่อนางเหลี่ยน เล่ากันว่าแม่ชีชอบมวนบุหรี่มีคนรับไปขายเป็นประจำ ทุกวันนี้ข้าวของเครื่องใช้เดิมที่แม่ชีเคยใช้ยังมีอยู่ อาจารย์จีริจันทร์คาดว่าแม่ชีรูปนี้น่าจะเป็นคนเดียวกับมะเมียะ เพราะด้วยช่วงยามและเหตุการณ์อีกหลายอย่างพ้องกันมาก ตามเรื่องเล่ากล่าวว่า มะเมียเคยกลับไปหาเจ้าน้อยศุขเกษมที่เชียงใหม่แต่ไม่ได้พบกัน เจ้าน้อยจึงฝากของที่ระลึกมาให้เป็นแหวนทับทิมวงหนึ่งและเงินอีก 800 บาท และเมื่อมะเมียะกลับมาเมาะละแหม่งก็บวชชี หากแม่ชีรูปนั้นเป็นมะเมียะจริง เหตุใดจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ด่อนางเหลี่ยน

    มะเมียะมีจริงหรือ
    ประเด็นนี้เกิดจากจดหมายจากผู้อ่านนาม เหนือฟ้า ปัญญาดี ส่งถึงบรรณาธิการหนังสือพลเมืองเหนือ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2548 หลังจาก อาจารย์จีริจันทร์ ประทีปะเสน ตีพิมพ์หนังสือ ชื่อมะเมียะ ได้ 1 ปี เนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงการตามหาแม่ชีชื่อมะเมียะ ที่เมืองเมาะละแหม่ง ประเทศพม่า แต่พบเรื่องของแม่ชีด่อนางเหลี่ยน แทน
    เหนือฟ้า ปัญญาดี พยายามไขปริศนานี้ โดยเขียนเล่าในจดหมายฉบับดังกล่าว ผู้เขียนใคร่ขออนุญาตนำเนื้อหาในจดหมาย (เกือบทั้งหมด) มาเล่าต่อ ขอกราบขอบพระคุณนักเขียนปริศนาท่านนี้ มา ณ ที่นี้ เนื้อความตามจดหมาย คือ

    จดหมายถึงมะเมียะฉบับแรก
    “เมื่อต้นปี 2523 คุณปราณีได้เขียนหนังสือเรื่อง ผู้บุกเบิกแห่งเชียงใหม่ใกล้จะเสร็จ จึงเขียนชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ ควบคู่กันไปด้วย คุณปราณีว่า เรื่องมะเมียะ เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นภายในคุ้มเมืองเชียงใหม่ เรื่องราวต่าง ๆ จึงรู้กันแต่ภายใน คนภายนอกไม่เคยได้เห็นหน้า หรือรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของสาวพม่าคนนั้น เพราะอาจถูกห้ามไม่ให้พูดถึง จนกระทั่งนางถูกส่งกลับเมืองพม่า เรื่องราวต่าง ๆ จึงเงียบสงบลง ไม่มีใครพูดถึงอีกเลย คุณปราณี เล่าต่ออีกว่า เมื่อพี่ (คุณปราณีชอบให้เรียกตัวเองว่าพี่) ลงมือจะเขียนเรื่องนี้ก็ติดอยู่ที่ว่าไม่รู้ชื่อสาวพม่าคนรักของเจ้าน้อยฯ จึงจำเป็นต้องสมมติชื่อขึ้น ให้ชื่อว่ามะเมียะ ซึ่งเป็นชื่อของผู้หญิงไทใหญ่ที่พี่รู้จักดีและมีบ้านอยู่ใกล้กัน ที่ใช้ชื่อนี้เพราะจำง่ายสะดุดหู

    จากคำพูดของคุณปราณีเมื่อยี่สิบห้าปีต่อมา มันจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่ความลับว่า ทำไมการตามหามะเมียะจึงพบทางตัน ไม่พบแม่ชีมะเมียะที่เมาะละแหม่ง กลับพบแต่แม่ชีชื่อด่อนางเหลี่ยน

    ต้นตอของชื่อมะเมียะเกิดขึ้นที่ปากซอยศิริธร (ซอยนี้ชื่อเดียวกับนามสกุลคุณปราณี อยู่ติดกับวัดป่าเป้าด้านทิศตะวันตก ถนนมณีนพรัตน์ เมืองเชียงใหม่) ตรงปากซอยแต่เดิมเป็นห้องแถวเรือนไม้หลายห้อง ห้องแรกเป็นร้านซ่อมนาฬิกาถัดมาเป็นเรือนพัก ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ สุดท้ายเป็นร้านขายผลไม้ดอง ปัจจุบันรื้อปลูกเป็นตึกแถว ห้องที่ซ่อมนาฬิกาเป็นครอบครัวชาวไทใหญ่มีอยู่ 3 คน พ่อแม่และลูกสาว พ่อชื่อส่างอ่อง แม่ชื่อแม่นางเหม่ ส่วนลูกสาวเป็นครู จำชื่อไม่ได้ ครอบครัวนี้คุณปราณีรู้จักและสนิทสนมอย่างดี จึงน่าคิดว่าว่า คุณปราณีน่าจะนำชื่อของแม่นางเหม่มาใช้ เพราะชื่อจริงของแม่นางเหม่คือ แม่นางเมียะ ส่วนคำว่า “มะ” ในภาษาพม่าคือคำนำหน้าของผู้หญิงตั้งแต่เด็กจนเป็นสาว จึงไม่แปลกที่จะเรียกตัวละครนี้ว่า นางมะเมียะ ส่วนคำว่า “ด่อ” ใช้นำหน้าชื่อ ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เช่น ด่อนางเหลี่ยน


    </TH></TR><TR><TH scope=row align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="35%">[​IMG]</TD><TD width="65%">นี่คงเป็นเบื้องลึกและเบื้องหลังอีกข้อหนึ่งที่ทำให้คนที่สนใจและนักวิชาการหลาย ๆ ท่านติดตามหามะเมียะไม่พบในเมืองเมาะละแหม่ง และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รู้ว่า อันตัวตนของมะเมียะจริง ๆ นั้นมิใช่สาวชาวพม่าที่มีหน้าตาจิ้มลิ้มพริ้มเพรา สวยงามหยดย้อยดังที่คุณปราณีได้เขียนพร่ำพรรณนาเอาไว้ กลับเป็นหญิงสาวไทใหญ่แก่ ๆ ธรรมดา ๆ คนหนึ่ง และสำหรับความรักของคนทั้งสองนั้น ในความรู้สึกของผมบอกได้ว่า มันไม่ใช่ตำนานหรือประวัติศาสตร์หน้าใดหน้าหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ ความประสงค์ของคุณปราณีที่เขียนขึ้นนั้น เป็นเพียงต้องการจะเล่าถึงความรักของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง ต่างเชื้อชาติกันและไม่สมหวัง เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้ เพิ่มเติมสีสันให้น่าอ่าน น่าติดตามก็เท่านั้น และถ้าตอนนี้คุณปราณียังมีชีวิตอยู่ จะแน่ใจกันสักแค่ไหนว่าเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายจะได้รับคำตอนที่เป็นจริงว่า มะเมียะ นั้น เป็นเพียงนางในจิตนาการที่แต่งขึ้น หรือว่ามีตัวตนจริง ๆ กันแน่”
    ก่อนจะเขียนบทความนี้จบเพียง 2 วัน ผู้เขียนได้ไปสำรวจสถานที่ตามคำของ เหนือฟ้า ปัญญาดี ที่ซอยข้างวัดป่าเป้า ชุมชนไทใหญ่ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ พบว่า เรื่องที่ เหนือฟ้า ปัญญาดีเขียนไว้นั้น เป็นความจริงทุกประการ อีกทั้งยังได้สอบถามคุณลุงช่างตัดผมในซอยดังกล่าว ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คุณลุงส่างอ่องช่างซ่อมนาฬิกามีภรรยาชื่อ ป้าเมียะ ลูกสาวชื่อครูเนตร สอนหนังสืออยู่ที่อำเภอสารภี โรงเรียนอะไรก็จำชื่อไม่ได้ เสียดายวันที่ผู้เขียนไปเก็บข้อมูลไม่ได้พบคุณลุงปราณี จะได้ถามให้รู้ความไปเลย (คุณลุงเธอสิ้นบุญไปแล้ว เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540)



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TH></TR><TR><TH scope=row align=left>จดหมายถึงมะเมียฉบับสุดท้าย
    ปิดท้ายด้วยจดหมายฉบับนี้ เป็นของทายาทเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 9 มีถึงบรรณาธิการหนังสือ พลเมืองเหนือ อีกเช่นกัน เรื่อง การตีพิมพ์บทความชื่อ กู่มะเมียอยู่ที่ใด ผู้เขียนขอสรุปความมาเล่าต่อ ดังนี้

    “...กล่าวคือมีผู้เขียนบทความว่า ณ บริเวณกู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก มีกู่อยู่องค์หนึ่งศิลปะการก่อสร้างต่างไปจากกู่องค์อื่น คือมีรูปแบบอย่างพม่า ทำให้ผู้คนที่พบเห็นเข้าใจว่านี่คือกู่อัฐิของมะเมียะ ต่อข้อสงสัยนี้ ทางทายาทของเจ้าแก้วนวรัฐ จึงทำหนังสือชี้แจงว่า การนำพระอัฐิและอัฐิของผู้ใดไปประดิษฐานในบริเวณกู่แห่งนี้ นับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ดูแลรับผิดชอบ 2 ฝ่ายคือ (หนึ่ง) ฝ่ายสายตระกูล ณ เชียงใหม่ มีผู้ดูแลรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง (สอง) ฝ่ายวัดสวนดอก โดยความเห็นชอบของเจ้าอาวาส จะถือหลักปฏิบัติว่าต้องเป็นอัฐิบุคคลที่เป็นลูกหลานและเครือญาติของเจ้าหลวง และทั้งสองฝ่ายไม่เคยอนุญาตให้มีการนำอัฐิของบุคคลภายนอกเข้าไปไว้เลย แม้กระทั่งบุคคลใกล้ชิด เช่น หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ ชายาเจ้าแก้วนวรัฐ หรือคุณหญิงหม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ ต้องนำไปบรรจุไว้ ณ ที่แห่งอื่น จึงไม่เคยปรากฏหลักฐานว่า มีการนำอัฐิของมะเมียะมาไว้ในบริเวณกู่ดังกล่าว

    และกู่ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นของมะเมียะนั้นทางคณะทายาทเจ้าแก้วนวรัฐได้ขออนุญาตกรมศิลปากรดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในกู่ เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.2547 พบว่าเป็นกู่บรรจุอัฐิของเจ้าแม่ทิพโสม ธิดาของเจ้าราชบุตรธนันชัย โอรสในเจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าหลวงองค์ที่ 4...”

    เรื่องของเจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ ยังคงมนต์เสน่หาสำหรับผู้ชมชื่นเรื่องของการจากพราก ปริศนาอันได้แอบคิดเอาเองยิ่งล้ำเสน่ห์ บางเรื่องความจริงอาจไร้รส เรื่องเท็จอาจสุนทรีย์มากกว่า ถ้าเท็จ ๆ จริง ๆ ปน ๆ กัน ย่อมมันสุด ๆ เป็นธรรมดา เพราะสุนทรียรสบางเรื่องก็เป็นนิยายน้ำเน่า ให้ค้าง ๆ คา ๆ ไว้บ้าง เรื่องจึงจะคงค่าไปเนิ่นนิรันดร์


    </TH></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]

    นี่เป็นกู่เจ้าน้อยสุขเกษมคะ หญิงทิพย์ไปดูมาแล้ว
    ขอบอกอย่าหนึ่งคะเจ้าน้อยสุขเกษมหล่อมากเลยคะ คนสมันนั้นหล่อจิงๆ ^^​

    [​IMG]

    แต่น่าเสียดาย...ไม่มีรูปมะเมี้ยะ คาดว่าเป็นสามัญชนคนธรรมดาเลยไม่มีรูปถ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐานบ้าง
    ไม่งั้นคงได้เห็นว่ามะเมี๊ยะงามจ๊าดแค่ไหน.... แต่บางทีการไม่เห็นหน้า...
    จินตนาการอาจทำให้มะเมี๊ยะสวยงามยิ่งในความทรงจำของผู้ที่ได้รู้เรื่องราวเธอก็ว่าได้
    ภาพมะเมี๊ยะตามจินตนา​

    """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""​

    เรื่องราวจาก compass หนังสือ free copy ของเชียงใหม่​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กุมภาพันธ์ 2011
  14. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    ที่ใดมีรักที่นั่นขื่นขม ระทมดวงฤทัย...แล้วไยคนเราถึงเรียกหารัก-*-...ก็ยังตอบตัวเองไม่ได้เสียที555+...เห้อ...มีก็เหนื่อยไม่มีก็เหนื่อยมีก็สุขไม่มีก็สุขมีก็ทุกข์ไม่มีก็ทุกข์...-*-...ความรักนี้ถ้าใช้ทางถูกก็คงจะดีถ้าผิดก็เสียคน...อ่านแล้วเศร้าใจเป็นยิ่งนักพี่เอย...
     
  15. ม่อนดอยด์

    ม่อนดอยด์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +349
    แผนที่ต้นไม้ "ใหญ่ ใหญ่" ในจังหวัด "เล็ก เล็ก" ที่ฉันเกิด

    ฉันรักเชียงใหม่จัง

    ที่เชียงใหม่มีโครงการหนึ่งคะเป็นโครการช่วยอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ในตัวเชียงใหม่ จริงๆแล้วหญิงทิพย์ก้อเห็นต้นไม่พวกนั้นตั้งแต่เด็กเเต่เล็กแต่เราไม่เคยใส่ใจมันเลยคะ บางต้นอายุเป็นร้อยๆปีแล้วมันก็สวยมาก อยู่ริมคูเมืองบ้าง อยู่ติดกับกำแพงเมืองเก่าบ้าง บางทีเรื่องเล็กๆน้อยๆ
    ถ้าเราไม่มองข้ามมันไป มันก็ทำให้เรามีความสุขในใจได้เหมือนกันคะ ​

    ที่เชียงใหม่ นอก จากแผนที่ทั่วไปแล้วยังมีแผนที่ต้นไม่ด้วยนะคะ เริ่ด มะ ห้าๆๆ
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กุมภาพันธ์ 2011
  16. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    เห็นในทีวีแล้วล่ะต้นอายุไม่ธรรมดาเลย...
     
  17. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    งามแต้ๆเจ้า...
     
  18. ม่อนดอยด์

    ม่อนดอยด์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +349
    น้อง yayas พี่ก็ไม่เคยรู้เรื่องเอื้อผึ้งจันทร์ผา เคยได้ยินเป็นชื่อร้านอาหาร หึๆ ขอบคุณสำหรับข้อความเรื่องเอื้องผึ้งจันทร์ผา ทำไมสาวๆ ทางเหนือ มีแต่รักแบบเศร้าๆ ไม่มีhappy ending เลย สงสัยเพราะ happy ending มันเลยไม่มีอารายจะมาเล่ารึเป่า คิคิ
     
  19. Pompaka

    Pompaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    380
    ค่าพลัง:
    +351
    ฟังเพลงเอื้องผึ้ง จันผา แล้วนึกถึงละครเรื่อง เมื่อดอกรักบาน เลยนะคับ ^_^
     
  20. ม่อนดอยด์

    ม่อนดอยด์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +349
    เอาต้นไม้สวยๆ ในเชียงใหม่ที่หญิงทิพย์คุ้นเคยแต่เด็กๆมาให้ดูคะ

    [​IMG]

    นี่เป็นต้นไม้ใหญ่ต้นจามจุรี อยู่ในสนามกอล์ฟแถวบ้านคะ สนามกอล์ฟ ยิมคานา เห็นแต่เล็กๆแล้ว อายุประมาณ 150ปีเห็นจะได้คะ ต้นนี้หญิงทิพย์ชอบเพราะตรงก้านมันจะมีต้นไม้เล็กๆพวกกาฝากติดอยู่ แล้วกิ่งก้านแผ่สาขา คลาสสิคสุดๆ
    สวยมากเลย

    [​IMG]
    "ต้นยางต้นนี้ปลูกสมัยพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองเชียงใหม่ องค์ที่ 1 วงศ์ทิพยจักร(พ.ศ.2324-2358)"สูงประมาณ 40 เมตร บวกๆ คะ อายุ ประมาณ 200 ปีกว่าๆ สูงมากๆ คุ้นเคยเพราะว่า หญิงทิพย์ ชอบไปวัดนี้คะ วัดเจดีย์หลวง

    [​IMG]
    ถนนเส้นนี้เริ่มจาก ถนน เชียงใหม่-ลำพูน ถึง สารภึคะ เป็นถนนเส้นหน้าบ้านหญิงทิพย์เองคระ สองข้างทางจะเต็มไปด้วยต้นยาง อายุเฉลี่ย100-150 ปี มีต้นไม้ประมาณ 1000 ต้น บวกๆ นะคะ แต่บางต้นก็ตายแล้วบ้าง สวยแต่บางครั้งมันก็อันตรายคะ หลายคนกิ่งต้นยางตกลงมาทับก็มี หนึ่งในร้อยเลย โชคดีสุดๆ​

    พอแระ ง่วง zzz.........ฉุด ๆ
    ฝันดีคะทุกคน ​

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1353897/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...