หัวใจพระพุทธศาสนา จุดหมายของพระพุทธศาสนาคือพระนิพพาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 5 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    [​IMG]

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ในวันมาฆะบูชา

    โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน
    ๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)
    ๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
    ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
    ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
    ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสมังคี คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.

    ประวัติ
    วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๓ หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน ๘ สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๔ หรือประมาณเดือนมีนาคม
    วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า "มาฆปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ ถือเป็น "วันจาตุรงคสันนิบาต" แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ
    ๑. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
    ๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
    ๓. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
    ๔. วันที่มาประชุม ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน ๓) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์
    <o:p></o:p>
    โอวาทปาติโมกข์ คือ ข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการ ได้แก่ ๑. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง เว้นจากความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
    ๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม ด้วยกาย วาจา ใจ
    ๓. ทำจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์ผ่องใส
    <o:p>
    หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้มาเป็นเวลา ๙ เดือนแล้ว เมื่อถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๓ ( มาฆปุรณมี ) ซึ่งตรงกับวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ โดยพราหมณ์เรียกว่าวันศิวาราตรี คือวันทำพิธีลอยบาปของพราหมณ์ พระพุทธองค์ได้ประทับ ณ เวฬุวนาราม ( วัดเวฬุวัน ) เมืองราชคฤห์
    <o:p></o:p>
    ครั้งนั้นได้มีพระอรหันต์ขีณาสพเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ คือพระอรหันต์ซึ่งอยู่ในคณะของพระอุรุเวลกัสสปเถระ พระนทีกัสสปเถระ และพระคยากัสสปเถระรวม ๑,๐๐๐ องค์ กับพระอรหันต์ซึ่งอยู่ในคณะของพระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานะเถระ ๒๕๐ องค์ รวมทั้งสองคณะเป็น ๑,๒๕๐ องค์ ได้พร้อมกันไปเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเห็นเป็นนิมิตอันดี จึงได้เสด็จท่ามกลางพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์นั้นแสดง โอวาทปาติโมกข์ทรงทำวิสุทธิอุโบสถประทานธรรมอันเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนาสำหรับพระสาวกสืบไป
    <o:p></o:p>
    ๏ การมาชุมนุมของพระสาวกของพระพุทธองค์ในครั้งนี้ นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่แปลกกว่าทุกคราวในสมัยพุทธกาล เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาตซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
    - พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายมาก่อน
    - พระสงฆ์เหล่านั้นเป็น เอหิภิกขุคือพระพุทธองค์อุปสมบทให้ด้วยพระองค์เอง
    - พระสงฆ์เหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
    - ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ ( ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ )
    <o:p></o:p>
    โอวาทปาติโมกข์ : คือหลักคำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสเป็พระคาถา รวม ๓ พระคาถาครึ่งดังนี้
    <o:p></o:p>
    พระคาถาที่ ๑
    ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
    <o:p></o:p>
    พระคาถาที่ ๒
    สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ
    <o:p></o:p>
    พระคาถาที่ ๓
    อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
    มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
    <o:p></o:p>
    ครึ่งพระคาถา
    อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ
    <o:p></o:p>
    ใจความแห่งพระปาติโมกข์ นั้น มีดังนี้
    ในพระคาถาที่ ๑ พระองค์ทรงแสดงถึงคุณธรรมคือขันติ ความอดทนอดกลั้น ว่าเป็นเครื่องอุดหนุนให้บุคคลบรรลุบรมธรรมคือพระนิพพาน พร้อมทั้งทรงแสดงลักษณะของบุคคลผู้เป็นบรรพชิตหรือสมณะไว้ว่า บุคคลผู้ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นให้ลำบาก หาชื่อว่าเป็นบรรพชิตหรือสมณะไม่
    <o:p></o:p>
    ในพระคาถาที่ ๒ พระองค์ทรงแสดงถึงหลักคำสอนที่สำคัญซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกได้นำไปใช้เป็นหลักในการเผยแพร่และสั่งสอนไว้ ๓ ประการคือ
    ๑ เว้นจากทุจริต คือการประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ( ไม่ทำชั่ว )
    ๒ ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ( ทำแต่ความดี )
    ๓ ทำจิตใจของตนให้หมดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง ( ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว )
    <o:p></o:p>
    ในพระคาถาที่ ๓ กับอีกครึ่งพระคาถา พระองค์ทรงแสดงถึงปฏิปทา ข้อสำหรับปฏิบัติตนของพระสงฆ์สาวก ๖ ประการคือ
    ๑ ห้ามมิให้ว่าร้ายผู้อื่น
    ๒ ห้ามมิให้เบียดเบียนผู้อื่น
    ๓ ต้องสำรวมในพระปาติโมกข์ คือไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทบัญญัติ
    ๔ ต้องรู้จักประมาณในการแสวงหาและในการบริโภคใช้สอย
    ๕ ควรอยู่ในสถานที่อันสงบเงียบ เพื่อ
    ๖ ประกอบความเพียรในอธิจิต คือชำระจิตให้ปราศจากนิวรณธรรมูปกิเลส มีกามฉันท์เป็นต้น เพื่อให้เกิดมีสมาธิและปัญญา รู้เท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในที่สุด
    <o:p></o:p>
    ๏ ตั้งแต่นั้นมา ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือนพระองค์ก็ทรงยกขึ้นตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ในที่ประชุมเสมอ แต่ภายหลังได้ทรงยกเลิกเสีย แล้วทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์เอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้มาสวดในที่ประชุมแทน ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า สวดปาติโมกข์ หรือ ลงปาติโมกข์ นั่นเอง

    <o:p></o:p>
    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เชิญท่านแวะชมและโมทนาบุญ
    มีข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มจากเดิมอีกหลายรายการครับ

    [​IMG]
    </o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2009
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ . . . ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ขอบคุณครับ

    95702fm9.gif
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อนุโมทนาสาธุค่ะ _/l\_

    ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
    มาฆปุรณมีบูชา เวียนมาบรรจบครบอีกรอบ

    น้อมใจกันปฏิบัติตามพระโอวาทถวายเป็นพุทธบูชา

    (smile)
     
  4. เพียงพบ

    เพียงพบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    932
    ค่าพลัง:
    +1,275
    กราบอนุโทนาในธรรมทานค่ะ
     
  5. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    สาธุค่ะ อนุโมทนาทั้งหมดทั้งมวลด้วยค่ะ
     
  6. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้ร่วมกันทำบุญ
    สร้างกุศลทุกอย่างในกาลนี้ด้วยครับ
    การสะสมบุญ คือ การสะสมความสุข
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    [​IMG]
     
  7. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...