ใบแปะก๊วย เสริมความจำ บำรุงสมอง จริงหรือ?

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 2 เมษายน 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ใบแปะก๊วย เสริมความจำ บำรุงสมอง จริงหรือ?


    [​IMG]


    ใบแปะก๊วย

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    อีก หนึ่งสมุนไพรที่คนกำลังกล่าวถึงกันมากในขณะนี้ก็คือ "ใบแปะก๊วย" ซึ่ง เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน และเชื่อกันว่า มีสรรพคุณบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ วันนี้กระปุกดอทคอม จะพาคนรักสุขภาพ ไปไขข้อข้องใจกันค่ะ

    สำหรับ "แปะก๊วย" (Ginkgo biloba : กิงโกะ บิโลบา) จะเรียกว่าเป็นพืชโบราณก็ว่าได้ เพราะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ โดยคำภาษาจีน ออกเสียงว่า "หยินซิ่ง" ซึ่งแปลว่า ลูกไม้สีเงิน ต่อมาได้มีผู้นำ "แปะก๊วย" เข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า "อิโจว" หรือ "คินนัน" ซึ่งมีความหมายไม่แตกต่างกับประเทศจีน

    ทั้งนี้เมื่อ พูดถึง "แปะก๊วย" คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักเม็ดสีเหลือง ๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสมของขนมหวานหลาย ๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นบะจ่าง แปะก๊วยนมสด แปะก๊วยต้มน้ำตาล ฯลฯ มากกว่า "ใบแปะก๊วย" ซึ่งมีหลายคนบอกว่า จริง ๆ แล้ว "ใบแปะก๊วย" นี่แหละที่มีประโยชน์มากกว่าผลแปะก๊วยเสียอีก


    [​IMG]

    ว่าแล้วเรามารู้จัก "ใบแปะก๊วย" กันเลยดีกว่า

    "ใบ แปะก๊วย" มีลักษณะเป็นใบสีเขียวแยกเป็น 2 กลีบ คล้ายใบพัด มีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบแล้ว ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงจากต้นภายในไม่กี่วัน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ครั้งแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1436 หรือเมื่อประมาณเกือบ 600 ปีที่แล้ว ในสมัยราชวงศ์หมิง ประเทศจีน ปัจจุบัน ใบแปะก๊วย เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในเอเชีย ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา เพราะเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ

    ทั้ง นี้ หากนำใบแปะก๊วยไปสกัดด้วยตัวทำละลาย จะได้สารสกัดไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) มีฤทธิ์้ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ และยังมีสรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน

    ส่วนผู้ป่วยโรคหอบหืด หากรับประทาน "ใบแปะก๊วย" ก็สามารถป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมได้ หรือใครที่มีอาการปวดขา การทาน "ใบแปะก๊วย" ก็ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังประสาทมือและเท้า ลดอาการปวดต่าง ๆ ได้เช่นกัน

    นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.1996 มีการทดลองพบว่า "ใบแปะก๊วย" สามารถช่วยป้องกันอาการผิดปกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูง (Asthma & Acute Mountain Sickness : AMS) ได้ รวมทั้งกำลังมีการศึกษาว่า "ใบแปะก๊วย" อาจมีสรรพคุณลดภาวะอาการหูอื้อลงได้ด้วย


    ขณะที่การโฆษณาสรรพคุณ ของใบแปะก๊วยส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของประสิทธิภาพในการเพิ่มความจำ และบำรุงสมอง หลังจากเคยมีการวิจัยทางคลินิกบางแห่งพบว่า การสกัดใบแปะก๊วยนอกจากจะได้สารไบโอฟลาโวนอยด์แล้ว ยังจะได้สารไบโลบาไลด์ (Bilobalides) และกิงโกไลด์ (Ginkgolides) ซึ่งเชื่อกันว่า มีผลต่อความจำ และบำบัดอาการสมองเสื่อม เพราะสารทั้งสองตัวนี้ จะไปเพิ่มการหมุนเวียนโลหิตที่สมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น จึงช่วยเรื่องความจำได้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจจะสามารถป้องกันโรคความจำเสื่อม สมองฝ่อ อาการขี้หลงขี้ลืม วิงเวียนหน้ามืด โรคซึมเศร้าได้ด้วย

    อย่าง ไรก็ตาม การวิจัยทางคลินิกหลายแห่งก็ยังไม่ได้สนับสนุนถึงสรรพคุณด้านนี้อย่างแน่ชัด โดยมีงานวิจัยบางแห่งกลับเห็นตรงกันข้ามว่า "ใบแปะก๊วย" อาจไม่มีความสามารถในการป้องกันอาการอัลไซเมอร์ หรือเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ ขณะที่งานวิจัยที่ระบุว่า "ใบแปะก๊วย" ให้ผลดีต่อสมอง ก็ยังมีข้อมูลไม่มากนัก ฉะนั้นแล้ว จึงยังไม่มีสถาบันใดออกมายืนยันชัดเจนถึงสรรพคุณข้อนี้ของ "ใบแปะก๊วย" จึงคงต้องรอการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมให้ได้ข้อมูลมากกว่านี้ต่อไป

    แต่ ถึงแม้สรรพคุณของ "ใบแปะก๊วย" ในด้านการบำรุงสมองจะยังไม่แน่ชัด แต่เราก็เห็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใบแปะก๊วย ใบแปะก๊วยแคปซูล วางขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในทวีปยุโรปเอง โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน การจะรับประทาน "ใบแปะก๊วย" ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น

    เช่นเดียวกับที่ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ระบุข้อกำหนดในการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย ไว้ด้วยดังนี้

    1.ใน การใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นยาแผนปัจจุบัน จะต้องมีข้อบ่งใช้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ รวมทั้งโรคของหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ โดยให้รับประทาน 40 มิลลิกรัม วันละ 3-4 เม็ด

    ทั้งนี้ สารสกัดจากใบแปะก๊วยจัดเป็นยาอันตราย ต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน และไม่ให้มีโฆษณาสรรพคุณต่อสาธารณะ

    2.ใน การใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นยาแผนโบราณ ให้ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่น ๆ ว่ามีสรรพคุณบำรุงร่างกาย และอนุญาตสรรพคุณของตำรับเป็นยาบำรุงร่างกาย

    3.ในการใช้สารสกัดแปะ ก๊วย เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะต้องได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากอาหาร โดยอนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม และจะต้องไม่ระบุสรรพคุณใด ๆ ในการบำบัดรักษาโรคเลย

    [​IMG]

    อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อแนะนำไม่ให้ใช้ "ใบแปะก๊วย" กับคน 3 กลุ่ม คือ

    1.ผู้ ที่ใช้สารป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (Anti-coaggulant) เช่น ยา Warfarin , แอสไพริน , อิบูโพรเฟน และผู้ที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากใบแปะก๊วย มีผลทำให้เกิดเลือดออกตามร่างกายได้

    2.ผู้ป่วย ที่ความดันสูง หรือความดันต่ำกว่าปกติ หรือใช้ยาอยู่ เพราะใบแปะก๊วยจะไปทำให้หลอดเลือดขยาย และลดความดันลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ความดันต่ำลงมากเกินไปได้

    3.สตรีมีครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

    นอก จากนี้ ในบางคนหากทานใบแปะก๊วยมากเกินไป อาจได้รับผลข้างเคียง เช่น มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย ปั่นป่วนในระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจผิดปกติและหลอดเลือดผิดปกติ ผิวหนังมีอาการแพ้ เป็นต้น ซึ่งหากใครมีอาการลักษณะที่กล่าวมา ควรหยุดทานทันที

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

    Foundation for Consumers

    Ginkgo biloba - Wikipedia, the free encyclopedia

    "
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เบื้องหลังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชื่อดัง

    เรา มักมีความเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพนั้นมี ประโยชน์ต่อร่างกายเราแท้ที่จริงแล้วเป็นอย่างนั้นแน่หรือ กินแล้วมีประโยชน์จริงหรือ กินแล้วช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือไม่ ยังคงเป็นปัญหาที่นักวิชาการหลายท่านก็ยังไม่สามารถที่จะให้คำตอบและยืนยัน ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
    นอก จากเราไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพเหล่านี้มีประโยชน์ หรือไม่อย่างไรแล้ว เรากลับพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้กลับพกพาเอาโทษที่ร้าย แรงตามมาหากมีการใช้ที่ไม่ถูกต้องด้วย ผลิตภัณฑ์ที่เราอาจเรียกได้ว่ามีปัญหานั้นก็มีอยู่ หลายตัว ปัญหาในที่นี้อาจก่อเกิดมาจากตัวของสารสกัดในตัวผลิตภัณฑ์ก็ดี หรือจะเป็น ปัญหาที่เกิดจากตัวผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ก็นับว่าส่งผลเสียทั้งนั้น ต่อไปนี้ จะขอเสนอผลิตภัณฑ์ที่ยังมีปัญหาและควรระมัดระวังในการบริโภค


    แป๊ะก๊วย

    แป๊ะ ก๊วย คืออะไร แป๊ะก๊วยคือไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออก เฉียงใต้ของจีน ได้มีการนำแป๊ะก๊วยมาใช้ในทางการยา ในตำราของจีน ใช้เป็นยาชง ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคหืด โรคปอด และโรคหัวใจ ในปัจจุบันมีการผลิตในรูปแบบของ สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย เพื่อช่วยในการรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน และ แสดงอาการความเสื่อมของสมอง โดยใช้สารสกัดนี้ช่วยในการบรรเทาอาการดังกล่าว
    การ โฆษณาเกี่ยวกับสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยว่า ช่วยในการป้องกันหรือรักษาโรค สมองเสื่อมทำให้มีคำถามขึ้นมาว่า ช่วยได้จริงหรือเพราะว่า หลายคนที่กินก็ไม่สามารถ บอกได้ว่าความจำดีขึ้นหรือไม่
    แป๊ะก๊วย มีการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไว้ 3 แบบ ได้แก่ ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณ และขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร
    ทะเบียนยาแผนปัจจุบัน มีขนาดความแรงของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย 40 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 3-4 เม็ด โดยมีข้อบ่งใช้คือ
    1. โรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
    2. การไหลเวียนของเลือดส่วนขอบผิดปกติ รวมทั้งโรคของเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
    3. การไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ

    ทะเบียน ยาแผนโบราณ ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาแผนโบราณเหล่านี้อนุญาตให้แสดงสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกายเท่านั้น
    การ ขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร อนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม โดยมากที่มาขออนุญาต จะมีขนาดของสารสกัด 50 มิลลิกรัม หากขออนุญาตเป็นอาหารจะไม่อนุญาตให้แสดงสรรพคุณในลักษณะที่เป็นยา

    สารออกฤทธิ์ในใบแป๊ะก๊วย
    จากการนำใบแป๊ะก๊วยมาสกัดหาสารออกฤทธิ์สำคัญ สารที่ได้จากการสกัดเป็น สาร Terpene lactone ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด เช่น
    1. Flavoneglycosides
    2. Ginkgolidi
    3. Bilobalide
    4. Proanthocyanides
    5. Carboxillic acid
    6. Catechines
    7. อื่นๆ
    (ข้อ สังเกต ใบแป๊ะก๊วยที่ปลูกต่างที่กันจะมีสารออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เพาะปลูก เช่น เรื่องธาตุอาหารในดิน สภาพอากาศ ฯลฯ)
    สาร ในลำดับที่ 1-3 หากอยู่ร่วมกันจะมีผลในเรื่องการรักษา แต่หากแยกกันพบว่า ไม่มีผลในด้านการรักษา สารละลายที่ใช้ในการสกัดใบแป๊ะก๊วยนั้นประกอบด้วยน้ำและ สารละลายไขมัน ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้สารละลายในลำดับที่ 1-3 จำนวนมาก ดังนั้นผู้ผลิตจึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้สารละลายที่เหมาะสม ปัญหาคือผลิตภัณฑ์ที่มี จำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันมีความหลากหลายในคุณภาพของวัตถุดิบและกระบวนการ ผลิตทำให้คุณภาพน่าเป็นห่วง
    ข้อ ควรระวัง สารสกัด Ginkgolidi นั้นพบว่ามีผลต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้น สารสกัดใบแป๊ะก๊วยจึงมีข้อห้ามใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และสารสกัดบางตัวมีผลต้านฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ซึ่งเชื่อกันว่าสารอนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของความชราและความเจ็บป่วย
    สารสกัดใบแป๊ะก๊วยที่ทำในรูปยา จะสกัดส่วนที่เป็นพิษซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ คือ anacardic acid และ ginkolic acid ให้ต่ำกว่า 5 ppm
    ดังนั้นสารสำคัญใบแป๊ะก๊วยในรูปยา จึงมักใช้สัญลักษณ์ EGb 761
    จาก การศึกษาทางคลินิกและจากการรายงานการใช้ยานี้พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนมาก มีอาการอันไม่พึงประสงค์ เช่น เกิดอาการปั่นป่วนในทางเดินอาหาร ปวดศีรษะ มึนงง มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ผื่นแพ้ ง่วงซึม ความผิดปกติของระบบ ประสาท และการนอนหลับผิดปกติ
    สำหรับ สรรพคุณอื่น ๆ ที่มีการกล่าวอ้าง เช่น รักษาโรคความจำเสื่อม สมองฝ่อ และการใช้สารแป๊ะก๊วย ในลักษณะที่เป็นใบในการชงกินแบบชา เพื่อช่วยในการบำรุงความจำหรือช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมนั้นพบว่าไม่มีผล อะไร จึงเข้าข่ายในการหลอกลวง ผู้บริโภคได้ เนื่องจากการสกัดใบแป๊ะก๊วยนั้น ต้องใช้สารละลายทางเคมี ดังที่กล่าวมา แล้วข้างต้น
    ดังนั้นการที่นำมาตากแดดแล้วนำไปชงกินจึงได้เพียงกลิ่นและรสเท่านั้น
    สรุป ว่า การกินสารสกัดใบแป๊ะก๊วย ควรต้องคำนึงถึงขนาดที่จะใช้ต่อวัน ระยะ เวลาที่ต้องกินเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ต้องไม่นาน คือประมาณ 2 - 3 เดือน เพื่อ ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงข้างต้น อีกทั้งสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยยังมีราคาค่อนข้าง แพงอีกด้วย จึงควรพิจารณาถึงความจำเป็นในการที่จะซื้อมากินด้วยว่ามันคุ้มกัน หรือไม่อย่างไร




    Foundation for Consumers

    Foundation for Consumers

    .
     
  3. คาคะ

    คาคะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    424
    ค่าพลัง:
    +1,533
    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆๆคะกำลังคิดว่าจะหามากินอยู่คะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...