ท้าวสักกะ......ที่ปรากฏมาในพระไตรปิฎก.

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย เมเฆนทร์, 4 เมษายน 2011.

  1. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    ท้าวสักกะ
    มีคุณความดีในพระพุทธศาสนา
    มามากมาย
    ข้าพเจ้ามีความประสงค์
    ที่จะประกาศคุณความดีของท่าน
    ในฐานะที่ท่าน
    เป็นโพธิสัตว์ดวงหนึ่ง



    โปรดติดตามนะครับ





    [​IMG]



    ........................................................





    เรื่องท้าวสักกะ




    ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองเวสาลี ประทับอยู่ในกูฏาคารศาลา<SUP>๑-</SUP> ทรงปรารภท้าว<WBR>สักก<WBR>เทว<WBR>ราช ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “อปฺปมาเทน มฆวา” เป็นต้น.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ศาลาดุจเรือนยอด.

    <CENTER>
    เหตุที่ท้าวสักกะ<WBR>ได้พระนามต่างๆ </CENTER> ความพิสดารว่า เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ อยู่ในเมืองเวสาลี. พระองค์ทรงสดับเทศนาในสักกปัญหสูตร<SUP>๑-</SUP> ของพระตถาคตแล้ว ทรงดำริว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมตรัสสมบัติของท้าวสักกะไว้มากมาย, พระองค์ทรงเห็นแล้วจึงตรัส หรือไม่ทรงเห็นแล้วตรัสหนอแล? ทรงรู้จักท้าวสักกะหรือไม่หนอ? เราจักทูลถามพระองค์.”
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP>
    ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๔๗.

    ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ เข้าไปเฝ้าถึงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่, ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เจ้ามหาลิลิจฉวี ครั้นนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะผู้จอมแห่งเทพทั้งหลาย พระองค์ทรงเห็นแล้วแลหรือ?”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย อาตมภาพเห็นแล้วแล.”
    มหาลิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท้าวสักกะนั้นจักเป็นท้าวสักกะปลอมเป็นแน่, เพราะว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย บุคคลเห็นได้โดยยาก พระเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาลิ อาตมภาพรู้จักทั้งตัวท้าวสักกะ ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะ ก็ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะ เพราะสมาทานธรรมเหล่าใด, อาตมภาพก็รู้จักธรรมเหล่านั้นแล.
    มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อนเป็นมนุษย์ ได้เป็นมาณพชื่อมฆะ, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ‘ท้าวมฆวา’;
    มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อนเป็นมนุษย์ ได้ให้ทานก่อน (เขา), เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ‘ท้าวปุรินททะ’;
    มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อนเป็นมนุษย์ ได้ให้ทานโดยเคารพ, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ‘ท้าวสักกะ’;
    มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อนเป็นมนุษย์ ได้ให้ที่พักอาศัย, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ‘ท้าววาสวะ’;
    มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ทรงดำริข้อความตั้งพันได้โดยครู่เดียว, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ‘สหัสสักขะ’<SUP>๑-</SUP>;
    มหาลิ นางอสุรกัญญาชื่อสุชาดา เป็นพระปชาบดีของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ‘ท้าวสุชัมบดี’;
    มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งจอมเทพทั้งหลาย เสวยราชสมบัติเป็นอิสริยาธิปัตย์แห่งเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ‘เทวานมินทะ’;
    มหาลิ ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะแล้ว เพราะได้สมาทานวัตตบท ๗ ใด, วัตตบท ๗ นั้นได้เป็นอันท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ซึ่ง (ครั้ง) เป็นมนุษย์ในกาลก่อน สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว;
    วัตตบท ๗ ประการเป็นไฉน? คือ
    เราพึงเป็นผู้เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต;
    พึงเป็นผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต;
    พึงเป็นผู้พูดอ่อนหวานตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้ไม่พูดส่อเสียดตลอดชีวิต;
    พึงมีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีเครื่องบริจาคอันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว<SUP>๒-</SUP> ยินดีแล้วในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน พึงอยู่ครอบครองเรือนตลอดชีวิต;
    พึงเป็นผู้กล่าวคำสัตย์ตลอดชีวิต;
    พึงเป็นผู้ไม่โกรธตลอดชีวิต;
    ถ้าความโกรธพึงเกิดแก่เราไซร้ เราพึงหักห้ามมันเสียพลันทีเดียว ดังนี้,
    มหาลิ ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะ เพราะได้สมาทานวัตตบท ๗ ใด, วัตตบท ๗ นั้น ได้เป็นของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย (ครั้ง) เกิดเป็นมนุษย์ในกาลก่อน สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ฉะนี้แล.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> สหสฺสกฺโข แปลว่า ผู้เห็นอรรถตั้งพัน.
    <SUP>๒-</SUP> หมายความว่า เตรียมหยิบสิ่งของให้ทาน.

    (พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคำไวยากรณ์นี้แล้ว, ได้ตรัสพระพุทธพจน์ภายหลังว่า)

    ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยงมารดาบิดา
    มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล กล่าวถ้อยคำ
    ไพเราะ อ่อนหวาน ละวาจาส่อเสียด ประกอบในอันกำจัด
    ความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ข่มความโกรธได้ นั้นแลว่า
    สัปบุรุษ.
    <SUP>๓-</SUP>
    ____________________________
    <SUP>๓-</SUP>
    สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๙๑๒-๙๑๕.
    <CENTER>
    ท้าวสักกะบำเพ็ญกุศลเมื่อเป็นมฆมาณพ </CENTER> พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “มหาลิ กรรมนี้ท้าวสักกะทำไว้ในคราวเป็นมฆมาณพ” ดังนี้แล้ว อันมหาลิลิจฉวีใคร่จะทรงสดับข้อปฏิบัติของท้าวสักกะนั้นโดยพิสดาร จึงทูลถามอีกว่า “มฆมาณพปฏิบัติอย่างไร? พระเจ้าข้า” จึงตรัสว่า “ถ้ากระนั้น จงฟังเถิดมหาลิ” ดังนี้แล้ว
    ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

    <CENTER>
    เรื่องมฆมาณพ </CENTER> ในอดีตกาล มาณพชื่อว่ามฆะ ในอจลคามในแคว้นมคธ ไปสู่สถานที่ทำงานในบ้าน คุ้ยฝุ่นด้วยปลายเท้าในที่แห่งตนยืนแล้ว ได้ทำให้เป็นรัมณียสถาน<SUP>๑-</SUP> แล้วพักอยู่. อีกคนหนึ่งเอาแขนผลักเขา นำออกจากที่นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง. เขาไม่โกรธต่อคนนั้น ได้กระทำที่อื่นให้เป็นรัมณียสถานแล้วพักอยู่ คนอื่นก็เอาแขนผลักเขานำออกมาจากที่นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง. เขาไม่โกรธแม้ต่อคนนั้น ได้กระทำที่อื่นให้เป็นรัมณียสถานแล้วก็พักอยู่. บุรุษทั้งหลายที่ออกไปแล้วๆ จากเรือน ก็เอาแขนผลักเขา นำออกจากสถานที่เขาชำระแล้วๆ ด้วยประการฉะนี้.
    เขาคิดเสียว่า “ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นผู้ได้รับสุขแล้ว, กรรมนี้พึงเป็นกรรมให้ความสุขแก่เรา” ดังนี้แล้ว
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ที่น่ายินดี.

    วันรุ่งขึ้น ได้ถือเอาจอบไปทำที่เท่ามณฑลแห่งลานให้เป็นรัมณียสถานแล้ว. ปวงชนได้ไปพักอยู่ในที่นั้นนั่นแล. ครั้นในฤดูหนาว เขาได้ก่อไฟให้คนเหล่านั้น, ในฤดูร้อน ได้ให้น้ำ. ต่อมา เขาคิดว่า “ชื่อรัมณียสถาน เป็นที่รักของคนทั้งปวง, ชื่อว่าไม่เป็นที่รักของใครๆ ไม่มี, จำเดิมแต่นี้ไป เราควรเที่ยวทำหนทางให้ราบเรียบ” ดังนี้แล้ว จึงออกไป (จากบ้าน) แต่เช้าตรู่ทำหนทางให้ราบเรียบ เที่ยวตัดรานกิ่งไม้ที่ควรตัดรานเสีย.

    <CENTER>
    มฆมาณพได้สหาย ๓๓ คน </CENTER> ภายหลัง บุรุษอีกคนหนึ่งเห็นเขาแล้ว กล่าวว่า “ทำอะไรเล่า? เพื่อน.”
    มฆะ. ฉันทำหนทางเป็นที่ไปสวรรค์ของฉันละซิ, เพื่อน.
    บุรุษ. ถ้ากระนั้น แม้ฉันก็จะเป็นเพื่อนของท่าน.
    มฆะ. จงเป็นเถอะเพื่อน ธรรมดาสวรรค์ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก.
    ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้เป็น ๒ คนด้วยกัน. แม้ชายอื่นอีก เห็นเขาทั้งสองแล้ว ถามเหมือนอย่างนั้นนั่นแล พอทราบแล้ว ก็เป็นสหายของคนทั้งสอง แม้คนอื่นๆ อีกก็ได้ทำอย่างนั้น รวมคนทั้งหมดจึงเป็น ๓๓ คน ด้วยประการฉะนี้.

    <CENTER>
    สหาย ๓๓ คนถูกหาว่าเป็นโจร </CENTER> ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด มีมือถือวัตถุมีจอบเป็นต้น กระทำหนทางให้ราบเรียบไปถึงที่ประมาณ ๑ โยชน์ และ ๒ โยชน์.
    นายบ้านเห็นชายเหล่านั้นแล้วคิดว่า “มนุษย์เหล่านี้ประกอบแล้วในฐานะที่ไม่ควรประกอบ, แม้ถ้าชนเหล่านี้ พึงนำวัตถุทั้งหลายมีปลาและเนื้อเป็นต้นมาจากป่า, หรือทำสุราแล้วดื่ม, หรือทำกรรมเช่นนั้นอย่างอื่น, เราพึงได้ส่วนอะไรๆ บ้าง.”
    ลำดับนั้น นายบ้านจึงให้เรียกพวกนั้นมาถามว่า “พวกแกเที่ยวทำอะไรกัน?”
    ชนเหล่านั้น. ทำทางสวรรค์ ขอรับ.
    นายบ้าน. ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย จะทำอย่างนั้นไม่ควร, ควรนำวัตถุทั้งหลายมีปลาและเนื้อเป็นต้นมาจากป่า ควรทำสุราแล้วดื่มและควรทำการงานทั้งหลายมีประการต่างๆ.
    ชนเหล่านั้นคัดค้านคำของนายบ้านนั้นเสีย. แม้ถูกเขาว่ากล่าวซ้ำๆ อยู่ ก็คงคัดค้านร่ำไป. เขาโกรธแล้ว คิดว่า “เราจักให้พวกมันฉิบหาย.” จึงไปยังสำนักของพระราชา กราบทูลว่า “ข้าพระองค์เห็นพวกโจรเที่ยวไป ด้วยการคุมกันเป็นพวก พระเจ้าข้า” เมื่อพระราชาตรัสว่า “เธอจงไป, จงจับพวกมันแล้วนำมา”, ได้ทำตามรับสั่งแล้ว แสดงแก่พระราชา.
    พระราชามิทันได้ทรงพิจารณา ทรงบังคับว่า “พวกท่านจงให้ช้างเหยียบ.”

    <CENTER>
    ช้างไม่เหยียบเพราะอานุภาพแห่งเมตตา </CENTER> มฆมาณพได้ให้โอวาทแก่ชนที่เหลือทั้งหลายว่า “สหายทั้งหลาย เว้นเมตตาเสีย ที่พึ่งอย่างอื่นของพวกเรา ไม่มี, ท่านทั้งหลายไม่ต้องทำความโกรธในใครๆ จงเป็นผู้มีจิตเสมอเทียวด้วยเมตตาจิต ในพระราชา ในนายบ้าน ในช้างที่จะเหยียบ และในคน” ชนเหล่านั้นก็ได้ทำอย่างนั้น.
    ลำดับนั้น ช้างไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ เพราะอานุภาพแห่งเมตตาของชนเหล่านั้น. พระราชาทรงสดับความนั้นแล้ว ตรัสว่า “ช้างมันเห็นคนมาก จึงไม่อาจเหยียบได้, ท่านทั้งหลายจงไป, เอาเสื่อลำแพนคลุมเสียแล้วจึงให้มันเหยียบ.”
    ช้างอันเขาเอาเสื่อลำแพนคลุมชนเหล่านั้นไสเข้าไปเหยียบ ก็ถอยกลับไปเสียแต่ไกลเทียว.
    พระราชาทรงสดับประพฤติเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า “ในเรื่องนี้ ต้องมีเหตุ”, แล้วรับสั่งให้เรียกชนเหล่านั้นมาเฝ้า ตรัสถามว่า “พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าอาศัยเรา ไม่ได้อะไรหรือ?”
    พวกมฆะ. นี่อะไร? พระเจ้าข้า.
    พระราชา. ข่าวว่า พวกเจ้าเป็นโจรเที่ยวไปในป่า ด้วยการคุมกันเป็นพวก.
    พวกมฆะ. ใครกราบทูลอย่างนั้น พระเจ้าข้า?
    พระราชา. นายบ้าน, พ่อ.
    พวกมฆะ. ขอเดชะ พวกข้าพระองค์ไม่ได้เป็นโจร, แต่พวกข้าพระองค์ชำระหนทางไปสวรรค์ของตนๆ จึงทำกรรมนี้และกรรมนี้, นายบ้านชักนำพวกข้าพระองค์ในการทำอกุศล ประสงค์จะให้พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ทำตามถ้อยคำของตนฉิบหาย โกรธแล้ว จึงกราบทูลอย่างนั้น.

    <CENTER>
    ชน ๓๓ คนได้รับพระราชทาน </CENTER> ทีนั้น พระราชาทรงสดับถ้อยคำของชนเหล่านั้น เป็นผู้ถึงความโสมนัส ตรัสว่า “พ่อทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานนี้ ยังรู้จักคุณของพวกเจ้า, เราเป็นมนุษย์ ก็ไม่อาจรู้จัก, จงอดโทษแก่เราเถิด”, ก็แล ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว ได้พระราชทานนายบ้านพร้อมทั้งบุตรและภริยาให้เป็นทาส, ช้างตัวนั้นให้เป็นพาหนะสำหรับขี่, และบ้านนั้นให้เป็นเครื่องใช้สอยตามสบายแก่ชนเหล่านั้น.
    <CENTER>
    มฆมาณพกับพวกสร้างศาลา </CENTER> พวกเขาพูดกันว่า “พวกเราเห็นอานิสงส์แห่งบุญในปัจจุบันนี้ทีเดียว”, ต่างมีใจผ่องใสโดยประมาณยิ่ง ผลัดวาระกันขึ้นช้างนั้นไป ปรึกษากันว่า “บัดนี้ พวกเราควรทำบุญให้ยิ่งขึ้นไป”, ต่างไต่ถามกันว่า “พวกเราจะทำอะไรกัน?” ตกลงกันว่า “จักสร้างศาลาเป็นที่พักของมหาชนให้ถาวร ในหนทางใหญ่ ๔ แยก.” พวกเขาจึงสั่งให้หาช่างไม้มาแล้วเริ่มสร้างศาลา, แต่เพราะปราศจากความพอใจในมาตุคาม จึงไม่ได้ให้ส่วนบุญในศาลานั้นแก่มาตุคามทั้งหลาย.
    <CENTER>
    มฆมาณพมีภริยา ๔ คน </CENTER> ก็ในเรือนของมฆมาณพ มีหญิง ๔ คน คือนางสุนันทา สุจิตรา สุธรรมา สุชาดา. บรรดาหญิง ๔ คนนั้น นางสุธรรมาคบคิดกับนายช่างไม้ กล่าวว่า “พี่ ขอพี่จงทำฉันให้เป็นใหญ่ในศาลานี้เถิด” ดังนี้แล้ว ได้ให้ค่าจ้าง (แก่เขา) นายช่างไม้นั้นรับคำว่า “ได้” แล้วตากไม้สำหรับทำช่อฟ้าให้แห้งเสียก่อนสิ่งอื่น แล้วถาก สลักทำไม้ช่อฟ้าให้สำเร็จ แล้วสลักอักษรว่า “ศาลานี้ชื่อสุธรรมา” ดังนี้แล้วเอาผ้าพันเก็บไว้.
    นางสุธรรมาได้ร่วมกุศลสร้างศาลาด้วย
    ครั้นช่างไม้สร้างศาลาเสร็จแล้ว ในวันยกช่อฟ้า จึงกล่าวกะชน ๓๓ คนนั้นว่า “นาย ตายจริง! ข้าพเจ้านึกกิจที่ควรทำอย่างหนึ่งไม่ได้.”
    พวกมฆะ. ผู้เจริญ กิจชื่ออะไร ?
    ช่าง. ช่อฟ้า.
    พวกมฆะ. ช่างเถิด, พวกเราจักนำช่อฟ้านั้นมาเอง,
    ช่าง. ข้าพเจ้าไม่อาจทำด้วยไม้ที่ตัดเดี๋ยวนี้ได้, ต้องได้ไม้ช่อฟ้าที่เขาตัดถากสลักแล้วเก็บไว้ในก่อนนั่นแล จึงจะใช้ได้.
    พวกมฆะ. เดี๋ยวนี้ พวกเราควรทำอย่างไร?
    ช่าง. ถ้าในเรือนของใครๆ มีช่อฟ้าที่ทำไว้ขาย ซึ่งเขาทำเสร็จแล้วเก็บไว้ไซร้, ควรแสวงหาช่อฟ้านั้น.
    พวกเขาแสวงหาอยู่ เห็นในเรือนของนางสุธรรมา แล้วให้ทรัพย์พันหนึ่ง ก็ไม่ได้ด้วยทรัพย์ที่เป็นราคา, เมื่อนางสุธรรมาพูดว่า “ถ้าพวกท่านทำฉันให้มีส่วนบุญในศาลาด้วยไซร้, ฉันจักให้.” ตอบว่า “พวกข้าพเจ้าไม่ให้ส่วนบุญแก่พวกมาตุคาม.”
    ลำดับนั้น ช่างไม้กล่าวกะคนเหล่านั้นว่า “นาย พวกท่านพูดอะไร? เว้นพรหมโลกเสียสถานที่อื่น ชื่อว่าเป็นที่เว้นมาตุคาม ย่อมไม่มี, พวกท่านจงรับเอาช่อฟ้าเถิด, เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานของพวกเราก็จักถึงความสำเร็จ.” พวกเขารับว่า “ดีละ” แล้วรับเอาช่อฟ้า สร้างศาลาให้สำเร็จแล้ว แบ่งเป็น ๓ ส่วน (คือ) ในส่วนหนึ่งสร้างเป็นที่สำหรับอยู่ของพวกอิสรชน, ส่วนหนึ่ง สำหรับคนเข็ญใจ, ส่วนหนึ่ง สำหรับคนไข้.

    <CENTER>
    เรื่องช้างเอราวัณ </CENTER> ชน ๓๓ คน ให้ปูกระดาน ๓๓ แผ่น แล้วให้สัญญาแก่ช้างว่า “ผู้เป็นแขก มานั่งบนแผ่นกระดานอันผู้ใดปูไว้, เจ้าจงพาแขกนั้นไปให้พักอยู่ที่เรือนของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ. การนวดเท้า การนวดหลัง ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ที่นอนทุกอย่าง จักเป็นหน้าที่ของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ.”
    ช้างรับผู้ที่มาแล้วๆ นำไปสู่เรือนของเจ้าของกระดานนั่นเทียว. ในวันนั้น เจ้าของกระดานนั้น ย่อมทำกิจที่ควรทำแก่ผู้ที่ช้างนำไปนั้น. นายมฆะปลูกต้นทองหลางต้นหนึ่งไว้ ไม่สู้ห่างศาลา แล้วปูแผ่นศิลาไว้ที่โคนต้นทองหลางนั้น. พวกที่เข้าไปแล้วๆ สู่ศาลา แลดูช่อฟ้า อ่านหนังสือแล้ว ย่อมพูดกันว่า “ศาลาชื่อสุธรรมา” ชื่อของชน ๓๓ คนไม่ปรากฏ. นางสุนันทาคิดว่า “พวกนี้ เมื่อทำศาลา ทำพวกเราไม่ให้มีส่วนบุญด้วย, แต่นางสุธรรมาก็ทำช่อฟ้าเข้าร่วมส่วนจนได้ เพราะความที่ตนเป็นคนฉลาด, เราก็ควรจะทำอะไรๆ บ้าง, จักทำอะไรหนอ? ในทันใดนั้น นางก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พวกที่มาสู่ศาลาควรจะได้น้ำกินและน้ำอาบ, เราจะให้เขาขุด<WBR>สระ<WBR>โบก<WBR>ขรณี”, นางให้เขาสร้างสระโบกขรณีแล้ว.
    นางสุจิตราคิดว่า “นางสุธรรมาได้ให้ช่อฟ้า, นางสุนันทาได้สร้างสระโบก<WBR>ขรณี, เราก็ควรสร้างอะไรๆ บ้าง เราจักทำอะไรหนอแล?” ทีนั้น นางได้มีความคิดดังนี้ว่า “ในเวลาที่พวกชนมาสู่ศาลา ดื่มน้ำอาบน้ำแล้วไป ควรจะประดับระเบียบดอกไม้แล้วจึงไป, เราจักสร้างสวนดอกไม้.” นางได้ให้เขาสร้างสวนดอกไม้อันน่ารื่นรมย์แล้ว. ผู้ที่จะออกปากว่า “โดยมากในสวนนั้น ไม่มีต้นไม้ที่เผล็ดดอกออกผลชื่อโน้น” ดังนี้ มิได้มี.
    ฝ่ายนางสุชาดาคิดเสียว่า “เราเป็นทั้งลูกลุงของนายมฆะ เป็นทั้งบาทบริจาริกา (ภริยา). กรรมที่นายมฆะนั่นทำแล้ว ก็เป็นของเราเหมือนกัน, กรรมที่เราทำแล้ว ก็เป็นของนายมฆะนั่นเหมือนกัน” ดังนี้แล้ว ไม่ทำอะไรๆ มัวแต่งแต่ตัวของตนเท่านั้น ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปแล้ว.

    <CENTER>
    มฆมาณพบำเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ </CENTER> ฝ่ายนายมฆะบำเพ็ญวัตตบท ๗ เหล่านี้ คือ บำรุงมารดาบิดา ๑ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ๑ พูดคำสัตย์ ๑ ไม่พูดคำหยาบ ๑ ไม่พูดส่อเสียด ๑ กำจัดความตระหนี่ ๑ ไม่โกรธ ๑ ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญอย่างนี้ว่า
    “ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยงมารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อเสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ข่มความโกรธได้ นั่นแลว่า “สัปบุรุษ.” ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เกิดเป็นท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์. สหายของเขาแม้เหล่านั้นก็เกิดในที่นั้นเหมือนกัน. ช่างไม้เกิดเป็นวิศวกรรมเทพบุตร.

    <CENTER>
    เทวดากับอสูรทำสงครามกัน </CENTER> ในกาลนั้น พวกอสูรอยู่ในภพดาวดึงส์ อสูรเหล่านั้น คิดว่า “เทพบุตรใหม่ๆ เกิดแล้ว” จึงเตรียม (เลี้ยง) น้ำทิพย์. ท้าวสักกะได้ทรงนัดหมายแก่บริษัทของพระองค์ เพื่อประสงค์มิให้ใครๆ ดื่ม. พวกอสูรดื่มน้ำทิพย์เมาทั่วกันแล้ว. ท้าวสักกะทรงดำริว่า “เราจะต้องการอะไร? ด้วยความเป็นราชาอันทั่วไปด้วยเจ้าพวกนี้” ทรงนัดหมายแก่บริษัทของพระองค์แล้ว ให้ช่วยกันจับอสูรเหล่านั้นที่เท้าทั้งสองให้เหวี่ยงลงไปใน<WBR>มหา<WBR>สมุทร. อสูร<WBR>เหล่า<WBR>นั้นมีศีรษะปักดิ่ง<WBR>ตก<WBR>ลง<WBR>ไปในสมุทรแล้ว, ขณะนั้น อสูรวิมานได้เกิดที่พื้นภายใต้แห่งเขาสิเนรุ ด้วยอานุภาพแห่งบุญของพวกเขา. ต้นไม้ชื่อจิตตปาลิ (ไม้แคฝอย) ก็เกิดแล้ว.
    แลเมื่อสงครามระหว่างเทวดาและอสูร (ประชิดกัน), ครั้นเมื่อพวกอสูรปราชัยแล้ว, ชื่อว่า เทพนครในชั้นดาวดึงส์ประมาณหมื่นโยชน์เกิดขึ้นแล้ว. และในระหว่างประตูด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกแห่งพระนครนั้น มีเนื้อที่ประมาณหมื่นโยชน์, ระหว่างประตูด้านทิศใต้และทิศเหนือ ก็เท่านั้น. อนึ่ง พระนครนั้นประกอบด้วยประตูพันหนึ่ง ประดับด้วยอุทยานและสระโบกขรณี. ปราสาทนามว่า เวชยันต์ สูง ๗๐๐ โยชน์แล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ<SUP>๑-</SUP> ประดับด้วยธงทั้งหลาย สูง ๓๐๐ โยชน์ ผุดขึ้นด้วยผลแห่งศาลาในท่ามกลางพระนครนั้น, ที่คันเป็นทอง ได้มีธงเป็นแก้วมณี, ที่คันเป็นแก้วมณี ได้มีธงเป็นทอง, ที่คันเป็นแก้วประพาฬ ได้มีธงเป็นแก้วมุกดา, ที่คันเป็นแก้วมุกดา ได้มีธงเป็นแก้วประพาฬ, ที่คันเป็นแก้ว ๗ ประการ ได้มีธงเป็นแก้ว ๗ ประการ. ธงที่ตั้งอยู่กลาง ได้มีส่วนสูง ๓๐๐ โยชน์ ปราสาทสูงพันโยชน์ ล้วนแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ เกิดแล้วด้วยผลแห่งศาลา ด้วยประการฉะนี้.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> แก้ว ๗ ประการ คือ แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ แก้วมุกดา แก้ววิเชียร แก้วผลึก แก้วหุง.

    ต้นปาริฉัตตกะ มีปริมณฑล (แผ่ไป) ๓๐๐ โยชน์โดยรอบ เกิดขึ้นด้วยผลแห่งการปลูกต้นทองหลาง. บัณฑุกัมพลศิลา มีสีดังดอกชัยพฤกษ์<SUP>๒-</SUP> สีครั่งและสีบัวโรย<SUP>๓-</SUP> โดยยาว ๖๐ โยชน์ โดยกว้าง ๕๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ ที่กึ่งแห่งพระวรกายยุบลงในเวลาประทับนั่ง ฟูขึ้นเต็มที่อีก ในเวลาเสด็จลุกขึ้น เกิดขึ้นแล้วที่โคนไม้ปาริฉัตตกะ ด้วยผลแห่งการปูแผ่นศิลา.
    ____________________________
    <SUP>๒-</SUP> ชยสุมนะ ชื่อต้นไม้มีดอกแดง เช่นต้นเซ่งและหงอนไก่เป็นต้น.
    <SUP>๓-</SUP> ปาฏลิสีแดงเจือขาว. แดงอ่อนชมพู เสตรตฺตมิสฺโส ปาฏโล นาม. อภิ. หน้า ๑๖๗.

    <CENTER>
    เทพบุตร ๓๓ องค์นั่งบนกระพองช้างเอราวัณ </CENTER> ส่วนช้างเกิดเป็นเทพบุตรชื่อเอราวัณ. แท้จริง สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย ย่อมไม่มีในเทวโลก, เพราะฉะนั้น ในเวลาท้าวสักกะเสด็จออกเพื่อประพาสพระอุทยาน เทพบุตรนั้นจึงจำแลงตัวเป็นช้างชื่อเอราวัณ สูงประมาณ ๑๕๐ โยชน์. ช้างเทพบุตรนั้น นิรมิตกระพอง ๓๓ กระพอง เพื่อประโยชน์แก่ชน ๓๓ คน, ในกระพองเหล่านั้น กระพองหนึ่งๆ โดยกลมประมาณ ๓ คาวุต โดยยาวประมาณกึ่งโยชน์. ช้างเทพบุตรนั้นนิรมิตกระพองชื่อสุทัศนะ ประมาณ ๓๐ โยชน์ ในท่ามกลางกระพองทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ท้าวสักกะ เบื้องบนแห่งกระพองนั้นมีมณฑปแก้วประมาณ ๑๒ โยชน์ ธงขลิบด้วยแก้ว ๗ ประการ สูงโยชน์หนึ่ง ตั้งขึ้นในระหว่างๆ (เป็นระยะๆ) ในมณฑปแก้วนั้น. ข่าย<WBR>แห่ง<WBR>กระดิ่ง<WBR>ที่ถูกลมอ่อนๆ พัดแล้ว มีเสียงกังวานปานเสียงทิพย์สังคีต ประสานด้วยเสียงดนตรีอันมีองค์ ๕ ห้อยอยู่ที่ริมโดยรอบ. บัลลังก์แก้วมณีประมาณโยชน์หนึ่งเป็นพระแท่น ที่เขาจัดไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อท้าวสักกะ ในท่ามกลางมณฑป, ท้าวสักกะย่อมประทับนั่งเหนือบัลลังก์นั้น. เทพบุตร ๓๓ องค์นั่งบนรัตนบัลลังก์ ในกระพองของตน. บรรดา<WBR>กระพอง ๓๓ กระพอง ใน<WBR>กระพอง<WBR>หนึ่งๆ ช้างเทพบุตรนั้นนิรมิตงากระพองละ ๗ งา, ในงาเหล่านั้น งาหนึ่งๆ ยาวประมาณ ๕๐ โยชน์, ในงาหนึ่ง ๆ มีสระโบกขรณี (งาละ) ๗ สระ, ในสระโบกขรณีแต่ละสระ มีกอบัวสระละ ๗ กอ, ในกอหนึ่งๆ มีดอกบัวกอละ ๗ ดอก, ในดอกหนึ่งๆ มีกลีบดอกละ ๗ กลีบ, ในกลีบหนึ่งๆ (มี) เทพธิดาฟ้อนอยู่ ๗ องค์; มหรสพฟ้อนย่อมมีบนงาช้าง ในที่ ๕๐ โยชน์โดยรอบอย่างนี้แล.
    ท้าวสักกเทวราชเสวยยศใหญ่เสด็จเที่ยวไป ด้วยประการฉะนี้.

    <CENTER>
    ภริยาของมฆมาณพ ๓ คนก็เกิดในภพดาวดึงส์ </CENTER> แม้นางสุธรรมา ถึงแก่กรรม<SUP>๑-</SUP> ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน. เทว<WBR>สภา<WBR>ชื่อ<WBR>สุ<WBR>ธรรมา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ได้เกิดแล้วแก่นาง. ได้ยินว่า ชื่อว่าสถานที่อื่น อันน่าปลื้มใจกว่านั้น ย่อมไม่มี. ในวันอัฏฐมี (ดิถีที่ ๘) แห่งเดือน มีการฟังธรรม ในที่นั้นนั่นเอง. จนกระทั่งทุกวันนี้ ชนทั้งหลายเห็นสถานที่อันน่าปลื้มใจแห่งใดแห่งหนึ่งเข้า ก็ยังกล่าวกันอยู่ว่า “เหมือนเทวสภาชื่อสุธรรมา.”
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> กาลํ กตฺวาทำกาละแล้ว.

    แม้นางสุนันทา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน. สระโบกขรณีชื่อสุนันทา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เกิดแล้วแก่นาง.
    แม้นางสุจิตรา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน. สวนชื่อจิตรลดา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ที่พวกเทพดาพาเหล่าเทพบุตรผู้มีบุรพนิมิตเกิดแล้ว ให้หลงเที่ยวไปอยู่ เกิดแล้วแม้แก่นาง.

    <CENTER>
    ท้าวสักกะโอวาทนางสุชาดาผู้เป็นนางนกยาง </CENTER> ส่วนนางสุชาดา ถึงแก่กรรมแล้ว เกิดเป็นนางนกยางในซอกเขาแห่งหนึ่ง. ท้าวสักกะทรงตรวจดูบริจาริกาของพระองค์ ทรงทราบว่า “นางสุธรรมาเกิดแล้วในที่นี้เหมือนกัน. นางสุนันทา และนางสุจิตราก็อย่างนั้น.” พลางทรงดำริ (ต่อไป) ว่า “นางสุชาดาเกิดที่ไหนหนอ?” เห็นนางเกิดในซอกเขานั้นแล้ว ทรงดำริว่า “นางสุชาดานี้เขลา ไม่ทำบุญอะไรๆ บัดนี้เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน, แม้บัดนี้ ควรที่เราจะให้นางทำบุญแล้วนำมาไว้เสียที่นี้” ดังนี้แล้ว จึงทรงจำแลงอัตภาพ เสด็จไปยังสำนักของนาง ด้วยเพศที่เขาไม่รู้จัก ตรัสถามว่า “เจ้าเที่ยวทำอะไรอยู่ที่นี้?”
    นางนกยาง. นาย ก็ท่านคือใคร?
    ท้าวสักกะ. เรา คือมฆะ สามีของเจ้า.
    นางนกยาง. ท่านเกิดที่ไหน? นาย.
    ท้าวสักกะ. เราเกิดในดาวดึงสเทวโลก. ก็เจ้ารู้สถานที่เกิดแห่งหญิงสหายของเจ้าแล้วหรือ?
    นางนกยาง. ยังไม่ทราบ นาย.
    ท้าวสักกะ. หญิงแม้เหล่านั้น ก็เกิดในสำนักของเราเหมือนกัน เจ้าจักเยี่ยมหญิงสหายของเจ้าไหมเล่า?
    นางนกยาง. หม่อมฉันจักไปในที่นั้นได้อย่างไร?
    ท้าวสักกะตรัสว่า “เราจักนำเจ้าไปในที่นั้น” ดังนี้แล้ว นำไปสู่เทวโลก ปล่อยไว้ริมฝั่งสระโบกขรณีที่ชื่อนันทา ตรัสบอกแก่พระมเหสีทั้งสามนอกนี้ว่า “พวกหล่อนจะดูนางสุชาดาสหายของพวกหล่อนบ้างไหม?”
    มเหสี. นางอยู่ที่ไหนเล่า? พระเจ้าข้า.
    ท้าวสักกะ. อยู่ริมฝั่งโบกขรณีชื่อนันทา.
    พระมเหสีทั้งสามนั้นเสด็จไปในที่นั้น ทำการเยาะเย้ยว่า “โอ รูปของแม่เจ้า, โอ ผลของการแต่งตัว; คราวนี้ ท่านทั้งหลายจงดูจะงอยปาก, ดูแข้ง ดูเท้า ของแม่เจ้า, อัตภาพของแม่เจ้าช่างงามแท้” ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป.
    ท้าวสักกะเสด็จไปสำนักของนางอีก ตรัส (ถาม) ว่า “เจ้าพบหญิงสหายแล้วหรือ?” เมื่อนางทูลว่า “พระมเหสีทั้งสามนั้น หม่อมฉันได้พบแล้ว (เขาพากัน) เยาะเย้ยหม่อมฉันแล้วก็ไป, ขอพระองค์โปรดนำหม่อมฉันไปที่ซอกเขานั้นตามเดิมเถิด” ดังนี้แล้ว ก็ทรงนำนางนั้นไปที่ซอกเขาตามเดิม ปล่อยไว้ในนั้นแล้ว ตรัสถามว่า “เจ้าเห็นสมบัติของหญิงทั้งสามนั้นแล้วหรือ?”
    นางนกยาง. หม่อมฉันเห็นแล้ว พระเจ้าข้า.
    ท้าวสักกะ. แม้เจ้าก็ควรทำอุบายอันเป็นเหตุให้เกิดในที่นั้น.
    นางนกยาง. จักทำอย่างไรเล่า? พระเจ้าข้า.
    ท้าวสักกะ. เจ้าจักรักษาโอวาทที่เราให้ไว้ได้ไหม?
    นางนกยาง. รักษาได้ พระเจ้าข้า.
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะก็ประทานศีล ๕ แก่นาง แล้วตรัสว่า “เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาเถิด” ดังนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป.
    จำเดิมแต่นั้นมา นาง (เที่ยว) หากินแต่ปลาที่ตายเองเท่านั้น. โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน ท้าวสักกะเสด็จไปเพื่อทรงประสงค์จะลองใจนาง จึงทรงจำแลงเป็นปลาตายนอนหงายอยู่หลังหาดทราย. นางเห็นปลานั้นแล้ว ได้คาบเอาด้วยสำคัญว่า “ปลาตาย” ในเวลาจะกลืน ปลากระดิกหางแล้ว. นางรู้ว่า “ปลาเป็น” จึงปล่อยเสียในน้ำ. ท้าวสักกะทรงปล่อยเวลาให้ล่วงไปหน่อยหนึ่งแล้ว จึงทรงทำเป็นนอนหงายข้างหน้านางอีก นางก็คาบอีกด้วยสำคัญว่า “ปลาตาย” ในเวลาจะกลืน เห็นปลายังกระดิกหางอยู่ จึงปล่อยเสีย ด้วยรู้ว่า “ปลาเป็น.”
    ท้าวสักกะทรงทดลองอย่างนี้ (ครบ) ๓ ครั้งแล้ว ตรัสว่า “เจ้ารักษาศีลได้ดี” ให้นางทราบพระองค์แล้ว ตรัสว่า “เรามาเพื่อประสงค์จะลองใจเจ้า, เจ้ารักษาศีลได้ดี, เมื่อรักษาได้อย่างนั้น ไม่นานเท่าไร ก็จักเกิดในสำนักของเราเป็นแน่ จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด” ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.

    <CENTER>
    นางสุชาดาท่องเที่ยวอยู่ในภพต่างๆ </CENTER> จำเดิมแต่นั้นมา นางได้ปลาที่ตายเองไปบ้าง ไม่ได้บ้าง, เมื่อไม่ได้ โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ซูบผอม ทำกาละแล้ว เกิดเป็นธิดาของช่างหม้อในเมืองพาราณสี ด้วยผลแห่งศีลนั้น.
    ต่อมา ในเวลาที่นางมีอายุราว ๑๕-๑๖ ปี ท้าวสักกะทรงคำนึงถึงว่า “นางเกิดที่ไหนหนอ?” (ได้) เห็นแล้ว ทรงดำริว่า “บัดนี้ควรที่เราจะไปที่นั้น” ดังนี้แล้ว จึงทรงเอาแก้ว ๗ ประการ ซึ่งปรากฏโดยพรรณคล้ายฟักทอง บรรทุกยานน้อย ขับเข้าไปในเมืองพาราณสี เสด็จไปยังถนนป่าวร้องว่า “ท่านทั้งหลาย (มา) เอาฟักทองกันเถิด”, แต่ตรัสกะผู้เอาถั่วเขียวและถั่วราชมาษเป็นต้นมาว่า “ข้าพเจ้าไม่ให้ด้วยราคา”, เมื่อเขาทูลถามว่า “ท่านจะให้อย่างไร?” ตรัสว่า “ข้าพเจ้าจะให้แก่สตรีผู้รักษาศีล.”
    พวกพลเมือง. นาย ชื่อว่าศีลเป็นเช่นไร? สีดำหรือสีเขียวเป็นต้น.
    ท้าวสักกะ. พวกท่านไม่รู้จักศีลว่า ‘เป็นเช่นไร’ จักรักษาศีลนั้นอย่างไรได้เล่า? แต่เราจักให้แก่สตรีผู้รักษาศีล.
    พวกพลเมือง. นาย ธิดาของช่างหม้อนั้น เที่ยวพูดอยู่ว่า ‘ข้าพเจ้ารักษาศีล’, จงให้แก่สตรีนั้นเถิด.
    แม้ธิดาของช่างหม้อนั้น ก็ทูลพระองค์ว่า “ถ้ากระนั้น ก็ให้แก่ฉันเถิด นาย.”
    ท้าวสักกะ. เธอ คือใคร?
    ธิดาช่างหม้อ. ฉัน คือสตรีผู้ไม่ละศีล ๕.
    ท้าวสักกะ. ฟักทองเหล่านั้น ฉันก็นำมาให้จำเพาะเธอ.
    ท้าวสักกะทรงขับยานน้อยไปเรือนของนางแล้ว ประทานทรัพย์ที่เทวดาพึงให้โดยพรรณอย่างฟักทอง ทำมิให้คนพวกอื่นลักเอาไปได้ ให้รู้จักพระองค์แล้ว ตรัสว่า “นี้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิตของเธอ. เธอจงรักษาศีล ๕ อย่าได้ขาด” แล้วเสด็จหลีกไป.

    <CENTER>
    นางสุชาดาธิดาของอสูร </CENTER> ฝ่ายธิดาของช่างหม้อนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนของผู้มีเวรต่อท้าว<WBR>สักกะ เป็นธิดาของอสูรผู้หัวหน้าในภพอสูร แลเพราะความที่นางรักษาศีลดีแล้วใน ๒ อัตภาพ นางจึงได้เป็นผู้มีรูปสวย มีพรรณดุจทองคำ ประกอบด้วยรูปสิริอันไม่สาธารณ์ (ทั่วไป). จอมอสูรนามว่าเวปจิตติ พูดแก่ผู้มาแล้วๆ ว่า “พวกท่านไม่สมควรแก่ธิดาของข้าพเจ้า” แล้วก็ไม่ให้ธิดานั้นแก่ใครๆ คิดว่า “ธิดาของเรา จักเลือกสามีที่สมควร<WBR>แก่<WBR>ตน<WBR>ด้วยตนเอง” ดังนี้แล้ว จึงให้พลเมืองที่เป็นอสูรประชุมกัน แล้วได้ให้พวงดอกไม้ในมือของธิดานั้น ด้วยการสั่งว่า “เจ้าจงรับผู้สมควรแก่เจ้าเป็นสามี.”
    <CENTER>
    ท้าวสักกะปลอมเป็นอสูรชิงนางสุชาดา </CENTER> ในขณะนั้น ท้าวสักกะทรงตรวจดูสถานที่นางเกิด ทราบประพฤติเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า “บัดนี้ สมควรที่เราจะไปนำเอานางมา” ดังนี้แล้ว ได้ทรงนิรมิตเพศเป็นอสูรแก่ ไปยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท. แม้นางอสุรกัญญานั้น เมื่อตรวจดูข้างโน้นและข้างนี้ พอพบท้าวสักกะนั้น ก็เป็นผู้มีหทัยอันความรัก ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจปุพเพสันนิวาสท่วมทับแล้ว ดุจห้วงน้ำใหญ่ ก็ปลงใจว่า “นั่น สามีของเรา” จึงโยนพวงดอกไม้ไปเบื้องบนท้าวสักกะนั้น.
    พวกอสูรนึกละอายว่า “พระเจ้าอยู่หัวของพวกเราไม่ได้ผู้ที่สมควรแก่พระธิดาตลอดกาลประมาณเท่านี้ บัดนี้ได้แล้ว, ผู้ที่แก่กว่าปู่นี้แล สมควรแก่พระธิดาของท้าวเธอ” ดังนี้แล้ว จึงหลีกไป.
    ฝ่ายท้าวสักกะทรงจับอสุรกัญญานั้นที่มือแล้ว ทรงประกาศว่า “เรา คือท้าวสักกะ” แล้วทรงเหาะไปในอากาศ.
    พวกอสูรรู้ว่า “พวกเราถูกสักกะแก่ลวงเสียแล้ว” จึงพากันติดตามท้าวสักกะนั้นไป. เทพบุตรผู้เป็นสารถีนามว่ามาตลี นำเวชยันตรถมาพักไว้ในระหว่างทาง. ท้าวสักกะทรงอุ้มนางขึ้นในรถนั้นแล้ว บ่ายพระพักตร์สู่เทพนคร เสด็จไปแล้ว. ครั้นในเวลาที่ท้าวสักกะนั้นเสด็จถึงสิมพลิวัน<SUP>๑-</SUP> ลูกนกครุฑได้ยินเสียงรถ (ตกใจ) กลัวร้องแล้ว. ท้าวสักกะได้ทรงสดับเสียงลูกนกครุฑเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามมาตลีว่า “นั่นนกอะไรร้อง?”
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ป่าไม้งิ้ว.

    มาตลี. ลูกนกครุฑ พระเจ้าข้า.
    ท้าวสักกะ. เพราะเหตุไร มันจึงร้อง?
    มาตลี. เพราะได้ยินเสียงรถแล้ว กลัวตาย.
    ท้าวสักกะตรัสว่า “อาศัยเราผู้เดียว นกประมาณเท่านี้ถูกความเร็วของรถให้ย่อยยับไปแล้ว มันอย่าฉิบหายเสียเลย, เธอจงกลับรถเสียเถิด.”
    มาตลีเทพบุตรนั้นให้สัญญาแก่ม้าสินธพพันหนึ่งด้วยแส้ กลับรถแล้ว. พวกอสูรเห็นกิริยานั้น คิดว่า “ท้าวสักกะแก่ หนีไปตั้งแต่อสุรบุรี บัดนี้กลับรถแล้ว, เธอจักได้ผู้ช่วยเหลือเป็นแน่” จึงกลับเข้าไปสู่อสุรบุรีตามทางที่มาแล้วนั่นแล ไม่ยกศีรษะขึ้นอีก.
    ฝ่ายท้าวสักกะทรงนำนางสาวอสูรชื่อสุชาดาไปเทพนครแล้ว ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งหัวหน้านางอัปสร ๒ โกฏิกึ่ง. นางทูลขอพรกะท้าวสักกะว่า “ขอเดชะพระมหาราชเจ้า มารดาบิดาหรือพี่ชายพี่หญิงของหม่อมฉันในเทวโลกนี้ ไม่มี, พระองค์จะเสด็จไปในที่ใดๆ พึง(ทรงพระกรุณา) พาหม่อมฉันไปในที่นั้นๆ (ด้วย). ท้าวเธอได้ประทานปฏิญญาแก่นางว่า “ได้.”

    <CENTER>
    พวกอสูรกลัวท้าวสักกะ </CENTER> ก็จำเดิมแต่นั้นมา เมื่อดอกจิตตปาตลิบาน พวกอสูรประสงค์จะรบกะท้าวสักกะ ขึ้นมาเพื่อหมายจะต่อยุทธ ด้วยสำคัญว่า “เป็นเวลาที่ดอกปาริฉัตตกทิพย์ของพวกเราบาน” ท้าวสักกะได้ประทานอารักขาแก่พวกนาคในภายใต้สมุทร. ถัดนั้น พวกครุฑ, ถัดนั้น พวกกุมภัณฑ์, ถัดนั้น พวกยักษ์, ถัดนั้น ท้าวจตุมหาราช, ส่วนชั้นบนกว่าทุกๆ ชั้น ประดิษฐานรูปจำลองพระอินทร์ ซึ่งมีวชิราวุธในพระหัตถ์ไว้ที่ทวารแห่งเทพนคร. พวกอสูรแม้ชำนะพวกนาคเป็นต้นมาแล้ว เห็นรูปจำลองพระอินทร์มาแต่ไกล ก็ย่อมหนีไป ด้วยเข้าใจว่า “ท้าวสักกะเสด็จออกมาแล้ว.”
    <CENTER>
    อานิสงส์ความไม่ประมาท </CENTER> พระศาสดาตรัสว่า “มหาลิ มฆมาณพปฏิบัติอัปปมาทปฏิปทาอย่างนี้, ก็แล มฆมาณพนั่น ไม่ประมาทอย่างนี้ จึงถึงความเป็นใหญ่เห็นปานนี้ ทรงเสวยราชย์ในเทวโลกทั้งสอง, ชื่อว่าความไม่ประมาทนั่น บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว, เพราะว่า การบรรลุคุณวิเศษซึ่งเป็นโลกิยะ และโลกุตระแม้ทั้งหมดย่อมมีได้ เพราะอาศัยความไม่ประมาท” ดังนี้แล้ว
    ตรัสพระคาถานี้ว่า
    <TABLE class=D cellSpacing=0 border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD> ๗. <TD>อปฺปมาเทน มฆวา <TD>เทวานํ เสฏฺฐตํ คโต <TR vAlign=top><TD> <TD>อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ <TD>หิตฺวา ยาติ สุเมธโส. <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2> ท้าวมฆวะ ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดา <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>ทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท; บัณฑิตทั้งหลายย่อม <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>สรรเสริญความไม่ประมาท, ความประมาทอันท่านติเตียน <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>ทุกเมื่อ.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER>
    แก้อรรถ </CENTER> บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาเทน คือ เพราะความไม่ประมาทที่ทำไว้ตั้งต้นแต่แผ้วถางภูมิประเทศในอจลคาม.
    บทว่า มฆวา เป็นต้น ความว่า มฆมาณพ ซึ่งปรากฏว่า “มฆวะ” ในบัดนี้ ชื่อว่า ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดาทั้งหลาย เพราะความเป็นราชาแห่งเทวโลกทั้งสอง.
    บทว่า ปสํสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมชมเชย สรรเสริญความไม่ประมาทอย่างเดียว.
    ถามว่า “เพราะเหตุไร?”
    วิสัชนาว่า “เพราะความไม่ประมาท เป็นเหตุให้ได้คุณวิเศษที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งหมด.”
    บาทพระคาถาว่า ปมาโท ครหิโต สทา ความว่า ส่วนความประมาท อันพระอริยะเหล่านั้นติเตียน คือนินทาแล้ว เป็นนิตย์.
    ถามว่า “เพราะเหตุไร?”
    วิสัชนาว่า “เพราะความประมาทเป็นต้นเค้าของความวิบัติทุกอย่าง.”
    จริงอยู่ ความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์ก็ดี การเข้าถึงอบายก็ดี ล้วนมีความประมาทเป็นมูลทั้งนั้น ดังนี้.
    ในเวลาจบคาถา เจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลิ ทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. แม้บริษัทผู้ประชุมกันเป็นอันมาก ก็ได้เป็นพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ดังนี้แล.

    <CENTER>
    เรื่องท้าวสักกะ จบ.
    -----------------------------------------------------
    </CENTER>
    .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒
    อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ]
    [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=330&Z=365
    - -- ---- ----------------------------------------------------------------------------

     
  2. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>
    [๔๑] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยัง
    ไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
    ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่ งามและประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน. ต่อมา
    ชฎิลอุรุเวลกัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคโดยผ่านราตรีนั้น ครั้นถึงแล้วได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มี
    พระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว มหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้นั้นคือใครกันหนอ เมื่อราตรีปฐมยาม
    ผ่านไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาท่าน ครั้นถึงแล้วอภิวาท
    ท่าน ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่ งามและประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป ผู้นั้น คือ ท้าวสักกะจอมทวยเทพเข้ามาหาเรา
    เพื่อฟังธรรม.
    ครั้งนั้น ชฎิลอุรุกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้
    ถึงกับท้าวสักกะจอมทวยเทพเข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้วประทับอยู่ใน
    ไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล.
    </CENTER>
     
  3. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>คาถาสดุดีพระผู้มีพระภาค
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงนิรมิตเพศเป็นมาณพ เสด็จพระ
    ดำเนินนำหน้าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พลางขับคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-
    </CENTER>
    <CENTER> </CENTER><CENTER> พระผู้มีพระภาค มีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงฝึก
    อินทรีย์แล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนคร
    ราชคฤห์พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้ฝึกอินทรีย์
    แล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว.
    พระผู้มีพระภาค มีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงพ้น
    แล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์
    พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้พ้นแล้ว ผู้พ้นวิเศษ
    แล้ว. พระผู้มีพระภาคมีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี
    ทรงข้ามแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนคร
    ราชคฤห์ พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้พ้นแล้ว
    ผู้พ้นวิเศษแล้ว.
    พระผู้มีพระภาค มีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงสงบ
    แล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์
    พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้สงบแล้ว ผู้พ้นวิเศษ
    แล้ว.
    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีอริยวาสธรรม ๑๐ ประการ
    เป็นเครื่องอยู่ ทรงประกอบด้วยพระกำลัง ๑๐ ทรงทราบ
    ธรรม คือ กรรมบถ ๑๐ และทรงประกอบด้วยธรรมอันเป็น
    องค์ของพระอเสขะ ๑๐ มีภิกษุบริวารพันหนึ่ง เสด็จ
    ประเวศสู่พระนครราชคฤห์
    [๖๒]
    ประชาชนได้เห็นท้าวสักกะจอมทวยเทพแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พ่อหนุ่มนี้
    มีรูปงามยิ่งนัก น่าดูนัก น่าชมนัก พ่อหนุ่มนี้ของใครหนอ. เมื่อประชาชนกล่าวอย่างนี้แล้ว
    ท้าวสักกะจอมทวยเทพได้กล่าวตอบประชาชนพวกนั้นด้วยคาถา ว่าดังนี้:-
    พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดเป็นนักปราชญ์ ทรงฝึกอินทรีย์
    ทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ผ่องแผ้วหาบุคคลเปรียบมิได้ ไกลจาก
    กิเลส เสด็จไปดีแล้วในโลก ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของ
    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.
    </CENTER>
     
  4. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    [​IMG]





    เกวัฏฏสูตร



    เมื่อเธอถามอย่างนี้แล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ แต่ยังมีท้าวสักกะ
    จอมเทพซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกข้าพเจ้าอยู่อีก ท้าวเธอคงจะทราบ. ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้
    ไปหาท้าวสักกะจอมเทพแล้วถามว่า ท่าน มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
    วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรเกวัฏฏ์ เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
    ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสตอบว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ นั้น
    แต่ยังมีเทวดาชั้น ยามะ ... ท้าวสุยามะ ... เทวดาชั้นดุสิต ... ท้าวสันดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ...
    ท้าวสุนิมมิต ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... ท้าวปรนิมมิตวสวดี ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าข้าพเจ้า
    อยู่อีก ท้าวเธอคงทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
    วาโยธาตุ เหล่านี้ได้.
    [๓๔๔]
    ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้นแล เธอได้เข้าไปหาวสวดีเทวบุตรแล้วถามว่า ท่าน
    มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือใน
    ที่ไหน เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว วสวดีเทวบุตรตอบว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ แต่ยังมีเทวดา
    ผู้นับเนื่องในหมู่พรหม ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกเราอยู่อีก เทวดาเหล่านั้นคงจะทราบ ลำดับนั้น
    ภิกษุได้เข้าสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นแล้ว ทางไปสู่พรหมโลกปรากฏได้.
    [๓๔๕]
    ดูกรเกวัฏฏ์ ต่อนั้น เธอได้เข้าไปหาเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมโลกแล้วถามว่า
    ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับ
    ไม่มีเหลือในที่ไหน? เมื่อเธอถามอย่างนี้ เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมจึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้า
    ก็ไม่ทราบ แต่ยังมีพรหมผู้เป็นมหาพรหมเป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้
    ผู้ใช้อำนาจเป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ
    เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้วและยังจะเกิดต่อไป ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกข้าพเจ้า ท้าว
    มหาพรหมนั้นแล คงจะทราบ ก็บัดนี้ท้าวมหาพรหมนั้นอยู่ที่ไหน แม้พวกเราก็ไม่รู้ที่อยู่ของพรหม
    หรือทิศทางที่พรหมอยู่ แต่ว่านิมิตทั้งหลายย่อมเห็นได้ แสงสว่างย่อมเกิดเอง โอกาสย่อมปรากฏ
    เมื่อใด พรหมจักปรากฏองค์เมื่อนั้น การที่แสงสว่างเกิดเอง โอกาสปรากฏนั้นแล เป็นบุพพนิมิต
    สำหรับความปรากฏแห่งพรหม ดูกรเกวัฏฏ์ ต่อมาไม่นาน มหาพรหมนั้นได้ปรากฏแล้ว.
    [๓๔๖]
    ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น เธอได้เข้าไปหามหาพรหมแล้วถามว่า ท่าน มหาภูตรูป
    ทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน?
    เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวมหาพรหมนั้นได้ตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นพรหม เป็นมหาพรหม
    เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง
    เป็นผู้เนรมิตร เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
    และยังจะเกิดต่อไป แม้ครั้งที่ ๒ เล่า ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าวมหาพรหมนั้น ดังนี้ว่า ข้าพเจ้า
    มิได้ถามท่านอย่างนั้น แต่ข้าพเจ้าถามท่านว่า มหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้
    ต่างหาก แม้ครั้งที่ ๒ เล่า ท้าวมหาพรหมก็ได้ตอบเธออย่างนั้นเหมือนกัน แม้ครั้งที่ ๓ เล่า
    ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าวมหาพรหมนั้นดังนี้ว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามท่านอย่างนั้น แต่ข้าพเจ้าถามท่านว่า
    มหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้ต่างหาก.
    [๓๔๗]
    ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น ท้าวมหาพรหมนั้น จับแขนภิกษุนั้นนำไป ณ ที่ควร
    ข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุ พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมเหล่านี้เข้าใจเราว่า อะไรๆ
    ที่พรหมไม่รู้ ไม่เห็น ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ประจักษ์ ไม่มี ดังนี้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงตอบต่อหน้า
    เทวดาเหล่านั้นไม่ได้ว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ
    อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล การที่ท่านละพระผู้มีพระภาค
    เสีย แล้วมาเสาะหาการพยากรณ์ปัญหานี้ในภายนอกนั้น เป็นอันท่านทำผิดพลาดแล้ว นิมนต์กลับ
    เถิด ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลถามปัญหานี้ พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านฉันใด ท่าน
    พึงทรงจำข้อนั้นไว้ ฉันนั้น.

    <CENTER>อุปมาด้วยนกตีรทัสสี
    </CENTER> [๓๔๘] ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้หายไปที่พรหมโลก มาปรากฏข้างหน้าเรา
    เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้อยู่ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา ฉะนั้น. ต่อนั้น
    เธอไหว้เราแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ถามเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาภูตรูป
    ทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน
    เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าเดินเรือทะเล
    ย่อมจับนกตีรทัสสี (นกดูฝั่ง) ลงเรือไปด้วย เมื่อไม่เห็นฝั่ง เขาย่อมปล่อยนกตีรทัสสี
    มันบินไปยังทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศเบื้องบน ทิศน้อย ถ้ามันแลเห็นฝั่ง
    โดยรอบมันก็บินเลยไป ถ้ามันแลไม่เห็นฝั่งโดยรอบ มันก็จะกลับมายังเรือนั้นอีก ดูกรภิกษุ
    เธอก็ฉันนั้นแล เที่ยวแสวงหาจนถึงพรหมโลก ก็ไม่ได้รับพยากรณ์ปัญหานี้ ในที่สุดก็ต้องกลับ
    มาหายังสำนักเรานั่นเอง ปัญหาข้อนี้เธอมิควรถามอย่างนั้น แต่ควรถามอย่างนี้.

    <CENTER>แถลงปัญหามหาภูต
    </CENTER> [๓๔๙] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
    อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
    นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้.
    ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้
    [๓๕๐]
    ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
    ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
    อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
    ธรรมชาตินี้.
    นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
    เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลิน
    ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

    <CENTER>จบเกวัฏฏสูตร ที่ ๑๑.
    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>
     
  5. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ กราบอนุโมทนากับ ธรรมทาน ครั้งนี้ด้วยนะครับ

    * พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่พระองค์ยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์ ไม่ว่าจะบังเกิดเป็นอะไรก็ตาม ท่านจะไม่เคยขาดการสร้างทานบารมี แม้ในพระชาติที่ถือกำเนิดเป็นกระต่าย ครั้งนั้นมีนาก สุนัขจิ้งจอก และลิงเป็นเพื่อนกัน กระต่ายโพธิสัตว์จะคอยตักเตือนพร่ำสอนเพื่อนทั้งสาม ให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมความดี อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ พระมหาสัตว์จึงชวนสหายทั้งสามให้รักษาอุโบสถศีล และตระเตรียมอาหารเพื่อถวายทานแก่ทักขิไณยบุคคล
    [​IMG]

    สัตว์เหล่านั้นเชื่อฟังกระต่าย โพธิสัตว์ พอเช้าตรู่ นากจึงไปยังฝั่งแม่น้ำเพื่อหาอาหาร ได้ปลาตะเพียนที่คนนำมาฝังหมกทรายไว้ ส่วนสุนัขจิ้งจอกก็เที่ยวหาอาหาร ได้เนื้อมา ๒ ชิ้น แม้ลิงก็ออกไปแสวงหาผลไม้ในป่า ได้มาแล้วก็เตรียมเอาไว้ทำทาน ฝ่ายกระต่ายโพธิสัตว์คิดว่า เราเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยหญ้า เราไม่อาจให้หญ้าเป็นทานแก่ทักขิไณยบุคคลได้ ถ้าหากวันนี้มีเนื้อนาบุญ มายังที่อยู่ของเรา เราจะยอมสละชีวิต โดยให้เนื้อของเราเป็นทาน


    เมื่อกระต่ายโพธิสัตว์คิดอย่างนี้ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระอินทร์ก็ร้อนขึ้นมา พระอินทร์ทรงตรวจดู ก็รู้ถึงความคิดของกระต่าย จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ จะมาทดสอบดูว่า สัตว์เหล่านั้นจะทำได้อย่างที่คิดไว้หรือเปล่า ตอนแรก ได้ไปที่อยู่ของนากก่อน ไปยืนสงบนิ่งอยู่ เมื่อนากถามความประสงค์ว่าต้องการอะไร พราหมณ์ก็บอกว่า อยากจะได้อาหารสักมื้อหนึ่ง แล้วจะรักษาอุโบสถศีล และบำเพ็ญภาวนา นากมีใจเลื่อมใสจึงให้ปลาตะเพียนแก่พราหมณ์แปลงนั้น

    พราหมณ์ก็ขอบใจ แล้วบอกว่าจะมารับในภายหลัง จากนั้นก็ได้เดินทางไปหาสุนัขจิ้งจอก สุนัขจิ้งจอกเห็นก็ดีใจ และได้ให้เนื้อ ๒ ชิ้นเป็นทาน พราหมณ์ก็บอกว่าเอาไว้ก่อนแล้วจะมารับในภายหลัง และก็ได้เดินทางไปหาลิง ลิงก็ได้ให้ผลไม้ และน้ำดื่มแก่พราหมณ์ พราหมณ์ก็บอกเดี๋ยวจะมารับ แล้วไปหากระต่ายโพธิสัตว์

    กระต่ายพระโพธิสัตว์เห็นพราหมณ์มาก็มีความยินดีปรีดาว่า ความดำริของเราจะสมปรารถนาในวันนี้ เราจะให้ทานอันประเสริฐที่ใครๆ ยากจะให้ได้ แก่พราหมณ์ผู้ประกอบด้วยศีลและธรรม แล้วกระต่ายก็บอกให้พราหมณ์ไปหาไม้มาก่อไฟ ตนจะสละชีวิตให้เป็นทาน พราหมณ์เห็นความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นของกระต่ายโพธิสัตว์ ก็มีจิตเลื่อมใส และได้นำไม้มากองทำเป็นฟืน แล้วก่อไฟขึ้น

    กระต่ายพระโพธิสัตว์สลัดตัว เพื่อให้สัตว์ที่ติดอยู่ตามขนหลุดออกไป เพื่อชำระศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็กระโดดลงไปในกองไฟ โดยไม่กลัวความตาย แต่ไฟนั้นกลับมีความฉ่ำเย็นเหมือนกระโดดลงไปในสระน้ำ ไม่ได้ทำอันตรายกระต่ายพระโพธิสัตว์เลย แม้แต่ปลายเส้นขนก็ไม่ไหม้ไฟ
    พระโพธิสัตว์เกิดความประหลาดใจที่กองเพลิงไม่เผาร่างกายของตนเอง ก็ถามพราหมณ์ว่า "ทำไมไฟนี้จึงไม่ร้อน?" พราหมณ์บอกว่า "ท่านพญากระต่าย ข้าพเจ้าไม่ใช่พราหมณ์ แต่เป็นท้าวสักกะ มาที่นี่ก็เพื่อจะทดลองใจท่าน"

    กระต่ายพระโพธิสัตว์จึงได้บันลือสีหนาทว่า "ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ ถึงแม้ชาวสวรรค์หรือชาวโลกทั้งหมด จะมาทดลองข้าพเจ้าด้วยการห้ามไม่ให้ทาน ข้าพเจ้าก็จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความตั้งใจในการให้ทาน จะยอมสละทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งชีวิต เพื่อให้ใจที่พร่องเต็มเปี่ยมบริบูรณ์"

    ท้าวสักกะเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง จึงตรัสกับพระมหาสัตว์ว่า "ท่านบัณฑิต ท่านเป็นผู้สูงส่งด้วยคุณธรรม ขอให้คุณธรรมของท่าน จงปรากฏอยู่ตลอดกัปเถิด" แล้วพระองค์ก็ทรงเอาภูเขามาจารึกรูปกระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการสร้างความดีของกระต่ายโพธิสัตว์ และเป็นสัญลักษณ์เพื่อเตือนใจให้ชาวโลกอย่าได้ละเลยในการให้ทาน เมื่อเห็นครั้งใดก็จะได้เร่งขวนขวายในการสร้างมหาทานบารมีอย่างเต็มที่ ดุจเดียวกับพระโพธิสัตว์ในกาลก่อน
     
  6. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,909

    ...........อนุโมทนา กับ คุณเมเฆนทร์ และ คุณต้นละ ด้วยครับ.......
     
  7. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>๘. สักกปัญหสูตร (๒๑)
    </CENTER> [๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ -
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต
    ด้านทิศอุดรแห่งพราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระ
    นครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ฯ
    ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้บังเกิดความขวนขวาย เพื่อจะเฝ้า
    พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงพระดำริว่า บัดนี้ พระผู้มีพระ-
    *ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรง
    เห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต ด้านทิศอุดร
    แห่งพราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระนครราชคฤห์
    ในแคว้นมคธ ครั้นแล้ว จึงตรัสเรียกพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ดูกรท่าน
    ผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต
    ด้านทิศอุดร แห่งพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีนแห่ง
    พระนครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ถ้ากระไร พวกเราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ทูลรับท้าวสักกะจอม
    เทพแล้ว ฯ
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพบุตรมาตรัสว่า
    ดูกรพ่อปัญจสิขะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยก-
    *บรรพต ด้านทิศอุดรแห่งพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน
    แห่งพระนครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ พวกเราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลรับท้าวสักกะจอม
    เทพแล้ว ถือเอาพิณมีสีเหลืองดังผลมะตูม คอยตามเสด็จท้าวสักกะจอมเทพ
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพแวดล้อมไปด้วยพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีปัญจสิข-
    *คันธรรพบุตรนำเสด็จ ได้หายไปในชั้นดาวดึงส์ มาปรากฏ ณ เวทิยกบรรพต ด้าน
    ทิศอุดรแห่งพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระนคร
    ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่
    เหยียดออกเข้า ฉะนั้น ฯ
    ก็สมัยนั้น เวทิยกบรรพตและพราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์สว่างไสวยิ่งนัก
    ด้วยเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย และได้ยินว่าพวกมนุษย์ในหมู่บ้านโดยรอบพา
    กันกล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ไฟติดเวทิยกบรรพตเข้าแล้ว วันนี้ไฟไหม้เวทิยกบรรพต
    วันนี้ เวทิยกบรรพตไฟลุกโพลง เพราะเหตุไรเล่า วันนี้ เวทิยกบรรพตและ
    พราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ จึงสว่างไสวยิ่งนัก มนุษย์พวกนั้นพากันตกใจ ขน
    พองสยองเกล้า ฯ
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกะปัญจสิขคันธรรพบุตรว่า ดูกรพ่อ
    ปัญจสิขะ พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้เพ่งฌาน ทรงยินดีในฌาน ในระหว่างนั้น
    ทรงเร้นอยู่ อันผู้เช่นเรายากที่จะเข้าเฝ้า ถ้ากระไร พ่อควรจะให้พระผู้มีพระภาค
    ทรงพอพระหฤทัยก่อน พ่อให้พระองค์ทรงพอพระหฤทัยก่อนแล้ว ภายหลัง พวก
    เราจึงควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ
    ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลรับท้าวสักกะจอมเทพแล้ว จึงถือเอาพิณมีสี
    เหลืองดังผลมะตูม เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ครั้นแล้วประมาณดูว่า เพียงนี้ พระ
    ผู้มีพระภาคจะประทับอยู่ไม่ไกล ไม่ใกล้เรานัก และจักทรงได้ยินเสียงเรา แล้ว
    ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปัญจสิขคันธรรพบุตรยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
    ถือพิณมีสีเหลืองดังผลมะตูมบรรเลงขึ้น และได้กล่าวคาถาเหล่านี้ อันเกี่ยวด้วย
    พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม ว่า
    [๒๔๘]
    ดูกรแม่ภัททาสุริยวัจฉสา ฉันขอไหว้ท้าวติมพรุบิดาเธอ โดยเหตุ
    ที่เธอเกิดเป็นนางงาม ปลูกความปลื้มให้แก่ฉัน เหมือนลม
    เป็นที่ปรารถนาของผู้มีเหงื่อ หรือน้ำดื่มเป็นที่ปรารถนาของผู้
    ระหาย เธอผู้จำรัสโฉม เป็นที่รักของฉัน คล้ายกันกับธรรม
    เป็นที่รักของเหล่าพระอรหันต์ฉะนั้น ขอเธอช่วยดับความ
    เร่าร้อน เหมือนช่วยวางยาคนไข้ผู้กระสับกระส่าย หรือให้
    โภชนะแก่ผู้หิว หรือดับไฟที่ลุกอยู่ด้วยน้ำ ขอให้ฉันซบลงจด
    ณ ถันและอุทรของเธอ เหมือนช้างผู้ร้อนจัดในหน้าร้อน หยั่งลง
    สระโบกขรณี มีน้ำเย็นประกอบด้วยละอองแห่งเกสรดอกปทุม
    ฉะนั้น ฉันมึนเมาแล้ว เพราะช่วงขาอันสมบูรณ์ด้วยลักษณะ
    ไม่รู้สึกถึงเหตุการณ์ เหมือนช้างเหลือขอ ไม่ยอมรับรู้แหลน
    และหอกซัด ด้วยถือว่าตนชนะแล้ว ฉะนั้น ฉันมีใจจดจ่อในเธอ
    ฉันไม่อาจกลับดวงจิตที่แปรปรวนไปแล้ว เหมือนปลาที่กลืนเบ็ด
    เสียแล้ว ฉะนั้น นางผู้เจริญ ขอเธอเอาขาซ้ายกระหวัดฉันไว้ ขอ
    เธอผู้มีดวงตาอันอ่อนหวาน จงกระหวัดฉันไว้ ขอเธอผู้งดงามจง
    สวมกอดฉัน นั่น เป็นข้อที่ฉันปรารถนายิ่งนัก ความใคร่ของ
    ฉันในเธอผู้มีผมเป็นลูกคลื่น ถึงจะมีน้อยก็เกิดผลมาก เหมือน
    ทักษิณาที่ถวายในพระอรหันต์ ฉะนั้น บุญอันใดที่ฉันได้ทำไว้
    แล้วในพระอรหันต์ผู้คงที่ มีอยู่ ดูกรนางผู้งามทั่วสรรพางค์
    ขอบุญอันนั้นของฉัน จงอำนวยผลแก่ฉัน พร้อมกับด้วยเธอ
    บุญอันใดที่ฉันได้ทำไว้ในปฐพีมณฑลนี้ มีอยู่ ดูกรนางผู้งาม
    พร้อม ขอบุญอันนั้นของฉันจงอำนวยผลแก่ฉัน พร้อมกับด้วย
    เธอ ดูกรแม่สุริยวัจฉสา ฉันปรารถนาเธอเหมือนพระศากย-
    *บุตรพุทธเจ้า ทรงเข้าฌานอยู่พระองค์เดียว มีพระปัญญารักษา
    พระองค์ ทรงมีพระสติ เป็นมุนี ทรงแสวงหาอมตะ พระผู้-
    *จอมปราชญ์ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุดแล้ว พึงชื่นชม
    ฉันใด เธอผู้งดงาม ถ้าฉันได้อยู่ร่วมกับเธอ ก็จะพึงชื่นชม
    ฉันนั้น ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นอิสระของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จะ
    ประทานพรแก่ฉันไซร้ ฉันจะพึงเลือกเอาเธอเป็นแท้ ความ
    อยากได้ของฉันมั่นคงถึงเพียงนี้ ดูกรแม่ผู้เฉลียวฉลาด ท่าน
    ผู้ใดมีธิดาเช่นนี้ ฉันขอน้อมไหว้ท่านผู้นั้น ซึ่งเป็นบิดาของเธอ
    ซึ่งเป็นประดุจสาลพฤกษ์เผล็ดดอกไม่นาน ฉะนั้น ฯ
    [๒๔๙]
    เมื่อปัญจสิขคันธรรพบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้
    ตรัสกะปัญจสิขคันธรรพบุตรว่า ดูกรปัญจสิขะ เสียงสายของท่านเทียบได้กับ
    เสียงเพลงขับ และเสียงเพลงขับของท่านเทียบได้กับเสียงสาย ก็เสียงสายของ
    ท่าน ไม่เกินเสียงเพลงขับ และเสียงเพลงขับ ไม่เกินเสียงสาย ก็คาถาเหล่านี้
    อันเกี่ยวด้วยพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์และกาม ท่าน
    ประพันธ์ขึ้นเมื่อไร ฯ
    ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประพันธ์
    ขึ้นเมื่อสมัยที่พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นไม้อชปาลนิโครธ แทบ
    ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ก็สมัยนั้น ข้าพระองค์ได้รักใคร่ธิดาของ
    ท้าวติมพรุคันธรรพราชผู้มีนามว่า ภัททาสุริยวัจฉสา แต่นางรักใคร่กับผู้อื่นเสีย
    คือรักใคร่บุตรของมาตลีสังคาหกเทวบุตร นามว่า สิขัณฑิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้
    นางนั้นโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จึงถือเอาพิณมีสีเหลืองดังผลมะตูม เข้า
    ไปยังนิเวศน์ของท้าวติมพรุคันธรรพราช ครั้นแล้วจึงถือพิณมีสีเหลืองดังผลมะตูม
    บรรเลงขึ้น และได้กล่าวคาถาเหล่านี้ อันเกี่ยวด้วยพระพุทธเจ้า พระธรรม
    พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกามว่า
    ดูกรแม่ภัททาสุริยวัจฉสา ฉันขอไหว้เท้าติมพรุบิดาเธอ โดยเหตุ
    ที่เธอเกิดเป็นนางงาม ปลูกความปลื้มให้แก่ฉัน ฯลฯ ดูกรแม่
    ผู้เฉลียวฉลาด ท่านผู้ใดมีธิดาเช่นนี้ ฉันขอน้อมไหว้ท่านผู้นั้น
    ซึ่งเป็นบิดาของเธอ ซึ่งเป็นประดุจสาลพฤกษ์เผล็ดดอกไม่นาน
    ฉะนั้น ฯ
    [๒๕๐]
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นาง
    ภัททาสุริยวัจฉสา ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ฉันมิได้เห็น
    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นในที่เฉพาะพระพักตร์เลย เป็นแต่ฉันเคยได้ยินเมื่อ
    เข้าไปฟ้อนในสุธรรมาสภาของเทวดาชั้นดาวดึงส์เท่านั้น เมื่อท่านแสดงพระผู้มี-
    *พระภาคพระองค์นั้นได้แล้ว วันนี้จงมาร่วมสมาคมกับพวกเราเถิด ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็ได้ร่วมสมาคมกับนางนั้น หลังจากนั้น ข้าพระองค์มิได้พูด ฯ
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงพระดำริว่า ปัญจสิขคันธรรพบุตร
    ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค และพระผู้มีพระภาคก็ทรงปราศรัยกับปัญจสิขคัน-
    *ธรรพบุตร ดังนี้แล้ว ตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพบุตรมาตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ พ่อ
    จงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะ
    จอมเทพ พร้อมด้วยอำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค
    ด้วยเศียรเกล้า ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลรับท้าวสักกะจอมเทพแล้วถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ
    พร้อมด้วยอำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วย
    อำมาตย์และบริษัท จงมีความสุขอย่างนั้นเถิด เพราะว่าพวกเทวดา มนุษย์ อสูร
    นาค คนธรรพ์ และชนเป็นอันมากเหล่าอื่นใด ซึ่งปรารถนาสุขมีอยู่ ฯ
    [๒๕๑]
    ก็พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสประทานพรเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่
    เห็นปานนั้นอย่างนี้แล ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคตรัสประทานพร
    แล้ว เสด็จเข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ของพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
    แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ก็เข้าไปยัง
    ถ้ำอินทสาละ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ถึงปัญจสิขคันธรรพบุตร ก็เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
    ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สมัยนั้น ถ้ำอินทสาละ ซึ่งมีพื้นไม่สม่ำเสมอ
    ก็สม่ำเสมอ ซึ่งคับแคบ ก็กว้างขวางขึ้น ความมืดในถ้ำหายไป ความสว่างเกิด
    ขึ้น ด้วยเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ฯ
    [๒๕๒]
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพว่า นี้
    เป็นของน่าอัศจรรย์ของท่านท้าวโกสีย์ นี้เป็นเหตุไม่เคยมีของท่านท้าวโกสีย์ คือ
    การที่พระองค์ผู้มีกิจมาก มีกรณียะมากเสด็จมาในที่นี้ ฯ
    ท้าวสักกะจอมเทพทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประสงค์จะ
    มาเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคตั้งแต่นานมาแล้ว แต่มัวสาละวนด้วยกิจกรณียะบาง
    อย่างของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงมิสามารถมาเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคได้ ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สลฬาคาร ในพระนคร
    สาวัตถี ครั้งนั้น ข้าพระองค์ได้ไปยังพระนครสาวัตถี เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    แต่สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ด้วยสมาธิบางอย่าง นางปริจาริกาของ
    ท้าวเวสวัณมหาราช นามว่า ภุชคี เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค นางยืน
    ประนมมือนมัสการอยู่ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะนางภุชคีว่า ดูกรน้องหญิง ขอท่าน
    จงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคตามคำขอของเราว่า ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วย
    อำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า เมื่อ
    ข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางภุชคีได้ตอบข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์
    มิใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นเสียแล้ว ข้าพระองค์
    จึงสั่งไว้ว่า ดูกรน้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเมื่อใด พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธิ
    แล้ว เมื่อนั้น ท่านจงกราบบังคมพระผู้มีพระภาคตามคำของเราว่า ท้าวสักกะ
    จอมเทพ พร้อมด้วยอำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค
    ด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้องหญิงนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
    ตามคำของข้าพระองค์แลหรือ พระผู้มีพระภาคยังทรงระลึกถึงคำของน้องหญิงนั้น
    ได้อยู่หรือ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรจอมเทพ น้องหญิงนั้น ไหว้อาตมภาพ
    แล้ว อาตมภาพระลึกได้ถึงคำของน้องหญิงนั้น และอาตมภาพออกจากสมาธิ
    เพราะเสียงกงรถของพระองค์ ฯ
    ท้าวสักกะจอมเทพทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาเหล่าใดที่เข้าถึง
    หมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ก่อนพวกข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ยินมา ได้รับมาต่อหน้า
    เทวดาเหล่านั้นว่า เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จ
    อุบัติในโลก เมื่อนั้น ทิพยกายย่อมบริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ข้อนี้
    ข้าพระองค์ได้เห็นพยานแล้วว่า เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
    อุบัติในโลก ทิพยกายย่อมบริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ฯ
    ในเมืองกบิลพัสดุ์ นี้เอง ได้มีศากยธิดานามว่า โคปิกา เป็นคนเลื่อมใส
    ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ นางคลายจิตในความ
    เป็นสตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึง
    สุคติโลกสวรรค์ ถึงความอยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของ
    ข้าพระองค์ พวกเทวดาในดาวดึงส์นั้น รู้จักเธออย่างนี้ว่า โคปกเทวบุตรๆ ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุอื่นสามรูป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เข้าถึง
    หมู่คนธรรพ์อันต่ำ คนธรรพ์พวกนั้นเพียบพร้อมไปด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ มา
    สู่ที่บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ โคปกเทวบุตรได้ตักเตือนคนธรรพ์พวกนั้นผู้มาสู่ที่
    บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เอาหน้าไปไว้ที่ไหน พวกท่าน
    รวบรวมพระธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้นไว้ เราเป็นแต่สตรี เลื่อมใสใน
    พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ คลายจิตในความเป็น
    สตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ
    โลกสวรรค์ ถึงความอยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของท้าวสักกะ
    จอมเทพ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตรๆ ส่วนพวกท่าน
    ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ พวกเราได้เห็น
    สหธรรมิกที่เข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ นับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูแล้ว ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ เมื่อคนธรรพ์พวกนั้นถูกโคปกเทวบุตรตักเตือนแล้ว เทวดาสององค์กลับ
    ได้สติในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงกายอันเป็นชั้นพรหมปุโรหิต ส่วนเทวดาองค์หนึ่ง
    คงตกอยู่ในกามภพ ฯ
    [๒๕๓]
    เราเป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ นามของเราได้ปรากฏ
    ว่า โคปิกา เราเลื่อมใสยิ่งแล้วในพระพุทธเจ้า พระธรรม
    และมีจิตเลื่อมใสบำรุงพระสงฆ์ เพราะความที่พระธรรมของ
    พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแหละ เป็นธรรมดี เราได้เป็นบุตร
    ท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่หลวง เข้าถึง
    ชั้นไตรทิพย์ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตร
    เราได้มาเห็นพวกภิกษุที่เป็นสาวกของพระโคดม ซึ่งเคยเห็นมา
    แล้ว ครั้งที่เรายังเป็นมนุษย์ และบำรุงด้วยข้าวน้ำ สงเคราะห์
    ด้วยการล้างเท้าและทาเท้าให้ในเรือนของตน มาเข้าถึงหมู่คน
    ธรรพ์ อยู่ในหมู่คนธรรพ์ ท่านพวกนี้เอาหน้าไปไว้ไหน จึง
    ไม่รับธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ธรรมที่วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตัว
    อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงดีแล้ว แม้
    เราก็เข้าไปหาพวกท่าน ได้ฟังสุภาษิตของพระอริยะทั้งหลาย
    เราได้เป็นบุตรท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่-
    *หลวง เข้าถึงชั้นไตรทิพย์ ส่วนพวกท่านเข้าไปนั่งใกล้
    พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้าผู้
    ยอดเยี่ยม ยังมาเข้าถึงกายอันต่ำ การอุปบัติของพวกท่านไม่
    สมควร เราได้มาเห็นสหธรรมิกเข้าถึงกายอันต่ำ นับว่าได้เห็น
    รูปที่ไม่น่าดูแล้ว พวกท่านผู้เข้าถึงหมู่คนธรรพ์ ต้องมาสู่ที่
    บำเรอของพวกเทวดา ขอให้ท่านดูความวิเศษอันนี้ของเราผู้อยู่
    ในเรือนเถิด เราเป็นสตรี วันนี้เป็นเทวบุตร ผู้พร้อมพรั่งไป
    ด้วยกามอันเป็นทิพย์ คนธรรพ์พวกนั้นมาพบโคปกเทวบุตร
    อันโคปกเทวบุตร ผู้สาวกพระโคดมตักเตือนแล้ว ถึงความ
    สลดใจ คิดว่า เอาเถิด พวกเราจะพากเพียรพยายาม พวก
    เราจะไม่เป็นคนใช้ของผู้อื่น บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น คน
    ธรรพ์ ๒ คน ระลึกถึงคำสอนพระโคดมแล้ว ปรารภความ
    เพียร คลายจิตในภพนี้ ได้เห็นโทษในกามแล้ว ตัดกาม
    สังโยชน์ และเครื่องผูก คือกามอันเป็นบ่วงของมาร ซึ่งยาก
    ที่จะล่วงไปได้ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เพราะ
    ตัดเสียได้ ซึ่งกามคุณอันมีอยู่ ประดุจช้างตัดบ่วงบาสได้
    ฉะนั้น เทวดาทั้งหมด พร้อมทั้งพระอินทร์ พร้อมทั้งท้าว
    ปชาบดี เข้าไปนั่งประชุมกันในสภา ชื่อ สุธรรมา ล้วนเป็น
    ผู้แกล้วกล้า ปราศจากราคะ บำเพ็ญวิรชธรรมอยู่ ก็หาก้าว
    ล่วงเทวดาพวกนั้นไม่ ท้าววาสพผู้เป็นใหญ่ยิ่งของเทวดา ทรง
    เห็นเทวดาเหล่านั้นในท่ามกลางหมู่เทวดาแล้ว ได้ทรงสลด
    พระทัยว่า ก็เทวดาเหล่านี้เข้าถึงกายอันต่ำ บัดนี้ กลับก้าวล่วง
    พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อท้าวสักกะเกิดสลดพระทัย เพราะ
    ทรงพิจารณาเทวดาเหล่านั้น โคปกเทวบุตรได้ทูลท้าววาสพว่า
    พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมชน มีอยู่ในมนุษยโลก ทรงครอบงำกาม
    เสียได้ ปรากฏพระนามว่า พระศากยมุนี เทวดาพวกนั้นเป็น
    บุตรของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เว้นจากสติแล้ว อัน
    ข้าพระองค์ตักเตือน กลับได้สติ บรรดาท่านทั้ง ๓ นั้น ท่าน
    ผู้หนึ่ง คงเข้าถึงกายคนธรรพ์อยู่ในภพนี้ อีก ๒ ท่านดำเนิน
    ตามทางตรัสรู้ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จะเย้ยพวกเทวดาก็ได้
    การประกาศธรรมในพระวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ บรรดาพระสาวก
    มิได้มีสาวกรูปไรสงสัยอะไรเลย เราทั้งหลายขอนอบน้อม
    พระชินพุทธเจ้าผู้เป็นจอมชน ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ทรงตัด
    ความสงสัยได้แล้ว บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น คนธรรพ์ ๒ คน
    นั้น รู้ธรรมอันใดของพระองค์แล้ว ถึงความเป็นผู้วิเศษ เข้า
    ถึงกายอันเป็นชั้นพรหมปุโรหิต บรรลุคุณวิเศษแล้ว ข้าแต่
    พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอประทานพระวโรกาส ถึงพวกข้าพระองค์
    ก็มาเพื่อบรรลุธรรมนั้น หากพระองค์ทรงกระทำโอกาสแล้ว จะ
    ขอทูลถามปัญหา ฯ
    [๒๕๔]
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า ท้าวสักกะนี้เป็นผู้-
    *บริสุทธิ์สิ้นเวลานาน จักตรัสถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งกะเรา ท้าวเธอจักถามปัญหา
    นั้นทุกข้อ ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่ถามปัญหาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    อนึ่ง เราอันท้าวเธอตรัสถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความใด ท้าวเธอจักทรงทราบ
    ข้อความนั้นได้พลันทีเดียว ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพด้วยพระคาถาว่า
    ดูกรท้าววาสพ พระองค์ปรารถนาไว้ในพระทัย เพื่อจะตรัสถาม
    ปัญหาข้อไร ก็จงตรัสถามปัญหาข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด อาตมภาพ
    จะกระทำที่สุดแห่งปัญหานั้นๆ แก่พระองค์ ฯ

    <CENTER>จบ ภาณวารที่หนึ่ง
    </CENTER> [๒๕๕] ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคทรงให้โอกาสแล้ว ได้
    ทูลถามปัญหาข้อแรกกะพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวก
    เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไรเป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง
    ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความ
    พยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามี
    ความปรารถนาอยู่ดังนี้ ก็ไฉน เขายังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท
    ยังจองเวรกันอยู่ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคด้วยประการ
    ฉะนี้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า
    ดูกรจอมเทพ พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีความริษยาและ
    ความตระหนี่เป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร
    ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็น
    ผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามีความปรารถนาอยู่ดังนี้ ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็น
    ผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ พระผู้มีพระภาค
    อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    ท้าวสักกะจอมเทพทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ-
    *ภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น
    อย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่า
    อย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ
    [๒๕๖]
    ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    ในปัญหาพยากรณ์ข้อแรกดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไป
    ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ความริษยาและความตระหนี่ มีอะไรเป็นเหตุ มี
    อะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความริษยา
    และความตระหนี่จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี ฯ
    ภ. ดูกรจอมเทพ ความริษยาและความตระหนี่มีอารมณ์เป็นที่รักและ
    อารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด อันเป็นแดนเกิด เมื่อ
    อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักมีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่
    จึงมี เมื่ออารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักไม่มี ความริษยาและความ
    ตระหนี่จึงไม่มี ฯ
    ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็น
    ที่รัก มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
    เมื่ออะไรมี อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่ออะไรไม่มี
    อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี ฯ
    ดูกรจอมเทพ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก มีความพอ
    ใจเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อความพอใจมี อารมณ์
    อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่อความพอใจไม่มี อารมณ์อันเป็น
    ที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความพอใจมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
    มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความพอใจจึงมี เมื่ออะไร
    ไม่มี ความพอใจจึงไม่มี ฯ
    ดูกรจอมเทพ ความพอใจมีความตรึกเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด
    เป็นแดนเกิด เมื่อความตรึกมี ความพอใจจึงมี เมื่อความตรึกไม่มี ความพอใจ
    จึงไม่มี ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
    มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความตรึกจึงมี เมื่ออะไรไม่มี
    ความตรึกจึงไม่มี ฯ
    ดูกรจอมเทพ ความตรึกมีส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม
    เป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบ
    ด้วยปปัญจธรรมมี ความตรึกจึงมี เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม
    ไม่มี ความตรึกจึงไม่มี ฯ
    [๒๕๗]
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า
    ดำเนินปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญา อันประกอบด้วย
    ปปัญจธรรม ฯ
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควร
    เสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี โทมนัสก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร
    เสพก็มี และอุเบกขาก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดูกร
    จอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร
    เสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น
    บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น
    กุศลธรรมเสื่อม โสมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใด
    ว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โสมนัสเห็น
    ปานนั้น ควรเสพ ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโสมนัสอันใดมีวิตก มีวิจาร อันใด
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่
    ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี
    ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโทมนัสทั้ง ๒
    นั้น บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น
    กุศลธรรมเสื่อม โทมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่า
    เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โทมนัสเห็นปานนั้น
    ควรเสพ ในโทมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโทมนัสอันใด มีวิตก มีวิจาร อันใด ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โทมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า ดูกร-
    *จอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร
    เสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี
    ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงอุเบกขา ดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในอุเบกขา
    ทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบอุเบกขาอันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรม
    เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม อุเบกขาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบอุเบกขา
    อันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น อุเบกขา
    เห็นปานนี้ ควรเสพ ในอุเบกขาทั้ง ๒ นั้น ถ้าอุเบกขาอันใด มีวิตก มีวิจาร
    อันใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่วิตก ไม่มีวิจาร ประ-
    *ณีตกว่า ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี
    ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงอุเบกขาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่า ดำเนินปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึง
    ความดับแห่งส่วนสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม ฯ
    พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์
    ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    ท้าวสักกะจอมเทพทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ-
    *ภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น
    อย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่า
    อย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ
    [๒๕๘]
    ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ-
    *ภาคในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น
    ไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อ
    ความสำรวมในปาติโมกข์ ฯ
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ
    ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี วจีสมาจารก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ
    ก็มี และการแสวงหาก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ
    ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ใน
    กายสมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมา-
    *จารนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม กายสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
    บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม
    กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ
    กล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล
    ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าววจีสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ
    ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงวจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในวจี-
    *สมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้
    อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม วจีสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคล
    พึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรม
    เจริญขึ้น วจีสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าววจีสมา-
    *จารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึง
    วจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวการแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ
    ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ใน
    การแสวงหาทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวง
    หานี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม การแสวงหาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
    บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเสื่อม
    กุศลธรรมเจริญขึ้น การแสวงหาเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ
    กล่าวการแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล
    ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อสำรวมในปาติโมกข์ ฯ
    [๒๕๙]
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติ
    แล้วเพื่อความสำรวมอินทรีย์ ฯ
    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาโดยแยกเป็น ๒
    คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู โดยแยก
    เป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวกลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก
    โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
    โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้
    แจ้งด้วยกาย โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวธรรม
    ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ ได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบเนื้อความแห่งภาษิต
    ที่ตรัสโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา
    เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา
    เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด
    อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาเห็นปานนี้
    ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพ
    กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
    เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย เห็นปานใด ... เมื่อ
    บุคคลเสพธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
    เสื่อม ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพธรรมที่
    จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมที่
    จะพึงรู้แจ้งด้วยใจเห็นปานนี้ ควรเสพ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบ
    เนื้อความแห่งภาษิตที่ตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ในข้อนี้ ข้าพระองค์
    ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่าอย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการ
    พยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ
    [๒๖๐]
    ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี
    พระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค
    ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียว
    กัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็น
    อย่างเดียวกัน หรือหนอ ฯ
    ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีล
    เป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน
    หามิได้ ฯ
    ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน
    ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็น
    อย่างเดียวกัน ฯ
    โลกมีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุ
    ต่างกันนั้น สัตว์ทั้งหลายยึดธาตุใดๆ อยู่ ย่อมยึดมั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและ
    ความยึดถือ กล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์
    ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะ
    เป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน ... ฯ
    [๒๖๑]
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมดมีความสำเร็จ
    ล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
    หรือหนอ ฯ
    ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความ
    เกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หามิได้ ฯ
    ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน
    ไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ
    ภิกษุเหล่าใดน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ภิกษุเหล่านั้น มีความ
    สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุด
    ล่วงส่วน เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน ไม่มี
    ความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ
    [๒๖๒]
    ท้าวสักกะ จอมเทพ ทรงชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ พระผู้มี
    พระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ตัณหาเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ย่อมฉุดคร่าบุรุษนี้ไป
    เพื่อบังเกิดในภพนั้นๆ เพราะฉะนั้น บุรุษนี้ย่อมถึงอาการขึ้นๆ ลงๆ ปัญหา
    เหล่าใด ที่ข้าพระองค์ไม่ได้แม้ซึ่งการกระทำโอกาสในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นนอก
    พระธรรมวินัยนี้ ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นกาลไกล โปรด
    พยากรณ์แก่ข้าพระองค์แล้ว และลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลงของข้าพระองค์
    พระผู้มีพระภาคทรงถอนขึ้นแล้ว ฯ
    ดูกรจอมเทพ พระองค์ยังทรงจำได้หรือว่า เคยตรัสถามปัญหาเหล่านี้กะ
    สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ว่า เคยถามปัญหาเหล่านี้กะ
    สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ฯ
    ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้าพระองค์ไม่หนักพระทัย
    ขอให้ตรัสบอกเถิด ฯ
    ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจ ในสถานที่พระองค์ และท่านที่เป็นอย่าง
    พระองค์ประทับนั่งอยู่แล้ว ฯ
    ถ้าเช่นนั้น จงตรัสบอกเถิด ฯ
    ข้าพระองค์เข้าใจสมณพราหมณ์เหล่าใดว่า เป็นสมณพราหมณ์ผู้อยู่ป่า
    มีเสนาสนะอันสงัดแล้ว ข้าพระองค์เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถามปัญหา
    เหล่านี้ ท่านเหล่านั้นถูกข้าพระองค์ถามปัญหาแล้ว ย่อมไม่สบายใจ เมื่อไม่สบาย
    ใจ กลับย้อนถามข้าพระองค์ว่า ท่านชื่อไร ข้าพระองค์ถูกท่านเหล่านั้นถามแล้ว
    จึงตอบว่า ข้าพเจ้าคือท้าวสักกะจอมเทพ ท่านเหล่านั้นยังสอบถามข้าพระองค์
    ต่อไปว่า ท่านกระทำกรรมอะไรจึงลุถึงฐานะอันนี้ ข้าพระองค์จึงได้แสดงธรรม
    ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เรียนมา แก่ท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นดีใจด้วยเหตุเพียง
    เท่านี้ว่า พวกเราได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเธอได้ตอบปัญหาที่พวกเรา
    ได้ถามแล้วเป็นของแน่นอน ท่านเหล่านั้นกลับเป็นผู้รับฟังข้าพระองค์ แต่
    ข้าพระองค์หาได้เป็นผู้รับฟังท่านเหล่านั้นไม่ ก็ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์
    ชั้นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ใน
    เบื้องหน้า ฯ
    พระองค์ยังทรงจำได้หรือ ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส
    เห็นปานนี้ ก่อนแต่นี้ ฯ
    ข้าพระองค์ยังจำได้ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็น
    ปานนี้ ก่อนแต่นี้ ฯ
    พระองค์ยังทรงจำได้ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็น
    ปานนี้ ก่อนแต่นี้ อย่างไรเล่า ฯ
    [๒๖๓]
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดา
    และอสูรได้ประชิดกันแล้ว ก็ในสงครามคราวนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้
    เมื่อข้าพระองค์ชนะสงครามนั้นแล้ว ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเทวดาใน
    เทวโลกนี้จักบริโภคโอชาทั้งสอง คือ ทิพย์โอชา และอสุรโอชา การได้รับความ
    ยินดี การได้รับความโสมนัสของข้าพระองค์นั้น ประกอบไปด้วยทางมาแห่งอาชญา
    ประกอบไปด้วยทางมาแห่งศาตรา ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย
    กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน
    ส่วนการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัสของข้าพระองค์ เพราะได้ฟัง
    ธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ไม่เป็นทางมาแห่งอาชญา ไม่เป็นทางมาแห่งศาตรา
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ
    เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ฯ
    ดูกรจอมเทพ ก็พระองค์ทรงเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไรเล่า จึงทรง
    ประกาศ การได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการ จึงประกาศการได้รับ
    ความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    [๒๖๔]
    ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่หนึ่งอย่างนี้ว่า
    เมื่อเราเกิดเป็นเทวดาดำรงอยู่ในภพดาวดึงส์นี้ เรากลับ
    ได้อายุเพิ่มขึ้นอีก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงทรงทราบ
    อย่างนี้เถิด ดังนี้
    จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    [๒๖๕]
    ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สองอย่างนี้ว่า
    เราจุติจากทิพยกายแล้ว ละอายุอันมิใช่ของมนุษย์แล้ว
    เป็นผู้ไม่หลง จักเข้าสู่ครรภ์ในตระกูลอันเป็นที่พอใจของเรา
    ดังนี้
    จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    [๒๖๖]
    ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สามอย่างนี้ว่า
    เรานั้น ยินดีแล้ว ในศาสนา ของท่าน ที่มิได้หลง ปัญหา
    เรามีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง จักอยู่โดยธรรม ดังนี้
    จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    [๒๖๗]
    ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สี่อย่างนี้ว่า
    ถ้าความตรัสรู้จักมีแก่เราในภายหน้า โดยธรรมไซร้
    เราจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงอยู่ นั่นแหละ จักเป็นที่สุดของเรา ดังนี้
    จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    [๒๖๘]
    ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ห้าอย่างนี้ว่า
    หากเราจุติจากกายมนุษย์แล้ว ละอายุอันเป็นของ
    มนุษย์แล้ว จักกลับเป็นเทวดาอีก จักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก
    ดังนี้
    จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    [๒๖๙]
    ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่หกอย่างนี้ว่า
    พวกเทวดาชั้นอกนิฏฐาเหล่านั้นเป็นผู้ประณีตกว่า มียศ
    เมื่อภพที่สุดเป็นไปอยู่ นิวาสนั้นจักเป็นของเรา ดังนี้
    จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ หกประการนี้แล
    จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
    [๒๗๐]
    ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด ยังมีความสงสัย
    เคลือบแคลง เที่ยวเสาะแสวงหาพระตถาคตอยู่ตลอดกาลนาน
    ข้าพระองค์สำคัญสมณะเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้มีปรกติอยู่เงียบสงัด
    เข้าใจว่าเป็นพระสัมพุทธเจ้า ได้เข้าไปหาสมณะเหล่านั้น ท่าน
    เหล่านั้นถูกข้าพระองค์ถามว่า ความพอใจเป็นอย่างไร ความ
    ไม่พอใจเป็นอย่างไร ก็หาชี้แจงในมรรคและข้อปฏิบัติไม่
    ในเวลาที่ท่านเหล่านั้นรู้ข้าพระองค์ว่า เป็นสักกะมาจากเทวโลก
    จึงถามข้าพระองค์ทีเดียวว่า ท่านทำอะไรจึงได้ลุถึงฐานะนี้
    ข้าพระองค์จึงแสดงธรรมตามที่ฟังมา แก่ท่านเหล่านั้น ให้ปรากฏ
    ในหมู่ชน ท่านเหล่านั้นมีความพอใจด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า
    พวกเราได้เห็นท้าววาสวะแล้ว ในเวลาใด ข้าพระองค์ได้เห็น
    พระสัมพุทธเจ้า ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว ในเวลานั้น
    ข้าพระองค์เป็นผู้ปราศจากความกลัว วันนี้ ได้เข้ามานั่งใกล้
    พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้ทรง
    กำจัดเสียได้ซึ่งลูกศรคือตัณหา ซึ่งหาบุคคลเปรียบมิได้เป็น มหา-
    *วีระ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ข้าแต่
    พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์กับพวกเทวดากระทำความนอบ-
    *น้อมอันใดแก่พรหม ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอถวาย
    ความนอบน้อมนั้นแด่พระองค์ ข้าพระองค์ขอทำความนอบน้อม
    แด่พระองค์ด้วยตนเอง พระองค์ผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้พระนิพพาน
    พระองค์เป็นศาสดาอย่างยอดเยี่ยมในโลกกับทั้งเทวโลก จะหา
    บุคคลเปรียบพระองค์มิได้ ฯ
    [๒๗๑]
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพ-
    *บุตรมาแล้วตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ พ่อเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ด้วยเหตุที่พ่อ
    ให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระหฤทัยก่อน พ่อให้พระองค์ทรงพอพระหฤทัยก่อนแล้ว
    ภายหลังพวกเราจึงได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
    เราจักตั้งพ่อไว้ในตำแหน่งแทนบิดา พ่อจักเป็นราชาแห่งคนธรรพ์ และเราจะให้
    นางภัททาสุริยวัจฉสาแก่พ่อ เพราะว่า นางนั้น พ่อปรารถนายิ่งนัก ฯ
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเอาพระหัตถ์ตบปฐพี แล้วทรงเปล่งอุทาน
    ๓ ครั้งว่า
    ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระ-
    *องค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
    *เจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    [๒๗๒]
    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม
    อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน บังเกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา และบังเกิด
    ขึ้นแก่เทวดาแปดหมื่นพวกอื่น ปัญหาที่เชื้อเชิญให้ถามที่ท้าวสักกะจอมเทพทูล
    ถามนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แล้ว ด้วยประการดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า
    สักกปัญหา จึงเป็นชื่อของไวยากรณ์ภาษิตนี้ ฉะนี้แล ฯ

    <CENTER>จบสักกปัญหสูตร ที่ ๘
    </CENTER>
     
  8. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    [​IMG]



    [๔๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา (มหาอุบาสิกาวิสาขา
    ผู้เป็นดังว่ามารดาแห่งมิคารเศรษฐี) ในวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท้าวสักกะ
    จอมเทพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อ
    ปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
    มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
    เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย?
    [๔๓๔]
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรม
    ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้
    ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม
    ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
    มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็น
    ความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึด
    มั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับ
    กิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ
    เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล
    ภิกษุชื่อว่าน้อมไป ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่ง
    จากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐ
    กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาท
    พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณและหายไปในที่นั้นนั่นเอง.

    <CENTER>ท้าวสักกะเข้าไปเยี่ยมพระมหาโมคคัลลานะ
    </CENTER> [๔๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ได้มีความดำริ
    ว่า ท้าวสักกะนั้นทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี หรือว่าไม่ทราบก็ยินดี
    ถ้ากระไร เราพึงรู้เรื่องท้าวสักกะทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี หรือว่า
    ไม่ทราบแล้วก็ยินดี. ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ ได้หายไปในปราสาทของมิคารมารดา
    ในวิหารบุพพาราม ปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประหนึ่งว่าบุรุษที่กำลังเหยียดแขนทึ่งออกไป
    หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น. สมัยนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ กำลังอิ่มเอิบ พร้อมพรั่ง
    บำเรออยู่ ด้วยทิพยดนตรีห้าร้อยในสวนดอกบุณฑริกล้วน. ท้าวเธอได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลาน์
    มาอยู่แต่ที่ไกล จึงให้หยุดเสียงทิพยดนตรีห้าร้อยไว้ แล้วก็เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลาน์แล้ว
    กล่าวว่า ข้าแต่พระโมคคัลลาน์ผู้นฤทุกข์ นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว นานแล้วท่านได้ทำปริยาย
    เพื่อจะมาในที่นี้ นิมนต์นั่งเถิด อาสนะนี้แต่งตั้งไว้แล้ว.
    ท่านพระมหาโมคคัลลาน์นั่งบนอาสนะที่แต่งไว้แล้ว.
    ส่วนท้าวสักกะจอมเทพ ก็ถืออาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    [๔๓๖]
    ท่านพระโมคคัลลาน์ได้ถาม ท้าวสักกะผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกร
    ท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อแก่ท่าน
    อย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้ข้าพเจ้าจักขอมีส่วนเพื่อจะฟังกถานั้น.
    ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก ทั้งธุระ
    ส่วนตัว ทั้งธุระของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ พระภาษิตใดที่ข้าพเจ้าฟังแล้วลืมเสียเร็วพลัน พระ-
    *ภาษิตนั้น ท่านฟังดี เรียนดี ทำไว้ในใจดี ทรงไว้ดีแล้ว ข้าแต่พระโมคคัลลาน์ เรื่องเคยมีมาแล้ว
    สงครามระหว่างเทวดาและอสูรได้ประชิดกันแล้ว ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้
    ข้าพเจ้าชนะเทวาสุรสงครามเสร็จสิ้นแล้ว กลับจากสงครามนั้นแล้ว ให้สร้างเวชยันตปราสาท
    เวชยันตปราสาทมีร้อยชั้น ในชั้นหนึ่งๆ มีกูฏาคารเจ็ดร้อยๆ ในกูฏาคารแห่งหนึ่งๆ มีนางอัปสร
    เจ็ดร้อยๆ นางอัปสรผู้หนึ่งๆ มีเทพธิดาผู้บำเรอเจ็ดร้อยๆ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ ท่านปรารถนา
    เพื่อจะชมสถานที่น่ารื่นรมย์ แห่งเวชยันตปราสาทหรือไม่?
    ท่านพระมหาโมคคัลลาน์รับด้วยดุษณีภาพ.
    พระโมคคัลลาน์ยกย่องเวชยันตปราสาท

    <CENTER>พระโมคคัลลาน์ยกย่องเวชยันตปราสาท
    </CENTER> [๔๓๗] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเวสวัณมหาราช นิมนต์ท่านพระมหา
    โมคคัลลาน์ออกหน้าแล้ว ก็เข้าไปยังเวชยันตปราสาท. พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะ เห็น
    ท่านพระมหาโมคคัลลาน์มาอยู่แต่ที่ไกล เกรงกลัวละอายอยู่ ก็เข้าสู่ห้องเล็กของตนๆ คล้ายกะว่า
    หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวเข้าก็เกรงกลัวละอายอยู่ ฉะนั้น. ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าว
    เวสวัณมหาราช เมื่อให้ท่านพระมหาโมคคัลลาน์เที่ยวเดินไปในเวชยันตปราสาท ได้ตรัสว่า ข้าแต่
    ท่านพระโมคคัลลาน์ ขอท่านจงดูสถานที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้ ขอท่านจงดูสถาน
    ที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้.
    ท่านพระมหาโมคคัลลาน์กล่าวว่า สถานที่น่ารื่นรมย์ของท่านท้าวโกสีย์นี้ย่อมงดงาม เหมือน
    สถานที่ของผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน แม้มนุษย์ทั้งหลายเห็นสถานที่น่ารื่นรมย์ไหนๆ เข้าแล้ว
    กล่าวกันว่า งามจริง ดุจสถานที่น่ารื่นรมย์ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์.
    ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ได้มีความดำริว่า ท้าวสักกะนี้เป็นผู้ประมาทอยู่มาก
    นัก ถ้ากระไร เราพึงให้ท้าวสักกะนี้สังเวชเถิด จึงบันดาลอิทธาภิสังขาร เอาหัวแม่เท้ากดเวชยันต
    ปราสาทเขย่าให้สั่น สะท้าน หวั่นไหว. ทันใดนั้นท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวเวสวัณมหาราช และ
    พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีความประหลาดมหัศจรรย์จิต กล่าวกันว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี่เป็น
    ความประหลาดอัศจรรย์ พระสมณะมีฤทธิ์มาก อานุภาพมาก เอาหัวแม่เท้ากดทิพยพิภพ เขย่า
    ให้สั่น สะท้าน หวั่นไหวได้.

    <CENTER>ตรัสความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
    </CENTER> [๔๓๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพมีความสลด
    จิตขนลุกแล้ว จึงถามว่า ดูกรท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้น
    แห่งตัณหาโดยย่นย่ออย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้ข้าพเจ้าจักขอมีส่วนเพื่อฟังกถานั้น.
    ท้าวสักกะจึงตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ผู้นฤทุกข์ ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย ข้าพเจ้า
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูล
    ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วใน
    ธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบ
    ล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    เมื่อข้าพเจ้าทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับ
    ว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่ง
    ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม
    ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี
    ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณา
    เห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ก็ไม่ยึด
    มั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่นย่อม
    ดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควร
    ทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติ
    เพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน
    มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
    เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ พระผู้มีพระภาค
    ได้ตรัสความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา โดยย่อแก่ข้าพเจ้าอย่างนี้แล.
    ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ ชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวสักกะ แล้วได้หายไปใน
    หมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ มาปรากฏที่ปราสาทของมิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม ประหนึ่งว่าบุรุษ
    ที่กำลังเหยียดแขนที่งอออกไป หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น.
    ครั้งนั้น พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลาน์หลีก
    ไปแล้วไม่นาน ได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น เป็นพระผู้มี-
    *พระภาค ผู้พระศาสดาของพระองค์หรือหนอ?
    ท้าวสักกะตรัสบอกว่า ดูกรเหล่าเทพธิดาผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น ไม่ใช่พระผู้มีพระภาค
    ผู้พระศาสดาของเรา เป็นท่านพระมหาโมคคัลลาน์ผู้เป็นสพรหมจารีของเรา.
    พวกเทพธิดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ เป็นลาภของพระองค์ๆ ได้ดีแล้วที่ได้
    พระสมณะผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เป็นสพรหมจารีของพระองค์ พระผู้มีพระภาค
    ผู้ศาสดาของพระองค์ คงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเป็นอัศจรรย์เป็นแน่.
    [๔๓๙]
    ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ
    ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
    พระภาคย่อมทรงทราบว่าพระองค์ เป็นผู้ตรัสความน้อมไปในธรรม เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ
    แก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ?
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลาน์ เรารู้เฉพาะอยู่ จะเล่าให้ฟัง ท้าวสักกะจอมเทพ
    เข้ามาหาเรา อภิวาทแล้ว ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามเราว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น
    แห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน
    เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกร-
    *โมคคัลลาน์ เมื่อท้าวสักกะนั้นถามอย่างนี้แล้ว เราบอกว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้
    สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้น
    รู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้-
    *ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
    มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ
    พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ
    ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้
    เฉพาะตน ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุ
    ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจาก
    กิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่า
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรโมคคัลลาน์ เราจำได้อยู่ว่า เราเป็นผู้กล่าวความน้อมไปในธรรม
    เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่ท้าวสักกะจอมเทพ อย่างนี้แล.
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้จบแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ชื่นชมยินดีพระ-
    *ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

    <CENTER>จบ จูฬตัณหาสังขยสูตร ที่ ๗
    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>
     
  9. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    [​IMG]





    มฆเทวสูตร


    [๔๕๙] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกร
    ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายปรารถนาจะเห็นพระเจ้านิมิราชหรือไม่?
    เทวดาชั้นดาวดึงส์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะเห็น
    พระเจ้านิมิราช.
    ดูกรอานนท์ สมัยนั้น ในวันอุโบสถ ที่สิบห้า พระเจ้านิมิราชทรงสนานพระกาย
    ทั่วพระเศียรแล้ว ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นปราสาทอันประเสริฐประทับนั่งอยู่ชั้นบน. ครั้งนั้น
    ท้าวสักกะจอมเทพทรงหายไปในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระเจ้านิมิราช
    เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น. แล้วได้ตรัสว่า
    ข้าแต่มหาราช เป็นลาภของพระองค์ ข้าแต่มหาราช พระองค์ได้ดีแล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์ นั่ง
    ประชุมกันสรรเสริญอยู่ในสุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เป็นลาภของชนชาววิเทหะหนอ ดูกร
    ท่านผู้เจริญ ชนชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิราชผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา
    เป็นพระมหาราชาผู้สถิตอยู่ในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์คหบดี ชาวนิคมและชาว
    ชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวันที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์ ข้าแต่มหาราช
    เทวดาชั้นดาวดึงส์ปรารถนาจะเห็นพระองค์ หม่อมฉันจักส่งรถม้าอาชาไนยเทียมม้าพันหนึ่งมาให้
    พระองค์ พระองค์พึงขึ้นประทับทิพยานเถิด อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย. พระเจ้านิมิราชทรงรับ
    ด้วยอาการนิ่งอยู่. ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบว่า พระเจ้านิมิราชทรงรับเชิญแล้ว
    ทรงหายไปในที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้านิมิราช มาปรากฏในเทวดาชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือน
    บุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น.

    <CENTER>พระเจ้านิมิราชทอดพระเนตรนรกสวรรค์
    </CENTER> [๔๖๐] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรผู้รับใช้มาว่า
    ดูกรเพื่อนมาตลี มาเถิดท่าน จงเทียมรถม้าอาชาไนยอันเทียมม้าพันหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้า
    นิมิราช จงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช รถม้าอาชาไนยเทียมด้วยม้าพันหนึ่งนี้ ท้าวสักกะจอมเทพ
    ทรงส่งมารับพระองค์ พระองค์พึงเสด็จขึ้นประทับทิพยานเถิด อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย. มาตลี-
    *เทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับ รับสั่งของท้าวสักกะจอมเทพ แล้วเทียมรถม้าอาชาไนยอันเทียมด้วยม้า
    พันหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิราชแล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราช รถม้าอาชาไนยอันเทียมด้วยม้า
    พันหนึ่งนี้ ท้าวสักกะจอมเทพทรงส่งมารับพระองค์ เชิญเสด็จขึ้นประทับทิพยานเถิด อย่าทรง
    หวั่นพระทัยเลย อนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีกรรมอันลามก เสวยผลของกรรมอันลามกทางหนึ่ง
    ทางสำหรับสัตว์ผู้มีกรรมอันงาม เสวยผลของกรรมอันงามทางหนึ่ง ข้าพระองค์จะเชิญเสด็จ
    พระองค์โดยทางไหน?
    พระเจ้านิมิราชตรัสว่า ดูกรมาตลี จงนำเราไปโดยทางทั้งสองนั่นแหละ.
    มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ นำเสด็จพระเจ้านิมิราชถึงสุธรรมาสภา. ท้าวสักกะจอมเทพ
    ทอดพระเนตร เห็นพระเจ้านิมิราชกำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้ตรัสว่า ข้าแต่มหาราช เชิญเสด็จ
    มาเถิด ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์ประชุมสรรเสริญอยู่ในสุธรรมา
    สภาว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เป็นลาภของชนชาววิเทหะหนอ ชนชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้า
    นิมิราชผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา เป็นพระมหาราชาผู้สถิตอยู่ในธรรม ทรงประพฤติธรรม
    ในพราหมณ์คหบดี ชาวนิคมและชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวันที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปด
    แห่งปักข์ ข้าแต่มหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์ปรารถนาจะพบเห็นพระองค์ ขอเชิญพระองค์จง
    อภิรมย์อยู่ในเทวดาทั้งหลายด้วยเทวานุภาพเถิด.
    พระเจ้านิมิราชตรัสว่า อย่าเลย พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงนำหม่อมฉันกลับไปยังเมือง
    มิถิลาในมนุษย์โลกนั้นเถิด หม่อมฉันจักได้ประพฤติธรรมอย่างนั้นในพราหมณ์คหบดี ชาวนิคม
    และชาวชนบท และจักได้รักษาอุโบสถทุกวันที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์เถิด.
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรผู้รับใช้มาว่า ดูกรเพื่อนมาตลี ท่าน
    จงเทียมรถม้าอาชาไนยอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง แล้วนำพระเจ้านิมิราชกลับไปยังเมืองมิถิลาใน
    มนุษย์โลกนั้น มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับรับสั่งของท้าวสักกะจอมเทพแล้ว เทียมรถม้าอาชาไนย
    อันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง แล้วนำพระเจ้านิมิราชกลับไปยังเมืองมิถิลาในมนุษยโลกนั้น.

    <CENTER>พระเจ้านิมิราชทรงเห็นพระเกศาหงอกออกผนวช
    </CENTER> [๔๖๑] ดูกรอานนท์ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระราชาเป็นใหญ่ ทรงประพฤติธรรมใน
    พราหมณ์คหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวันที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปด
    แห่งปักข์. ครั้งนั้น ด้วยล่วงปีเป็นอันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก ล่วงพันปีเป็นอันมาก พระเจ้า
    นิมิราชตรัสกะช่างกัลบกว่า ดูกรเพื่อนกัลบก ท่านเห็นผมหงอกเกิดขึ้นบนศีรษะของเราเมื่อใด
    พึงบอกแก่เราเมื่อนั้น. ช่างกัลบกทูลรับรับสั่งพระเจ้านิมิราชว่า อย่างนั้น ขอเดชะ. ด้วยล่วงปี
    เป็นอันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก ล่วงพันปีเป็นอันมาก ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอก
    เกิดขึ้นบนพระเศียรพระเจ้านิมิราช จึงได้กราบทูลว่า เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศา
    หงอกเกิดขึ้นบนเศียรแล้วเห็นปรากฏอยู่.
    พระเจ้านิมิราชตรัสว่า ดูกรเพื่อนกัลบก ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเอาแหนบถอนผมหงอก
    นั้นให้ดี แล้ววางไว้ในกระพุ่มมือของเรา.
    ช่างกัลบกทูลรับรับสั่งพระเจ้านิมิราช แล้วเอาแหนบถอนพระเกศาหงอกนั้นด้วยดี วาง
    ไว้ในกระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้านิมิราช. ครั้งนั้น พระราชาพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก
    แล้วโปรดให้พระราชกุมารผู้เป็นราชบุตรองค์ใหญ่มาเฝ้า แล้วตรัสว่า พ่อกุมาร เทวทูตปรากฏ
    แก่เราแล้ว ผมหงอกเกิดขึ้นบนศีรษะแล้วเห็นปรากฏอยู่ ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์เรา
    บริโภคแล้วนี้เป็นสมัยที่เราจะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิดเจ้า เจ้าจงครองราชสมบัตินี้
    ส่วนเราจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ดูกรกุมาร
    ถ้าแม้เจ้าพึงเห็นผมหงอกเกิดขึ้นบนศีรษะเมื่อใด เมื่อนั้น เจ้าพึงให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก
    พร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นพระราชบุตรองค์ใหญ่ ในการที่จะเป็นพระราชาให้ดีแล้วปลงผมและหนวด
    นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด พึงประพฤติตามวัตรอันงามที่เราตั้งไว้แล้ว
    นี้ เจ้าอย่าได้เป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย เมื่อยุคบุรุษใดเป็นไปอยู่ วัตรอันงามเห็นปานนี้
    ขาดสูญไป ยุคบุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น. ดูกรพ่อกุมาร เจ้าจะพึง
    ประพฤติตามวัตรอันงามที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเจ้าด้วยประการนั้น
    เจ้าอย่าได้เป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.
    [๔๖๒]
    ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้านิมิราชครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก
    ทรงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นพระราชบุตรองค์ใหญ่ในการที่จะเป็นพระราชาให้ดีแล้ว ทรงปลงพระ
    เกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสายะ เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวชเป็นบรรพชิต.
    ท้าวเธอมีพระหฤทัยประกอบด้วยเมตตา ทรงแผ่ไปทั่วทิศหนึ่งอยู่. ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม
    ในทิศที่สี่ก็เหมือนกัน มีพระหฤทัยประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณ
    มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทรงแผ่ไปทั่วโลก โดยมุ่งประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่าในที่
    ทุกสถาน ทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยประการฉะนี้. มีพระหฤทัยประกอบด้วย
    กรุณา ... มีพระหฤทัยประกอบด้วยมุทิตา ... มีพระหฤทัยประกอบด้วยอุเบกขา ทรงแผ่ไปทั่ว
    ทิศหนึ่งอยู่ ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม ในทิศที่สี่ก็เหมือนกัน มีพระหฤทัยประกอบด้วยอุเบกขา
    อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทรงแผ่ไปทั่วโลก
    โดยมุ่งประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
    ด้วยประการฉะนี้. ดูกรอานนท์ ก็พระเจ้านิมิราชทรงเล่นเป็นพระกุมารแปดหมื่นสี่พันปี ทรงดำรง
    ความเป็นอุปราชแปดหมื่นสี่พันปี เสวยราชสมบัติแปดหมื่นสี่พันปี เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์
    ทรงผนวชเป็นบรรพชิตประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวัมพวันนี้แล. แปดหมื่นสี่พันปี พระองค์
    เจริญพรหมวิหารสี่แล้ว เมื่อสวรรคตได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก.

    <CENTER>พระเจ้ากฬารชนกเป็นอันติมบุรุษ
    </CENTER> [๔๖๓] ดูกรอานนท์ ก็พระเจ้านิมิราชมีพระราชบุตรพระนามว่ากฬารชนก. พระราชกุมาร
    นั้นมิได้เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวชเป็นบรรพชิต. ท้าวเธอทรงตัดกัลยาณวัตรนั้นเสีย.
    ชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น. ดูกรอานนท์ เธอพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
    สมัยนั้น พระเจ้ามฆเทวะซึ่งทรงตั้งกัลยาณวัตรนั้นเป็นผู้อื่นแน่. แต่ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น.
    สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้ามฆเทวะ. เราตั้งกัลยาณวัตรนั้นไว้ ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลังประพฤติ
    ตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนั้น. แต่กัลยาณวัตรนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
    กำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียง
    เพื่ออุบัติในพรหมโลกเท่านั้น. ส่วนกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
    เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    โดยส่วนเดียว. ก็กัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
    เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว นั้นเป็นไฉน?
    คือ มรรคมีองค์ ๘ เป็นอริยะนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ กัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ นี้แล
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว. ดูกรอานนท์ เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติตาม
    กัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเธอทั้งหลาย ด้วยประการนั้น
    เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย เมื่อยุคบุรุษใดเป็นไปอยู่ กัลยาณวัตรเห็นปานนี้
    ขาดสูญไป ยุคบุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของบุรุษเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติ
    ตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเธอทั้งหลายด้วยประการนั้น
    เธอทั้งหลายอย่าได้ชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาคแล้ว ดังนี้แล.

    <CENTER>จบ มฆเทวสูตร ที่ ๓.
    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>
     
  10. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สุวีรสูตรที่ ๑
    </CENTER>
    [๘๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    [๘๔๘]
    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว
    พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ
    จอมเทวดาตรัสเรียกสุวีรเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลัง
    พากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุวีรเทพ
    บุตรรับบัญชาของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
    ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ แลท้าวสักกะจอม
    เทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุวีรเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมา
    รบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒
    สุวีรเทพบุตรรับบัญชาของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรง
    พระเจริญ แล้วมัวประมาทเสีย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุวีร-
    *เทพบุตรมาสั่งว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจง
    ไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ สุวีรเทพบุตรรับบัญชา
    ของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ แล้วมัวประมาท
    เสีย ฯ
    [๘๔๙]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะ
    สุวีรเทพบุตรด้วยคาถาว่า
    บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม จะประสพสุขได้ ณ ที่ใด ดูกร
    สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่
    นั้นด้วยเถิด ฯ
    [๘๕๐]
    สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า
    บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่น และไม่ใช้ใครๆ ให้กระ
    ทำกิจทั้งหลายอีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้า
    แต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้น
    แก่ข้าพระองค์
    [๘๕๑]
    ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
    ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่น ถึงความสุขล่วงส่วนได้
    สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้นและจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น
    ด้วยเถิด ฯ
    [๘๕๒]
    สุวีรเทพบุตรทูลว่า
    ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
    พึงได้ความสุขใด โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ
    ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขนั้นอันประเสริฐ ที่ไม่มีความ
    แห้งใจ ไม่มีความคับแค้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
    [๘๕๓]
    ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
    หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน ไม่ว่าในที่ไหนๆ
    ใครๆ ย่อมทรงชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน
    สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่
    นั้นด้วยเถิด ฯ
    [๘๕๔]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น อาศัย
    ผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็น
    อิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงจักพรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความหมั่น ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้ พึงหมั่น เพียร
    พยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อกระทำ
    ให้แจ้งซึ่งมรรคผลที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดย
    แท้ ฯ

    <CENTER></CENTER>
     
  11. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ธชัคคสูตรที่ ๓
    </CENTER> [๘๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    [๘๖๔]
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่อง
    เคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า
    แน่ะ ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความ
    ขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น
    พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่
    ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จัก
    หายไป ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าว
    ปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่
    ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จัก
    หายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู
    ยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณ
    เทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จัก
    มีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้นพวกท่าน
    พึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของ
    ท้าวอีสานเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้า
    ก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็นจอม
    แห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณ
    เทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี ความกลัวก็ดี ความหวาด
    สะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
    ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่ง
    เทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็น
    ผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่ ฯ
    [๘๖๕]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
    พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้ไปในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี
    ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค
    พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา
    และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น
    จะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้
    จำแนกธรรม ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่
    ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จัก
    หายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า
    พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล
    ควรเรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเข้าไปในตน อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ดังนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี
    ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หาก
    พวกเธอไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้
    ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่
    รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่
    สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควร
    แก่การทำอัญชลี เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า เพราะว่า เมื่อ
    พวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพอง
    สยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่า
    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก
    โมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป ฯ
    [๘๖๖]
    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลง
    แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
    อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความ
    กลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึง
    พระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้น
    เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อัน
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึง
    พระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว
    ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญ
    เขตอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง
    พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี
    ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย ฯ
     
  12. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    <CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>เวปจิตติสูตรที่ ๔
    </CENTER> [๘๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ฯลฯ
    [๘๖๘]
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสกะพวกอสูรว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
    ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึง
    ปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวสักกะจอมเทวดา ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอ
    เป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ท้าว
    สักกะจอมเทวดาก็บัญชากะเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
    ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรถึง
    ปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอ
    เป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังสุธรรมาสภา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล
    ในสงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์
    ได้จับท้าวเวปจิตติจอมอสูรมัดด้วยการมัดห้าแห่ง อันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วนำมายัง
    สุธรรมาสภา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทวดา ฯ
    [๘๖๙]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ในครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอม
    อสูรถูกมัดด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ ๕ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะจอมเทวดา
    ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสุธรรมาสภา ด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของ
    สัตบุรุษ ฯ
    [๘๗๐]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีเทพบุตร ผู้สงเคราะห์ได้
    ทูลถามท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า
    ข้าแต่ท้าวสักกะมฆวาฬ พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำอัน
    หยาบคาย เฉพาะหน้า ของท้าวเวปจิตติจอมอสูร ยังทรง
    อดทนได้ เพราะความกลัว หรือเพราะไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า ฯ
    [๘๗๑]
    ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
    เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคายของท้าวเวปจิตติได้ เพราะ
    ความกลัวหรือเพราะไม่มีกำลัง ก็หาไม่ วิญญูชนผู้เช่นเรา
    ไฉนจะพึงโต้ตอบกับคนพาลเล่า ฯ
    [๘๗๒]
    มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า
    คนพาลพึงทำลายได้อย่างยิ่ง ถ้าไม่พึงเกียดกันเสียก่อน
    เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงเกียดกันคนพาลด้วยอาชญาอย่าง
    รุนแรง ฯ
    [๘๗๓]
    ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
    ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบระงับได้ เราเห็นว่า
    การสงบระงับได้ของผู้นั้นแล เป็นการเกียดกันคนพาลละ ฯ
    [๘๗๔]
    มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า
    ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นโทษในความอดทนนี้แล
    เมื่อใด คนพาลย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้น
    ต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมีปัญญาทรามยิ่งข่มขี่ผู้นั้น
    เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวที่แพ้หนีไป ฉะนั้น ฯ
    [๘๗๕]
    ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
    บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัวหรือ
    หาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น
    อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลัง
    อดกลั้นต่อคนผู้ทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิต
    ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลจำต้องอดทนอยู่
    เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวกำลังของผู้ซึ่งมีกำลังอย่าง
    คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้มีกำลังผู้ซึ่ง
    ธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษที่ลามก
    จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่
    โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า
    ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติ
    ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนที่
    ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษาประโยชน์ของ
    ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและของคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้ ฯ
    [๘๗๖]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น เข้าไป
    อาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็น
    อิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังจักพรรณนาคุณของขันติและโสรัจจะได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้ว
    เช่นนี้ เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้ ฯ

    <CENTER></CENTER>
     
  13. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +59
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สุภาษิตชยสูตรที่ ๕
    </CENTER> [๘๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
    [๘๗๘]
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่อง
    เคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างพวกเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า
    แน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด ฯ
    ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ตกลงเราจงเอาชนะกัน
    ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้ง
    ผู้ตัดสินว่า ผู้ตัดสินเหล่านี้จักรู้ทั่วถึงคำสุภาษิต คำทุพภาษิต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าว
    สักกจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    ท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า
    แน่ะท้าวเวปจิตติในเทวโลกนี้ท่านเป็นเทพมาก่อน ท่านจงกล่าวคาถาเถิด ฯ
    [๘๗๙]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวปจิตติ
    จอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
    พวกคนพาลยิ่งกริ้วโกรธ ถ้าหากบุคคลไม่ตัดรอนเสีย ฉะนั้น
    นักปราชญ์ผู้มีปัญญา จึงควรกำจัดคนพาลเสียด้วยอาญา
    อันรุนแรง ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาแล้ว เหล่าอสูร
    พากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็พากันนิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล
    ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจง
    กล่าวคาถาเถิด ฯ
    [๘๘๐]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวสักกะ
    จอมเทวดาได้ตรัสคาถานี้ว่า ฯ
    ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ เราเห็นว่าการ
    ระงับไว้ได้ของผู้นั้น เป็นเครื่องตัดรอนคนพาล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาแล้ว พวก
    เทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าว
    สักกะจอมเทวดาตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ดูกรท้าวเวปจิตติ ท่านจงตรัส
    คาถาเถิด ฯ
    [๘๘๑]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติ
    จอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
    ดูกรท้าววาสวะ เราเห็นโทษของการอดกลั้นนี่แหละ เพราะ
    ว่าเมื่อใดคนพาลสำคัญเห็นผู้นั้นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะ
    ความกลัว เมื่อนั้น คนพาลผู้ทรามปัญญายิ่งข่มขี่ผู้นั้น
    เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไป ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรภาษิตคาถาแล้ว เหล่าอสูร
    พากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าว
    เวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัส
    คาถาเถิด ฯ
    [๘๘๒]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเช่นนี้ ท้าว
    สักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
    บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัวหรือ
    หาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น
    อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลัง
    อดกลั้นต่อคนทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นไว้ได้ของผู้นั้น
    บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลย่อมจะอด
    ทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลายเรียกกำลังของผู้ที่มีกำลังอย่าง
    คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้ที่มีกำลังอัน
    ธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษอันลามก
    จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว บุคคลผู้ไม่โกรธตอบผู้ที่
    โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า
    ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติ
    ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนผู้ที่
    ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ของ
    ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาเหล่านี้แล้ว
    พวกเทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง ฯ
    [๘๘๓]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทวดาและ
    พวกอสูรได้กล่าวคำนี้ว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล แต่
    คาถาเหล่านั้นมีความเกี่ยวเกาะด้วยอาชญา มีความเกี่ยวเกาะด้วยศาตรา เพราะเหตุ
    เช่นนี้ จึงมีความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะจอม
    เทวดาได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล ก็คาถาเหล่านั้นไม่เกี่ยวเกาะด้วยอาชญา ไม่
    เกี่ยวเกาะด้วยศาตรา เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความไม่หมายมั่น ความไม่แก่งแย่ง
    ความไม่ทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะจอมเทวดาชนะเพราะได้ตรัสคำสุภาษิต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิตได้เป็นของท้าวสักกะ
    จอมเทวดาด้วยประการฉะนี้แล ฯ

    <CENTER></CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...