รบกวนผู้รู้ ช่วยวิเคราะห์ ท่านผู้นี้ให้ด้วยนะคะ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย greta, 5 เมษายน 2011.

  1. greta

    greta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +160
    ๑.ท่านเป็นผู้ที่ฝักใฝ่ในธรรม
    สวดมนต์นั่งสมาธิ ฟังธรรมเป็นประจำ
    แต่ท่านว่าท่านยังไม่ได้แม้สมถะภาวนา เหตุเพราะ

    ๑.๑ ในชีวิตประจำวัน ท่านเป็นนักคิด ที่มีความจำดีมากๆ
    ๗๐-๘๐%ของเรื่องราวในชีวิต
    ตั้งแต่เมื่อนานมากแล้วท่านก็ยังจำได้
    ทั้งที่ท่านไม่ได้ตั้งใจจะจำ

    ๑.๒ เมื่อหลับตาภาวนา ความคิดทั้งหลายก็พรั่งพรู
    ทั้งบวกและลบ ท่านถึงกับต้องรีบลืมตา
    ด้วยรู้สึกละอายต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
    ต่อๆมาท่านก็พยายามตามดูตามรู้ความคิดสารพันนั้นๆ
    ไปเรื่อยๆจนกว่าจิตมันจะเหนื่อยล้าไปเอง

    ๑.๓ เมื่อ สมใจ ได้จิตอันอ่อนล้าแล้ว
    กายสังขารท่านกลับอ่อนล้ายิ่งกว่า
    เพราะเหตุที่นั่งอยู่เป็นนานนักหนา
    ท่านอายุมากแล้ว เมื่อพยายามนั่งต่อ ก็ได้อีกไม่นาน

    ๒.ท่านสมาทานศีล๕ และตั้งใจถือมั่นเอาไว้ไม่ให้ตกหล่น

    ยึดมั่นในพระรัตนตรัย
    ๓.ท่านว่า ท่านก็ต้องการพระนิพพานเช่นกัน
    แต่คงเป็นไปได้ยากสำหรับนักคิดอย่างท่าน
    จึงขอแค่พระโสดาบัณ ซึ่งอาจเป็นไปได้มากกว่า
    ๔.ตอนนี้ท่านพยายามมีสติไตร่ตรองในทุกๆอิริยาบท
    นั่งภาวนาน้อยลง และทุกครั้งที่ภาวนา
    ท่านพยายามไม่ให้ความคิดทั้งหลายเข้ามา
    ด้วยการใช้ข้อธรรมต่างๆมาไตร่ตรองพิจารณาแทน
    ก็สามารถสงบได้ดีกว่า
    นี่กลายเป็นว่า "ข้ามขั้น"?!
    ในเมื่อสมถะยังไม่ได้ แล้วจะได้วิปัสนาได้อย่างไร
    ๕.ปกติท่านจะไม่เคยฝันเลย
    ถ้าจะมีบ้างก็ตอนที่หลับไม่สนิท
    และจำไม่ได้ณ ขณะตื่น

    นี่เป็นบางสิ่งเกี่ยวกับท่านผู้นี้

    ข้าพเจ้าเพียงแค่อยากให้ท่านนั่งสมาธิให้เกิดบ้าง
    จะต้องมีวิธีปฎิบัติอื่นๆ หรือต้องแก้ไขอย่างไร
    จึงขอรบกวนท่านผู้มีประสพการ์ณช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
     
  2. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    มหาสติปัฏฐานสูตร.....คือ วิธีที่ดีที่สุดของท่านผู้นี้ ศึกษาแล้วปฏิบัติด้วยตัวเอง.
     
  3. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    ความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในทางโลกหรือทางธรรม พระท่านสอนว่าเมื่อรู้แล้วให้ละ

    หากรู้แล้วแบกไว้ยึดไว้ ก็จะเป็นอย่างในหัวข้อที่ ๑.๒ คือคิดมากฟุ้งซ่านมาก

    *** พระท่านสอนว่า ความคิด คือ จิตที่ปรุงแต่งแล้ว อดีตคือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว

    ไม่สามารถดึงกลับมาแก้ไขได้ อนาคตคือสิ่งที่ยังมาไม่ถึงไม่ต้องไปคิดหรือคาดหวัง

    หากต้องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอะไรให้ดูที่ปัจจุบันและทำที่ปัจจุบันเท่านั้น ***

    เมื่อต้องการทำสมาธิ ก็ให้สนใจเฉพาะปัจจุบัน ดูที่ปัจจุบันและทำที่ปัจจุบัน

    ในเมื่อปัจจุบันเรากำลังนั่งหลับตาทำสมาธิและหายใจเข้าออกอยู่

    หากเราไม่สนใจในอดีตและอนาคต เราก็จะไม่มีเรื่องอะไรให้ต้องคิด

    เพราะในปัจจุบันเรานั่งหลับตาอยู่ เราไม่ได้ทำงานทำการอะไร เราไม่ได้กำลังทำกรรมอะไร

    เราจึงไม่ต้องคิดอะไร สิ่งที่เราต้องทำมีเพียงแค่ "การรู้"

    รู้ว่าเราหลับตาอยู่ รู้ว่าเราหายใจอยู่ รู้ว่าเราภาวนาอยู่ รู้ว่าเราทำสมาธิอยู่

    แค่รู้ในปัจจุบันเท่านั้นพอ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ
     
  4. baddog

    baddog Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +36
    ขอให้โชดดี และ ประสบผลสำเร็วโดยเร็ววันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2011
  5. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    ขออนุญาติตอบครับ

    เมื่อท่านรู้แล้วว่าความว่างคืออะไร ท่านต้องหาฐานรองความว่างนั้นเพื่อให้ความว่างนั้นจับต้องได้พิสูจน์ยึดถือได้แต่ของทุกสิ่งล้วนมีหมดสภาพตามกาลเวลาทุกอย่างครับ ถ้าไม่ไหวก็ลองหาผู้ช่วยครับ ลองพิจารณาสิ่งของรอบๆตัวท่านดูว่าของเหล่านั้นตั้งได้เพราะอะไร?
     
  6. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,012
    1. วิปัสนา ต้องผ่านสมถะด้วยหรือครับ?
    2. สงสัยจะคิดมากไปหรือเปล่า คิดฟุ้งซ้านอ่ะ อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องก็นำเข้ามารวมกัน
    3. พิจารณาการเกิดและดับครับ ความคิดที่มาทั้งหมด ให้ใช้ปัญญาพิจารณา เหตุอย่างนี้ มาจากไหน และดับอย่างไง
    4. สำหรับท่านอย่าตั้งใจมาก เพราะยิ่งตั้งใจมากยิ่งกลัวมาก ทำให้มีเงื่อนไขอะไรต่างๆมากขึ้น
     
  7. greta

    greta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +160
    ขอบพระคุณทุกๆท่านที่สละเวลามาตอบให้ค่ะ
    จะได้นำไปบอกและทดลองปฎิบัติตามดู ต่อไป
    สาธุ นิพานะปัจโยโหตุ
     
  8. ขอโพสท์

    ขอโพสท์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    ตอบคุณ greta ตามความคิดส่วนตัวรู้สึกว่าความฝันเป็นไปได้ 2 ทางครับ.-
    1.นำประสบการณ์จากจิตไร้สำนึกในตอนกลางวันหรือตอนก่อนนอนมาทำให้เกิดความฝัน
    2.การเดินทางไปในโลกวิญญาณ
    ต้องแยกแยะให้ถูกนะครับ
    ทุกคนที่เกิดมาจนถึงปัจจุบันนี้แตกต่างกันดังนี้ครับ
    1.สถานะ (status) มาตั้งแต่เกิดจากบุญกุศลเดิม
    2.จากการกระทำในปัจจุบันจนถึงสิ้นชีวิต
    3.การเกิดมาในภพนี้คือการมาสั่งสมบุญและกรรม
    4.พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามทุกคนให้ไปถึงนิพพานแล้วแต่บุญกุศล
    5.ผู้ใฝ่หาสมาธิถ้าสร้างกรรมมามากก็ยังอาจไม่ถึงสมาธิที่บริสุทธิ์ได้
    ก็พยายามสร้างบุญกุศลไปให้มากเข้าไว้เพื่อตัดทอนกรรมเดิมที่สร้างเอาไว้
    ขนาดในศาลเขายังลดโทษให้เลยครับถ้ามีการสั่งสมคุณความดีเอาไว้
    เรื่องนี้เป็นเรื่องลี้ลับเพราะทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจวัดได้
    สรุป.-วิทยาศาสตร์บทสุดท้ายก็เป็นเพียงการคาดคะเนคิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น
    เช่น บิ๊กแบง ควรจะเป็นอย่างนี้และควรจะเป็นอย่างนั้น
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ๑.ท่านเป็นผู้ที่ฝักใฝ่ในธรรม

    สวดมนต์นั่งสมาธิ ฟังธรรมเป็นประจำ
    แต่ท่านว่าท่านยังไม่ได้แม้สมถะภาวนา เหตุเพราะ
    หากชอบฟังธรรม และธรรมที่ฟังนั้นเป้น วิธีการฝึก ที่ไม่ได้ สมถะนั้น
    เพราะจำวิธีการฝึกไม่ได่ เมื่อจำไม่ได้ มาทำตามก็ติดๆๆขัดๆๆ

    การฟังธรรมต้องจำให้ได้ เมื่อจำได้ก็ต้องมาทำตาม
    กรณีนี้ เมื่อผู้นั้น เป็นคนดี จิตใจดี รักษาศีลเป็นวัตรอยู่แล้ว




    ๑.๑ ในชีวิตประจำวัน ท่านเป็นนักคิด ที่มีความจำดีมากๆ
    ๗๐-๘๐%ของเรื่องราวในชีวิต
    ตั้งแต่เมื่อนานมากแล้วท่านก็ยังจำได้
    ทั้งที่ท่านไม่ได้ตั้งใจจะจำ


    ลองอ่าน ไปพลางๆ ถ้าจำได้ยิ่งดี ยิ่งถ้านำไปทำตามยิ่งดีมาก



    เกร็ดธรรม


    หลวงปู่พุธ ฐานิโย


    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา



    นอกเหนือไปจากกรรมฐาน ๕ ประการดังที่กล่าวแล้ว
    ท่านผู้ใดจะวิตกถึงเรื่องใดเอามาเป็นเครื่องพิจารณา
    เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ก็ย่อมทำได้
    แม้แต่เรื่องราวที่ไม่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์ ธรรมมะ
    เอายกมาเป็นหัวข้อแล้วพิจารณาไป



    แม้แต่วิชาทางโลกที่เราเรียนมาจะเป็นศาสตร์ไหนก็ได้
    เอามาตั้งเป็นหัวข้อขึ้น แล้วพิจารณาแทนกรรมฐาน ๕
    ก็สามารถที่จะทำจิต ให้มีสติ สัมปชัญญะ
    แล้วก็จะทำให้เกิด
    มี สมาธิ มี ปีติ มี ความสุขได้เหมือนอย่างการภาวนาอย่างอื่น



    เพราะฉนั้น


    อารมณ์ของการพิจารณานี่
    เราจะเอาอะไรก็ได้
    หลักฐานยังมีปรากฎในคัมภีร์ พระธรรม



    คนผู้ผ่าไม้เอาการผ่าไม้เป็นอารมณ์กรรมฐาน
    พิจารณาแล้วได้สำเร็จพระอรหันต์ก็มี



    ช่างปั้นหม้อเอาการปั้นหม้อเป็นอารมณ์กรรมฐาน
    ปั้นไปพิจารณาไปตกแต่งไปจนหม้อสำเร็จเป็นรูปทรงที่ต้องการ
    แล้วก็ปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์ได้สำเร็จอรหันต์ก็มี



    ผู้ที่เอาอารมณ์อื่นๆเป็นเครื่องรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ
    ก็สามารถที่จะทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ
    รู้แจ้ง เห็นจริง ประจักษ์ในธรรมมะตามความเป็นจริง



    โดยเห็นว่า ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    สำเร็จพระอรหันต์ได้ก็มีถมไป



    ตัวอย่างอีกอันหนึ่ง
    ท่านจูฬปันถกเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาความทรงจำไม่ค่อยดี
    ใครจะสอนให้ท่านท่องบ่นสาธยายอะไร
    ท่านไม่สามารถที่จะจำได้
    เรียนคาถาบทเดียวเท่านั้น ๔ เดือนก็จำไม่ได้



    อยู่มาวันหนึ่ง
    พระพุทธเจ้าทรงประทานผ้าขาวให้ผืนหนึ่ง
    แล้วก็แนะนำให้บริกรรมภาวนาว่า ระโชหะระนัง ระชังหะระติ



    ท่านก็บริกรรมภาวนาตามพุทธดำรัส
    บริกรรมภาวนาไปมือก็ลูบผ้าขาวไป
    ลูบไปลูบมา ผ้าขาวเปลี่ยนเป็นสีดำ มัว มอ



    ท่านก็ปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์
    ว่า
    ผ้าขาวอันบริสุทธิ์ สะอาดมาแต่กำเนิด
    ในเมื่อมาสู่สิ่งปฏิกูล น่าเกลียด โสโครกภายในกายของเรา
    ก็ทำให้ผ้าที่สะอาดนี้กลายเป็นผ้าที่สกปรก
    ในที่สุดก็ปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์



    รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้แจ่มชัด แล้วก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


    อันนี้เป็นตัวอย่าง
    ผ้าขาว มีคำว่าธรรมมะมั๊ย
    ระโชหะระนัง ระชังหะระติ มีคำว่าธรรมมะมั๊ย
    เป็นคำพูดธรรมดา ธรรมดาของเรานี่แหล่ะ



    แต่พระพุทธเจ้า สอนให้ท่านจูฬปันถกบริกรรมภาวนา
    แล้วก็ได้สำเร็จพระอรหันต์



    เพราะฉนั้น
    อารมณ์ที่เราจะเอามาพิจารณานี่ จะเอาอะไรก็ได้
    ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่า
    เราทำสติในพิจารณาให้มันชัดเจน
    นี่คือหลักการของการปฏิบัติในขั้นนี้



    ทีนี้ ประการที่สาม ถ้าหากว่าท่านผู้ใด มีปกติเป็นคนคิดมาก
    เช่น
    อย่างนัก วิชาการ นักธุรกิจ
    แล้วจิตใจของท่านย่อมคิดมาก
    เพราะ
    ท่านมีความรู้มาก และมีธุระกิจมาก



    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น
    ท่านอย่าไปห้ามความคิด
    ถ้าท่านจะเป็นนักปฏิบัติ
    ให้ตั้งสติกำหนดลงที่จิต เอาสติรู้ไว้ที่จิต
    แล้วคอยจดจ้องดูว่า ความคิดอะไรจะเกิดขึ้น
    เมื่อมีความคิดเกิดขึ้น
    ทำสติรู้ตาม



    ความคิดอะไรเกิดขึ้น ก็ทำสติรู้ตามไปเรื่อยๆ
    ความคิดอันนั้นจะเป็นเรื่องอะไรก็ได้



    เรื่องบุญ เรื่องกุศล อกุศล


    เรื่องสวย เรื่องงาม เรื่องขี้ริ้ว ขี้เหร่


    หรือเรื่องการเรื่องงานเรื่องครอบครัวเรื่องสารพัดที่จิตมันจะคิดขึ้นมา
    อย่าไปห้ามความคิด



    หน้าที่ของผู้ปฏิบัติ เพียงแต่ทำสติตามกำหนดรู้ความคิดไปเรื่อยๆ
    จนกระทั่ง จิตกับสติ วิ่งตามทันความคิด



    ในเมื่อสติตามทันความคิดเมื่อไร ความคิดมันจะหยุด
    หยุดแล้วก็จะเกิดมีสมาธิ มีปีติ มีความสุขได้เช่นเดียวกับการภาวนาอย่างอื่น




    หลักการภาวนาทั้ง สามหลักนี้ เราจะต้องใช้ปฏิบัติ สลับกันไป
    ในบางครั้งจิตของเรามันอยู่เฉยๆ ไม่ชอบคิดชอบอ่าน
    และไม่ชอบบริกรรมภาวนา แล้วไม่สนใจในสิ่งใด



    ให้วิตกเป็นหัวข้อเรื่องขึ้นมา ค้นคิด พิจารณา
    ถ้าในช่วงใดเราเกิดมีความคิดมาก
    ทำสติตามรู้ความคิด ตามรู้ความคิด ไปเรื่อย



    ถ้าช่วงใดจิตมันเกิดขี้เกียจ ขี้คร้าน ก็บริกรรมภาวนา มันง่ายดี
    ให้ปฏิบัติสลับกันอยู่อย่างนี้ ในหลักสามแบบนี้
    ในเมื่อท่านพากเพียร พยายามที่จะปฏิบัติตาม แบบตามที่ให้คำแนะนำนี้



    จิตของท่านจะต้องเกิดมีความสงบ มีพลังแห่งสมาธิ
    มีสติปัญญารอบรู้ในสภาวะธรรม



    สมาธิที่เราฝึกหัดด้วยประการที่หนึ่ง อ่าประการที่สองและที่สามนี้
    ในเมื่อเราฝึกหัดสามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เพราะการพิจารณา
    และการกำหนดตามรู้ความรู้สึกนึกคิดของตน



    เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว
    สมาธิจะสามารถมีพลังไปสนับสนุนงานการที่เราทำอยู่ได้



    เพราะการทำสมาธิแบบนี้
    มันเป็นเรื่องการทำสมาธิโดยกำหนดเอาอารมณ์ปัจจุบัน
    เป็นเครื่องรู้ของจิตเครื่องระลึกของสติ
    ในเมื่อสมาธิมันเกิดขึ้นเพราะอารมณ์ในปัจจุบัน



    เราก็สามารถที่จะเอาพลังสมาธิไปสนับสนุนงานการที่เราทำอยู่ได้เป็นอย่างดี


    และอนึ่ง การปฏิบัติโดยวิธีนี้
    เราจะไม่ประสบกับอุปสรรคในการปฏิบัติ



    งานและวิชาความรู้เรื่องราวต่างๆ
    จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติสมาธิ
    สมาธิก็จะไม่ขัดขวางต่อการทำงาน



    ในเมื่อเราฝึกฝนอบรมดีแล้ว
    เราทำอะไรอยู่ พลังของสมาธิจะไปช่วยสนับสนุนงานการที่เราทำอยู่



    ท่านผู้ทำสำเร็จเป็นอย่างดีแล้ว


    ท่านสามารถที่จะแก้ไขปัญหาจิตใจของตัวเองได้


    แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันได้


    และแก้ไขปัญหางานการได้


    บางทีบางท่านเป็นหมอ ก็คิดว่าจะตรวจโรคเท่านั้น


    จิตวูบไปปะทะร่างของคนไข้


    ก็รายงานออกมาว่าเขาเป็นโรคอย่างนั้นควรจะให้ยาอย่างนี้


    และอีกนัยหนึ่ง เพื่อเป็นประโยชน์พิเศษในการบำเพ็ญสมาธินี้


    การบำเพ็ญสมาธิโดยจุดใหญ่ จุดมุ่ง
    ก็เพื่อสร้างสติของเราเอง ให้เป็นสติพละ
    ให้เป็นสตินทรี เป็นสติวินะโย
    สามารถที่จะนำจิตให้ดำเนินไปสู่ภูมิจิตภูมิธรรมได้
    อันนี้เป็นสายตรงของการทำสมาธิ
    <!-- google_ad_section_end -->



    ๑.๒ เมื่อหลับตาภาวนา ความคิดทั้งหลายก็พรั่งพรู
    ทั้งบวกและลบ ท่านถึงกับต้องรีบลืมตา
    ด้วยรู้สึกละอายต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
    ต่อๆมาท่านก็พยายามตามดูตามรู้ความคิดสารพันนั้นๆ
    ไปเรื่อยๆจนกว่าจิตมันจะเหนื่อยล้าไปเอง

    ตรงนี้ สามารถแยกออกไหม กับสิ่ง ที่ ตั้งใจคิด กับไม่ตั้งใจคิด
    ถ้าแยกออก อ่าน นี่ครับ


    (ช่วงที่ ๕ )

    ทีนี้ ข้อสังเกตุมันมีอยู่อันหนึ่ง
    วันนี่พูดแต่เรื่องภาวนาพุทโธก็พอแล้ว
    บางท่านภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    จิตสงบดี สงบอย่างดีเลย
    บางทีสงบจนกระทั่งตัวหาย
    บางทีก็ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหม๊ด
    ยังเหลือแต่จิตดวงเดียวสว่างไสวอยู่เท่านั้น

    แต่หนักๆเข้าภายหลังมานี่
    จิตมันไม่สงบซะแล้ว
    จะกำหนดก็ตาม
    ไม่กำหนดก็ตาม
    มันก็มีอาการสงบนิดหน่อย
    แต่ว่าความคิดมันคิดอยู่ไม่หยุดของมันอยู่อย่างนั่น

    ทีนี้

    บางทียิ่งคิดจิตก็ยิ่งแจ่มใส
    ยิ่งคิดจิตก็ยิ่งปลอดโปร่ง
    ยิ่งคิดจิตก็ยิ่งผ่องใส
    ยิ่งคิดก็ยิ่งเบา
    ยิ่งคิดก็ยิ่งสบาย

    อ้าว ...จิตที่มันคิดอยู่ไม่หยุดมันจะสบายได้อย่างไร
    ความคิดที่มันคิดอยู่ไม่หยุดแต่สติตามรู้ไม่ทันเป็นความฟุ้งซ่าน
    ความคิดที่คิดอยู่ไม่หยุด มีสติตามรู้ทันทุกขณะจิตทุกลมหายใจ
    มันกลายเป็นปัญญาบังเกิดขึ้นแล้ว

    เมื่อมีสติรู้ทันความคิดอ่านอยู่ตลอดเวลา
    จิตไม่ยึดก็จะมีแต่ความปล่อยวาง
    เพราะจิตรู้แจ้งเห็นจริงมีวิชชาความรู้แจ้งเห็นจริง
    รู้อะไรขึ้นมาจึงไม่ยึดเอาไว้
    เพราะรู้จริงมีแต่ปล่อยวางลูกเดียว
    เพราะฉะนั้น
    เมื่อคิดขึ้นมาแล้ว จิตมีสติรู้ทัน มีแต่ความปล่อยวาง
    จิตของเรามันก็ไม่สับสน วุ่นวาย

    ยิ่งคิดมากมันก็ยิ่งปลอดโปร่ง
    เพราะว่า
    ความคิดอันนี้ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ รู้พร้อม มันเป็นองค์ปัญญา
    ปัญญาที่เกิดจากสมาธิ
    มันเป็นปัญญาอบรมจิต

    ก็ศีลอบรมสมาธิไง
    สมาธิอบรมปัญญา
    ปัญญาอบรมจิต
    อันนี่แหล่ะ
    หนังสือท่านอาจารย์มหาบัวเขียน

    ท่านตั้งชื่อว่า ปัญญาอบรมจิต
    หมายถึง ความคิดที่เกิดเพราะพลังสมาธิ

    เมื่อสมาธิดีแล้วมันสามารถบันดาลให้เกิดความคิด
    ความคิดที่ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่นั้น
    ถึงแม้ว่ามันจะคิดตลอดคืนย่ำรุ่ง
    ตลอดวันย่ำค่ำ
    ปล่อยให้มันคิดไปเถอะ
    ขอให้มีสติรู้ทันไม่ใช่ความฟุ้งซ่านของจิตมันเกิดปัญญา
    แต่ถ้าหากว่าสติมันอ่อนรู้ไม่ทันมันจะเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมาทันที

    เพราะฉะนั้น

    สติตัวนี้เนี๊ยะจึงเป็นสิ่งสำคัญ
    อันนี้ขอให้ท่านทั้งหลายพึงสังเกตุอย่างนี้
    <O:p</O:p
    ไอ้ปัญหานี่มีผู้ไปถามอยู่บ่อยๆ
    เมื่อก่อนนี้ภาวนาแล้วจิตสงบดี
    แต่เวลานี้มันมีแต่ความคิด
    ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น

    บางทีก็ไปถามท่าน
    บางท่านไม่รู้

    พอถามปั๊บ
    ทำไมจิตของฉั๊นมันจึงเป็นอย่างนี้
    ท่านก็บอกว่า
    ระวังมันจะเป็นโรคประสาทตาย
    บางทีก็สำคัญว่าตัวเองจะเป็นโรคประสาทเข้าจริงๆ
    เพราะความยึดอันนั้น

    เพราะฉะนั้น

    อันนี้เป็นสิ่งหนึ่ง เป็นประสบการณ์
    ที่นักปฏิบัติจะพึงสังเกตุเอาไว้
    อย่าไปติดแต่ความสงบนิ่งของจิต
    โดยไม่มีความคิดเพียงอย่างเดียว

    อ่านเต็มๆๆที่นี่
    http://palungjit.org/threads/จิตตะภาวนา-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.280415/<O:p</O:p
    <!-- google_ad_section_end -->

    ๑.๓ เมื่อ สมใจ ได้จิตอันอ่อนล้าแล้ว
    กายสังขารท่านกลับอ่อนล้ายิ่งกว่า
    เพราะเหตุที่นั่งอยู่เป็นนานนักหนา
    ท่านอายุมากแล้ว เมื่อพยายามนั่งต่อ ก็ได้อีกไม่นาน

    ตรงนี้ ต้องมาทำความเข้าใจว่า
    เราทำสมาธิเพื่ออะไร
    เพื่อ เอาความชอบใจ
    เพื่อเอาความสะบาย
    เพื่อหลีกหนีความจริง
    หรือเพื่อ ให้เห็นความจริง

    ถ้าเพื่อหลีกหนี มันจะมองไป ข้างนอก
    ถ้าเพื่อเห็นความจริง มันจะมองมาที่ตัวเอง
    จิตใจตัวเอง เป็นอย่างไร
    เมื่อมี สติรู้ทัน จิตใจตัวเอง ที่ปรากฎได้ทัน
    แม้กายจะล้า แต่จิตกลับ สดชื่น ด้วย จิตไม่ไปข้องแวะกับกาย
    เป็นแต่เพียง สักว่ากาย มีเจริญ มีเสื่อมเป็นธรรมดา


    ๒.ท่านสมาทานศีล๕ และตั้งใจถือมั่นเอาไว้ไม่ให้ตกหล่น
    ยึดมั่นในพระรัตนตรัย
    ดีมากครับ ทำได้น่ายินดี


    ๓.ท่านว่า ท่านก็ต้องการพระนิพพานเช่นกัน
    แต่คงเป็นไปได้ยากสำหรับนักคิดอย่างท่าน
    จึงขอแค่พระโสดาบัณ ซึ่งอาจเป็นไปได้มากกว่า

    สิ่งที่ สำคัญ ที่สุด ขอเป็นความเห็นที่ผมแสดงก็แล้วกัน

    นักปฏิบัติ ขาดการศึกษาวิธีการ เป็นอย่างมาก

    คือการฟังพระที่ท่านสอน วิธีการ
    เมื่อเรียนรู้วิธีการจนเข้าใจ
    การฝึกฝน จะไม่มีปัญหา มีแต่ก้าวหน้า ด้วยเข้าใจวิธีในการฝึกฝน

    โดยส่วนมาก ไม่ค่อยที่จะมาศึกษา วิธีอย่างจริงจัง
    เจอเสียงพระเทสน์ก็พากันวิ่งหนีแล้ว
    ด้วยอ้างว่า ฟังแล้วง่วง ฟังแล้วจะหลับ
    แต่สิ่งที่กลับเป็น บรรทัดฐานในอันดับแรก
    ที่จะต้อง เอาชนะใจตัวเองเพื่อเรียนรู้วิธีให้เข้าใจ
    ก็คือ การฟังพระให้เข้าใจก่อนแล้ว ลงมือทำตาม



    ๔.ตอนนี้ท่านพยายามมีสติไตร่ตรองในทุกๆอิริยาบท
    นั่งภาวนาน้อยลง และทุกครั้งที่ภาวนา
    ท่านพยายามไม่ให้ความคิดทั้งหลายเข้ามา
    ด้วยการใช้ข้อธรรมต่างๆมาไตร่ตรองพิจารณาแทน
    ก็สามารถสงบได้ดีกว่า
    นี่กลายเป็นว่า "ข้ามขั้น"?!
    ในเมื่อสมถะยังไม่ได้ แล้วจะได้วิปัสนาได้อย่างไร

    ตรงนี้อ่านดูแล้วก็ทำให้เห็นเลย ว่า ไม่ได้เข้าใจ ในวิธีการ
    ไม่ได้เข้าใจว่า อะไร คือ สมถะ อะไร คือวิปัสสนา
    ลองอ่าน นี่ไปพลางๆ

    (ช่วงที่ ๖)


    อีกปัญหาหนึ่ง มีท่านกล่าวไว้ ว่า


    ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้ซะก่อนแล้วจึงค่อยเจริญวิปัสนากรรมฐาน


    เอ ..อันนี้ถ้าสมมุติว่า ใครไม่สามารถ ทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี๊ยะ
    จะไปรอจนกระทั่ง จิตมันสงบเป็นสมาธิขั้นสมถะเป็นอัปนาสมาธิ
    เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะมันจะไม่ตายก่อนหรือ
    เพราะฉะนั้นจึงขอทำความเข้าใจกับท่านนักปฏิบัติทั้งหลายไว้ว่า


    คำว่า สมถะกรรมฐานก็ดี
    วิปัสนากรรมฐานก็ดี
    ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจว่า
    เป็นชื่อของวิธีการ
    การบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    หรือการบริกรรมภาวนาอย่างอื่น
    หรือการปฏิบัติด้วยการเพ่งกสิณ อันนั่น ปฏิบัติตามของ สมถะ


    แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิด
    หรือกำหนดจิตรู้ตามความคิด ของตัวเอง
    หรือจะหาเรื่องราวอันใดเช่น เรื่องของธาตุขันธ์อายตนะ
    มาพิจารณา
    เช่น พิจารณา ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี่
    อันนี้ การพิจารณาน้อมจิต น้อมใจ น้อมภูมิความรู้ เข้าไปสู่กฎแห่งพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ท่านเรียกว่า
    ปฏิบัติ ตามวิธีการแห่ง วิปัสนา


    แต่ทั้งสองอย่างนี้เราจะปฏิบัติ ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็ได้


    ถ้าท่านผู้ ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบ เป็นสมาธิ ซักที


    จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักทีก็มาพิจารณาซิ
    ยกเรื่องอะไรยกขึ้นมาพิจารณาก็ได้ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ


    พิจารณาไป จนกระทั่ง จิตมันเกิดความคล่องตัว


    พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    อันนั้นก็ไม่เที่ยงอันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
    คิดเอา ตามสติปัญญา ที่เราจะคิดได้


    คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น<O:p</O:p


    คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว


    จนกระทั่ง
    เราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง


    ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้



    เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับบริกรรมภาวนา



    ถ้าจิตมันคิดของมันเองสติรู้พร้อมอยู่เอง


    มันก็ได้ วิตก วิจาร


    ในเมื่อจิต มี วิตกวิจารเพราะความคิดอ่านอันนี้
    มันก็เกิด มีปีติ มีความสุข มีเอกคัคตา
    มันจะสงบลงไปเป็น อุปจาระสมาธิ อัปนาสมาธิ


    หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปนาสมาธิ<O:p</O:p



    พอถึงอุปจาระสมาธิ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัตตา
    มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสนาของมันอยู่ตลอดวันย่างค่ำตลอดคืนย่างรุ่ง



    เพราะฉนั้น อย่าไปติดวิธีการ<O:p</O:p


    ถ้าใครไม่เหมาะกับการ บริกรรมภาวนา


    ก็อย่าก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา


    ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่


    โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตา


    คอยจ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น


    อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ รู้ รู้ เอาตัวรู้อย่างเดียว


    หรือ


    บางทีบางท่าน อาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด


    หรือบางท่าน อาจจะฝึกหัดสมาธิ
    โดยวิธีการ
    ทำสติตามรู้ การ ยืนเดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด


    ทุกลมหายใจก็สามารถที่จะทำจิตเป็น สมาธิได้เหมือนกัน


    เพราะฉะนั้น


    ถ้าเราจะเป็น นักปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง เห็นจริง กันจริงๆแล้ว


    อย่าไปติดวิธีการ ให้กำหนดหมาย ว่า



    สมถะก็ดี


    วิปัสนาก็ดี


    เป็น วิธีการปฏิบัติ


    ถ้าบริกรรมภาวนา หรือเพ่งกสิณ เป็นวิธีปฏิบัติ ตามวิธีของ สมถะ


    ถ้าปฏิบัติ ตามแบบที่ใช้ความคิดพิจารณาเรื่อยไป


    หรือกำหนดทำสติตามรู้ความคิดเรื่อยไป



    เป็นการปฏิบัติ ตามแบบ ของวิปัสนากรรมฐาน


    ทั้งสองอย่าง


    เพื่อมุ่งประสงค์ให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ



    ประกอบด้วยองค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัคตาด้วยกัน เหมือนกัน


    เพราะฉะนั้น


    อย่าไปสงสัยข้องใจใครถนัดในทางไหน ปฏิบัติลงไป


    และ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


    วิธีการปฏิบัติมันมีหลายแบบ หลายอย่าง อย่าไปติดวิธีการ


    ยุบหนอ พองหนอ ก็ปฏิบัติ แบบสมถะ


    สัมมาอะระหังก็ แบบสมถะ


    หรือการใช้พิจารณาอะไรต่างๆ ก็เพื่อสมถะ
    เพื่อความสงบจิตนั่นเอง
    เมื่อจิตไม่มีความสงบ สมาธิก็ไม่มี สมาธิไม่มี ฌานไม่มี
    ในเมื่อไม่มีฌานก็ไม่มีญาณ
    ไม่มีญาณก็ไม่มีปัญญา
    ไม่มีปัญญาก็ไม่มีวิชชา


    นี่ กฎธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้


    อ่านเต็มๆที่นี่ http://palungjit.org/threads/จิตตะภาวนา-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.280415/


    ๕.ปกติท่านจะไม่เคยฝันเลย
    ถ้าจะมีบ้างก็ตอนที่หลับไม่สนิท
    และจำไม่ได้ณ ขณะตื่น

    ตรงนี้อ่าน นี่ไปพลางๆ

    บางทีบางคนภาวนาหนักๆเข้า จิตสงบสว่าง
    เวลานอนแล้วจิตมันก็สงบสว่าง
    บางทีเข้าใจว่าตัวเองนอนไม่หลับก็มี
    แต่แท้ที่จริง จิตมันเป็นสมาธิ จิตสมาธินี่ถ้าเราฝึกให้มันคล่องชำนิชำนาญแล้ว
    การนอนไม่มีหรอก นอนก็นอนแต่กาย แต่ว่าจิตมันไม่ยอมนอน
    พอนอนหลับปุ๊บลงไป มันก็สว่างรู้อยู่ในจิตตลอดคืน นั่นจิตมันอยู่ในสมาธิ



    บางที่นักภาวนารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ว่าตัวเองนอนไม่หลับ
    สงสัยตัวเองอยู่เรื่อย ถ้าใครสงสัยคล่องใจก็ให้ทดลองพิจารณาดู
    ถ้านอนลงไปแล้ว มันไม่หลับตลอดคืน ตื่นขึ้นมาแล้วมันง่วงมั๊ย
    มันเพลียมั๊ยมันอ่อนมั๊ย นี่ให้กำหนดหมายรู้อย่างนี้



    ถ้าหากว่ามันไม่ง่วงไม่อ่อนเพลีย กายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ
    แล้วไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    นั่นแสดงว่า
    จิตมันอยู่ในสมาธิ กายมันได้นอนหลับอย่างเต็มที่
    แล้วเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ทำให้กายเบา ทำให้จิตเบา ทำให้กายสงบ ทำให้จิตสงบ



    เมื่อกายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ เราก็ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
    สิ่งแปลกๆทั้งหลายเหล่านี้ มันจะบังเกิดขึ้น
    บางทีเรานอนลงไปแล้ว กำหนดจิต จิตมันหลับแล้วมันก็สงบสว่าง
    บางทีมีคนมาปลุก เรานอนไม่รู้สึกตัว ทีนี่เมื่อเรารู้สึกตัวตื่นขึ้นมา
    แล้วเพื่อนถามว่านอนหลับหรือเปล่า .. ไม่ได้นอนหลับ
    อ้าว ..ไม่ได้นอนหลับทำไมปลุกไม่ตื่น แล้วเราก็จะสงสัยตัวเอง
    ถ้าจิตอยู่ในสมาธิขั้น อัปนาสมาธินี่ ใครจะทุบอย่างไรมันก็ไม่ตื่น
    เอาไฟมาจี้มันก็ไม่รู้จักเจ็บ
    ถ้าคนภาวนาเค้าไม่อธิฐานจิตเอาไว้ว่า ถึงเวลานั้นเค้าจะออกจากสมาธิ
    ในช่วงที่ไม่ถึงเวลาที่เค้ากำหนดไว้นี่ ใครจะมาทำอะไรมันไม่รู้สึกตัว
    เพราะอย่างนั่นนี่ อันหนึ่งแล้ว ที่ทำให้นักปฏิบัติจะต้องสงสัย



    ข้อ หนึ่ง เมื่อจิต สงบบ่อยๆ บ่อยๆบ่อยๆเข้า
    ที่หลังมา มันสงบลงนิดหน่อย
    ความคิดมันก็ ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งฟุ้งขึ้นมา
    เราก็จะว่าจิตของเรามันฟุ้งซ่าน ให้สังเกตุดูให้ดี
    เมื่อจิตมีความคิดเรากำหนดดู ถ้ามันรู้สึกว่าเออ..ความคิดมันช่วยให้เราสะบาย
    ก็ปล่อยให้มันคิดไป



    และอีกอย่างหนึ่งเมื่อทำสมาธิเก่งแล้วมันนอนไม่หลับ
    เลยสงสัยตัวเองเป็นโรคประสาทหรือเปล่า ประเดี๋ยววิ่งไปหาหมอ
    หมอก็จะหาว่าอ้าวเราเป็นโรคประสาท ฉีดยาระงับโรคประสาทเข้าให้
    ประเดี๋ยวมันก็จะสะลึมสะลือ เป็นเดือนเป็นปี
    อันนี่หลวงพ่อเคยเจอมาแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเตือนท่านทั้งหลายเอาไว้








    นี่เป็นบางสิ่งเกี่ยวกับท่านผู้นี้
    ข้าพเจ้าเพียงแค่อยากให้ท่านนั่งสมาธิให้เกิดบ้าง
    จะต้องมีวิธีปฎิบัติอื่นๆ หรือต้องแก้ไขอย่างไร

    จึงขอรบกวนท่านผู้มีประสพการ์ณช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

    แก้ไข ด้วยการ ถอดเทปธรรมะ จาก บท นี้ ที่จะให้ไปครับ

    คลิกโหลดได้ ที่ไฟล์ แนบ ข้อความ

    ยินดีในบุญครับ
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ๑.๓ เมื่อ สมใจ ได้จิตอันอ่อนล้าแล้ว

    กายสังขารท่านกลับอ่อนล้ายิ่งกว่า<O:p</O:p

    เพราะเหตุที่นั่งอยู่เป็นนานนักหนา<O:p</O:p

    ท่านอายุมากแล้ว เมื่อพยายามนั่งต่อก็ได้อีกไม่นาน<O:p</O:p


    <O:p</O:p

    ตรงนี้ ต้องมาทำความเข้าใจว่า<O:p</O:p

    เราทำสมาธิเพื่ออะไร<O:p</O:p

    เพื่อเอาความชอบใจ<O:p</O:p

    เพื่อเอาความสะบาย<O:p</O:p

    เพื่อหลีกหนีความจริง<O:p</O:p

    หรือเพื่อ ให้เห็นความจริง<O:p</O:p


    <O:p</O:p

    ถ้าเพื่อหลีกหนี มันจะมองไปข้างนอก<O:p</O:p

    ถ้าเพื่อเห็นความจริงมันจะมองมาที่ตัวเอง<O:p</O:p


    จิตใจตัวเอง เป็นอย่างไร<O:p</O:p


    เมื่อมี สติรู้ทันจิตใจตัวเอง ที่ปรากฎได้ทัน<O:p</O:p


    แม้กายจะล้า แต่จิตกลับสดชื่น ด้วย จิตไม่ไปข้องแวะกับกาย<O:p</O:p


    เป็นแต่เพียง สักว่ากายมีเจริญ มีเสื่อมเป็นธรรมดา<O:p</O:p





    ๒.ท่านสมาทานศีล๕และตั้งใจถือมั่นเอาไว้ไม่ให้ตกหล่น<O:p</O:p


    ยึดมั่นในพระรัตนตรัย<O:p</O:p


    ดีมากครับทำได้น่ายินดี<O:p</O:p




    ๓.ท่านว่าท่านก็ต้องการพระนิพพานเช่นกัน<O:p</O:p


    แต่คงเป็นไปได้ยากสำหรับนักคิดอย่างท่าน<O:p</O:p


    จึงขอแค่พระโสดาบัณซึ่งอาจเป็นไปได้มากกว่า<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    สิ่งที่ สำคัญ ที่สุดขอเป็นความเห็นที่ผมแสดงก็แล้วกัน<O:p</O:p


    <O:p</O:p

    นักปฏิบัติขาดการศึกษาวิธีการ เป็นอย่างมาก<O:p</O:p


    คือการฟังพระที่ท่านสอนวิธีการ<O:p</O:p


    เมื่อเรียนรู้วิธีการจนเข้าใจ<O:p</O:p


    การฝึกฝน จะไม่มีปัญหามีแต่ก้าวหน้า ด้วยเข้าใจวิธีในการฝึกฝน<O:p</O:p


    โดยส่วนมากไม่ค่อยที่จะมาศึกษา วิธีอย่างจริงจัง<O:p</O:p


    เจอเสียงพระเทสน์ก็พากันวิ่งหนีแล้ว<O:p</O:p


    ด้วยอ้างว่า ฟังแล้วง่วงฟังแล้วจะหลับ<O:p</O:p


    แต่สิ่งที่กลับเป็นบรรทัดฐานในอันดับแรก<O:p</O:p


    ที่จะต้องเอาชนะใจตัวเองเพื่อเรียนรู้วิธีให้เข้าใจ<O:p</O:p


    ก็คือการฟังพระให้เข้าใจก่อนแล้ว ลงมือทำตาม<O:p</O:p



    ๔.ตอนนี้ท่านพยายามมีสติไตร่ตรองในทุกๆอิริยาบท<O:p</O:p


    นั่งภาวนาน้อยลง และทุกครั้งที่ภาวนา<O:p</O:p


    ท่านพยายามไม่ให้ความคิดทั้งหลายเข้ามา<O:p</O:p


    ด้วยการใช้ข้อธรรมต่างๆมาไตร่ตรองพิจารณาแทน<O:p</O:p


    ก็สามารถสงบได้ดีกว่า<O:p</O:p


    นี่กลายเป็นว่า "ข้ามขั้น"?! <O:p</O:p


    ในเมื่อสมถะยังไม่ได้แล้วจะได้วิปัสนาได้อย่างไร
    <O:p</O:p


    <O:p</O:p


    ตรงนี้อ่านดูแล้วก็ทำให้เห็นเลย ว่า ไม่ได้เข้าใจในวิธีการ<O:p</O:p


    ไม่ได้เข้าใจว่า อะไร คือสมถะ อะไร คือวิปัสสนา<O:p</O:p


    ลองอ่าน นี่ไปพลางๆ<O:p</O:p


    <O:p</O:p




    (ช่วงที่๖)<O:p</O:p


    <O:p</O:p

    อีกปัญหาหนึ่งมีท่านกล่าวไว้ ว่า<O:p</O:p


    <O:p</O:p

    ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้ซะก่อนแล้วจึงค่อยเจริญวิปัสนากรรมฐาน<O:p</O:p


    เอ ..อันนี้ถ้าสมมุติว่าใครไม่สามารถ ทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี๊ยะ

    จะไปรอจนกระทั่งจิตมันสงบเป็นสมาธิขั้นสมถะเป็นอัปนาสมาธิ

    เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะมันจะไม่ตายก่อนหรือ

    เพราะฉะนั้นจึงขอทำความเข้าใจกับท่านนักปฏิบัติทั้งหลายไว้ว่า<O:p</O:p



    คำว่าสมถะกรรมฐานก็ดี

    วิปัสนากรรมฐานก็ดี

    ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจว่า

    เป็นชื่อของวิธีการ

    การบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธพุทโธ
    หรือการบริกรรมภาวนาอย่างอื่น
    หรือการปฏิบัติด้วยการเพ่งกสิณ อันนั่นปฏิบัติตามของ สมถะ<O:p</O:p





    แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิด

    หรือกำหนดจิตรู้ตามความคิดของตัวเอง

    หรือจะหาเรื่องราวอันใดเช่นเรื่องของธาตุขันธ์อายตนะ

    มาพิจารณา

    เช่น พิจารณา ว่า รูป เวทนา สัญญาสังขารวิญญาณ
    ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี่
    อันนี้ การพิจารณาน้อมจิต น้อมใจ น้อมภูมิความรู้เข้าไปสู่กฎแห่งพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ท่านเรียกว่า
    ปฏิบัติ ตามวิธีการแห่งวิปัสนา<O:p</O:p





    แต่ทั้งสองอย่างนี้เราจะปฏิบัติ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้<O:p</O:p


    ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบ เป็นสมาธิ ซักที<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    จะไปรอให้มันสงบมันไม่เคยสงบซักทีก็มาพิจารณาซิ

    ยกเรื่องอะไรยกขึ้นมาพิจารณาก็ได้ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ<O:p</O:p


    พิจารณาไป จนกระทั่งจิตมันเกิดความคล่องตัว<O:p</O:p


    พิจารณาอนิจจัง ทุกขังอนัตตา

    อันนั้นก็ไม่เที่ยงอันนี้ก็เป็นทุกข์อันนั้นก็เป็นอนัตตา

    คิดเอาตามสติปัญญา ที่เราจะคิดได้<O:p</O:p


    คิดย้อนกลับไปกลับมากลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น


    คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว<O:p</O:p

    จนกระทั่ง

    เราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง<O:p</O:p


    ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้<O:p</O:p


    เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับบริกรรมภาวนา<O:p</O:p


    ถ้าจิตมันคิดของมันเองสติรู้พร้อมอยู่เอง<O:p</O:p


    มันก็ได้ วิตกวิจาร<O:p</O:p

    ในเมื่อจิต มีวิตกวิจารเพราะความคิดอ่านอันนี้

    มันก็เกิด มีปีติ มีความสุข มีเอกคัคตา

    มันจะสงบลงไปเป็น อุปจาระสมาธิอัปนาสมาธิ<O:p</O:p



    หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปนาสมาธิ<?XML:NAMESPACE PREFIX = O<v /><O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_7 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1028"> <?xml:namespace prefix = v /><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1ADMINI~1LOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></O<v:shape>
    <v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1ADMINI~1LOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata><O:p</O:p

    พอถึงอุปจาระสมาธิ มี วิตกวิจาร ปีติ สุข เอกัคคัตตา

    มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสนาของมันอยู่ตลอดวันย่างค่ำตลอดคืนย่างรุ่ง<O:p</O:p


    เพราะฉนั้นอย่าไปติดวิธีการ<O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_9 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1026"> <v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1ADMINI~1LOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></O<v:shape>
    <v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1ADMINI~1LOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata><O:p</O:p

    ถ้าใครไม่เหมาะกับการบริกรรมภาวนา<O:p</O:p


    ก็อย่าก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา<O:p</O:p


    ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่<O:p</O:p


    โดยไม่ต้องนึกคิดอะไรเป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตา<O:p</O:p


    คอยจ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น<O:p</O:p


    อะไรเกิดขึ้นรู้อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ รู้ รู้ เอาตัวรู้อย่างเดียว<O:p</O:p

    หรือ<O:p</O:p

    บางทีบางท่านอาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด<O:p</O:p

    หรือบางท่านอาจจะฝึกหัดสมาธิ

    โดยวิธีการ

    ทำสติตามรู้ การ ยืนเดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูดคิด<O:p</O:p

    ทุกลมหายใจก็สามารถที่จะทำจิตเป็นสมาธิได้เหมือนกัน<O:p</O:p


    เพราะฉะนั้น<O:p</O:p

    ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง เห็นจริง กันจริงๆแล้ว<O:p</O:p


    อย่าไปติดวิธีการให้กำหนดหมาย ว่า<O:p</O:p


    สมถะก็ดี<O:p</O:p


    วิปัสนาก็ดี<O:p</O:p

    เป็นวิธีการปฏิบัติ<O:p</O:p

    ถ้าบริกรรมภาวนาหรือเพ่งกสิณ เป็นวิธีปฏิบัติ ตามวิธีของ สมถะ<O:p</O:p

    ถ้าปฏิบัติตามแบบที่ใช้ความคิดพิจารณาเรื่อยไป<O:p</O:p

    หรือกำหนดทำสติตามรู้ความคิดเรื่อยไป<O:p</O:p

    เป็นการปฏิบัติ ตามแบบของวิปัสนากรรมฐาน<O:p</O:p

    ทั้งสองอย่าง<O:p</O:p

    เพื่อมุ่งประสงค์ให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ<O:p</O:p

    ประกอบด้วยองค์ คือ วิตกวิจาร ปีติ สุข เอกัคคัคตาด้วยกัน เหมือนกัน<O:p</O:p

    เพราะฉะนั้น<O:p</O:p

    อย่าไปสงสัยข้องใจใครถนัดในทางไหน ปฏิบัติลงไป<O:p</O:p

    และ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<O:p</O:p

    วิธีการปฏิบัติมันมีหลายแบบ หลายอย่างอย่าไปติดวิธีการ<O:p</O:p

    ยุบหนอ พองหนอ ก็ปฏิบัติแบบสมถะ<O:p</O:p


    สัมมาอะระหังก็แบบสมถะ

    หรือการใช้พิจารณาอะไรต่างๆ ก็เพื่อสมถะ

    เพื่อความสงบจิตนั่นเอง

    เมื่อจิตไม่มีความสงบ สมาธิก็ไม่มี สมาธิไม่มีฌานไม่มี

    ในเมื่อไม่มีฌานก็ไม่มีญาณ

    ไม่มีญาณก็ไม่มีปัญญา
    ไม่มีปัญญาก็ไม่มีวิชชา<O:p</O:p





    นี่กฎธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้<O:p</O:p




    <O:p</O:p


    ๕.ปกติท่านจะไม่เคยฝันเลย<O:p</O:p


    ถ้าจะมีบ้างก็ตอนที่หลับไม่สนิท<O:p</O:p


    และจำไม่ได้ณ ขณะตื่น<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    ตรงนี้อ่านนี่ไปพลางๆ<O:p</O:p

    บางทีบางคนภาวนาหนักๆเข้า จิตสงบสว่าง

    เวลานอนแล้วจิตมันก็สงบสว่าง

    บางทีเข้าใจว่าตัวเองนอนไม่หลับก็มี

    แต่แท้ที่จริงจิตมันเป็นสมาธิ จิตสมาธินี่ถ้าเราฝึกให้มันคล่องชำนิชำนาญแล้ว

    การนอนไม่มีหรอก นอนก็นอนแต่กายแต่ว่าจิตมันไม่ยอมนอน
    พอนอนหลับปุ๊บลงไป มันก็สว่างรู้อยู่ในจิตตลอดคืนนั่นจิตมันอยู่ในสมาธิ<O:p</O:p





    บางที่นักภาวนารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ว่าตัวเองนอนไม่หลับ

    สงสัยตัวเองอยู่เรื่อยถ้าใครสงสัยคล่องใจก็ให้ทดลองพิจารณาดู

    ถ้านอนลงไปแล้วมันไม่หลับตลอดคืน ตื่นขึ้นมาแล้วมันง่วงมั๊ย

    มันเพลียมั๊ยมันอ่อนมั๊ยนี่ให้กำหนดหมายรู้อย่างนี้<O:p</O:p



    ถ้าหากว่ามันไม่ง่วงไม่อ่อนเพลียกายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ

    แล้วไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

    นั่นแสดงว่า

    จิตมันอยู่ในสมาธิ กายมันได้นอนหลับอย่างเต็มที่

    แล้วเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ทำให้กายเบา ทำให้จิตเบา ทำให้กายสงบทำให้จิตสงบ<O:p</O:p







    เมื่อกายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบเราก็ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

    สิ่งแปลกๆทั้งหลายเหล่านี้มันจะบังเกิดขึ้น

    บางทีเรานอนลงไปแล้ว กำหนดจิตจิตมันหลับแล้วมันก็สงบสว่าง

    บางทีมีคนมาปลุก เรานอนไม่รู้สึกตัวทีนี่เมื่อเรารู้สึกตัวตื่นขึ้นมา

    แล้วเพื่อนถามว่านอนหลับหรือเปล่า ..ไม่ได้นอนหลับ
    อ้าว ..ไม่ได้นอนหลับทำไมปลุกไม่ตื่นแล้วเราก็จะสงสัยตัวเอง
    ถ้าจิตอยู่ในสมาธิขั้น อัปนาสมาธินี่ใครจะทุบอย่างไรมันก็ไม่ตื่น
    เอาไฟมาจี้มันก็ไม่รู้จักเจ็บ
    ถ้าคนภาวนาเค้าไม่อธิฐานจิตเอาไว้ว่า ถึงเวลานั้นเค้าจะออกจากสมาธิ
    ในช่วงที่ไม่ถึงเวลาที่เค้ากำหนดไว้นี่ ใครจะมาทำอะไรมันไม่รู้สึกตัว
    เพราะอย่างนั่นนี่ อันหนึ่งแล้ว ที่ทำให้นักปฏิบัติจะต้องสงสัย<O:p</O:p





    <O:p</O:p

    ข้อ หนึ่ง เมื่อจิต สงบบ่อยๆ บ่อยๆบ่อยๆเข้า

    ที่หลังมา มันสงบลงนิดหน่อย

    ความคิดมันก็ ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งฟุ้ง ฟุ้งฟุ้งขึ้นมา

    เราก็จะว่าจิตของเรามันฟุ้งซ่าน ให้สังเกตุดูให้ดี

    เมื่อจิตมีความคิดเรากำหนดดูถ้ามันรู้สึกว่าเออ..ความคิดมันช่วยให้เราสะบาย
    ก็ปล่อยให้มันคิดไป<O:p</O:p






    และอีกอย่างหนึ่งเมื่อทำสมาธิเก่งแล้วมันนอนไม่หลับ

    เลยสงสัยตัวเองเป็นโรคประสาทหรือเปล่าประเดี๋ยววิ่งไปหาหมอ

    หมอก็จะหาว่าอ้าวเราเป็นโรคประสาทฉีดยาระงับโรคประสาทเข้าให้

    ประเดี๋ยวมันก็จะสะลึมสะลือ เป็นเดือนเป็นปี

    อันนี่หลวงพ่อเคยเจอมาแล้วเพราะฉะนั้นจึงเตือนท่านทั้งหลายเอาไว้<O:p</O:p








    นี่เป็นบางสิ่งเกี่ยวกับท่านผู้นี้<O:p</O:p


    ข้าพเจ้าเพียงแค่อยากให้ท่านนั่งสมาธิให้เกิดบ้าง<O:p</O:p


    จะต้องมีวิธีปฎิบัติอื่นๆหรือต้องแก้ไขอย่างไร<O:p</O:p


    จึงขอรบกวนท่านผู้มีประสพการ์ณช่วยชี้แนะด้วยค่ะ<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    แก้ไข ด้วยการถอดเทปธรรมะจาก บท นี้ ที่จะให้ไปครับ<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    คลิกโหลดได้ที่ไฟล์ แนบ ข้อความ<O:p</O:p

    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.wma
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      34
    • 2.wma
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      47
    • 01.mp3
      ขนาดไฟล์:
      10.3 MB
      เปิดดู:
      41
    • 11.mp3
      ขนาดไฟล์:
      13.6 MB
      เปิดดู:
      56
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 เมษายน 2011
  11. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    อนุโมทนา สาธุ
    ทุกท่านที่เข้ามาตอบนะครับ
    ผมก็มีปัญหา หลายๆข้อที่คล้ายๆ กันนี้
    คลายสงสัยไปเยอะเลย
    ขอบคุณมากครับ
    มีเรื่องต้องให้ ศึกษา เรียนรู้อีกเยอะจริงๆ
    เจริญในธรรม ครับ
     
  12. ploynoppakaw

    ploynoppakaw Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +45
    เป็นประสบการณ์ส่วนตัวนะคะ
    1.ให้ทานเป็นปกติ
    2.รักษาศีลห้าอย่างเคร่งครัด
    3.ก่อนนั่งสมาธิ อาบน้ำชำระร่างกายให้เรียบร้อย เริ่มต้นด้วยสวดมนต์บูชาพระรัตนไตร รับศีลห้า สวดอิติปิโส หลังจากนั้นอธิษฐานบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าตั้งใจนั่งสมาธิเป็นเวลา...นาที ขอให้ได้สมาธิ ตอนเริ่มนั่งสมาธิให้หายใจเข้าและออกยาว ๆ ลักษณะคล้าย ๆ กับถอนลมหายใจให้สุด บอกตัวเองว่า ดีก็ไม่คิด ชั่วก็ไม่คิด ถูกก็ไม่คิด ผิดก็ไม่คิด คู่ครองก็มิใช่ของเรา บุตรก็มิใช่ของเรา ใด ๆ ในโลกล้วนมิใช่ของเรา วางทุกอย่างลงทั้งหมด หลังจากนั้นเริ่มต้นภาวนา จะใช้พุทโธ หรือยุบหนอพองหนอก็ได้ หรือถ้าไม่ได้จริง ๆ ให้แนบความรู้สึกกับลมหายใจ ทั้งขณะเข้าและขณะออก หายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าสั้น หายใจยาวก็รู้ว่ายาว
     
  13. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,111
    ค่าพลัง:
    +3,402
    ฝันคือภาพที่ฉายในสมอง เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติในสมองกลังจัดระเบียบมันอยู่หนะ
     
  14. มหัศฤทธิ์

    มหัศฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +855
    ธรรมะของหลวงพ่อพุธ อธิบายชัดเจนแล้วครับ โมทนาบุญครับ..สาธุ.....
     
  15. greta

    greta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +160
    ตอบคุณ ปราบเทวดา ค่ะ
    ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สำหรับคำตอบที่ตรงประเด็นและละเอียดชัดเจนมาก
    ซีดีที่ฟังอยู่เป็นประจำทุกวันสำหรับ"ท่าน"ผู้นี้คือของหลวงพ่อพุธนี่แหละค่ะ
    ทุกครั้งที่ฟังหลวงพ่อ ท่านก็มักจะได้คำตอบที่ค้างคาใจเสมอๆทุกครั้งเลย
    แต่เราไม่ยักกะมีอันที่คุณบอกมาเลย อันนี้ก็ต้องขอบคุณอีกครั้ง
    ไฟล์ที่แนบให้มาจะต้องโหลดลงแผ่นไปให้ท่านได้ฟังแน่นอนค่ะ

    เพิ่มเติมจากการฟังซีดีของหลวงพ่อพุธ ที่สามารถตอบคำถามในใจได้ทุกครั้งนั้น
    ทำให้ท่านต้องกราบต่อหน้าเครื่องเล่นซีดี ซ้ำแล้วซ้ำอีก
    ถึงกับขอปวารณาตัวเป็น ลูก ศิษย์ ของหลวงพ่อด้วยความซาบซึ้ง ทึ่ง
    และอื่นๆที่ข้าพเจ้าก็บรรยายไม่ถูก ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงอีกสักครั้งค่ะ

    ท่านผู้นั้นคือคุณแม่ของข้าพเจ้าเอง
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849


    อนุโมทนาสาธุครับ

    ขอเปลี่ยนคำขอบคุณ เป็นแบบนี้ได้ไหม

    หลังจากสวดมนต์ไหว้พระเสร็จ อย่าเพิ่งทำสมาธิด้วยการนั่ง
    แต่ให้ทำสมาธิด้วยการอาการแบบนี้แทน

    ด้วยการถอดเทปธรรมะจาก บท ที่ให้ไปครับ<O:p</O:p



    <O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...