รวมหลากหลายคำถาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฟางว่าน, 4 เมษายน 2011.

  1. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    มีคำถามมาถามนะครับ ท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยก็ดี
    1.อุบัติมีหรือเปล่า
    2.BIG BANG มีอีกหรือไม่
    3.MILKY WAY(ทางช้างเผือกหรืออะไรนี่แหละ) คืออะไร
    4.เจโตวิมุตติคืออะไร ปัญญาวิมุตติคืออะไร
    5.จิตคืออะไร
    6.พระอรหันต์มีวิหารธรรมอย่างไร
    7.ทำอย่างไรจะรูปงามในปัจจุบันชาติ
    ช่วยตอบด้วยนะครับเพื่อนๆ..........
     
  2. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ทางแห่งความสุข
    -สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง หมายความว่าทั้งสังขารภายในและภายนอก มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คนเราเกิดมาร่างกายก้แก่เหี่ยวไปตามวัย มีความเปลี่ยนแปลงตามอายุ แก่มาก็งกๆเงิ่นๆ ทำอะไรก็ไม่คล่องเหมือนก่อน นี่แหละคือสังขารไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลง เป็นอนิจจัง (กฏแห่งไตรลักษณ์ข้อที่ 1) เมื่อเรารู้แล้วเราย่อมตั้งตนไว้ชอบ ไม่ประมาทในสังขาร จงอย่าเห็นว่าเราจะเป้นหนุ่มเป็นสาวไปตลอด สังขารมันไม่เที่ยง สักวันเราก็ต้องตาย ตายแล้วไปไหนรู้เหรอ จึงไม่ควรประมาท รีบเร่งทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส ปฏิบัติตนหรือกระทำท่านเรียกว่า"กรรม" ควรระวังและเอาให้ดี ระวังแม้ในกรรมเล็กน้อย อย่าคิดว่า เอ๊ะ! แค่ฆ่ามดตัวเดียวไม่บาปหรอก เอ๊ะ! แค่ตบยุงตายไม่บาปหรอก นี่คือมีอวิชชา ท่านผู้รู้ท่านกล่าวว่ากรรมมี 3 ประเภทคือ กรรมดี กรรมชั่ว และกรรมอัพยากฤติ(กรรมเป็นกลางๆไม่ดีไม่ชั่ว) พระอรหันต์ท่านระวังแม้ในการฆ่ามดฆ่าแมลงตัวเล็กๆตัวเดียว คือเราควรมีศีล การรักษาศีลอาจคิดว่าเชย แต่ความจริงไม่เชย เป็นความน่ารักในการปฏิบัติตน เพื่อเป้นผู้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ท่านจงอย่าประมาทในการปฏิบัติตน สังขารมันตายไปตลอดเราก้ไม่ประมาท เราเพียรศึกษาเพียรปฏิบัติลงในธรรมคือกองสังขารแห่งตน อย่าส่งจิตออกนอก อารมณ์กรรมฐานก็หาได้ที่กายตน
    -สังขารทั้งปวงเป้นทุกข์ หมายความว่าทั้งสังขารภายในและภายนอกมันเป้นไปตามเหตุและปัจจัย เราบังคับบัญชามันไม่ได้ มีความตายไป พังไป ขัดใจ ทำให้เราไม่พอใจ จิตใจเราก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้ดังใจปรารถนาในสังขารนี้แหละเป็นทุกข์ เป็นตัวทุกข์ อยู่ที่ใจ ใจเราทุกข์ก้เพราะเรามีเวทนา ทุกขเวทนา เกิดจากผัสสะ เมื่อกระทบเรารู้สึกว่ามันกระทบ เราก็พึงภาวนาเพื่อทำใจให้พ้นทุกข์ ทำปัญญาให้กระจ่าง ทำตนให้ดีด้วยกรรมดี เราก็จะไม่ทุกข์
    -ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่ารูปนาม(ขันธ์) เป็นอนัตตา คือสักแต่ว่าเป็นธาตุ และธาตุก็เป็นความไม่มี ว่างตั้งแต่เราจนจรดขอบจักรวาล เป็นความไม่มีสาระอะไร ไม่เป็นแก่นสาร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน..........
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    คำถามที่น่าจะถามตัวเองก่อนที่จะถามคือ...จะมีความอยากไปทำไมมากมาย....
     
  4. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
     
  5. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -ท่านก็รู้ ธรรม แล้ว เพียงแต่ท่านยังไม่เป็น ธรรม
    -เห็นยังครับว่า กิเลส ในใบลานกับกิเลสที่เกิดขึ้นในใจมันต่างกัน
    -ชนเหล่าใดมีธรรมแต่ในใบลาน ชนเหล่านั้นก็เป็นปกติชน
    -เมื่อเห็นความปกติของเขาแต่ เราอยากให้เขาผิดปกติ ทุกข์เกิดกับเราทันที
     
  6. czbz

    czbz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +7
    คุณ จขกท ลองอ่านกระทู้นี้ดูนะครับ เรื่องอจินไตย4 ครับแล้วลองทำความเข้าใจดูนะครับ
    ปล.มีพี่คนนึงแนะนำให้ผมอ่านอีกทีนึง^^ ขอบอกว่าได้ผลดีทีเดียวครับ(สำหรับผมนะ)คุณลองไปทำความเข้าใจดูครับน่าจะมีประโยชมากสำหรับคำถามของคุณ
    http://palungjit.org/threads/เรื่องอจิณไตยที่ใครๆก็ยังไม่รู้.95950/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2011
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ใจเย็นๆ สิ แล้ว พยายาม อย่าไปหยิบ ภาพว่า เราเป็น ทาส มาใช้

    เช่น เราไปโพสอะไรที่ไหน แล้ว อยู่ดีๆ เหมือนมีคนที่อยู่สูงกว่า มาหยอกเอิ้น

    เราก็เผลอไปหยิบ ภาพลวงตาคือ ความเป็นทาส มาซ้อนทับ การเข้ามาหยอกเอิ้น
    ของเพื่อนๆ ทำให้ แทนที่จะทำวาทะกันแบบธรรมดา ถกกัน เถียงกันบ้าง เพราะ
    เห็นต่าง ผลิกไปสู่การ แตกแยก ขอแยกตัว ขอทาง

    ถ้าเราไม่เผลอ เอาความกลัวว่าจะเป็นทาส(ต่ำกว่าเขา) มาหยิบจับ คิดว่า สภาวะ
    ทาสนั้นคือเรา เราก็จะเห็น สภาวะทาสนั้นเป็นเพียงนามธรรม ที่หม่นหมองจรมา
    จรไป หากคุณ ฟางว่าน ไม่เชื้อเชิญเข้ามาในบ้าน ไม่สำคัญว่านั่นคือสภาวะของ
    ตน การเสวนา จะเป็นการถกกัน "เพราะเห็นต่าง แต่ไม่แตกแยก"

    ลองดูนะ เห็น "สภาวะน้อยเนื้อต่ำใจ" เป็นเพียงนามธรรมที่หม่นหมอง จรไป จรมา
    ผ่านหน้าบ้าน อย่าไปเชื้อเชิญอุปกิเลสที่จรมา คุณฟางว่านย่อมประภัสสรอยู่ด้วยดี
    และจิตนั้นจะพาก้าวข้าม (สภาวะทาสนั้นจรไป ดับไป) โดยที่ไม่ชักนำเราให้ลงไป
    น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่ถูกมันหลอกให้เราแสดงความประพฤติอย่างทาส เพียรส่งตัวขึ้น
    ขึ้นเผารน ก้าวพ้นแพไป


    * * * *

    มายังคำถาม

    มีคำตอบต่อคำถามนะครับ ท่านผู้ถามช่วยพิจารณาด้วยก็ดี

    7.ทำอย่างไรจะรูปงามในปัจจุบันชาติ

    ทำบุญสุนทานด้วย ปัจจัย4 คือ เครื่องนุ่งห่มอันปราณีต อาหารอันปราณีต
    ที่อาศัยอันปราณีต ยารักษาอันปราณีต

    ทั้งต่อตน และผู้อื่น หากผู้อื่นขาดอยู่ ให้ยกให้ผู้อื่นก่อน ตนมาทีหลัง หล่อ
    ทีหลังดังกว่า

    6.พระอรหันต์มีวิหารธรรมอย่างไร

    มี วิหารธรรมของท่านก็คือการอยู่กับ สติปัฏฐาน เพียงแต่ท่านอยู่เพื่อความสุขใน
    ปัจจุบันไม่ใช่เพื่อสิกขา

    5.จิตคืออะไร

    คือ สิ่งที่เอาไว้ ประกอบ แพ

    4.เจโตวิมุตติคืออะไร ปัญญาวิมุตติคืออะไร

    คือ การก้าวขึ้นจากแพที่ผูกด้วยกำลังของฌาณ และ การก้าวขึ้นจากแพที่ผูกด้วย
    กำลังของญาณ(ปัญญา) กล่าวคือ หากผู้ใดยังไม่เคยเห็นจิตก้าวขึ้นจากฌาณ(ไม่ติด
    ฌาณ-รูป+อรูป)และ จากญาณ(ไม่ติดธัมมุธจจะ) ก็ไม่เรียกว่า ก้าวพ้น(วิมุตติ)

    3.MILKY WAY(ทางช้างเผือกหรืออะไรนี่แหละ) คืออะไร

    คือที่อยู่ของ โกโบริ กับ อังสุมาริน ซึ่งหมายถึง ที่ มิลกี้เวย์ยังมีรัก
    พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ดังนั้น มิลกี้เวย์คือที่เวียนวน
    แห่งทุกข์ ซึ่งย่อมต้องมี ชรา และ มรณะ ดับสลายไป และเกิดใหม่อีก
    ไม่จบไม่สิ้น

    2.BIG BANG มีอีกหรือไม่

    ก็ต้องดูว่า บิกแบง ประกอบด้วย มิลกี้เวย์ จำนวนมาก ดังนั้น มันจึงเป็นตัวพ่อ
    ของ "สถานที่ๆมีรัก สถานที่ๆมีทุกข์" ซึ่งก็แปลว่า มันต้องมีชรา และ มรณะ
    ความชราของ บิกแบงดูจาก ความเหินห่างกันระหว่างบรรดา มิลกี้เวย์แต่ละอัน
    มันยิ่งเหินห่างกันเท่าไหร่ มันก็จะใกล้ถึงวันฉีกขาดดับสิ้นไปไม่เหลือ(หลุมดำชนิด
    ดับพรึบที่เดียวทั้ง อนันตจักวาล) ฟรั่งเขา อุปมาด้วย การขยายตัวของลูกโป่ง
    พอถึงขีดสุดก็ดับพรึบ ไม่มีเวลามาคั่น กลับมาที่สภาพก้อนกลมๆเล็กกว่าเมล็ดผักกาด
    bigbang (แต่ลูกโป่งมันให้ภาพตรงนี้ไม่ได้)

    1.อุบัติมีหรือเปล่า

    ก็หาก bigbang มันเกิดใหม่ ด้วยสภาพความเป็น ตัวพ่อของ "สถานที่ๆที่มีรัก
    สถานที่ๆมีทุกข์" มันย่อมอุบัติสรรพสิ่งอันเป็นทุกข์ ชรา มรณะ อุปายาส ขึ้นมา
    เป็นรูปเป็นร่าง เป็นธรรมดา

    ช่วยตอบแล้วนะครับเพื่อนๆ..........

    0. [แถม] ทางออกจากทุกข์

    พระพุทธองค์ท่านชี้ไว้ก่อนแล้ว ไม่ต้องอาศัยใครมาชี้ซ้ำ ผู้ที่มาชี้ซ้ำ เพียง
    แต่อาศัยคำของท่านที่ชี้เอาไว้ ดัดแปลงไปตามอาสวะ(นิสัยสันดาน)ที่ไม่สิ้น
    ของตน
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2011
  8. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เป็น"สคริสต์" ครับ (หลวงพี่ทุกๆรูป)..........
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    โรคอะไรหว่า ถามอา กู๋(google) ก็ไม่ตอบ ตอบมาอะไรไม่รู้ ฝุ้งไปหมด

    ดูไป อากู๋(google) ยังสู้ ฟางว่าน ไม่ได้เลยนะนี่ เพราะ ฟางว่าน ยัง
    ถามคำถามตัวเองได้ และ ก็สังเกตตนเองได้

    คนที่ ใส่ใจ ไม่ประมาท หมั่น ตามพิจารณา สิ่งที่ตนก้าวพ้นแล้วไว้เนืองๆ
    อันนี้แหละ ของดี ขอให้ รักษาแนวทางปฏิบัตินี้ไว้

    จะว่าไป คุณถามหัวข้อกรรมฐาน ว่าจะทำอย่างไรดี ก็ไม่ต้องรับไปจากใครๆ
    หรอก เพียงแต่ให้คุณหมั่นเจริญ สิ่งที่คุณมีอยู่แล้ว ซึ่งก็คือ

    "การหมั่นพิจารณาสิ่งที่ตนแลเห็นว่าก้าวพ้นแล้ว" อารมณ์นี้นี่แหละ กรรมฐานชั้นเลิศ

    และ แถมยังรู้จักสดับธรรมที่กล่าวถึง ขันธ์5 ด้วยการแลเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีก

    คราวนี้ คุณก็แค่ผนวกกันระหว่าง

    1."การหมั่นพิจารณาสิ่งที่ตนแลเห็นว่าก้าวพ้นแล้ว"
    2.การพิจารณา ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

    ซึ่งจะได้เป็น

    ตามเห็น แม้นการ "การหมั่นพิจารณาสิ่งที่ตนแลเห็นว่าก้าวพ้นแล้ว" นี้ก็ปรากฏ
    ความไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง(ตั้งอยู่ไม่ได้) เป็นอนัตตา(บังคับให้พิจารณาไว้ตลอด
    ก็ไม่ได้)

    พอผนวกเข้าด้วยกันแล้ว คุณก็จะเข้าใจได้ด้วยตัวเองว่า ทำไมบางทีรู้สึกว่าเป็น
    อรหันต์ แล้วก็ตามเห็นได้ว่าไม่เป็นอรหันต์ ทำไมบางทีรู้สึกว่าเป็นสัมพุทธะ แล้ว
    ก็ตามเห็นได้ว่าไม่เป็นสัมพุทธ ฯลฯ

    พอเข้าใจ ก็จะรู้ว่า ปัญญามันมาก่อตัวให้สำคัญว่าเข้าใจ แต่มันไม่เที่ยง

    ดังนั้น ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วเสมือนมันบอกว่า สำคัญว่ารู้ แต่ทว่า สุดท้าย
    มันปรากฏความไม่เที่ยง ก็แปลว่า เราไปเผลอเอา สัญญา มาเป็นตัวปัญญา
    เข้าแล้ว

    หรือ เราไปเผลอยึดแพปัญญา ไม่ก้าวพ้น ไม่ละวางการรู้ เราก็เลยไม่พ้น
    การใช้ปัญญา ทำให้ไม่เกิดปัญญาวิมุตติ

    ทีนี้ คุณถาม เจโตวิมุตติ คือ การก้าวพ้นแพ ฌาณ ก็ลำบากหน่อยที่
    เราต้อง ผูกแพด้วยกำลังของฌาณขึ้นมาก่อน ถึงจะก้าวข้ามมันอีกทอด
    หนึ่งได้ อยู่ดีๆจะไปรู้สึกว่าก้าวพ้นแพที่ผูกด้วยกำลังฌาณ ทั้งๆที่ไม่เคย
    ผูกแพฌาณขึ้นมาเป็นยานพาหนะไว้ก่อนเลย มันก็ไม่ใช่ แปลว่า เจ้า
    ปัญญาหมายรู้(ชื่อหนึ่งของสัญญา)มันมาตบตาเรา มันมาสับขาหลอก
    ทำให้เราเผลอเห็นผิด คิดว่า เราได้กระทำฌาณให้เกิดขึ้นแล้ว

    ดังนั้น เราดับที่เหตุ คือ ความเผลอยึดจับ "ปัญญาหมายรู้ว่ามีฌาณแล้ว"
    อย่าให้มันหลอกเราได้ กำจัดตัวนี้ก่อน พอกำจัดมันได้ เราเลิกฝุ้งไปกับ
    ปัญญาชนิดนั้น ทางมันจะเปิด ให้เราเห็นตามความเป็นจริงว่า "จิตเรายัง
    ไม่เคยตั้งมั่น เป็นกลาง" เมื่อนั้น จิตมันจะเริ่มรู้ว่า "ต้องเดินเข้ามาผูกแพ
    ด้วยกำลังฌาณ" เมื่อนั้นมันจะเริ่มต้นเรียนรู้การประกอบ "ฌาณ" เพื่อเอาไว้
    ก้าวพ้นอีกทีตามความเป็นจริง

    สรุปคือ ทำไปอย่างเก่า แต่ให้เพิ่ม การแลเห็นไตรลกษณ์ ต่อปัญญาแปลกปลอม
    ที่มันมาสับขาหลอก อย่าไปเชื่อมัน แต่ก็อย่าไปปฏิเสธมัน ให้เห็นมันเป็นอุปธรรม
    บางอย่างที่ทำให้เราหม่นหมอง(บิดเบือนไปจากการรู้ตามความเป็นจริง) ไว้เนืองๆ
    ดูเรื่อยๆ จิตเราจะค่อยๆ เข้าสู่ความเป็นกลาง เมื่อเข้าสู่ความเป็นกลาง ก็จะรุ้
    ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น เมื่อรู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะเริ่มเจริญความสงบเพื่อ
    ให้ง่ายต่อการตั้งมั่น เจริญฌาณ - ซึ่งจะมีเจริญแล้วเสื่อมตามสภาพของโลกียฌาณ
    ก็อย่าไปตกใจ เพราเป้าหมายนั้น เราเอาจิตตั้งมั่น เป็นกลาง ต่อการรู้กาย
    รู้ใจไปตามความเป็นจริง(เห็นไตรลักษณ์) ไปเรื่อยๆ

    เมื่อนั้น เธอจะเห็นอุบาย ที่ทำให้ก้าวพ้นไปสู่ ฝากฝั่งที่สงบอย่างยิ่ง ที่จริงแท้ เป็นที่
    พึ่งแก่ตน และสรรพสัตว์ในฐานะเนื้อนาบุญได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2011
  10. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    จิตจริงๆจะเห็นตอนเกิดบรรลุครับ การฝึกหัดคือฝึกดูสภาวะที่เกิดเคียงข้างกับจิต ถ้าจะเอาสมมุติ ก็เรียกว่าเจตสิก นี่แหล่ะครับ ฝึกดูอารมณ์ที่เกิดร่วมกับจิตเป็นกิเลสต่างๆ

    ฝึกดูจนใจเป็นกลางกับสภาวะทุกๆอย่าง จากนั้นจึงจะบรรลุ คอยหัดดูบ่อยๆทั้งวันครับ
     
  11. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    การดูจิต

    เมื่อก่อนเวลาเกิดธรรมารมณ์ในแง่ที่ผมไม่ชอบหรือทำให้เกิดทุกข์ ผมจะปัดออก ผมภาวนาว่ามัน(ให้เข้าใจเป็นไตรลักษณ์น่ะครับ) การปฏิบัติจึงไม่ก้าวหน้าใช่ไหมครับ ที่ถูกควรตามดูแล้วสำรวมระวังใช่ไหมครับ และเราละยังไงครับ เช่น มีคนมาด่าเรา จิตเราเป้นทุกข์ ถ้าเราปัดออก อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ที่อ่านมาดุเหมือนว่าแนะนำให้ดู ตามดู วิธีของผมใช้ไม่ได้ใช่ไหมครับ แล้วทีนี้ต่อไปผมจะลองตามดูครับ แล้วก็มีคำถามถามว่า ดูแล้วทำอะไรต่อครับ เราควรมีท่าทีอย่างไรต่อธรรมารมณ์ทุกข์นั้น?
     
  12. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ตามดูเรื่อยๆ ไม่เอาสัญญามาเป็นปัญญา รู้กายและใจไตรลักษณ์ใช่ป่าวครับ?
     
  13. banana603

    banana603 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +17
    สิ่งแรก ๆ สำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติมานาน แต่ยังไม่ค่อยได้
    ควรจะเริ่มดูจากสิ่งหยาบๆของตนเสียก่อน
    หยาบๆที่ว่านี้หมายถึง อารมณ์ รุนแรงๆ ต่างๆที่เรามี มันผุดขึ้นมาแล้ว หากแต่มีสติ เราก็จะรุ้ตัวว่า เรานั้นอารมณ์ยังรุนแรงอยู่ สังเกตง่ายๆที่ โทสะ เพราะจะค่อนข้างชัดมาก ไม่พอใจสิ่งใด เราก็สักแต่รู้ว่า ไม่พอใจ แต่หาเหตุไม่ได้ว่า เพราะอะไร ฉะนั้น ตราบใดที่เรารุ้สึกไม่พอใจ อย่าไปใส่ใจกับอารมณ์ ให้หาเหตุซะ ว่าเกิดจากสิ่งใด จะดีเสียกว่าไปสนองอารมณ์นั้นๆ ด้วยการกระทำ
    หากว่า ผู้เริ่มปฏิบัตินั้น ไปใช้วิธีการพิจารณา จาก อนัตตา ก่อน จะทำให้หลงกันเสียมาก ดั่งการสร้างบ้าน เราก็ต้องเริ่มประกอบทีละส่วน จากล่างขึ้นบน
    ขยายความต่อว่า
    หากจะลงเสาเข็ม เราก็ต้องผูกเชือก เพื่อดึงเสานั้นตั้งตรง
    การผูกเชือก นี้คือตัวยึด เช่น ยึดหลัก พระพุทธศาสนา เบื้องต้นนั้น ให้เราไปศึกษา หัวใจหลักเสียก่อนนั้นคือ อริยสัจ4 >> ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ขยายว่า หากมีคนมาด่าคุณหนักๆสัก1คำ
    ทุกข์คือ คุณสนองคำด่านั้น โดยหา เหตุผล ในการด่านั้นไม่ได้
    สมุทัยคือ คุณไปปรุง คำด่านั้น ให้เกิดอารมณ์ขึ้นมา
    นิโรธ คือ คุณไม่สนอง หรือ คุณสนองไปแล้ว แล้วอารมณ์ทุกข์นั้นดับไป แค่ครั้งคราว ก็เป็นนิโรธ แล้ว (แต่ ผู้ปรารถนา นิโรธจริงๆ คือ มีอารมณ์ นิโรธ ตลอดเวลา ทุกขณะจิต)
    มรรค คือ สิ่งที่คุณจะทำเพื่อปลดอารมณ์นั้นๆ

    ในคำสอนของพุทธองค์นั้น ทรงชี้แนะทางออกให้ นั้นคือ มรรค หากแต่จะปฏิบัติตามมรรคได้นั้น เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับ อริยสัจ4 ใน 2 สิ่งแรกเสียก่อน จากนั้นจึงดำเนินต่อตามสิ่งหลัง

    หากแต่ ท่านสามารถ ตั้งเสาเข็ม แล้วตอกเสาลงไปได้ จากนั้น ท่านค่อยปลดเชือกยึดเสีย
    และเมื่อสร้างพื้นฐาน ที่เรียกว่า โลกีย์ ให้ได้พร้อมเสียก่อน ท่านจึงจำเดินทางต่อ เพื่อสร้างหลังคา (โลกุตร) แต่ทว่า หลังคานี้ ท่านต้องสร้างมันด้วยตัวท่านเอง ท่านต้องค่อยๆ ประกอบหลังคาเองทีละน้อยด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดมาช่วยสร้างให้ท่านได้

    การยึดที่ว่า นั้น อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ขออธิบายอีกละกัน
    ความจริงต่างๆนั้น มันเป็นกลาง หมด ไม่มีถูกหรือผิด ใดๆทั้งสิ้น
    เพียงแต่ เราไปยึดมันว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด ตามหลักยุติธรรม(จบลงด้วยความถูกต้อง)
    เช่น ผมไป ขโมย ของผู้อื่น มันก็คือความจริง แต่ เราไปตัดสินมันว่า ผิด จากหลักข้างต้น
    เช่นเดียวกันกับ ทุกๆ สิ่ง มันก็เป็นกลางหมดแหละท่าน เพียงแต่ ท่านจะใช้ทางไหนตัดสิน
    หากแต่ ท่านมี สัมมาทิฏฐิ(การเปิดใจ ยอมรับเหตุผล ยอมรับความจริง ไม่หลอกตนเอง) ทุกสิ่งซึ่งต่อเนื่องโดยท่าน จะดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะเริ่มถูกทางจากข้างต้น
     
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,805
    ค่าพลัง:
    +7,940
    ใช่ หลักการสำคัญ คือ ต้องดูให้เห็นเป็นไตรลักษณ์

    หากดูได้ตามความเป็นจริง จิตจะเป็นผู้แสดงตัวว่าอิสระ ออกห่างจากกิเลส ที่จรมา

    หากดูได้ไม่ตรงตามความเป็นจริง คือ จิตตั้งมั่นไม่พอต่อการประจักษ์ไตรลักษณ์
    จิตจะออกไปอุปทานแล้วคว้า กิเลส ที่จรมาเป็นเรา เมื่อนั้น กิเลสจะผลิกเป็นกรรม
    ณ ขณะนั้นทันที คือ คว้าเมื่อไหร่ กรรมเกิดเมื่อนั้น งานของจิตจะต้องมีเมื่อนั้น งาน
    สิกขาจะยังไม่จบ ความไวของการเกิดเป็นกรรมจากการคว้า อุปมาดั่งการติดของไฟ
    ห้ามไม่ได้

    ก็จะเห็นว่า หลักการมันอยู่ที่การมีจิตตั้งมั่นเป็นกลางเพียงพอต่อการประจักษ์ไตรลักษณ์
    ตามความเป็นจริง

    หลักการจึง ง่ายต่อการคำนึงถึง ว่าควรทำอย่างไร

    แต่หลักการนี้จะยากมาก แทบเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะเห็นตามความเป็นจริง
    หากไม่มีอุบายธรรมที่ถูกโรค ถูกเวลา(ปัจจุบัน ณ ธรรม) เพียงพอ ความ
    เพียงพอนี้จะได้จากการ เพียร ฝึกสติ-ปัฏฐาน

    ดังนั้น ฝึกใหม่ๆ หรือ ยังเป็นผู้ฝึก อย่างไรเสีย ก็ต้องมีการคว้าเข้ามาเป็นเรา
    เกิดกรรม เกิดงานให้สิกขา ตรงนี้จึงต้องอาศัย ข้อวินัยที่เป็นศีลเป็นข้อๆเข้า
    มากำกับ เมื่อศีลเป็นข้อๆเรารักษาได้สมควรพอเหมาะ การภาวนาก็จะมีอุปสรรค
    น้อย การขอคำปรึกษา หรือให้คำปรึกษาเอง ก็มีอุปสรรคน้อย

    พอมีอุปสรรคน้อย เราก็มีเวลาให้กับการปฏิบัติมากขึ้น ไม่ต้องสาระวนอยู่กับ
    ความน้อยเนื้อต่ำใจ ใจฟู ใจแฟบ ไม่ล้นออกไปเป็น วจีกรรม กายกรรม

    คราวนี้ พอวจีกรรม กายกรรมเราไม่ก่อทุกข์ให้กับตัวเอง มันถึงจะเริ่ม ยอมรับ
    การเห็นกิเลส ที่มีในตนเข้ามาได้ ( หากมันมีการล้นไปเป็น วจีกรรม กายกรรม
    ความที่เรารักดี มันจะทำให้ต้องปฏิเสธสลัดกิเลสนั้นออกไป ทำให้ไม่ก้าวหน้า)

    ก็จะเห็นว่า คุณก็พอเข้าใจอยู่ หากเราสำรวม( วจีกรรม กายกรรม ก่อทุกขน้อย )
    กิเลสมันจะขยับขยอกเราแค่ใน จิตใจเราเอง พอกิเลสมันแสดงแค่ในใจเราเอง
    ไม่ทำก่อกวนคนภายนอก คราวนี้เราถึงจะสู้ของเรา ในสนามรบในใจของเรา
    ดับไฟที่ตัวเรา ได้ถูกที่ ถูกฐาน ซึ่งนั่นก็คือ มีโอกาสตามดูกิเลสมันจรมา เกิดขึ้น
    ตั้งอยู่ ดับไป แสดงไตรลักษณ์ให้เราเห็นตามความเป็นจริง

    พอจิตเราเห็นกิเลสแสดงไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง เราก็จะรู้ว่า จิตเราละวาง
    กิเลสตามกฏแห่งการเห็นไตรลักษณ์ตรงตามพุทธพจน์ได้ชี้ไว้ พอเราประจักษ์
    หนทางได้ มันจะเกิดศรัทธาตั้งมั่นต่อรัตนไตรได้อย่าง ตรงไปตรงมา ไม่ใช่แค่
    ปากเปล่าๆ

    และที่ควรสังเกตคือ สภาวะธรรมใดก็ตามที่เจือความหมอง แสดงไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง
    ให้เห็นแล้ว(ตรงนี้มักเรียกว่า มีสัมมาสมาธิ) สภาวะธรรมนั้นจะหลุดออก ร่อนออก ไม่เกิดอีก

    กล่าวคือ เล่นงานเราไม่ได้อีก คือ ไม่ต้องไปเห็นไตรลักษณ์กับสภาวะนั้นๆ ซ้ำอีก

    แต่ถ้าเป็นการเห็นที่ไม่เกิดจากสัมมาสมาธิ เห็นไตรลักษณ์ไม่จริง การเห็นสภาวะธรรม
    นั้นจะปรากฏให้เห็นไตรลักษณ์ซ้ำๆ ให้สังเกตลงไปว่า ตรงนี้เป็น จิตนมัยปัญญา หรือ
    ปัญญาที่สับขาหลอก ซึ่งมันจะมีทั้งหลอกให้ไปติดดี (เกิดการสำคัญตัวว่าผ่าน
    และ เกิดการเห็นว่าไม่ผ่าน) การติดดีตรงนี้ หากตามรู้ มันจะไม่ใช่ปัญหา แต่หาก
    เราไม่ได้ตามรู้ ( ดูมันแสดงไตรลักษณ์ ) ก็จะทำให้ไม่ก้าวหน้า

    การสับขาหลอกอาจจะมีพาไปติดนิ่ง(เกินกว่าติดดี เรียกอีกอย่างว่า หลบใน)
    มาตรงนี้ก็จะแก้ยาก ต้องให้พวกมีโจโตปริญาณที่มีสัมมาทิฏฐิมาแก้ให้ หรือไม่
    ก็ต้องให้พระพุทธเจ้าองค์ถัดไปนู้น มาแก้ให้

    สรุปแล้ว ที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าคุณปฏิบัติไม่ได้ เพียงแค่ ก้าวหน้าไปอีกก้าวยังไม่ตรงรอย
    ของตน ก็เท่านั้นเอง

    * * * *

    ข้อสังเกตนะ สมาธิบางตัวที่เกิดขึ้นโดยอุปกิเลส อธิโมก์ เวลามันแสดงไตรลักษณ์
    ประจักษ์แก่จิตแล้ว สมาธิชนิดนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก มาถึงตรงนี้อย่าเข้าใจผิดว่า
    สมาธิเสื่อม จะเผลอไปสาระวนทำสมาธินั้นให้กลับมา ซึ่งมันจะไม่ให้ผลหรอก มันเป็น
    สมาธิที่เจือด้วยอุปกิเลส เวลาเข้าถึงธรรมจริงๆ สมาธิตัวนั้นๆจะแทรกเข้ามาในจิต
    บริสุทธิไม่ได้

    ท่านๆถึงกล่าวไว้ ไอ้ทีอยากได้ อยากมี มันจะไม่ได้ ตัวที่ไม่อยากได้ไม่อยากมี
    จะปรากฏเป็นลาภ หรือกล่าวอีกนัยคือ ไอ้ที่ไม่เสื่อม(โลกุตระฌาณ)มันจะมีตามวาสนา

    ที่กล่าวเอาไว้ เพื่อให้สังเกตจิตใจ ที่ใฝ่ในสมาธิ ที่ออกแนวเพื่อการหวือหวาเหมือนคนอื่น

    * * * *

    อ้อ อีกนิด เห็นพูดว่า "ไม่เอาสัญญามาเป็นปัญญา" ใช่ไหม

    อันนี้ เราอย่าไปมั่นหมายแทนจิตมัน ปล่อยให้จิตมันเห็นความไม่เที่ยงของ "สัญญา"
    ไว้เป็นประจำ เดี๋ยวมันปล่อยของมันเองแหละ จิตมันอบรมการเห็นไตรลักษณ์ได้
    จึงไม่จำเป็นต้องพวักพะวน การจับ การปล่อย

    รู้เรื่อยๆ รู้เล่นๆ ให้เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตตั้งมั่น เป็นพอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2011
  15. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    อนุโมทนาด้วยคับ
    คุณเล่าปังเขียนได้ดีจังเลยครับ
    ขอบคุณครับ
     
  16. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ขอบคุณครับ

    รักษาความดีไว้นะครับ รักษาจิต ฟุ้งบ้างตามดู เห็นธรรมเป็นไตรลักษณ์ เพื่อนิพพาน..........
     
  17. ploynoppakaw

    ploynoppakaw Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +45
    ทำอย่างไรจึงจะรูปงามในปัจจุบัน
    1.ให้ทานเป็นนิจสิน โดยเฉพาะอภัยทาน
    2.รักษาศีลอย่างเคร่งครัด
    3.ปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่อง
    ถ้าคุณฟางว่านทำทั้งสามอย่างนี้อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง รับรองได้ค่ะว่าจะย่างก้าวไปทางไหนก็จะมีแต่คนรักและเกรงใจ มีแต่คนอยากเข้ามาใกล้ชิด ส่วนเรื่องอาการของโรคที่เป็นหากปฏิบัติสมาธิถึงระดับหนึ่งอาการจะดีขึ้น ในอนาคตอาการจะดีขึ้นจนเป็นปกติได้ค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ หากเรามีความพยายามอย่างมุ่งมั่น เราย่อมมีความสำเร็จเป็นรางวัลค่ะ
    ด้วยความปรารถนาดี
     
  18. ศิษย์น้อย

    ศิษย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +3,047
    นึกขึ้นได้ สองประการ

    ประการแรก..
    พระท่านว่า... จงอย่าเพ่งโทษ โจษความผิดผู้อื่น เราไม่รู้ว่าเขาถูกหรือผิด
    หากเขาทำไปก็ตามแต่เหตุแห่งกรรมของเขานั้น....

    ประการที่สอง..พรหมวิหารธรรม...
     

แชร์หน้านี้

Loading...