พระพุทธเจ้าทรงเคารพอะไร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มีแปปเดียว, 5 พฤษภาคม 2011.

  1. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    พระพุทธเจ้าทรงเคารพอะไร

    ปัญหา พระพุทธเจ้าจัดว่าเป้นพระบรมศาสดาของโลก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรงเคารพใคร ? หรือว่าไม่ทรงเคารพใครเลย ?

    พุทธดำรัสตอบ “.... บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพอาศัยสมณะ หรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ ?
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีลยิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
    “เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์ แห่งวิมุติญาณทัสสนะขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่ถึงพร้อมด้วยสมาธิ.... ที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา.... ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติ..... ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะยิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
    “อย่างกระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั่นแหละ แล้วอาศัยอยู่”
    คารวสูตรที่ ๒ ส. สํ. (๕๖๐)
    ตบ. ๑๕ : ๒๐๓-๒๐๕ ตท. ๑๕ : ๑๙๔-๑๙๕
    ตอ. K.S. I : ๑๗๕
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    ยอดแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบคืออะไร
    คืออริยสัจจ์4 อริยมรรคมีองค์8 และปฏิจจสมุปปาท
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    ธรรมทั้ง3นี้มีความเกี่ยวโยงกันอย่างไร
    ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ

    ปัญหา ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔ มีความสัมพัน์กันอย่างไรหรือไม่ ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ ๖ ปถวี อาโปเตโช วาโย อากาศ วิญญาณ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์ เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ ถึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เราบัญญัติว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชรา... มรณะ... โสกะ.... ปริเทวะทุกข์... โทมนัส... อุปายาส... การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก...การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก.... ความปรารถนาสิ่งใดมิได้สมหวัง... ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ..... โสกะ.... ปริเทวะทุกข์... โทมนัส... อุปายาส...
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ”

    ติตถสูตร ติ. อํ. (๕๐๑)
    ตบ. ๒๐ : ๒๒๗-๒๒๘ ตท. ๒๐ : ๒๐๐-๒๐๑
    ตอ. G.S. I : ๑๖๐-๑๖๑
     
  4. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    พิจารณาปฏิจจสมุปปาทให้เข้าใจจะละสักกายทิษฐิได้
    จะเข้าใจถึงจุดกำเนิดและจุดสิ้นสุดของสังสารวัฏของตัวเราได้
    ใช้สติปัฏฐาน4เป็นเครื่องมือพิจารณากายและจิตของเรานี้จะเห็นรูปและนามที่พึ่งพิงอิงแอบอาศัยกันได้
    เห็นขบวนการเกิด-ดับของจิตได้
    เข้าใจถึงไตรลักษณ์ได้
    ค่อยๆถอนลูกศรอย่างมีความสุข เพื่อเห็นทางที่ตนเองจะไปและจุดหมายปลายทางได้
    ขอได้โปรดพิจารณา
     
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    พระพุทธเป็นหนึ่งกับพระธรรม

    ปัญหา มีผู้กล่าวว่าพระพุทธเจ้ากับพระธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นอันเดียวกัน ถ้าเห็นอย่างหนึ่ง ก็เห็นอีกอย่างหนึ่ง จริงหรือไม่ ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนวิกกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม วิกกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม....”
    วิกกลิสูตร ขันธ. สํ. (๒๑๖)
    ตบ. ๑๗ : ๑๔๗ ตท. ๑๗ : ๑๒๙
    ตอ. K.S. ๓ : ๑๐๓
     
  6. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +16
    พระพุทธเจ้าเคารพในตัวรู้ที่ว่า ถูกนั้นอะไรถูก ผิดนั้นอะไรคือผิด ตามความเข้าใจของผมเองนะครับ
     
  7. The Jude

    The Jude เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +109
    พระพุทธองค์ทรงเคารพธรรม เพราะธรรมคือความเป็นจริง ธรรมคือทุกอย่างที่เป็นความจริงในทุกภพ ทุกมิติ ทุกระดับชั้น ทุกจักรวาล ทุกอย่างที่เป็นจริง เคารพในความจริงที่ถูกต้อง เคารพในความจริงที่พึงปฏิบัติ ความจริงแท้ที่แท้จริงที่พระองค์ทรงเคารพนั้นถูกที่สุดแล้ว
     
  8. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,145
    ค่าพลัง:
    +1,960
    ง่ายๆแบบไม่ต้องคิด ตถาคต ทรงเคารพ พระบิดามารดา
     
  9. andnamwan

    andnamwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +206


    ขออนุโมทนาสาธุค่ะ :)
     
  10. Phusaard

    Phusaard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    437
    ค่าพลัง:
    +349
    อนุโมทนา สาธุ ครับ:cool::cool::cool:
     
  11. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,670
    ค่าพลัง:
    +51,947
    *** ตัวกระทำ ตัวศาสนา ****

    ตัวกระทำในการตัดลดปลดนิสัย...ของพระพุทธเจ้าที่สำเร็จไปแล้วทุกพระองค์
    รวมกัน คือ พระไตรปิฎก
    คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดรอบคอบจักรวาล

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  12. doctornattapong

    doctornattapong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +16
    ผมกำลังอ่านหนังสือเรื่อง"หลักปฏิจจสมุปบาท"ที่เขียนโดยท่านพระพุทธทาส ภิกขุครับ อาทิตย์ก่อนเห็นวางขายที่ร้านซีเอ็ดเลยซื้อมายังอ่านไม่จบ อ่านไปสองสามบทแรกท่านก็ตอบคำถามไว้อย่างชัดเจนครับผม สั้นๆที่พอจะจำได้สรุปว่า ปฏิจสมุปบาท คืออริยสัจ4ใหญ่(อริยสัจ4โดยละเอียด)ครับ ลองไปซื้อมาอ่านดูครับ เป็นประโยชน์มากเลยครับ
     
  13. herriken

    herriken Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +91
    "ความว่าง" เพราะความว่าง คือหนทางแห่งสติปัญญา ;)
     
  14. jibakun

    jibakun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2011
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +204
    ผมก็อยากรู้ว่าคนปัจจุบันนี้เคารพอะไรกันบ้าง
    ในทิศ 6

    หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

    ทิศ 6 หลักธรรมที่สอนให้เราปฏิบัติต่อบุคคลรอบด้าน พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 6 ด้าน เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 ประกอบด้วย
    1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา
    2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์
    3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา
    4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย
    5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ
    6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

     
  15. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    “อย่างกระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั่นแหละ แล้วอาศัยอยู่”

    มาช่วยขยายความครับ สิ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าควรที่จะเคารพนั่นก็คือ ตนเองหรือคุณเองนั้นแหละครับ ดั่งคำกล่าวที่ว่า "ธรรมะคือคุณากร" "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"

    พระพุทธเจ้าไม่เคยบังคับให้สาวกใดเชื่อในปัญญาที่ท่านทรงเมตตาสอนแด่สาวกทั้งหลาย แต่สาวกทั้งหลายเชื่อในเมตตา และคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะสาวกทั้งหลายนั้นรู้ได้ด้วยปัญญาแห่งตนเองแล้วจึงเชื่อ
     
  16. grinny

    grinny Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +84
    ตามปัญญาอันน้อยนิดของข้าพเจ้า จะเข้าใจว่าพระพุทธองค์หมายถึง เคารพความเชื่อตนเอง อย่างนั้นไหม

    ถ้าไม่ใช่ก็อย่าถือสานะคร้า....
     
  17. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    เรารู้ว่าในช่วงเวลาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะนั้น ศาสนาพราหมณ์ได้ฝังรากลึกในอินเดียเป็นเวลานานแล้ว ระบบวรรณะที่แยกชนชั้นก็ซึมลึกในสังคมประดุจรากของต้นไม้ใหญ่ที่หยั่งรากแก้วลงไปในพิ้นดิน ผู้คนในยุคนั้นเชื่อว่าทุกสรรพสิ่งและทุกเหตุการณืที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตล้วนถูกลิขิตโดยพรหม
    นอกจากนี้ลัทธิครูทั้ง6ก็ยังเกิดขึ้นร่วมสมัยกับพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน

    ลัทธิครูทั้ง ๖
    เจ้าลัทธิเดียรถีย์, นักบวชนอกพระพุทธศาสนา หมายถึง

    คณาจารย์ ๖ คน คือ

    ๑. ปูรณกัสสป เจ้าลัทธิชื่อ ปูรณะนั้น แต่ก่อนเป็นทาสคนที่ครบร้อยพอดีของตระกูลหนึ่ง ซึ่งมีทาส ๙๙ คน. ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า ปูรโณ. ก็เพราะเขาเป็นทาสมงคล จึงไม่มีผู้กล่าวว่าเขา แม้จะไม่ยอมทำงานก็ตาม. ถึงกระนั้นเขาก็ยังคิดว่า เราจะอยู่ในที่นี้ไปทำไมแล้วก็หนีไป.

    ในเวลาต่อมา ถูกพวกโจรชิงเอาเสื้อผ้าของเขาไป. เขาไม่รู้จักการปกปิดด้วยใบไม้หรือหญ้า ก็เข้าไปยังบ้านตำบลหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่เปลือยกายนั่นเอง. พวกมนุษย์เห็นเขาแล้วคิดว่า สมณะนี้เป็นพระอรหันต์ ผู้มักน้อย ผู้ที่จะเสมอเหมือนกับสมณะนี้ไม่มี จึงถือเอาของหวานและของคาวเป็นต้นเข้าไปหา. ปูรณคิดว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่นุ่งผ้า ตั้งแต่นั้นมาถึงได้ผ้ามาก็ไม่นุ่ง เขาได้ถือเอาการไม่นุ่งผ้านั้นนั่นแหละเป็นบรรพชา. แม้ผู้คนอื่น ๆรวม ๕๐๐ คน ก็บวชในสำนักของเขา ในภายหลัง ให้นามเจ้าลัทธิผู้นี้ว่า ปูรณกัสสปะ. และตั้งลัทธิชื่อ อกิริยทิฏฐิ (ทำก็ไม่ชื่อว่าทำ )คือถือว่า บุญบาปไม่มี ความดีความชั่วไม่มี.

    ๒. มักขลิโคสาล คำว่า โคสาโล เป็นชื่อที่ ๒ เพราะเกิดในโรงโค. ได้ยินว่า เขาถือหม้อนํ้ามันกำลังเดินไปบนพื้นดินที่มีโคลน นายบอกว่า อย่าลื่นนะพ่อ. เขาลื่นล้มลงด้วยความเผลอเรอ ทำให้หม้อน้ำมันหกหมด จึงหนีไปเพราะกลัวนาย. แต่นายวิ่งไปจับชายผ้าไว้ทัน. เขาก็เลยทิ้งผ้า ไม่มีผ้าติดตัวหนีไป. เขาไม่รู้จักการปกปิดด้วยใบไม้หรือหญ้า ก็เข้าไปยังบ้านตำบลหนึ่งทั้ง ๆ ที่เปลือยกายนั่นเอง. พวกมนุษย์เห็นเขาแล้วคิดว่า สมณะนี้เป็นพระอรหันต์ ผู้มักน้อย ผู้ที่จะเสมอเหมือนกับสมณะนี้ไม่มี จึงถือเอาของหวานและของคาวเป็นต้นเข้าไปหา. คสาโลคิดว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่นุ่งผ้า ตั้งแต่นั้นมาถึงได้ผ้ามาก็ไม่นุ่ง เขาได้ถือเอาการไม่นุ่งผ้านั้นนั่นแหละเป็นบรรพชา. และตั้งลัทธิชื่อ อเหตุกทิฏฐิ (ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย) คือถือว่า ดี ชั่ว สุข ทุกข์ สัตว์ทั้งหลายเกิดมาจะบริสุทธิ์ได้เอง.

    ๓.อชิตเกสกัมพล ชื่อเดิมคือ อชิต แต่ที่มีชื่อว่า เกสกัมพล เพราะครองผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมคน. รวมชื่อทั้ง ๒ เข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า อชิตเกสกัมพล. คำว่า เกสกัมพล คือผ้าที่มีเนื้อหยาบกว่าผ้าอื่น ๆ มากผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมคน หน้าหนาวก็เย็นเยือก หน้าร้อนก็ร้อนระอุ มีค่าน้อย สีไม่สวย ทั้งกลิ่นก็เหม็น และมีสัมผัสไม่สบาย. ตั้งลัทธิชื่อ นัตถิกทิฏฐิ คือถือว่า ทำอะไรไม่มีผลไม่ว่าจะดีชั่ว หรือการบูชาก็ตาม.

    ๔. ปกุทธกัจจายนะ คำว่า ปกุโธ เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น. คำว่า กัจจายนเป็นโคตร. ท่านรวมทั้งนามและโคตรเรียกว่า ปกุทธกัจจายนะ.เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้ห้ามนํ้าเย็น แม้จะถ่ายอุจจาระก็ไม่ใช้นํ้าเย็น. ได้นํ้าร้อนหรือนํ้าข้าวจึงใช้. เขาเดินผ่านแม่นํ้า หรือนํ้าในทางก็คิดว่าเราศีลขาดแล้ว ก่อทรายทำเป็นสถูปอธิษฐานศีลเดินต่อไป ปกุทธกัจจายนะผู้นี้เป็นเจ้าลัทธิที่ไม่มีศักดิ์ศรี.ได้ตั้งลัทธิชื่อสัสสตทิฏฐิ สิ่งทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืนอยู่อย่างนั้น เช่นโลกเที่ยง จิตเที่ยง.

    ๕. สัญชัยเวลัฏฐบุตร คำว่า สัญชัย เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น. ชื่อว่า เวลัฏฐบุตร เพราะเป็นบุตรของเวลัฏฐ. อาจารย์สัญชัย
    ปริพาชกอาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์ พร้อมกับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ อุปติสสะ(พระสารีบุตร)และโกลิตะ(พระโมคคัลลานะ)สองสหาย ได้ชวนกันมาบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชกนั้น พร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน.
    จำเดิมแต่กาลที่มาณพทั้งสองนั้นบวชแล้ว สัญชัยปริพาชกได้ลาภได้ยศเหลือหลาย. มาณพทั้งสองนั้นเรียนจบลัทธิของสัญชัยปริพาชกทั้งหมดเพียง ๒-๓ วันเท่านั้น จึงได้ชวนกันไปแสวงหาโมกธรรมที่อื่น เมื่ออุปติสสะ(พระสารีบุตร) ได้พบพระอัสสชิและบรรลุโสดาบัน จึงได้มาชวนโกลิตะ(พระโมคคัลลานะ) ตามที่สัญญากันไว้
    ธรรมดาว่าพระสารีบุตรเถระนี้ เป็นผู้บูชาอาจารย์แม้ในกาลทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวกะโกลิตมาณพ ผู้สหายอย่างนี้ว่า สหาย เราจักบอกอมตะที่เราบรรลุ แม้แก่สัญชัยปริพาชกอาจารย์ของเรา ท่านรู้อยู่ก็จักแทงตลอด เมื่อไม่แทงตลอดเชื่อพวกเราก็จักไปยังสำนักของพระศาสดา ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วจักกระทำการแทงตลอดมรรคผล.

    แต่นั้น ชนแม้ทั้งสองไปยังสำนักของสัญชัยและชวนอาจารย์แต่สัญชัยปริพาชกกล่าวว่า พูดอะไร พ่อ แล้วห้ามชนทั้งสองแม้นั้น เกรงว่าจะเสียลาภอันเลิศและยศอันเลิศ แก่ชนทั้งสองนั้น. ชนทั้งสองนั้นสรุปแล้วกล่าวว่า จะไปหรือไม่ไป.

    สัญชัยปริพาชกรู้ว่า ไปเถิดพ่อทั้งหลาย เราไม่อาจอยู่เป็นอันเตวาสิก(ศิษย์ของคนอื่น) ในคราวเป็นคนแก่. ชนทั้งสองนั้นไม่อาจให้สัญชัยปริพาชกนั้นเข้าใจด้วยเหตุแม้เป็นอันมาก จึงได้พาชนประมาณ ๒๕๐ คน ผู้ประพฤติตามโอวาทของตนไปยังพระเวฬุวัน. อีก ๒๕๐ คนไม่ได้ไปอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชกตั้งลัทธิชื่อ อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มีความเห็นไม่แน่นอน
    ซัดส่ายไหลลื่น แล้วแต่สถานการณ์ต่างๆ.

    ๖. นิครนถนาฏบุตร เจ้าลัทธิชื่อว่า นิคันถะ โดยได้นามเพราะพูดอย่างนี้ว่า พวกเราไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ไม่มีกิเลสเครื่องพัวพัน ว่าพวกเราเว้นจากเครื่องร้อยรัดคือกิเลส. ชื่อว่า นาฏบุตร เพราะเป็นบุตรของนาฏกะนักรำ.

    ตั้งลัทธิชื่อ อัตตกิลมถานุโยคและอเนกานตวาท ถือว่า การทรมานกายเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ และเห็นว่า ความจริงมีหลายแง่มุม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่าง ๆ (ในปัจจุบันคือ ศาสนาเชน ซึ่งได้หมดไปประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา)ส่วนใหญ่มักเรียกอาจารย์เหล่านี้ว่า ครูทั้ง ๖
     
  18. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    พระพุทธเจ้าค้นพบอะไร
    พระพุทธเจ้าทรงพบว่าทุกสรรพสิ่งในโลกเกิดขึ้นจากกฎอิทัปปัจจยตาและไม่มีทางหนีพ้นสัจจะความจริงแห่งกฎไตรลักษณ์ คือเมื่อสิ่งใดกิดขึ้น สิ่งนั้นก็จะตั้งอยู่ได้ตราบที่กฏแห่งอิทัปปัจจยตายังทำงานอยู่ และเมื่อองค์ประกอบต่างๆที่เรียกว่าเหตุแตกสลายไม่เอื้อไม่เป็นปัจจัยเหมือนเดิม สิ่งนั้นก็จะแตกสลายไป นี้เรียกว่าอนิจจัง
    ความที่สรรพสิ่งไม่มีอะไรอยู่ยั่งยืนนี้แหละเรียกว่าทุกขัง
    และเพราะไม่มีสิ่งใดเลยที่จะสามารถเกิดขึ้นมาลอยๆโดยปราศจากเหตุและปัจจัยนี้แหละ ตัวตนที่แท้จริงของมันจีงไม่มีอยู่จริงเรียกว่าอนัตตา
     
  19. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    อิทัปปัจจยตา เป็นหลักการทางพุทธศาสนากล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล เมื่อมีเหตุย่อมมีผล และเมื่อเหตุดับผลก็ดับคือเมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อสิ่งนี้ ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มีเพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
    อิทัปปัจจยตา ถือเป็นหัวใจของปฏิจจสมุปบาทเป็นกฎเหนือกฎทั้งปวง เป็นพุทธธรรมอันติมะหรือสัจธรรมความจริงแท้ ที่สุดของพุทธศาสนา และเชื่อมโยงคำสอนทั้งปวง ของพระพุทธเจ้าว่า ล้วนเป็นไปตามหลักธรรม หรือกฎของอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น
    อิทัปปัจจยตาหลักอิทัปปัจจยตาซึมซ่านอยู่ในเหตุปัจจัยแห่งการก่อเกิด การดำรงอยู่ การมีปฏิสัมพันธ์ และเสื่อมสลาย ของสรรพสิ่งในจักรวาล รวมถึงเป็นวิธีคิด ทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์ทุกสาขาด้วย ครอบคลุมทั้งปัจจัยส่วนวัตถุ จิตใจ สังคมและอื่นๆทั้งหมด ส่วนปฏิจจสมุปบาทหมายถึงแต่สิ่งมีชีวิตที่มีจิต
    อิทัปปัจจยตาในทางพุทธศาสนามักใช้ในการอธิบายในรูปแบบปรัชญาใช้อธิบายสิ่งต่างๆแบบเชื่อมโยง เช่น เสาเป็นปัจจัยของหลังคา ถ้าไม่มีเสา หลังคาก็อยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีหลังคา เสาก็ไม่มีประโยชน์ ทั้งเสาและหลังคาเป็นปัจจัยของกันและกัน คือ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาลอยๆโดยไม่มีเหตุผล บางเหตุการณ์ประกอบด้วยหลายเหตุปัจจัย เช่น ร้องให้เพราะเจ็บ เจ็บเพราะหัวแตก หัวแตกเพราะหกล้ม หกล้มเพราะถนนลื่น ถนนลื่นเพราะฝนตก
     
  20. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรื่องอิทัปปัจจยตา
    [​IMG]
    พระธรรมเทศนาโดย
    พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านเจ้าประคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)

    ........ขอให้ท่านทั้งหลายถือเป็นหลักไว้ว่า การเรียนนั้นคือการลองปฏิบัติดู ถ้าจะศึกษาศีล ก็ต้องลองปฏิบัติศีลดู ถ้าจะศึกษาสมาธิ ก็ต้องลองปฏิบัติสมาธิดู ถ้าจะศึกษาปัญญา ก็ต้องลองปฏิบัติปัญญาหรือวิปัสสนาด ไม่ใช่อ่านหนังสือ ไม่ใช่ท่องจำไม่ใช่บอกเล่ากันด้วยปาก การศึกษาของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าสิกขา สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา นี้เป็นเรื่องปฏิบัติทั้งสิ้น ต่อเมื่อได้ปฏิบัติแล้ว จึงจะเป็นสิกขาหรือเป็นการศึกษา ฉะนั้นอย่าเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเฉยๆ ได้อ่านเฉยๆ ต้องเอาไปลองปฏิบัติดูทั้งศีล ทั้งสมาธิ และทั้งปัญญา
    .........ทีนี้เรื่องอะไรที่ลองปฏิบัติดู? ก็พูดว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั่นแหละสำคัญ แล้วก็สำคัญมาถึงเรา ที่เราก็ต้องตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าด้วย มันก็ต้องไต่ขึ้นไปหาต้นตอ ว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อะไร? เหมือนที่กล่าวตอนกลางวันที่พูดว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นกฏของธรรมชาติ และการตรัสรู้นั้น มันเป็นการปฏิบัติในทางจิตใจ ด้วยก็เลยทำให้เกิดผลในทางจิตใจ คือ หมดกิเลส เย็นเป็นนิพพานนี้ก็เลยรู้จริง รู้จริงเมื่อหมดไฟกิเลส และไฟทุกข์ เย็นเป็นนิพพานแล้ว เราก็ต้องทำอย่างนั้น ดังนั้น เราก็ต้องรู้เรื่องว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อะไร?
    นี้คำตอบ ถ้าตอบตามตัวหนังสือที่มีอยู่ในพระบาลี ที่กล่าวถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ท่านตรัสรู้อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาโท คือ ตรัสรู้เรื่องอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาโท ตามตัวหนังสือเรียงอย่างนั้น แต่ถ้าว่าเราจะพูดกันตามที่เราพูดกันชั้นหลังชอบพูดกันโดยสะดวกเราก็จะพูดว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ถึงแม้เงื่อนงำในพระบาลีลางสูตรบางแห่ง ก็พอที่จะทำให้พูดว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ได้เหมือนกัน ท่านก็เน้นในเรื่องที่ว่ารู้อริยสัจจ์ ๔ สมบูรณ์แล้ว จึงปฏิญญาตัวว่าเป็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าไปดูในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ก็เห็นชัดว่าหนังสือระบุไปยังปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับทบไปทบมา ตรัสรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท
    ทีนี้ปัญหามันก็เกิดขึ้นมาว่า เรื่องอริยสัจจ์ ๔ กับเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น มันต่างกันอย่างไร หรือว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน? ถ้ามีการศึกษาเพียงพอ ก็จะเห็นเป็นเรื่องเดียวกัน เรื่องอริยสัจจ์ ๔ เป็นเรื่องกล่าวย่อๆ เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องกล่าวโดยพิสดาร เช่น
    ถ้าโดยทำนองของอริยสัจจ์ ๔ เมื่อถามว่าความทุกข์เกิดมาจากอะไร? ก็ตอบว่า ความทุกข์เกิดมาจากตัณหา ตัณหาเป็นสมุทัยให้เกิดทุกข์ นี่ก็ถูกที่สุด แต่มันย่อที่สุดเหมือนกัน
    ส่วนเรื่องปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจยตานั้น ถ้าถามว่าความทุกข์เกิดมาจากอะไร? มันก็ตอบได้หมด เกิดมาจากอวิชชา เกิดมาจากตัณหา เกิดมาจากอุปาทาน แล้วแต่จะชี้ลงไปที่ตรงไหน เพราะว่าสายของปฏิจจสมุปบาทนั้นมันยาวมาก มีทั้ง ๑๑ – ๑๒ รายการว่าเกิดมาจากอวิชชามันก็ถูก เกิดมาตามลำดับจนกระทั่งมาเกิดเวทนา แล้วเกิดตัณหา มันก็อยู่ในสายของปฏิจจสมุปบาท ตัณหาก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้
    มีตัณหาแล้วมันต้องให้เกิดอุปาทานเสียก่อน มันจึงจะเป็นทุกข์ได้ ตัณหาคือความอยาก ก็ต้องทำให้ ต้องทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นอุปาทาน ว่าตัวกูผู้อยากเสียก่อน มันจึงจะมีภพ คือการปรุงขึ้นแห่งตัวตน แล้วก็มีชาติเป็นตัวตนที่สมบูรณ์ สำหรับจะได้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้นว่าความเกิดของกู ความแก่ของกู ความเจ็บของกู ความตายของกู โลกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสของกู
    นี่เป็นเรื่องสำคัญ ทีต้องเข้าใจ ว่ามันต้องมีการยึดมั่นว่า เป็นตัวกูหรือเป็นของกูเสียก่อน จึงจะเป็นความทุกข์ได้ แม้ในพระบาลีท่าจะกล่าวไว้สั้นๆ ลุ่นๆ ว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ นั่นท่านหมายความว่า ในนั้นมีความยึดมั่นถือมั่นโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยจิตใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ความเกิดจึงจะเป็นทุกข์ ความแก่จึงจะเป็นทุกข์ ความเจ็บจึงจะเป็นทุกข์ ความตายจึงจะเป็นทุกข์ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นทุกข์ แก่บุคคลผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น เช่น พระอรหันต์ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายไม่เป็นทุกข์แก่ท่านเลย แม้จะเกิดจะความเจ็บปวดอย่างไร ก็รู้สึกว่าเจ็บปวดเท่านั้น ไม่เป็นทุกข์แก่ท่านเลย พระพุทธเจ้าก็เหมือนกันแหละ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย หรือว่าความไม่ได้ตามต้องการอะไรก็ตาม ไม่ทำให้พระพุทธเจ้าเป็นทุกข์ เพราะว่าท่านไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านั้น โดยความเป็นตัวตนของตน มันต้องมีความยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งเหล่านั้น โดยความเป็นตัวตนของตน จึงจะเป็นทุกข์
    [​IMG]
    แต่ถ้าสำหรับปุถุชนคนธรรมดาแล้ว พูดว่าความเกิดก็พอ ความแก่พูดสั้นๆ อย่างนั้นก็พอ เพราะว่าปุถุชนคนธรรมดาย่อมยึดมั่นถือมั่นอย่างเต็มที่ ว่าความเกิดของกู ความแก่ของกู ความเจ็บ ของกู ความตายของกู อะไรๆ ก็ของกู มันก็เป็นทุกข์แหละ นี้เรียกว่าพูดอย่างภาษาคนธรรมดาสามัญ เขาจะยึดมั่นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ว่าเป็นของกูเสมอ ฉะนั้นพูดว่าความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ก็พอแล้ว เพราะมันมีความยึดมั่นถือมั่นรวมกันอยู่ในนั้นแล้ว
    แต่คำอย่างนี้เอาไปใช้กับพระอรหันต์ไม่ได้ พระอรหันต์ไม่มีความยึดถือว่า เกิด แก่ เจ็บ ตายของกู ฉะนั้นแม้ว่าร่างกายมันจะแก่ มันจะเจ็บ มันจะตายลงไปนี้ ท่านก็ไม่ได้เป็นทุกข์ ท่านรู้สึกว่า มันเจ็บปวดอยู่อย่างนั้น เป็นความเจ็บไข้อย่างนั้น ก้เป็นไปซิ มันเป็นของความเกิดแก่ เจ็บ ตายนั้น มันไม่ใช่ของฉัน ฉันก็กลายเป็นของเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ตามธรรมดาไป ไม่ทำให้เป็นทุกข์
    นี่การตรัสรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ใจความสำคัญที่อยู่ใกล้ชิดที่สุด มีน้ำหนักมากที่สุด ก็คือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่าสังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เมื่อกล่าวโดยสรุปย่อที่สุดแล้ว และมันเป็นทุกข์เพราะยึดถือ ถ้าไม่ยึดถือมันก็ไม่เป็นทุกข์ จิตที่มีความยึดถือเป็นตัวกูของกูในสิ่งใดก็ตาม มันก็ต้องเป็นทุกข์ สิ่งที่จะถูกยึดถือนั้นก็คือขันธ์ ๕ นั้นเอง
    คำว่าขันธ์ ๕ นี้สำคัญมาก สำคัญตรงที่ว่า พวกเราไม่รู้จักตัวจริงของมัน รู้จักแต่ชื่อ ฟังแต่เสียงด้วยหู ท่องว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วก็ไม่รู้ว่าคืออะไร อยู่ที่ไหน ขอร้องให้ทุกคนสนใจเป็นพิเศษ ให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ ๕ กันนี้ให้จริง หรือให้พอสมควร ให้จริงจัง ให้ถึงที่สุดก็ยิ่งดี ว่าความยึดถือนั้นมันมีอยู่ในกลุ่มสังขาร ใช้คำว่ากลุ่มสังขาร เดี๋ยวจะไปปนกับคำว่าสังขารเสียอีก ใช้คำว่าในกลุ่มของการปรุงแต่ง ๕ กลุ่ม
    ขันธ์ คำนี้แปลว่ากลุ่ม แปลว่ากอง คือมันไม่ใช่สิ่งเดียว มันประกอบอยู่ด้วยสิ่งหลายสิ่งรวมกันอยู่ เช่น รูปขันธ มันก็มีธาตุหลายธาตุมีอะไรหลายอย่างรวมกันอยู่ เรียกว่ากลุ่มรูป รูปขันธ์ ความรูสึกที่เป็นเวทนาก็เหมือนกัน มันมีอะไรหลายๆ สิ่งรวมกันอยู่เป็นเหตุเป็นปัจจัย เป็นผลเป็นอะไร รวมอยู่ในนั้น ก็เรียกว่ากลุ่มเวทนา กลุ่มสัญญาก็เหมือนกันอีกแหละ มันก็มีธรรมะที่เนื่องด้วยกัน เกี่ยวข้องกันอยู่ เป็นเหตุก็มีผลก็มี ก็เรียกว่ากลุ่มสัญญา กลุ่มสังขารความคิดนึกนี้ มีอะไรหลายอย่างรวมกันอยู่ในนั้น เรียกว่ากลุ่มความคิดหรือกลุ่มสังขาร นี้กลุ่มวิญญาณ ก็ต้องมีอะไรรวมกันอยู่ มันจึงจะเป็นวิญญาณปรากฏออกมา อย่างน้อยประกอบด้วยอายตนะภายในและอายตนะภายนอก ถึงกันเข้าแล้ว เกิดจักษุวิญญาณ ในความหมายคำว่าวิญญาณ มันต้องรวมอายตนะนั้นอยู่ด้วย จึงเรียกว่ากลุ่ม
    ทีนี้เราไม่ศึกษา หรือไม่ชี้แจงกันให้เห็นชัดว่า กลุ่มทั้งห้านี้ มันมีอยู่อย่างไร หรือว่าสอนกันผิดๆ จนถึงกับพูดว่าร่างกาย ชีวิตจิตใจนี่ผ่าแล่งออกไปได้เป็น ๕ ส่วน ๕ กอง เหมือนกับเอาสัตว์มาตัวหนึ่ง ผ่าให้เป็ น ๕ ส่วน ๕ กอง อย่างนี้เสียก็มี จึงทำให้คนบางคนคิดว่า เรามีขันธ์ทั้งห้าอยู่ตลอดเวลา บางคนคิดเตลิดเปิดเปิง ไปถึงกับว่า นอนหลับอยู่ก็ยังมีขันธ์ทั้ง ๕ นี้เป็นต้น
    อันที่จริงขันธ์ ๕ นั้น เราจะมีพร้อมกันทั้ง ๕ ขันธ์ ไม่ได้ มันแล้วแต่ว่าเราไปยึดถืออยู่ส่วนไหน ส่วนนั้นมันจึงจะมี ส่วนที่ไม่ยึดถือนั้นมันก็เหมือนกับไม่มี จะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่า ชีวิตนี้มันอยู่ใน ๕ รูปแบบ บางเวลามันไปสนใจอยู่ที่พวกรูป คือรูปขันธ์ ชีวิตนี้ก็อยู่ในลักษณะของรูปขันธ์ ไปยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวกู – เป็นของกู มันก็เป็นทุกข์ เพราะรูปขันธ์
    ทีนี้บางเวลาชีวิตไม่อยู่ที่รูปขันธ์ หรือเวทนาขันธ์ ความหมายของชีวิตไปอยู่ตรงที่คำว่าสัญญา คือเขาสำคัญมั่นหมายในสิ่งใดว่าเป็นอย่างไรสำคัญว่าสุข สำคัญว่าทุกข์ สำคัญว่าหญิง สำคัญว่าชาย สำคัญว่าได้ สำคัญว่าเสียซึ่งขึ้นอยู่กับความจำหมาย จิตมันไปหมายอยู่ที่นั่น ที่สัญญาอย่างนั้น ชีวิตในขณะนั้นมันมีความหมายอยู่ที่สัญญา ก็เป็นความทุกข์เพราะยึดมั่น
    บางเวลามันกำลังทำหน้าที่คิด คิดนั่น คิดนี่ คิดอย่างนั้น อย่างนี้ ชีวิตมีความหมายอยู่ที่ความคิด ก็มีการยึดถือในสิ่งที่คิดหรือสิ่งที่มันคิดได้ หรือการคิดนั้นเอง ว่าเป็นตัวตน มันก็ยึดถือที่นั่น มันก็เป็นทุกข์ที่นั่น ก็เรียกว่ามีสังขารขันธ์ สังขารขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ แล้วก็เป็นทุกข์
    บางเวลามันก็ไปอยู่ที่วิญญาณขันธ์ กลุ่มที่ทำให้เกิดความรู้สึกได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ วิญญาณ ทั้ง ๖ อย่าง แต่ละอย่างนั้นมันเป็นตัวชีวิตขึ้นมา เพราะว่าจิตมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น ไปหมายอยู่ที่นั่น ยึดถืออยู่ที่ตัววิญญาณว่ารู้สึกอะไรได้ อย่างที่บางคนชอบพูดผิดๆ ว่า จิต ตัวตนมาทำหน้าที่ทางตา ทำหน้าที่ทางหู จมูก ลิ้น กาย อย่างนี้ มันเป็นคำพูดที่ผิด มันเป็นการปรุงแต่งของสิ่งเหล่านั้นต่างหากที่เกิดเป็นวิญญาณ รู้แจ้งขึ้นมา อย่าให้มีตัวตนอะไรซ่อนเร้นอยู่ที่ไหนออกมาทำงานทางตา ทางหู อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นเรื่องลัทธิอื่น เป็นเรื่องศาสนาอื่น ถ้าเป็นศาสนานี้ ก็จะตรงตามพระบาลีว่า อาศัย ตา กับ รูป เกิดจักษุ วิญญาณ สังคติแห่งธรรม ๓ ประการนี้ เรียกว่าผัสสะอย่างนี้ วิญญาณเพิ่งเกิดเมื่อมีการกระทบของอายตนะ ทีนี้จิตใจมันไปสนใจอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า วิญญาณ เพราะมันรู้สึกอารมณ์ได้ เหมือนกับว่าเป็นสัตว์ เป็นคน ชีวิตในระยะนี้ในกรณีนี้ มันไม่มีความหมายอยู่ที่วิญญาณ
    เหมือนกับว่าชีวิตนี้มันเล่นตลกได้หลายรูปแบบ หรือเหมือนกับมันแต่งตัวเล่นละครได้หลายรูปแบบ บางเวลาความของชีวิตไปอยู่ที่รูปขันธ์ คือความรู้สึกที่เป็นเวทนา ที่เป็นความรู้สึกของจิต หรือจิตที่กำลังมีเวทนา มันก็มีความหมายเช่นกัน มันมีความหมายอยู่ที่เวทนารู้สึกอยู่ได้ เพราะรู้สึกอยู่ได้จึงมีตัวฉัน ตัวฉันรู้สึกมัน บางทีไปมีความหมายอยู่ที่สัญญาหมายมั่นอย่างนั้นหมายมั่นอย่างนี้ บางที่ไปรู้สึกอยู่ที่สังขาร สังขารขันธ์ คือคิดอย่างนั้น คิดอย่างนี้ คิดอย่างโน้น ต้องการอย่างนั้น ต้องการอย่างนี้ บางทีก็ไปอยู่ที่พวกกลุ่มที่ทำหน้าที่รู้แจ้งชั้นนอกๆ รู้แจ้งที่ตา รู้แจ้งที่หู รู้แจ้งที่จมูก ฯลฯ ทั้งหกนั้น
    นี่เรียกว่าขันธ์ ๕ หรือ ๕ ขันธ์ จะเรียกว่าการปรุงแต่ง ๕ กลุ่ม ๕ กอง ทั้งห้านั้นแหละเรียกว่าสังขาร ทั้ง ๕ กลุ่มนั้นถ้าเรียกโดยคำสามานยนามแท้ๆ ส่วนลึดแล้วเรียกว่าสังขารได้ทั้งนั้น แต่เดี๋ยวนี้ทั้งเอาสังขารมาใช้กับกลุ่มที่ ๔ คือ สังขารขันธ์ ซึ่งมีความหมายแคบเข้ามา สังขารขันธ์หมายถึงความคิด แต่สังขาร เฉยๆ หมายถึงการปรุงแต่งทุกสิ่ง รูปขันธ์ก็เป็นสังขาร เวทนาขันธ์ก็เป็นสังขาร สัญญาขันธ์ก็เป็นสังขาร สังขารขันธ์เองก็เป็นสังขาร อย่างนี้เป็นต้น
    ดังนั้นเราไม่อาจจะมีขันธ์ทั้งห้าพร้อมกันในคราวเดียว มันแล้วแต่ว่าจิตมันกำลังไปยึดมั่นให้เป็นชีวิตอยู่ที่กลุ่มไหน บางเวลาความยึดมั่นถือมั่นของจิต มันไปยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มรูป ตามเรื่องตามกรณี ที่มันมีอำนาจหรือมีเหตุปัจจัยให้ไปสนใจ ให้ไปยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มรูป
    แต่บางเวลามันไม่เป็นอย่างนั้น มันไปสนใจยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มเวทนาแล้วมันก็เป็นเรื่องสืบต่อกันด้วย เพราะมีรูปขันธ์ คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก มันจึงเกิดวิญญาณ มันจึงเกิดผัสสะ แล้วมันจึงเกิดเวทนา ดังนั้นรูปขันธ์กับเวทนาขันธ์ จะเกิดพร้อมกันไม่ได้ และเวทนาขันธ์มันก็สืบทอดมาจากรูปขันธ์ ที่มันทำหน้าที่ของมัน
    ครั้นเกิดเวทนาขันธ์รู้สึกอย่างไรแล้ว มันจึงจะเกิดความยึดมั่นหมายมั่นในเวทนาขันธ์ เรียกว่าสัญญา มีเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นวัตถุให้เกิดสัญญาหรือความมั่นหมาย
    เมื่อมีสัญญามั่นหมายในสิ่งใด โดยวิธีใดแล้ว มันก่อให้เกิดความคิดขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มสังขารขันธ์
    ส่วนวิญญาณขันธ์นั้นมันใช้ทั่วไป ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในบางครั้งก็ในชั้นผิวเผินคือ ที่ตากระทบรูป หูกระทบเสียง เป็นต้น ครั้นเกิดเวทนาขึ้นมาแล้ว จิตมันยึดมั่นเวทนานั้นเป็นธรรมารมณ์ก็ได้ นี่คำว่าสังขารจึงมีความหมายกว้างเหลือเกิน ใช้ในกรณีอะไรก็ได้ เมื่อมันเป็นวิญญาณขันธ์ ทำหน้าที่เป็นวิญญาณขันธ์ มันก็มีส่วนให้หลงเข้าใจผิดว่า เป็น ตัวตนได้เหมือนกัน ดังนั้นมันจึงไปยึดมั่นที่วิญญาณขันธ์
    นี่ดูให้ดีก็จะเห็นได้เองว่า มันจะมีพร้อมกันทั้งห้านั้นไม่ได้ แล้วมันยังเป็นปัจจัยส่งเสริมแก่กันและกันด้วย ฉะนั้นเราก็ต้องฉลาด แล้วก็มีสติมากพอว่า เดี๋ยวนี้เราหรือจิตกำลังยึดมั่นที่ขันธ์ี่ไหน กำลังยึดมั่นในกลุ่มไหน นี่จะถ้าระวังจิต จะดูจิตแล้ว ก็จงดูว่ามันกำลังยึดมั่นอยู่ในขันธ์ไหน
    ถ้าจะพูดอย่างสวนทางกันก็จะพูดว่า เรากำลังมีความทุกข์ใจอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ในความรู้สึกว่าเป็นทุกข์ แล้วก็ดูเถอะ ว่าจิตมันกำลังยึดมั่นถือมั่น อยู่ในส่วนใดหรือขันธ์ไหน จึงได้เป็นทุกข์ เดี๋ยวนี้คนก็ไม่สนใจ เป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์ ก็ร้องไห้ไปหรือดิ้นรนไป ถ้าจะเป็นสัตบุรุษผู้มีปัญญาก็จะต้องสนใจว่า ความทุกข์นี้มาจากกลุ่มไหน มาจากเหตุปัจจัยอะไร แล้วก็จะพบเองว่า โอ้ เรามันกำลังโง่ กำลังไปยึดมั่นในรูปขันธ์ หรือว่าในเวทนาขันธ์ หรือว่าในสัญญาขันธ์ หรือว่าในสังขารขันธ์ เป็นต้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...