สธ.รับ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 26 มกราคม 2007.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เผย กทม.-ประจวบฯ-อ่างทอง-หนองคาย พท.ระบาดไข้หวัดใหญ่พันธุ์ H3</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 มกราคม 2550 18:46 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> สธ.เผยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3 ระบาดใน 4 จังหวัด กทม. ประจวบคีรีขันธ์ อ่างทอง หนองคาย ขณะที่มีผู้เสียชีวิตเด็ก 2 ราย ผู้ใหญ่ 1 ราย ด้านผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ชี้ ยังสรุปไม่ได้มีการกลายพันธุ์ ต้นตอที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วอาจเป็นเพราะมีโรคแทรกซ้อนกระตุ้น โดยจะต้องนำเชื้อมาตรวจอย่างละเอียดก่อน กทม. ประจวบฯ อ่างทอง หนองคาย พื้นที่ระบาด

    นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3 เป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดในหลายจังหวัดของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ตรวจพบในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ อ่างทอง และหนองคาย โดยก่อนหน้านี้ พบว่า มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแล้ว 2 ราย เป็นเด็กหญิงวัย 2 ปี ชาวกรุงเทพมหานคร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มกราคม และเด็กหญิงวัย 5 ปี ที่ประจวบคีรีขันธ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 มกราคม ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีภาวะแทรกซ้อนของปอด ส่วนผู้เสียชีวิตในหนองคายนั้น เบื้องต้นไม่รับการรักษา และจากการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเบื้องต้น น่าจะเป็นการใช้ตัวอย่างที่เก็บจากหลอดลมเท่านั้น ซึ่งในการตรวจวิเคราะห์หาข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ H3 หรือไม่ จะต้องดูผลการตรวจสอบเชื้ออย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

    “ปกติแล้วปีๆ หนึ่ง มีผู้เข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมากปีละ 4-5 หมื่นราย และมีผู้ป่วยที่ซื้อยามารับประทานเอง และปล่อยให้หายเองอีกนับแสนคน ปัญหาคือจะทราบได้อย่างไรว่าถึงเวลาต้องไปหาหมอ เกณฑ์ในการดู คือ ถ้าเป็นคนแข็งแรงดี เป็นไข้หวัด 2 วัน แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงต้องไปพบแพทย์อย่าปล่อยเอาไว้ หรือถ้าเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว ต้องเข้ารับการตรวจรักษาทันทีอย่าทิ้งไว้ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ที่เป็นอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ นอกจากนี้ กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
    รวมถึงการรับประทานยาลดไข้กลุ่มแอสไพริน เมื่อตัวยาผสมกับเชื้อไข้หวัดจะทำให้เกิดการแทรกซ้อนได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้น สธ.จึงห้ามไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานยากลุ่มนี้หรือซื้อยากินเอง” นพ.คำนวณ กล่าว

    นพ.คำนวณ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อมูลเชิงลึกในการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้มีการศึกษาอย่างละเอียดโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำเชื้อไวรัสในผู้เสียชีวิตส่งตัวอย่างให้กับศูนย์เครือข่ายห้องปฏิบัติการไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโลก ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรในการตรวจวิเคราะห์ว่าเป็นเชื้อที่เป็นสายพันธุ์ใหม่หรือไม่

    ด้าน ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ปกติไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วเล็กน้อยทุกปี เพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่รอดได้ แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3 มีความรุนแรงผิดปกติ หรือมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่
    โดยเฉพาะในการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ กรณี นายอภิชาต พรมบุตร อายุ 41 ปี อยู่บ้านเลขที่ 84 หมู่ 8 บ้านโนนสง่า ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย หากมีผลแล็บ ยืนยันว่า เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้จริง อาจเป็นไปได้ที่มีโรคอื่นแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ถุงลมโป่งพอง เป็นตัวกระตุ้นให้เสียชีวิตเร็วขึ้น แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้ดังกล่าว จึงไม่สามารถสรุปได้ จะต้องนำเชื้อมาตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดเสียก่อน และขณะนี้ยังไม่พบความผิดปกติการระบาดในต่างประเทศเช่นกัน

    วันเดียวกัน นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้เดินทางลงพื้นที่สีแดง ซึ่งเป็นเขตระบาดของโรคไข้หวัด จ.พิษณุโลก โดยกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกใน จ.พิษณุโลก แต่อย่างใดมีเพียงผู้ป่วยเฝ้าระวัง เป็นผู้หญิงวัย 74 ปี ป่วยเป็นไข้ โดยอยู่ในพื้นที่ที่มีการยืนยันว่ามีการระบาดของไข้หวัดนก จึงได้ส่งตัวไปที่โรงพยาบาลพุทธชินราช พร้อมกันนี้ ได้ส่งหน่วยเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่เพื่อติดตามบุคคลใกล้ชิด ซึ่งต้องทำการเฝ้าระวังอีก 7 ราย โดยขณะนี้ผู้ป่วยอาการปกติดี ส่วนผลการตรวจวิเคราะห์อยู่ระหว่างการส่งตรวจห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

    ด้านนพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก ของกระทรวงสาธารณสุข ว่า นายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาสาธารณสุข ได้มีนโยบายจัดแบ่งพื้นที่การดูแลออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ที่มีรายงานสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งขณะนี้มี 2 จุด คือ ที่จังหวัดพิษณุโลก และที่ ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ให้จัดเป็นพื้นที่สีแดง ถือว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้มีความเสี่ยงสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ และมีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดนกจากสัตว์ปีกได้ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย และกำลังของทีมอาสาสมัครสาธารณสุข เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของคนในหมู่บ้านอย่างเข้มข้น เป็นพิเศษเป็นเวลา 10 วัน โดยติดตามสอบถามอาการเจ็บป่วยด้วยอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก ของชาวบ้านทุกคนทุกวัน หากพบ ต้องรีบรายงาน และนำส่งตรวจรักษาที่โรงพยาบาลทันที แม้ว่าจะมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยตาย หรือไม่ก็ตาม และจะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปควบคุมป้องกันโรคที่บ้านที่พบผู้ป่วยทันทีโดยไม่ต้องรอผลการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และให้รายงานผลการเฝ้าระวังทุกวัน

    นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ผลการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ หายใจหอบ ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 - 24 มกราคม 2550 มีทั้งหมด 199 ราย จาก 39 จังหวัด ในวันที่ 24 มกราคม 2550 ได้รับรายงาน 54 ราย จาก 15 จังหวัด ดังนี้ อ่างทอง 26 ราย สุพรรณบุรี 8 ราย กาญจนบุรี 3 ราย อุบลราชธานี 2 ราย อุทัยธานี 2 ราย ลพบุรี 2 ราย ราชบุรี 2 ราย สมุทรปราการ 2 ราย ส่วนอีก 7 ราย จากพระนครศรีอยุธยา สระบุรี เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ และปราจีนบุรี แห่งละ 1 ราย ผลการตรวจยืนยันเชื้อยังไม่พบรายใดติดเชื้อไข้หวัดนก ยังอยู่ระหว่างรอผลการตรวจอีก 51 ราย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ลุ้นระทึกกลายพันธุ์! หวัดใหญ่ H3 สองวันคร่า 2 ศพ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 มกราคม 2550 14:18 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> กรมควบคุมโรคจับตาโรคไข้หวัดใหญ่ในคนสายพันธุ์ H3 รุนแรง คร่าชีวิตผู้ป่วยไปแล้ว 2 ราย ด้านกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยผลแล็บ ชายอายุ 41 ปี อำเภอศรีเชียงใหม่ หนองคาย ไม่ได้เสียชีวิตจาก “หวัดนก” แต่เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ “สายพันธุ์ H3” ด้านกทม.เทงบ 11 ล้านคุมหวัดนกระลอกใหม่

    นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ซึ่งเดินทางไปราชการที่จังหวัดพิษณุโลก ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3 ทั้งที่เป็นไข้หวัดใหญ่ที่พบในคนได้ทั่วไป เหตุใดจึงมีความรุนแรงทำให้ผู้ป่วยตายได้แสดงว่ามิใช่เรื่องธรรมดา ดังนั้น จะต้องหาคำตอบทางระบาดวิทยา ทั้งในเรื่องความรุนแรงของโรค การรักษา ตลอดจนการดูแลผู้ป่วย

    “สิ่งที่ผมอยากจะขอความเห็น คือ ในตอนนี้ถึงเวลาหรือยังที่กลุ่มเสี่ยง คือ คนสูงอายุ และเด็ก ควรจะได้รับวัคซีนฟรีโดยเรื่องนี้เป็นนโยบายจากรัฐบาล หรือถ้าไม่ฟรีอาจจะเป็นการร่วมจ่าย ขณะเดียวกันรัฐบาลควรจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน เนื่องจากทุกวันนี้แม้จะมีเงินก็ต้องเข้าคิวซื้อ ด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการผลักดันตั้งโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้น เพราะถ้ามีการระบาดใหญ่จะได้มีวัคซีนไว้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ” นพ.ธวัช กล่าว

    ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้สัมภาษณ์ถึงการเสียชีวิตของ นายอภิชาต พรมบุตร อายุ 41 ปี อยู่บ้านเลขที่ 84 หมู่ 8 บ้านโนนสง่า ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ที่ชาวบ้านลือว่า เสียชีวิตเพราะโรคไข้หวัดนกเพราะบ้านอยู่ห่างจากฟาร์มไก่ที่เกิดไข้หวัดนก และนายอภิชาตเป็นไข้หวัดเพียง 2 วัน ก็เสียชีวิตว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี พบว่า นายอภิชาต ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่โดยไวรัสที่ก่อโรคคือ สายพันธุ์ H3 เป็นไวรัสที่ทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ในคนที่เห็นได้ทั่วไป แต่เนื่องจากกรณีนี้ผู้ป่วยเสียชีวิต เพื่อความแน่นอนจึงได้มีการส่งตัวอย่างมาตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรีซ้ำอีกครั้ง ผลออกมาเหมือนกันคือ เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3

    อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า นอกจากกรณีของนายอภิชาตที่เสียชีวิตเพราะไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ H3 แล้ว ยังมี ด.ญ.วัย 5 ขวบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เสียชีวิตเพราะไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3 เช่นกัน ซึ่งตนได้พูดคุยกับ นพ.ธวัช ได้ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3 ถึงได้เป็นสายพันธุ์รุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

    ดังนั้น ในแง่ของการระบาดวิทยาจะต้องพิจารณาว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้ชายอายุ41 ปี และ ด.ญ.วัย 5 ขวบเสียชีวิตเพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3 เป็นไปได้หรือไม่ว่าภูมิต้านทานร่างกายของทั้ง 2 คนอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้วจนทำให้เสียชีวิต ต้องศึกษาทั้ง 2 กรณีอย่างละเอียด

    กทม.เทงบ 11 ล้านคุมหวัดนก
    นายชนินทร์ รุ่งแสง โฆษกกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ป้องกันไข้หวัดนกของกทม. ว่า ขณะนี้สถานการณ์ไข้หวัดนกในกทม.ยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกแต่อย่างใด มีเพียงแค่ผู้ป่วยไข้หวัดเฝ้าระวัง เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามกทม.ได้ตั้งคณะกรรมการจัดการเรื่องดังกล่าว 7 คณะ และกำหนดพื้นที่เฝ้าระวังจำนวน 15 เขต เนื่องจากคาดว่าอาจมีการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีก โดยมาตรการขณะนี้ได้จัดตั้งด่านตรวจ กักกันสัตว์ปีกอย่างเคร่งครัด มีการกำหนดประชุมซักซ้อมความเข้าใจทั้งผู้ประกอบการโรงเชือดสัตว์ปีก ประชุมผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกทม.ทุกแห่งให้เข้าใจถึงสถานการณ์ และทำความเข้าใจในการประกอบ ปรุงอาหารในโรงเรียนไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดโรค

    นายชนินทร์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้กทม.ได้จัดสรรงบประมาณ 11 ล้านบาท ให้ทั้ง 50 เขต เพื่อใช้จ่ายในการเฝ้าระวัง ติดตามและตรวจสอบ ซึ่งแต่ละเขตจะได้รับงบประมาณไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ จำนวนสัตว์ปีก และจำนวนโรงเชือดสัตว์ปีก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. ดอกเข็ม

    ดอกเข็ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +479
    น่ากลัวนะคะ
     
  5. bbjuatm

    bbjuatm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +636
    มีโรคใหม่อีกแล้ว
    โรคเก่าก็น่ากลัวอยู่แล้ว
    สาธุ ขอให้ประเทศไทยพานพบแต่สิ่งดีๆทั้งหลายทั้งปวงด้วยเถิด
     
  6. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    น่ากลัวครับ

    .
     
  7. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,516
    ค่าพลัง:
    +27,187
    ไม่เป็นหวัดก็ตายได้เนอะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...