การกินเนื้อสัตว์ที่ได้มาโดยมิชอบย่อมเป็นบาปกรรม

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย เนตรอิศวร, 6 พฤษภาคม 2011.

  1. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    ดูก่อนเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
    ...........ณ บัดนี้ผู้น้อยก็จักขอบรรยายความตามที่ผู้น้อยนั้นได้ตั้งจิตไว้ เพื่อให้ท่านทั้งหลายนั้นได้คลายสงสัยถึงเรื่อง การกินเนื้อสัตว์ ว่าจะเป็นผลให้เกิดบาปกรรมหรือไม่ ด้วยวันนี้นั้นก็เป็นวันที่ผู้น้อยได้ตั้งจิตไว้ว่าจะรอกระทู้แรกรั้งไว้สามวันก็ได้ครบกำหนดแล้ว เวลาอาจจะล่าช้าไปจาก ๐๐.๐๑ ไปผู้น้อยก็ต้องขออภัย เพราะตอนนี้ที่ผู้น้อยเริ่มบรรยายก็เวลา ๐๗.๒๘ พอดี ก่อนอื่นนั้นผู้น้อยอยากจะขอให้ท่านผู้เจริญทั้งหลายโปรดจงลด อคติ๔ ทิฐิความยึดมั่นถือมั่นลงเสียก่อน แล้วท่านทั้งหลายโปรดเปิดใจให้กว้างแล้วพิจารณาตามบทความที่ผู้น้อยจะได้บรรยายต่อไป แล้วเราทั้งหลายมาช้วยกันพิจารณาว่าสมเหตุสมผล มีความเป็นจริงตรงตามผู้น้อยได้อธิบายแล้วหรือไม่ก็แล้วแต่ท่านทั้งหลายจะพิจารณาเองเทอญ.
    ...........อันเรื่องของการกินเนื้อสัตว์นั้นจะมีความผิดบาปและเกิดกรรมหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่ด้วยเหตุและปัจจัยมาประกอบ คือเหตุแห่งการกินนั้นด้วยความหิว ด้วยความอยาก หรือด้วยความคึกคะนองสนุกสนาน ส่วนในเรื่องของปัจจัย ก็ด้วยว่าจำเป็นต้องกินเพื่อความอยู่รอดเพราะไม่มีสิ่งใดอีกแล้วที่จะกินได้ จึงจำเป็นต้องกิน หรือว่าไม่มีรสชาติอื่นที่จะทดแทนได้จึงจำเป็นต้องกิน
    ...........ทีนี้ผู้น้อยนั้นขอเชิญท่านผู้เจริญทั้งหลายมาร่วมกันพิจารณาหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเเจ้าว่าพระองค์สอนเราเช่นใดถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์ ก่อนอื่นผู้น้อยขอยกศีล๕ ในข้อที่๑ขึ้นมาอ้างบรรยาย คือ ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาปะทังสมาธิยามิ ก็คือ การไม่ฆ่าสัตว์พรากชีวิตอันเป็นที่รักของผู้อื่น ทำไมผู้น้อยจึงต้องยกศีลข้อที่๑ มาประกอบ ก็ด้วยการกินเนื้อสัตว์ของมนุษย์นั้นส่วนหนึ่งได้เนื้อมาจากการฆ่าสัตว์พรากชีวิตเขาเพื่อให้ได้เนื้อของเขามาเป็นอาหารของตน
    ...........ทีนี้ผู้น้อยจักขอบรรยายว่าการฆ่านั้นเกิดขึ้นได้ ๓ ลักษณะคือ การฆ่าด้วยมือของตนเอง๑ การฆ่าโดยการสั่งฆ่าจ้างวานฆ่า๑ การฆ่าโดยยินย่อมให้สิทธิ์ของตนในการฆ่า๑ ซึ่งผู้น้อยจักขออธิบายความนี้คือ
    ...........๑.การฆ่าโดยการฆ่าด้วยมือของตนเองก็คือ การที่ตนเองนั้นเป็นผู้กระทำการลงมือพรากชีวิตอันเป็นที่รักของเขาด้วยมือของตน ด้วยการทุบตีก็ดี ด้วยการฟันแทงก็ดี หรือด้วยการบีบรัดทำให้สิ้นลมก็ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการเสียชีวิตแก่สัตว์โดยทั้งสิ้น บางวิธีอาจทำให้ทรมานแก่สัตว์เช่น จับมัดใส่ถุงแล้วถ่วงน้ำ การทุบกระดองแล้วโยนเข้ากองไฟ การจับใส่ลงไปในหม้อที่มีน้ำเดือด ซึ่งวิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นการที่ก่อให้เกิดความทรมานกายและใจแก่สัตว์ก่อนที่จะพรากชีวิตของเขาเพื่อนำมาเป็นอาหารแก่ตน
    ...........๒.การฆ่าโดยการสั่งจ้างวานฆ่า คือ การที่ตนเองนั้นไม่เป็นผู้ลงมือกระทำการฆ่าด้วยมือของตน แต่ใช้วิธีการสั่งให้เขาฆ่าไม่ว่าจะด้วยการที่จะมอบสินน้ำใจให้แก่ผู้ฆ่าด้วยหรือไม่ก็ตามก็ย่อมถือว่าเป็นผู้พรากชีวิตอันเป็นที่รักของผู้อื่น เช่น ยามท่านทั้งหลายไปบ้านคนรู้จักแล้วเกิดเอ่ยปากว่าอยากจะกินไก่ แล้วเจ้าของบ้านก็ไปเฉียดไก่ที่ตนมี หรือไปสั่งไก่ในที่อื่นให้เขาฆ่ามาย่อมก็ถือว่าสัตว์นั้นได้เสียชีวิตอันมาจากคำพูดของตนเป็นเหตุ ก็ย่อมถือว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าอันเป็นเหตุให้เขานั้นถึงแก่ชีวิต๑ และอีกกรณี๑คือ หากมีผู้หนึ่งเขากล่าวว่า หากท่านทั้งหลายไปสู่แก่เรือนของเขา เขานั้นจะล้มวัวควายของตนเพื่อนำเนื้อนั้นมาต้อนเลี้ยงรับท่าน ไม่ว่าเขานั้นจะล้มเอง หรือไปสั่งเนื้อวัวควายของผู้อื่นอันเป็นเหตุให้เกิดการพรากชีวิตอั่นเป็นที่รักของผู้อื่นย่อมถือว่าท่านนั้นก็มีส่วนร่วมในการฆ่านั้นด้วย
    ..........๓.การฆ่าที่เกิดจากการยินยอมให้สิทธ์ของตน คือเช่นมีคนมาขอสัตว์ที่ตนเองครอบครองเพื่อนำไปฆ่า๑ มีคนมาขอซื้อสัตว์ที่อยู่ในครอบครองเพื่อไปฆ่า เช่นการซื้อขายเพื่อไปเข้าโรงฆ่าสัตว์ การนำสุนัขแลกกับถังน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะแลกด้วยชีวิตกับชีวิต หรือแม้แต่การแลกด้วยเงินตรา ก็ย่อมถือว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าพรากชีวิตอันเป็นที่รักของเขา การแลกชีวิตกับชีวิต ก็เช่น มีพ่อค้าวัวนำวัวตัวหนึ่งนำมาแลกกับวัวอีกตัวหนึ่งของท่านแล้วอาจจะเพิ่มเงินให้เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ เมื่อท่านยินยอมให้เขาเอาชีวิตสัตว์ท่านไปจนเกิดการฆ่าพรากชีวิต ท่านนั้นก็ถือว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าพรากชีวิตของผู้อื่น แต่หากท่านนั้นไม่รู้ด้วยใจจริงว่าเขานั้นจะนำไปฆ่า โดยคิดว่าเขานั้นจะนำไปเลี้ยงต่อก็ย่อมถือว่าท่านนั้นก็รอดพ้นจากความผิดฐานพรากชีวิตอันเป็นที่รักของเขา.
    ...........จากที่ผู้น้อยนั้นได้บรรยายมาถึงวิธีแห่งการผิดศีลข้อที่๑ ผู้น้อยก็หวังว่าท่านผู้เจริญทั้งหลายจะเข้าใจเพิ่มขึ้น ทีนี้ผู้น้อยขอเชิญท่านผู้เจริญทั้งหลายมาพิจารณากันว่าทำไมพระภิกษุสงฆ์นั้นจึงฉันเนื้อแล้วไม่ผิดบาป แต่อาจจะเกิดกรรม สมดังที่ท่านเพชรกรได้ยกพระไตรปิฏกร์กล่าวมาว่า
    ..........พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
    การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การจองจำ การลัก การพูดเท็จ การกระทำด้วยความหวัง การหลอกลวง การเรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยาผู้อื่น เหล่านี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย :ที่มาพระไตรปิฎกร์เล่มที่๒๕ พระสุตตันตปิฎกร์เล่มที่๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ซึ่งในตอนนี้เป็นการที่ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
    ...........ทีนี้ผู้น้อยนั้นขอเชิญท่านทั้งหลายโปรดมาพิจารณาในความหมายขององค์พระมหากัสปะเมื่อคราวได้เป็นผู้ดูแลพุทธศาสนาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือคำว่ากลิ่นดิบในความหมายของพระองค์นั้นก็ด้วย การฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตาย๑ การทุบตีสัตว์ให้ถึงแก่ความตาย๑ การจองจำกักขังให้ถึงแก่ความตาย๑ การกระทำด้วยความหวังให้ถึงแก่ความตาย๑ การหลอกลวงให้ถึงแก่ความตาย๑ เพื่อนำมาเป็นอาหารของตน สิ่งเหล่านี้ในความหมายแห่งองค์พระมหากัสสปะพระองค์ทรงถือว่าเป็นกลิ่นดิบ ส่วนคำว่า เนื้อและโภชนะที่มีผู้นำมาถวายให้แก่ภิกษุด้วยความสวยงามปราณีตนั้น ย่อมไม่ถือว่ามีกลิ่นดิบเลย ก็เพราะว่าภิกษุนั้นเป็นเพียงผู้รับอาหารที่มีผู้ตั้งใจนำมาถวาย โดยมิได้เป็นผู้เรียกร้องในอาหารนั้นๆ และในเวลาภิกษุฉันท์อาหารที่เขานำมาถวายก็จะต้องพิจารณาอาหารให้ถือเป็นเพียงธาตุเสียก่อนจึงค่อยฉันท์ ไม่ได้ฉันท์ไปเพื่อความบันเทิงสนุกสนานหรือความสุขในรสชาติ แต่การฉันท์ของภิกษุนั้นเป็นการฉันท์ไปเพื่อการยังชีพพอให้มีเรี่ยวแรงในการบำเพ็ญ ด้วยเหตุนี้หากท่านที่ได้ผ่านการบวชเรียนมาแล้วก็ดี ท่านผู้ที่ศึกษาพระวินัยอยู่ก็ดี ก็จะเห็นได้ว่าคำกล่าวขององค์พระมหากัสปะพระองค์นั้นสอดคล้องกับพระวินัยสงฆ์คือ
    ...........ภิกษุนั้นจะฉันท์ได้แต่สิ่งของที่เขานำมาถวาย๑
    ...........ภิกษุนั้นจะไม่เป็นผู้เรียกร้องอาหารนั้นให้เขานำมาถวายแก่ตน๑
    ...........ภิกษุนั้นจะพิจารณาอาหารก่อนฉันท์ และฉันท์ด้วยความสำรวม๑
    ...........ภิกษุนั้นจะไม่เป็นผู้ประกอบอาหาร๑
    ...........หากมีผู้กล่าวว่าจะทำอาหารอย่างนั้นอย่างนี้มาถวายภิกษุ เมื่อภิกษุทราบอาหารนั้นแล้วจึงฉันท์นั้นถือว่าเป็นอาบัติ๑
    ...........กล่าวคือ การฉันท์อาหารของภิกษุนั้น จะฉันท์เฉพาะอาหารที่มีผู้ตั้งใจนำมาถวาย จะไม่เรียกร้องให้เขานำอาหารอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อมาถวายแก่ตน จะไม่ประกอบอาหารเอง และการฉันท์อาหารทุกครั้งต้องพิจารณาว่าเป็นเพียงธาตุที่หล่อเลี้ยงร่างกายให้มีเรี่ยวแรงเพื่อดับกิเลส
    ...........ทีนี้เรามาพิจารณากันว่า เมื่อพระภิกษุท่านฉันท์อาหารเฉพาะที่เขานำมาถวาย อาหารนั้นก็จึงพ้นจากกลิ่นดิบ คืออาหารนั้นจึงไม่ได้มาจากการลัก พระภิกษุฉันท์อาหารโดยไม่เป็นผู้เรียกร้องให้เขาทำอาหารอย่างนั้นอย่างนี้มาถวายแก่ตน ก็จึงพ้นจากการสั่งให้เขาฆ่าจึงพ้นจากกลิ่นดิบ เมื่อพระภิกษุไม่ประกอบอาหารฉันท์เองก็ย่อมไม่ผิดบาปที่เกี่ยวโยงจากการฆ่าจึงพ้นจากกลิ่นดิบ หากมีผู้กล่าวแก่ภิกษุว่าจะทำอาหารด้วยเนื้ออย่างนั้นอย่างนี้นำมาถวาย เมื่อพระภิกษุทราบแล้วว่าเป็นเนื้ออย่างนั้นอย่างนี้แล้วไม่ฉันท์ก็ย่อมพ้นอาบัติ และพ้นจากความผิดที่จิตร่วมในการฆ่าเพื่อนำมาสู่ตนจึงพ้นจากกลิ่นดิบ เราจะเห็นได้ว่าพระภิกษุนั้นท่านเป็นเพียงรับอาหารที่เขานำมาถวายโดยไม่เรียกร้องเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงบาปกรรมที่เป็นเหตุเกิดจากตนเป็นผู้ก่อทั้งปวง โดยเว้นจากการเป็นผู้พรากชีวิตเขาด้วยกาย วาจาและใจ คือไม่เป็นผู้ฆ่า ไม่ส่งให้เขาฆ่า และไม่มีใจยินยอมให้เกิดการฆ่า แล้วหากถามว่าภิกษุไม่ได้ฆ่าแล้วฉันท์เนื้อไม่ผิดบาปแล้วเกิดกรรมหรอ ผู้น้อยตอบตามทางพุทธศาสนาคือไม่บาป เพราะเว้นแล้วจากการฆ่าด้วยกายวาจาใจ แต่กรรมก็จักต้องเกิด ผู้น้อยขอยกข้อห้ามในเนื้อ ๑๐ อย่างที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงห้ามไว้
    ...........ผู้น้อยขอยกมาตามที่พอเข้าใจคือ เนื้อในตระกูลเสือทุกชนิดเมื่อกินไปแล้วย่อมมีกลิ่นสาป เนื้อสุนัขเมื่อกินไปแล้วย่อมมีกลิ่นสาป อันเป็นเหตุให้เมื่อภิกษุฉันท์ไปแล้วอาจเป็นที่รังเกลียดของสัตว์ ผู้น้อยขอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงกับผู้น้อยถึงเรื่องของสุนัขคือ มีลูกสุนัขอยู่ตัวหนึ่งโดนสุนัขตัวใส่กัดจนไส้ไหล ด้วยความผู้น้อยเกิดสงสารจึงพยายามช่วยเหลือมันแต่ก็ช่วยไม่ได้ผู้น้อยจึงเดินไปซื้อขนมหวังมาให้ลูกหมาตัวนั้นกินก่อนที่มันจะตาย แต่ด้วยมือผู้น้อยนั้นเปื้อนเลือดถึงจะล้างมือแล้วแต่กลิ่นคาวยังอยู่ จึงทำให้มีสุนัขอีกตัวหนึ่งที่เคยชอบมาวิ่งเล่นกับผู้น้อยประจำเวลาเดินผ่าน มาครั้งนี้มันกลับเห่าผู้น้อยไม่หยุดตั้งแต่หนนั้นเป็นต้นมาสุนัขตัวนั้นก็ยังเห่าผู้น้อยเสมอจนกระทั้งวันที่มันตายเลยทีเดียว ผู้น้อยจึงเข้าใจได้ว่าเพียงแค่กลิ่นเลือดของสุนัขที่เปื้อนมือในวันนั้นจะสามารถทำให้สุนัขที่เคยเล่นกับผู้น้อยประจำเกลียดผู้น้อยไปได้ถึงเพียงนี้ นี่ก็คงเพราะกลิ่นสาปของเลือด ด้วยเหตุอย่างนี้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงห้ามภิกษุฉันท์เนื้อสุนัข และเนื้อสัตว์ประเภทเสือและช้าง เพราะอาจจะเป็นอันตรายแก่ภิกษุเองเมื่อเวลาอยู่ตามป่าเขา
    ...........ด้วยเหตุนี้การฉันท์เนื้อของภิกษุนั้นถึงแม้จะไม่เกิดบาป แต่ก็อาจจะเกิดกรรมได้ คือหากเผลอไปฉันท์เนื้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ ก็อาจจะเกิดกรรมอันเป็นที่รังเกลียดของสัตว์ ซึ่งอาจจะถึงขั้นโดนสัตว์ทำร้ายได้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือเนื้อสุกรมัทวะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเห็นว่าย่อยยากหากภิกษุฉันท์ไปแล้วอาจเกิดโทษ พระองค์จึงทรงรับไว้เพียงผู้เดียวที่เหลือให้นำไปฝัง กรรมที่พระองค์ทรงฉันท์อาหารนั้นจึงทำให้พระองค์ทรงทรมานพระวรกาย นี่ก็เป็นตัวอย่างของกรรมที่เกิดจากการฉันท์เนื้อ
    ...........ทีนี้ผู้น้อยขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ของมนุษย์ทั้งหลายที่มิใช่ภิกษุนั้นจะเกิดบาปกรรมหรือไม่ ก่อนอื่นก็ต้องมาพิจารณาถึงบทบัญญัติของศีล๕ ในข้อที่๑ คือบทปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาปทังสมาธิยามิ คือการไม่ฆ่าสัตว์พรากชีวิตอันเป็นที่รักของผู้อื่น ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ
    ...........ทีนี้มาพิจารณาการกินเนื้อของท่านทั้งหลายว่าจะผิดบาป และอาจเกิดกรรมหรือไม่คือ เนื้อที่ท่านทั้งหลายได้มานั้นเกิดจากการฆ่าหรือไม่๑ เนื้อที่ท่านได้มานั้นเกิดจากการสั่งฆ่าหรือไม่๑ เนื้อที่ท่านได้มานั้นเกิดจากจิตที่อนุเคราะห์ให้เกิดการฆ่าหรือไม่๑ คือ
    ...........๑.เนื้อที่ท่านได้มาประกอบอาหารหรือบริโภคนั้น ท่านได้ฆ่าสัตว์พรากชีวิตอันเป็นที่รักของเขามาด้วยกายของตนเอง จะด้วยการตั้งใจกระทำโดยไม่มีผู้ส่งให้กระทำก็ดี หรือมีผู้สั่งให้กระทำโดยหวังการตอบแทนด้วยทรัพย์หรืออื่นๆก็ดี ซึ่งล้วนแล้วก็ถือว่าผิดศีลข้อที่๑ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามโดยทั้งสิ้น.
    ...........๒.เนื้อที่ท่านได้มาประกอบอาหารหรือบริโภคนั้น ท่านได้มาจากการจากการสั่งฆ่า อันเป็นเหตุพรากชีวิตอันเป็นที่รักของเขาด้วยวาจาตน จะด้วยการสั่งให้เขาทำให้ก็ดี จะด้วยการบอกกล่าวไว้ก็ดี จะด้วยการจ้างวานก็ดี อันเป็นเหตุให้สัตว์นั้นถึงแก่ความตาย ก็ถือว่าท่านนั้นมีความผิดในศีลข้อที่๑ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามโดยทั้งสิ้น.
    ...........๓.เนื้อที่ท่านได้มาประกอบอาหารหรือการบริโภคนั้น ท่านได้มาจากการมีจิตอนุโลมในการฆ่า อันเป็นเหตุพรากชีวิตอันเป็นที่รักของเขาด้วยจิตตน จะด้วยการซื้อก็ดี การสั่งซื้อก็ดี ซึ่งถือว่าท่านมีจิตอนุโลมในการพรากชีวิตผู้อื่น เพราะท่านได้นั้นนำทรัพย์ของท่านเป็นการเอื้ออำนวยให้เกิดการฆ่าพรากชีวิตผู้อื่นเช่น แม่ค้าพ่อค้าขายเนื้อก็หวังทรัพย์สิน ท่านใช้ทรัพย์ของท่านไปซื้อเนื้อจากเขาก็เท่ากับการยุยงส่งเสริมให้เขานั้นฆ่าเพื่อค้าขายหรือกระทำการพรากชีวิตอันเป็นที่รักของผู้อื่น ก้ถือว่าผิดศีลข้อที่๑ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามไว้.
    ...........หรือแม้แต่ท่านทั้งหลายสั่งอาหาร เพียงแค่ท่านกล่าวว่าจะเอาเนื้อสิ่งนั้นสิ่งนี้ แค่เอ่ยชื่อก็ถือว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าแล้ว เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ผัดกระเพราเนื้อ-หมู สิ่งใดก็แล้วแต่ที่มีชื่อสัตว์สิ่งมีชีวิตนั้นประกอบ ก็ย่อมถือว่าท่านมีส่วนร่วมในการพรากชีวิตของเขามาเพื่อเป็นอาหารของท่าน หรือแม้แต่ท่านไปยืนดูมิเอ่ยปากบอกว่าต้องการสิ่งใด เพียงแต่ท่านชี้นิ้ว หรือเขียนบอก สิ่งนี้ก็ถือว่าผิดบาปด้วยการสั่งก็ย่อมไม่พ้นศีลข้อที่๑
    ...........ส่วนคำว่ากรรม กรรมก็คือผลที่เกิดขึ้นหลังจากการกระทำบาป หลังจากการกินเนื้อสัตว์นั้นเข้าไปแล้ว กรรมนั้นก็จะเกิดขึ้นมาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่นเกิดขึ้นมาเป็นโรคภัย เช่นกินสัตว์ที่มีไขมันมากก็จะเป็นโรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด กินสัตว์ปีกมากก็จะเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม กินเนื้อสัตว์มากก็จะทำให้เกิดโรคเครียด และอีกหลายโรคที่จะเป็นผลพวงต่อๆกันมา อาทิเช่นโรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้ เป็นต้น นี่ก็คือผลกรรมที่เกิดจากการกิน
    ...........ที่สำคัญที่สุดคือดวงจิตยากที่จะหลุดพ้น เพราะกรรมที่เกิดจากการผิดศีลในการฆ่าสัตว์เพื่อมาเป็นอาหารนั้นยังมีอยู่ จึงทำให้ดวงจิตนั้นยังชุ่มไปด้วยกิเลสเช่น กินหอยนารมมากก็ทำให้เกิดราคะ กินสัตว์ที่ยังปนเลือดอยู่ก็ทำให้เกิดราคะ กินเนื้อด้วยความอยากก็ทำให้เกิดโทสะ กินเนื้อด้วยความสนุกสนานก็ทำให้เกิดโมหะ เพราะดวงจิตและแรงอาฆาตของสัตว์นั้นก่อนตายที่ได้รับความทุกข์ทรมาน แรงอาฆาตของสัตว์นั้นย่อมแฝงอยู่ทุกชิ้นเนื้อ เมื่อมนุษย์นั้นกินเนื้อสัตว์นั้นเข้าไปก็ย่อมได้รับความรู้สึกถึงแรงอาฆาตนั้นไปด้วย แรงอาฆาตนี้แหละจึงแฝงอยู่ในร่างกายของผู้ที่กิน และจะถูกสะสมอยู่ที่ดวงจิตของผู้ที่กินจึงทำให้ดวงจิตนั้นหดหู่และเศร้าหมอง.
    ...........ทีนี้ผู้น้อยนั้นขอเชิญท่านผู้เจริญทั้งหลายมาพิจารณากันว่าทำไมภิกษุและมนุษย์จึงแตกต่างกันในเรื่องของการกินเนื้อ และทำไม่ภิกษุนั้นไม่เกิดบาปกรรม แต่มนุษย์นั้นกลับเกิดบาปกรรม ดังต่อไปนี้ .
    ...........คือ ภิกษุนั้นเป็นเพียงผู้รับบิณฑบาตรเพื่อหวังโปรดมนุษย์ให้เป็นผู้เบาบางในกิเลสตัณหา หวังให้มนุษย์นั้นได้สร้างบุญในนาบุญอันดีแล้ว ภิกษุจึงไม่เป็นผู้เรียกร้องในอาหารนั้นๆ เพียงแต่รับอาหารนั้นๆตามแต่ศรัทธาของผู้นำมาถวายเพื่อให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่าย ให้พอมีเรี่ยวแรงในการบำเพ็ญ ภิกษุจึงมีศีลเพื่อป้องกันภัยที่จะมาถึงตัวท่านอันเป็นเหตุให้มิอาจหลุดพ้นไว้โดยรอบ ดังที่ผู้น้อยได้อธิบายไว้ข้างต้นนั้นแล้ว จึงถือว่าการฉันท์ของภิกษุย่อมไม่มีกลิ่นดิบ.
    ...........ส่วน ปุถุชน นั้นกลับยังเป็นผู้ฆ่า ผู้จ้างฆ่า ผู้สั่งฆ่า ผู้ส่งเสริมในการฆ่าอยู่ ถึงแม้จะนำชีวิตของผู้อื่นเพื่อนำมาเป็นอาหารของตนก็ยังถือได้ว่าได้เป็นผู้ผิดศีลข้อที่๑อยู่ ก็ย่อมยังถือว่าสร้างบาปอยู่ และยังจะต้องรับผลกรรมอยู่ จะบาปมาก หรือบาปน้อยนั้นอยู่ที่แรงของจิตในการกระทำ คือ กินเนื้อเพื่อยังชีพ หรือกินเพื่อรสชาติ หรือกินเพื่อความสนุกสนาน บาปของการฆ่าก็เช่นเดียวกัน จะมากจะน้อยอยู่ที่จุดประสงค์ในการฆ่าเช่นเดียวกัน
    ...........ทีนี้มาถึงข้อ ที่ท่านทั้งหลายมักจะยกมาอ้างเหตุและผลกัน คือการฆ่าสัตว์เพื่อมาสร้างบุญก็ดี การกินเนื้อสัตว์เพื่อให้ง่ายต่อการบำเพ็ญก็ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นเป็นเพียงข้ออ้างที่ยึดมั่นในทิฐิของท่านทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้
    ...........คือ การที่ท่านนั้นอ้างว่าฆ่าสัตว์นั้นเพื่อมาสร้างบุญ ผู้น้อยก็เห็นว่า ผู้ที่กล่าวคำนี้นั้นเป็นผู้ที่เป็นแก่ตน ด้วยเหตุว่าการสร้างบุญด้วยการใส่บาตรภิกษุนั้นไม่มีการชี้เฉพาะว่าจะต้องใส่อาหารที่เป็นเนื้อแด่ภิกษุ เพราะภิกษุก็ไม่เคยเรียกร้องในอาหาร อาหารที่ภิกษุฉันท์นั้นจึงมาตามกำลังศรัทธาของผู้ใฝ่บุญ ผู้ที่ใฝ่บุญจะถวายอาหารที่จะปรุงจากสิ่งได้ก็ได้ ฉะนั้นการที่กล่าวว่าฆ่าสัตว์มาปรุงอาหารถวายภิกษุจึงเป็นข้ออ้างของผู้ที่ยังหลง จึงทำให้ยังไม่อาจหลุดพ้นในศีลข้อที่๑ไปได้ ทั้งผู้ซื้ออาหารสำเร็จมาใส่ด้วยก็เช่นเดียวกัน หากการซื้อนั้นท่านรู้อยู่แล้วว่าอาหารนั้นปรุงมาจากอะไร เช่นปรุงมาจากเนื้อ แล้วท่านก็ยังนำอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อไปถวาย ก็ยังถือว่าท่านนั้นก็ยังมีส่วนร่วมในการผิดศีลข้อที่๑อยู่ เว้นเสียว่าท่านสำคัญว่าไม่รู้ว่าอาหารนั้นทำปรุงมาจากอะไรย่อมถือว่าไม่ผิด.
    ...........ส่วนเรื่องการบำเพ็ญเพียร ที่กล่าวว่าบุคคลที่บำเพ็ญเพียรที่ยังต้องกินเนื้ออยู่เพื่อให้ง่ายต่อการบำเพ็ญสมาธิ ในข้อนี้ผู้น้อยก็เห็นว่าท่านผู้กล่าวคงจะไม่ได้หมายรวมไปยังภิกษุ เพราะภิกษุจะบำเพ็ญอยู่ได้ก้แล้วแต่อาหารที่ผู้มีศรัทธนำมาถวายชึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเนื้อสัตว์เสมอไป แต่หากผู้ที่กล่าวนั้นหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติธรรมที่มิใช่ภิกษุ เป็นเพียงอุบาสก อุบาสิกา หรือแม้แต่ผู้ศึกษาธรรม ผู้น้อยนั้นก็เห็นจะกล่าวรวมกันไปเสียมิได้ เพราะหากจะอ้างเหตุผลมาว่าการกินเนื้อเพื่อให้ง่ายต่อการบำเพ็ญ ฉะนั้นผู้ที่บำเพ็ญทุกคนก็ต้องคงต้องกินเนื้อด้วย ซึ่งผู้น้อยเห็นว่ามิได้เป็นจริงในตามนั้น เป็นเพียงอุปทานที่ท่านนั้นคิดไปเอง ด้วยเหตุแห่งว่า การบำเพ็ญเพียรสมาธินั้นอยู่ที่จิต หากจิตนั้นบริสุทธิ์มากย่อมเกิดผลง่ายและเห็นผลไว การบำเพ็ญเพียรสมาธินั้นผู้ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็สามารถบำเพ็ญได้บางคนไม่กินเนื้อสัตว์มาตั้งแต่อายุ๗ขวบเลยก็มีจนทุกวันนี้อายุเข้าไปแล้วเกือบ๒๐ปี เขานั้นก็ยังไม่กินเนื้อสัตว์ บางคนไม่กินเนื้อสัตว์เลยตั้งแต่อายุ๑๐ปี จนทุกวันนี้อายุเข้าไปจะสี่สิบเขานั้นก็ถือศีลไม่กินเนื้อสัตว์ ที่สำคัญเขานั้นก็ยังบำเพ็ญเพียรเข้าสมาธิได้เหมือนท่านทั้งหลายผู้บำเพ็ญทั่วไป แต่ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ ผู้ที่ไม่กินเนื้อสัตว์กลับมีผิวพรรณละเอียดใส มีสง่าราศีแห่งเมตตา หน้าตาผ่องใส แต่กลับกันผู้บำเพ็ญและยังยึดการกินเนื้ออยู่กลับมีผิวพรรณหยาบกร้าน ความสง่าราศีแห่งความเมตตากลับเทียบกับผู้บำเพ็ญที่ไม่กินเนื้อไม่ได้.
    ...........ฉะนั้นการบำเพ็ญจะกินเนื้อ หรือไม่กินนั้น ก็แล้วแต่แรงศรัทธาของแต่ละบุคคล แต่ที่เห็นเด่นชัดคือผู้บำเพ็ญเพียรที่ยังกินเนื้อสัตว์อยู่ เขานั้นยังมิอาจหลุดพ้นศีลข้อที่๑ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามไปได้ แต่ผู้ที่ถือศีลบำเพ็ญไม่กินเนื้อสัตว์เขานั้นย่อมพ้นจากศีลในข้อที่๑ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามได้อย่างบริสุทธิ์
    ...........หากมีผู้ถามว่าถ้าอย่างนั้นภิกษุที่ฉันท์เนื้อก็ย่อมไม่บริสุทธิ์ด้วย ผู้น้อยก็ต้องตอบว่าภิกษุฉันท์เนื้อเป็นคนละกรณีกันดังที่ผู้น้อยได้กล่าวข้างต้นไว้แล้ว แต่หากภิกษุกระทำการฝ่าฝืนคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใดก็ย่อมถือว่าการฉันท์เนื้อนั้นเป็นการฉันท์กลิ่นดิบ อันมีโทษร่วมในการผิดศีลปาณาติบาตด้วยเช่นกัน.
    ...........จากการที่ผู้น้อยนั้นได้บรรยายมานี้ ก็หวังเพียงว่าท่านผู้เจริญทั้งหลายจะเห็นช่องว่างว่าเพราะเหตุใดการกินเนื้อสัตว์ของเราทั้งหลายนั้นจึงมีความผิดบาป และอาจจะก่อให้เกิดเวรกรรม นั่นก็เพราะเราทั้งหลายยังเป็นผู้ที่ยังอยู่ในห่วงแห่งการผิดศีลในข้อที่๑ จากการกินเนื้อสัตว์อยู่นั่นเอง.
    ...........ทีนี้มาถึงท่านทั้งหลายที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ผู้น้อยก็จะขอกล่าวว่าการผิดศีลนั้นบาปกรรมไม่ได้ยึดอยู่ศีลข้อใดข้อหนึ่งเป็นหลัก แต่การผิดศีลในข้ออื่นๆก็สามารถเกิดบาปกรรมได้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นโปรดอย่าคิดว่าท่านยึดศีลข้อที่๑ได้แล้วจะทำให้ท่านหลุดพ้นจากบาปกรรม หาเป็นเช่นนั้นไม่เพราะศีลทุกข้อมีความสำคัญโดยเฉพาะศีลทั้ง๕ข้อคือหัวใจหลักที่เป็นแม่บทแห่งศีลข้ออื่นๆ ด้งนั้นผู้ที่จะถือว่าบำเพ็ญเพียรบริสุทธิ์ก็ต้องยึดศีลทั้ง๕ข้อเป็นเกณฑ์นั่นเอง
    ...........มีคำกล่าวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า ผู้ที่บำเพ็ญยากก็ให้ฉันท์เพียงหนึ่งมือเพื่อฝึกตน ส่วนผู้บำเพ็ญเพียรได้ง่ายก็ให้ฉันท์อาหารได้สองมื้อคือไม่ต้องทำตนให้ลำบากมาก แต่ผู้ที่ฉันท์อาหารสองมือนั้นก็ไม่ได้หมายว่าจะยกตนไปว่าตนเองนั้นมีปัญญาเหนือผู้อื่น
    ...........ฉะนั้นท่านผู้บำเพ็ญโดยไม่กินเนื้อสัตว์ผู้น้อยก้เห็นว่าท่านนั้นประเสริฐระดับหนึ่งคือสามารถระงับเวรกรรมที่เกิดจากการฆ่าพรากชีวิตผู้อื่นนั้นได้ แต่ก็ไม่ได้หมายว่าท่านนั้นจะต้องยกตนเองว่าอยู่เหนือผู้อื่น เพราะการยกตนเองว่าอยู่เหนือผู้อื่นนั้นยังบ่งบอกว่ากายท่านจะสะอาด แต่ใจท่านนั้นก็ยังไม่ต่างอะไรไปจากชนทั่วไปเพราะจิตใจยังอยู่ใต้ทิฐิแห่งความยึดมั่นอยู่นั่นเอง.
    ...........จากคำบรรยายของผู้น้อยที่ได้บรรยายมานี้ก็หวังเพื่อให้ท่านผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจในหลักธรรมคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริงถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์ เพื่อเราและท่านทั้งหลายจะได้ไม่หลงยึดทิฐิว่าการกินเนื้อสัตว์ของเราทั้งหลายนั้นจะไม่มีบาปกรรม ผู้น้อยก็หวังว่ากระทู้ธรรมที่ผู้น้อยได้แสดงนี้จะสามารถช่วยให้เราทั้งหลายแลเห็นความสำคัญแห่งชีวิต และอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิต เพราะคำว่าอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตของเราทั้งหลายนั้นไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์เสมอไป
    ..........ผู้น้อยขอทิ้งท้ายบทคความว่า ผู้ถือศีล๕ผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าผิดศีล ผู้ที่ถือศีล๒๒๗ ผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าผิดศีล ฉะนั้นเมื่อเป็นผู้ผิดศีลอยู่ก็จะยังว่าเป็นบุคคลดีมีศีลครบโดยสมบูรณ์ไม่ได้ เมื่อยังผิดศีลข้อใดก็ยังต้องชดใช้เวรกรรมในศีลข้อนั้นๆอยู่ หากจะถือว่าเป็นคนดีบำเพ็ญเพียรโดยสมบูรณ์ก็ต้องมีศีลครบบริบูรณ์นั่นเอง.
    ...........ผู้น้อยขออนุโมทนาสาธุมาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล สาธุ...
    ...........หากท่านผู้ใดส่งสัยในกระทู้ธรรมที่ผู้น้อยแสดงมานี้ ผู้น้อยก็มีความยินดีแสดงความให้แจ้งขึ้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายนั้นโปรดถามความสงสัยมาเถิด ผู้น้อยมีความยินดีแสดงเพื่อให้เราและท่านทั้งหลายคลายความสงสัยนั้น หรือหากมีผู้มีปัญญาธรรมชี้แนะให้ปัญญาผู้น้อยสว่างขึ้น แลเห็นกระจ่างขึ้นผู้น้อยขอยินดีรับฟังและก็ขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล สาธุ.
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2012
  2. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    หากผู้น้อยพิมพ์ผิดพลาดไปบ้าง อันเป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายนั้นเข้าใจคลาดเคลื่อน ขอโปรดจงอภัย แก่ผู้น้อยด้วยเถิด พิมพ์นานตาอาจจะลายไปบ้าง เนื้อความยาวก็หวังว่าท่านทั้งหลายจะกรุณาอ่านบทความจนจบ หากท่านใดมีข้อเสนอแนะผู้น้อยก็ยินดีรับฟัง หากท่านใดยังเกิดความสงสัยผู้น้อยก็ยินดีอธิบายความ ขอท่านทั้งหลายโปรดแสดงมาเถิด สาธุ ขออนุโมทนา ด้วยประการ ณ ฉะนี้แล.
     
  3. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ท่านบรรยายได้แจ่มแจ้งมากครับ อนุโมทนา เพราะวิธีการที่ได้มาของอาหารต่างกัน จึงสรุปว่า
    ***นักบวช ผู้ไม่ได้แสวงหาอาหารโดยตนเอง แต่อยู่ด้วยผู้อื่นหามาให้ และกินด้วยการพิจารณาอย่างแยบคาย ย่อมกินได้ไม่บาป ไม่ว่าผักหรือเนื้อสัตว์
    ***ฆราวาส ผู้หุงหาอาหารด้วยตนเอง ควรเว้นจากการกินเนื้อสัตว์โดยประการทั้งปวง
     
  4. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ อนุโมทนาครับ
    ถูกต้องแล้วครับ
     
  5. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->bamrung<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4677381", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Apr 2006
    ข้อความ: 436
    พลังการให้คะแนน: 216 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ต้นละ<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4677422", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Oct 2009
    ข้อความ: 1,651
    พลังการให้คะแนน: 1081 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    ขออนุโมทนา ดวงจิตแห่งความเมตตาจะผ่องใสได้ก็ด้วยปัญญาแห่งสัมมาทิฐิ จิตเบิกบานอยู่ที่ใจปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เหตุทุกสรรพสัตว์ประดุจเพื่อนร่วมโลกมีความรู้สึกร้อนหนาวเจ็บปวดเช่นเดียวกับเรา แต่เขาและเราต่างกันนั้นเพียงรูปร่างสังขาร เพียงแค่เราไม่เข้าใจความหมายที่เขาสื่อมา เราก็จะคิดใช้กำลังไปพรากชีวิตเขามาเพื่อเป็นอาหารก็เห็นว่าไม่สมควรสัตว์นั้นโดนกดขี่เช่นใด ลองไปถามความรู้สึกของคนที่อยู่ในประเทศที่ถูกกดขี่ข่มเหงนั้นเองเถิด เพราะชีวิตเขาเหล่านั้นก็มีวิถีชีวิตที่ถูกข่มเหงด้วยกำลังหาความสุขไม่ได้ ขอทุกท่านโปรดจงมีความเมตตาให้แก่ทุกสรรพสัตว์ทั่วถึงกันเทอญ.
    .......ผู้น้อยขออนุโมทนาบุญ ในความเห็นแจ้งมาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล...สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2012
  6. chavy

    chavy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +177
    ขออนุโมทนาบุญครับ....สาธุ

    ขอให้เจริญในธรรมทุก ๆ ท่านที่ตั้งใจปฏิบัติครับ
     
  7. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    สาธุ...ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
    .....หากท่านทั้งหลายเห็นว่าบทความนี้เป็นอันถูกต้องและดีงามแล้ว ผู้น้อยก็ขอเชิญชวนท่านผู้เจริญทั้งหลายโปรดทำความเข้าใจกับความเห็นนี้ และเผยแพร่ด้วยการบอกต่อก็ดี ด้วยการแสดงต่อผู้ที่ยังหลงให้คลายความหลงก็ดี ผู้น้อยเห็นว่าอานิสงน์แห่งกุศลนี้หาที่สุดที่ประมาณมิได้ เพราะอานิสงน์แห่งการชี้ให้ผู้ที่หลงกรรมได้คลายกรรม๑ อานิสงน์ให้ผู้หลับตาได้ลืมตา๑ อานิสงน์ให้ผู้ที่กำลังพรากชีวิตได้หยุดพรากชีวิต๑ อานิสงน์ให้ผู้ที่เพียรได้บรรลุเพียร๑ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จึงเป็นบุญกุศลอีกสิ่งหนึ่งที่หาที่สุดที่ประมาณไม่ได้ ขอท่านทั้งหลายที่รู้แล้วเห็นแล้วในส่วนแห่งการกินเนื้อสัตว์นี้ ขอท่านทั้งหลายโปรดจงสร้างกุศลนี้ร่วมกันเทอญ.
    ..........ผู้น้อยขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2012
  8. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    เนื้อที่ท่านได้มาประกอบอาหารหรือการบริโภคนั้น ท่านได้มาจากการมีจิตอนุโลมในการฆ่า (เอามาจากพระไตรปิฏกเล่มไหน หน้าไหน ช่วยบอกด้วยครับ รู้สึกว่าจะมีการอธิบายเพิ่มเติมนะครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2011
  9. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->เพชรกร<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4683265", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]
    ดูก่อนเถิด ท่านผู้เจริญ
    ..... อันคำว่า จิตอนุโลม ผู้น้อยนั้นได้แสดงไว้ในถึงวิธีการกระทำบาปทางจิต เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ หาได้มีมาในพระไตรปิฎกร์ไม่
    .....ผู้น้อยนั้นได้อธิบายถึงวิธีการที่จะทำให้ผิดศีลข้อที่๑ ไว้ดังนี้คือ การกระทำการพรากชีวิตของผู้อื่นทางกายของตน๑ การกระทำการพรากชีวิตของผู้อื่นทางวาจาของตน๑ และการกระทำการพรากชีวิตของผู้อื่นทางใจ ที่เรียกว่าจิตของตนอนุโลม๑
    .....กล่าวคือ การที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องในการกระทำโดยความหวัง ด้วยหวังว่าแสร้งงทำเป็นไม่รู้๑ ด้วยหวังว่าแสร้งทำเป็นไม่เห็น๑ ทั้งที่ตนเองรู้ว่าสิ่งนั้นมาจากสิ่งใดแต่ก็แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น จึงทำการเอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างกรรม ด้วยเหตุนี้ผู้น้อยนั้นจึงกล่าวว่าจิตอนุโลม
    .....แต่ผู้น้อยนั้นคงจะหาบทบัญญัติทางพระธรรมไตรปฎิกมาอ้างไม่ได้ เพราะเป็นความเข้าใจที่มิได้แสวงหาถ้อยคำมาจากพระไตรปิฎก แต่ผู้น้อยพอจะจำความได้ว่ามักจะได้ยินหลวงตาที่ผู้น้อยเคยเป็นลูกศิษย์วัดท่านสอนให้ผู้น้อยฟังอยู่บ่อยๆถึงคำว่าจิตอนุโลมให้เป็นเหตุแห่งการกระทำผิด๑ และผู้น้อยก็มักจะสนทนาธรรมกับหลวงพ่อพระอุปฌาย์ในขณะที่ผู้น้อยได้บวชเรียนอยู่ ท่านก็อธิบายธรรมให้ผู้น้อยฟัง พอดีหลวงตาอดีตเจ้าอาวาสที่ผู้น้อยเคยเป็นลูกศิษย์ที่ท่านละสังขารไปแล้ว กับพระอุปฌาช์เป็นเพื่อนร่วมธรรมสายธรรมยุติเหมือนกัน แนวทางการสอนและสนทนาธรรมจึงสอนไปในทางเดียวกัน
    .....ฉะนั้นคำว่า จิตอนุโลม ของผู้น้อยนั้นจึงมีความหมายเดียวกับคำว่า เอื้ออำนวย หาได้ผู้น้อยอ่านมาจากในพระไตรปิฎกร์ด้วยตนเองไม่ แต่เป็นคำสื่อความหมายที่ได้จากหลวงตาและพระอุปฌาย์ จากที่ท่านได้อบรมสั่งสอนผู้น้อยมานั่นเอง
    .....ดูก่อน ท่านเพชรกรผู้เจริญ
    .....การเราทั้งหลายนั้นจะศึกษาหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถ่องแท้นั้น ในครานี้เราทั้งหลายนั้นจะได้ยินได้ฟังจากพระโอษของพระองค์คงจะเห็นเป็นไปไม่ได้ แต่เราทั้งหลายนั้นได้อาศัยการศึกษาจากพระไตรปิฎกด้วยการอ่านด้วยตน๑ ด้วยการฟังจะคำบอกเล่าจากครูอาจารย์๑ คำสอนพระอุปฌาย์อาจารย์๑ แต่คำสอนใดก็จะมีประโยชน์น้อยเมื่อเราทั้งหลายนั้นไม่สามารถทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และเอาไปใช้จริงได้ เมื่อเรานั้นไม่เข้าใจความหมายของคำบอกเล่าแล้วใยเลยเราจะเข้าใจ หลักคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักคำสอนแห่งสัจจะธรรม เมื่อเราเข้าใจในสัจจะธรรมแล้วเราจะเข้าสู่ห้วงแห่งพระธรรมคำสอนของพระองค์โดยง่าย
    .....หากท่านจะยึดมั่นจากพระไตรปิฎกเป็นเกณฑ์ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเราทั้งหลายนั้นเราใจในความหมายแห่งหลักคำสอนในพระไตรปิฎกได้เพียงใด หากท่านทั้งหลายเห็นว่าการที่สามารถท่องจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด๘๔๐๐๐พระธรรมขันธ์ได้แล้วนั้นจะทำให้ท่านหลุดพ้น ผู้น้อยก็เห็นเป็นเพียงการแบกภูเขาทั้งลูกขึ้นภูเขา เพราะเขานั้นย่อมเหนื่อยเปล่า เพราะหากท่านทั้งหลายเพียงแค่มองอริยะสัจทั้ง๔ให้แจ่มแจ้ง และสามารถแตกอริยะสัจทั้ง๔ให้เข้ากับทุกๆสภาพได้ ผู้น้อยก็เห็นว่าเมื่อนั้น ท่านทั้งหลายนั้นก็สำเร็จธรรมโดยไม่ต้องจดจำพระไตรปิฎกเลย เพราะผู้ที่สำเร็จพระอรหันต์ในสมัยพุทธการ ก็สำเร็จได้ด้วยเพียงนำจิตคล้อยตามในอริยะสัจทั้ง๔นั่นเอง หาได้ท่องจดจำพระไตรปิฎกไม่ เพราะเหล่าครูอาจารย์ที่สำเร็จธรรมได้ในปัจจุบันก็หาใช่ท่องบทสอนในพระไตรปิฎกทั้งหมดไม่ เพียงแค่ท่านจดจำบางหัวข้อมาวินิจฉัยพิจารณา และฝึกปฏิบัติท่านก็สำเร็จธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แล้ว ไม่เห็นต้องแบกพระไตรปิฎกไว้ให้หนัก
    .....ในท้ายนี้ผู้น้อยขอแสดงข้อคิดนี้ไว้เพื่อเป็นแสงแด่ท่านทั้งหลายให้ไตร่ตรองคือ ยึดถือไว้แต่เพียงพอใช้ ยึดไว้แต่ที่เรานั้นสามารถเข้าใจและใช้ได้ถนัด ก็จะทำให้เรานั้นไม่เหนื่อยไม่หนักและไม่ท้อถอย จะทำให้เราไปถึงจุดหมายได้ไว้และเร็วโดยไม่เสียเวลา วินิจฉัยพระธรรมคำสั่งสอนผู้ใดฟังพระสูตรใดแล้วเข้าใจแล้วสามารถคล้อยตามจนเกิดปิติได้ ก็ขอให้วินิจฉัยพิจารณาพระสูตรบทนั้นอยู่บ่อยๆ ไม่นานท่านก็จะสามารถรู้แจ้งได้ เมื่อรู้แจ้งแล้วท่านก็ไม่จำเป็นต้องหิ้วสิ่งใดให้เหนื่อยหนัก เพราะทุกสรรพสิ่งย่อมใช้ได้ดั่งใจคิด เพราะธรรมะนั้นอยู่รอบกายเรา ไม่ว่าดิน น้ำ ลม ไฟ หรือแม้แต่ลมหายใจก็เป็นธรรม เมื่อเข้าใจธรรมแล้วก็จะเห็นว่าธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเพียงแค่พลิกฝ่ามือนั่นเอง
    .....สาธุ..ผู้น้อยขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2012
  10. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    อนุโมทนาในกุศลจิตที่จะทำให้คนเลิกกินสัตว์ซึ่งอาจเป็น พ่อ เเม่ ญาติสนิท มิตรสหายด้วยนะครับ เลิกกินเนื้อเป็นสิ่งที่ดีจริงผมยอมรับ เเต่ถ้าบอกว่ากินเนื้อเเล้วบาป มันก็อยู่ที่ จิต ของเเต่ละคน บางคนกินเนื้อไม่บาป บางคนมี อุปทานมาก หลงมาก ยึดมาก ก็บาปทั้งๆที่กินจากจานเดียวกัน

    ผู้ที่ฝึกฝนในวิปัสนาจะไม่สนใจเรื่อง กินเนื้อเเล้วบาป เพราะมันข้ามไปเเล้วเหมือนผู้ที่ว่ายน้ำไปยังจุดหมาย เวลาว่ายจะมองเเค่จุดเดียวเท่านั้น ไม่ว่ายไปมองเกาะที่ผ่านไปเเล้ว หรือ พักตามเกาะย่อยๆ เพราะมันเสียเวลา จะศึกษาว่าทำยังไงจิตจะสามารถหลุดพ้นได้ ยึดอะไรอยู่หรือเปล่า หรือ ว่าจิตเราตั้งมั่นดีเพระอะไร ร่างกายสังขารก็สำคัญมากผู้ที่ไม่ภาวนาจะไม่มีวันรู้

    ผมศึกษาคำสอนมานิดหน่อยก็อยากจะรุ้ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนอุบาสก อุบาสิกา หรือเปล่าว่า กินเนื้อสัตว์บาป ให้ทุกคนเลิกกินเนื้อสัตว์เพราะไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เท่าที่ผมศึกษามาไม่เคยปราฏก ทั้งๆที่ถ้าสิ่งไหนเป็นบาป พระพุทธองค์จะตรัสบอก เหตุเเละผลของบาปนั้น เเละเท่าที่ผมศึกษามา ผมไม่เคยเห็นว่า พระพุทธองค์ท่านตรัสบอก ผล ของบาปของการกินเนื้อเลย(ถ้ามีช่วยเอามาบอกด้วยนะครับจะอนุโมทนาด้วย)

    ผมศึกษาพระไตรปิฏกเพื่อจะรู้ว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ ศึกษาคุ่กับวิปัสนาธุระเพื่อจะได้ไม่เป็น มิจฉา เเละบางอย่างในพระไตรปิฏกมีสิ่งที่เราคิดไม่ถึงอยู่จริงๆบางอย่างเป็นสิ่งที่เราทำผิดมาตลอดชีวิตโดยคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะ เชื่อคำครูบาอาจารย์ของเราโดยไม่ได้ศึกษาให้ดี

    ถ้าผิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการหรือศึกษามาไม่ดีก็ของอภัยกับผู้ที่อ่าน ความคิดเห็นส่วนตัวของผม นะครับ มันเป็นการสนทนาธรรมกันไม่เอาเเพ้ชนะเอาเเค่ข้อมูลมาบ่มปัญญายังไงคุณ เนตรอิศวร คิดว่าหัวข้อไหนดีก็เอามาสนทนาธรรมกันอีกนะครับ ส่วนหัวข้อนี้สำหรับผม ผมขอข้าม เพราะจิตของผมมันเลยปัญหาในการกินเนื้อเเล้วบาปไปเเล้ว เเต่สำหรับคนอื่นอาจมีประโยชน์ก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2011
  11. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    ความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฏก

    ประวัติพระไตรปิฎก

    ปรากฏว่า พอพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพาน พระเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์จำนวน 500 องค์ ก็ทำสังคายนากัน วิธีสังคายนาก็คือ ผู้หนึ่งตั้งคำถาม อีกผู้หนึ่งตอบ
    เมื่อรับรองกัน เห็นพ้องกันแล้ว ก็จดไว้ต่อไป เช่นจาก เล่ม 7 หน้า 312 (พระไตรปิฎกฉบับหลวงของกรมการศาสนา)
    ในด้านพระวินัย ท่านพระกัสสปถาม ท่านพระอุบาลีตอบ

    ก. ปฐมปาราชิก ทรงบัญญัติที่ไหน
    อ. เมืองเวสาลี
    ก. ทรงปรารภใคร
    อ. พระสุทินนกลันทบุตร
    ก. เรื่องอะไร
    อ. เรื่องเมถุนธรรม

    แล้วถาม วัตถุ, นิพพาน, บุคคล บัญญัติ, อนุบัญญัติ, อาบัติ, อนาบัติ, ฯลฯ ในด้านพระสูตร ท่านพระกัสสปถาม ท่านพระอานน์ตอบ

    ก. พรหมชาลสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสที่ไหน
    อ. ในพระตำหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ในระหว่างกรุงราชคฤห์ และเมืองนาลันทาต่อกัน

    ก. ทรงปรารภใคร
    อ. สุปนิยปริพาชก และพรหมทุตตมานพ

    ต่อไปนี้จึงได้ถามถึงนิทานและบุคคล
    การสังคายนาครั้งนี้คงจะสมบูรณ์ที่สุดเพราะตัวบุคคลยังอยู่เป็นส่วนมาก
    การสังคายนาครั้งที่ 2 ทำหลังจากพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว 100 ปีเป็นการตัดสินว่า ภิกษุลัชชีบุตรละเมิด พระวินัย 10 ข้อนั้นถูกหรือผิด เรียกว่าแจง 700
    เพราะมีพระอรหันต์ร่วม 700 องค์

    ขุนวิจิตรมาตรา ค้นไว้ใน หนังสือ "หลักไทย" หน้า 251 ถึง 263 ว่าการสังคายนาครั้งที่ 3 ทำในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แล้วส่งสมณทูต คือ พระโสณะกับพระอุตตระ
    มาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ที่เมืองนครปฐม นครหลวงของแคว้นทวารราวดีของละว้าในสมัยนั้น ส่วนการบันทึก เป็นตัวอักษร ทำเมื่อ พ.ศ. 433
    ในการสังคายนาครั้งที่ 5 ที่ลังกา ซึ่งหลังจากนี้ มีพระพุทธโฆษาจารย์ ไปแปลมาเป็นภาษามคธ พระองค์นี้ กล่าวกันว่า เป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ (พ.ศ. 956)

    การสังคายนา ครั้งหลัง ๆ นี้ไม่มีตัวบุคคล ยืนยันว่า อะไรผิดอะไรถูก จริงหรือไม่จริง ดังนั้น จึงเข้าใจว่าไม่มีใคร กล้าแตะของเดิม จะแตะก็เป็นการตัดออก คือ ตัดที่เห็นว่า
    ไม่ใช่ คำสอนออก เพราะได้ความว่า ทางศาสนาพราหมณ์ แต่งปลอมแปลงเข้ามา เพื่อทำลายพระพุทธศานา แต่การตัดนี้ ก็คงจะไม่ตัดกันส่งเดช จะสังคายนาทีไรก็ตัดทุกที
    เพราะฉะนั้น พระไตรปิฎกน่าจะมีแต่ขาดไม่มีเกิน

    การตัดก็ไม่ใช่ตัดกันส่งเดชท่านมีหลักให้ไว้ใน เล่ม 21 หน้า 195 ว่า "ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะ เหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียง ในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย
    ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัยบท และพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ ในพระสูตรสอบสวนกันได้ พระวินัยในข้อนี้ พึงลงสันนิษฐานได้ว่า
    นี่เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ เจ้าแน่แท้"

    ประวัติของพระไตรปิฎก มีมาเช่นนี้ แต่จะใช้ยืนยันถูกต้องทันทียังไม่ได้ ควรต้องดูจากลักษณะอื่นอีก

    Butsaya:
    วิธีเขียนพระไตรปิฎก


    คนเป็นอันมาก ที่กล่าวโทษ พระไตรปิฎกว่า คลาดเคลื่อน แต่งเติม ฯลฯ นั้นปรากฏว่า เป็นคนที่ไม่เคยอ่าน พระไตรปิฎกเลย บางคนเหมาเอาว่า
    พระไตรปิฎกมีแต่นิทานชาดก มีสัตว์พูดได้ ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหลทั้งนั้น คนประเภทนี้ถ้าพูดกันตามตรรกวิทยาของพระพุทธเจ้าแล้ว หมดสิทธิ ไม่มีสิทธิ์
    ที่จะพูดเรื่องพระไตรปิฎกทีเดียว เพราะท่านจะถามดังนี้

    เคยเห็นพระไตรปิฎกหรือ ?
    เคยอ่านพระไตรปิฎกหรือ ?
    อ่านพระไตรปิฎกแล้วเข้าใจหรือ ?

    ถ้าหากท่านตอบว่า "ไม่" คำเดียว ท่านก็จะสำทับทีเดียว ว่า ถ้าเช่นนั้น ก็อย่าพูด โดยเฉพาะในเรื่อง การแต่งเติมนี้จะต้องถูกถาม อย่างแน่นอนว่า
    "ท่านรู้ว่า เป็นความจริง ไม่เป็นอย่างอื่นหรือ ท่านไม่ได้คิดเอา ตามความเห็นหรือ ตรึกตรองตามอาการหรือ ?" เสร็จ !

    สำหรับผู้ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎก สมควรจะทราบไว้ในที่นี้ว่า
    พระไตรปิฎกบันทึกเรื่อง แบบประวัติศาสตร์ แต่ละเอียดกว่า

    กล่าวคือ อ้างสถานที่ อ้างบุคคล ที่เกี่ยวข้อง และอ้างคำพูดว่า ใครพูดว่าอะไร คือ เป็นคำพูด ของคนนั้น ๆ ไม่ใช่ อ้างใจความเป็นร้อยแก้วทำความกว้าง ๆ
    แต่อ้างไว้เป็นคำพูดที่บุคคลนั้น ๆ พูดจริง ๆ ทีเดียว เช่น

    "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล้วภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาส แสดงพระธรรมเทศนา
    โดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์สดับแล้ว เป็นผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคง อยู่เถิด ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคล ยังยึดมั่น ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่น จึงหลุดพ้น จากมาร ฯ
    ดังนี้เป็นต้น

    ส่วนชาดกนั้น เป็นเรื่อง ที่ทรงเล่าประกอบ เวลาแสดงธรรม โดยมักจะเริ่มต้นว่า "เรื่องเคยมีมาแล้ว..." แล้วท่าน ก็เล่าไป

    Butsaya:
    คำถามเกี่ยวกับพระไตรปิฎก


    คำถาม พระไตรปิฎกมีการแต่งเติม
    คำตอบ นั่นเป็นเรื่อง ที่คนรุ่นหลังสันนิษฐานเอาเอง ไม่ใช่ว่ารู้มาจริง ๆ ว่าเป็นเช่นนั้น
    ถ้ารู้จริง จะต้องตอบได้ว่า ตรงไหนแต่งใหม่ ใครเป็นคนแต่ง แต่งตั้งแต่เมื่อใด เช่นนี้ เป็นต้น
    พระพุทธศานา ในเมืองไทย เป็นลัทธิเถรวาท หรือหีนยาน ยึดมั่นตามคำสั่งสอนดั้งเดิม ของพระพุทธเจ้า ลัทธิอื่น ถือเอาตามที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่า
    บัญญัติ (ศีล) ที่เล็กน้อยล้มเลิกเสียก็ได้ ลัทธิมหายาน ล้มเลิกไปเสียบ้าง ลัทธิอื่นล้มเลิกไปเสียบ้าง ผลที่สุดภิกษุในญี่ปุ่นมีเมียได้ ในเมื่อทรงบัญญัติว่า
    การเสพกามทำให้ภิกษุ เป็นปาราชิก ลัทธิหีนยาน ของเราเห็นว่า เมื่อพระอานนท์ ไม่ได้ทูลถาม ไว้ว่า ข้อไหนเล็กน้อย ข้อไหนไม่เล็กน้อย ถ้าแก้ไปก็อาจจะผิดจึงไม่แก้
    ถือตามเดิมทุกประการ

    การแก้พระบัญญัติ หมายถึง ล้มเลิกไป ไม่ใช่บัญญัติ ขึ้นใหม่ การบัญญัติขึ้นใหม่ หรือ การแต่งขึ้นใหม่นี้ ค้านกับ "วิญญาณ" ของลัทธิหีนยาน นอกจากนั้น ยังเป็นการผิดที่
    เรียกว่า "กล่าวตู่พระพุทธเจ้า" ด้วย การกล่าวตู่นี้ย่อมร่วมไปถึง อธรรมวาที ซึ่งจะยกเฉพาะที่สำคัญมากล่าว คือ

    พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ นำมากล่าวว่า ตรัสไว้
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ นำมากล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้
    พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ นำมากล่าวว่า ไม่ได้บัญญัติไว้
    พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ นำมากล่าวว่า ทรงบัญญัติไว้

    กรรมนี้ ใครทำเข้า ในพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม 5 หน้า 312 บ่งว่า เป็น


    ฝ่ายอธรรมวาที เล่ม 6 หน้า 371 กล่าวว่า เป็นเหตุ แห่งการวิวาท และเป็นรากแห่งอกุศล เล่ม 7 หน้า 171 กล่าวว่า เป็นเหตุแห่ง
    สังฆเภท (โทษของการสังฆเภท คือ ปาราชิก) เล่ม 12 หน้า 216 "เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมากด้วย
    ทิฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่ว แล้วกรรมนั้นแล จักมีแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน" พูดง่าย ๆ คือ ตกนรก
    คำว่า "นรก" คนธรรมดา มีความรู้สึก เหมือนติดคุก ซึ่งคงจ มีความสบายบ้างพอสมควร บางคนถึงกับอยากจะลองว่า นรกเป็นยังไง อยากลองดูสักที
    แต่สำหรับภิกษุผู้มีการศึกษาก็ทราบว่า นรกมีไฟเผาตลอด เวลาและ 1 วัน 1 คืน ของอายุนรก ขุมต้น ก็เท่ากับ 9 ล้านปี ของมนุษย์แล้ว ไม่ใช่ของที่ควรล้อเล่น พระ พุทธเจ้าเอง
    ทรงตรัสว่า ท่านไม่ทรงเห็นว่าอะไร จะเป็นศัตรูของพระนิพพาน เท่ากับนรกเลย

    คนที่ไปเกิด ในอบายภูมิ หรือตกนรกนั้นจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากนักหนา ท่านเปรียบเทียบไว้ในพระไตรปิฎกว่า โอกาสของผู้ตกในอบายภูมิ ที่จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์
    นั้น ให้เปรียบว่า เราเอาห่วงลอยไปในมหาสมุทร ใน 500 ปีให้เต่าตาบอดตัวหนึ่งโผล่ขึ้นมาจากน้ำครึ่งหนึ่ง

    ถ้าโผล่ตรงกลางห่วงได้เมื่อไรนั่นแหละ คือ โอกาสที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์
    พระที่ท่านบวช ตลอดชีวิต ด้วยความเลื่อมใส (ในสมัยโบราณ) ท่านหวังพระนิพพาน ท่านย่อมไม่อยากตกนรกแน่นอน โดยเฉพาะ ในลัทธิหีนยานด้วย พูดตาม ภาษาปัจจุบัน
    แล้ว การที่พระภิกษุเหล่านี้ จะมีเจตนาดัดแปลงแต่งเติมพระไตรปิฎกนั้นไม่มีทาง (นอกจากเราจะคิดลงโทษท่านไปเอง)
    เรื่องหญ้าปากคอก ที่น่าจะมองเห็นเพิ่มเติม จากที่กล่าวมาแล้ว ก็คือ การตกแต่ง ดัดแปลง พระไตรปิฎก นั้นคือ การพูดโกหกผิดศีลข้อ 5 (มุสาวาทาเวรมณี) อย่างตรงเป๋ง

    ลองคิดดูต่อไป การแก้พระไตรปิฎกนั้น ไม่ใช่ใครอยากจะแก้ ก็แก้เอาตามใจ แต่ต้องแก้ในการทำสังคายนา ซึ่งมีพระภิกษุชั้นเยี่ยม นับร้อยรูปประชุมกัน ทำและเห็น พ้องต้อง
    กันเป็นเอกฉันท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะเห็นได้ชัดว่า การที่พระชั้นดี มาย่อมร่วมกัน ทำผิดศีล มุสาวาท โดยไม่มีองค์ไหนค้านเลย แม้แต่องค์เดียวนั้น เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อทีเดียว

    เหตุผลประการที่สำคัญที่เรามักจะหาว่า พวกพระแก้ไขดัดแปลง พระไตรปิฎก ก็คงจะมีว่า แก้เพื่อผลประโยชน์ ของพวกพระเอง ซึ่งศัพท์ทางพระ ท่านเรียกว่า "เพื่อลาภสักการะ" นั่นเอง ข้อนี้ก็เป็นความเห็นที่ เอาโทษไปใส่ให้ท่าน อีกเช่นกัน เพราะพระชั้นสูง (ขนาดที่ได้รับนิมนต์ ไปทำสังคายนา) นั้นย่อมมี ความรู้ว่า พระบัญญัติบทปาราชิก (ขาดจากความเป็นพระ) สองข้อ (ใน 4 ข้อ ) คือ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีอยู่จริง และการลักขโมย นั้นมีฐานมาจากการกระทำ เพื่อเหตุแห่งท้องทั้งสิ้น ทรงสรัสว่า
    เหตุใดพวกเธอจึง... เพื่อสาเหตุแห่งท้องเล่า

    และ ทรงประณามว่า การกระทำ เพื่อสาเหตุ แห่งท้องนั้น มีค่าเท่ากับ เป็นมหาโจรปล้นชาวบ้าน การที่พระชั้นสูง จำนวนเป็นร้อย ๆ รูป ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจ จะทำการแก้ไข
    แต่งเติม พระไตรปิฎก เพื่อเห็นแก่ ลาภสักการะ (สาเหตุ ที่ทรงบัญญัติให้เป็นปราชิก) โดยพร้อมเพรียงกันนั้น เราย่อมทราบอยู่เองว่า น่าจะเป็นไปได้ หรือน่าจะเป็นไปไม่ได้

    คำถาม ถึงไม่มีการแก้ไขดัดแปลง โดยเจตนา ความคลาดเคลื่อน โดยธรรมชาติ ก็ควรจะมีอยู่ เพราะมนุษย์ ย่อมไม่สามารถจำได้ถี่ถ้วนเช่นนั้น
    คำตอบ ยอมรับว่า ความคลาดเคลื่อน ย่อมมีอยู่บ้างแต่ไม่ควรจะคลาดเคลื่อนในใจความหรือหลักสำคัญ
    ข้อสันนิษฐาน อย่างหนึ่งที่ว่า ต้องสืบต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยการทรงจำก็คือ "สมัยนั้น ยังไม่มีตัวหนังสือใช้"

    Butsaya:
    ข้อสันนิษฐานนี้ เป็นไปได้อย่างมาก ในความคิดของนักปราชญ์สมัยนี้ แต่ก็เป็นข้อสันนิษฐานที่ผิด เพราะความจริงในสมัยนั้น มีตัวหนังสือใช้อยู่แล้ว
    เล่ม 9 หน้า 95 " สมัยนั้นแล อัมพัฏฐมานพศิษย์ของพราหมณ์ โปกขรสาติ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ
    พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ 5 " เล่ม 3 หน้า 247 "เรียนหนังสือ 1 เรียนวิชาท่องจำ 1 เรียนวิชา เพื่อประสงค์คุ้มครองตัว 1 ไม่ต้องอาบัติ"

    ดังนั้น จึงควรสรุปได้ว่า สมัยนั้น คนท่องจำได้เก่งกว่าสมัยนี้มาก ซึ่งตรงกับหลายแห่ง ในพระไตรปิฎก ซึ่ง พระพุทธเจ้าทรงกำชับ ให้จำพระธรรมไว้เสมอ
    และทรงสรรเสริญ ผู้สามารถทรงจำพระธรรมด้วย
    เล่ม 11 หน้า 328 "เธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้วคล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดี ด้วยความเห็น"
    เล่ม 13 หน้า 422 "จงทรงจำธรรมเจดีย์ไว้" เช่นนี้มีอยู่ตลอดทาง
    เล่ม 7 หน้า 245

    "ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ปรารถนาจะโจษผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะเป็นที่ สั่งสมสุตะหรือหนอธรรมเหล่าใดนั้น ไพเราะในเบื้องต้น
    ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้
    คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่"

    พยานบุคคล ในเรื่องความจำนี้ คือ ท่านพระอานนท์ จำได้หมด 84,000 พระธรรมขันธ์ (และองค์อื่นที่ไม่ได้บ่งไว้ ก็คงจะจำได้เป็นธรรมดา)
    เล่ม 5 หน้า 30 กล่าวถึงพระโสณะสวดพระสูตรทั้งหลาย อันมีอยู่ในอัฏฐวรรค จนหมดสิ้นในคืนเดียวพระพุทธ เจ้าตรัสถามว่า บวชมาได้กี่พรรษา ทูลตอบว่า
    บวชพระมาพรรษาเดียว ดังนี้เป็นต้น

    เมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว ก็ควรจะนึกออก ถึงความจริง ที่เห็นได้ชัดแจ้งข้อหนึ่งว่า พระสูตรที่ท่องจำกันนี้ ไม่ใช่มารวบรวมจารึกลงใหม่ในภายหลัง อันนั้นเป็นผลจากการค้นคว้า
    สอบสวน หากแต่ได้มีอยู่แล้ว ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่

    เล่ม 19 หน้า 461 "ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใด ที่พระตถาคต ตรัสไว้ แล้วอันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึง พระสูตร เหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่"

    เล่ม 21 หน้า 53 "เราได้กล่าวแล้วใน ปุณณกปัญหาปรายนวรรค"
    ข้อนี้ ทำให้ตีความ ได้ต่อไปว่า เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแล้ว ก็จะมีผู้ทำหน้าที่ ร้อยกรองขึ้น เป็นพระสูตรร้อยกรองเสร็จแล้ว จึงบรรยาย ถวายต่อพระพุทธเจ้า
    (เพื่อทรงตรวจสอบ ? ) ซึ่ง เมื่อทรงฟังแล้ว ก็อาจทรงเปล่ง พระอุทาน คือ พระคาถาสรุปอีกทีหนึ่ง เช่นตัวอย่าง
    เล่ม 25 หน้า 171 ตอนจบของอุปาทานสูตร (เช่นเดียวกับในอีกหลายพระสูตร)

    " ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในขณะนั้นว่า......"
    นอกจากนั้นยังมีการตั้งชื่อด้วย

    เล่ม 14 หน้า 153 พระอานนท์ทูลถามว่า ธรรมบรรยายนี้ชื่อไรพุทธเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำธรรมบรรยาย นี้ไว้ว่าชื่อ พหุธาตุกบ้าง จตุปริวัฏฏบ้าง ว่าชื่อ ธรรมทาสบ้าง ว่าชื่อ อมตทุนทุภีบ้าง ว่าชื่อ อนุตตรสังคามวิชัยบ้าง"

    เมื่อนำมาแสดงถึงเพียงนี้ ก็สรุปได้ว่า พระในสมัยนั้น ท่องจำพระสูตร ที่มีการรจนา และตรวจทานถูกต้องแล้ว เหมือนกันหมดทุกองค์ ดังนั้นการสอบทาน ในภายหลัง
    จึงทำได้ง่าย และการท่องจำซึ่งสมัยนี้เรียกว่า "อาขยาน" นั้น เมื่อท่องขึ้นใจว่าเสียครั้งหนึ่งแล้ว ก็มักจะไม่ลืม

    การจารึกลง เป็นตัวอักษร ในสมัยหลังนั้น มีนิทาน (เรื่อง) เล่าว่า พระอรหันต์ในสมัยนั้นเห็นว่า ต่อไปจะมี คนทรงจำได้น้อยแล้ว จึงควรจารึกเป็นอักษรไว้
    ดังนั้น จึงได้ตอบไว้ในตอนต้นว่า ถ้าพระไตรปิฎก จะคลาดเคลื่อน ก็คงจะเป็นส่วนน้อย แต่ใจความหลัก ๆ ที่ สำคัญน่าจะไม่ผิด
    คำถาม เขากล่าวว่า พระไตรปิฎก ไม่ใช่พุทธวัจนะทั้งหมด
    คำตอบ ข้อนี้เป็นความจริง เพราะเขียนไว้เป็นทำนองบันทึกเหตุการณ์ เทวดาพูดก็มี พราหมณ์พูดก็มี พระเจ้าแผ่นดินพูดก็มี จะว่า ไม่ใช่พระพุทธเจ้าตรัสทั้งหมดก็ถูก

    แต่เป็นการพูดชนิดเล่นคำ คือ จงใจพูดเช่นนั้นเพื่อให้ เกิดความรู้สึกว่า ธรรมะที่เราเรียนกันนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าสอน ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง
    ความจริง ในพระไตรปิฎกบ่งชัดว่า คำพูดอันไหน ใครเป็นคนพูด
    สำหรับด้านพระธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเอง ทั้งหมด ยกเว้นบางกรณี ทรงสั่งให้ ท่านพระสารีบุตรบ้าง ท่านมหากัจจายนะบ้าง เป็นผู้แสดงธรรม หรือในบางสูตร พระสาวก เป็นผู้แสดงธรรม ให้ภิกษุอื่นฟังก็มี (ซึ่งจะเอาไปพูดว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงเองก็พูดไม่ผิด แต่เรียกว่า พูดอย่างโกง ๆ )
     
  12. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->เพชรกร<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4685773", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]
    ..................................................................................................
    ดูก่อนเถิด ท่านผู้เจริญ
    .....อันคำท่านนั้นกล่าวมาผู้น้อยนั้นก็ขออนุโมทนา ด้วยผู้น้อยนั้นเห็นว่าท่านนั้นเป็นผู้แก่ความเพียรดีแล้ว
    .....อันผู้น้อยนั้น เป็นเพียงผู้ที่ผ่านมาแล้วก็ต้องผ่านไป คำอันใดของผู้น้อยที่แสดงออกไปแล้ว ผู้ใดแลเห็นก็ย่อมจะเข้าใจ ผู้น้อยมิได้หวังสิ่งใด ผู้ที่พายเรือนั้นเมื่อขึ้นฝั่งเขานั้นก็คงจะไม่คิดแบกเรือไปด้วย เขานั้นย่อมคงต้องปล่อยเรือให้ลอยไว้ในลำน้ำผู้ใดที่เห็นว่าเรือนี้สามารถใช้ได้เขานั้นก็คงต้องใช้
    .....สมดังที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า ผู้ที่เข้าสู่ห้วงแห่งโสดาบันแล้วเขานั้นย่อมบำเพ็ญเพียรอีก๗ชาติเขานั้นก็ย่อมสามารถสำเร็จได้
    .....อีกคำสอนของพระองค์คือ เราจะไม่แสดงธรรมแก่ท่านที่นั่งอยู่เมื่อเรายืนอยู่๑ เราจะไม่แสดงธรรมแก่ผู้ที่ยืนอยู่เมื่อเรานั้นนั่งอยู่๑ เราจะไม่แสดงธรรมแก่ผู้ที่นอนอยู่โดยไม่ป่วยไข้๑
    .....การที่ผู้น้อยกล่าวว่าการกินเนื้อสัตว์ที่ได้มาโดยมิชอบนั้นเป็นบาปกรรม ก็มิได้หมายบังคับขู่เข็นให้ท่านทั้งหลายต้องคล้อยตาม แต่สิ่งที่ได้แสดงไว้นั้นหากผู้ใดแลเห็นแล้วเข้าใจเขาผู้นั้นก็ย่อมใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
    .....ผู้น้อยเคยถามพระกรรมฐานรูปหนึ่งว่า: พระคุณท่านเหตุใดพระคุณท่านอายุยังน้อยแล้วใยพระคุณท่านจึงคิดบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ๑๘ แล้วปัจจุบันแล้วพระคุณท่านอายุ๒๘แล้วพระคุณท่านจึงไม่อาลัยในทางโลกทั้งที่มารดาของพระคุณท่านก็มาหาอยู่เนืองนิจ แล้วเหตุใดพระคุณท่านอายุยังน้อยอยู่ทำไมพระคุณท่านใยไม่เรียนนักธรรมและเปรียญธรรม ด้วยเหตุแห่งว่าพระคุณท่านก็เป็นผู้มีปัญญาทางโลกด้วยเรียนรุ่นเดียวกันมา หากพระคุณท่านเรียนนักธรรมผู้น้อยก็เห็นว่าพระคุณท่านน่าจะเรียนเป็นมหาเปรียญได้โดยไม่ยาก.
    พระคุณท่านนั้นได้กล่าวแก่ผู้น้อยว่า:ด้วยควาเสียใจที่สอบเรียนต่อไม่ได้ดังหวังท่านจึงขอบวชเณร ท่านเห็นแล้วจึงบวชเป็นภิกษุต่อ เหตุที่ท่านไม่เรียนนักธรรมได้แต่เป็นภิกษุอาศัยบำเพ็ญอยู่ป่าเขา ก็เพราะว่าท่านนั้นเห็นแล้วว่าการเรียนนักธรรมนั้นประดุจดาบสองคม ด้วยเหตุแห่งว่าเป็นบ่วงแห่งกิเลส ผู้ที่หลวงบ่วงก็จะได้ลาภสักการละจะหาที่ประสบสุขไม่ได้ท่านจึงไม่อยากเสียเวลาไปเรียนให้มาก รู้ไว้แค่พอใช้ ท่านนั้นมิได้หวังในลาภสักการะสิ่งใด เพราะการบวชของท่านนั้นมิได้หวัง มิได้หวังในตำแหน่งที่เขาบันดาลมาให้ เพราะสุดท้ายผู้ที่ติดบ่วงไปแล้วย่อมอาจจะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านจึงขอบำเพ็ญอยู่ป่าเป็นผลดีที่สุด
    .....ด้วยเหตุนี้ผู้น้อยจึงแลเห็นว่า การเป็นผู้ที่ศึกษามากก็เป็นสิ่งดีหากสามารถใช้ประโยชน์ได้ ผู้ที่มีความรู้มากสุดท้ายก็หมายว่าจะช่วยตนเองให้พ้นภัยได้เสมอไป
    .....องค์พระอานนท์เป็นพระอรหันต์ที่สำเร็จพระองค์สุดท้าย และสำเร็จเพียงแค่ก่อนทำสังคยานาเพียงแค่ชั่วคืน ทั้งที่ท่านเป็นผู้ที่ได้ฟังแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก จนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องให้เปรียบประดุจพระธรรม แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเข้าใจและเกิดบรรลุพระอรหันต์เพียงแค่ชั่วคล้อยสติยามรุ่ง พระองค์จึงทรงขึ้นเป็นประธานในการทำสังคยานานั้นจนสำเร็จ
    .....ด้วยผู้น้อยนั้นกล่าวมาก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า การเป็นผู้ศึกษามากนั้นย่อมเป็นผลดี แต่การสำเร็จธรรมนั้นหาได้มาจากการที่ศึกษาธรรมมาก แต่การสำเร็จธรรมนั้นเกิดจากการเข้าใจธรรมจนจิตบรรลุธรรม
    .....คำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งมีค่ามาก แต่ผู้ที่จะเข้าใจธรรมนั้นได้ในบางครั้งก็ต้องใจเวลา เมื่อวาระมาถึงก็ย่อมสำเร็จได้เป็นแน่แท้.
    .....ผู้น้อยขออนุโมทนาบุญแด่ท่านทั้งหลายมาด้วยประการ ณ ฉะนี้ ด้วยเหตุแห่งว่าผู้น้อยนั้นเป็นเพียงผู้ที่เพียงผ่านมา แล้วก็ต้องผ่านไปนั่นเอง ขออนุโมทนา.
     
  13. ุเพตารี

    ุเพตารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,048
    ค่าพลัง:
    +800
    ถ้าตีข้อธรรมแบบนี้
    ภิกษุผู้ฉันอาหาร ไม่ได้เรียกร้อง ไม่ได้ปรุงอาหารเอง
    แต่ถ้าอาหารที่คนมาถวายเป็นเนื้อสัตว์ ถึงจะพิจารณาเป็นธาตุ 4
    ก็ย่อมรู้แก่ใจว่าเนื้อสัตว์ย่อมได้มาจากการฆ่า
    ยังไงเสียย่อมมีจิตอนุโลมในการฆ่าด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดั่งเจ้าของกระทู้ตีความ

    แต่ก็ไม่บาปเพราะพระวินัยกำหนดให้ฉันได้อย่างนั้นหรือ ?

    กรรมแบบเดียวกัน พระทำไม่บาป แต่โยมทำแล้วบาป ?
     
  14. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ลมใต้ปีก<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4686654", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]
    ..................................................................................................
    ดูก่อนเถิดท่านผู้เจริญ
    .....อันทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมมาจากธาตุเดิมแท้ แม้แต่ในร่างกายของเราคือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุแห่งไฟ อันเมื่อเราทั้งหลายละสังขารไปแล้วธาตุทั้งหลายย่อมกลับคืนสู่ที่มา หรือแม้แต่ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ธาตุทั้งหลายก็ยังหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายกันไป
    .....อันพระภิกษุนั้นการที่ท่านนั้นเป็นผู้ฉันท์ ก็เพียงแค่ท่านนั้นฉันท์ธาตุ คือดินและน้ำ ท่านพิจารณาด้วยจิตให้เป็นเพียงดินและน้ำที่เข้าไปเสริมภูมิหล่อเลี้ยงธาตุ การฉันท์ของท่านหาได้มีความยินดีในรูป ในรส ในกลิ่นไม่ แต่การฉันท์นั้นเป็นไปเพื่อพอให้ร่างกายนั้นมีแรงแต่การที่ท่านฉันท์นั้นก็อาศัยเพียงการบิณฑบาตรเลี้ยงชีพ หาได้เป็นผู้เรียกร้องในอาหารไม่ เพื่อให้เป็นผู้อยู่ง่ายเลี้ยงง่าย พระภิกษุนั้นจึงละเว้นจากการฉันท์กลิ่นดิบ หากเปรียบเทียบกันแล้วระหว่างผู้ที่ไม่ฉันท์เนื้อสัตว์นั้นเหตุที่เขายังไม่อาจหลุดพ้นเพราะเขานั้นยังติดอยู่ในรูป เมื่อเห็นชิ้นเนื้อสัตว์จึงเกิด เวทนาด้วยสัญญา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไม่อาจข้ามพ้นเข้าสู่วิมุตไปได้จึงอยู่ได้เพียงพระโพธิสัตว์
    .....แต่สำหรับพระภิกษุผู้ปฎิบัติเห็นชิ้นเนื้อเป็นเพียงธาตุ ดับสิ้นแล้วจาการฉันท์กลิ่นดิบ เมื่อเห็นชิ้นเนื้อเป็นเพียงธาตุ จึงย่อมไม่เกิดรูป เมื่อไม่เกิดรูปย่อมไม่เกิดสัญญา และไม่เกิดเวทนา เพราะท่านนั้นดับรูปสิ้นแล้วจึงไม่ถือว่าเป็นการฉันท์เนื้อ ด้วยเหตุท่านพิจารณาเพียงว่าฉันท์ธาตุ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเข้าสู่วิมุต คือสามารถหลุดเข้าสู่จิตแห่งอรหันต์ได้
    .....ฉะนั้นหากท่านทั้งหลายหากจะเป็นผู้ไม่มีบาปจากการกินเนื้อสัตว์ ก็จงหยุดเสียจากกลิ่นดิบ ท่านสามารถกระทำได้หรือไม่
    .....แต่สิ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเห็นคือ อันไม้สดที่ยังชุ่มไปด้วยน้ำมันและอยู่ในน้ำ ก็ยากที่จะสีกันให้เกิดไฟได้ หมายความว่า ผู้ที่ยังหลงอยู่ในกิเลส ยังวนเวียนอยู่ในอำนาจราคะโทสะโมหะ ยังอยู่ในสถานที่ที่เป็นเหตุแห่งราคะโทสะและโมหะ บุคคลเหล่านี้ย่อมไม่มีทางที่จะพ้นทุกข์ไปได้
    .....อันไม้สดที่ชุ่มไปด้วยน้ำมัน วางอยู่บนพื้นดินแห้ง ไม่สดนี้ก็ยังยากที่จะสีกันให้เกิดไฟได้ หมายความว่า ผู้ที่จิตใจยังใฝ่อยู่ในกิเลส อำนาจราคะ โทสะและโมหะ ถึงแม้ว่าเขานั้นจะหลีกออกมาจากสถานที่อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลส ราคะโทสะ และโมหะได้แล้ว แต่จิตใจเขานั้นยังหมกมุ่นไม่ยอมละวาง เขาเหล่านั้นก็ยากที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ไปได้
    .....อันไม้แห้งสนิทวางอยู่บนที่แห้ง ไม้หมู่นั้นย่อมง่ายต่อการสีกันให้เกิดไฟ ก็หมายความว่า ผู้ที่บำเพ็ญเพียรด้วยความหมดกิเลส อยู่ในที่ปราศจากเหตุให้เกิดกิเสส ผู้บำเพ็ญนั้นย่อมจะสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้
    .....ด้วยเหตุแห่งคำกล่าวแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ หากท่านทั้งหลายพิจารณาแล้วก็จะเห็นว่าพระองค์ทรงชี้ทางให้เราทั้งหลายพบหนทางแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์ ฉะนั้นผู้น้อยก็ขอกล่าวได้เลยตามคำกล่าวแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า: ผู้ที่บำเพ็ญเพียรถึงท่านนั้นจะบำเพ็ญเพียรหนักสักปานใด หากท่านยังไม่ออกบวชปลีกตัวจากเหตุที่ง่ายต่อการเกิดกิเลส คือ การสมสู่ การแย่งชิง การเข่นฆ่า ท่านนั้นก็ย่อมไม่สามารถที่จะพ้นจากความทุกข์ไปได้ หรือแม้แต่ผู้ที่ออกบวชถึงแม้ท่านนั้นจะแยกตัวออกจากการครองเรือนแล้ว ออกจากการแก่งแย่ง การเข่นฆ่าแล้ว แต่ใจของท่านยังคอยที่จะหมกมุ่นในกิเลสเวียนว่ายในกามอยู่ ท่านนั้นก็จะหาความสุขจากการบวชมิได้
    .....ฉะนั้นผู้ที่หวังจะพบความสุขอย่างแท้จริง ท่านพร้อมหรือยังที่จะทำตนเป็นไม้แห้งหมดจากความคิดแห่งกิเลส ว่างอยู่บนพื้นดินที่แห้งอยู่ห่างไกลจากเหตุอันเป็นการก่อกิเลส คือท่านพร้อมหรือยังที่จะออกบวช หากท่านพร้อมแล้วไม่นานท่านก็จะสามารถพ้นทุกข์ได้ ประดุจไม้แห้งสีไฟย่อมติดไฟได้ง่าย
    .....ฉะนั้นขอท่านนั้นจงอย่าไปยึดในเรื่องการกินเนื้อสัตว์เลย แค่ท่านลองคิดเสียว่าหากท่านจะกินเนื้อสัตว์แล้วไม่เกิดบาปกรรมแล้วนั้นจะมีวิธีไหนบ้าง ที่เนื้อนั้นจะไม่ได้มาจากการฆ่าด้วย กาย๑ วาจา๑ และใจ๑ ของท่าน หากท่านสามารถกระทำได้เมื่อนั้นเนื้อที่ท่านกินนั้นก็ย่อมพ้นกลิ่นดิบนั่นเอง.
    .....การบำเพ็ญเพียรจงอย่าไปดูที่คนอื่นว่าเขาจะทำอย่างไรเพราะเรายิ่งต้องการให้เป็นเช่นใด ตัวเราเองนั้นแหละที่จะทุกข์ร้อน แต่จงพิจารณาดูที่ตัวเรา ใครจะผิดอย่างไรก็ปล่อยเขา ดูตัวเราไว้อย่าให้ผิด หากเราผิดเหมือนเขาแล้วเมื่อใดเราจะสามารถพ้นจากทุข์ได้
    หากจะช่วยเขานั้น ช่วยได้แค่เพียงบอก แค่เพียงชี้ อย่าไปถึงขั้นเอาใจช่วยเพราะจะกลายเป็นทุกข์หากเขาทำไม่ได้ กรรมใครก็กรรมมัน ต่างคนต่างทำ ต่างคนก็ต่างรับ พิจารณากันเอาเองเถิด.
    ...................ผู้น้อยขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล สาธุ.
     
  15. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    เรื่องอย่างนี้ ธรรมดาๆ ไม่ต้องถามตำราหรอก เพราะหลวงปู่ทวดบอก ปุถุชนหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง 80 %

    ลองโดนเข้ากับตัวเอง มีคนเขาอยากกินเนื้อเราบ้าง แล้วจะร้อง จ๊าก ๆ ๆ ๆ

    คงวิ่งหนีกันยิ่งกว่าไฟไหม้เสียอีก 55555
     
  16. ุเพตารี

    ุเพตารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,048
    ค่าพลัง:
    +800
    การถกธรรมะกัน ก็เพื่อเรียนรู้ธรรมซึ่งกันและกัน ก็เพื่อสติปัญญาครับ คุณตราใจ
    แต่ถ้าถกเถียงกันเพื่อเอาชนะคะคาน ใช้ถ้อยคำเสียดสี ยกตนข่มท่าน นั่นเป็นวิสัยคนพาล
    ตัวผมเองไม่ได้ต่อต้านการเลิกกินเนื้อสัตว์ แค่มาขอธรรมมะกับเจ้าของกระทู้เท่านั้นเอง
    การมี ปุจฉา-วิสัชนา จึงเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเรารู้ไม่เท่ากัน

    ตามปกติผมกินมังสวิรัตในวันพระ และช่วงเทศกาลกินเจ เคยลองกินเจแล้วไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากงานผมเป็นงานความคิดสร้างสรรด้านศิลปะ ซึ่งมันต้องใช้กิเลสทำงาน
    ไม่เหมือนงานด้านอื่นๆ ที่ดูไม่มีผลกระทบเท่าไร กินเจ 10 วันไม่ได้รู้สึกอยากกินเนื้อสัตว์แต่คิดงานไม่ออกเลย การปฎิบัติสมาฐิกรรมฐานได้ดีมากกว่าปกติ ช่วงหลังเลยกินมังสวิรัตแทน (ไม่ได้คิดเอาเองมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ การไม่กินเนื้อสัตว์สามารถดับกิเลสลงได้ในระดับหนึ่ง ช่วยเสริมการทำสมาธิกรรมฐานได้ แต่ส่งผลเสียต่ออาชีพทางโลกของผม)


    ที่มาสอบถามก็เพราะรู้สึกว่าคุณเนตรอิศวรตีข้อธรรมจนลึกซึ้งเกินพอดีไป จนปถุชนปฎิบัติได้ยากตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง ตีลึกเกินไปมันก็เหมือนดาบสองคม อาจทำให้บุคคลท้อถอยในธรรมได้

    ผมสรุปคำตอบสุดท้ายของคุณเนตรอิศวรได้ดังนี้
    ฆราวาสถ้ากินเนื้อสัตว์ยังงัยก็เกิดบาป วิธีที่จะละจากบาปนี้ได้มี 2 วิธี
    1.เลิกกินเนื้อสัตว์
    2.บวชเป็นพระแล้วฉันตามพระวินัย
    (ไม่ทราบว่าถูกต้องไหมครับ ช่วยแสดงธรรมภาษาพื้นๆ กระชับๆ ให้เข้าใจง่ายหน่อยก็จะดี)

    เรียนขอธรรมะจากคุณเนตรอิศวรอีกข้อหนึ่ง
    เรื่องการพรากของเขียว สำหรับฆราวาสแล้วเป็นบาปหรือไม่ครับ
    เพราะถ้าจะมองให้ลึกซึ้งแล้ว
    ข้าว 1 เมล็ดก็ 1 ชีวิต
    ผัก 1 ต้นก็ 1 ชีวิต
    ไม่ต่างอะไรกับสัตว์เลย

    ขอบรรยายธรรมเป็นภาษาง่ายๆ บ้านๆ หน่อยนะครับ

    ด้วยความเคารพ
     
  17. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ลมใต้ปีก<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4688097", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]
    .................................................................................................
    ดูก่อนท่านผู้เจริญ คำว่าพรากพืชครามนั้น จะกล่าวแก่ในพระวินัยสงฆ์ แต่หากเป็นปุถุชนกันผูน้อยนั้นก็ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่หากท่านั้นจะหมายถึงการทำลายต้นไม้นั้นหากเราทั้งหลายเห็นตามสัจจะธรรมแล้วก็จะเห็นว่าสมควรหรือไม่นั้นต้องแยกตามวัตถุประสงค์ของพรรณไม้คือ ไม้หมู่หนึ่งคือยารักษาโรค๑ ไม้หมู่หนึ่งเป็นไม้ให้ร่มเงา๑ ไม้หมู่หนึ่งเป็นอาหาร๑ ไม่หมู่หนึ่งเป็นที่อยู่อาศัย๑ และไม้หมู่หนึ่งหาประโยชน์ไม่ได้๑
    .....การที่ท่านทั้งหลายนั้นจะใช้ไม้ตามวัตถุประสงค์ผู้น้อยก็คงเห็นว่าไม่ผิด เช่นไม้พรรณยารักษา การใช้ไม่สร้างบ้านเรือนนั้นก็เห็นว่าไม่ผิดแต่ก็คงต้องตามสมควรในความพอดี อันไม้ให้ร่มเงาหาอยู่ในที่ไม่สมควรจมล้มเสียก็ไม่ก็เห็นว่าไม่ผิดเพราะอยู่ในที่ไม่สมควร อันไม่ที่หาประโยชน์ไม่ได้หากจะถากถางเพื่อให้ไม่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายก้เห็นว่าไม่ผิดเช่นกัน
    .....แต่หากการกระทำนั้นก็ทำไปโดยความไม่พอดี ธรรมชาติก็ย่อมให้โทษโดยบันดาลกรรมให้แก่มนุษย์ให้เห็นอยู่แล้ว เช่นน้ำท่วม ดินถล่ม
    .....ฉะนั้นการจะพรากต้นไม้นั้นก็ควรทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ถือว่าไม่ผิด แต่หากมากเกินไปเกินความพอดีย่อมผิด
    .....ถึงแม้แต่ค้นศรีมหาโพธิ์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า หากผู้ใดกระทำการโค่นล้มต้นศรีมหาโพธิ์ก็ถือว่ามีกรรมหนัก แต่หากต้นศรีมหาโพธิ์นั้นอยู่ในที่อันไม่สมควรคือสร้างความเดือดร้อน อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย หากจะโค่นเสียพระองค์ก็ทรงกล่าวว่าไม่ผิด
    .....ฉะนั้นการจะพรากต้นไม้จะผิกบาปหรือไม่ย่อมรู้อยู่แก่ใจ
    .....ผู้น้อยขอแสดงไว้ด้วยประการ ณ ฉะนี้แล.......สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2012
  18. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ลมใต้ปีก<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4688097", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]
    ................................................................................................
    ดูก่อนเถิดท่านผู้เจริญ
    .....ผู้น้อยต้องขออภัยในคำตอบแรกเรื่องการพรากของเขียว ด้วยเหตุว่าไฟฟ้าดับจึงอาจที่จะมองเห็นแป้นอักษรถนัดนัก จึงทำให้ผิดตกหล่นไปหลายตัวอักษร อันผู้น้อยก็ต้องขออภัยท่านมาด้วยประการ ณ ฉะนี้.
    .....จากคำถามที่ท่านนั้นได้ถามมาถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์ว่าท่านนั้นเข้าใจถูกไหม ผู้น้อยนั้นก็ขอกล่าวว่าปุถุชนนั้นหากประกอบอาหารที่ทำจากเนื้อ หากเนื้อนั้นได้มาโดยชอบก็ถือว่าไม่ผิด คือไม่ได้มาด้วยการฆ่าทางกายวาจา และใจ ไม่ได้มาด้วยการลักขโมยหรือแย่งชิง
    .....แต่หากท่านนั้นลองตรองพิจารณาดูเถิดว่าที่ท่านนั้นกินเนื้อสัตว์นั้นแท้จริงแล้วเพื่อเหตุใด ลองพิจารณาดูให้จริงๆ สุดท้ายท่านทั้งหลายก็กินเนื้อด้วยความหลงในรสชาติ เพราะพิจารณาได้จากการเลือกซื้อเนื้อ ว่าต้องการเนื้ออย่างนั้นเนื้ออย่างนี้
    .....ฉะนั้นปุถุชนจึงไม่อาจหลีกหนีจิตสำนึกของตนเองไปได้เลยเพราะยังเป็นผู้หลงไหลในรสชาติของเนื้ออยู่ ฉะนั้นการกินเนื้อของท่านทั้งหลายส่วนหนึ่งก็จึงหวังในรสชาติ จึงยังอยู่ในห้วงแห่งความหลงอยู่ หรือที่เรียกว่าโมหะจิต
    .....การกินเนื้อของปุถุชนนั้นก็ขาดการพิจารณาด้วยว่าเป็นธาตุแต่จะพิจารณาตามรสชาติ ความเพลิดเพลิน เช่นรสชาติหวานมัน ยามเคี้ยวเนื้อแล้วจะมีเสียงกรุ๊บกรอบอย่างนี้เป็นต้น เช่นเอ็น และกระดูกอ่อนของสัตว์ หากินไปเพื่อความอยู่รอดแท้จริงไม่ การกินของปุถุชนจึงแฝงไปด้วยอำนาจราคะ โทสะ และโมหะ สรุปแล้วหากการกินที่แฝงไปด้วยอำนาจกิเกสเช่นนี้การกินไปนั้นจะด้วยวิธีใดอย่างไรก็เป็นบาปกรรม
    .....การที่กล่าวว่าหากจะกินเนื้อโดยไม่ผิดบาปนั้นจะต้องออกบวชและบำเพ็ญกินแบบภิกษุถึงจะไม่มีบาปกรรมใช้หรือไม่ ในส่วนนี้ผู้น้อยก็เห็นว่าจะไม่เป็นจริงเสมอไป แต่ท่านหลีกได้หรือไม่จากการเป็นผู้ประกอบอาหารเพราะผู้ที่ประกอบอาหารนั้นย่อมมีความหวังให้อาหารเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ๑ ท่านหลีกได้หรือไม่ที่จะเป็นผู้สั่งให้เขาฆ่าด้วยวาจาตน เว้นจาการกฆ่าด้วยกายตน และเว้นจากการมีจิตร่วมส่งเสริมในการฆ่า หากท่านหลีกได้ย่อมก็ถือว่าไม่ผิด
    .....สรุปแล้วผู้น้อก็เห็นว่ายังไม่มีวิธีไหนที่จะหลีกพ้นเสียเลย เว้นจากเป็นผู้ที่ไม่ต้องทำอะไรวันๆพอถึงเวลาก็มีผู้นำอาหารมาให้ แล้วพอจะกินท่านก็พิจารณาอย่างนี้ถึงไม่ต้องออกบวชท่านก็สามารถพ้นจากบาปได้ เช่น อาหารโรงพยาบาล
    .....ฉะนั้นสรุปแล้ว คงต้องออกบวชบำเพ็ญเป็นผู้ขอแต่เพียงอย่างเดียว ตามคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง.
    .....ผู้น้อยขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล..สาธุ
     
  19. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    ผมุถึงบอก คุณเนตร อิศวร ไงครับว่าศึกษาพระไตรปิฏกก็สำคัญ(มากกว่าคำสอนของพระอาจารย์หรือบุคคลที่คิดว่าเค้าบรรลุเเล้ว(จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้))

    มีภิกษุสมัยพุทธกาลรูปหนึ่งท่านนั่งเรือเเละท่านได้เอามือไปจุ่มน้ำทำให้พืชน้ำขาดเเละไม่ได้ ปลงอาบัติ ทำให้สิ้นเเล้วไปเกิดเป็น นาค ร้องไห้ ต่อหน้า พระพุทธองค์น้อยใจในโชคชะตาตัวเองที่ปฏิบัติดีเเล้ว(น่าจะยังไม่ได้มรรคผลเลยอันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)เเต่ต้องมาเกิดเป็น เดรัจฉาน
    ข้อความนี้คงพอจะอธิบายเรื่อง พรากเขียว เเล้วนะครับ

    พอดีเห็นคุณลมใต้ปีกพูดว่า "ที่มาสอบถามก็เพราะรู้สึกว่าคุณเนตรอิศวรตีข้อธรรมจนลึกซึ้งเกินพอดีไป จนปถุชนปฎิบัติได้ยากตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง ตีลึกเกินไปมันก็เหมือนดาบสองคม อาจทำให้บุคคลท้อถอยในธรรมได้"

    ถูกต้องทุกอย่างถ้าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ล่ะก็เราคงต้องเชื่อตามเเละเเย้งไม่ได้เเต่นี่
    คุณเนตรอิศวร นั้นไม่ได้เอามาจากคำสอนของพระพุทธองค์นะครับ เเต่น่าจะเป็นการเอามาจากอาจารย์หรือการคิดเอาเองหรือเป็นการอธิบายเพิ่มเติมจากพระไตรปิฏกซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตรายนิดนึง ซึ่งก็ไม่ผิด ส่วนใครเห็นชอบด้วยก็ อนุโมทนา ได้เพระไม่ได้ผิดศีลธรรมอันใดเลย เเต่ถ้าใครไม่เชื่อก็ไม่ผิดเเละไม่ต้องเป็นกังวลไปจนทำให้เกิด อุปทาน ในการปฏิบัติธรรมเพราะไม่มีในคำสอนของพระพุทธองค์ว่ากินเนื้อเเล้วบาป

    หรือถ้ามีในคำสอนหรือมีผู้รู้ได้อ่านเจอก็ช่วยบอกด้วยนะครับว่า ผลบาปของการกินเนื้อคืออะไร

    หลายคนบรรลุธรรมเป็นโสดาบันได้ทั้งที่เป็นฆารวาสทั้งๆที่ยังกินเนื้ออยู่เลย

    ถ้ามีข้อไหนผิดช่วยเเย้งด้วยนะครับเพราะบางทีผมก็รู้ไม่ถึงจริงๆ
     
  20. ุเพตารี

    ุเพตารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,048
    ค่าพลัง:
    +800
    คนรุ่นใหม่ๆถึงหนีไปเข้าลัทธิที่ล้างบาปได้ไงครับ
    เพราะเป็นพุทธทำอะไรก็ดูบาปไปหมด


    เจริญในธรรมกันทุกท่านนะครับ
    สาธุการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...