แย่แล้วศีล5ขาดหมดทุกข้อ ทำไงดี

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย ระยับแดด, 9 พฤษภาคม 2011.

  1. ระยับแดด

    ระยับแดด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +117
    ศีลทั้ง ๕ ข้อ คือ
    ๑.ไม่ฆ่า
    ๒.ไม่ลัก
    ๓.ไม่ล่วงในกาม
    ๔.ไม่หลอกลวง
    ๕.ไม่เสพของมึนเมาให้โทษ

    ลองวิเคราะห์ตัวเองดู ปรากฏว่าขาดหมด จะได้เกิดเป็นคนอีกรึป่าวเนี่ย
    มีใครขาดหมดแบบนี้บ้างรึเปล่า รึว่าข้าพเจ้าสิ้นสุดความเป็นมนุษย์ไปแล้ว
     
  2. rasetsacrifa

    rasetsacrifa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +127
    เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะผิดทั้งหมด 5 ข้อในคราวเดียวครับ ถ้าหากว่าเคยผิดมาแล้วขอให้เป็นอดีตไปครับ และเริ่มตั้งใจรักษาศีลใหม่ ค่อยๆเป็นค่อยๆไปนะครับ เพิ่มขึ้นทีละข้อ ผมแนะนำว่า เริ่มจากข้อ 5 ครับ เพราะเป็นข้อที่เป็นต้นเหตุแห่งการทำผิดศีลข้อ 1-4
    แล้วก็สุดท้ายนี้ขอให้คุณไปศึกษาขอบเขตของศีลแต่ละข้อให้ดีครับ แล้วคุณจะเข้าใจว่าถ้ามนุษย์เราทุกคนมีศีลครบ 5 ข้อแบบไม่ขาดตกบกพร่อง ..... กฏหมายไม่จำเป็นต้องมีเลยครับ
     
  3. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +516
    ศีล5น่ะรักษาไม่ยากเลย ถ้าหากว่าคุณมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม เพราะเป็นของปกติที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ
    ทำตามที่คุณ rasetsacrifa แนะนำไปก่อนแล้วคุณก็จะเข้าใจได้เองครับ
    อนุโมทนา สาธุครับ
     
  4. Scorpius

    Scorpius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +647
    ไม่ต้องกังวล ขอให้รักษาศีล 5 ต่อไปเรื่อย ๆ หากทำได้ยาก ก็รักษาไปทีละข้อสองข้อ เก็บเล็กผสมน้อย ถ้าจะให้ดี บวกกุศลธรรมบท 10 เพิ่มเข้าไปด้วย รับรองพ้นอบาย
     
  5. peat101

    peat101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +1,378
    ขาดก็ต่อซะใหม่ ตั้งใจใหม่ได้ ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาดหรอกครับ ^^
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    รักษาศิลอยู่ที่ เจตนา และเหตุผล ที่ถามตัวเองและตอบตัวเองได้ว่ารักษาศิลทำไม แต่ในระดับปุถุชนทั่วไปการรักษาศิล5โดยยังไม่ทราบเหตุผลถ่องแท้ก็เป็นสิ่งที่ควรทำให้ดีที่สุดเพราะมันเป็น กุศล ไม่ใช่อกุศล ย่อมนำพาไปหาสิ่งที่ดีแน่นอน
     
  7. ระยับแดด

    ระยับแดด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +117
    ขออนุโมทนาทุกท่านครับ ผมได้แนวทางต่อศีลแล้ว จาก
    กุศลกรรมบท 10 ประการ

    1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่มีชีวิตให้ตาย และไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า สร้างจิตให้เมตตารักใคร่คน และสัตว์ดิรัจฉาน มีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะให้คน มีความปราศจากทุกข์โดยทั่วหน้ากัน มีความกรุณาสงสารคนและสัตว์ผู้ประสบความทุกข์ยาก งดเว้นการเบียดเบียนให้คนและสัตว์เดือดร้อน เช่น ทำให้อวัยวะ มีแขน ขา เป็นต้น ของคนและสัตว์ให้หักหรือพิการ หรือทรมานสัตว์ให้ได้รับความเหนื่อยยากลำบาก มีมุทิตาพลอยยินดีในเมื่อคนและสัตว์ได้ดี มีลาภ มียศ มีความสุข ความเจริญ งดเว้นจากการอิจฉาริษยาคนและสัตว์ที่ดีกว่าตน และตั้งจิตเป็นอุเบกขาวางเฉย ในเมื่อประสบคนและสัตว์ที่ถึงความปิติ จนไม่สามารถจะช่วยได้ โดยพิจารณาว่าเป็นกรรมของคนและสัตว์นั้นเอง

    2. งดเว้นจากการลักขโมยสิ่งของ ๆ คนและสัตว์ และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลักขโมย ไม่หลอกลวงให้ผู้อื่นต้องเสียทรัพย์และชื่อเสียง

    หมั่นบำเพ็ญทาน และสละทรัพย์ และสิ่งของให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และสาธารณประโยชน์เสมอ ๆ เพื่อทำให้จิตใจบรรเทาเบาบางลงจากความตระหนี่ และความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน

    3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ข่มขืน ทำลามกอนาจาร ล่วงละเมิดสิทธิสตรีและบุรุษอื่น เรียกว่าไม่ทำชู้ในสามีและภรรยาของผู้อื่น พยายามถือสันโดษ ยินดีเฉพาะในภรรยาหรือสามีของตนเท่านั้น ไม่รักหญิงอื่นยิ่งกว่าภรรยาของตน

    แม้สิ่งของใด ๆ ของใคร ๆ ก็ไม่ถือโอกาสเอาไปใช้ หรือแตะต้องก่อนได้รับอนุญาติจากเจ้าของ โดยถือหลักว่า “เมื่อไม่มีสิ่งที่ตัวชอบ จงชอบสิ่งที่ตัวมี”

    4. งดเว้นจากการพูดเท็จ คือ ไม่พูดโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดตามที่ตนพูด เช่น สิ่งใดที่เรารู้เราเห็น เมื่อเขาถาม เรากลับตอบว่าเราไม่รู้เราไม่เห็น และสิ่งใดที่เราไม่รู้ไม่เห็น แต่กลับตอบว่าเรารู้เราเห็น เป็นต้นเช่นนี้

    พยายามพูดแต่คำที่สัตย์จริง หากคำใดเราเห็นว่าพูดออกไปแล้วแม้เป็นความจริง แต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เราก็งดเสียไม่พูดเลย เพราะถ้าไม่พูดคำจริงเราก็พูดเท็จ อันเป็นการทำให้เราเสียกุศลกรรมบถอันนี้

    5. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ได้แก่การฟังข้างนี้ แล้วเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อจะทำลายข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้วเอามาบอกข้างนี้ เพื่อจะทำลายข้างโน้น คือ มุ่งหมายยุยงให้เขาแตกจากกัน ทำลายความพร้อมเพรียงกัน

    ส่งเสริมผู้ที่แตกกันแล้วให้แตกมากยิ่งขึ้น ยินดีเพลิดเพลินในความเป็นพรรคเป็นพวก เข้าข้างพวกโน้นบ้างพวกนี้บ้าง ทำพรรคต่อพรรคให้แตกจากกัน ตั้งใจพูดแต่คำที่จะสมานไมตรีเชื่อมโยงให้คนโน้นคนนี้มีความรักใคร่ นับถือกัน พูดให้พรรคต่อพรรคปรองดองกลมเกลียวสามัคคีกัน ถ้าเห็นว่าจะช่วยให้เขาสามัคคีกันไม่ได้ก็งดเสีย







    6. งดเว้นจากการพูดวาจาหยาบคายที่เผ็ดร้อน ที่เป็นปม เป็นที่ขัดข้องของผู้อื่น เป็นที่ระคายหูของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ยิ่งเป็นคำด่าคำแช่ง แม้แต่กับสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ควรพูดเลย เพราะเป็นการส่อสันดานของตนเองว่าเป็นคนเลว

    พยายามพูดแต่คำที่อ่อนหวาน เรียบร้อย นุ่มนวล ละมุนละไม เป็นที่พอใจชุ่มชื่นเบิกบานใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง

    7. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ งดการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด ในสถานที่ที่เขาไม่ต้องการให้เราพูด การพูดมากไปกว่าความจริง พูดไม่มีเหตุผล พูดวาจาไม่มีหลักฐาน ไม่พูดตามธรรมวินัย พูดไม่รู้จักหยุด แม้ไม่มีใครอยากฟังแล้วก็ยังพูดเรื่อยเปื่อยไปโดยไม่มีประโยชน์

    ต้องใช้สติสัมปชัญญะในการพูดทุกครั้ง ถึงเป็นเรื่องจริงก็ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ พูดให้มีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้ พูดให้ถูกตามธรรมตามวินัย พูดแต่พอเหมาะพอสมควรไม่ให้มากเกินเรื่องราวจนจับไม่ได้ว่าเรื่องอะไร ซึ่งเรียกว่า “พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง” หรือ “พูดกระบุงเอาสักกระบายไม่ได้” ดังนี้ ถ้าเห็นว่าพูดแล้วมีประโยชน์แก่ผู้ฟังจึงพูด ถ้าเห็นว่าพูดแล้วจะไม่มีประโยชน์เลยก็อย่าพูดเสียดีกว่า จงนึกถึงภาษิตโบราณไว้เสมอว่า
    “อันดีชั่วสุดนิยมที่ลมปาก
    จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา

    จะถูกผิดเป็นมนุษย์เพราะพูดจา

    จะเจรจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”

    8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ได้แก่ เมื่อเห็นพัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สอย ทั้งที่มีวิญญาณ และไม่มีวิญญาณของผู้อื่นแล้ว แม้ตนจะชอบพอใจก็ไม่พยายามเพ่งว่า ขอให้สมบัติของผู้นั้นจงมาเป็นของเรา หรือครุ่นคิดแต่ในใจว่า ทำไฉนเราจึงจะได้ทรัพย์สมบัติของผู้นั้นหนอดังนี้

    จงพยายามคิดให้เห็นว่า ทรัพย์สมบัติเครื่องใช้สอยอย่างดีเป็นอันมาก เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นก็เพราะเขาได้ทำความดีเป็นบุญเป็นกุศลมาก่อน แม้ชาตินี้เราไม่เห็นเขาทำอะไร ก็คงเป็นเพราะเขาทำมาแล้วแต่อดีตชาติโน้น ผลจึงเกิดสนองให้เขาเป็นคนมั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติอันน่าปลื้มใจ เช่นนั้นถ้าเราไปโลภอยากได้ของเขา จะทำให้เกิดเป็นบาปแก่ใจ คือเป็นสนิมเกาะกินจิตใจของเราเหมือนสนิมอันเกิดแก่เหล็ก และเกาะกินเนื้อเหล็กฉะนั้น ทำให้จิตใจของเรากร่อนอ่อนกำลังลงไม่สามารถจะทำความดีอย่างอื่นได้

    ควรพยายามแสดงมุทิตาจิตพลอยยินดีต่อผู้นั้น แล้วพยายามบำเพ็ญบุญกุศล เช่นให้ทาน เสียสละความโลภของตนให้เบาบางลง และขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่นในการทำความดีเป็นต้น ผลจะบังเกิดแก่ตนเองในภายหลัง

    9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่คิดอยากให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่จองเวรต่อสัตว์และคนอื่น ไม่ตั้งใจที่จะให้ใคร ๆ เป็นผู้ฉิบหาย หรือวิบัติด้วยประการใด

    แม้จะโกรธเคืองใครบ้าง โดยที่เขามาทำอะไรให้เสียหาย หรือมาด่าว่าให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจ ก็ไม่อาจอาฆาตพยาบาทจองเวรผู้นั้นต่อไปอีก เช่น เขามาทำร้ายเราก็ให้คิดเสียว่า เพราะเราระวังตัวไม่ดีหรือเพราะเราเคยทำร้ายให้เขาเดือดร้อนมาก่อนแล้ว กรรมจึงติดตามมาสนองเรา ขอให้เป็นการใช้หนี้

    กรรมกันสุดสิ้นแต่เพียงชาตินี้เถิด หรือเขามาโกงเงินเรา โดยยืมไปแล้วไม่ใช้คืน หรือเข้าหุ้นกันแล้วเขาโกงไปเสีย เช่นนี้จงคิดว่าเราเคยโกงเขามาแล้วในชาติก่อนโน้น เขาจึงโกงเอาคืนไป ขอให้สิ้นสุดเวรกรรมกันเสียที ตั้งใจแผ่เมตตาให้เขาเหล่านั้นจงเป็นผู้มีความสุขปราศจากทุกข์ มีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด อย่าพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกันเลย พิจารณาให้เห็นโทษว่า การพยาบาทนั้นมันทำให้เราเดือดร้อนกระวนกระวาย กระสับกระส่ายเป็นทุกข์ใจไปคนเดียว เราเป็นผู้ขาดทุนคนเดียวแท้ ๆ จักผ่อนคลายความพยาบาทลงได้มากทีเดียว หรือคิดให้เห็นว่า ความพยาบาทนี้หากจองเวรกันตลอดไปแล้วย่อมไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนงูเห่ากับพังพอน

    10. เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม ได้แก่ เห็นว่าบุญมีจริงบาปมีจริง ผลของบุญมี ผลของบาปมี คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว นรกมี สวรรค์มี และนิพพานก็มี โลกนี้โลกอื่นมี ชาตินี้ชาติหน้ามี

    สัตว์ที่ยังมีกิเลสทำกรรมไว้ ตายแล้วย่อมต้องเกิดเสวยผลของกรรมนั้นอีก ผู้ที่ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุให้ทำกรรมมีจิตสงบบริสุทธิ์หมดจดตายแล้วย่อมไม่ต้องเกิดอีก เพราะหมดเหตุหมดปัจจัยอันจะทำให้เกิดแล้ว

    จงระวังอย่าให้จิตเห็นผิดว่านรกไม่มี สวรรค์ไม่มี นิพพานไม่มี ทำบุญไม่ได้บุญ ทำบาปไม่ได้บาป คนจะดีชั่วก็ดีเองชั่วเอง พ่อแม่ไม่มีตายแล้วก็สูญ เกิดมาแล้วต้องกินให้เต็มที่ สนุกให้เต็มที่ ดังนี้
     
  8. กรุงเก่า

    กรุงเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +335
    กุศลกรรมบท 10 ประการ

    ไม่พอมั้งครับเพราะละเมิดไปแล้วย่อมมีอกุศลกรรมติดคาอยู่ คงต้องใช้หนี้เจ้ากรรมแต่ละรายให้เป็นอโหสิกรรมด้วยมั้งครับ ไม่มีใครหน้าไหนเดินหน้าไปโดยไม่ใช้หนี้เก่าไปบ้าง ก็เดินไปใช้ไปกันทั้งนั้นแหละครับ (ไม่งั้นตัวดึงมันเยอะอ่ะครับ)
     
  9. เทพเมรัย

    เทพเมรัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +81
    ร่วมให้กำลังใจครับ
    ผมอ่านหนังสือพระราชพรหมยาน เรื่องหนีนรก แล้วชอบมาก ทำให้เริ่มสมาทานศีลตามแนวทางของท่าน ท่านบอกว่า การที่เราทำความดีเยี่ยงนี้ ไม่ได้หมายความว่าอกุศลเก่ามันหมดไป แต่ด้วยกุศลใหม่ของเรา(มันมาก) มันทำให้บาปตามไม่ทัน (เราชิงไปสุคติก่อน) ท่านแนะวิธีหนีนรก(ในระดับพระโสดาบัน) โดยละสังโยชน์ 3 ดังนี้
    1 สักกายทิฏฐิ หมั่นรู้สึกในอารมย์เสมอว่า ชีวิตต้องตายแน่ๆ ไม่ว่าเวลาไหนก็ตายได้ (ถ้าทำอารมย์ไปจนถึงขั้นสูง คือเห็น ความไม่มีร่างกาย ความไม่มีตัวตน นั่นเป็นอารมย์พระอรหันต์แล้ว)
    2 วิจิกิจฉา พิจารณาความดีของ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยปัญญาเพื่อให้เกิดความยอมรับนับถือด้วยใจจริง แล้วทำในสิ่งที่ท่านแนะนำ ละในสิ่งที่ท่านกล่าว
    3 สีลัพพตปรามาส ระมัดระวังในศีลเสมอ ทำบ่อยๆอย่างมีเป้าหมาย จนมีศีลเต็มเป็นปกติไม่รู้สึกฝืนใดๆ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นเพิ่มการรักษา กรรมบถ 10 เข้าไปอีก
    ท่านว่าหนีนรกและอบายภูมิได้แน่ๆ ผมก็กำลังพยายามปฏิบัติอยู่ แต่ยังไม่เต็มที่นัก เพราะกิเลสยังมีมากอยู่ ยังไม่หักดิบ มาตกม้าตายก็ศีลข้อ 5 นี่แหละ (ดื่มเมื่อเลิกสมาทานแล้วเท่านั้น)
     
  10. กรุงเก่า

    กรุงเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +335
    ไม่มีพระอริยะองค์ไหน ปฏิบัติไปโดยไม่ใช้หนี้ ในที่นี้หมายถึงการอุทิศส่วนกุศล
    ให้เจ้ากรรมนายเวร ที่มีเวรต่อกันในอดีต ภพใดชาติใดก็ตาม ขอให้ลุเวรลุกรรม
    แก่กัน ไม่ว่าจะเป็นกุศลใดทำแล้วก็เผื่อแผ่ให้เขา ชวนเขามาทำยิ่งดีใหญ่ หากเขา
    อยู่ในภพภูมิที่จะมาทำตามแรงอธิษฐานของเราได้ โอกาสที่จะเป็นอโหสิกรรมสูง
    ถึงเขามาไม่ได้สิ่งศักดิ์สิทธิท่านก็จะอำนวยการส่งส่วนกุศลให้เราได้

    บุญทำมากมันก็ห่างกันจริง แต่ไม่ว่าอยู่ส่วนไหนหากยังเป็นคนอยู่กรรมก็ให้ผลได้หมด
    นั่นแหละ แล้วถ้าคิดทำความดีแต่จะหนีหนี้โดยไม่จ่ายก็คงจะไม่ได้ดีแน่ๆ เอาเป็นว่า
    ทำดีด้วยแล้วก็ใช้หนี้ไปด้วยน่ะดีกว่า ครูบาอาจารย์ก็ทำแบบนี้ทั้งนั้น หลวงพ่อฤาษีท่าน
    ก็ทำไปใช้หนี้ไปเหมือนกัน ดูตัวอย่างหลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงตา บางองค์แม้กระทั่งวาระ
    สุดท้ายยังต้องรับกรรม ทรมานสังขารอยู่เลย องค์ที่เป็นพระอริย ไม่เท่าใดเพราะกายเจ็บ
    แต่ใจท่านไม่ได้เจ็บด้วยเนอะ!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...