เรื่องเด่น เดินตามรอยพระบาท (โอวาท)ในวันวิสาขบูชา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 17 พฤษภาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [​IMG]


    เดินตามรอยพระบาท (โอวาท)ในวันวิสาขบูชา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ล้วนมีวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพาน เกิดขึ้นในวันเดียวกัน และทุกๆพระองค์ล้วนทรงสอนธรรมเพื่อความหลุดพ้นเช่นเดียวกัน ทรงสอนหัวใจพระพุทธศาสนาเหมือนกันทุกๆ พระองค์

    หัวใจพระพุทธศาสนา คือ อะไร ???

    เราชาวพุทธทั่วทุกตัวคน ย่อมรู้ดีว่า หัวใจพุทธศาสนานั้นมีอะไรบ้าง พวกเราท่องจำกันจนขึ้นใจและตอบได้คล่องปาก แต่กลับนำไปปฏิบัติได้ไม่ครบทั้ง ๓ ข้อ

    ส่วนใหญ่แล้วมักจะปฏิบัติกันเพียงข้อ ๑ และข้อ ๒ เท่านั้น แล้วก็คิดกันไปเองว่าพอเพียงแล้วกับการปฏิบัติ เพียงแค่นี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนดีศรีสังคมแล้ว แถมบางคนยังหลงภูมิอกภูมิใจในความดีนั้น ถึงกับมองคนที่ไม่ได้ทำเหมือนตน ว่ามีภูมิธรรมต่ำกว่าตนเสียอีก

    มักพากันเมินข้อ ๓ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะอะไร?
    เพราะเกียจคร้านที่จะลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจังนั่นเอง จิตจึงไม่มีพลังเพียงพอที่จะควบคุมอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นอุปกิเลสที่เข้ามาเป็นแขกจร ทำให้จิตถูกครอบงำและหลงใหลไปตามอารมณ์อุปกิเลสต่างๆได้ง่าย แถมยังหลงใหลได้ปลื้มไปกับภูมิธรรมที่เกิดจากการฟัง ที่ไม่มีจริงในตน หลงใหลได้ปลื้มเฉพาะกับธรรมที่ตนรู้ตนเข้าใจจากความคิดที่ตกผลึกแล้วเท่านั้น โดยไม่เคยพิจารณาเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นจริง กับพระสูตรและพระวินัยเลย ...ฯลฯ...


    พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ที่ทรงอุบัติขึ้นมานั้น ล้วนทรงสอนหัวใจพระพุทธศาสนา เหมือนกันหมดดังนี้ คือ

    ๑.สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือ การไม่ทำบาปให้เกิดขึ้นด้วยประการทั้งปวง
    ๒.กุสลสฺสูปสมฺปทา คือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม
    ๓.สจิตฺตปริโยทปนํ คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    เอตํ พุทฺธาน สาสนํ นี่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆ พระองค์

    สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการปฏิบัติตามพระโอวาทมาอย่างจริงจัง ย่อมพอที่จะแยกออกได้ว่าเป็นเรื่องของ "จิตกับอารมณ์" เท่านั้น ในพระพุทธศาสนาไม่มีอะไรอื่น นอกเหนือไปจากการสอนเรื่อง "จิตกับอารมณ์" นี้เลย

    ผู้ปฏิบัติจะเห็นได้เองว่า หัวใจพระพุทธศาสนาในข้อ ๑ และข้อ ๒ นั้น พูดถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่จิตที่เป็นฝ่ายอกุศล (อกุศลจิต) และอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต ที่เป็นฝ่ายกุศล (กุศลจิต) ตามลำดับ

    ส่วนในข้อ ๓ นั้น พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า “จิต” ของผู้ปฏิบัติ สามารถชำระให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ปราศจากอุปกิเลสทั้งหลาย(กุศลและอกุศล) ได้จริง และพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ก็ตรัสเช่นเดียวกัน


    ปัญหาหลักอยู่ตรงที่ว่า เราจะทำอย่างไร? จึงจะชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว หลุดพ้นจากการถูกครอบงำด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทานที่ทำให้จิตของเราเศร้าหมอง

    เหตุเพราะจิตของเราชอบแส่ส่าย กวัดแกว่ง กลอกกลิ้ง ดิ้นรน ฯลฯ ออกไปรู้รับอารมณ์ต่างๆ และยึดถือเข้ามาสู่จิตของตน จนเกิดความความเศร้าหมองขึ้นที่จิตนั่นเอง

    การปฏิบัติเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองได้มากเพียงไร จิตของเราก็จะมีพลังอำนาจมากยิ่งขึ้นในการที่จะต่อสู้ฟาดฟันกับอุปกิเลสทั้งหลาย อันนี้คือผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเพื่อชำระจิตของเรา ในข้อที่ ๓ นั่นเอง


    มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า เดิมทีนั้น จิตมีสภาพประภัสสรผ่องใส ที่เศร้าหมองไป เหตุเพราะมีกิเลสเป็นแขกจรเข้ามาในภายหลัง

    จะทำอย่างไร ให้จิตไม่เศร้าหมองเพราะกิเลสเป็นแขกจร ???

    ผู้ที่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนามาพอสมควร ย่อมรู้ดีว่ามีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึง ทางอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ (คือผู้ที่ติดข้องในอารมณ์) ทั้งหลาย ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง เมื่อยังมีผู้เดินตามทางนี้ (อริยมรรค ๘) อยู่ โลกย่อมไม่ว่างเว้นจากพระอรหันต์

    ในการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น พระองค์ทรงกล่าวไว้ในมหาจัตตารีสักกสูตร ทรงเชิดเอา สัมมาสมาธิ เป็นใหญ่เป็นประธานในมรรคทั้งหลาย และที่เหลือจากนั้นอีก ๗ องค์ ทรงให้สัมมาทิฐิ (รู้เห็นตามความเป็นจริง) เป็นใหญ่เป็นประธาน

    องค์แห่งสมาธินั้น ประกอบไปด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นั่นคือ เมื่อทั้ง ๓ องค์ทำหน้าที่ร่วมกัน จิตย่อมรวมตัวลงเป็นสมาธิ ตั้งมั่นชอบโดยลำพังตนเองได้ โดยไม่ต้องอิงอาศัยอารมณ์ใดๆ (รูปฌาน อรูปฌาน) ทั้งสิ้น


    เมื่อได้พิจารณาองค์ประกอบแห่ง องค์สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา) เทียบเคียงกับพระโอวาทซึ่งเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา (ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องแผ้ว) แล้ว ด้วยความรอบคอบไม่ประมาท จะเห็นว่าลงกันได้เป็นอย่างดี ดังรายละเอียด ต่อไปนี้


    สัมมาวายามะ เป็นไฉน???
    ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้เพื่อที่จะ
    -ละบาปที่ยังไม่เกิดขึ้น-ไม่ให้เกิด
    -ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
    -ยังกุศลที่ยังไม่เกิด-ให้เกิดขึ้น
    -ยังกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว-ให้เจริญงอกงาม

    เราพอจะเห็นเค้าเงื่อนได้ว่า องค์แห่ง สัมมาวายามะ นั้น เป็นการปฏิบัติตามหัวใจพุทธศาสนา
    ในข้อ ๑ ละบาปทั้งปวง (ละชั่ว)
    และข้อ ๒ สร้างกุศลให้เกิดขึ้น (ทำดี)


    สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติภาวนาต้องมีเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพื่อทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น และเพื่อให้เข้าถึงหัวใจพระพุทธศาสนาในข้อที่ ๓ ซึ่งต้องอาศัยองค์ธรรมอีกสององค์ประกอบด้วย คือ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ (หรือ อธิจิตตสิกขา)


    สัมมาสติ เป็นไฉน???
    ตั้งสติไว้ ณ ที่ฐานกาย เวทนา จิต ธรรม หรือที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ คือ ฐานที่ตั้งของสติที่ต้องเจริญให้เกิดขึ้นที่จิตอย่างต่อเนื่อง เนืองๆไม่ขาดสาย ในที่สุด โดยต้องเริ่มต้นด้วยการนั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา อานาปานสติ พิจารณาจากกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เพื่อให้เข้าถึงจิตที่เป็นธรรมอันเอก ณ.ภายใน ผุดขึ้นมาให้ประจักษ์ชัด


    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน??? หรือ อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
    เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มี”สติ”อยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
    โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ หรือ อธิจิตตสิกขา ฯ



    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้อย่างชัดเจนว่า
    สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถา ภูตํ ปชานาติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว (สัมมาสมาธิ) ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง (สัมมาทิฐิ) ดังนี้


    นั่นคือ เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างจริงจัง จากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามา จนจิตของตนมีฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน) อย่างมั่นคงหรือมีกรรมฐานแล้ว ย่อมต้องคอยประคองจิตของตนไม่ให้แส่ส่าย กวัดแกว่ง กลอกกลิ้ง ดิ้นรนฯลฯ ออกไปหาอารมณ์อุปกิเลสทั้งหลาย ที่ทำให้จิตของตนเศร้าหมอง ยิ่งประคองจิตของตนได้มากเท่าไหร่ ยิ่งปล่อยวางอารมณ์ได้มากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น

    ซึ่งอันนี้ต้องอาศัยความเพียรอย่างยิ่งในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาให้เกิดความชำนาญ เพื่อจะได้รู้เห็นตามความเป็นจริง ( ปัญญา) เมื่อมีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว (สมาธิอบรมปัญญา) ก็อาศัยพลังปัญญาที่เกิดขึ้นจากการได้รู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น นำมาเพื่อปล่อยวางอารมณ์อุปกิเลสทั้งหลายออกไปจากจิตของตน (ปัญญาอบรมสมาธิ)


    สรุป พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ที่ทรงอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ล้วนทรงสอนเรื่องอธิจิต (อธิจิตฺเต) หรือการชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งสิ้น โดยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา (อธิจิตตสิกขา) เพื่อให้จิตเกิดปัญญา หลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ไม่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสเป็นแขกจร

    ขออนุโมทนากับผู้ปฏิบัติทุกๆท่าน
    ขอให้เจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้น

    ธรรมภูต

     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    อัญญเดียรถีย์ นิยมการกล่าว สิ่งที่พระพุทธองค์ไม่ไดบัญญัติว่า บัญญัติ ซึ่งเป็นการ
    กล่าวตู่พระพุทธองค์

    อย่าพึงหลงคารมของกบฏศาสนา ที่อาศัยถ้อยคำเล็กน้อย สอดใส่ แฝงเร้นเอาไว้

    จากบทความข้างต้น สิ่งที่กบฏศาสนาผู้นี้พยายามสอดใส่ สิ่งแปลกปลอมเข้ามานั้น
    ไม่ได้ยากเย็นอะไรที่ท่านทั้งหลายจะพึงสังเกตได้

    ประโยคดังกล่าวคือ หัวใจที่บิดเบือน ชูขึ้นเป็นประเด็น และเป็นการกล่าวตู่ อย่างโจ่งแจ้ง
    เพื่อให้คล้อยๆตาม และนำไปสู่การ ปิดบัง ตัดทอน สาระสำคัญอื่น

    การที่เขากล่าวให้มี ธรรมเพียงสองสิ่งคือ จิต กับ อารมณ์ เป้าหมายคือ ให้เราเห็นภัยใน
    ส่วนอารมณ์แล้วยึดถือเอา จิตว่าเที่ยง ว่าจิตเป็นปรมัตถ หรือ อาตมัน

    เราทราบกันดีว่า อมตะธรรม ของพระพุทธองค์นั้นตรัสไว้อย่างไร

    "กายคตาสติ ชื่อว่า อมตะธรรม"

    ใช้พุทธพจน์เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ที่จะพิสูจน์ว่า พระพุทธศาสนากล่าวอะไรบ้าง

    กรณี องค์สมาธิ ที่เขาพาลดเลี้ยวคดในข้อว่าประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ แล้วยกเบี่ยงไปเรื่อง "อธิจิตตสิกขา" ก่อนจะมาอธิบายสัมมาวายามะ
    คือ -ละบาปที่ยังไม่เกิดขึ้น-ไม่ให้เกิด -ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว -ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด
    ขึ้น -ยังกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว-ให้เจริญงอกงาม สาธุชนทั้งหลายย่อมไม่โง เพราะเรื่อง
    ของ กรรม ละบาป ละอกุศล ทำกุศล นั้นคือเรื่องของการตบแต่ง สังขาร3 คือ กายสังขาร
    วจีสังขาร และ จิตสังขาร ซึ่ง กาย กับ วจี คือเรื่องของกาย มีแต่ จิตสังขารเท่านั้น
    เป็นเรื่องของจิต+อารมณ์ จะเห็นว่า เขาซ่อนหรือแกล้งเบือนเรื่อง "กายคตาสติ" ไปอีก
    เพื่อไม่ให้เข้าถึง "อมตะธรรม"

    การยกกล่าวเรื่อง อานาปานสติ ซึ่งเป็น กรรมฐานอันเอก กบฏศาสนาก็ใช้วิธี
    ยกอ้างเพียงเล็กน้อย พอเป็นพิธี ทั้งนี้เพราะว่า ต้องการปิกบังซ่อนเร้นส่วนสำคัญ
    เช่นกัน

    จะเห็นว่า ประโยคสีแดงคือ ถ้อยคำที่แอบเขียนต่อเนื่อง ไม่มีการวรรค
    เพื่อให้เข้าใจผิดว่า แค่นี้ก็เพียงพอแล้วต่อการปฏิบัติ หรือ ศึกษา แต่
    ที่จริงแล้ว มุ่งเน้นการปิดบังใจความสำคัญที่พระพุทธองค์กล่าวว่า

    อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่มี สัมปชัญญะ ไม่ใช่ไม่มีสัมปชัญญะ
    และ การมีสัมปชัญญะ นี่แหละ คือ องค์ประกอบสำคัญของอานาปานสติ

    จากบทความของกบฏศาสนาดังกล่าว จะเห็นว่า จะรีบร้อน เรียบเรียงให้ เพื่อซ่อนเร้น
    สาระสำคัญให้หายไป ดูเผินๆคิดว่า กล่าวเรื่อง สติปัฏฐาน4 แต่จริงๆ คือมีลับลมคมใน

    ถ้าพวกท่าน เผลอหลงคารมณ์พวก กบฏศาสนา ไปเพียงนิดเดียว ท่านจะทิ้ง สัมปชัญญะ
    คือการรู้เนื้อรู้ตัว อยู่กับ "กายคตา" ไปทันที แน่นอนเลยว่า จะต้องตกไปเป็น "พรหม"
    แน่นอนยามทำกาละ(กริยาตาย) ขอให้ท่านอย่าพลาด สิ่งสำคัญ ที่พระพุทธองค์ประธาน
    ไว้ให้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    กายคตาสติ เสาหลักของจิต

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน
    มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง
    คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง
    จับจรเข้… จับนก… จับสุนัขบ้าน…จับสุนัขจิ้งจอก…
    และ จับลิงมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ
    ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อน หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง


    <HR>ภิกษุทั้งหลาย !
    ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน
    ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ
    งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ
    สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า
    ภิกษุทั้งหลาย !
    ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น
    มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไป
    ยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง
    ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
    ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ
    รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
    หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
    เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
    จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
    กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
    ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ
    รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
    กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ
    สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
    และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ
    ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง


    <HR>ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย !
    คำว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้ เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ


    <HR>ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า
    “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก
    กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้
    เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -ตกลงใครเป็น ลูกศิษย์พระเทวทัต
    -ก็รู้กันอยู่ว่า ธรรม ทั้งหลายเกิดจากจิต
    -กิเลส ทั้งหลายเกิดจากอารมณ์
    -อธิบายเพิ่มเติมด้วยท่านผู้มีธรรมใน ใบลาน
     
  5. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    คุณ ongsathit1 ครับ ช่วยอธิบายให้ทราบด้วยว่า จิตคืออะไร ไม่เอาลักษณะพระอภิธรรม เอาลักษณะธรรมชาติทั่วๆไปที่อ่านแล้วอ๋อๆ
     
  6. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -เมื่อท่านยังไม่รู้ หรือ รู้แล้วแต่ต่างไป ก็จะได้เทียบเคียง
    -จิต คือความ รู้สึก นึกคิด ในธาตุ 4 ขันธ์ 5 จิต กับ สติ ไม่เหมือนกัน แต่อยู่ด้วยกัน
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [​IMG]

    เริ่องหัวใจพระพุทธศาสนานั้น เมื่อกล่าวออกมาแล้วดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ

    แต่แท้ที่จริงแล้ว การจะชำระจิตให้กลายเป็นโลกุตตรจิตนั้น

    ต้องอาศัยความเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเข้าถึงโลกุตตรธรรม(อมตธรรม)

    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในสัมมาปฏิบัติยิ่งๆขึ้นครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. ampmobile

    ampmobile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +113
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ผู้ซึ่งไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
    ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พระองค์นั้น
     
  9. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    แต่หลัก"โอวาทปาติโมกข์" นี้ เป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ เนื่องใน วันมาฆบูชา
    มิได้เกี่ยวเนื่องกับกับ วันวิสาขบูชา แต่สิ่งนี้ก็เป็นวันสมมุติ ธรรมอันเป็นวิมุติล้วนถึงกันหมด

    วันวิสาขบูชา เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน

    วันประสูติ พระโพธิสัตว์ได้ทรงบันลือสีหนาทเปล่งอาสภิวาจา
    ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหมว่า

    “อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ

    แปลว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก
    เราเป็นเจริญที่สุดในโลก ความเกิดของเรานี้ เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ของเราไม่มีอีก”


    วันตรัสรู้

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมาร ภิกษุผู้ปรารถนาจะประหารมาร พึงสลัดเหยื่อแห่งมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมาร และทำลายกำลังพลแห่งมารเสีย

    ภิกษุทั้งหลาย! เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม! เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริคำนึงถึงนั้นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉะนี้ กามเอย! เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”


    วันปรินิพพาน พระองค์ทรงตรัสพระปัจฉิมโอวาท เตือนเป็นครั้งสุดท้ายว่า

    ...หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ...

    แปลว่า : ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราจักเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า "สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา. พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"


    คัดลอกมาโดยสังเขป
     
  10. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    656
    ค่าพลัง:
    +2,459
    ขอนอบน้อมศรัทธาในพระรัตนตรัย..พ่อแม่ครูบาอาจารย์..
    ด้วยรู้ซึ้งในพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ..ประเสริฐยิ่งแล้ว

    หากมีบุญได้เกิดเป็นมนุษย์ ขอให้ได้พบพุทธศาสนา พ่อแม่ครูบาอาจารย์
    และได้บวชเพื่อบรรลุธรรม..นำสู่พระนิพพานทุกชาติไป สาธุ สาธุ สาธุ
     
  11. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072

    <object width="640" height="390"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/WulJJjXpvdM?fs=1&amp;hl=th_TH&fs=1&;autoplay=1"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/WulJJjXpvdM?fs=1&amp;hl=th_TH&fs=1&;autoplay=1" type="application/x-shockwave-flash" width="640" height="390" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>​
     
  12. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุขออนุโมทนากับคุณธรรมภูตเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่าน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ว่าด้วยสิกขา ๓
    [๔๖] คำว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมาพึงศึกษาในศาสนานี้แหละ มีความว่า คำว่า
    เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เพราะเห็น
    โทษนั้นในกามทั้งหลาย. คำว่าพึงศึกษา มีความว่า พึงศึกษาสิกขาทั้ง ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑
    อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑.
    อธิศีลสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวม
    ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา
    อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีล ที่ตั้ง เบื้องต้น เบื้องบาท ความ
    สำรวม ความระวัง ปาก ประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา.

    อธิจิตตสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. เพราะวิตกและวิจารสงบไป
    จึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี
    ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
    ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
    อยู่เป็นสุข. เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌานไม่
    มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา.


    อธิปัญญาสิกขา เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา
    อันให้ถึงความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุ
    นั้น ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี
    ปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
    นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา.
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:สมัยหนึ่ง
    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
    ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคครองอันตราวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถีเวลาเช้า.
    แม้ท่านพระราหุลก็ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์.
    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า
    ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอดีต เป็นอนาคต และเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี
    รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.
    พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่พระสุคต รูปเท่านั้นหรือ?
    พ. ดูกรราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ.

    [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มีพระภาคทรงโอวาท
    ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตเล่า
    ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้วนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง.
    ท่านพระสารีบุตรได้เห็นท่านพระราหุลผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่งแล้ว
    บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า อานาปานสติภาวนา
    ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    ครั้งนั้น เวลาเย็นท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
    อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผล มีอานิสงส์?

    อานาปานสติภาวนา
    [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
    เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่.
    ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไรทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?
    ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง
    ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า.
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.
    ดูกรราหุลอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ อันมีในภายหลัง
    อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไปหาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
    จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.

    *****
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้นฯลฯ

    *****
    ทรงให้ปฏิบัติกายคตาสติ(ระลึกรู้เข้าไปที่กาย) หรือพิจารณากายในกายนั่นเอง ลมหายใจนั้นก็เป็นกายสังขาร การระลึกเข้าไปในกายนั้น
    เป็นการปฏิบัติสัมมาสมาธิในองค์มรรค เพื่อฝึกอบรมกาย ฝึกอบรมจิต ให้จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว จิตไม่กวัดแกว่ง จิตไม่แล่นไปตามอตีตารมณ์
    และจิตไม่แล่นไปในอนาคตารมณ์ด้วย จิตรู้อยู่ที่กายคตาสติหรือกายในกาย ซึ่งเป็นปัจจุบันขณะ
    จิตย่อมรู้อยู่เห็นอยู่ ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของตน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
    แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ
    ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์
    ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
    ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ
    ^
    ^
    กายคตาสติ อานาปานสติ พิจารณากายในกาย ล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนฺติ
    จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปุเรนฺติ
    สตฺต โพชฺฌงคา ภาวิตา พหุลีกตา วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปุเรนฺติ.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์

    สติปัฏฐานสี่นี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์

    โพชฌงค์เจ็ดนี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำวิชชาจิตหลุดพ้นทุกข์ให้บริบูรณ์ ดังนี้

    ^
    ^
    กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ(กายคตาสติ)นี้
    ถ้าทำให้เกิดขึ้น(อบรม) ทำให้บ่อยๆ(มาก)แล้ว ย่อมได้ชื่อว่า
    ทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์(กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม)
     
  16. คนรักชาติ

    คนรักชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +181
    ขอบารมีพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยะทุกพระองค์ พระโพธิสัตย์ทุกพระองค์โดยมีบุญบารมีของหลวงปู่ดู่และหลวงปู่ทวดเป็นที่สุดช่วยดลบันดาลให้จิตข้าพเจ้าฝากกระแสจิตไว้กับบุญบารมีของผู้โพสกระทู้ และผู้ตอบกระทู้ ข้าพเจ้าอยากมีส่วนร่วมกับบุญบารมีของพวกท่านทั้งบุญบารมีในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    พุทธังอนันตัง ธัมมังจักรวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจะโยโหตุ
     
  17. ลึกล้ำ

    ลึกล้ำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +11
    สาธุ อนุโมทนา แด่ท่านทั้งหลายผู้เจริญในธรรม
    และแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
    สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...