หลักฐานการเลิกฝึกสมาธิลูกแก้วของหลวงพ่อสดจากหลวงพ่อจรัล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย โอมศิวะ, 28 มิถุนายน 2009.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ท่านวัดอัมพวัน กล่าวไม่จริงในเรื่องหลวงปู่สด ??????!!!!!

    เหตุจากนิยายที่แต่งขึ้น เพื่อให้ความเท็จแก่หลวงปู่สด<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->คิดไม่ถึง ไม่น่าเชื่อ เป็นได้ไง ! โปรดพินิจพิเคราะห์ตามกลักกาลามสูตร แล้วจะเห็นแจ้ง

    ท่านป่าม่วงVS นิยายตุ๊กตาผล VS บรรยายธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว เป็นดังนี้คือ:

    ๑.ท่านป่าม่วงเกิดเมื่อ ปี ๒๔๗๑ ที่สารขัณฑ์ประเทศ



    ๒.ท่านป่าม่วงอุปสมบทเมื่อ ปี ๒๔๙๑ ณ วัดพรหมบุรี สิงห์นคร ขณะที่มีอายุ๑๙ ปี ๘ เดือน (เพราะปี ๒๔๘๓ หายไป ๓ เดือน คือเดือน มกรคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม โดยทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของประเทศไทยจากวันที่ ๑๓ เมษายน ไปเป็นวันที่ ๑ มกราคม ตามอย่างสากล โดยถือเอาปี ๒๔๘๔ เป็นปีแรก

    2.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี เพราะได้นับรวมอายุที่ในท้องแม่ประมาณ ๑๐ เดือน
    แต่คิดเพิ่ม ๑ ปี จึงเป็นมีอายุ ๒๐ปี ๘ เดือน



    ๓.ท่านป่าม่วงสำเร็จมัธยมปีที่๔จากโรงเรียนสุวิทดารามาส เมื่อ ปี ๒๔๘๗
    3.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าท่านป่าม่วงเรียนมัธยมปีที่ ๔ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ แต่ไม่ปรากฏชื่อโรงเรียนสวนกุหลาบในประวัติท่านป่าม่วง



    ๔. ศึกษาดนตรีไทย มีปี่พาทย์มอญ แตรวงเครื่องสาย การประพันธ์บทขับร้อง จากโยมบิดาและคุณหลวงธารา ต่อมาคุณปู่ พันตรี หลวงธารา ได้นำพระคุณเจ้าเข้าฝากตัวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนนายตำรวจ พระคุณเจ้าศึกษาอยู่ประมาณ ๑ เดือน จึงขอลาออกเนื่องจากไม่ถูกอัธยาศัยในวิชานี้

    4.แต่นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าเรียนดนตรีไทยกับหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ต่อมาหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้พาไปพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อขอให้ฝากเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ท่านป่าม่วงเรียนนายร้อยตำรวจเพียงสามเดือน ก็ขอลาออก โดยอ้างว่าโดนรุ่นพี่กลั่นแกล้ง

    ยิ่งกว่านี้นิยายตุ๊กตาผลยังบอกต่อไปว่า หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้พาไปเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม และบอกว่าจอมพล ป. พาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เพื่อเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ในประวัติท่านป่าม่วงไม่ได้เป็นศิษย์หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ดังนั้นเรื่องที่ว่าจอมพล ป. พาเข้าเฝ้า *สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์นั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เป็นการไม่สมควร เป็นการอาจเอื้อมเบื้องสูง*



    ๕. ปี ๒๔๙๑ ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐาน (จากหนังสือเลื่อนสมณศักดิ์ชั้นเทพ)

    5.แต่ในหนังสือกฎแห่งกรรม...เล่ม ๑ บอกว่า ศึกษาพระธรรมวินัย เพียงอย่างเดียว



    ๖. ปี ๒๔๙๓ ศึกษากัมมัฏฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อำเภอหนองโพธิ์
    จังหวัดนครสวรรค์

    6.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อเดิม ระหว่างปลายปี ๒๔๙๑ - ต้นปี ๒๔๙๒ เป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเดิม และได้เรียนวิชาคชศาสตร์เป็นคนแรกและคนสุดท้าย”
    แต่มีข้อสังเกตนิดหนึ่งที่นิยายตุ๊กตาผล ไม่ได้กล่าวถึงกิจที่หลวงพ่อเดิม ท่านตื่นที ๔ เพื่อปฏิบัติกรรมฐานทุกวัน และมีหนังสือ๒ เล่มติดตัวหลวงพ่อเดิมอยู่ตลอดเวลาคือ ๑. มูลสมถะและทางวิปัสสนา และพระอภิธรรมภายใน(รัตนะและคณะ, ๒๕๔๖(?), พระอภิญญาเมืองสยาม, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฉัตรแก้ว,หน้า๑๘).



    ๗.ปี ๒๔๙๓ ศึกษาและ “ปฏิบัติสมถกรรมฐาน” วิชชาธรรมกาย กับพระภาวนาโกศลเถระ(สด จันฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (จากหนังสือเลื่อนสมณะศักดิ์ชั้นเทพ..... ๒๕๔๔)

    7.1ตรงกันกับที่ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้วเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่ามาเรียนวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำปี ๒๔๙๓และสำเร็จวิชชาธรรมกายในปีนั้นด้วย

    7.2 ตรงกับนิยายตุ๊กตาผลที่บ่งบอกว่า ท่านป่าม่วงเรียนวิชชาธรรมกาย กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ครั้งแรก ปี ๒๔๙๓ แต่ต่างกันที่ตุ๊กตาผลไม่ได้บอกว่าท่านป่าม่วงสำเร็จวิชชาธรรมกายในปี ๒๔๙๓



    ๘. ในประวัติท่านป่าม่วงไม่พูดถึงหลวงปู่ศุขวัดมะขามเลย

    8. แต่นิยายตุ๊กตาผล บอกว่าไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงปู่ศุขโดยตรง ทั้งๆที่หลวงปู่ศุขมรณภาพ

    ก่อนท่านป่าม่วงเกิดประมาณประมาณ๕ปีครึ่ง คือหลวงปู่ศุข มรณภาพ ปี ๒๔๖๖ .(ประเจียด คงศาสตรา,...๒๕๓๕(?) ,ประวัติ อภินิหาร คาถาอาคม และพระเครื่อง หลวงปู่ศุข วัดคลองมะขามเฒ่า, พิมพ์ครั้งที่ ๑ ,กรุงเทพฯ:สำนักงานนิตยสารโอม, หน้า๕๐) ส่วนท่านป่าม่วงเกิดปี ๒๔๗๑



    ๙. ปี๒๔๙๔ ศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานกับพระสุทธิธรรมรังสี(หลวงพ่อลี ธมฺมโร) วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเจ้าพระคุณอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดข่อนแก่น
    9.นิยายตุ๊กตาผล บอกว่าเรียนสะเดาะกุญแจกับหลวงพ่อลี และติดตามหลวงพ่อลีไปวัดบางปิ้ง ทั้งที่ปี ๒๔๙๔ วัดอโศการามยังไม่เกิด นางกิมหงษ์และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินชื่อ “นามาขาว” เนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อปี ๒๔๙๗ ได้ตั้งเป็นสำนักขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ (พระประวัติ พระสุทธิธรรมรังสัมภีรเมธาจารย์ ,๒๕๑๔, หน้า๙๔)

    ที่สำคัญท่านพ่อลีไม่เคยธุดงค์ผ่านถิ่นท่านป่าม่วง ท่านพ่อลีไม่สนใจเดรัจฉานวิชา ท่านสอนไม่ให้คนเชื่อผี ท่านมีบารมีด้านพระธาตุเป็นพิเศษ *โดยเฉพาะ ท่านเตรียมเดินทางไปทางประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ ออกเดินทางไปพม่าตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วเดินทางต่อไปจำพรรษาที่ประเทศอินเดีย ออกพรรษาแล้ว เดินทางกลับพม่า ท่านเดินทางกลับประเทศไทยในเดือน ธันวาคม ๒๔๙๔ และพักอยู่กับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน) ที่วัดบรมนิเวส ได้ตรึกตรองอยู่หลายวัน เกือบๆจะได้รับอนุญาตให้เดินทางจึงเดินทางไปพม่าอีก* ก็เผอิญมีบางเรื่องบางอย่างแทรกซึมเข้ามา ............ จึงได้เดินทางกลับไปเยี่ยมญาติโยมที่จังหวัดจันทบุรี อยู่มาจวนจะเข้าพรรษาก็ได้เดินทางจากจันทบุรี กลับมาพักอยู่ที่วัดบรมนิเวสตามเคย{ พระประวัติ พระสุทธิธรรมรังสัมภีรเมธาจารย์(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) ซึ่งท่านพ่อลีเล่าเอง พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๕ หน้า ๖๔ –๖๘ [หนังสือเล่มนี้ พลโท(ยศขณะนั้น) พงษ์ ปุณณกัณต์ เป็นประธานจัดพิมพ์] วัดอโศการาม โทร ๐๒ ๓๘๙-๒๒๙๙, ๐๒ ๓๙๕-๐๐๐๓ }

    จะเห็นว่าทั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ จนหมดปี ๒๔๙๔ ท่านพ่อลีไม่ว่าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านป่าม่วงจะมีโอกาสพบท่านพ่อลีที่ถิ่นท่านป่าม่วง อีกประการหนึ่งท่านพ่อลีสอนกรรมฐานโดยใช้อานาปานสติ ซึ่งท่านป่าม่วงบอกว่ารู้สึกขยาดกรรมฐานอานาปานสติของหลวงพ่อพูน แล้วจะมาเรียนกรรมฐานกับท่านพ่อลีได้อย่างไร? ไม่เข้าใจว่าทำไมได้เขียนเรื่องแบบนี้ลงไปในประวัติของตนและในตุ๊กตาผล ทั้งๆเรื่องนี้สามารถพิสูจน์ทราบได้ไม่ยากว่าว่าเป็นไปไม่ได้ อยากให้ช่วยกันวิจารณ์ว่า อะไรเป็นเหตุให้เขียนเรื่องที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือเป็นว่าเป็นนโยบายที่บอกให้ใครๆทราบว่า ท่านป่าม่วงมีพระอาจารย์ดังทุกสาย



    ๑๐. ปี ๒๔๙๖ ท่านป่าม่วง ศึกษา *วิชาสมถวิปัสสนา* กับพระภาวนาโกศลเถร (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ. ธนบุรี (หนังสือกฏแห่งกรรม.......... เล่ม ๑ ) เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ตรงกับข้อมูลหนังสือที่ระลึกในงานเลื่อนสมณะศักดิ์ชั้นเทพ ที่บอกว่า ปี ๒๔๙๓ ศึกษาและ*ปฏิบัติสมถกรรมฐาน* วิชชาธรรมกาย กับ พระภาวนาโกศลเถระ (สด จันทฺสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี
    10. ที่แปลกเอามาก ๆ ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ท่านป่าม่วงเขียนจดหมายเรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดปากน้ำว่าเคยมาเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อวัดปากน้ำในปี ๒๔๙๖ (หนังสือ..ชั้นเทพ หน้าโมทนาพจน์ ๓) ซึ่งแสดงว่าต้องมาเรียนวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ๒ ครั้ง คือครั้งแรก ๒๔๙๓ และครั้งสอง มาเรียน ๒๔๙๖ น่าเสียดายที่ท่านป่าม่วงไม่ได้เรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดปากน้ำอย่างตรงไปตรงมา ว่าเคยมาเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ ๒ ครั้ง คือครั้งแรกมาเรียนปี ๒๔๙๓ ครั้งที่๒ เรียนในปี ๒๔๙๖ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง



    ๑๑. ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่ามาเรียนวิชชาธรรมกายเมื่อ ปี ๒๔๙๓ และบอกว่าตนได้ธรรมกายบนรถเมล์ขาว ในปีนั้นด้วย และบอกว่าเห็นคนสิงห์บุรี ๓* คน กำลังกราบหน้า พระรูปรัชการที่๑
    11.แต่ที่น่าสังเกต ในนิยายตุ๊กตาผลบอกว่าพอสำเร็จวิชชาธรรมกาย ก็มองว่าเห็นคนสิงห์บุรี ๑ *คน อยู่หน้าพระรูปรัชกาลที่๑ ทำไมจำนวนคนที่เห็นไม่เท่ากัน ในเมื่ออยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน นี้ต่างกันถึง ๒ คน
    นิยายตุ๊กตาผลนั้นบ่งชี้ว่าท่านป่าม่วงอ้างว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายในปี ๒๔๙๖ ไม่ใช่ปี ๒๔๙๓

    *ที่ว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายนั้น ขอบอกว่าไม่ใช่ การสำเร็จวิชชาธรรมกายนั้น จะต้องเดิน ๑๘ กายได้แบบทั้งรู้ทั้งเห็น จึงจะถือว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายตามคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ*

    แก้ไขเมื่อ 18 ส.ค. 49 17:44:04

    จากคุณ : ธารณธรรม - [ 18 ส.ค. 49 17:23:44 ]

    ----------------------------------------------------------



    ๑๒. ปี ๒๔๙๗ ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กับเจ้าคุณอาจารย์พระอุดมวิชาญาณเถระ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร ต่อมาเป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าคณะภาค๙(พระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)

    12.นิยายมักกะลีผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงเรียนกรรมฐานกับท่านเจ้าคุณโชดกเมื่อ“เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม ๒๔๙๗” ดังนั้นท่านป่าม่วงต้องได้ฟังการเทศน์ลำดับญาณปลายเดือนตุลาคม ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่วัดระฆังเพื่อเรียนอภิธรรมที่วัดระฆังเป็นเวลา ๓ เดือน

    จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านป่าม่วงจะได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี เพราะพระองค์ท่านทรงเริ่มปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ หลักสูตร ๑ เดือน ดังนั้นการบอกใครๆ เขียนในเว็บ หรือ**เขียนประกาศว่าฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี นั้นเป็นการอาจเอื้อมเบื้องสูงโดยแท้ ถ้ามีการเอาเรื่องนี้ขึ้นสู่โรงศาล คงมีคนต้องคดีหลายคน**

    *และเป็นไปไม่ได้ที่ได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบหนอเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ หลักสูตร ๑ เดือน เพราะท่านป่าม่วงออกจากวัดมหาธาตุไปแล้วประมาณ ๓-๔ เดือน เพราะการฟังเทศน์ลำดับญาณนั้น เขาฟังกันเฉพาะผู้ที่บรรลุญาณ ๑๖ ใหม่ ๆ ไม่ใช่จบไปตั้งนานแล้วกลับมาฟังพร้อมผู้เพิ่งจบ* ไม่มีสำนักปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอที่ไหนเขาปฏิบัติกัน

    ***ดังนั้นเรื่องที่บอกว่าได้ฟังได้ยินเรื่องที่หลวงพ่อวัดปากน้ำพูดกับเจ้าคุณโชดก จึงเป็นไปไม่ได้ เป็นการจินตนาการเขียนเอาเอง***

    เป็นที่ทราบกันดีสำหรับพวกปฏิบัติกรรมฐานสายหนอ ว่าสำนักวิเวกอาศรม ชลบุรี สมัยที่พระอาจารย์อาสภเถระเป็นเจ้าสำนัก หลวงพ่อเดือนเป็นผู้ช่วยนั้น ทางสำนักวิเวกอาศรมไม่รับรองผู้ที่ต้นสำนักท่านป่าม่วงบอกว่าบรรลุญาณ ๑๖ เพราะเคยมีตัวอย่างที่ต้นสำนักรับรองสามเณรรูปหนึ่งเข้าใจว่าเป็นรูปแรกเพราะเห็นตื่นเต้นกันใหญ่ แต่พระอาจารย์อาสถเถระท่านคัดค้านว่าไม่ใช่ และเป็นดังที่ท่านอาจารย์อาสภเถระบอก เพราะสามเณรคนนั้นสึกแล้วเป็นขโมย

    มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทางสำนักเดิมรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖ แล้ว ไปปฏิบัติธรรมที่สำนักวิเวกอาศรม เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นไม่ได้บรรลุญาณ ๑๖ จริง จึงคิดทำการใหญ่ อยากเป็นเจ้าสำนัก จึงรวมหัวกันทำร้ายพระอาจารย์อาสภเถระจนท่านสลบ โชคดีที่ท่านไม่มรณภาพ พวกบรรลุญาณ๑๖เทียม เลยเข้าคุกไปตามระเบียบ



    ๑๓.ปี ๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรม กับอาจารย์เตชิน(ชาวพม่า) วัดระฆังโฆษิตาราม จังหวัดธนบุรี
    ๓ เดือน
    13. นิยายตุ๊กตาผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงเรียนอภิธรรมที่วัดระฆังเมื่อ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ – มกราคม ๒๔๙๘



    ๑๔. กฎแห่งกรรม ......เล่มที่๕ ท่านป่าม่วงบอกว่าพบแม่ชุมศรีแม่ในอดีตชาติเมื่อ ๕ กุมภาพันธ์... และบอกว่าจำปีไม่ได้ (หมายถึงขณะที่กำลังเทศน์ ต้องกลับไปดูบันทึกจึงจะทราบ)
    14.โชคดีที่นิยายตุ๊กตาผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงได้พบแม่ในอดีตชาติเมื่อ“๕กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘”



    ๑๕. ปี ๒๔๙๘ ศึกษาการพยากรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร
    15. เป็นที่น่าสังเกตว่า นิยายตุ๊กตาผลเขียนว่า ท่านป่าม่วงประกาศว่าตนบรรลุญาณ ๑๖ แล้ว เป็นพระโสดาบัน เหมือนจบปริญญาตรีแล้ว หลังจากเรียนอภิธรรมวัดระฆัง ๓เดือนแล้วจึงกลับไปอยู่วัด

    ดังนั้นการศึกษาการพยากรณ์กับสมเด็จพระสังฆราชอยู่วัดสระเกศต้องหลังกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ไปแล้ว แต่อยากตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาวิชาโหราศาสตร์นั้นผิดวิสัยของพระอริยบุคคล เพราะวิชาโหราศาสตร์จัดเป็นสีลัพพตปรามาส นั้นหมายความว่าท่านป่าม่วงยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้นเอง สมจริงตามที่พระอาจารย์อาสภเถระไม่รับรองบุคคลที่ทางต้นสำนักของท่านป่าม่วงบอกว่าบรรลุญาณ ๑๖

    อ่านเพิ่มเติมจากเว็บ“พระอริยบุคคลเรียนวิชาโหราศาสตร์หรือไม่ ?” เพราะเหตุผลใด?
    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4630777.html



    ๑๖. หนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม๕ เขียนว่า “ท่านป่าม่วงมีนิมิตกรรมฐานว่า เราก็รู้มาก่อนที่จะไปบ้านแม่...... ในนิมิตนี้ก็บอกว่า ไปรบทัพจับศึกกัน ยังรู้สึกว่าจำได้ว่ามันฟันอะไร เพราะอ้ายพม่ารามัญเตรียมจากธนบุรีตามลำน้ำ มันก็ขึ้นมาหมดแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว และเราจำต้องไปรบกับพม่า ใช้เรือรบที่บางไทร ฆ่าพม่าตายมากมาย เลยพอดีโดนกลศึกวิธีคนไทยด้วยกัน ถีบเราหลุดตกน้ำถึงแก่ความตาย แล้วดาบนั้นพวกนี้เอาไป แล้วก็ซัดเซพเนจรไปเรื่อยๆ กระทั่งไปอยู่ถึงเชียงใหม่ แล้วล่องกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาตามเดิม แล้วเราก็นิมิตว่าเราตกน้ำตาย นี่อาตมาไม่ได้ดาบอาตมาตายไปแล้ว’ (กฏแห่งกรรม –ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๕ หน้า ๖๔-๖๕)
    16. แต่นิยายตุ๊กตาผล “...ส่วนตัวท่านป่าม่วงซึ่งเป็นแม่ทัพจะหนีเอาตัวรอดไม่ได้ จึงจำใจสู้แม้ขาดขวัญและกำลังใจ ด้วยฝีมือและชั้นเชิงในการรบ ท่านไม่มีวันแพ้พม่าได้ แต่ฝ่ายพม่าใช้แผนสกปรก ใช้กลศึกวิธีฆ่าท่านจนได้ เมื่อทหารนำศพท่านใส่เรือมาส่งที่ศาลาท่าน้ำ แม่........วิ่งร้องให้มาจากบนเรือน ผ้าผ่อนท่อนสไบหลุดลุ่ย หล่อนกอดศพท่านร่ำให้จนปิ่มว่าจะขาดใจ และในชาตินี้หล่อนก็ได้มาเกิดอีก รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไป

    จะเห็นว่าเรื่องเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน ท่านป่าม่วงไม่เคยเล่าตรงกัน นี่เป็นเรื่องน่าคิด ว่าเป็นเรื่องที่เห็นในนิมิตจริง ๆ หรือเป็นเรื่องยกเมฆ เพราะว่าถ้าเห็นจริงพูดร้อยครั้งก็ต้องเหมือนกันร้อยครั้ง

    ถามว่าแม่ทัพคนเก่งของอยุธยา ที่ไม่มีใครสู้ได้ แม่ทัพคนอื่นต่างพากันอิจฉา อยากได้ตำแหน่งของตน แต่ไร้ความสามารถ ไม่รู้จักวิชาทางน้ำเลยเชียวหรือ แค่ถีบตกน้ำก็ถึงแก่ความตาย และที่น่าสงสัยยิ่ง ที่บอกว่าสารขัณฑ์ประเทศจะต้องนำแม่ทัพคนอื่นไปแลกเปลี่ยน พม่าหรือจะโง่ยอมแลกแม่ทัพคนเก่งกับแม่ทัพที่ไร้ฝีมือ เว้นแต่ได้เกลี่ยกล่อมให้แม่ทัพเชลยศึกคนนั้นเป็นใส้ศึกเรียบร้อยแล้วจึงจะยอมให้แลกเปลี่ยน ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์แห่งสารขัณฑ์ประเทศ และที่น่าสังเกตท่านเทศน์ดูถูกคนไทย แล้วชี้ที่ตัวเองว่าตนไม่ใช่คนไทย ...... พ่อเป็น........ แม่เป็น.......

    จึงใคร่เชิญชวนนักประวัติศาสตร์ หันมาพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่กลัวต่อคำว่าพระอรหันต์ จนไม่กล้าทำอะไร อย่างที่นักวิชาการควรกระทำ เพราะพระอรหันต์จริง ท่านยินดีสนับสนุนให้ผู้คนพิสูจน์สิ่งที่ท่านพูดว่าจริงหรือเท็จ ไม่มีโทษ มีแต่คุณสถานเดียว เว้นแต่อรหันต์เทียมเท่านั้นที่กลัวการพิสูจน์



    ๑๗. คุณแม่ท้วมเป็นนางสาวท้วม หุตานุกรม ไม่เคยแต่งงาน ท่านมาอยู่วัดปากน้ำตั้งแต่อายุ ๓๕ ท่านเป็นหัวหน้าอุบาสิกาวัดปากน้ำและหัวหน้าโรงครัว (วุฑฺฒสีล, ๒๔๙๗, ประวัติ “คุณแม่” ใน นวกะ อนุสรณ์ ๒๔๙๗, วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ, หน้า ๗๑ –๗๘. )
    17. แต่นิยายตุ๊กตาผล เขียนว่าท่านป่าม่วงบอกว่าโยมท้วม ครั้นสามีตายและลูกเต้าออกเหย้าออกเรือนกันไปหมด แกจึงมาอยู่วัดอย่างถาวรตอนอายุหกสิบพอดิบพอดี ซึ่งไม่ทราบว่าเขียนมาได้อย่างไร ไม่กลัวเขาจับได้หรือว่าเป็นเรื่องไม่จริง เป็นการทำลายเครดิตตัวเองโดยแท้ คงเป็นเรื่องนึกไม่ถึงว่าจะมีคนมาค้นพบความจริงในภายหลัง เพราะว่าความลับไม่มีในโลก



    ๑๘. เรื่องพระเวสสันดรในนิยายตุ๊กตาผลนั้น บอกว่าพระอินทร์เนรมิตต้นตุ๊กตาผล ๑๖ ต้น ให้ออกผลเฉพาะวันที่พระนางมัทรีออกหาอาหาร เพื่อป้องกันฤาษีลามกไม่ให้ไปลวนลามพระนางมัทรี เปิดโอกาสให้ฤาษีลามกเก็บตุ๊กตาผลไปทำเมีย และบอกว่าป่าหิมพานต์ที่พระเวสสันดรอยู่มีหิมะปกคลุม
    18.ถ้าป่าที่พระเวสสันดรอยู่มีหิมะปกคลุมจริง ตุ๊กตาผลก็จะกลายเป็นตุ๊กตาหิมะ ใครจะเอามาทำเมียได้ ป่าที่พระเวสสันดรอยู่ไม่ใช่ป่าหิมพานต์ ถ้าเป็นป่าหิมพานต์จริง ก็ต้องมีต้นนารีผลโดยธรรมชาติ ไม่ต้องให้ใครเนรมิต และนารีผลนี้จะอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น นานกว่านี้ก็จะเน่า และป่าที่พระเวสสันดรอยู่ ก็ไม่มีฤาษีลามกแม้แต่ตนเดียว มีพูดถึงฤาษีเพียงตนเดียวคืออจุตฤาษีซึ่งเป็นผู้บอกทางให้ชูชกไปพบพระเวสสันดร



    ๑๙. ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมส่วนแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ เทศน์ว่า **“อาจารย์แม่ชีหวานใจ ( เจ้านักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว) จิตท่านงอก จิตท่านสดใส ใจสะอาดเหมือนดวงแก้ว กล่าวคือนิพพาน ปราศจากโลภโกรธหลง ไม่มีอะไร ฉุดให้พะวักพะวง อยู่ในดวงใจให้ขุ่นมัวอีก นึกเงินไหลหนองนึกทองไหลมา” **
    19.อาจารย์แม่ชีหวานใจ ชูกร เป็นศิษย์หลวงพ่อโดยตรง ท่านไปสร้างสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว ที่อำเภอจอมบึง ปฏิบัติกรรมฐานสมถวิปัสสนาวิชชาธรรมกายมาตลอด ท่านเขียน หนังสือ “วิชชาพระธรรมกาย (ปราบมาร) ดังนั้นถ้าท่านจะเป็นพระอริยบุคคล ท่านก็เป็นด้วยวิชชาธรรมกาย การที่ท่านป่าม่วงพูดแบบนี้ก็ถือว่ารับรองวิชชาธรรรมกายไปในตัว ว่าวิชชาธรรมกายก็ทำให้คนบรรลุพระอรหันต์ได้ ไม่เป็นการขัดแย้งกับที่ท่านป่าม่วงชอบพูดว่าวิชชาธรรมกายแก้ทุกข์ประจำไม่ได้หรือ

    จากคุณ : ธารณธรรม - [ 18 ส.ค. 49 17:24:52 ]
    ------------------------------------------------------------



    ความคิดเห็นที่ 2

    อ่านกระทู้ “จิตท่านงอก จิตท่านสดใส ใจสะอาด เหมือนดวงแก้ว กล่าวแล้วนิพพาน” ชาวพุทธเข้าใจว่าอย่างไร ? http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4622966.html

    การที่ท่านป่าม่วงพูดหรือเขียนบิดเบือนบอกว่าหลวงพ่อสดบอกว่าวิชชาธรรมกายแก้ทุกข์ประจำไม่ได้ แต่แก้ทุกข์จรได้ และยังให้ร้ายวิชชาธรรมกายอีกด้วยว่าเป็นวิชชามุ่งให้ความร่ำรวยเป็นที่ตั้ง ไม่ได้มุ่งไปนิพพาน และกล่าวหาศิษย์วัดปากน้ำว่าจะเผาตำราที่เรียนกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุทิ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่นึกไม่ถึงว่า ท่านป่าม่วงที่มีบางคนเข้าใจว่าเป็นอรหันต์กล้ากระการนี้ตามลำพัง


    จะพิสูจน์ทราบได้อย่างไรว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำปฏิบัติกรรมฐานแบบไหน ? http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4534507.html

    หลวงพ่อวัดปากน้ำเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอจริงหรือเท็จ?
    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4537078.html

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้พยายามทำให้ความจริงปรากฏขึ้นมา เหมือนพลิกภาชนะที่คว่ำให้หายขึ้น จนมองเห็นกระจ่างว่ามีอะไรในภาชนะนั้นบ้าง สามารถพิสูจน์ได้ทุกขั้นตอน มีเอกสารอ้างอิงไม่ใช่นั่งเทียนเขียน


    เป็นพระโยชน์ต่อพระศาสนา เป็นประโยชน์แก่ชาวพุทธที่ต้องการทราบความจริง ช่วยให้ชาวพุทธไม่ต้องทำบาป โดยไม่ต้องนำความเท็จไปบอกต่อๆกันไป ส่วนที่มีโทษนั้นมี คือผู้บิดเบือนและคณะคงไม่ชอบใจเป็นแน่ แต่ถ้าเทียบกับส่วนที่ได้ประโยชน์นั้นเทียบกันไม่ติด ถือว่าน้อยมาก เป็นการป้องปรามไม่ให้ใครคิดเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เขียนบิดเบือนให้ร้ายผู้อื่นในทำนองนี้อีก


    เนื่องจากความลับไม่มีในโลก ดังนั้นจะต้องมีคนมาพิสูจน์ทราบความจริงได้ในที่สุด แม้ว่าจะต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปีในการแสวงหาข้อมูลก็ตาม เชื่อว่าเรื่องนี้ต่อไปคงได้ใช้เป็นกรณีศึกษาวิจัย แล้วผลการวิจัยนั้นจะได้รับการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ศาสนาแห่งสารขัณพ์ประเทศในศตวรรษที่สองพันหกเป็นแน่


    ***ข้อสังเกตที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งคือ บุคคลหรือพระเถระสำคัญที่ท่านป่าม่วงเอ่ยถึง หรือนิยายตุ๊กตาผลอ้างถึง จะเป็นบุคคลหรือพระเถระที่เสียชีวิตไปแล้วทั้งนั้น ไม่มีโอกาสจะมาชี้แจงข้อเท็จจริง เป็นการปิดโอกาสไม่ให้ใครที่สงสัยไปสักถามข้อเท็จจริงได้ ***


    ขอชี้แจงเรื่องใน http://www.jarun.org/v5/th/lrule06h0501.html ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่คุณมะตาดที่กรุณาส่งให้อ่าน การที่เขียนชมวิธีการของหลวงพ่อวัดปากน้ำอันนี้เป็นเทคนิคลวงผู้คนให้ตายใจ ว่าตนเป็นคนกตัญญู แต่ขอยืนยันว่าวิชาหลวงพ่อที่เอาไปใช้นั้นดีจริงๆ


    ในเว็บนี้ยังบอกว่าไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ ๒ ครั้ง แต่สายไปแล้ว คงเป็นการเขียนแก้เกมหลังจากมีคนเขียนไปต่อว่าถึงสำนักป่าม่วง เพราะว่าถ้าเป็นคนทำอะไรตรงไปตรงมาก็ต้องเรียนสมเด็จฯวัดปากน้ำแล้วว่า มาเรียน๒ ครั้ง แต่กลับเรียนสมเด็จว่ามาเรียนปี ๒๔๙๖ ทำไมไม่กล้าบอกสมเด็จฯ ว่ามาเรียนปี ๒๔๙๓ มาเขียนที่หลังจะได้ประโยชน์อะไร


    จากข้อความในเว็บดังกล่าวที่ว่า“ขอบูชาพระสักกำเถอะ จะนำไปแจกญาติ” ท่านบอก “ไม่ได้ ต้องเอาไปองค์เดียว” อาตมาก็ไม่ทราบว่านโยบายท่านทำไมให้องค์เดียว อาตมาก็ไปเซ้าซี้ถามท่าน ท่านก็ตอบออกมาคำหนึ่ง........
    “หลวงพ่อครับ ญาติผมเยอะนะ” ก็ยังไปเซ้าซี้กับท่านอีก วันสุดท้ายท่านบอก “ตามใจ”
    อาตมาก็บอกว่า “ตามใจ อย่าให้เป็นบาปนะหลวงพ่อนะ” **หยิบใส่ย่ามมา** จะเป็นบาปหรือไม่ก็ไม่ทราบ ได้มาตั้งแต่พ.ศ.๒๔๙๖ เดี๋ยวนี้ไม่มีเหลือติดย่ามสักองค์เดียว”


    ท่านป่าม่วงเป็นบุคคลพิเศษอะไร ? หลวงพ่อจึงอนุญาตให้ยิบพระใส่ย่าม และที่ตุ๊กตาผลอ้างว่าได้เป็นศิษย์ก้นกุฏิเพราะเป็นหลานหลวงธารา โดยอ้างว่าหลวงธาราเคยไปทอดกฐินที่วัดปากน้ำ ขออภัยต้องขอบอกไม่เคยได้ยินชื่อหลวงธาราเลย เป็นเรื่องที่พูดเอาเอง ศิษย์หลวงพ่อทุกคนทราบดีว่าหลวงพ่อเล็กเป็นศิษย์ก้นกุฏิ
    เป็นไปไม่ได้ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำจะอนุญาตให้หยิบพระใส่ย่าม เพราะอะไร เพราะว่าแม้แต่สมเด็จสังฆราชปุ่น วัดโพธิ์ฯ หลานหลวงพ่อ รับใช้หลวงพ่อตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เป็นสามเณรจนเป็นพระภิกษุ ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชตามคำพยากรณ์ของหลวงพ่อ หลวงพ่อยังให้พระของขวัญเพียงองค์เดียว เพราะหลวงพ่อสร้างพระของขวัญขึ้นมาเพื่อแจกเป็นของขวัญแก่คนที่มาทำบุญเพื่อสร้างอาคารโรงเรียนปริยัติธรรมวัดปากน้ำตั้งแต่ ๒๕ บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะทำบุญเป็นพัน หรือเป็นหมื่นก็ให้องค์เดียว คือคนเดียวองค์เดียว ถ้าท่านมอบให้ใครเปล่า ๆ หลวงพ่อจะต้องเอาเงินส่วนตัวท่านออกแทน เพราะหลวงพ่อบอกว่าพระของขวัญท่านทำให้วัดไม่ใช่ของท่าน {สมเด็จพระสังฆราชปุ่น ครั้งมีสมณะศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต, ๒๕๒๙, ประวัติพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)และอนุภาพธรรมกาย ใน พระมงคลเทพมุนี ประวัติหลวงพ่อ และคู่มือสมภาร. ๒๕๒๙ วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, หน้า ๙๖}


    -->> หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านเป็นคนจริง พูดจริงทำจริง มีวาทะตรงกับใจ ไม่ชอบคนโกหก มีเมตตาธรรมสูง มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรมสูง มีความกล้าหาญ กล้าพูดกล้าสอน ไม่ครั่นคร้ามต่อใคร เมื่อเห็นดีอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามนั้น หลวงพ่อบอกว่าใครโกหกท่านเป็นคนหมดดี พระไม่ใช่ของท่าน มีหรือหลวงพ่อจะอนุญาตให้ท่านป่าม่วงยิบพระของขวัญใส่ย่าม โดยเฉพาะผู้มีบารมีอย่างหลวงพ่อ มีหรือจะไม่ทราบว่า ต่อไปในอนาคตท่านป่าม่วงจะให้ร้ายวิชชาธรรมกาย ดังที่กระทำอยู่ในปัจจุบัน


    และขอบคุณคุณมะตาดอีกครั้งหนึ่งที่ส่ง http://www.jarun.org/v5/th/lrule08h0102.html มาให้ ข้อความในเว็บที่ว่า “อาตมาได้ฟังเทศน์ลำดับญาณ โดยอาจารย์พม่ามาเทศน์และมีทูตมาแปลเป็นภาษาไทย ฟังพร้อมกับหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เดิมทีอาตมาไม่ทราบว่าท่านมานั่งกรรมฐานที่วัดมหาธาตุฯ พอดีท่านเจ้าคุณอาจารย์ไปสอบอารมณ์ อาตมาก็ตามไปฟัง หลวงพ่อสดบอกอาตมาว่า เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปี มีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอ ๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง ๘๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว และท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์”


    เป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่งหากศิษย์คิดล้างครู
    เป็นเรื่องที่ท่านป่าม่วงจินตนาการเอาเอง เพราะหลวงพ่อถูกเกณฑ์ให้เรียน ไม่ใช่มาเรียนเอง ท่านถูกเกณฑ์มาเรียน หลังท่านป่าม่วงเรียนจบไปแล้วประมาณ ๔ เดือน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ฟังเทศลำดับญาณพร้อมหลวงพ่อวัดปากน้ำ เป็นที่น่าสังเวชยิ่งที่เขียนว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำบอกตนว่า “เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปี มีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอ ๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง ๘๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว และท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์” เป็นที่น่าสังเกตว่าท่านป่าม่วง ไม่กล้าเขียนว่าตนเรียนกับเจ้าคุณโชดกวันไหนเดือนไหน สำเร็จวันไหนเดือนไหน เพียงแต่บอกเรียนปี ๒๔๙๗


    เป็นข้อความที่ท่านป่าม่วงพูดไม่ตรงความจริงหรือไม่????

    เป็นที่น่าเวทนาแบบสุด ๆ เป็นคำเท็จจับได้ง่ายมากว่าเป็นคำมุสา ดังข้อความว่า “เราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์” เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนบรรลุญาณ ๑๖ แล้ว กลับเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากผู้มากไปด้วยความเมตตา กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว คิดจะเอาตัวรอดคนเดียว ไม่คิดช่วยเหลือศิษย์ที่มีจำนวนเป็นแสนเป็นล้านให้บรรลุคุณวิเศษเหมือนตน ไม่สมกับผู้บรรลุญาณ ๑๖ เลย แปลกจริงหนอ ๆ ๆ ๆ


    สวรรค์มีตา จึงทำให้สามารถมองเห็นเจตนาของผู้กล่าวหาหลวงพ่อวัดปากน้ำ ว่าจะเลิกวิชชาธรรมกาย ฯลฯ

    ที่ท่านป่าม่วงบอกว่า “อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว” นี้เป็นเหลี่ยมคูของผู้คนที่สุจริตหรือไม่?

    เพราะถ้ามุสาแบบนี้ สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำมีชีวิตอยู่คงทำไม่ได้ เพราะคนคงไปถามหลวงพ่อ
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ...เหตุจากเรื่อง ที่มีการเขียนรับรองกรรมฐานสายหนึ่ง....<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->เหตุผลที่หลวงพ่อสดเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบพม่าสายหนึ่ง


    ก็ เพราะว่า


    ท่านเจ้าประคุณผู้มียศสูงทางสงฆ์ท่านหนึ่ง

    เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์ปกครอง วัดมหาธาตุ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง (สมัยนั้นมีสังฆมนตรีเพียง๔ รูป)


    ผู้มีอำนาจมาก มีบารมีมาก มีบริวารมาก และมีสมณศักดิ์เกือบสูงสุด ท่านเจ้าประคุณ มีความดำริจะส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานให้เจริญแพร่หลายในประเทศไทย โดยเฉพาะท่านเชื่อว่าการสอนวิปัสสนาธุระที่เป็นระบบถูกต้องมีเฉพาะในประเทศพม่าเท่านั้น ทั้งที่ตอนนั้นสายพระอาจารย์มั่นและสายวัดปากน้ำได้ปฏิบัติธรรมอย่างมีระบบแล้ว



    หลวงพ่อวัดปากน้ำและพระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานฝ่ายมหานิกายจึงถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบพม่าสายนั้น



    สำหรับหลวงพ่อสดนั้นถูกขอร้องเป็นพิเศษ

    ด้วยหลวงพ่อมีลูกศิษย์ลูกหามาก น่าจะมากที่สุดในประเทศไทยในสมัยนั้น ให้ช่วยเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯให้ด้วย ไม่ใช่เป็นอย่างคำบิดเบือน “ที่กล่าวว่าหลวงพ่อปฏิบัติไป ๆ แล้วติดตันขึ้นมา ต้องไปขอให้ให้อาจารย์วัดมหาธาตุแนะทางให้ จึงรู้ว่าที่ท่านปฏิบัติมานั้นผิดทาง” ซึ่งยุทธการกล่าวบิดเบือนดังกล่าวมีมาตลอด

    แต่ที่เขียนบิดเบือนเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือมักกะลีผล



    ในการเกณฑ์ให้เรียนนั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทธิ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถรต้องไปถวายการสอนที่ในโบสถ์วัดปากน้ำตอนบ่าย หลายวัน โดยปิดประตูโบสถ์ ไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปฟัง หลวงพ่อวัดปากน้ำและท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนีถกอะไรกันบ้าง นั้นไม่มีใครทราบ


    พระดร. มหาทวนชัย อธิจิตโต ท่านเล่าว่าตอนนั้นท่านยังเป็นสามเณรมีหน้าที่ปูอาสนะสองที่หน้าพระประธาน เมื่อหลวงพ่อ และท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เข้าไปในโบสถ์แล้ว หลวงพ่อสั่งให้ท่านปิดประตู ห้ามใครเข้าใกล้



    แต่สามารถอนุมานได้ว่าท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี และเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(ครั้งมีสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม) มีประสงค์จะให้หลวงพ่อเปลี่ยนการปฏิบัติกรรมฐานจากวิชชาธรรมกายเป็นแบบวัดมหาธาตุ ซึ่งหลวงพ่อไม่ยอม(พระดร. มหาทวนชัย อธิจิตโต, ๒๕๔๕, ใต้บารมีหลวงพ่อ ใน ที่ระลึกงานมุทิตา ฉลองพัดยศ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท พระครูมงคลพัฒนคุณ เจ้าอาวาส วัดโบสถ์ (บน) บางคูเวียง นนทบุรี, หน้า ๓๗)



    หลวงพ่อวัดปากน้ำได้เล่าให้ศิษย์บรรพชิตท่านฟังว่า ท่านปฏิบัติบรรลุญาณ ๑๖ มาเป็นสิบๆปีแล้ว ก่อนที่กรรมฐานแบบวัดมหาธาตุจะเข้ามาสู่ประเทศไทย เพราะวิชชาธรรมกายก็มีการพิจารณาไตรลักษณ์ และพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ คือพิจารณากายในกาย เวทนาใน้เวทนา จิตในจิต และพิจารณาธรรมในธรรม และท่านยังได้บอกศิษย์ว่า สามเณรที่ทางวัดมหาธาตุรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖แล้ว(เข้าใจว่าเป็นรูปแรก) ที่บอกใครๆว่าสามารถเข้าสมาบัตินั่งตัวแข็งได้ทุกที่นั้น ซึ่งโด่งดังมากในสมัยนั้น จะไม่สามารถเข้าสมาบัตินั่งตัวแข็งได้ที่วัดปากน้ำ และเป็นจริงตามที่หลวงพ่อพูด ต่อมาสามเณรรูปนั้นสึกแล้วเป็นหัวขโมย [หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน มหาวีระ ถาวโร) , ......, เรื่องจริงอิงนิทานเล่ม๑, น.๑๖๙- ๑๗๒. ]



    -->> หลวงพ่อวัดปากน้ำได้เขียนรับรองให้จริง แต่เขียนให้ในฐานะที่ท่านเป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษา เขียนรับรองวิทยานิพนธ์ของศิษย์ เพราะคนที่จะเขียนรับรองอะไรได้นั้น จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชานั้น ๆ ใช่หรือไม่

    (หลวงพ่อสดวัดปากน้ำเทศน์...ที่วัดมหาธาตุ) หลวงพ่อสดท่านเป็นพระผู้ใหญ่กว่าอย่างไร ท่านได้รับการไว้วางใจจากเจ้าคุณพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺต มหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ องค์ที่ ๑๕ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง และปฐมสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมาก่อนที่จะเกิดเรื่องนี้ พิจารณาในกระทู้นี้...
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/07/Y5650448/Y5650448.html




    การที่หลวงพ่อยอมเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯ ตามที่เจ้าประคุณฯผู้มียศสูง ขอร้องแกม..... และตามคำขอของเจ้าคุณ..... ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ท่านทั้งสองเสียหน้า หลวงพ่อได้เขียนรับรองไว้ใต้ภาพถ่ายของท่านที่มอบให้วัดมหาธาตุฯ มีใจความดังต่อไปนี้ :

    “ให้สำนักวิปัสสนา ในการที่ฉันได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนาตามแบบวัดมหาธาตุสอนอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว ยืนยันได้ว่าการปฏิบัติแบบนี้ ถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฏฐานสูตรทุกประการ” พระภาวนาโกศล วัดปากน้ำ ธนบุรี ๒๐ เมษายน ๒๔๙๘
    [วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, ไม่ระบุปีที่พิมพ์, ประวัติและผลงานพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙), วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, กรุงเทพมหานคร หน้า ๑๓. (คณะ๕ โทร ๐๒ ๒๒๒-๖๐๑๑)] แต่หลวงพ่อไม่ยอมเขียนว่าวิชชาธรรมกายไม่เป็นวิปัสสนา




    จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อวิชชาธรรมกายนำไปบิดเบือน คือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว แต่อีกครึ่งไม่ยอมบอกใครๆว่า ที่หลวงพ่อยอมเขียนรับรองให้นั้นเป็นการเขียนรับรองตามคำขอ เพราะเจ้าประคุณฯสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองนั้นใหญ่มาก มีอำนาจมาก เป็นเรื่องที่ได้ยินได้ฟังจากครูอาจารย์ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้วเล่าให้ฟัง



    วิชชาธรรมกายนั้นเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย สามารถบรรลุนิพพานได้เช่นเดียวกัน แถมยังมีฤทธิ์ประดับบารมีด้วย
    ต่างกับการปฏิบัติวิปัสสนาแบบวัดมหาธาตุฯ ซึ่งโดยปรกติแล้วการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯจะไม่มีฤทธิ์ประดับบารมี เว้นแต่เป็นของที่ติดภพเก่ามา หลักฐานที่ยืนยันได้แน่นอนว่าการปฏิบัติวิชชาธรรมกายนั้น สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้จริง คือตัวของหลวงพ่อเอง หลวงพ่อวัดปากน้ำได้บอกศิษย์บรรพชิตให้ทราบว่าท่านบรรลุญาณ ๑๖ มานานแล้ว ก่อนที่วิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุจะเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะอัฐิธาตุศิษย์วิชชาธรรมกายบางท่านกลายเป็นพระธาตุก็มีให้เห็นแล้ว



    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกว่า “ต้นธาตุสั่งให้ท่านมาเกิดเพื่อปราบมาร” เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๔๙๘ (นางแฉล้ม อุศุภรัตน์, ๒๔๙๙, โอวาทเจ้าคุณพ่อ, ใน เรื่องธรรมกาย ของพระมงคลราชมุนี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ,หน้าธ–ป.) ซึ่งหลวงพ่อสดเทศน์ภายหลังจากที่ท่านเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วประมาณ ๕ เดือนครึ่ง นี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่าหลวงพ่อเชื่อมั่นในวิชชาธรรมกาย




    การที่หลวงพ่อสดได้พยากรณ์ว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นใหญ่ที่สุดในหมู่สงฆ์เมื่อปี ๒๔๙๗ นั้น เพราะหลวงพ่อหยั่งทราบว่าพระผู้มียศฯจะต้องคดีจนหมดสิทธิ์ที่จะขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ทั้งๆโดยตำแหน่งแล้วพระผู้มียศสูงท่านนั้นฯจะต้องได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก่อนสมเด็จป๋าอย่างแน่นอน


    สมมุติว่าถ้าพระผู้มียศสูงทางสงฆ์ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว สมเด็จป๋าหมดสิทธิ์ที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าสมเด็จป๋าสิ้นพระชนม์ก่อนถึง ๑๖ ปี คือสมเด็จป๋าสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่๗ ธันวาคม ๒๕๑๖ ส่วนพระท่านผู้มียศฯ มรณภาพ เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๒ นั้นแสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


    หลวงพ่อสดหยั่งรู้อยู่แล้วว่าในปี ๒๔๙๘ ท่านจะต้องถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุ
    ท่านผู้มากไปด้วยความเมตตา ทราบดีว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์จะต้องคดี ยากที่หาหลักฐานมาแก้ต่าง แต่ถ้าได้คำรับรองของท่านไปใช้แก้ต่างก็สามารถช่วยให้ชนะคดีได้ ซึ่งทนายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ใช้ข้อเขียนของหลวงพ่อสดที่เขียนรับรองว่าการปฏิบัติกรรมฐานวัดมหาธาตุถูกต้องตามสติปัฏฐาน ๔ ใช้เป็นหลักฐานหักล้างในการต่อสู้ จนชนะคดีในที่สุด (...มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๕,ประวัติการสถาปนา เลื่อนชั้น ลดตำแหน่ง แต่งตั้ง ถอดถอน คืนสมณศักดิ์ พระพุทธาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พระพิมลธรรม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๕ , (๒๐๘) ๒๕๓๒, หน้า ๒๐๗)




    “ระหว่างต้องคดี ท่านผู้นั้นต้องถูกคุมขังอยู่ที่ห้องสันติบาลตำรวจ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ถึงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเวลา ๕ พรรษา” (...มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๕,หน้า๑๑๙) โดยนุ่งห่มผ้าขาวแบบสบงและอังสะ และมีจีวรห่มคลุม และท่านถือวัตรอย่างพระภิกษุ’ ( .....มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๓, หน้า ๒๑๕ )




    บั้นปลายชีวิตของพระผู้มียศฯ เมื่อมีอายุสูงขึ้นได้ถูกโรคาอาพาธเบียดเบียน จนมือและเท้าด้านซ้ายเป็นอัมพฤกษ์ ไม่สามารถใช้งานได้ตามปรกติ ต้องอาศัยศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์คอยปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิด ทุก ๆ อย่างในช่วงนี้เอง ศิษย์บางคนจำพวกได้ถูกความโลภเข้าครอบงำจิตสันดาน จึงอาศัยเกียรติคุณและตำแหน่งการงานของท่าน แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ทั้งภายในและภายนอกวัดมหาธาตุ ฯ โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ปลอมของสมีเจี๊ยบ ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒







    ถามว่าทำไม วิบากกรรมของพระสงฆ์ผู้มียศบางรูป จึงมีมากมายขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีเจตนาดีต่อพระศาสนา แต่พลาดที่ไปกระทำต่อหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ผู้บริสุทธิ์


    -->> เป็นไปได้ไหมว่า วิบากกรรมของพระที่มียศสูงฯบางรูปนั้น ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการที่ท่านได้บัญชาให้พระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานฝ่ายมหานิกายของสงฆ์ไทย ต้องไปเรียนกรรมฐานแบบพม่า เพราะผู้เขียนเคยทราบจากพระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานรูปหนึ่ง ท่านบอกว่ากรรมที่กระทำต่อผู้ทรงญาณสัมมาทิฏฐินั้นเป็นบาปมาก ยิ่งกระทำต่อพระอริยเจ้าแล้วจะบาปมากขนาดไหน


     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    อย่าลืมว่าหลวงพ่อสดนั้นไม่เคยกล่าวว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง

    ถามว่ามีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่าหลวงพ่อสดไม่ได้ว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง ?


    ที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางเอกสาร มีดังนี้คือ:


    ๑. ท่านแนะนำให้หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฯ ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน (ทั้งที่ตอนนั้นหลวงพ่อสดท่านค้นพบวิชชาธรรมกายแล้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานองค์แรกของหลวงพ่อ ((( ประชุมพระธรรมเทศนาและหลวงปู่สอนธรรม, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราช ทาน, ในงานพระราชทานเพลิงศพ, พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวรรณณเถร), เจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี, ๒๕๔๒, กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒ หน้า. (หน้า ๑๔และหน้า ๖๑ ))) หลวงพ่อโหน่งนั้นเมื่อท่านมรณภาพปรากฏว่าศพท่านไม่เน่า หลวงพอปานวัดบางนมโคบอกว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระอรหันต์


    ๒. หลวงพ่อเขียนรับรองวิชาหนอว่าถูกต้องตรงร่องรอยสติปัฏฐาน ๔ (แต่ท่านละคำว่าต้องปฏิบัติอย่างเข้าใจจริง จึงจะถูกต้อง) ซึ่งได้มีกลุ่มบุคคลนำข้อความที่ท่านเขียนรับรองวิชาหนอในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาไปบิดเบือนเพื่อสนับสนุนวิชาของพวกตน ซึ่งจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก


    ๓. แม้หลวงพ่อชา จะได้มาพักที่วัดปากน้ำ ๑ อาทิตย์ หลวงพ่อสดก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหลวงพ่อท่านทราบดีว่า หลวงพ่อชานั้นสร้างบารมีมาทางสายพระอาจารย์มั่น (ซึ่งหาอ่านได้ในประวัติหลวงพ่อชาบางเล่ม) เหมือนๆกับที่หลวงพ่อทราบว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าถ้าพระพิมลธรรมไม่ต้องคดีเสียก่อน สมเด็จป๋าจะไม่มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังราชเลย เรียกปิดประตูตายทีเดียว


    ๔. หนังสือกรรมฐานชื่อ “สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน” ซึ่งประพันธ์ โดยคุณโสภณ ชื่นชุ่ม เป็นศิษย์วิชชาธรรมกายรุ่นแรกๆ ของพระอาจารย์พระราชพรหมเถร วิ (วีระ คณุตฺตโม ) ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้พระอาจารย์พระราชพรมเถรได้ตรวจทานอย่างละเอียด


    ***ในหนังหนังสือกรรมฐานเล่มดังกล่าวมีคำอธิบายกรรมฐานแบบไตรลักษณ์ กรรมฐานแบบโบราณ และสมถวิปัสสนาแบบธรรมกาย ***



    จากหลักฐานทั้ง ๔ ข้อนี้ สามารถใช้ยืนยันได้ว่า หลวงพ่อสดไม่เคยว่าการปฏิบัติกรรมฐานของไทยสายไหนไม่ดี



    จากคุณ : CALAVERITE



    ************************************************************************

    โดยสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุกับท่านเจ้าคุณโชดกที่วัดมหาธาตุช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ที่ต้องปิดกันให้แซด


    ท่านเจ้าคุณโชดกท่านเป็นปราชญ์ทางปริยัติจริง แต่ไม่ใช่ทางปฏิบัติ การศึกษาภาคปฏิบัติของท่านที่พม่านั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะท่านมีความตั้งใจจะเอาวิชาหนอมาสอนมากเกินไป


    ทราบจากวิทยาศาสตร์บัณฑิต แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งเล่าให้ฟัง


    ซึ่งปฏิบัติกรรมฐานที่พม่ารุ่นเดียวกับท่านเจ้าคุณโชดก แต่ผลการปฏิบัติของท่านเหนือกว่าเจ้าคุณโชดกมาก


    ข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าท่านเจ้าคุณโชดกนั้นยังไม่เข้าใจวิชาหนออย่างท่องแท้

    คือ ๑. สามเณรรูปแรกที่วัดมหาธาตุรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖ ทั้งที่พระอาจารย์อาสภ ค้านว่าน่าจะได้ปฐมฌาณหยาบ


    ทางสำนักหนอได้นำสามเณรรูปนี้ไปนั่งโชว์ตัวแข็งตามวัดต่าง ๆ โด่งดังมากในสมัยนั้น


    แต่ไม่สามารถทำให้ตัวแข็งได้ที่วัดปากน้ำ เป็นไปตามที่หลวงพ่อสดบอกให้ศิษย์ท่านทราบล่วงหน้า

    ต่อมาสามเณรรูปนั้นสึก กลายเป็นหัวขโมยวัวควายตัวยง บ้านอยู่ใกล้วัดพระพุทธบาตรตากผ้าลำพูน

    ๒. พระที่บรรลุญาณ ๑๖ จากสายหนอ ไปปฏิบัติธรรมที่วิเวกอาศรม ด้วยความอยากเป็นเจ้าสำนักแทนอาจารย์อาสถ จึงได้คบคิดกันรุมทำร้ายพระอาจารย์อาสภ โชคดี พระอาจารย์อาสภไม่มรณภาพ พวกบรรลุญาณ ๑๖ ปลอมเหล่านั้น ก็ถูกจับเข้าตะรางไปตามระเบียบ ไปสืบถามตำรวจที่ชลบุรีได้


    ๓. ท่านไพรวัลวัดทุ่งกร่าง เล่าว่า ท่านสงสัยว่าทำไมสามเณรที่อาจารย์รับรองว่าบรรลุญาณ ๑๖ ได้ไม่ถึงอาทิตย์ชกต่อยกัน นี้ก็แสดงว่าสามเณรเหล่านั้นบรรลุญาณ ๑๖ ปลอม



    ๔. อาจารย์โด่งดังอีกท่านหนึ่งโม้ว่าบรรลุญาณ ๑๖ เป็นพระโสดาบันของวัดมหาธาตุ แล้วยังคุยโม้ว่า หลังจากนั้นได้ไปเรียนวิชาโหราศาสตร์กับสมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ แปลกเหนาะพระโสดาบันยังอยากเรียนวิชาขวางทางนิพพาน นี้ก็แสดงว่าบรรลุโสดาปลอม แถมไปโม้ต่อว่าดุสิตเป็นชั้นสูงสุดของดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ไปโปรดพุทธมารดาที่ดาวดึงส์ด้วยกายทิพย์

    ๕.สำนักวิเวกอาศรมของอาจารย์อาสภะไม่รับรองผู้จบญาณ๑๖ สายวัดมหาธาตุ ไปสืบดูก็จะเห็นจริง แต่ไม่ใช่ไปสืบกับพวกที่วัดมหาธาตุส่งไปนะ

    ขอให้ไปพิสูจน์ตามที่แนะนำ จะได้ตาสว่าง ไม่เอาอะไรมาตั้งกระทู้ทำนองนี้อีก


    ขอแถมอีกเรื่อง หลังจากมีหนังสือวิจารณ์นิทานมุสาวาทเล่มหนึ่งส่งให้คณะ ๕ วัดมหาธาตุฯอ่าน

    ปรากฏว่าประวัติเจ้าคุณโชดกฉบับพิมพ์ใหม่ โดยสำนักพิมพ์กู๊ดมอนิ่ง& วันเวิลด์ ที่บอกว่าพิมพ์ครัง้แรก ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จัดพิมพ์ถวาย มี ๑๗ หน้า ไม่รวมหน้าปก

    ถึงกับต้องเอาวันเวลาที่เขาเกณฑ์ให้หลวงพ่อสดไปเรียนกรรมฐานแบบหนอออก เพื่อจะทำให้การจับผิดนิทานโกหกยากขึ้นอีกนิด

    ไปขอหนังสือระวัติ พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙)เล่มดังกล่าวได้ที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ โทร ๐ ๒๒๒๒-๖๐๑๑, ๐ ๒๒๒๒-๔๙๘๑

    หรือว่าเอามะพร้าวมาขายสวน ไม่ว่ากันนะ


    จากคุณ : CALAVERITE <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ใครทำกรรมใดไว้กรรมนั้นย่อมสนอง

    ดูอย่างพระเทวทัต เป็นต้นแบบ
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    [​IMG]


    [​IMG]
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    [​IMG]

    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010101.wma[/MUSIC]




    [​IMG]<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบธรรมกาย


    วิปัสสนากรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิปัสสนาแบบที่มุ่งหวังผลอันสืบแต่ปัจจัยภายใน หรือ สูงกว่าวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ได้แก่การเจริญวิปัสสนาโดยใช้ เจโตสมาธิเป็นบาท


    เจโตสมาธิ คือ สมาธิที่ประดับด้วยอภิญญา หรือวิชชาสาม ถ้าบรรลุความหลุดพ้นโดยทางนี้ เรียกว่า หลุดพ้นโดยทางเจโตวิมุตติ วิปัสสนาประเภทนี้ เป็นประเภทที่ใคร่เชิญชวนให้ท่านทั้งหลาย ลองปฏิบัติดูบ้าง ถึงแม้จะปฏิบัติไปยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรคผล ก็ยังอาจจะได้ ความสามารถทางสมาธิบางประการ ไว้เป็นเครื่องแก้เหงา ถ้าโชคดีบรรลุมรรคผล ก็จะตระหนักด้วยตนเองว่า สุขใดจะสุขยิ่งไปกว่าสุขในกายตนนิพพานไม่มี ทั้งในขณะที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนาแบบนี้อยู่ ใคร่จะปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์บ้าง เพียงแต่น้อมใจไปพิจารณาวิปัสสนาญาณ ไม่ช้าก็อาจจะบรรลุมรรคผลทางปัญญา เป็นผลพลอยได้อีกทางหนึ่ง


    การเจริญวิปัสสนาโดยใช้เจโตสมาธิเป็นบาท ปฏิบัติกันมากในหมู่ผู้เลื่อมใสในนิกายมหายาน ในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทก็อ้างถึงวิชชาแขนงนี้ไว้หลายตอน พุทโธวาทตอนใน ที่กล่าวถึงอาโลก หรือแสงสว่าง ที่กล่าวถึง


    ทิพพจักขุ วิชชาสาม และธรรมกาย เป็นเรื่องของวิปัสสนาแบบนี้ทั้งสิ้น การเจริญวิปัสสนาแบบนี้ไม่รุ่งเรืองทางฝ่ายเถรวาท แต่ทางมหายานกลับนิยมปฏิบัติกันทั่วไป อาจจะสันนิษฐานได้ว่า คงสืบมาแต่การกระทำทุติยสังคายนา ที่เมืองไพสาลี หลังจาก ปฐมสังคายนาราว 100 ปี ในครั้งนั้น พระสงฆ์ได้แตกแยกออกไปเป็นสองนิกาย เถรวาทนิกายหนึ่ง มหายานนิกายหนึ่ง ต่อมาต่างฝ่ายต่างพยายามแสดงว่าตนสังกัดในนิกายหนึ่งนิกายใดอย่างเคร่งครัด ผลก็คือว่า หลักปฏิบัติวิปัสสนาแขนงนี้ได้สูญไปจากนิกายเถรวาท หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพิ่งได้ค้นพบวิชชานี้อย่างใหม่อย่างพิสดาร เมื่อปี พ.ศ. 2459 นี้เอง และได้ให้นามว่า “วิชชาธรรมกาย”


    วิชชาธรรมกาย เป็นกรรมฐานแบบเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา อาการของคู่กันนั้น ตามปฏิสัมภิทามรรค ยุคอรรถกถากล่าวว่า 1.คู่กันด้วยอารมณ์ 2.ด้วยความเป็นโคจร 3.คู่กันด้วยความละ 4.ด้วยความสละ 5.ด้วยความออก 6.ด้วยความหลีกพ้นไปจากกิเลส 7.คู่กันด้วยความเป็นธรรมละเอียด 8.ด้วยความเป็นธรรมประณีต 9.ด้วยความหลุดพ้น 10.ด้วยความไม่มีอาสวะ 11.ด้วยความเป็นเครื่องข้าม 12.คู่กันด้วยความไม่มีนิมิต 13.ด้วยความไม่มีที่ตั้ง 14.ด้วยความว่างเปล่า 15.คู่กันด้วยการภาวนา 16.คู่กันด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน 17.ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน และ 18.คู่กันด้วยความเป็นคู่กัน อาการคู่กันข้างต้น มีข้อที่น่าสนใจเป็นพิเศษอยู่ข้อหนึ่ง ได้แก่อาการคู่กันด้วยความไม่มีนิมิต การเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตนี้ ก็คือ อนิมิตเจโตสมาธิ นั่นเอง พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ ณ บ้านเวฬุคาม ในนครไพสาลี ก่อนจะทรงปลงอายุสังขารเล็กน้อยว่า [FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]<CENTER>"อนิมิตเจโตสมาธินี้ ถ้าทำให้มากแล้วสามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่านั้น"</CENTER>[/FONT][FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]ถ้าจะอธิบาย อนิมิตเจโตสมาธิ ตามหลักของสมาธิแล้วอาจอธิบายได้ว่า ได้แก่การเกิดสมาบัติภายหลังที่ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว โดยเดินสมาบัติตามแบบของเจโตสมาธิ ให้นิมิตละเอียดเข้าๆ จนไม่เห็นนิมิต ทำนองอรูปฌาน ถึงขั้นนี้อำนาจสมาบัติจะทำให้ไม่มีมลทินและเชื้อโรคอะไรเหลืออยู่ในกายเลย การเดินสมาบัติทำนองนี้มากๆ ก็เท่ากับเป็นการพักผ่อนระบบของร่างกาย รวมทั้งสมองไปในตัว จึงมีเหตุผลพอเพียงที่จะทำให้อายุยืนได้ [/FONT]มีผู้แปลความหมายของ อนิมิตเจโตสมาธินี้ว่า เป็นอิทธิบาท 4 บ้าง นำความหมายของวิโมกข์ มาอธิบายว่า เป็นสมาธิที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นนิมิตบ้าง ซึ่งก็ถูกด้วยกันทั้งสิ้น แต่ถ้าจะให้ตรงกันจริงแล้ว น่าจะอธิบายดังที่ได้อธิบายมา

    </PRE>

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ ?

    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้ พระคุณเจ้าโปรดทราบ โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป กระผมอยากจะเรียนถามว่า
    มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม ! ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย นี่ หลักทำนิพพานให้แจ้ง
    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”
    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต มันเป็นฐานสำคัญ นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน จะให้ใจหยุด ถึงได้สอนกัน บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว เท่านี้ก็พอแล้ว ความจริงพอหรือไม่พอ ให้ดูอริยมรรคมีองค์ ๘ : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง ๔ ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ ๕ อยู่ที่ไหน ? ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย มันผิดที่ไหนกันครับ
    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่ ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย จะไปปฏิเสธได้ยังไง นิมิตมันต้องเกิดด้วย และถ้านิมิตไม่เกิด หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ไปเปิดดูได้ทุกท่าน เป็นพระพุทธวจนะด้วย ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป
    เพราะฉะนั้น นิมิตนี่เป็นของต้องมี สมถภูมิ ๔๐ น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ ๑๐ นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่ จริงๆ แล้ว แม้ อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ ก็ต้องเห็นนิมิต แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้ แปลว่า พิจารณาจริงๆ จะเอาแน่ๆ เช่น เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน
    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น แต่ไม่เห็นก็ได้ ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี เขาทำกุศลสำคัญ มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น เลยไปเกิดเป็นเทพยดา มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร กระผมว่าสงบได้นิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้ โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก อันนั้นล่ะดีที่สุด เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์
    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ ๑๐ อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ
    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น ท่านสูดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ ไป พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ กระผมเชื่อแน่และรับรอง ๑๐๐% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น กลางของกลางดวงนั้น แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน พิจารณาเช่นนี้ครับ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น ไปถามเอาเถอะครับ
    ยุบหนอพองหนอ นั่งภาวนาก็เห็นครับ ทำไมจะไม่เห็น เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป ไปถามดูก็ได้ แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม นึกออกไปเห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ? ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง ๒ คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์ อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง ๒
    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง ๒ คือ จิตละเอียดหนัก พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ ๓ ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ​
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?






    การปฏิบัติธรรม ณ ที่นี้หมายเฉพาะการปฏิบัติภาวนาธรรมนะ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ และมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกัน แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติทางจิตที่ต่อเนื่องกัน คือ
    ประการแรก คือ สมถภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งที่จะชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ หรือบางท่านเรียก นิวรณูปกิเลส นิวรณ์ ได้แก่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า แห่งจิต (ถีนมิทธะ) ๑ ความลังเลสงสัยว่าวิธีนี้ถูกหรือไม่ถูกทาง (วิจิกิจฉา) ๑ ความหงุดหงิดถึงโกรธพยาบาท (พยาปาทะ) ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต (อุทธัจจกุกกุจจะ) ๑ และ ความยินดีพอใจ ยึดมั่นหรือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย (กามฉันทะ) ๑
    กิเลสนิวรณ์ดังกล่าวนี้ หากมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็ย่อมทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว ทำให้ไม่อาจเห็นอรรถ (เนื้อความธรรม) เห็นธรรม (ธรรมชาติตามสภาวะที่เป็นจริง) ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์นี้อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถพิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และสูงขึ้นไปถึงอริยสัจ ตามที่เป็นจริงได้แจ้งชัด
    กิเลสนิวรณ์เหล่านี้จะกำจัดได้ก็ด้วยองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร (ความตรึกตรองประคองนิมิต) สามารถกำจัดถีนมิทธะและวิจิกิจฉาได้ ปีติ และ สุข สามารถกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะได้ และเอกัคคตารมณ์ (ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) สามารถกำจัดกามฉันทะได้
    วิธีอบรมจิตเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌาน เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์นั้น เป็นที่ทราบและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทำสมาธิ” หรือ “การเจริญภาวนาสมาธิ” ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสมถกัมมัฏฐาน
    อุบายวิธีที่จะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌานนี้มีหลายวิธีด้วยกัน พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๔๐ วิธี รวมเรียกว่า สมถภูมิ ๔๐ วิธีปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายได้เลือกอุบาย ๓ ประการขึ้นมาประกอบกัน เพื่อให้เหมาะแก่จริตอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติธรรมต่างๆ กัน และก่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติเป็นอย่างมาก อุบายวิธีทั้ง ๓ นั้นก็คือ พุทธานุสติ อานาปานสติ กับ อาโลกกสิณ กล่าวคือใช้อุบาย
    1. ให้กำหนด “บริกรรมนิมิต” คือนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสด้วย “ใจ” ซึ่งเป็นส่วนผลเบื้องต้นของอาโลกกสิณ เพื่อเป็นอุบายรวมใจอันประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มาอยู่ในอารมณ์เดียวกัน โดยการนึก (วาดมโนภาพ) ให้เห็นดวงแก้วกลมใส จำดวงแก้วดวงใส คิดจดจ่ออยู่กับดวงแก้วกลมใส และรู้อยู่ ณ ภายในตรงศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น เพื่อให้ธรรมชาติ ๔ อย่างของใจนั้น รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้นิ่งสนิท
      การนึกนิมิต บางคนจึงอาจนึกเห็นได้บ้าง บางคนก็นึกเห็นไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา แต่เมื่อ “นึกเห็น” ได้ที่ไหน ก็แปลว่า “ใจ” อยู่ที่นั่น แม้จะนึกเห็นได้แต่ก็ไม่ค่อยชัดนัก นี่เป็นเครื่องการนึกให้เห็นนิมิต เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจให้มาหยุดเป็นจุดเดียวกัน เพราะใจนั้นเป็นสภาพที่เบากวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านง่าย แต่รักษาให้หยุดนิ่งได้ยาก แต่ก็จะต้องอบรมให้หยุดให้นิ่ง มิฉะนั้นเมื่อมีกิเลสนิวรณ์อยู่ในจิตใจแม้แต่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจเห็นอรรถเห็นธรรมได้แจ่มแจ้ง
    2. ให้กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือให้ท่องในใจว่า “สัมมา อรหังๆๆๆ” ต่อไป เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งได้ง่ายเข้า เพื่อให้ใจมีงานทำ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส ที่ให้ใจนึกเห็นนั้นแหละ คำบริกรรมภาวนานี้จัดเป็น “พุทธานุสติ” กล่าวคือให้รำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ทุกขณะจิตว่า “เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์” (สัมมา = โดยชอบ, อรหัง = ผู้ตรัสรู้ ผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์)
    3. กำหนดฐานที่ตั้งของใจ กล่าวคือกำหนดจุดที่ให้เอาใจไปจดที่ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นจุดที่พักใจอันถาวร คือเวลาสัตว์จะไปเกิดมาเกิด หรือเวลาจะหลับ จะดับ จะตื่น จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นมาที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ณ ที่ตรงนี้ และ ณ จุดนี้ยังเป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีกด้วย กล่าวคือเมื่อจิตละเอียดหนักเข้าเพราะใจค่อยๆ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันนั้น ลมจะหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ ๒ นิ้วมือนี้เอง ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะว่าจุดนี้เป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จึงมีลักษณะของ “อานาปานสติ” เพราะเป็นธรรมชาติของใจ เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน และลมหายใจละเอียดเข้าๆ แล้วลมจะหยุด ณ ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมพึงเข้าใจว่า เมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กันไว้เรื่อยนั้น ใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ จะมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กล่าวคือแรกๆ จะเห็นนิมิตเกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วก็หายไป เรียกว่าเห็นๆ หายๆ เรียกว่า “อุคคหนิมิต” อันมีผลให้ใจเป็นสมาธิบ้างเป็น ครั้งคราว จัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ต่อเมื่อเห็นนิมิตใสแจ่ม ติดตาติดใจ แนบแน่น จนนึกจะขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงก็ได้ นี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” อันนี้มีผลทำให้ใจหยุดนิ่งแนบแน่น จัดเป็นสมาธิขั้น “อัปปนาสมาธิ” อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์แห่งฌาน ทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต (เห็นใสแจ่มอยู่ได้) และเกิดปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นธรรมชาติเครื่องเผากิเลสนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้สิ้นไป
    การเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่มในช่วงนี้ ก็เป็นการเห็นผลของการอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิได้แนบแน่นดี ไม่ใช่เห็นด้วยการนึกเอา จัดเป็นการเห็นของจริง คือ “ปฏิภาคนิมิต” ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ใจหยุดนิ่งสนิท โดยอาศัยองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนา เป็นอุบายวิธีให้ใจมีที่ยึดเกาะ แล้วค่อยๆ รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ ทั้งนี้เมื่อกำหนดฐานที่ตั้งของใจให้หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายที่ ๗ นั้น ถูกตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อีกโสดหนึ่งด้วย กำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด และโดยอาการของใจที่มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ตรงนี้ ธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุทั้ง ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ก็จะมาประชุมอยู่ ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เองด้วย มีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบคือของมนุษย์ ละเอียดไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะ คือ กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมของตนเอง เมื่อยิ่งละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จิตใจก็จะพลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สูงขึ้นไปถึงเห็น และเข้าถึงธรรมกายต่อๆ ไปตามลำดับจนสุดละเอียด
    การเห็นกายในกาย และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะนี้ ก็เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ” เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง เหมือนกับการเห็นมนุษย์ เช่นเห็นนาย ก. นาย ข. หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม แต่ยังไม่ได้ “เป็น” เพียงแค่ “เห็น” หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์ และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน
    ประการที่ ๒ คือ วิปัสสนาภาวนา มุ่งที่การเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริงว่า ธรรมชาตินี้เป็นสังขารธรรม อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร ? (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) และมีสภาวะตามธรรมชาติหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอย่างไร ? ปัญญาเห็นแจ้งในขั้นนี้ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา” แล้วจะพัฒนาสูงขึ้นไปเป็นการเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ อันเป็นปัญญาขั้น “โลกุตตรปัญญา” ให้สามารถเห็นว่ามีธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานคือพระธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ว่าเป็นบรมสุขยิ่งตามที่เป็นจริงอย่างไร นี้จัดเป็นการเห็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรม ถึงขั้นนี้จึงเป็นการ “เห็นจริงแท้” เป็นการเห็นปรมัตถธรรม คือธรรมชั้นสูงสุด หรือเห็นธรรมชาติที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์
    อันที่จริง การเห็นของหรือธรรมชาติจริงโดยปรมัตถ์นั้น เริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อพระโลกุตตรมรรคญาณเกิด ให้หยั่งรู้การกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย ๓ ประการคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ ก้าวล่วงเข้าสู่ภูมิของพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันบุคคลขึ้นไปนั่นแล้ว แต่มาเห็นชัดแจ้งที่สุดเมื่อถึงพระนิพพาน เมื่อพระอรหัตตมรรคญาณเกิด เป็นการเห็นของจริงธรรมชาติจริงๆ ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายสังขตธาตุสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แล้ววางอุปาทานได้หมด) กับฝ่ายอสังขตธาตุ อสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระนิพพานอย่างแท้แน่นอน
    กล่าวโดยสรุป
    1. การนึกนิมิตเป็นเพียงอุบายวิธีการอบรมจิตใจให้มารวมอยู่เสียที่บริกรรมนิมิต เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวกันตรงจุดเดียวกัน นี้นับเป็นการเห็นที่ยังไม่จริง
    2. ต่อเมื่อเกิดอุคคหนิมิตจึงนับเป็นการเห็นนิมิตจริง เพราะเป็นการเห็นขณะที่ใจหยุดนิ่ง ไม่ได้คิดเห็น แต่เป็นการเห็นนิมิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยอุบายวิธีดังกล่าว และมีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถได้เห็นและได้ยินหรือสัมผัสสิ่งที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสายตาเนื้อมนุษย์ หรือประสาทหูมนุษย์จะสัมผัสรู้ได้ นี้ก็เป็นการเห็นของจริง เช่นเดียวกันกับตาเนื้อเห็นกายมนุษย์ หรือประสาทหูได้ยินเสียงที่เราพอได้ยินกันได้ ทั้งหมดนี้ถ้าจะพูดกันในภาษาธรรมก็ชื่อว่า เป็นการเห็นจริงโดยสมมุติ คือเห็นสังขารทั้งหยาบและทั้งละเอียด
    3. การเห็นพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง สูงขึ้นไปถึงการเห็นอริยสัจและเห็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานตามที่เป็นจริง จึงนับเป็นการเห็นแท้จริงโดยปรมัตถ์
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    พระธรรมเทศนา ของหลวงปู่สด




    [๑๗]
    สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง
    ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในเรื่องสมาธิ ซึ่งเป็นลำดับอนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และโดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำ โดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน ผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนาในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับต่อไป
    มีคำปุจฉาวิสัชชนาว่า กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า
    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธึ ย่อมได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า
    อิธ ภิกฺขุ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่ ๑ เป็นไปด้วยกับวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน ความเพ่งที่ ๒ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติสุขเกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่ ๒
    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจากความปีติ อุเปกฺขโก จ วิหรติ มีอุเบกขาอยู่ ๑, สโต จ สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ ๑, สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุขด้วยนามกาย ๑, อริยา อาจิกฺขนฺติ อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่ ๓ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่ มีสติอยู่เป็นอุเบกขา ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่ ๓ อย่างนี้แหละ
    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้แล้ว ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมี ในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน ความเพ่งที่ ๔ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความ ของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน
    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ถือเอาความตามพระบาลีนี้ ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เกี่ยวแก่ ใจเลย เรียกว่าปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิล่ะ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มี สองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ
    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง บาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่า ปีติ “สุข” มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชํ ประกอบ ด้วยองค์ ๕ ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ ๕ ประการ นี้ปฐมฌาน
    ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตกวิจารเสียได้ ความตรึกความตรอง ตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ระคนด้วยองค์ ๓ ประการ คือ ปีติ สุข เกิดแต่สมาธิเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน
    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ ๒ ประการ คือ สุข เกิดแต่สมาธิ หรือ “สุข” “เอกัคคตา” อย่างนี้ ก็ได้ เพราะเกิดแต่สมาธิ
    ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจ เสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ระคนด้วยองค์ ๒ ประการ มีสติ บริสุทธิ์ วางเฉย อยู่สองประการเท่านั้น ที่จับตามวาระพระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติ แท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ
    ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละก้อ มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทาง ปฏิบัติ ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงแบบเดียวกัน
    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง ๖ รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่ รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็น ของเก่าของใหม่ ของปัจจุบัน หรือธรรมารมณ์บ้างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และ ที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยังรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสียนอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็ เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้
    เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง เห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุด ดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น นี้เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์คนนั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รู้ว่าดวงจิตของมนุษย์ เวลานี้ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทั้ง ๖ เลย อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย หลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ มันก็นิ่ง นิ่งแน่นอนอยู่กับดวงจิต มั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณก็ซ้อนอยู่ในกลาง ดวงจิตนั่นแหละ ทั้ง ๔ อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นแหละ ไม่ลั่นลอดจากกัน เป็นก้อนเดียวชิ้นเดียวอันเดียวทีเดียว เห็นชัดๆ อย่างนี้เรียกว่าสมาธิในทางปฏิบัติแท้ๆ อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อน แน่นแน่ว เหมือนอย่างกับน้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลย ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว อยู่ทีดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้ เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิ โดยปริยายเบื้องสูง
    สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้ สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง ๔๐ แต่ว่า ๔๐ ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย ๘ เหลืออีก ๓๒ นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว
    สมาธินอกพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนา นั่น กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, อนุสสติ ๑๐ เป็น ๓๐ แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา, จตุธาตุววัตถาน เป็น ๓๒ นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติ ก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ
    ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น
    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของหยุดนั้น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา (๘ ศอก) หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละขึ้น นั่งอยู่กลางดวงนั้น
    เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะ แต่ว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้ว พ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก (๒ วา) กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหนก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็มวิตกก็ตรวจตรา สีสันวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวง นิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนขององค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้วอย่างนี้ เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าขั้นสูงขึ้นไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ ยังใกล้กับของหยาบนัก
    เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนักเข้าๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า เกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌาน ไม่ใช่กายทิพย์หยาบล่ะ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีก แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีกแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติ ชอบอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามาก ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้น เต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุข เข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่า อุเบกขา นิ่งเฉยอยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก
    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่ ๒ ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวดังเก่า ต่อไปอีก ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้า ฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้น วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศัยกายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์ ๒ เต็มส่วน รับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก
    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่น ใส อยู่นั่น กลางของกลางๆๆๆๆๆ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่ ๔ เข้าถึงจตุตถฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตุตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขา กายอรูปพรหม เมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติวางเฉยบริสุทธิ์เป็น ๒ ประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตุตถฌานนั้น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหมกายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง ๔ ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่ปรากฏชัด ตามส่วนของตนๆ มารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อเข้าถึงฌานที่ ๑ ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่ ๒ ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่ ๓ ก็เป็นปฏิเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เข้าฌานที่ ๔ ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตุตฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แล สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง แสดงมาโดยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้.
     
  11. tosiya

    tosiya สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    มิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีนรกเป็นที่ไป
    สติปัฏฐาน 4 คือทางสายเอกที่ออกจากทุกข์...
     
  12. ดุสิตบุรี

    ดุสิตบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +273
    น่าสงสารผู้ที่กล่าวตู่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำยิ่งนัก
     
  13. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    วิชชาธรรมกายตรงตามร่องรอยแห่งสติปัฏฐาน ๔ ทุกประการ ผู้กล่าวตู่รู้ไม่จริง อคติบังหูบังตา ย่อมมีนิรยภูมิเป็นที่ไป...
    มรรคนั้นต้องครบ อินทรีย์ต้องสมบูรณ์ สติ สมาธิ ปัญญา... ไม่รู้จะกล่าวตู่อะไรนักหนา ก็ว่าๆตามเขามา ไม่ได้รู้เหนือรู้ใต้อะไรเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2011
  14. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ขอเรียนถามท่านผู้รู้ครับ จากข้อความด้านบนนั้น จิตของเราจะเป็นดวงแก้วใส

    แต่ทำไมจิตของผมมันไม่ใส แต่กลับเป็นเหมือนเพชรที่เจียระไนแล้ว เป็นประกาย และยังส่องแสงสีทอง ออกมาด้วย

    นี่เป็นดวงจิตขณะที่ผมทรงอรูปฌาน4 จึงอยากจะถามท่านผู้รู้ว่าดวงจิตของผมนี้เข้าถึงอรูปฌาน4 หรือยังครับ

    เจริญในธรรมครับ
     
  15. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    เมื่อทรงรูปฌาน ๔ ปฏิภาคนิมิตจะเป็นดวงใสประกายพรึกครับ แล้วคุณไตราเอลรู้ไหมครับว่าดวงใสประกายพรึกนั้น มีฐานอยู่ตรงไหน และคุณเห็นตลอดเวลาหรือเปล่า
    ถ้าคุณเห็นตลอดเวลา เมื่อใดที่เกิดอกุศลจิตขึ้นมา มีความหม่นหมองเกิดขึ้นกับดวงใสนั้นหรือเปล่า เวลาที่มีสิ่งกระทบแล้วจิตเผลอไปตาม ดวงใสนั้นกระเพื่อมไหวหรือเปล่า
    เมื่อเป็นสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ดวงใสนั้นมีความเปลี่ยนแปลงหรือไม่

    ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะธรรมต่างๆ ดวงใสประกายนั้นแหละ เป็น"อัพยัคคนิมิต"หรือเครื่องหมายเห็นจริง ซึ่งก็คือสภาพของจิตตามธรรมชาตินั้นเอง
    ถ้าแน่ใจแล้วว่าดวงใสประกายนั้นคือดวงจิต เราก็จะมาพิจารณาตามสติปัฏฐาน เห็นความเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย ก็เข้าฐานแห่งอนุปัสสนาก่อนนะครับ
     
  16. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ดวงจิตที่ผมเห็นนี้ เห็นครั้งแรกเมื่อตอนแปรงฟันอยู่ เมื่อหลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น และเห็นอยู่ตลอด ผมรู้สึกว่าลอยอยู่ตรงกลางหน้าอก บริเวณหัวใจ ดวงจิตนี้ไม่มีไหวไม่มีกระเพื่อม ไม่มีหม่นหมอง มันลอยนิ่ง แต่สามารถบังคับให้เล็กให้ใหญ่ได้ครับ

    ขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

    เจริญในธรรมครับ
     
  17. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ข้าน้อยขอแนะนำคุณไตราเอลว่า คุณลองน้อมนำดวงใสประกายนั้นไว้กลางกาย คือเหนือนาภี(สะดือ)ขึ้นมาประมาณ ๒ นิ้วมือ แล้วส่งใจเข้าไปในกลางดวงใสนั้น เมื่อใจตรงศูนย์แล้ว อาจจะรู้สึกเหมือนโดนดูด ดวงใสขยายว่างออก ปรากฎดวงศีล เข้ากลางดวงศีล ขยายว่าง ถึงดวงสมาธิ... ปัญญา... วิมุตติ... วิมุตติญาณทัสสนะ อยู่ในดวงใส(ใจ)นั้น เมื่อสุดเข้ากลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ก็จะขยายว่างปรากฎกายมนุษย์ละเอียด เข้าไปกลางดวงใส(ใจ)ของกายมนุษย์ละเอียด(กายที่ใช้ฝัน) (ที่ฐานกลางกาย) ก็จะปรากฎดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ของกายมนุษย์ละเอียดนั้น แล้วเข้ากลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะของกายมนุษย์ละเอียด ปรากฎกายทิพย์ ก็ทำในลักษณะเดียวกัน จะปรากฎกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ตามสภาวะธรรมที่เป็นจริง

    จะเห็นได้ว่ากายในกายเป็นฐานของจิตในจิตตามภูมิจิตต่างๆ ตามปฏิจจสมุปบาท เมื่อใจทรงมนุสสธรรม คือศีล ๕ คือใจของกายมนุษย์แสดงผลนำ เมื่อทรงเทวธรรม คือหิริ โอตัปปะ วิริยะ ขันติ ก็ใจของกายทิพย์แสดงผลนำ(ตั้งแต่ทิพย์ละเอียดลงมาถึงกายมนุษย์) เมื่อทรงพรหมธรรม คือรูปฌาน ก็ใจของกายพรหมแสดงผลนำ(ตั้งแต่รูปพรหมละเอียดคุมลงมาจนกายมนุษย์) อรูปพรหมธรรม คืออรูปฌาน ก็ใจอรูปพรหม(ทำนองเดียวกัน)... จะเห็นว่ากายในกายยิ่งละเอียดเข้าไป ยิ่งเป็นผู้ควบคุมกายที่หยาบลงมา ยิ่งกายที่ละเอียดๆควบคุมคุณธรรมของจิต ยิ่งทำให้จิตสะอาด ทีนี้ก็พิจารณาเห็นหมดทุกภพภูมิตั้งแต่มนุษย์ยันอรูปพรหม ก็จะเห็นว่าประกอบและเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย ยังไม่ใช่ที่พึ่งที่แท้จริง (เห็นทุกขสัจจ์ สมุทัยสัจจ์)

    ทีนี้เข้ากลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะของอรูปพรหมละเอียด ก็ถึงธรรมกาย(ผู้ที่เข้าถึงจะทรงจิตโคตรภูในขณะนั้น) เป็นกายโลกุตตระพ้นโลกียวิสัย เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัย(เห็นนิโรธสัจจ์) แต่ผู้เข้าถึงยังไม่บรรลุอริยะนะครับ เพียงแต่เป็นโคตรภูบุคคล คือกึ่งของโลกียะและโลกุตตระ... เราก็อาศัยญาณทัสสนะแห่งธรรมกายซึ่งปราศจากกิเลสนั้น พิจารณาสภาวะธรรมให้เห็นจริง มีสติละความชั่ว ยังความดีให้เกิดและเจริญ ขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใส กาย วาจา ใจก็เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร ทีนี้ก็จะรู้ชอบ คิดชอบ วาจาชอบ ประพฤติชอบ พยายามชอบ สติชอบ(สติปัฏฐาน) สมาธิชอบ(รูปฌาน๔ โดยมีฐานเป็นสัมมาสติ) ทั้งหมดนี้ก็คือเห็น(มรรคสัจจ์) เห็นอริยสัจจ์ พิจารณาธรรมในธรรม

    เป็นความครบถ้วนตามหลักสติปัฏฐานทุกประการ โดยมีสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน ยังมรรคผลให้เจริญ
     
  18. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกายเเล้ว ตราบใดที่ยังไม่สามารถละสัญโญชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก)
    เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการ (คือ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส) ได้โดยเด็ดขาด
    ตราบนั้นก็ยังมิได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคล
    จึงยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรม ที่ได้(บรรลุ)ถึงที่สุดเเล้ว

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    ผู้สอนภาวนาตามเเนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า
    ได้กล่าวถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย
    เเต่ยังไม่สามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการได้ ดังกล่าวเเล้วว่า
    "ยังจัดเป็นเเต่เพียง โคตรภูบุคคล"

    ซึ่งท่านอุปมาว่า
    เสมือนหนึ่งว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นได้ก้าวขาข้างหนึ่ง ขึ้นไปอยู่บนพระนิพพาน
    ส่วนขาอีกข้างหนึ่ง ยังยืนอยู่ในภพสาม

    กล่าวคือ หากผู้ปฏิบัติธรรมที่ถึงธรรมกายเเล้วนั้น ก้าวหน้าต่อไป
    คือ ปฏิบัติภาวนาต่อไปอีกจนสามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการนั้น ได้โดยเด็ดขาด
    ก็ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคล ตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    เเต่หากว่าผู้ที่เคยปฏิบัติได้ถึงธรรมกายเเล้ว ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะของการก้าวถอยหลัง
    กลับคืนมาสู่โลก (ภพสาม) ด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำ เหตุหนุน
    จนธรรมสัญญาขาดจากใจ เเละธรรมกายดับลงเมื่อใด
    บุคคลผู้นั้นก็กลับเป็นปุถุชนธรรมดาที่หนาไปด้วยกิเลส เเละมีสิทธิ์ถึงทุคติได้เมื่อนั้น

    "โอวาทของ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)"
     
  19. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ที่คุณไตราเอลเห็น เป็นดวงปฏิภาคนิมิตขอรับ ยังมิใช่ดวงจิต แต่เป็นเครื่องอำนวยให้เกิดทิพยจักษุเห็นดวงจิตจริงๆได้ครับ

    ในกรณีนี้คุณลองน้อมเอาดวงนิมิตนี้ไปไว้กลางกายเหนือสะดือสองนิ้วมือ หรือจะตรงกับแนวสะดือก็ได้(แต่จะยากกว่าเหนือสะดือสองนิ้วมือ) แล้วรวมใจทั้งหมดไว้กลางของดวงนิมิตนั้น ถ้าแนวแน่นเป็นหนึ่งเดียว จิตจะตกศูนย์ ดวงนิมิตนั้นจะตกไปในฐานเกิดดับของใจ(ตรงแนวเดียวกับสะดือ)แล้วดับไป ปรากฎดวงธรรม(ใจ)ผุดลอยขึ้นมาจากฐานเกิดดับนิดหน่อย ก็ประมาณสองนิ้วมือ... (จริงๆฐานกำเนิดเดิมของใจอยู่ตรงกลางกายแนวสะดือพอดี(เป็นฐานใจเกิดดับ) แต่จะลอยเด่นขึ้นมาเมื่อใจทำหน้าที่) ซึ่งใจนี้เราจะพิจารณาเวทนานุปัสสนาครับ คือเมื่อสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ใจจะปรากฎความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจิตจริงๆจะอยู่ในใจอีกที (เป็นธรรมชาติหนึ่งของใจ มีหน้าที่คิด ปรุงแต่งอารมณ์และตามเสวยอารมณ์) เราจะพิจารณาจิตตานุปัสสนาที่จิตนี่แหละครับ

    บางทีอาจจะเรียกรวมกันว่า"จิตใจ" จนเหมือนเป็นสิ่งเดียวกัน จริงๆแล้วจิตเป็นส่วนหนึ่งของใจครับ
     
  20. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ขอบคุณในคำแนะนำครับ คุณNamushakamunibutsu

    จริงๆผมเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในคำศัพท์ ที่ใช้ในทางธรรมะ

    ผมเองก็ปฏิบัติธรรมในแนวมโนยิทธิ ตามแบบของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ครับ
    ตอนนี้ก็ละสังโยชน์ไป 3 ข้อแล้วครับ

    ถ้ามีคำแนะนำเพิ่มเติม ก็บอกมาได้เลยนะครับ ขอบคุณมากครับ

    เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...