รบกวนระบายและสอบถามเรื่องนิวรณ์ครับอาจกระทบจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย overmage, 8 มิถุนายน 2011.

  1. overmage

    overmage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +128
    อาการตั้งใจในการนั่งสมาธิมากเกินไปถือว่าเป็นนิวรณ์ไหมครับ

    เหมือนเคยอ่านผ่านๆตามาว่าใช่ครับ แล้วมีวิธีแก้ไขอย่างง่ายๆ ได้อย่างไรบ้างครับ

    เพราะว่าพึ่งมามีปัญหาในการปฏิบัติในช่วงหลังที่รู้มากเกินไป จนกลายเป็นอยากรู้ อยากเห็น

    และทำให้ตั้งใจในการปฏิบัติอย่างเข้มข้นมากขึ้น จนภรรยาบอกให้เพลาๆลงบ้างเดี๋ยวจะเป็นบ้า จึงคิดได้ว่า เออ..หนักเกินไปนะ

    เพราะมีอาการ นอนหลับเป็นปกติ แต่พอช่วงตื่นขึ้นมากลับรู้สึกเหมือนไม่ได้นอน

    ทั้งๆที่นอนตามเวลาปกติ ผมเลยลองแก้ไขขั้นต้นด้วยการ

    1.ลดความอยากรู้อยากเห็นลง คิดว่า ไม่เห็นนรก สวรรค์ก็ชั่งมัน ขอให้จิตเป็น สมาธิ หรือ แค่ขณิกสมาธิก็พอ
    2.ลดการอ่านธรรมะลง เพราะอาจเครียดหากตั้งใจจดจำมากเกินไป
    3.ฟังเพลงที่รู้สึกพอใจ หากรู้สึกหนักๆ ที่ระหว่างคิ้ว (เป็นประจำหากตั้งใจมากเกินไป)
    4.หาช่วงเวลาว่างเพื่อสวดมนต์ชำระใจบ้าง (ทุกทีไม่ได้สวดนึกถึงแต่พระ)
    ที่ผ่านมาใช้ไม่ได้เลยจริงๆครับ
    5.เวลานั่งสมาธิผมปล่อยจิตว่า่งไปเลย ไม่จับกับอะไรทั้งนั้นสักพัก แล้วจึงค่อยจับภาพพระพุทธรูป (ทำง่ายดีแต่คงไว้ไม่นาน)

    ที่ผมทำแบบนี้พอได้ไหมครับ หรือว่ายังคงไม่ถูกต้องครับ หากยังฝืนปฏิบัติแบบเข้มอย่างเดิมจะมีผลเสียไหมครับ

    ขอท่านผู้รู้โปรดเมตตาสงเคราะห์คนโง่ ที่อยากหายโง่เถิดนะครับ

    ขอโมทนาบุญกับท่านที่สงเคราะห์ข้าพเจ้า ขอบุญท่านทั้งหลายสงเคราะฆืข้าพเจ้านี้

    จงส่งผลให้ท่านทั้งหลาย สำเร็จตามสิ่งที่มุ่งหวังไว้สูงสุดโดยง่าย โดยฉับพลันด้วยเถิด
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    ต้องรู้จักมัน มีกำลังสมาธิพอเหมาะ และรู้เท่าทันมัน จึงจะค่อย ๆ ละมันได้ ถ้าละนิวรณ์ได้วิปัสสนาญาณจึงจะเกิด
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    นิวรณ์ ๕

    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)


    จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
    ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
    ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่ เพียงใด
    อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์ มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์ อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้ ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่ ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ ๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่ ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัดเคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิดหน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
    อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่ ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์ จนเสียผลฌาน
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เรื่องของนิวรณ์ที่คุนถามนั้นใช่หรือไม่ใช่นั้นคุณลองไปศึกษาเอาเองกับข้อมูลที่ผมให้ไว้ข้างบนนะครับ.....

    ส่วนในเรื่องของของปัญหาของคุณนั้น.....ผมว่าเป็นเรื่องของ อินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เสมอกันนะครับ....

    คือคุณเป็นคนที่มี วิริยินทรีย์มาก(ความเพียรมาก)แต่ในขณะเดียวกัน สมาธินทรีย์น้อย(สมาธิน้อย)....จึงเป็นเหตุให้เกิดความฟุ้งซ่านแห่งจิต ก่อเกิดเป็นปัญหาที่คุณพบอยู่ ณ.ปัจจุบัน......วิธีการนั้นไม่ยากหลอกครับ....คือ ปรับอินทรีย์ทั้งห้าให้เสมอกัน กล่าวคือคุณปฏิบัติอะไรนั้นให้สังเกตความพอดีของตนเอง เมื่อใดก็ตามที่มีอาการอึดอัดนั้นก็คือให้ลดลงเหลือกำลังใจที่สบาย อาจฟังเพลงธรรมะบ้าง ใช้อารมณ์พิจารณาให้น้อยลง เอาอารมณ์ใจสบายๆ แต่ในขณะใดที่รู้สึกว่าหย่อนยาน เซื่องซึมก็ให้เพิ่มการพิจารณาธรรม ใช้ปัญญาพิจารณาธรรมบ้าง อย่างนี้หละครับ.....สิ่งที่สำคัญเลยนะ การปฏิบัติธรรม ไม่ว่ากรรมฐานกองใดก็ตาม ผลที่ได้คือความเป็นลหุตา คือมีอาการที่เบาสบายครับ นอกจากอาการณ์นี้ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอึดอัด ไม่สบายใจ ทรมานกาย เซี่องซึม ผิดหมดเลยครับ.....
     
  5. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    เป็น อัตตกิลมถานุโยค คือตึงเกินไป อาการที่จะเข้าถึงธรรมได้ ควรเป็นทางสายกลาง คือไม่หย่อน และ ตึงจนเกินไป การทำสมาธิ หรือนึกภาพพระ สามารถทำได้ หลายอิริยาบท คือ จะนั่ง เดิน ยืน นอน ทั้งหลับตา และ ลืมตา ก็สามารถทำได้ ( อิริยาบท ๔)

    อยากทราบว่า ที่สุดของการปฏิบัติ ท่านหวัง อะไร และ ท่านวางอารมณ์ การจับภาพพระ อย่างไร (หมายถึงวิธี) การรู้การเห็น สำคัญที่การวางอารมณ์ ถ้าวางอารมณ์ผิด ยากครับ
     
  6. overmage

    overmage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +128
    ขอบพระคุณมากครับ ที่รบกวนสละเวลามาตอบคำถามที่ค้างคาใจให้ผม

    ขอตอบคำถามของท่าน อริยบุตรครับ

    1.ในการปฏิบัติ ผมหวังเพื่อพิสูจน์ว่า สวรรค์ นรก นิพพานมีจริงไหมครับ

    2. การวางอารมทุกครั้งผมตั้งใจก่อนปฏิบัติว่า ถ้าไปได้(หมายถึงหากสามารถเห็นนรกสวรรค์ได้)ขอพบองค์พระพุทธเจ้าก่อน ส่วนที่อื่นแล้วแต่กำลังจะไปได้ จากนั้นก็จึงวางอารมว่าง
    ไม่คิดอะไรเลย ไม่จับอะไรเลย จนรู้สึกว่าสบายตัว จึงนึกถึงพระพุทธรูปที่เราชอบ หรือองค์ที่แว่บ ขึ้นมา(ไม่เอาไหนเลยผม)

    3.โดยมากแล้วผมมักติดนิสัย ปล่อยให้ว่าง ยาวไปเลย ลืมกำหนดแม้แต่ลมหายใจ เพราะตอนนั้นไม่รู้ตัวว่าหายใจอยู่ บางครั้งกว่าจะรู้ตัวก็ปาไป30นาทีก็มีครับ มันจะเรียกว่าอาการเหม่อไหมครับ แต่ไม่มีอาการง่วงนะครับ พอคลายก็จะรู้สึกสดชื่นสักพัก แล้วก็กลับเป็นปรกติ (คิดไปเองหรือเปล่าเรา)

    มันมีอีกหลายอย่างที่ผมไม่รู้จะอธิบายยังไงดี เพราะส่วนมากมันเป็นแค่ความรู้สึก


    ส่วนนี้เป็นประวัติการปฏิบัติของผมนะครับ
    โดยการเดินทางเริ่มต้นการปฏิบัติในครั้งแรกปี 42 ผมทำตามหนังสือ คู่มือการถอดจิต ของใครนั้นกระผม ขอโทษที่จำไม่ได้ครับ ต่อมาเกิดภาพขณะปฏิบัติ คือเงาดำ มารบกวนจิตเสมอ จึงคิดว่าคงมาผิดทางและหยุด มาเอาดีด้าน การภาวนาโดยใช้ พุท-โธ แทน
    วางอารมให้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดอะไรเลย (ติดมาจนทุกวันนี้) จากนั้นจึงเริ่มใช้อารมหนักขึ้นโดยการฝึกกสิน แสง (ตอนนั้นไม่รู้จัก แต่ทราบว่า มองผ่านแสงจะสามารถเห็น นรก สวรรค์) ฝึกแบบ ตาบอดคลำทาง ไม่มีคนแนะนำ มีแต่ตำรา จนสามารถเห็นนิมิตแสงได้ แต่ไม่สว่างนัก และมีเจ้ากรรมนายเวรมารบกวน จึงหยุดแค่นั้น เพราะกลัว ตาย กลัวจิตหลุดแล้วกลับไม่ได้ (ความไม่เอาไหนของตัวผมเอง) จนมาพบ วิธีฝึกกสิน เลยเข้าใจว่าที่ตัวเองทำ คือ กสินแสง และฝึกเรื่อยมา จนได้กสินโทษ (เก่งจริงเรื่องไม่เอาไหน)
    จนมาที่เว็บนี้และได้คุณ Phanudet และท่านอื่นๆอีกมากช่วยแนะนำให้ จึงได้โล๊ะของเก่าทิ้งและทำใหม่ แต่ก็มีอาการอย่างที่ผมกล่าวมาข้างต้นคือ พยายามเกินไป อยากได้ อยากเห็น อยากสำเร็จ อยากดี มากเกินไป มันดีในแง่ศีลจะได้ครบ แต่อารมมันตึงเกินไปครับ

    จากทั้งหมดรบกวนท่านสงเคราะห์ให้คำแนะนำอีกทีนะครับ
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ปฏิบัติต่อไปครับ....ตอนนี้มันยังหาจุดที่ว่าพอดีและเหมาะสมกับตัวเองยังไม่ได้...อีกหน่อยอยู่ตัวแล้วมันจะสบายเลยครับ....
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ที่ผมทำแบบนี้พอได้ไหมครับ หรือว่ายังคงไม่ถูกต้องครับ หากยังฝืนปฏิบัติแบบเข้มอย่างเดิมจะมีผลเสียไหมครับ

    จขกท. ยังไม่มีหลัก คือ กรรมฐานเลยครับ ยังสะเปะสะปะ

    รบกวนระบาย และสอบถามเรื่องนิวรณ์ อาจกระทบจิต
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
  10. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    907
    ค่าพลัง:
    +3,602
    คําว่าสายกลาง ไม่ได้สื่อหมายถึง ทําไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก ง่วงก็นอน หิวก็กิน เห็นอธิบายกันมาแนวนี้หลายคนแล้ว มันผิด มันตกอยู่ใต้อํานาจของนิวรณ์เนื้อๆ

    ถ้าหวังแค่ความสบายใจก็เอาแค่นั้น แต่ผู้มุ่งหวังธรรมชั้นสูง หวังผลหวังดอกจากต้นไม้ คือ วิมุติ ต้องเดินทางสายกลางแบบ มัชฌิมาปฏิปทา พละ 5 อินทรีย์ 5 เป็นบาทที่ดีแบบคุณ
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Phanudet<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4753296", true); </SCRIPT> แสดงไว้หัวข้อต้น คือคุณต้องอาศัยการตั้งใจค่อนข้างสูง คือตั้งใจทํา ไม่ใช่ตั้งใจหวังผล แต่ตั้งใจปฏิบัติ เป็นสัมมาวิริยะ เป็นความเพียรชอบอยู่

    มันมิใช่การทรมานตนให้ลําบากโดยไร้แก่น ไร้แกน แต่เป็นเหมือนชาวนาที่ต้องยอมมือแตกขุดดิน ถากหญ้า เพื่อให้ต้นไม้เจริญได้ เป็นความเพียรที่ดูเหมือนจะอัตตกิรมถานุโยค แต่เป็นการเพียรเพื่อต่อสู้เผากับกิเลส

    คําถามนี้เป็นคําถามที่ดูเหมือนสองแง่สองมุม แต่ถ้าพูดกันในระดับเพื่อนสหธรรมิกที่พอแลกเปลี่ยนธรรมในมุมมองกันได้โดยไม่เกิดวิวาทะขึ้นภายหลัง ผมก็ตอบว่าตั้งใจปฏิบัติไม่เป็นนิวรณ์แต่ประการใด เพราะแรกๆก็ต้องเพียรต่อสู้กับนิวรณ์อย่างหนักทั้งนั้น จนกว่า ศรัทธา วิริย สติ สมาธิ และปัญญา ในพละ จะเข้าสั่งสมจนกลายเป็นอินทรีย์ เมื่อนั้น ทางสายกลางก็เกิด ถ้าไปผ่อนตั้งแต่แรก ก็เกิดทางสายกลาง(สายกู)คือคิดเอง กําหนดกลางเอง จะกลายเป็นกามสุขัล เอา

    เพียรไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ถึงจุดไม่ต้องพักและไม่ต้องเพียรเอง

    เมื่อศรัทธาตั้งมั่น ความเพียรก็เกิด เมื่อความเพียรตั้งมั่น สติก็เกิด เมื่อสติเกิดปัสสัทธิก็เกิด เมื่อปัสสัทธิเกิด สมาธิคือความตั้งมั่นก็เกิด เมื่อความตั้งมั่นเกิดปัญญาก็เกิด เมื่อความรู้เห็นจริงในไตรลักษณ์เกิด การวางหรืออุเบกขาจึงปรากฏ

    อนุโมทนากับผู้ถามธรรม และผู้ให้ธรรมทุกท่าน
     
  11. overmage

    overmage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +128
    เอ่อ ขอโทษนะครับ ผมโพสไว้แค่เว็บเดียว ใครหวังดีเอากระทู้ผมไปโพสต่อหนอ ?

    แต่ก็ไม่เป็นไรครับ จะได้รับรู้แบบหลายๆทาง ถ้าไม่โง่ในวันนี้ พรุ่งนี้คงไม่ฉลาดขึ้น^^

    ดีกว่าไม่รู้แล้วอมเอาไว้ ขอขอบพระคุณทุกท่านครับ ผมจะกลับไปปฏิบัติใหม่

    อย่างน้อยตอนนี้ผมก็ได้ทุนคืนมานิดหน่อยละครับ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...