ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่อาจารย์ฝ่ายปฏิบัติถามลูกศิษย์หลังจากการแสดงธรรมจบลงว่า “ฟังเทศน์ได้ความหรือเปล่า” นั้น หมายถึงได้ความสงบเย็นและความแยบคายทางปัญญาตามภูมิจิตภูมิธรรมที่มีต่างกันในขณะฟัง มิได้หมายถึงการจดจำเนื้อธรรมที่ท่านแสดง แต่บทธรรมใดที่ตกค้างอยู่ในความทรงจำ บทธรรมนั้นก็จำได้เอง ที่ผ่านไปก็ไม่จำเป็นต้องจดจำ สำคัญที่ขณะฟังทำจิตให้ตั้งตัวมีความรู้สึกอยู่เฉพาะหน้า ไม่พลั้งเผลอไปกับอารมณ์อื่น มีสติกับจิตทำหน้าที่รู้ตัวอยู่ภายใน กระแสธรรมที่ท่านแสดงจะเข้ามาสัมผัสกับความรู้ที่ตั้งไว้ดีแล้วนั้น และได้ยินชัดถ้อยชัดคำยิ่งกว่าการส่งจิตออกไปรับธรรมเสียอีก จิตกับกระแสธรรมที่สัมผัสรับรู้กันโดยสม่ำเสมอไม่ขาดวรรคขาดตอนนั้น คือ การกล่อมเกลาจิตให้สงบตั้งมั่นลงเป็นสมาธิได้ในขณะฟัง อารมณ์อื่นไม่เข้ามายุ่ง หรือจิตไม่ส่งออกไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ภายนอกอันเป็นเครื่องก่อกวนใจให้ขุ่นมัว มีเฉพาะจิตกับธรรมสัมผัสกันอยู่เท่านั้น จิตย่อมสงบตัวลงไปเอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขณะจิตสงบไม่คิดปรุงอารมณ์ก่อกวนต่าง ๆ ย่อมทำให้ลืมความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและเวล่ำเวลาไปเอง กายก็เป็นเหมือนไม่มีเวลานั้น มีแต่ความสงบเย็นเป็นผลให้จิตได้ดื่มโอชารสแทนอารมณ์อื่น ขณะที่จิตกับธรรมกลมกลืนเป็นอันเดียวกันนั้น นั่งนานเพียงไรก็ไม่เกิดความเหนื่อยรำคาญ ถ้าความสงบนั้นไม่ถอนตัวขึ้นมาตราบใด กายก็ไม่มีทุกขเวทนามารบกวน อารมณ์ก็ไม่รบกวนใจตราบนั้น ใจกับธรรมอยู่ด้วยกัน มีแต่ความสงบเย็นไม่เคยเป็นข้าศึกต่อกันแต่ไหนแต่ไรมา
    <o:p></o:p>
    แต่ถ้าอารมณ์อื่นปรากฏขึ้นเมื่อไรก็เกิดเป็นข้าศึกกันเมื่อนั้น กายก็เหนื่อยใจก็รำคาญ ความง่วงก็มาก เนื้อหนังเส้นเอ็นทั่วอวัยวะส่วนต่าง ๆ ก็แสดงอาการเจ็บปวดรวดร้าวไปหมด ราวกับจะผุพังไปตาม ๆ กันในเวลานั้น เพราะกิเลสตัวขี้เกียจมักกวนและเที่ยวยุแหย่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เจ็บปวดรำคาญไปหมด สุดท้ายความเพียรก็แตกสามัคคี แผ่สองสลึงลงแบบไม่เป็นท่าเพราะมันจนได้ นี่แลเรื่องของกิเลส ไม่ว่าชนิดใดย่อมทำลายคนและสัตว์ได้เหมือนกันหมด ท่านจึงเรียกว่ามาร มีน้อยก็กวนน้อย ทำลายน้อย มีมากก็กวนมาก และทำลายมาก ผิดกับธรรมซึ่งเป็นเครื่องช่วยพยุงส่งเสริมเป็นไหน ๆ ธรรมมีมากเพียงไรย่อมทำใจให้สงบเย็นเพียงนั้น ยิ่งมีมากจนใจทั้งดวงคนทั้งคนกลายเป็นธรรมทั้งแท่งแล้ว นั่นแลคือผู้ทรงธรรมทั้งแท่ง ผู้ทรงบรมสุขตลอดอนันตกาล
    <o:p></o:p>
    ที่ท่านถามว่าฟังเทศน์ได้ความไหมนั้น คือได้ความดังกล่าวมา นับแต่ความสงบสุขในขณะฟังเป็นลำดับไป และได้ความสว่างไสวทางปัญญา ละกิเลสได้เป็นระยะไปตามภูมิของตน เรียกว่าฟังเทศน์ได้ความ กระทั่งได้ความสุดสิ้นแห่งการละกิเลสและรู้แจ้งในธรรมทั้งหลายในขณะนั้น ท่านเรียกว่าได้ความทั้งสิ้น พระธุดงคกรรมฐานโดยมากท่านฟังธรรมได้ความ ท่านหมายเอาได้ความระหว่างใจกับธรรมสัมผัสกัน ปรากฏผลเป็นความสงบเย็นและเห็นแจ้งขึ้นมาที่ใจ ส่วนการจดจำเนื้อธรรมจากการแสดงนั้น ท่านไม่ถือเป็นกิจสำคัญยิ่งกว่าการกำหนดรู้ระหว่างธรรมกับใจสัมผัสกัน ท่านนั่งฟังเทศน์อยู่ด้วยกันจำนวนมากน้อยเพียงไรจึงเหมือนไม่มีคน ต่างองค์ต่างนั่งกำหนดจดจ่อฟังอยู่ที่ใจของตนราวกับหัวตอ ไม่มีการกระดุกตุกติกอันเป็นการเหนื่อยหน่ายรำคาญแต่อย่างใด ได้ยินเฉพาะเสียงอาจารย์ผู้ให้ธรรมซึ่งแสดงด้วยความเข้มข้นราวกับฝนตกหนัก ทั้งลูกเห็บทั้งลมจัดพัดผันปั่นป่วน เหมือนกิเลสบาปกรรมทั้งหลายจะขาดทลายกลายเป็นกระแสลมไปตามกระแสธรรมในเวลานั้น<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เพราะขณะที่ฟังอยู่ด้วยความหมายมั่นปั้นมือ ไม่มีกิเลสตัวใดจะโผล่หน้าอ้าปากออกมาแสดงความอวดดีกับสติปัญญา ที่กำลังฟาดฟันหั่นแหลกกันอย่างสุดกำลังเวลานั้น มีแต่ธรรมล้วน ๆ ทั้งภายนอกคือเสียงแห่งธรรม ทั้งภายในคือใจกับธรรมกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน มีแต่ความรื่นเริงบันเทิงไปกับธรรมความสงบเยือกเย็นที่รู้เห็นขึ้นกับใจเท่านั้น กว่าจะจบการแสดงธรรมแต่ละครั้งกินเวลาสามสี่ชั่วโมง หลังจากการฟังธรรมผ่านไปแล้ว หากยังมีข้อข้องใจในบางตอนสำหรับบางราย ก็กราบเรียนถามท่านผู้เป็นอาจารย์ได้ช่วยชี้แจงจนเป็นที่เข้าใจ แล้วค่อยเลิกไปที่พักของตน ๆ จากนั้นต่างองค์ก็เข้าทางเดินจงกรมต่อไป เพื่อคลายทุกข์ในร่างกาย และระบายกิเลสออกจากใจด้วยอุบายต่างๆ ตามสติปัญญาของแต่ละท่านจะมีอุบายหนักไปในทางใด กว่าจะออกจากทางเดินจงกรมเพื่อพักผ่อนก็กินเวลาหลายชั่วโมง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    วันที่มีการประชุมธรรม การพักผ่อนหลับนอนจำต้องเลื่อนออกไปพักดึกกว่าปกติธรรมดาบ้าง เพราะวันนั้นถือเป็นกรณีพิเศษซึ่งมิได้มีทุกวันไป บางท่านจึงประกอบความเพียรด้วยอิริยาบถสาม คือ ยืน เดิน นั่ง ตลอดสว่างไม่หลับนอน การไม่ยอมหลับนอนตลอดรุ่งของท่านมีสองประการ คือ ไม่นอนเพราะความตะเกียกตะกายในความเพียร เพื่อบูชาธรรมที่ท่านอุตส่าห์แสดงด้วยความเมตตาในธรรมทุกขั้นอย่างถึงใจ ฟังแล้วเกิดศรัทธาเพิ่มขึ้น ทำให้มีความอุตส่าห์พยายามอยากให้เป็นไปตามที่ท่านเมตตาสั่งสอน หนึ่ง ไม่นอนเพราะความดื่มด่ำในธรรมท่านและธรรมโอชาที่มีอยู่กับใจตัวเองเป็นเครื่องประสานกัน หนึ่ง ส่วนความดูดดื่มธรรมภายในใจของแต่ละท่านนั้นต่างกันไปตามภูมิที่มีอยู่กับใจ บางท่านมีสมาธิอย่างอ่อน บางท่านมีอย่างกลาง บางท่านมีอย่างละเอียดแนบแน่น ซึ่งแต่ละขั้นก็เป็นธรรมปีติพอให้เกิดความดูดดื่มรื่นเริงได้ตามภูมิของตน
    <o:p></o:p>
    และบางท่านเริ่มฝึกหัดวิปัสสนาปัญญาอย่างอ่อนไปตามขั้นสมาธิของตน บางท่านพิจารณาวิปัสสนาอย่างกลาง บางท่านเจริญวิปัสสนาขั้นสูงขึ้นไป และบางท่านก็เจริญวิปัสสนาภูมิอัตโนมัติ คือสติปัญญาที่หมุนตัวไปกับธรรมประเภทต่าง ๆ ที่มาสัมผัสใจ ไม่มีลดละปล่อยวาง ถ้าเป็นฝนก็ชนิดตกพรำทั้งวันและคืนไม่มีหยุด ถ้าเป็นน้ำก็ชนิดน้ำซับน้ำซึม ไหลรินอยู่ตลอดเวลาทั้งหน้าแล้งหน้าฝน เมื่อเป็นวิปัสสนาธรรมจึงให้นามตามนิสัยและสำนวนป่าว่า สติปัญญาอัตโนมัติ หากจะเรียกชื่อดังครั้งพุทธกาลท่านเรียกกันว่า มหาสติมหาปัญญา ก็ไม่น่าจะบกพร่องทางคุณสมบัติ เพราะสติปัญญาขั้นนี้ทำหน้าที่เต็มภูมิอยู่ตลอดเวลา ไม่มีชะงักชักช้าและต้องถูกบังคับถูไถแต่อย่างใดเหมือนปัญญาทั่วๆ ไป แต่เป็นสติปัญญาที่รู้จักการงานในหน้าที่ของตนโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่จะให้นามว่าเป็นมหาสติมหาปัญญาแบบครั้งพุทธกาลท่าน วิสัยป่าไม่อาจเอื้อมตีเสมอได้ จึงหันมาใช้สติปัญญาอัตโนมัติแทน รู้สึกเหมาะสมกับภูมินิสัย ธรรมเหล่านี้แลที่พาให้พระธุดงค์ท่านเพลินในความเพียรไม่ค่อยหลับนอนกัน ต่างท่านต่างเพลินในธรรมตามภูมิของตน<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    องค์ที่เกิดความสงสัยแต่ไม่กล้าเรียนถามท่านได้ในเวลาปกติ เมื่อถึงวันประชุมจึงเป็นเหมือนจะเหาะเหินเดินอากาศได้ เพราะความดีใจที่จะได้ฟังการบุกเบิกส่งเสริมตามจุดที่ตนกำลังพิจารณา และตอนที่กำลังสงสัยเพื่อผ่านไปเป็นพักๆ ต่างก็ตั้งท่าตั้งทางประกอบความเพียรเตรียมรอรับการโสรจสรงธรรมจากอาจารย์กัน ราวกับกระหายมาเป็นปีๆ พอจวนถึงเวลา ต่างองค์ต่างทยอยกันเข้ามาสู่ที่ประชุมด้วยความสงบเสงี่ยมงามตาน่าเคารพเลื่อมใสเป็นอันมากยากจะหาพบได้ การก้าวเข้าสู่ที่ประชุมของแต่ละองค์มีความประสงค์ในธรรมอย่างแรงกล้า มุ่งหน้าสดับธรรมอย่างถึงใจ ต่างองค์ต่างกราบและนั่งเรียบราบคอยสดับธรรม พอได้โอกาสอาจารย์ผู้ให้โอวาทก็เริ่มแสดงธรรม และค่อยๆ หลั่งไหลออกมาไม่ขาดวรรคขาดตอน ราวกับฝนเริ่มโปรยเม็ดลงมาทีละหยดละหยาดฉะนั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    และก่อนท่านจะเริ่มแสดงมีสงบอารมณ์พักหนึ่ง ถ้าตามความคิดเดาของผู้เขียนก็น่าจะกำหนดบทธรรม ที่ควรแก่กรณีของผู้รอฟังอยู่แล้วอย่างพร้อมเพรียงเวลานั้น จากนั้นจึงเริ่มแสดง ธรรมที่ท่านสั่งสอนพระธุดงค์โดยเฉพาะนั้น รู้สึกจะเริ่มแต่ขั้นสมาธิขึ้นไปหาปัญญาเป็นส่วนมาก จนถึงธรรมขั้นสูงสุดวิมุตติหลุดพ้นเป็นที่ยุติ ขณะที่แสดงไม่มีเสียงอะไรมารบกวน มีแต่เสียงธรรมประกาศกังวานอยู่ทั่วบริเวณสถานที่ประชุมอย่างเดียว ผู้ฟัง ๆ ด้วยความสนใจใคร่รู้ใคร่เห็นตามท่านอย่างเต็มใจไม่พลั้งเผลอยอมให้จิตส่งไปอื่น คอยกำหนดดูอยู่เฉพาะใจดวงเดียวซึ่งเป็นคู่ควรแก่ธรรมทุกขั้น ธรรมที่ท่านแสดงกับใจที่ตั้งรอรับไว้โดยชอบ ย่อมควรแก่การรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เข้าไปสัมผัสเกี่ยวข้องไม่มีประมาณ
    <o:p></o:p>
    สัจธรรมก็ดี สติปัฏฐานก็ดี ไตรลักษณะคือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ก็ดี ที่เป็นความจริงตามส่วนครอบแดนมนุษย์และสัตว์ทั่วโลกธาตุ ซึ่งท่านนำมาแสดงในเวลานั้น จึงเป็นเหมือนได้ฟังความจริงทั่วไตรภพที่ไหลมาบรรจบในใจดวงเดียว ซึ่งเตรียมรับทราบอยู่อย่างเต็มใจให้ได้ฟังอย่างถึงใจ เพราะความสัมผัสไปมาแห่งธรรมทั้งใกล้ทั้งไกลทั้งในและนอกขณะท่านแสดงประมวลมา เป็นธรรมสงเคราะห์ลงในกายในจิตของผู้ฟังได้โดยตลอดทั่วถึงไม่มีทางสงสัย ใจที่เคยเก็บกอบหอบหิ้วกิเลสทั้งหลายโดยถือว่าเป็นของดีมาดั้งเดิม เมื่อได้ฟังทั้งคุณและโทษที่ท่านโปรดเมตตาแล้ว จะไม่ยอมสละทิ้งปล่อยวางก็รู้สึกจะมืดมิดปิดตายเกินไป แต่จะมีใครที่ตั้งหน้ากอบโกยโรยทุกข์ใส่ตัวเองเวลานั้น ทั้งที่ตั้งหน้ามาฟังความจริงอย่างเต็มใจจากครูอาจารย์ ผู้แสดงธรรมของจริงล้วน ๆ นอกจากจะฟังเพื่อเห็นทั้งโทษและคุณที่ท่านแสดงไปตามธรรมจริงเท่านั้น สิ่งที่เป็นโทษควรละย่อมละ สิ่งที่เป็นคุณควรยึดและส่งเสริมไปตามความจริงและเจตนาไม่มีทางเป็นอื่น
    <o:p></o:p>
    ดังนั้นผู้ฟังเพื่อความจริงตามธรรมที่ท่านแสดงตามความจริง จึงมีทางรู้ทางละเป็นผลเครื่องยืนยันรับรองสำหรับตัว โรคที่ยอมหายด้วยยาและกิเลสที่ยอมหมดสิ้นไปด้วยธรรม จึงเป็นคติธรรมดาที่โลกและธรรมเคยปฏิบัติต่อกันมา นอกจากโรคชนิดไม่ฟังยา และกิเลสชนิดไม่มองดูธรรมเท่านั้น เป็นขึ้นกี่รายก็ต้องฉิบหายไปตาม ๆ กันไม่มีทางเหลือหลอ เรียกว่าโรคสุดวิสัย<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การประหยัดของพระธุดงคกรรมฐาน

    การนุ่งห่มใช้สอยบริขารต่าง ๆ ของพระธุดงค์ เฉพาะท่านอาจารย์มั่นรู้สึกท่านพิถีพิถันและมัธยัสถ์เป็นอย่างยิ่ง ไม่ยอมสุรุ่ยสุร่ายเป็นอันขาดตลอดมา ปัจจัยเครื่องอาศัยต่าง ๆ มีมากเพียงไรก็มิได้ใช้แบบฟุ่มเฟือยเห่อเหิมไปตามเลย ปฏิปทาคือข้อปฏิบัติต้องคงเส้นคงวาอยู่โดยสม่ำเสมอ แต่การสงเคราะห์ให้ทานนั้น สิ่งของมีเท่าไรเป็นให้ทานไม่มีเหลือ และไม่เห็นท่านเก็บสั่งสมอะไรไว้บ้างเลย ท่านสงเคราะห์ให้ทานทั้งพระเณรเถรชีและฆราวาสผู้ยากจนที่มาหา เท่าที่สังเกตรู้สึกว่าจิตท่านทั้งดวงเต็มไปด้วยความเมตตาสงสารโลกมากไม่มีประมาณ แต่การนุ่งห่มใช้สอยท่านปฏิบัติอีกแบบหนึ่ง เหมือนพระอนาถาไม่มีอะไรติดตัว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผ้าสังฆาฏิ จีวร สบง ผ้าอาบน้ำ ขาด ๆ วิ่น ๆ มองเห็นแต่รอยปะติดปะต่อปะ ๆ ชุน ๆ เต็มไปทั้งผืน เห็นแล้วอดสลดสังเวชมิได้ เพราะไม่เคยเห็นในวงคณะสงฆ์ไทยทำกันอย่างนั้นมาก่อนเลย เพิ่งได้เห็นท่านอาจารย์เป็นองค์แรกที่ทำอย่างนี้ ท่านพยายามปะชุนเสียจนไม่มีที่จะปะจะชุน จนเนื้อผ้าเก่าที่มีอยู่ดั้งเดิมเปื่อยหายไปหมด ปรากฏแต่ผ้าใหม่ที่ปะชุนทีหลังทั้งนั้น ผ้าทั้งผืนที่ปะแล้วชุนเล่าจนรอยด่าง ๆ ดาว ๆ เหมือนลายเสือโคร่งเสือดาวเราดี ๆ นี่เอง ไม่ยอมทิ้งแบบเปล่าประโยชน์อย่างง่าย ๆ เมื่อเห็นหมดสาระในการนุ่งห่มแล้ว ก็ทำเป็นผ้าเช็ดมือหรือเช็ดเท้าหรืออื่น ๆ ต่อไปที่พอเกิดประโยชน์ได้อีก จนแหลกละเอียดเสียจริง ๆ ไม่มีทางจะทำอะไรต่อไปได้อีกแล้ว ท่านถึงจะยอมทิ้ง
    <o:p></o:p>
    ไม่ว่าผืนใดขาดในบรรดาผ้า ผ้าครองหรือผ้าบริขารที่ท่านนุ่งห่มใช้สอย ผืนนั้นต้องถูกปะถูกชุนจนคนทั่วไปดูไม่ได้ เพราะไม่เคยเห็นใครทำกันในเมืองไทยที่เป็นเมืองสมบูรณ์เหลือเฟือจนทำให้คนลืมตน มีนิสัยฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยแม้เป็นคนจน ๆ ท่านเองไม่เคยสนใจว่าใครจะตำหนิติชมเพราะการทำเช่นนั้น แม้บริขารเครื่องใช้ในวัด เช่น ครุ (เครื่องตักน้ำ) กระป๋อง กระบวยตักน้ำหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ชำรุดลง ท่านจะนำมาแก้ไขดัดแปลงเสียใหม่แล้วนำไปใช้ได้อีกจนสุดสาระของสิ่งนั้น ๆ ท่านถึงจะยอมทิ้ง การเก็บรักษาบริขารและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ภายในวัดหรือที่พัก ท่านเข้มงวดกวดขันมาก ต้องเก็บรักษาหรือจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบงามตา ไม่ปล่อยทิ้งให้เสียหายและเกะกะกีดขวางสถานที่และทางเดินได้เลย ใครวางสิ่งใช้สอยต่าง ๆ ไว้ไม่ดี ท่านจะเรียกหาตัวมาสอบถามและดุด่าสั่งสอนทันที ไม่ให้ทำเช่นนั้นต่อไปอีก

    บางท่านอาจจะคิดข้องใจสงสัยหรือจะเป็นการหยั่งเสียงก็เหลือจะเดาถูก โดยเรียนถามท่านอย่างดื้อ ๆ ก็มี ว่าอย่างอื่น ๆ ก็ไม่สำคัญนัก แต่เฉพาะผ้าสังฆาฏิ ผ้าจีวร ผ้าสบง ซึ่งเป็นบริขารสำหรับองค์และสำคัญกว่าบริขารอื่นใด ท่านอาจารย์ก็มิได้อดอยากขาดแคลน มีท่านผู้ศรัทธานำมาบริจาคถวายอยู่เสมอ ควรจะใช้สอยผืนใหม่เพื่อฉลองศรัทธาเขาบ้าง ส่วนผืนเก่าก็ควรสละออก เผื่อท่านผู้ใดประสงค์จะรับไปไว้สักการบูชาก็กรุณาให้ไป ไม่ควรสงวนใช้จนขาดละเอียดและปะชุนเสียจนด่างดาวไปทั้งผืน ราวกับเสือเดินผ่านตลาดดังที่เป็นอยู่เวลานี้ คณะลูกศิษย์เห็นแล้วเกิดความอับอายชาวบ้านที่หลั่งไหลเข้ามากราบนมัสการ และถวายทานแก่ท่านอาจารย์มิได้ขาด ไทยทานแต่ละอย่างที่คณะศรัทธานำมาถวายแต่ละครั้งมีไม่น้อย ไม่น่าจะประหยัดใช้แบบปะ ๆ ชุน ๆ ดังที่เป็นอยู่นี้ ซึ่งน่าอับอายแทนอาจารย์เหลือเกินไม่อยากให้ทำ แต่อยากให้ท่านอาจารย์ทำพอสมเกียรติบ้างว่า เป็นอาจารย์สั่งสอนคนแทบทั่วประเทศ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การกราบเรียนนี้ก็เพราะความเคารพเลื่อมใสและรักสงวนอย่างฝังใจ แต่เมื่อเห็นท่านอาจารย์นุ่งห่มใช้สอยบริขารต่าง ๆ แบบขาด ๆ เขิน ต่อ ๆ ติด ๆ ปะ ๆ ชุน ๆ อยู่เป็นประจำ ไม่มีการผลัดเปลี่ยนเลยทั้งที่สิ่งของมีอยู่ ก็ทำให้นึกน้อยใจและอับอายชาวบ้าน ราวกับอาจารย์ของตนหมดราคาค่างวดไม่มีชิ้นดีเลย ผิดถูกประการใดก็ขอประทานโทษ เพราะกราบเรียนด้วยเจตนาหวังดีและเทิดทูนยิ่งกว่าชีวิตจิตใจ ดังนี้

    ขณะพระกราบเรียนจบลง ท่านเองนั่งเฉยราวกับไม่ได้ยิน ต่างองค์ต่างเงียบไปพักหนึ่ง จากนั้นท่านจึงเริ่มพูดออกมาแบบเรียบๆ ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฉลาดเหนือโลก ความสุขที่ทรงค้นพบจากความฉลาดก็เหนือโลกเป็นองค์แรก พระโอวาทที่ทรงสั่งสอนหมู่ชนก็มาเหนือเมฆคือเหนือสมมุติทั้งปวง ไม่มีใครจะสามารถปฏิบัติและสั่งสอนได้เหมือนอย่างพระองค์ ศาสนธรรมที่ออกจากพระโอษฐ์ก็เป็นมัชฌิมธรรมซึ่งเหมาะกับกาลสถานที่บุคคลตลอดมา ไม่มีการขัดแย้งกับความจริงที่ควรตำหนิสำหรับหมู่ชนผู้หวังเหตุผลเป็นเครื่องดำเนินเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยตามพระโอวาท การปฏิบัติก็ทรงทำด้วยความรอบคอบ การรู้เห็นธรรมก็ทรงรู้เห็นด้วยความรอบคอบชอบธรรม การสั่งสอนก็ทรงทำด้วยความรอบคอบตามหลักของศาสดาผู้เป็นบรมครู ไม่ปรากฏว่ามีสิ่งบก ๆ พร่อง ๆ ตามมากับศาสนธรรมของพระองค์เลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ฉะนั้นพวกเราผู้เพียงปฏิบัติตามพระโอวาท ซึ่งถ้าเทียบกับการทรงขวนขวายด้วยความลำบากทรมานของพระองค์เพื่อหมู่ชนแล้ว ก็เท่ากับพวกเราพากันขาอ่อนมืออ่อนคอยล้างมือรับประทานเท่านั้น ไม่มีความยากเย็นอะไรเลย ลองคิดดูพระองค์ที่ทรงนำสาวกดำเนินมานั้น ทรงนำมาด้วยความฟุ้งเฟ้อเห่อคะนอง หรือทรงนำมาด้วยความสันโดษยินดีตามมีตามเกิดแห่งปัจจัยเครื่องอาศัยทั้งหลาย ทรงนำมาด้วยความมักมากแบบพาตัวเป็นซากศพของกิเลสตัณหา หรือด้วยความมักน้อยปล่อยกังวลทั้งหลาย ทรงนำมาด้วยความประหยัด ดัดความอยากที่หลากมาท่วมหัวใจไม่มีเวลาอิ่มพอ หรือด้วยความฟุ่มเฟือยเรี่ยราดเพราะความประมาทขาดสติเล่า เพียงเท่านี้ก็พอทราบได้ว่า พระที่ทำตนเป็นคนฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยนั้น ก็คือพระที่ตนและผู้อื่นเลี้ยงยาก ปากก็กว้างท้องก็โต กิเลสในใจแม้พลเมืองดียังสู้ไม่ได้
    <o:p></o:p>
    การพยายามเก็บรักษา สิ่งที่เห็นว่ายังจะเกิดประโยชน์ต่อไปได้อีกตามสาระของมัน และการประหยัดมัธยัสถ์ในสมบัติทั้งหลายเพื่อความจีรังยั่งยืน ไม่รบกวนชวนให้เกิดความฉิบหายอยู่ไม่มีวันสุดสิ้นนั้น เป็นทางของคนฉลาดในเหตุผลท่านดำเนินกัน ท่านเหล่านั้นมิใช่ผู้ฟุ้งเฟ้อเห่อคะนองพองตัวแต่หาเนื้อติดกระดูกมิได้ สมบัติเงินทองมีเท่าไรจ่ายไปเสียไป สิ่งที่จะเป็นผลกำไรพอตั้งรากตั้งฐานแห่งชีวิตและความดีต่อไป ไม่มีเท่าเสี้ยวหนึ่งของคนจนที่มีนิสัยประหยัดฝึกหัดตัว แต่ท่านเหล่านั้นแลเป็นผู้วางรากวางฐานอันดีงามไว้พอให้โลกมีหนทางขบคิดและตั้งตัว มีหลักฐานทางสมบัติและจิตใจสืบต่อกันมา มิใช่ผู้สุรุ่ยสุร่ายจ่ายด้วยอำนาจความทะเยอทะยานพาฉุดลากไป ไม่มีวันยับยั้งตั้งตัวได้จนวันตาย ใครโง่อุตริคิดเอาอย่างคนแบบนั้นมาใช้ จะกลายเป็นคนตายแบบไม่มีป่าช้าไปตลอดสายแห่งสกุล<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านย้อนถามพระองค์ที่เรียนถามว่า ท่านเคยเห็นลิงรับอาหารจากมือคนไปกินหรือเปล่า ว่ามันรับอย่างไรและกินแบบไหน ? ท่านองค์นั้นเรียนตอบท่านว่า เคยเห็นเหมือนกันแต่มิได้สังเกตว่ามันรับแบบไหนและกินอย่างไร ท่านว่าเพียงความกินอยู่ของลิงท่านยังมิได้สังเกต เวลาถูกถามก็ตอบไม่ได้ แล้วท่านทำไมจึงมาถามเรื่องการใช้สอยบริขารต่าง ๆ กับผม โดยไม่มีเหตุผลที่น่ารับฟังบ้างเลย ผมยินดีฟังทั้งคำติคำชม เพราะธรรมของพระพุทธเจ้ามีอยู่ทั่วไป แม้คำติชมก็เป็นธรรมด้วยถ้าพิจารณาให้เป็นธรรม แต่ถ้าไม่พิจารณาก็เป็นโลกและทำคนให้หลงได้ทั้งคำติและคำชมเชย

    เพียงการอยู่กินของลิงท่านยังไม่สนใจสังเกตพอทราบลัทธิของมันบ้าง แล้วท่านจะทราบความเป็นอยู่ใช้สอยของพระพุทธเจ้าและสาวกท่านได้อย่างไร ว่าท่านทรงปฏิบัติองค์ท่านอย่างไรในความเป็นศาสดา และเป็นศากยบุตรที่ควรเป็นสรณะของโลกได้อย่างมั่นใจตลอดมา ท่านยังคิดอยากทราบอยู่บ้างหรือเปล่าว่า ลิงมีลัทธินิสัยต่างจากคนอย่างไรบ้าง ถ้าไม่อยากทราบลัทธิของลิงไว้บ้างพอประดับสติปัญญา แต่จะปีนป่ายอยากทราบอริยประเพณีของศาสนาก็รู้สึกว่าจะปีนสูงมากไป ผมจึงไม่อยากอธิบายให้ท่านฟังแม้พออธิบายได้

    ท่านองค์นั้นเรียนตอบว่า แต่ก่อนกระผมก็ไม่เคยได้ยินท่านผู้ใดมาพูดเรื่องลิงให้ฟังว่ามันมีลัทธินิสัยอย่างไร แต่พอท่านอาจารย์ถามจึงทำให้เกิดความสนใจอยากทราบว่า ลิงมีนิสัยต่างจากมนุษย์อย่างไรบ้าง แต่ก่อนก็พอทราบได้จากสายตาที่เคยเห็นมันอยู่เสมอจนเบื่อไม่อยากดู เพราะความที่มันเป็นสัตว์ที่มีนิสัยหลุกหลิกไม่อยู่เป็นสุขประจำตัว ที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านี้กระผมไม่ทราบได้

    ต่อจากนี้เป็นคำสนทนาระหว่างท่านอาจารย์มั่นกับพระองค์ที่เรียนถาม ท่านองค์นี้อยากทราบลัทธินิสัยลิง ท่านอาจารย์มั่นเริ่มตอบท่านว่า ลิงก็เหมือนคนที่มีนิสัยหลุกหลิก ไม่ชอบอยู่เป็นความสงบสุขตามทำนองคลองธรรมเหมือนสุภาพชนทั้งหลายนั่นเอง เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ด้วยความคะนองทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ทั้งตัวผู้ตัวเมีย มาตลอดโคตรแซ่ของมัน ความคะนองของลิงไม่มีขอบเขตจำกัด เหมือนคนที่ไม่ได้รับการอบรมศีลธรรมมาบ้างเลย แม้จะแก่จนผมหงอกขาวโพลนเป็นสำลีไปทั่วทั้งศีรษะ ก็ไม่รู้จักความสงบร่มเย็นคืออะไร และสิ่งนั้นจะเกิดได้ด้วยวิธีใด เป็นสัตว์ที่ไว้ใจไม่ได้ตลอดวัย แม้เลี้ยงมันให้อยู่กับคนมาแต่เล็กจนโต แต่นิสัยก็เป็นของตัวมันเอง ไม่สนใจยึดเอานิสัยของมนุษย์ไปใช้เลยแม้แต่น้อย สัตว์พรรค์นี้เกิดแบบลิง อยู่แบบลิง และตายแบบลิง ไม่มีแบบอื่นใดมาเจือปนเลย คนที่ยึดเอาลัทธินิสัยลิงมาเป็นตัวของตัวจึงเลวร้ายยิ่งกว่าลิง และทำความเดือดร้อนให้โลกได้รับร้ายแรงและกว้างขวางมากยิ่งกว่าลิง<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สิ่งที่เห็นด้วยตาตัวเองก็คือ เวลาไปพักบำเพ็ญอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นที่ชุกชุมของสัตว์เหล่านี้ นี่พูดถึงตอนออกเที่ยวธุดงค์ใหม่ ๆ ยังไม่ทราบนิสัยของสัตว์พวกนี้ได้ดีพอ เวลาเขามาเที่ยวหากินตามบริเวณหน้าถ้ำที่เราพักอยู่ ทีแรกมองเห็นเราก็กลัว แต่พอเห็นอาการเราไม่เป็นภัยต่อเขา ๆ ก็ไม่กลัว และพากันเที่ยวหากินมาที่นั้นแทบทุกวัน เราเองก็คิดสงสารเห็นเขามาเป็นฝูงๆ และปีนป่ายขึ้นลงอยู่บริเวณหน้าถ้ำทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ไม่สนใจกับคน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พอได้อาหารมาเหลือจากฉันก็แบ่งไว้ให้เขา เวลาเขามาก็เอาอาหารมีกล้วยบ้าง ข้าวบ้าง ผลไม้ต่างๆ บ้าง ไปวางไว้ตามก้อนหินให้เขาเก็บกินเอง พอเรานำอาหารไปวางต่อหน้าเขาแล้วหันหลังกลับมาเท่านั้น ต่างตัวต่างแย่งกันกินอย่างชุลมุนวุ่นวาย โดยมิได้คิดเกรงกลัวเราบ้างเลย วันหลังยิ่งพากันมาแต่เช้าและคอยอาหารที่เราจะเอาไปให้ เพียงสองสามวันเท่านั้นก็ได้การ คือ ต่างแสดงฤทธิ์อย่างเต็มที่ไม่มีความเกรงกลัวเราบ้างเลย และพากันเที่ยวยุ่มย่ามเข้ามาค้นหาอาหารในที่พักเรา จนสิ่งของบริขารต่าง ๆ ตกกระจุยกระจายเกลื่อนไปหมดเวลาไปบิณฑบาต นอกจากนั้นบางตัวยังทำท่าจะกัดเราอีกด้วย แยกเขี้ยวยิงฟันทำปากขมุบขมิบคิ้วขมวดขึ้นขมวดลงขู่เรา ราวกับจะบอกว่ามวยลิงรวดเร็วยิ่งกว่ามวยมนุษย์ มวยมนุษย์สู้ไม่ได้ ถ้าไม่อยากเจ็บอย่ามายุ่ง เดี๋ยวโดนจะว่าไม่บอก ฉะนั้นเราต้องใช้อุบายขู่ด้วยวิธีต่าง ๆ จึงพากันหนีไป จากนั้นก็ไม่อาจให้อาหารแก่สัตว์จำพวกนี้อีกทั้งที่สงสาร และไม่ทำอาการให้เขาสนิทสนมเหมือนแต่ก่อน ต่อไปจึงไม่มารบกวนอีก
    <o:p></o:p>
    นี่แลสัตว์จำพวกไว้ใจไม่ได้ ถึงจะสงสารเลี้ยงดูเขาดีเท่าไร เขาก็คือลิงตัวคะนองไม่รู้จักคุณและไม่รู้จักคนอยู่นั่นเอง ขณะที่ยื่นอาหารให้ ต่างตัวต่างวิ่งมารุมเราจนน่าเกลียดน่ากลัว บางตัวแทบจะกัดเราในเวลานั้นเข้าด้วย เพราะความโลภมากในอาหาร แสดงอาการลุกลี้ลุกลนจนแทบดูไม่ได้ ทั้งวิ่งดักหน้าดักหลัง ทั้งรุมล้อม ทั้งส่งเสียงก๊อกแก๊กขู่เข็ญเราผู้เมตตาให้อาหาร สัตว์ที่น่ากลัวและน่ารำคาญก็คือลิงนั่นแล ท่านพอทราบบ้างหรือยัง บรรดาลิงที่เขาเลี้ยงไว้ในบ้าน เวลายื่นอาหารให้เขาแสดงอาการอย่างไรบ้างต่ออาหารที่ให้ และต่อผู้ให้อาหารเขา พระองค์นั้นเรียนตอบท่านว่ากระผมไม่ทราบ เพราะเป็นแต่เคยให้อาหารเขา แต่ไม่เคยสังเกตขณะให้อาหารว่าเขาแสดงอาการอย่างไรบ้าง
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์เลยอธิบายให้ท่านฟังต่อไปว่า ใครจะเอาอาหารให้มันก็ตาม แต่สัตว์พรรค์นี้จะไม่สนใจคนยิ่งกว่าอาหารที่มันจะได้ในเวลานั้นเลย ตามันจะจับจ้องมองดูแต่อาหารและโดดขึ้นโดดลงท่าเดียว ถ้าอยู่ที่ราบก็วิ่งไปวิ่งมาและมือคว้ามาที่อาหารกับมือคนเท่านั้น พอยื่นอาหารให้ถึงมือแล้ว จะคว้ามับรีบปอกปากกัดฉีกกินทันที ส่วนตามันจะมองนั้นมองนี้หลุกหลิก ๆ และมองผลไม้ในมือมัน ทั้งเคี้ยวทั้งกลืนทั้งกัดทั้งฉีก ถ้ามองเห็นอาหารในมือคนยังเหลือพอมีทางได้อยู่อีก มันจะรีบกัดรีบกินและรีบซ่อนอาหารเข้าไว้ในกระพุ้งแก้มทันที แล้วตามองมาที่มือคนและเอื้อมมือมาขออีก<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้าคนให้อีก มันจะรีบกินบ้าง ซ่อนไว้ในกระพุ้งแก้มบ้าง เหลือจากนั้นก็ทิ้งบ้างแล้วเอื้อมมือมาขอใหม่ ไม่มีความอิ่มพอในการขอ ให้เท่าไรเป็นเอาหมดจนไม่มีอะไรจะให้โน้นแลมันจึงจะหยุด และหันมาเคี้ยวกลืนส่วนที่มันซ่อนไว้ในปากต่อไป ลิงเป็นสัตว์ที่สุรุ่ยสุร่ายมาก และไม่มีความอิ่มพอในอาหารเมื่อยังพอจะได้จากใครอยู่ แม้ท้องมันจะเล็กๆ เหมือนสัตว์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่ความโลภและความสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยมันนั้นเหลือตัว ยากที่จะมีสัตว์ตัวใดเสมอได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เท่าที่ยกตัวอย่างของลิงมาเป็นข้อเปรียบเทียบเพียงเล็กน้อยนี้ ท่านพอทราบได้กระมังว่า ที่ท่านมาขอให้ผมผลัดเปลี่ยนเครื่องบริขารเสียใหม่โดยทิ้งของเก่าไปเสีย ทั้งที่สิ่งนั้นยังพอให้ประโยชน์ได้อยู่ นั้นคือท่านขอให้ผมปฏิบัติตามแบบลิง และขอให้ลิงเป็นศาสดาสั่งสอนผมแทนศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้จักประมาณพอดีทุกอย่าง เพราะแบบที่ท่านขอผมนั้น เป็นแบบลิงใช้กันอยู่ตามวิสัยของสัตว์ที่ไม่รู้จักธรรมคืออะไร ผู้รู้จักธรรมคืออะไรอยู่บ้าง ก็ควรคิดคำนึงสภาพของตนและของธรรมว่าอะไรควรหรือไม่ควร การพูดด้วยเจตนาหวังดีนั้นเห็นใจ แต่เจตนานั้นไม่คุ้มค่ากับความเสียไปแห่งธรรม มีความสันโดษมักน้อย เป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมที่ยังโลกให้สงบเย็นมานาน เพราะธรรมนี้เป็นความเหมาะสม สำหรับโลกผู้ยินดีในขอบเขตมีฝั่งมีฝาภายในใจจะพึงรักสงวน และอุตส่าห์ปฏิบัติตามด้วยความยินดี ไม่ให้คุณค่าสาระอันจะเกิดจากธรรมนี้ผ่านไปเปล่าจะเสียใจภายหลัง
    <o:p></o:p>
    ท่านควรคิดดูให้ละเอียดถี่ถ้วนของศาสนา และท่านผู้เป็นเจ้าของศาสนาบ้างว่าเป็นบุคคลเช่นไร พระองค์เป็นมาแบบโลกเป็นกันหรือเป็นมาอย่างไร การสั่งสอนศาสนาทรงสั่งสอนอย่างไร โลกจึงตกลงปลงใจยอมกราบไหว้บูชาและปฏิบัติตามเรื่อยมาจนถึงพวกเรา ศาสนธรรมที่ประทานไว้ทุกแง่ทุกมุม ล้วนเป็นสวากขาตธรรมโดยสมบูรณ์ และเป็นนิยยานิกธรรม ความระงับดับทุกข์ความกังวลน้อยใหญ่ได้โดยสิ้นเชิงแก่ผู้ปฏิบัติตาม ๆ กันมาอย่างสมบูรณ์ ท่านควรคิดให้ละเอียดตามหลักศาสนาลงไปอีกว่า ผู้ทำตัวเป็นคนฟุ่มเฟือยตื่นโลกตื่นสมัย กับผู้ปฏิบัติตัวโดยสม่ำเสมอต่อความจำเป็นไปตามกรณี ใครจะมีทุกข์กังวลทางกายใจมากน้อยต่างกันอย่างไรบ้าง สำหรับความเห็นของผมผู้เรียนน้อยเห็นว่า ผู้ทำตัวเป็นคนฟุ่มเฟือยพองตัวใหญ่กว่าโลกนั่นแล คือผู้ตั้งหน้าฆ่าตัวเอง โดยไม่รู้สึกว่าตัวเป็นเพชฌฆาตทำลายตน
    <o:p></o:p>
    คนเราเมื่อคิดเกินความพอดีเหมาะสมแล้ว ต้องเป็นผู้ก่อเรื่องกระจุยวุ่นวายแก่ตัวเองจนหาความสงบสุขทางกายและทางใจมิได้แน่นอน ใจต้องคิดเพื่อพอกพูนมากขึ้นจนไม่มีเวลาพักผ่อนได้ ถ้าเป็นน้ำก็ขุ่นเป็นตมเป็นโคลนจนหาที่อาบดื่มใช้สอยมิได้ ใจกับกายต้องหมุนเป็นกงจักรเพื่อได้มาซึ่งสิ่งนั้น ๆ ถ้าไม่ได้ต้องกระวนกระวายเพราะหาไม่ทันกับความอยากน้ำล้นฝั่งนั้น เมื่อไม่ได้ทางตรงก็ต้องหาทางอ้อม ไม่ได้ทางสุจริตก็ต้องหาทางทุจริต พอลักขโมยได้ก็ขโมยเอา พอหยิบฉวยได้ก็หยิบฉวยเอา พอจี้ได้ก็จี้เอา พอปล้นได้ก็ปล้นเอา พอคิดโกงได้ก็คิดโกงเอา พอรีดไถได้ก็รีดไถเอา กลืนได้ก็กลืนเอา หรือแม้พอฆ่าได้เป็นฆ่าเอาทั้งสิ้น ไม่สนใจคิดว่าเกรงใจอายโลกหรือกลัวบาปกลัวกรรมเพราะอำนาจนั้นบังคับ สุดท้ายก็ถูกจับตัว ผู้ยิ่งใหญ่ไปนอนในห้องขังให้เสวยผลความอยากของตนอยู่ในเรือนจำ หรือถูกเขาฆ่าตายทิ้งหมกป่าหมกโคลนไม่มีใครไปสืบสาวราวเรื่อง ปล่อยให้หายซากไปเลยยิ่งกว่าสัตว์ ซึ่งน่าทุเรศผิดมนุษย์ทั้งหลาย<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นี่แลโทษของวิชาลิงที่เป็นสัตว์มีนิสัยบกพร่องต้องการอยู่เสมอ ไม่มีความอิ่มพอในสิ่งทั้งปวง ทั้งที่ปากและท้องของมันก็ไม่ใหญ่โตกว่าสัตว์ทั้งหลาย แต่ลิงนั้นตายเพราะความอยากทางใจมากกว่าความหิวโหยอาหาร เมื่อใครนำวิชาทำลายตัวแบบลิงมาใช้ไม่ว่าพระหรือฆราวาส ผู้นั้นต้องเป็นคนผิดสังเกตต่างจากโลกทั้งหลายที่มีความพอดี ถ้าเป็นพระก็จะพยายามเสาะแสวงหาแต่ปัจจัยโดยอุบายวิธีต่าง ๆ ด้วยความกระวนกระวาย มากกว่าจะละอายหรือสนใจในพระธรรมวินัยอันเป็นความดีงามของสมณะ จนประชาชนเอือมระอาไปตามๆ กัน ไปในทิศทางใดประชาชนหลบหลีกเป็นทิวแถว ทั้งที่เขามีความเลื่อมใสศาสนธรรมอยู่อย่างฝังใจ แต่ที่ต้องหลบหลีกตัวให้พ้นไปก็เพราะทนเพทุบายในการรบกวนขอเงิน หรือสิ่งต่าง ๆ จากพระที่แก่วิชาไม่ไหว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านย้อนถามท่านองค์นั้นว่า ท่านทราบไหมว่าที่ว่าพระแก่วิชานั้นคือวิชาอะไร เรียนว่าไม่ทราบ ท่านอาจารย์ตอบเสียเองว่าก็วิชาขอไม่หยุดนะซิ เพราะพระเราถ้าลงได้ด้านด้วยความฟุ้งเฟ้อทะเยอทะยานอยากและการแสวงหาลาภปัจจัยแล้ว ต้องด้านทุกอาการไม่มียางอายติดตัว มีแต่ความมุ่งหมายและมุ่งมั่นต่อปัจจัยลาภต่าง ๆ โดยถ่ายเดียวว่า “ขอให้ได้มา” คำภาวนาก็คือ “ขอให้ได้มา ๆ” เท่านั้น ไม่ต้องสวดมนต์ภาวนาด้วยคาถายืดยาวเหมือนท่านผู้บำเพ็ญภาวนาทั้งหลายสวดกัน เพียงภาวนาบทเดียวเท่านั้นก็กระเทือนโลกพออยู่แล้ว ถ้าขืนต่อคาถาให้ยืดยาวไปกว่านั้น โลกจะต้องแตกแน่นอน
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์ถามท่านองค์นั้นว่า ท่านต้องการคาถาย่อนั้นหรือเปล่า จะได้สำเร็จมรรคผลง่าย ๆ ซึ่งไม่มีพระสาวกองค์ไหนสำเร็จแบบนี้ กระผมไม่ต้องการเพราะเป็นคาถาทำลายศาสนาและทำลายประชาชน ถ้าไม่ต้องการ ท่านขอให้ผมปฏิบัติแบบลิงเพื่ออะไร คาถานี้ก็มาจากลิงนั่นเองที่กลายมาเป็นคาถาย่อบทนี้อยู่เวลานี้ กระผมขอประทานโทษที่กราบเรียนไปตามความรู้สึกที่คิดว่า จะเป็นความสะดวกสบายแก่ท่านอาจารย์ โดยไม่ทำให้ท่านอาจารย์และปฏิปทาในวงศาสนาเสียไปด้วย ถ้าคิดว่าจะเป็นไปในทำนองท่านอาจารย์อธิบายปฏิปทาลิงที่เป็นสัตว์ฟุ้งเฟ้อ กระผมก็ไม่กราบเรียน เพราะไม่ประสงค์จะให้อะไรเสียไปเพราะการเรียนข้อนั้น
    <o:p></o:p>
    ท่านตอบว่า แม้ท่านไม่มีความนึกคิดไปในทางนั้นก็ตาม แต่การขอร้องก็ชี้บอกอยู่แล้วอย่างชัดเจน คนเราไม่ถึงกับต้องขอร้องให้ทำตามกันหมดทุกอย่างหรอกท่าน เพียงผ่านทางตาทางหูกลางตลาดเท่านั้น ก็เป็นทัศนศึกษาอันสมบูรณ์พอยึดไปเป็นแบบฉบับได้แล้ว สิ่งต่าง ๆ ที่จะทำคนให้ดีและเสียคนได้นั้นมีอยู่ทั่วไป ไม่จำต้องจัดเข้าในตารางสอนคนก็มีทางยึดได้ ถ้าเป็นฝ่ายดีก็ทำผู้ปฏิบัติตามให้เป็นคนดีและเจริญได้ ถ้าเป็นฝ่ายชั่วก็พาผู้ทำให้เสื่อมเสียไปโดยไม่ต้องประกาศโฆษณาชวนเชื่อใด ๆ เช่นคนหรือครอบครัวที่ชอบสุรุ่ยสุร่ายเป็นนิสัย คนในครอบครัวนั้นมักเอาอย่างกันจนกลายเป็นครอบครัวผัวเมียลูกหลานที่สุรุ่ยสุร่ายไปตาม ๆ กัน รายได้มีมาไม่พอกับการจับจ่าย เพราะต่างคนต่างเป็นนักจ่ายด้วยกันไม่มีใครสนใจประหยัดรักษา แม้แต่น้ำลำคลองยังเหือดแห้งไปได้เมื่อไหลไม่หยุด<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เราลองนำครอบครัวที่มีการประหยัดรักษา และจ่ายไปด้วยความมีเหตุมีผลเป็นเครื่องควบคุม กับครอบครัวที่ชอบสุรุ่ยสุร่ายจ่ายไม่มีประมาณเป็นนิสัยมาเทียบกันดูว่า ครอบครัวไหนจะมีความสงบเย็น มีความเดือดร้อน เพราะการเป็นอยู่ใช้สอยมากกว่ากัน ผมตอบแทนเลยทีเดียวก็ได้ว่า ครอบครัวที่มีหลักใจเป็นหลักทรัพย์นั่นแล จะมีความสงบสุข ทั้งความเป็นอยู่โดยลำพังและภาคทั่ว ๆ ไป ยิ่งกว่าครอบครัวที่เป็นโรคไม่มียาและหมอรักษาเป็นไหน ๆ (คนไม่มีขอบเขตในการจ่ายและการเก็บรักษา) นอกจากเป็นความสงบสุขของตัวและครอบครัวแล้ว ยังเป็นการเพาะเด็กลูก ๆ หลาน ๆ ตลอดผู้เกี่ยวข้องในวงศ์สกุล ให้เป็นคนดีมีขื่อมีแปทางความประพฤติและการจับจ่าย ตลอดการเก็บรักษาสมบัติต่าง ๆ ให้เป็นหลักฐานมั่นคงต่อไปตลอดกาลนานอีกด้วย ส่วนคนและครอบครัวไม่มีประมาณในการรักษาตัวนั้น นอกจากจะเป็นความเดือดร้อนในปัจจุบันแล้ว ยังอาจแพร่พันธุ์ดีแตกแหวกแนวให้ลูก ๆ หลาน ๆ ในวงศ์สกุลเสียไปด้วยตลอดกาลนาน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผมไม่เคยเห็นคนที่ไม่มีหลักใจเป็นหลักทรัพย์ ตั้งเนื้อตั้งตัวทางสมบัติได้เลย เห็นแต่ความฉิบหายป่นปี้ติดหนี้สินพะรุงพะรัง เหยียบย่ำทำลายเขาจนตั้งตัวไม่ติดนั่นแล จะมีความเจริญมั่นคงมาจากที่ไหนพอจะน่าชมเชย คนเราถ้าไม่มีอะไรบังคับใจกายวาจาความประพฤติไว้บ้างพอเป็นที่ยับยั้งชั่งตวง เวลาอารมณ์บ้าร้อยแปดมันขึ้นสมองซึ่งมีอยู่กับทุกคน แม้จะมีความรู้วิชาและฐานะดีเพียงไรก็ไปไม่รอด ต้องจอดจมจนได้เพราะการทำลายตนด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวมา มิใช่เป็นของดีที่น่าสรรเสริญ ปราชญ์ท่านระวังมากจากการทำลายตนด้วยวิธีต่าง ๆ นั้น ยิ่งกว่าการถูกทำลายจากผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเป็นไหน ๆ ในขณะเดียวกันท่านพยายามประคองตนในทางดีงามโดยสม่ำเสมอ ไม่ยอมปล่อยตัวไปตามยถากรรมดังที่เห็น ๆ กันจนน่าทุเรศ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าที่น่าอนุโมทนาสรรเสริญ
    <o:p></o:p>
    ยิ่งใครชอบมีนิสัยตื่นเงาตัวเองตื่นสมัย โดยไม่คำนึงถึงสารประโยชน์หรือโทษทัณฑ์อะไรจากสิ่งนั้น ๆ พอควรก่อน เพียงสิ่งนั้น ๆ ผ่านหูผ่านตา คอยแต่จะฉวยมับจับปุ๊บมาเป็นความโก้หรูตามความเห่อเหมือนลิงด้วยแล้วละก็ จะเขียนใบตายไว้เลยก็ได้ โดดไปไม่กี่ก้าวก็ต้องลงเหวให้แมลงวันบินตามไม่มีทางสงสัย การกล่าวทั้งนี้ผมมิได้กล่าวเพื่อตำหนิโลกหรือท่านผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ แต่กล่าวตามความจริงที่รู้ ๆ เห็น ๆ กันอยู่ประจักษ์ตาประจักษ์ใจในวงมนุษย์เรานี่แล ไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่าการปฏิบัติตัวแบบนั้นจะไม่ล่มจมฉิบหาย ต้องเป็นหนทางเดียวคือเขียนใบเสร็จใบตายให้พร้อม ทั้งที่ผู้นั้นยังคุยอวดตัวว่ามีความฉลาดรอบรู้ และมีฐานะดีมีเงินเป็นล้าน ๆ เพราะเงินก็ตนเป็นผู้หามา จะได้มาจากทางไหนใครไม่ทราบได้ แต่การทำลายนั้นทำได้ง่ายนิดเดียว เช่นเดียวกับสมบัติในบ้านมีจำนวนมากมายเพียงไร พอถูกไฟกำจัดทำลายเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็เรียบเป็นเถ้าถ่านไปเองอย่างไม่มีปัญหา<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผมพยายามเรียนและปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้ามาแต่เริ่มบวชจนถึงวันนี้ ซึ่งหลายปีพอควร เรียนและปฏิบัติไปเท่าไร ยิ่งมองเห็นความโง่ของตัวมากขึ้นโดยลำดับ แทนที่จะได้ความฉลาดฉาดฉานพอมีความรู้แปลก ๆ มาคัดค้านธรรมของพระองค์ท่านบ้างว่าตรัสไว้ไม่จริง ไม่เป็นสวากขาตธรรม และไม่เป็นนิยยานิกธรรมดังที่ประกาศสอนไว้ในบางหมวดบางขั้นบางตอน แต่ไม่ว่าธรรมขั้นใดหมวดใดตอนใด เรียนไปปฏิบัติไปเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เชื่อให้ยอมไปเสียหมด ไม่มีความรู้พอได้อวดตัวว่าเก่งกาจสามารถคัดค้านธรรมของพระองค์ได้เลย หมวดไหนคัมภีร์ใดก็มีแต่พระองค์ตรัสเรื่องความโง่ของสัตว์ผู้ยังอวดตัวว่าเก่งกาจฉลาดรู้ แต่สู้ลิงที่กลัวหาวิธีหลบซ่อนคนก็ไม่ได้ ถ้าว่าพวกเราเก่งกว่าลิง ก็ต้องรู้สิ่งที่เป็นหายนะและหลบซ่อนผ่อนคลายตัวเองบ้าง อย่าอาจหาญท้าทายมันนักหนา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นี่มองไปที่ไหนก็เห็นแต่คนอวดเก่งต่อความชั่วเสียหาย ทั้งท่านและเราทั้งหลาย ไม่มีใครพอมีความฉลาดปราดเปรื่องพอหลีกเลี่ยงสิ่งที่น่าตำหนินั้น ๆ ไปได้บ้าง ไม่ผูกมิตรปิดตายเป็นสหายกับมันไปทั้งวันทั้งคืน ยืนเดินนั่งนอนแข่งกันเลย ไม่มีวันโผล่พอมองเห็นธรรมในดวงใจที่กายวาจาระบายออกมาพอเย็นใจ ท่านได้พิจารณาบ้างหรือเปล่าว่า ศาสนธรรมของพระพุทธเจ้ามีความละเอียดสุขุมเพียงไร เพียงพวกเราจะเอาใจที่เต็มไปด้วยกิเลสที่แสนสกปรกโสมมไปหยั่งธรรมของพระองค์ ก็จะได้แต่คำตำหนิติเตียนติดขึ้นมาเท่านั้นว่า ธรรมปฏิบัติยาก ผู้ปฏิบัติธรรมต้องฝืนกระแสโลกจึงปฏิบัติได้บ้าง พระพุทธเจ้าตรัสธรรมไว้ไม่เห็นตรงกับสภาพความเป็นจริงของโลกบ้าง
    <o:p></o:p>
    ธรรมแสดงไว้ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่เราทำดีแทบตายไม่เห็นได้ดีอะไร ส่วนเขาไม่เห็นทำดีอะไรยังร่ำรวยเป็นเศรษฐีมีเงินมหาศาล ข้ามหน้าข้ามตาเราผู้ทำดีไปหยกๆ ธรรมไม่เห็นจริงตามที่ตรัสไว้ ถ้าจริงว่าบาปมีจริง คนทำบาปไม่เห็นได้รับโทษ ส่วนคนทำดีเวลาจำเป็นไม่เห็นบุญมาช่วยบ้าง บาปบุญคงไม่มี นรกสวรรค์นิพพานคงไม่มี ถ้ามีอยู่ที่ไหน คนตายแล้วทั้งคนดีคนชั่วเห็นแต่หายเงียบไปเลย ไม่เห็นกลับมาบอกบ้าง พอมีแก่ใจอยากทำบุญให้ทานรักษาศีลบำเพ็ญภาวนาบ้าง เผื่อเวลาตายไปจะได้ไปสวรรค์นิพพานกันเหล่านี้เป็นต้น ที่จะติดใจของพวกเราขึ้นมาเวลาหยั่งธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะโลกชอบกันอย่างนี้ จะให้ของดีตามที่ธรรมแสดงไว้ติดขึ้นมานั้นไม่มีหวัง เพราะกิเลสไม่หวังธรรม แต่หวังเฉพาะกิเลสเท่านั้น จึงได้กิเลสความลามกขึ้นมา
    <o:p></o:p>
    ธรรมมิได้ตรัสไว้เพื่อคนจำพวกคอยตามล้างตามผลาญธรรม ด้วยความคิดเห็นต่าง ๆ แต่ธรรมมีไว้เพื่อคนจำพวกที่ท่านพิสูจน์หาความจริงจากธรรมจริง ๆ จึงมิใช่ธรรมบ่นเอา เดาเอา คาดคะเนเอา ดังพวกเราที่หยั่งดูธรรมด้วยใจอันโสมมของตน แล้วคว้าเอาความโสมมขึ้นมาสูดดมเล่นด้วยความบ่นให้ธรรม แล้วก็ภูมิใจว่าตนคิดได้พูดได้อย่างอิสรเสรี หาทราบไม่ว่าตัวสูดดมสิ่งสกปรกของตัว โดยไม่มีธรรมบทใดเข้ามาเกี่ยวข้องได้เสียด้วยเลย ใครจะตำหนิติเตียนธรรมมากน้อยเพียงไร ธรรมจึงไม่มีส่วนกระทบกระเทือนด้วย นอกจากผู้นั้นจะพึงรับความกระทบกระเทือนจากการคิดการพูดของตัวแต่ฝ่ายเดียว ทั้งที่นึกครึ้มในใจว่าตนมีเกียรติเพราะคัดค้านตำหนิธรรมได้อย่างสบาย<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมมีความละเอียดสุขุมมากยากที่ใจซึ่งมีกิเลสอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ จะหยั่งถึงได้ดังกล่าวมา ฉะนั้นคำขอร้องท่านแม้จะเป็นเจตนาหวังดี จึงเป็นการกระเทือนส่วนใหญ่แห่งธรรมแฝงอยู่ด้วย เพราะความประหยัด ความมัธยัสถ์ ความสันโดษ ความมักน้อย ธรรมเหล่านี้คือความไม่ประมาทลืมตัว ผู้ปฏิบัติธรรมเหล่านี้ ไม่ว่านักบวชหรือฆราวาสย่อมประคองตัวได้อย่างน่าชม พระแม้จะมีอติเรกลาภมาก มีประชาชนเคารพนับถือมาก หรือฆราวาสมีสมบัติมากน้อยเพียงไร ก็ไม่เย่อหยิ่งจองหองและลืมตัวกับสิ่งเหล่านั้นอย่างง่ายดาย ยังสามารถนำสิ่งนั้น ๆ ไปทำประโยชน์ได้ตามฐานะของมันอีกด้วย ทั้งเป็นเครื่องส่งเสริมความสุขแก่เจ้าของและประดับเกียรติ สมกับสมบัติมีไว้เพื่อเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ในคราวจำเป็นอย่างแท้จริง ไม่กลายมาเป็นข้าศึกเครื่องทำลายตนให้เสียไปด้วย ซึ่งมักมีอยู่จำนวนมาก แต่ไม่ค่อยสนใจคิดและแก้ไขกันพอให้มีความสงบเย็นและน่าดู
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผู้มีธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องปกครองและประดับตัว ย่อมเป็นผู้สง่างามในสายตาแห่งสุภาพชนทั้งหลาย ยิ่งกว่าผู้ชอบประดับตัวด้วยเครื่องมัวเมาเย้ากิเลส ซึ่งเห็นแล้วน่าเวียนศีรษะ สำหรับตัวเองนั้นเห็นว่าโก้หรูเทวดาบนฟ้าสู้ไม่ได้ ส่วนสุภาพชนเห็นแล้วปวดเศียรเวียนเกล้าไปตาม ๆ กัน ท่านลองคิดเทียบเคียงดูก็พอจะทราบได้ระหว่างธรรมทั้งสองนี้ต่างกันอย่างไรบ้าง คือ มองธรรมตรงข้ามกับธรรมที่กล่าวมานี้ ความประหยัด ความมัธยัสถ์ ความสันโดษ ความมักน้อยเหล่านี้ ผมจะแปลเอาความย่อ ๆ ให้ฟัง
    <o:p></o:p>
    ความประหยัด ได้แก่ ความเอาใจใส่ในการเก็บรักษาสมบัติเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ที่มีอยู่ของตน ไม่ให้เสียไปด้วยความประมาทขาดการเอาใจใส่ ไม่ใช้แบบสุรุ่ยสุร่าย เวลาใช้ก็ระมัดระวัง ไม่ควรเสียด้วยเหตุไม่จำเป็นก็ไม่ให้เสีย เพราะสิ่งของแต่ละอย่างเกิดมีขึ้นด้วยการขวนขวายหรือการแสวงหา มิได้เกิดมีขึ้นมาเองพอที่จะไม่เห็นคุณค่าของมัน
    <o:p></o:p>
    ความมัธยัสถ์ ออกจากใจของผู้มีความรักใคร่ใฝ่ใจในการใช้สอยและการเก็บรักษาสมบัติต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง ไม่ใช้สอยแบบเรี่ยราดสาดกระจาย เมื่อหยุดใช้ก็เก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ความมัธยัสถ์ คือ ความเห็นคุณค่าแห่งสมบัติทุกชิ้นว่ามีประโยชน์ตามฐานะของมัน การกินอยู่ใช้สอยไม่ฟุ่มเฟือย และไม่ทำให้ฝืดเคืองเมื่อสิ่งของเครื่องสนองมีอยู่ แต่ไม่ลืมตัวไปกับสมบัติที่มีมาก พยายามทำสมบัตินั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์ตามฐานะของมัน ไม่ตระหนี่เหนียวแน่น มีการสงเคราะห์ให้ทานเช่นเดียวกับคนทั่วไป หรืออาจทำได้มากกว่าด้วยเหตุผลที่ควร เพราะความประหยัดกับความมัธยัสถ์เป็นธรรมของปราชญ์ผู้มีเหตุผลรอบตัวและสิ่งเกี่ยวข้องทั่ว ๆ ไป การประหยัดกับการมัธยัสถ์ของผู้นั้น จึงมิได้เอนไปในทางที่น่าตำหนิ นอกจากเป็นวิธีการดำเนินที่น่าชมเชยโดยถ่ายเดียว<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนประหยัดและมัธยัสถ์เป็นบุคคลที่รอบคอบในสังคมและเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดี ไม่ค่อยเสียไปเพราะสิ่งยั่วยวนกวนใจของกิเลสเวลาสัมผัสทางทวาร และเป็นผู้ยับยั้งต้านทางสิ่งเคลือบแฝงแปลงปลอมของโลกสังคมด้วยวิจารณญาณได้ดี ไม่ตื่นไปกับสิ่งหลอกหลอนชอนไชอย่างง่ายดาย มีความสันโดษยินดีในสมบัติที่มีอยู่ของตน ไม่ชอบโลดโผนโดนโน้นชนนี้ด้วยความล้นฝั่งแห่งราคะตัณหา วางตัวกับสิ่งทั้งหลายได้โดยสม่ำเสมอ

    ผมจะยกตัวอย่างทางฆราวาสให้ท่านฟังพอเป็นข้อคิดในธรรมข้อนี้ว่า มีคุณค่าแก่จิตใจคนมากน้อยเพียงไร และเป็นธรรมจำเป็นแก่จิตใจโลกเพียงไร เช่น ผู้มีภรรยาสามีเป็นสมบัติอันตายตัวของแต่ละฝ่ายแล้ว มีความยินดีกับสมบัติของตน ไม่ปล่อยให้จิตผาดโผนโลดเต้นเผ่นไปเที่ยวรักสามีภรรยาหรืออีหนู ๆ ตามถนนหนทางอันเป็นการละเมิดธรรมสันโดษ คือ ภรรยาสามีอันเป็นสมบัติเก่าที่มีอยู่ของตน แม้จะมีความต้องตาต้องใจอยู่บ้างตามนิสัยปุถุชนที่ชอบกินไม่เลือก และไม่มีเมืองพอก็ตาม แต่ธรรมสันโดษต้องเข้มแข็ง ผลักดันต้านทานอารมณ์กาฝากนั้นไว้ ไม่ยอมให้จิตและกายกับสิ่งนั้นไหลผ่านเข้ามาประสานคละเคล้ากับสมบัติเก่าของตน จะกลายเป็นศึกกลางเมือง กลางบ้าน กลางสามีภรรยาเข้า ครอบครัวจะแตก สมบัติจะรั่วไหลไปสู่ความฉิบหาย คนใกล้จะกลายเป็นอื่น ความสุขที่เคยครองเพราะธรรมสันโดษช่วยป้องกันจะแตกทลายหายสูญ

    เพื่อธรรมสันโดษเป็นชีวิตจิตใจ ไม่สนใจไยดีกับสิ่งใดนอกจากสมบัติเดิมที่มีอยู่ของตน แม้สมบัติอื่นที่มิใช่ของตนก็ไม่ใฝ่ใจไยดีและละโมบโลภมากอยากได้ของเขา ผู้นั้นครอบครัวนั้นย่อมเป็นสุขร่วมกันตลอดอวสาน ไม่มีความร้าวรานเพราะการยินดีเลยขอบเขต สามีภรรยาและลูกเต้าย่อมมีความสงบสุขและตายใจโดยทั่วกันไม่มีความระแวงมาทำลาย สมบัติต่าง ๆ ก็มีความสนิทใจว่าเป็นของตนอย่างแท้จริง ไม่มีสมบัติประเภทกาฝากที่เที่ยวคดเที่ยวโกงเขามาสับปน มีเฉพาะสามีภรรยาลูกเต้าหลานเหลนและสมบัติของตนล้วน ๆ จึงมีแต่ความอบอุ่นเย็นใจ เพราะธรรมสันโดษคุ้มครองรักษา ยังคนและครอบครัวนั้น ๆ ให้มีคุณค่าทางใจ

    ส่วนความมักน้อยนั้น เป็นธรรมที่ละเอียดมากกว่าความสันโดษขึ้นอีกมากมาย แต่เป็นธรรมคู่ควรแก่ครอบครัวและชายหนุ่มหญิงสาวอย่างยิ่ง จะพึงปฏิบัติตัวให้มีขอบเขต คือ ถ้าชายหนุ่มกับหญิงสาวก็ให้มีรักเดียว ไม่มีพ่วงมีแพมาแอบแฝงทางใจอีกฝ่ายหนึ่งให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจว่า อีกฝ่ายหนึ่งหาเศษหาเลย ไม่เห็นคุณค่าของตน แล้วเกิดความอิดหนาระอาใจที่จะฝากชีวิตจิตใจฝากเป็นฝากตายในกันต่อไป คือ เมื่อเป็นคู่รักก็ต้องรักเดียวไม่มีสองกับใครอื่น ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมีความซื่อสัตย์ต่อกันแต่ขั้นเริ่มเป็นคู่รักจนเป็นคู่ครองตลอดอวสานแห่งชีวิต ไม่ยินดีกับใครอื่นซึ่งมิใช่คู่รักของตน มีเพียงคู่รักคนเดียวเท่านั้นเป็นจิตใจที่จะสูดลมหายใจร่วมได้อย่างสนิทใจ นอกนั้นถือว่าเป็นประเภทกาฝาก ที่จะคอยทำลายความสัมพันธ์ให้แตกร้าวไปโดยไม่สงสัย
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้าเป็นคู่ครองก็มีเพียงสามีภรรยาของตนเท่านั้น นอกนั้นแม้เป็นเทวดามาก็ไม่เกี่ยว เพราะมิใช่สมบัติอันแท้จริงของตน มีความยินดีและตายใจด้วยเพียงพ่ออีหนูกับแม่อีหนูสองคนเท่านั้น นอกนั้นมิใช่ความมักน้อยของผู้ต้องการความสงบสุขในครอบครัว ซึ่งสามีภรรยาจะตายใจได้

    เมื่อกล่าวถึงความประหยัด ความมัธยัสถ์ ความสันโดษ และความมักน้อยแล้ว ก็ควรนำธรรมตรงข้ามมาเทียบเคียงกัน พอทราบความหนักเบาของธรรมทั้งสองว่า มีคุณสมบัติและโทษต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อผู้สนใจในเหตุผลความจริง จะได้นำไปพิจารณาและคัดเลือกปฏิบัติตามที่เห็นควร คือ ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมในวัตถุและอารมณ์ ความสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย ความมีหนึ่งแล้วคิดอยากมีสองมีสาม ไม่ยินดีในของมีอยู่ของตน และความมักมากในทุกสิ่งบรรดาที่เป็นข้าศึกแก่ตนและผู้อื่น เหล่านี้เป็นข้าศึกต่อธรรมที่กล่าวแล้วเหล่านั้น การปีนเกลียวกับธรรมมีความประหยัด เป็นต้น เป็นทางเสื่อมเสียโดยถ่ายเดียว แม้ใครจะต้องการความสงบสุขและความเจริญโดยทำลายธรรมดังกล่าวนั้น ย่อมหาความสงบสุขและความเจริญมิได้เพราะผิดทาง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ไม่ว่าพระหรือฆราวาส ใครก็ตามถ้าเดินทางผิดย่อมเกิดความเสื่อมเสียได้เช่นเดียวกัน เพราะธรรมเป็นสายกลางแห่งทางดำเนินเพื่อความเจริญ ทั้งนักบวชและฆราวาส แม้มีแยกกันไว้บ้างก็เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่นั้นเหมือนกันดังความสันโดษมักน้อย เป็นต้น พระก็ดำเนินไปตามสายของพระ ฆราวาสก็ปฏิบัติไปตามสายของตน ผลย่อมเป็นความสงบสุขไปตามเหตุที่ปฏิบัติได้
    <o:p></o:p>
    พระสาวกสมัยพุทธกาลที่เป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกเรา โดยมากท่านปฏิบัติกันตามสายความสันโดษและมักน้อย ไม่กลัวความอดอยากขาดแคลนและความเป็นความตายยิ่งกว่าความกลัวไม่รู้ไม่เห็นธรรม ท่านกลัวไม่รู้ไม่เห็นธรรม ท่านจึงพยายามทุ่มเทกำลังทุกส่วนลงทางความเพียรเพื่อรู้เพื่อเห็น ท่านจึงได้รู้ได้เห็นธรรมอย่างสมใจ ส่วนพวกเรากลัวแต่จะอดอยากขาดแคลน กลัวจะลำบากทรมาน กลัวแต่จะตาย อะไรขาดเหลือบ้างไม่ได้ ใจหดหู่เหี่ยวแห้งไม่เป็นอันบำเพ็ญพากเพียรได้ ภายในใจจึงมีแต่กิเลสความกลัวตายเต็มไปหมด ธรรมเลยหยั่งลงไม่ได้เพราะกิเลสกีดขวางไม่มีทางซึมซาบได้<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ไปที่ไหนอยู่ที่ใดถ้ามีประชาชนญาติโยมห้อมล้อมนับถือ และหิ้วอาหารเป็นปิ่นโต ๆ เดินตามหลัง ตามถ้วยชามต่างเกลื่อนไปด้วยอาหารคาวหวานชนิดต่าง ๆ ใจก็เบิกบานเพราะความชุ่มเย็นด้วยอาหาร ทั้งยิ้มทั้งพูดชมเชยด้วยความพอใจว่า ที่นี่อากาศดีมากนะโยม ทั้งปลอดโปร่งทั้งโล่งใจดี ภาวนาก็สะดวกสบาย ใจก็ไม่ต้องบังคับยาก สงบไปเลย ความจริงมันภาวนาสะดวกหรือนอนหลับสบายก็ยากจะสันนิษฐาน สำหรับพระที่ชอบอากาศแบบนี้ เพราะการกินได้มากกับการนอนหลับดีและนอนได้มากนั้น มันเป็นคู่มิตรกันอย่างแยกไม่ออก ผมเคยผ่านมาแล้วรู้เรื่องได้ดี
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าไปอยู่สถานที่จะพอภาวนาดีบ้างเพราะปราศจากสิ่งรบกวน แต่ขาดแคลนอากาศคืออาหารหน่อย เพราะไม่ค่อยมีปิ่นโตเถาใหญ่ ๆ เดินตามหลังเป็นคณะ ๆ เป็นพวง ๆ ที่นั่นอากาศท่าจะแย่ทนไม่ไหว และบ่นว่า แหม โยมที่นี่อากาศแย่ ทนอยู่ไปไม่ไหว ทึบเกินไป หายใจอึดอัดไม่สะดวก ภาวนาก็ไม่สงบ จิตใจก็บังคับยาก ผิดธรรมดาที่เคยเป็น อาตมาทนอากาศทึบมากไม่ไหวต้องลาโยมไปวันนี้ แล้วก็เผ่นไปหาอากาศดี ๆ ใหม่เพื่อการภาวนาจะได้รุดหน้า นั่นฟังซิท่าน ฟังพระธุดงคกรรมฐานอากาศอำนวยภาวนาจิตสงบลงได้ดี พอปิ่นโตห่างจากข้างบ้างชั่วอึดใจเดียว เกิดอากาศทึบขึ้นมาแล้ว ภาวนาจิตไม่สงบ เผื่อว่าสิ่งนั้นก็บกพร่อง สิ่งนี้ขาดเขินเข้าหลาย ๆ อย่างด้วยกัน อากาศจะเป็นอย่างไร ผมว่าน่าจะตายในไม่ช้าเพราะไม่มีอากาศหายใจ กรรมฐานอากาศแบบนี้ท่านฟังแล้วเป็นไงชอบใจไหม? ผมว่าเข้าทีดีนะ
    <o:p></o:p>
    ถ้าท่านต้องการเห็นพระตถาคตและพระอรหันต์องค์แท้จริงประจักษ์ใจ โดยไม่มีกาลสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ท่านจงพิจารณาให้เห็นความบกพร่องขาดแคลนและสมบูรณ์ของบรรดาปัจจัยสี่ว่าเป็นของธรรมดา ซึ่งเพียงอาศัยเพื่อบรรลุถึงความมุ่งหมายเท่านั้น ไม่ควรเป็นอารมณ์กับสิ่งใดมากกว่าธรรมอันเป็นจุดที่หมายของการบำเพ็ญ ความสันโดษมักน้อยนั่นแลคือทางเดินของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ส่วนความเหลือเฟือนั้นคือทางเดินของพระกรรมฐานอากาศดังกล่าวมา จะไม่มีวันพ้นทุกข์ไปได้ถ้าใจยังติดแน่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น การตัดกังวลกับสิ่งเกี่ยวข้องต่างๆ ก็เพื่อความเบาบางทางอารมณ์ที่เป็นกิเลสแต่ละประเภท
    <o:p></o:p>
    ผู้ใดก็ตามถ้ายังไม่เห็นคุณค่าแห่งธรรมคือความสันโดษ และความมักน้อยเป็นต้น ผู้นั้นยังไม่เห็นคุณค่าแห่งธรรม พอจะพยายามตะเกียกตะกายไปด้วยความบึกบึนอดทน แต่จะมากังวลกับปากกับท้องกับความกลัวอดกลัวตายอยู่นี้เท่านั้น สุดท้ายก็ติดจมอยู่กับเรื่องของปากของท้องซึ่งเคยทำความกังวลมาเป็นประจำ การปฏิบัติธรรมถ้าไม่ยอมปล่อยวางอารมณ์กับสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีทางผ่านพ้นกิเลสทั้งหลายไปได้ เพราะสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นกิเลสเครื่องผูกพันทั้งสิ้น ท่านควรทราบว่า ความกังวลกับสิ่งเหล่านั้นทำนักปฏิบัติให้ติดจมอยู่จนถอนตัวไม่ขึ้น หรือไม่คิดว่าเป็นกิเลสพอจะสนใจคิดและถอดถอนเสียซ้ำไป จะไปบำเพ็ญที่ใดพอจะปลดปล่อยกิเลสบนหัวใจออกได้บ้าง แต่ก็มาหวงมาห่วงกิเลสเหล่านั้นจะสิ้นไปจากใจไม่มีอะไรมาให้พาสนุกพาเกา จำต้องพะรุงพะรังกันไปกับสิ่งเหล่านี้<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คิดไปพูดไปก็รู้สึกสลดสังเวชที่นักปฏิบัติเรา ไม่เห็นความพ้นทุกข์เป็นธรรมมีคุณค่า ยิ่งไปกว่ากิเลสที่เคยทรมานใจ โดยเห็นความห่วงปากห่วงท้องเป็นของสำคัญกว่าความปล่อยวางเพื่อความหลุดพ้น ผู้กระหยิ่มในธรรมเห็นครูอาจารย์พากันดำเนินเด็ดเดี่ยวอาจหาญเพียงไร ก็ยิ่งมีความบากบั่นมั่นใจต่อความเพียรของตนยิ่งขึ้นเพียงนั้น สมกับมาศึกษาอบรมเพื่ออรรถเพื่อธรรมเพื่อความหลุดพ้น โยนกิเลสกองทุกข์ออกจากใจจริง ๆ ท่านก็คนเราก็คน ท่านก็ใจเราก็ใจ ท่านทนได้เราก็ทนได้ ท่านถึงไหนเราจะพยายามให้ถึงนั่น ไม่ยอมถอยหลังให้กิเลสหัวเราะเย้ยหยันได้ ท่านหลุดพ้นเราก็จะพยายามให้หลุดพ้นตามท่านจนได้ กิเลสท่านกับกิเลสเรามีอยู่เพียงหัวใจดวงเดียวเสมอกัน มิได้กองรอคอยทับถมเพิ่มพูนอยู่ข้างหน้าข้างหลังเท่าภูเขาป่าไม้อะไรเลย ผู้มีความสนใจใฝ่ต่อการศึกษาอบรมเพื่อตนเพื่อธรรมจริง ๆ ดังกล่าวมานี้ ผมแน่ใจด้วยว่าต้องมีวันผ่านพ้นไปได้ในวันหนึ่งข้างหน้าแน่นอน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การปฏิบัติต่อบริขารต่าง ๆ เช่น การปะการชุนหรือดัดแปลงซ่อมแซมไปตามกรณีนั้น ก็เพราะเห็นคุณค่าแห่งธรรมเหล่านี้มาประจำนิสัย และความเป็นห่วงหมู่คณะจะไม่มีทางเดินในกาลต่อไป เพราะสมัยนี้มักมีแต่กรรมฐานขี้เกียจมักง่าย ทำอะไรก็มักจะทำแบบสุกเอาเผากินกันเสียมาก พอเผาสุกบ้างก็กินหมดไปกับปากกับท้องกับกองไฟพร้อม ๆ กัน ไม่มีอะไรเหลือเผื่อวันพรุ่งนี้ (นี้หมายความว่า พอออกจากที่ภาวนาก็ไม่มีคุณธรรมมีความสงบเย็นเป็นต้นเหลืออยู่ ปลิวไปกับอารมณ์เสียหมด)
    <o:p></o:p>
    กิจการที่ผมทำนั้น ผมเชื่ออย่างฝังใจว่าเป็นอริยกิจอริยประเพณีที่ท่านดำเนินกันมา เพราะเป็นกิจที่ทำด้วยความเห็นภัยไม่ลืมตน มิใช่แบบลิงที่ทั้งกินทั้งทิ้งทั้งคว้าหาของใหม่ ไม่สนใจกับของเก่าที่ยังพอกินเป็นอาหารอยู่เลย ถ้าเป็นคนก็แบบบ้าตื่นสมัยนั่นแล จะมีหลักใจพอเป็นหลักเกณฑ์เพื่อทรงทรัพย์สมบัติได้อะไรกัน ใส่เสื้อกางเกงเครื่องนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ เพียงตัวหรือผืนละหนสองหนก็หาว่าเก่าว่าคร่ำครึล้าสมัยไม่ทันเขาก็ทิ้ง แล้วคว้าหาใหม่ราวกับเงินทองไหลมาเองเหมือนน้ำมหาสมุทรสาครฉะนั้น โดยมิได้คำนึงว่าแม้จะเอาสิ่งที่มีราคาค่างวดมากมายเพียงไรมาประดับตกแต่ง ก็คือคน ๆ เดียวกับผู้กำลังเฟ้อ ๆ อยู่นั่นแล จะหาคุณค่าสาระอันยิ่งยวดมาจากไหน สวมใส่ประดับประดาเข้าไปแล้วก็เท่าเดิม นิสัยดีชั่วก็เท่าเดิม ถ้าไม่ปฏิบัติตัวให้มีคุณค่าด้วยความประพฤติ
    <o:p></o:p>
    เพราะคนเรามีคุณค่าอยู่กับความรู้วิชาและความประพฤติตัวต่างหาก มิได้มีอยู่กับเครื่องประดับประดาอะไรเลย พอที่จะหลงหลับจนไม่รู้จักตื่นกัน นอกจากทำเพื่อหลอกคนที่ตาฝ้าฟางให้หลงตามแบบกระต่ายตื่นตูม และวิ่งจนแข้งหักขาหักไปตามๆ กันเท่านั้น ไม่เห็นมีอะไรที่น่าชมว่าเขามีคุณค่าขึ้นเป็นกอง เพราะการแต่งตัวด้วยเครื่องหรูหราที่ร้อยผลัดพันเปลี่ยนวันหนึ่งหลาย ๆ ชุด สิ่งที่ได้รับอย่างหลีกไม่พ้นก็คือความเสียนิสัย ใจรั่ว ใจไม่มีหลัก ไม่เป็นตัวของตัวได้ด้วยหลักเกณฑ์ที่ดี สร้างความฉิบหายแก่ตนและสังคมตลอดอนุชนรุ่นหลังให้หลงตามกันไปไม่สิ้นสุด นี่คือผลไม่ดีต้องติดตามแน่นอน ใครทำก็ผู้นั้นต้องประจักษ์กับตัว ไม่ต้องหากรรมการมาตัดสินให้ลำบากเหมือนประกวดสิ่งของต่างๆ สิ่งที่ชั่วย่อมทราบว่าชั่ว ดีก็ย่อมทราบว่าดี ทุกข์ย่อมทราบว่าทุกข์ สุขย่อมทราบว่าสุข รู้อยู่กับตัวไม่จำต้องให้ใครบอกถึงจะทราบ<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน ท่านที่ปฏิบัติมาก่อนท่านได้รับผลเป็นที่พอใจมาแล้ว จึงได้วางแนวที่ถูกไว้ให้ดำเนินตาม ยังจะหาเรื่องว่าลำบากคร่ำครึล้าสมัย ไม่ลงใจที่จะปฏิบัติตามท่านด้วยความเต็มใจอยู่แล้วก็หมดหนทาง เหมือนคนตายไม่รู้จักดีชั่วสุขทุกข์อะไรเท่านั้น รองจากนั้นลงมาก็ปฏิบัติตัวแบบลิง ไม่ต้องมีกฎมีระเบียบข้อบังคับกัน อยากทำอะไรก็ปล่อยให้เป็นไปตามนิสัยสัตว์ที่ไม่รู้ภาษา แต่เราเป็นคนเป็นพระ จะทำอย่างนั้นก็อยู่กับโลกเขาไม่ได้ ต้องถูกไล่เข้าไปอยู่ในป่าช้ากับคนตาย หรือถูกไล่เข้าไปอยู่ในป่ากับฝูงลิง แต่ก็จะไม่ยอมไปเพราะยังถือว่าตัวเป็นคน ยังมีชีวิตอยู่ มิใช่คนตาย และถือว่าตัวเป็นคนมิใช่ลิง จะไปอยู่ในที่เช่นนั้นไม่ได้ ก็จะกลายเป็นคนขวางโลกขวางธรรมอยู่ร่ำไป และทำให้สังคมรังเกียจเดือดร้อนไปด้วย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การปฏิบัติธรรมแบบสะเทินน้ำสะเทินบกไม่เอาจริงเอาจัง เป็นเรื่องขวางวงปฏิบัติอย่างนี้แล แล้วยังจะเป็นกรรมฐานกาฝากในวงปฏิบัติแฝงหมู่แฝงคณะผู้ตั้งใจทำจริงไปด้วย ไม่ยอมแยกจากวงคณะให้หายเปื้อนหายกลิ่นสาบโคลน เผื่อมีผู้มาติดต่อสอบถามธรรมะธัมโมบ้าง จะได้คุยโม้กับเขาด้วยว่า เป็นพระธุดงคกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่น ท่านอาจารย์เสาร์ แล้วขายครูขายอาจารย์กินไปเรื่อย ๆ ยิ่งกว่าปลาเน่าในตลาดเสียอีก
    <o:p></o:p>
    การกล่าวทั้งนี้ ผมมิได้ตั้งใจตำหนิท่านว่าเป็นพระกรรมฐานดังกล่าวมาแต่อย่างใด แต่อะไรที่จะเป็นคติแก่หมู่เพื่อนและวงคณะในฐานะผมเป็นอาจารย์ ก็จำต้องตักเตือนสั่งสอน เพื่อรู้หนทางหลบหลีกปลีกตัวและเลือกปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม ผลย่อมเป็นของท่านทั้งหลายเอง ผมก็นับวันแก่ชราลงทุกวันเวลา ต่อไปก็หวังในหมู่คณะจะบริหารกันไปตามเยี่ยงอย่างประเพณีที่พาดำเนินมา คำที่ท่านขอร้องผมนั้นก็มิได้เป็นสิ่งที่ผิดในฐานะลูกศิษย์กับครู เพราะความสุขความทุกข์เป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อเห็นครูอาจารย์ทำอะไรก็กลัวลำบาก อยากให้อยู่สบายด้วยความเคารพรัก และหวังพึ่งเป็นพึ่งตายอย่างจริงใจ ก็พูดปรึกษาปรารภตามความหวังดี ผมมิได้ถือว่าท่านเป็นผู้ผิดเพราะการขอร้องนั้น แต่เพื่อดำรงอริยประเพณีอันราบรื่นดีงามต่อไป เพื่อตนและกุลบุตรสุดท้ายภายหลังจะได้ยึดเป็นหลักและดำเนินตาม
    <o:p></o:p>
    ผมจึงขอนิมนต์หมู่คณะให้ตั้งใจบำเพ็ญตนในความประหยัด มัธยัสถ์ สันโดษ มักน้อยในปัจจัยทั้งหลายด้วยความจริงใจสืบทอดกันไป จะเป็นผู้ดำเนินปฏิปทาไปโดยสม่ำเสมอ กิเลสมารยาทั้งหลายจะไม่รังควานรบกวนเกินกว่าเหตุ เพราะมีธุดงควัตรเป็นเครื่องกำจัดปัดเป่าอยู่เสมอ ธรรมสี่ข้อนี้มีความสำคัญมากในวงปฏิบัตินิมนต์พากันทราบไว้อย่างถึงใจ ผู้มีธรรมเหล่านี้อยู่ในใจตราบใด จะเป็นผู้สงบเย็นทั้งใจทั้งกิริยาที่แสดงออก ไม่มีมลทินติดตามมาตราบนั้น ไปที่ใดอยู่ที่ใดจะเป็นสุคโต มีกายวาจาใจอันสงบไม่เป็นภัยแก่ผู้ใด กิริยาที่แสดงออกของพระผู้มีธรรมเหล่านี้อยู่ในใจ เป็นที่งามตาเย็นใจหมู่คณะและประชาชนทุกชั้น ตลอดเทวดา อินทร์ พรหม นาค ครุฑทั้งหลาย ขอนิมนต์ทุกท่านจดจำไว้อย่างถึงใจ และพยายามปฏิบัติให้เกิดผลแก่ตนอย่าได้ลดละปล่อยวาง ธรรมเหล่านี้ คือ หัวใจของพระอริยเจ้าทั้งหลายที่ท่านรักสงวนมากเสมอด้วยชีวิตจิตใจ ส่วนสามัญธรรมดาอาจมีความคิดเห็นต่างกัน ดังนั้นเพื่อความถูกต้องแม่นยำและแน่ใจ จงยึดคำว่า สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ให้มั่นคงถึงใจ ธรรมสี่บทนั้นกับสังฆสรณะมีคุณค่าและน้ำหนักเท่ากัน

    <o:p>ปัญหาของพระที่ขอร้องท่านให้อนุโลมผ่อนผัน ได้กลายเป็นกัณฑ์เทศน์อย่างเผ็ดร้อนและยืดยาว การแสดงธรรมของท่านยากที่จะมีผู้ตามทัน บรรดาอุบายต่าง ๆ ทั้งอุบายขู่เข็ญและปลอบโยน ล้วนเป็นสาระสำคัญแก่ผู้ฟังอย่างถึงใจ ไม่มีองค์ใดบรรดาที่นั่งฟังจะคิดหรือพูดว่า ท่านเทศน์ดุด่าเข็ญด้วยถือกิเลสเป็นอารมณ์หรือเป็นเครื่องมือ มีแต่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วันนี้ท่านเทศน์ถึงใจเหลือเกิน ต้องอย่างนี้ซิอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ฟังเทศน์แบบนี้ ถ้ามีผู้อาราธนาท่านแบบนี้รู้สึกว่าสนุกและอร่อยจริง ๆ ใครมีอะไรก็เรียนถามท่านบ้างซิ อยู่เฉย ๆ ท่านไม่เทศน์แบบนี้ให้ฟังง่ายๆ นา พระท่านคุยกันหลังจากฟังเทศน์ท่านจบลงแล้ว ลงมายืนชุมนุมกันที่สภาหนูลับ ๆ ตามเคย ปกติก็เป็นดังนั้นจริง ๆ ถ้าไม่มีท่านผู้ใดเป็นต้นเหตุให้ท่านต้องเทศน์ ท่านก็เทศน์ไปธรรมดา แม้เป็นธรรมขั้นสูงก็รู้สึกไม่เข้มข้นเหมือนมีเหตุบันดาลให้ท่านเทศน์ ผู้เขียนชอบฟังแบบนี้ถึงใจดี เพราะเป็นผู้มีนิสัยหยาบมาดั้งเดิม ถ้าไม่ถูกหนักๆ บ้าง ธรรมไม่ค่อยเข้าถึงใจแม้ใจก็ไม่ค่อยได้อุบายต่างๆ เหมือนฟังแบบนั้น<o:p></o:p>
    </o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขนาดบาตรของพระกรรมฐาน

    บาตรเป็นบริขารจำเป็นของพระไทยในวงพระพุทธศาสนาที่จะขาดไปไม่ได้ และเป็นบริขารสำคัญแต่วันเริ่มอุปสมบทตลอดชีวิต แต่บาตรมีหลายชนิดและมีขนาดต่างๆ กันตามหลักพระวินัยกำหนดไว้ เฉพาะบาตรพระกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่น รู้สึกจะมีขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องจากท่านชอบเที่ยวธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ตามป่าตามภูเขาประจำนิสัย ไม่ค่อยอยู่เป็นที่เป็นฐานในเวลาออกพรรษาแล้ว การเที่ยวท่านชอบเดินด้วยเท้าเปล่าไปตามอัธยาศัย บริขารจำเป็นที่ควรนำติดตัวไปด้วยในเวลาออกเที่ยวธุดงค์นั้นไม่มีมาก มีเพียงบาตร สังฆาฏิ จีวร สบง ผ้าอาบน้ำ กลด มุ้ง กาน้ำ เครื่องกรองน้ำ มีดโกน รองเท้า เทียนไขบ้างเล็กน้อย และโคมไฟที่เย็บหุ้มด้วยผ้าขาวสำหรับจุดเทียนเดินจงกรมทำความเพียร และถือหิ้วไปมาตามบริเวณที่พักในเวลาค่ำคืนแทนตะเกียง

    บริขารบางอย่าง เช่น ผ้าสังฆาฏิ มุ้ง มีดโกน เทียนไข และโคมไฟ ท่านชอบใส่ลงในบาตร ดังนั้นบาตรพระธุดงค์จึงมักใหญ่ผิดธรรมดาบาตรทั้งหลายที่ใช้กัน เพราะจำต้องใส่บริขารเพื่อความสะดวกในเวลาเดินทาง พอบาตรเต็มบริขารก็หมดพอดี เมื่อใส่บริขารลงเต็มบาตรแล้ว ก็เตรียมสะพายออกเดินทาง บ่าข้างหนึ่งแบกกลดและสะพายย่ามเล็ก ๆ อีกข้างหนึ่งสะพายบาตรซึ่งหนักเอาการ เฉพาะท่านที่ไม่เคยชินก็น่าจะแย่อยู่บ้างหรืออาจสะพายไปไม่ไหว แต่ความเป็นพระกรรมฐานก็เทียบกับนักรบในสงคราม จำต้องอดทนต่อเหตุการณ์ที่จะพึงเผชิญ

    บาตรที่มีขนาดใหญ่บ้าง เวลาฉันจังหันก็สะดวก เพราะท่านฉันสำรวมในบาตรใบเดียว มีคาวมีหวานท่านรวมลงในบาตรทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับภาชนะถ้วยชาม พอฉันเสร็จก็ล้างและเช็ดบาตรให้สะอาดปราศจากกลิ่นอาย การล้างบาตรอย่างน้อยต้องล้างถึงสามน้ำ เมื่อเช็ดแห้งแล้วถ้ามีแดดก็ผึ่งครู่หนึ่ง แล้วเก็บไว้ในที่ควร ถ้าอากาศแจ่มใสฝนไม่ตก ก็เปิดฝาไว้เพื่อให้หายกลิ่นที่อาจค้างอยู่ภายใน การรักษาบาตรท่านรักษาอย่างเข้มงวดกวดขันเป็นพิเศษ คนไม่เคยล้าง ไม่เคยเช็ดและไม่เคยรักษาบาตร ท่านไม่อาจมอบบาตรให้อย่างง่ายดาย เพราะกลัวบาตรจะเข้าสนิม กลัวจะวางไว้ในที่ไม่ปลอดภัย กลัวบาตรจะกระทบของแข็งและกลัวตกลงถูกอะไรๆ แตกหรือบุบแล้วเกิดสนิมในวาระต่อไป เมื่อเกิดสนิมแล้วต้องขัดใหม่หมดทั้งลูกทั้งข้างนอกข้างใน แล้วระบมด้วยไฟอีกถึงห้าไฟตามพระวินัยจึงจะใช้ได้ต่อไป ซึ่งเป็นความลำบากมากมาย ท่านจึงรักสงวนบาตรมากกว่าบริขารอื่นๆ ไม่ยอมปล่อยมือให้ใครง่าย ๆ

    เคยมีผู้ไปขอรับบาตรท่านเวลาขากลับจากบิณฑบาต เมื่อท่านไม่แน่ใจกับผู้มาขอรับบาตรว่า เคยปฏิบัติต่อบาตรมาแล้วอย่างไรหรือไม่ ท่านมักจะพูดอุบายต่าง ๆ อันเป็นลักษณะห้ามโดยปริยาย ไม่ยอมมอบบาตรให้อย่างง่ายดาย จนกว่าได้สอนวิธีวางบาตร วิธีล้างบาตร วิธีเช็ดบาตร และวิธีรักษาบาตร จนผู้นั้นเป็นที่เข้าใจดีแล้ว ท่านถึงจะมอบบาตรให้ นี่เป็นธรรมเนียมรักษาบาตรของพระกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่นที่เคยปฏิบัติกันมา แต่โลกมีอนิจจังเป็นทางเดิน จึงไม่อาจทราบได้ในสมัยนี้ว่า พระธรรมวินัยอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นอนิจจังไปโดยประการใดหรือไม่ เท่าที่สังเกตก็พอทำให้น่าวิตกได้อยู่บ้างแล้ว เนื่องจากสิ่งแวดล้อมกำลังคืบคลานเข้ามาในวงปฏิบัติทีละเล็กละน้อย และค่อยๆ เจริญขึ้นเรื่อยๆ จวนจะเข้าขั้นจะอพยพ สำหรับท่านที่เป็นสุปฏิบัติมีใจหนักแน่นในธรรม เพราะอาจฝืนทนอยู่มิได้ เนื่องจากความแสลงแทงตาสะดุดใจที่จะทนอยู่ได้<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อากัปกิริยาของผู้ปฏิบัติกำลังเริ่มไหวตัวไปตามสิ่งดังกล่าว อันเป็นการแสดงบอกลักษณะความสนใจและตื่นเต้นพิกลทั้งท่านและเรา ชนิดที่อาจเดาไม่ผิด ถ้าไม่ยอมสำนึกและขยับตัวเข้าใกล้ชิดต่อหลักเดิม คือ พระธรรมวินัยและธุดงควัตรทั้งหลาย อันเป็นเหมือนเกราะหลบภัยดังที่ครูอาจารย์ท่านพาดำเนินมา ก็น่ากลัวจะกลายเป็นพระธุดงคกรรมฐานประเภทจรวดดาวเทียม ชนิดมองไม่ทันไปได้ในไม่ช้า เพราะความรวดเร็วเกินสมัยที่ท่านพาดำเนินมานั่นเอง<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    การกล่าวทั้งนี้ มิได้ตั้งใจจะตำหนิติเตียนท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแต่อย่างใด แต่กล่าวด้วยความที่น่าวิตกกับพระธรรมวินัยและธุดงควัตร ที่ผู้ปฏิบัติเราซึ่งชอบความเปลี่ยนแปลงเอาตามใจชอบ จะฉุดลากลงมาสู่ตลาดแห่งความสะดวกของตน เพราะสมัยนี้การเรียนลัดกัน พระธุดงค์เราก็อาจต้องการความรวดเร็วทันใจ และอาจเรียนและปฏิบัติแบบรัดกุมยิ่งกว่าศาสดาและครูอาจารย์ที่พาดำเนินมาก็ได้ ซึ่งการรัดกุมแบบนี้น่าจะเป็นแบบล้างมือคอยเปิบ แต่สุดท้ายก็หมดหวังนั่งซึม จึงขอฝากธรรมนี้ไว้กับพระธุดงค์เราทุกท่านได้ช่วยกันพิจารณา สิ่งตามใจทั้งหลายที่กำลังคืบคลานเข้ามาแอบซ่อนอยู่ตามมุมวัดมุมกุฎีชายสบงจีวร และการแสดงออก จะได้ถอยตัวห่างออกไป ไม่มีโอกาสมาซ่องสุมกำลังทำลายวงคณะกรรมฐานเรา ให้ฉิบหายไปอย่างรวดเร็วกว่าเวลาที่ควรจะเป็น<o:p></o:p>

    อย่างไรก็ตาม นักปฏิบัติเราถ้าเพลินมองข้างนอกยิ่งกว่ามองข้างใน คือ ตัวเองเทียบกับหลักธรรมวินัยแล้ว ต้องจัดว่าเป็นความเผลอตัวเพื่อเปิดทางให้เหล่าร้ายทั้งหลาย คืบคลานเข้ามาตั้งวัดใหม่ที่รกรุงรังขึ้นแทนวัดเก่า ตั้งเราตัวดื้อด้านขึ้นแทนเราตัวเดิมที่เคยมีธรรมในใจให้จมมิดชนิดมองไม่เห็นของเดิมแน่นอน คำว่า ธรรมกลายเป็นโลก คนฉลาดกลายเป็นคนเขลา คนมีสติกลายเป็นคนเมา คนที่เคยเป็นเจ้านายของตัวแต่กลายมาเป็นบ๋อยด้อยสารคุณนั้น ก็กลายไปจากบุคคลคนเดียวกันนั่นแล เพราะความรู้สึกคิดนึกพาให้กลาย กายวาจาที่เคยเป็นเครื่องมือทำดีก็กลายเป็นเครื่องมือสังหารตนให้ฉิบหายวายปวงไปสิ้น ไม่มีส่วนใดจะขืนตั้งตัวดีเด่นคงเส้นคงวาอยู่ได้ ถ้าลงใจได้เปลี่ยนสภาพความคิดเห็นเป็นอื่นแล้ว<o:p></o:p>

    ท่านนักปฏิบัติจึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมรดกอันดีเยี่ยมไว้ อย่างเต็มภูมิแห่งความสามารถขาดดิ้นในการปฏิบัติ แม้สิ้นชีพก็อย่าให้สิ้นลวดลายที่เคยเป็นลูกนักรบ ถึงจะจบชีวิตลงในนาทีนั้น เพราะการสู้รบกิเลสนานาชนิดด้วยข้อปฏิบัติอันทรหดอดทน ก็ขอให้สิ้นไปในท่ามกลางแนวรบ ซากศพที่ตายในสงครามแห่งกิเลส แทนที่จะเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดน่ากลัว แต่จะกลายเป็นซากศพที่หอมหวนทวนลมตลบอบอวลไปทุกทิศทุกทางทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง และเป็นศูนย์กลางแห่งความดึงดูดจิตใจของมนุษย์มนาเทวดาอินทร์พรหมทั้งหลายให้มีความกระหยิ่มยิ้มย่องต้องใจ อยากมาพบมาเห็นและกราบไหว้สักการบูชาเป็นขวัญตาขวัญใจระลึกไว้ไม่ลืมเลือน<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เหมือนองค์พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย ตลอดครูอาจารย์ท่านนิพพาน ซึ่งเป็นสักขีพยานแห่งความทรงจำของพวกเรามาแล้วอย่างประจักษ์ใจ พระอัฐิพระอังคารเถ้าถ่านของท่าน ไม่มีผู้ใดรังเกียจเดียดฉันท์และกลัวกัน มีแต่ความมุ่งหวังอย่างแรงกล้าด้วยกำลังศรัทธา ต่างประสงค์พระอัฐิธาตุท่านมาไว้สักการบูชาเป็นขวัญใจไว้ระลึกทุกเช้าค่ำวันคืนยืนเดินนั่งนอน เพื่อความสวัสดิมงคลแก่ตนและสถานที่บ้านเรือน และเพื่อความแคล้วคลาดปลอดภยันตรายทั้งหลาย จะได้ไม่มาถูกต้องสัมผัสชีวิตร่างกายซึ่งเป็นสมบัติที่รักสงวนอย่างยิ่งในโลกทั้งสาม<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    ชีวิตอัตภาพของท่านนักปฏิบัติ จึงขอวิงวอนให้เป็นไปด้วยความแกล้วกล้าสามารถในการห้ำหั่นฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการ ที่กิเลสสันดานก่อกำแพงกั้นไว้อย่างหนาแน่นมั่นคงจนทะลุไปได้ ดังท่านผู้เป็นศาสดาและอาจารย์พาดำเนินและได้ชัยชนะมาสู่โลก ตนก็หลุดพ้น ศาสนาก็พลอยเด่น โลกก็พลอยเฟื่องฟู เพราะคนที่ดีมีใจเป็นธรรมซึ่งรอกราบไหว้บูชายังมีอยู่มาก และคอยเหนี่ยวคอยเกาะท่านผู้พาดำเนินด้วยความอาจหาญและถูกต้องแม่นยำในการเป็นผู้นำด้วยความราบรื่นชื่นใจ โลกยังหิวโหยต่อความดีและคนดีอยู่มากจนไม่อาจประมาณนับได้ แม้ตนไม่สามารถดัดแปลงแต่งกายแต่งใจให้ดีเป็นที่พึงพอใจได้ แต่ก็อยากเห็นท่านนักปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส น่าเข้าใกล้ชิดสนิทธรรม อยากเคารพเลื่อมใสและกราบไหว้เทิดทูนเป็นขวัญใจไม่มีวันอิ่มพอ
    <o:p></o:p>
    โลกแม้จะพากันอยู่กับความโกลาหลอลหม่าน อันเป็นความวุ่นวายอบายมุขของมนุษย์มานาน จนแทบหมดหวังในการแสวงหาทางออกก็จริง แต่หัวใจยังมีความหวังยังสืบต่อ เมื่อเห็นสิ่งที่น่าเกาะก็อยากเกาะ เห็นสิ่งที่น่ายึดก็อยากยึด เห็นสิ่งที่น่าพึ่งพิงก็อยากพึ่งพิงไม่มีความเบื่อหน่ายอิ่มพอ เพราะความรู้สึกต่อความสุขของโลกเป็นอันเดียวกัน การปฏิบัติเพื่อหัวใจตนด้วยสุปฏิบัตินั่นแล คือเพื่อหัวใจของโลกด้วยในอันดับต่อไป
    <o:p></o:p>
    ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงดำเนินมาแล้ว สมัยที่ทรงทรมานพระองค์มิได้ทรงคิดทรงวิตกกังวลในพระทัยว่าจะเพื่อผู้ใด แม้พระชายาที่เปรียบกับดวงพระทัยก็ทรงทำความพยายามปล่อยวางทั้งสิ้นเวลานั้น ทรงทุ่มเทความพากเพียรเพื่อพระองค์ผู้เดียว เมื่อสมพระทัยไร้กังวลหม่นหมองทุกอย่างแล้ว จึงทรงหวนระลึกความหลังที่เคยทำความปรารถนาไว้และทรงทำหน้าที่ของศาสดาเพื่อประกาศธรรมสอนโลก แม้พระสาวกทั้งหลายก็ดำเนินองค์ตามแนวทางของศาสดา คือสนใจสั่งสอนตนก่อนอื่น จนสำเร็จไปด้วยดีแล้วค่อยสั่งสอนหมู่ชน จึงเป็นผู้ตามเสด็จด้วยความแคล้วคลาดปลอดภัย ท่านผู้ใดดำเนินตามเยี่ยงอย่างของพระองค์และสาวก ท่านผู้นั้นจะเป็นองค์แทนธรรมมรดกที่ประทานไว้แน่นอนไม่สงสัย ท่านนักปฏิบัติจึงควรภูมิใจในแนวทางอันเป็นสุคโตนี้<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...