Tesla Coilการสร้าง ฟ้าผ่าฟ้าแล่บเทียม

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Willam, 10 มิถุนายน 2011.

  1. Willam

    Willam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +18
    ทำงานได้อย่างไร

    เทสลาคอยส์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หม้อแปลงแบบเรโซแนท์ มีความหมายทาง
    ฟิสิกส์ว่าหม้อแปลงนี้ทำงานที่ความถี่หนึ่งที่เกิดการเรโซแนนท์เท่านั้น ไม่ใช่ทุกๆความถี่

    คอยส์หรือขดลวดที่ทำให้เกิดประกายไฟฟ้าเป็นขดลวดตัวที่สอง สร้างขึ้นจากตัวเหนี่ยวนำ ตัวเก็บประจุ และตัวต้านทาน ต่อขึ้นดังรูป ตัวเหนี่ยวนำก็คือขดลวด เพราะขดลวดก็คือตัวเหนี่ยวนำในตัวอยู่แล้ว ค่าของความเหนี่ยวนำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ จำนวนรอบ เส้นผ่าศูนย์กลาง และความยาวของขดลวด ทั้งตัวเหนึ่ยวนำ ความจุไฟฟ้า และความต้านทาน ต้องมีค่าพอดี จึงจะทำให้เกิดความถี่เรโซแนนท์ขึ้นได้ เพื่อจะให้ขดลวดขดที่สองเกิดการเรโซแนนท์ พลังงานที่ป้อนให้กลับขดลวดขดที่สองจะต้องมีความถี่เดียวกัน กับความถี่ของขดลวดขดที่สอง ถ้าเปรียบเทียบกับการตีระฆัง เวลาคุณตีระฆังด้วยไม้หรือฆ้อนถ้าคุณตึเร็วหรือช้าไปไม่สอดคล้องกับการสั่นของระฆัง เสียงของระฆังจะไม่ดังกังวาน และดังไม่มากนัก แต่ถ้าคุณตีระฆังอย่างต่อเนื่องให้มีความถี่เดียวกับการสั่นของระฆัง จะได้เสียงที่กังวานและดังกระหึ่ม อันนี้คือปรากฎการณ์เรโซแนนท์

    พลังงานของขดลวดที่สองมาจากขดลวดขดที่หนึ่ง ซึ่งวงจรของขดลวดขดที่หนึ่งประกอบด้วย 1. หม้อแปลงไฟแรงสูง 2. ตัวเก้บประจุ(capacitor) 3. ช่องว่าง (spark gap) 4. ขดลวด ทั้งหมดต่อขึ้นเป็นวงจรออสซิลเลตดังรูป เมื่อเปิดไฟ จ่ายกระแสให้กับวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟจะจ่ายไฟให้กับตัวเก็บประจุจนเต็ม ประจุจะวิ่งกลับไปมาระหว่าง ตัวเก็บประจุกับตัวเหนี่ยวนำ เมื่อมันมีพลังงานมากพอแล้ว ประจุจะสามารถวิ่งผ่านช่องว่างได้

    ความถี่ของวงจรไฟฟ้า คำนวณได้จาก ค่าของตัวเก็บประจุ และค่าของความเหนี่ยวนำ ให้ปรับแต่งความถี่ทางขดลวดที่หนึ่งจนกระทั่งมีความถี่เดียวกับขดลวดขดที่สอง พลังงานจะถูกถ่ายโอนจากขดลวดขดที่หนึ่งข้ามไปยังขดลวดขดที่สอง และถูกขยายจนมีแรงดันไฟฟ้ามหาศาล มากพอที่จะสปาร์กออกจากปลายของขดลวด ดังทึ่คุณเห็นอยู่ในรูปภาพที่ 2 ด้านล่าง


    ปรับปรุงไดนาโม

    ตอนที่เทสล่าเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย เขาได้เห็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่จะจุดประกายให้เขาประสบผลสำเร็จอันสำคัญต่อมาในชีวิต มันเป็นไดนาโมแบบแรก ๆ ที่เรียกว่า แกรมม์ไดนาโม (Gramme Dynamo) ซึ่งใช้ขดลวดอยู่ในสนามแม่เหล็ก ซึ่งทำหน้าที่เป็นมอเตอร์ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวด้วยกระแสไฟฟ้า และในทางกลับกันก็สามารถใช้เป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าได้ด้วย ตอนนั้นเทสล่ามีอายุเพียง 22 ปี และเขาได้บอกกับอาจารย์ของเขาว่าเขาสามารถจะปรับปรุงรูปแบบของไดนาโมดังกล่าวได้ และอีก 4 ปีต่อมา เขาก็ทำได้สำเร็จจริง ๆ โดยสามารถสร้างไดนาโมที่สร้างกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) ซึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กที่จะไป หมุนมอเตอร์ได้

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=2jV6Dhza2G0&feature=related]YouTube - ‪HAARP at work?‬‏[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=FY-AS13fl30]YouTube - ‪BIGGG TESLA COIL OF OKLAHOMA‬‏[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Zi4kXgDBFhw&feature=related]YouTube - ‪Tesla cage of death‬&rlm;[/ame]<!--MsgFile=5-->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. AFIKLIFI๋

    AFIKLIFI๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    869
    ค่าพลัง:
    +78
    น่ากลัวมาก ว่าแต่มันจะแรงเท่าฟ้าผ่าจริงไหมนะ
     
  3. Willam

    Willam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +18
    เท่ากันครับ 2 ล้าน โวลต์ (volt) ครับ ความดันเท่ากันครับ เป็นเครื่องจำลองฟ้าผ่าครับและทดลองอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าและอีกมากมาย ใช้แรงดันไฟฟ้าสูง และกำลังไฟ สูงมากครับ โครงการทดลองพวกนี้ใช้เงินเยอะครับ อุปกรณ์นี้หาได้ที่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ครับ
     
  4. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    เท่าที่เรียนมาจนจบมา...


    ไฟฟ้าจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์มีกระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ (KA) มีอุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส มีความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000-1/1,000 วินาที จึงส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท


    จะสร้างให้ได้ถึง100MVทำธรรมชาติที่ทำนั้นคงยากเพราะความร้อนสูงมากแต่ทำได้เพียงใกล้เคียงเท่านั้น...
     
  5. Willam

    Willam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +18
    ครับที่เราๆ เห็นกันทั่วไปนั้นมันความร้อนสูงจริง ครับ แต่เค้าทำได้แล้วครับ คือใช้วัสดุ ทองแดงผสมกับเหล็กกล้าและไทเทเนียมครับ แล้วก็สารหล่อเย็นครับ ส่วนมากจะทดลองเกี่ยวกับการบินครับ ทดสอบเครื่องบินว่าทดฟ้าผ่าได้แค่ไหนแล้วพัฒนาปีกที่นำกระแสไฟฟ้ากระจายออกทางปีกครับผม ของ F-16 ก็ใช้เทคโนโลยีนี้ครับส่วนมากที่ทำให้เหมือนสายฟ้านั้นจริงแล้วครับ แต่เป็นความลับของบริษัทของเครื่องบินครับ เค้าไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูลง่ายๆ หรอกครับยกเว้นมันจะตกรุ่นครับ
     
  6. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    ^^...^^..เคยมีโอกาศได้เห็นชิ้นส่วนใบพัดอยู่ครั้งหนึ่งเบามากแต่ก็ทนด้วยเช่นกัน^^...ใจกลัวแต่ว่าเทคโยฯก้าวไกลแต่จิตใจมนุษย์เรากลับต่ำลง-*-...ไม่อยากเห็นภาพแบบนั้นเลย...ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันกันครับ^^...
     
  7. abha12345

    abha12345 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2009
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +125
    งบหมดไปกับค่าไฟ
     

แชร์หน้านี้

Loading...