พระชินวงศาจารย์ วัดป่าเวฬุวัน อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา พระดีที่น่ากราบ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย Dragon_king, 10 ธันวาคม 2009.

  1. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]

    พระชินวงศาจารย์ ( อุดม ขนฺติพโล )<O></O>


    วัดป่าเวฬุวัน เจ้าคณะอำเภอปักธงชัย(ธ) อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา<O></O>

    <O></O>
    ชาติภูมิ<O></O>
    หลวงตาชิน มีนามเดิมว่า อุดม เขตเจริญ ถือกำเนิดเมื่อ 21 กันยายน 2472 ตรงกับวันเสาร์ แรม 3ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง ที่บ้านท่าสองคอน หมู่ที่ 8 ตำบลท่าดินแดง อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ พึ่ง โยมมารดาชื่อ คำผัน หลวงตามีพี่น้องร่วมมารดา 5 คน ท่านเป็นบุตรคนโต
    <O></O>
    ชีวิตประถมวัย<O></O>
    เนื่องจากครอบครัวของท่านมีอาชีพทำนา ทำสวน การดำเนินชีวิตก็เหมือนชาวนาทั่วไป ชีวิตจึงมีความผูกพันกับท้องทุ่ง ไร่นา ขณะที่ท่านอายุได้ 4 ขวบบิดาได้นำไปฝากเป็นลูกศิษย์วัดใกล้บ้าน กับพระอาจารย์<ST1>วิสุทธิ์ วิสุทฺโธ</ST1> (ต่อมาได้รับสมศักดิ์เป็นพระครูวิสุทธิธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าสุวารีวิหาร และรองเจ้าคณะอำเภอธวัชบุรี) ผู้เป็นหลวงลุง เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียน เพราะการศึกษาสมัยนั้นต้องเรียนในวัดโดยมีพระครูเป็นผู้สอน และ เพื่อให้ท่านได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา และได้ซึมซับรับเอาคุณธรรมมาเป็นเครื่องหล่อหลอมจิตใจ
    เมื่อท่านมาเป็นลูกศิษย์วัดแล้ว ก็ยังไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ เพราะเด็กที่จะเข้าเรียนประถมศึกษาได้ต้องมีอายุ 7 ขวบ ดังนั้นท่านได้ใช้เวลาในช่วงนี้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์ก่อน โดยการเรียนต้องอาศัยการท่องจำและการเขียนตามคำบอกโดยเรียนหนังสือในตอนกลางวัน ตกเย็นต้องคอยรับใช้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ซึ่งครูบาอาจารย์ก็จะอบรมสอนธรรมะและเล่านิทานชาดกให้ฟังโดยตลอด จึงทำให้ท่านได้รับการอบรมทั้งความรู้และคุณธรรมไปพร้อมกัน.
    ปี พ.ศ. 2478 ขณะที่ท่านอายุได้ 6 ขวบ พระอาจารย์ของท่านได้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมตามป่าเขาในเขตภาคอีสาน ท่านได้จึงได้ติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรบางครั้งก็เข้าไปศึกษาในสำนักปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์ต่างๆ โดยท่านได้อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์หลายท่าน และได้ร่วมปฏิบัติธรรมกับสามเณรด้วย กระทั่งสำนักสุดท้ายที่ท่านออกธุดงค์ครั้งนั้นคือ ได้ไปปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ถ้ำค้อ จังหวัดสกลนคร
    ปี พ.ศ. 2479 ได้ติตามพระอาจาย์ไปกรุงเทพเพื่อกราบพระอมราภิรักขิต ซึ่งเป็นอุปัชฌายะของพระอาจารย์ที่วัดบรมนิวาส ได้เข้าพักที่กุฏิเสงี่ยม คณะ 3 โดยในปีนั้นพระอาจาย์ท่านได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาสนั้นเอง
    <O></O>
    เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์<O></O>
    ท่านได้ขอบวชกับพระครูวิสุทธิธรรมคุณ พระอาจารย์ โดยได้รับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมิ่งเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2501 โดยมีพระราชสิทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌายะ พระใบฎีกาสมศักดิ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาเนาว์ นวโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ขนฺติพโล” แปลว่า ผู้มีกำลังคือความอดทน
    <O></O>
    การศึกษาพระธรรมวินัย
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าสุวารีวิหารกับพระอาจารย์ ไดรับการอบรมจาพระอาจารย์พร้อมกับการศึกษาปริยัติธรรมควบคู่กันโดยสามารถสอบไล่ได้ดังนี้
    พ.ศ. 2501 สอบได้นักธรรมตรี
    พ.ศ. 2502 สอบได้นักธรรมชั้นโท
    พ.ศ. 2503 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
    เข้าศึกษาอบรมในสำนักครูบาอาจารย์<O></O>
    หลังออกพรรษา พ.ศ. 2505 ขณะที่ท่านบวชได้ 5 พรรษา ซึ่งถือว่าพ้นนิสัยแล้ว เพราะได้รับการอบรมข้อวัตรปฏิบัติจากครูอาจารย์เป็นเวลา 5 ปี ท่านเห็นว่าหากอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานจะทำให้เกิดพลิโพธ คือความห่วงกังวลอาลัยอาวรณ์ ทำให้การศึกษาและปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า ท่านจึงได้กราบลาพระอาจารย์เพื่อออกธุดงค์และปฏิบัติตามอย่างปฏิทาครูบาอาจารย์โดยได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ดเป็นเวลา 3 เดือน<O></O>
    หลังจากนั้นจึงได้กราบลาหลวงปู่ศรี มหาวีโร ออกเดินทางจากร้อยเอ็ดไปวัดถ้ำขาม จ.สกลนครเพื่อกราบและพักปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ขณะอยู่ที่ถ้ำขาม หากเกิดความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม ก็ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ฝั้นตอบข้อสงสัยอธิบายธรรมปฏิบัติจนแจ่มแจ้ง ทำให้มีกำลังใจและความอุตสาหะในการปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นอย่างมาก<O></O>
    หลังจากพักปฏิบัติธรรมที่วัดถ้ำขาม เป็นเวลา 1 เดือนแล้วจึงได้กราบลาหลวงปู่ฝั้น เพื่อเดินทางไปที่จังหวัดหนองคายโดยพักที่วัดป่าอรุณรังสี ซึ่งเป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้จำพรรษาที่วัดป่าอรุณรังสี เป็นเวลา 1 พรรษา<O></O>
    ธุดงค์วิเวกข้ามฝั่งลาว<O></O>
    หลังออกพรรษา รับกฐินแล้วท่านได้ธุดงค์ไปฝั่งลาวโดยข้ามทางจังหวัดหนองคาย ไปพักที่ชานเมืองนอกเมืองเวียงจันทร์ รุ่งขึ้นได้ไปนมัสการพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นพระธาตุเจดีย์ที่สร้างใหญ่โตมากในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระเจ้าแผ่นดินผู้สร้างเวียงจันทร์ พักปฏิบัติธรรมที่เมืองเวียงจันทร์พอสมควรแล้ว จึงได้มุ่งหน้าต่อไปยังหลวงพระบาง<O></O>
    <O></O>
    กราบหลวงปู่ขาว อนาลโย<O></O>
    เมื่อถึงหลวงพระบางแล้วได้พักปฏิบัติธรรมตามวัดต่างๆ ที่อยู่รอบๆ หลวงพระบาง จวนกระทั่งจะเข้าพรรษา จึงได้กลับมาฝั่งไทยโดยได้เดินทางไปยังวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี เพื่อกราบหลวงปู่ขาว อนาลโย ศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้พักปฏิบัติธรรมและเข้ารับการอบรมข้อวัตรปฏิบัติจากหลวงปู่ขาว เป็นเวลา 1 เดือนจึงได้กราบลาหลวงปู่เพื่อเดินทางต่อไปยังเขาใหญ่
    ในพรรษาปีพุทธศักราช 2507 ได้จำพรรษาที่ถ้ำสะพานหิน อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีเขตติดต่ออับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีความสงบ ร่มรื่น และอากาศสดชื่นตลอดปี นับเป็นความสัปปายะของสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญจิตภาวนาอย่างมาก ในพรรษานั้นจึงได้ทำความเพียรอบรมสมาธิภาวนาและพิจารณาหลักธรรมต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์ได้อบรมมา ทำให้มีกำลังใจและอิ่มเอิบในธรรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    รับภาระเป็นเจ้าอาวาส<O:p</O:p
    พอออกพรรษาแล้ว ท่านได้ออกเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ทางเจ้าหน้าที่อนุญาตให้พักได้ชั่วคราวเท่านั้นทำให้ต้องเดินทางไปมาระหว่างที่พักสงฆ์และเขาใหญ่เป็นประจำกระทั่งถึงวันวิสาขบูชา ท่านได้เดินทางไปร่วมประชุมอุโบสถที่วัดเขาไทรสายัณห์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งวัดนี้มีท่านจ้าคุณ พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร มาสร้างให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม และมีอุบาสิกาเล็ก ล่ำชำ เป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด หลังจากฟังพระปาติโมกข์เสร็จแล้วได้เข้าไปกราบท่านเจ้าคุณ และท่านเจ้าคุณได้ไต่ถามถึงบ้านเกิดและพระอุปัชฌายะ ทำให้ได้ทราบว่าท่านเป็นสัทธิวิหาริกของพระราชสิทธาจารย์ ซึ่งท่านเจ้าคุณทั้งสองต่างก็เป็นสหธรรมมิกกันโดยต่างก็บวช ในพระอุปัชฌายะองค์เดียวกัน คือ พระปัญญาพิศาลเถร(หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อทราบดังนั้น ท่านเจ้าคุณจึงชักชวนให้มาช่วยดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ถึงแม้จะพยายามบ่ายเบี่ยงแต่ท่านเจ้าคุณขอร้องให้ช่วยดูแลสัก 3 พรรษา จึงได้ตอบตกลงท่าน รับเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    3 ปีที่วัดเขาไทรสายัณห์<O:p</O:p
    หลังจากตอบตกลงรับเป็นผู้ดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ ในปีพุทธศักราช 2508 เพื่อเป็นการสนองพระคุณของท่านเจ้าคุณพระราชมุนี จึงได้เริ่มต้นพัฒนาวัด คือ <O:p</O:p
    1. ได้นำคณะทำถนนขึ้นไปบนเขา<O:p</O:p
    2. ได้สร้างศาลา 1 หลังจนแล้วเสร็จ<O:p</O:p
    3. ได้ขอไฟฟ้ากับทางราชการ จนติดตั้งแล้วเสร็จ<O:p</O:p
    ลุถึงปีพุทธศักราช 2511 ได้เกิดอธิกรณ์ขึ้นภายในวัดตัวท่านเองเกรงว่าหากเหตุการณ์ยังเป็นอยู่เช่นนี้ จะทำให้เรื่องราวลุกลามยิ่งขึ้น อันจะเกิดความเสื่อมเสียแก่วัด และได้พิจารณาถึงการที่ท่านเจ้าคุณได้ขอร้องให้มาช่วยดูแลวัดเขาไทรสายัณห์ 3 พรรษา บัดนี้ครบกำหนดที่รับปากไว้พอดี ดังนั้นท่านจึงได้ออกจากวัดเขาไทรสายัณห์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มุ่งสู่ปักธงชัย<O:p</O:p
    เมื่อออกจากวัดเขาไทรสายัณห์แล้ว ท่านพร้อมด้วยคณะมีพระเณร 8 รูป และ แม่ชี 5 คน ได้เดินทางมาตามเชิงเทือกเขาใหญ่ย้อนขึ้นมาอำเภอปักธงชัย โดยปักกลดนั่งพักชั่วคราวอยู่ที่ป่าไผ่กุดกว้าง ห่างจากอำเภอปักธงชัยประมาณ ffice:smarttags" /><?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]3 กิโลเมตร</st1:metricconverter> ขณะนั้นความจริงเกี่ยวกับวัดไทรสายัณห์ปรากฏขึ้น ความได้ทราบถึงท่านเจ้าคุณ พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) เจ้าคณะภาค 11 วัดสุทธจินดา ท่านจึงมีคำสั่งให้เข้าพบและถามข้อเท็จจริง จึงได้กราบเรียนเรื่องราวทั้งหมดให้ท่านทราบ ท่านจึงเมตตาแนะนำให้เลือกวัดที่สะดวกพอจะพักอาศัย คือ วัดป่าสาลวัน วัดป่าศรัทธารวม หรือวัดศาลาลอย จึงกราบเรียนว่า วัดทั้งสามอยู่ในตัวเมือง ในอนาคตจะเป็นชุมชนใหญ่มีแต่ความวุ่นวายหาความสงบได้ยาก จึงขอกลับไปตำพรรษาที่ปักธงชัยตามเดิม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ประวัติวัดป่าเวฬุวัน<O:p</O:p
    วัดป่าเวฬุวัน เดิทเป็นป่าไผ่ริมฝั่งน้ำกุดกว้าง บ้านดู่ หมุ่ที่๖ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (ต่อมาเป็น พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์) ศิษย์รุ่นแรกหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้นำคณะศิษย์เดินทางมาจากเขาตะกรุดรัง ตำบลสะแกราช มาพักที่ป่าไผ่แห่งนี้เพื่อแสดงธรรมโปรดชาวอำเภอปักธงชัย เจ้าของป่าไผ่แห่งนี้เกิดศรัทธาเลื่มใสจึงสร้างถวายเพื่อเป็นที่พักสงฆ์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างกระท่อมเพื่อเป็นที่พักอาศัยของพระเณรจำนวนหลายสิบหลัง ตกเย็นชาวบ้านไผ่ บ้านดู่ และบ้านใกล้เคียงในอำเภอปักธงชัย ได้มารวมกันเพื่อฟังการอบรมและปฏิบัติธรรมครั้งหลวงปู่สิงห์ เดินทางกลับวัดป่าสาละวัน ท่านก็ได้มอบหมายให้พระส่วนหนึ่งอยู่ประจำเพื่ออบรมสั่งสอนประชาชน<O:p</O:p</O:p
    ในปีต่อมา พุทธศักราช ๒๔๗๙ หลวงปู่สิงห์ได้นำคณะกองทัพธรรมหลวงปู่มั่น ซึ่งมีครูบาอาจารย์หลายรูปร่วมคณะมาด้วย เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ หลวปู่ลี ธมฺมธโร เป็นต้น เดินทางมาโปรดญาติโยมชาวอำเภอปักธงชัย เป็นครั้งที่ สอง โดยได้พักที่วัดป่าเวฬุวันประมาณเดือนเศษ เพื่อเทศนาอบรมกรรมฐานให้แก่ลูกศิษย์ผู้ติดตามและชาวบ้านที่มารับการอบรมในตอนค่ำคืนแทบทุกวัน<O:p</O:p</O:p
    หลังจากนั้น ก็มีครูบาอาจารย์ผลัดเปลี่ยนกันมาพักอาศัยแต่ไม่ค่อยแน่นอน ทำให้เป็นไปอย่างลุ่มๆ ดอนๆ แตะมีพระประจำอยู่ได้นานเกือบ ๕ ปี คือ พระอาจารย์จันตา (มรณภาพแล้ว) ต่อมาระหว่างปี พุทธศักราช ๒๔๙๘ - ๒๔๙๙ มีพระอาจารย์สำราญ ทนฺตจิตฺโต (วิริยานุภาพ) ได้มาจำพรรษาอยู่ ๓ ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่วัดป่าจักราช อำเภอจักราช ส่วนพระที่อยู่ดูแลป่าไผ่ตรงนี้บางปีกไปนิมนต์มาจากวัดป่าสาลวัน บางปีก็นิมนต์มาจากวัดศาลาทอง มาจำพรรษา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การพัฒนาวัดป่าเวฬุวัน <O:p</O:p
    คณะของหลวงพ่อเดินทางมาถึงวัดป่าเวฬุวัน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 โดยวันแรกได้เกิดนิมิตปรากฏว่าตรงนี้เป็นที่อยู่ของคนโบราณมาก่อน จึงได้สอบถามชาวบ้าน ทำให้ทราบว่าที่แห่งนี้มีบูรพาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาวางรากฐานการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นเป็นแห่งแรกของอำเภอปักธงชัย ทำให้เกิดปีติในใจว่าควรที่จะทำนุบำรุงที่แห่งนี้ต่อไป เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์<O:p</O:p
    ในระยะแรก มีความเป็นอยู่ลำบาก การคมนาคมไม่สะดวกอาศัยความสงบของสถานที่จึงทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมมากขึ้นในส่วนการปกครองนั้น ความได้ทราบถึงท่านเจ้าคุณพระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) เจ้าคณะภาค 11 วัดสุทธจินดา ว่าพระอุดม ขนฺติพโล พักจำพรรษาที่สำนักสงฆ์ป่าไผ่ บ้านดู่ ท่านจึงมอบหมายให้พระครูสุนทรธรรมโกศล ( โกศล สิรินฺธโร ปัจจุบันเป็นพระธรรมโสภณ) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดนครราชสีมาออกคำสั่งแต่งตั้งรักษาการหัวหน้าสำนักสงฆ์ป่าไผ่ (กุดกว้าง) ดังนั้น ท่านจึงได้ดำเนินการขอตั้งวัด โดยตั้งชื่อวัดป่าไผ่แห่งนี้ว่า วัดป่าเวฬุวัน และขออนุญาตเขตวิสุงคามสีมาตามระเบียบของทางราชการและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515<O:p</O:p
    ในด้านการก่อสร้าง ได้ดำเนินการดังนี้<O:p</O:p
    ในปีพุทธศักราช 2513 ได้นำคณะศรัทธาสร้างพระสังกัจจายน์ขนาด 6 ศอกเศษ โดยสร้างไว้ใจกลางของวัด ใช้ทุนสร้างจำนวน 5,000 บาท และได้ทำพิธีพุทธาภิเษกในวันมาฆะบูชา พุทธศักราช 2514 โดยมีพระเถระได้เมตตาในพิธี 9 รูป คือ<O:p</O:p</O:p
    1. หลวงปู่เมตตาหลวง (พระญาณสิทธาจารย์) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง<O:p</O:p
    2. หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จังหวัดขอนแก่น<O:p</O:p
    3. หลวงพ่อโชติ คุณสมฺปนฺโน ( พระเทพสุทธาจารย์ ) วัดวชิราลงกรณ์วราราม อำเภอปากช่อง<O:p</O:p
    4. หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราสังวรญาณ) วัดป่าสาละวัน อำเภอเมือง<O:p</O:p
    5. หลวงพ่อดัด วัดนกออก อำเภอปักธงชัย<O:p</O:p
    6. หลวงพ่อฉัตร (พระครูธวัชชโยดม) วัดมกุฏไทยาราม อำเภอ ปักธงชัย<O:p</O:p
    7. หลวงพ่อก้อน (พระครูสาครคณารักษ์) วัดห้วยสะแกราช อำเภอปักธงชัย<O:p</O:p
    8. พระมหาธนิต ปญฺญาปสุโต สำนักปฏิบัติธรรมประโดก อำเภอเมือง<O:p</O:p
    9. หลวงพ่อสมาน ชิตมาโร (พระครูคุณสารสัมบัน)วัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง <O:p</O:p
    ปีพุทธศักราช 2515 ได้รับอนุญาตวิสุงคามสีมาแล้วจึงนำหนังสืออนุญาตไปกราบเรียนต่อท่านเจ้าคุณ พระธรรมบัณฑิต และกราบเรียนท่านว่าจะสร้างโบสถ์ โดยขณะนั้นมีทุนก่อสร้างเพียง 2,000 บาทเท่านั้น หลังจากนั้นไปปรึกษาหารือกับชาวบ้านในละแวกนั้น ญาติโยมทั้งหลายก็เห็นดีด้วย จึงเริ่มดำเนินการปรับปรุงสถานที่ <O:p</O:p
    วันมาฆะบูชา ปีพุทธศักราช 2518 ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถโดยมีหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นประธาน รวบรวมทุนทรัพย์ได้ 14,000 บาท และได้ลงมือก่อสร้างในสมัยนั้นราคาอุปกรณ์ก่อสร้างยังไม่แพง ปูนซีเมนต์ถุงละ 18 บาท อิฐเผา 100 ก้อนราคา 15 บาท แบะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านถวายปัจจัยสมทบก่อสร้างอีกจำนวนหนึ่ง ค่าแรงสำหรับจ่ายช่างเป็นส่วนน้อยเพราะอาศัยกำลังของพระสงฆ์สามเณรและนายช่างซึ่งเป็นลูกหลานจากจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นหลัก<O:p</O:p
    เดือนกันยายน พุทธศักราช 2517 พลเอก กฤษณ์ ศรีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกได้มาประกอบพิธีหล่อพระประธานที่วัดป่าเวฬุวัน พร้อมด้วย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ 2 เมื่อหล่อพระประธานเสร็จแล้ว ได้กราบทูลขอประทานนามพระประธานจากเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระสังฆราชได้ประทานพระนามว่า “พระสัมพุทธชัยมงคลสุวิมลอนันตญาณ”<O:p</O:p
    ปีพุทธศักราช 2518 การสร้างพระอุโบสถจึงแล้วเสร็จรวมระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี สิ้นค่าก่อสร้าง 280,000 บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) วัดต่างๆ ได้ทราบข่าวการก่อโบสถ์แบบประหยัด จึงขอร้องให้ออกแบบตลอดถึงให้คำปรึกษาในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จจำนวนหลายวัดด้วยกัน เช่น วัดมะค่า ตำบลสำโรง อำเภอปักธงชัย วัดนาแค ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย และช่วยออกแบบศาลาการเปรียญ เช่น วัดบ้านบึงพระ ตำบลท่าลาดขาว อำเภอโชคชัย วัดบ้านนาใหญ่ ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน เป็นต้น<O:p</O:p
    เดือนเมษายน พุทธศักราช 2520 ได้จัดงานวันสงกรานต์เฉลิมฉลองอุโบสถ โดยอาราธนาพระเกจิอาจารย์มานั่งแผ่เมตตาพุทธาภิเษกพระประธานอุในโบสถ จำนวนหลายรูป เช่น <O:p</O:p
    1. หลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง<O:p</O:p
    2. หลวงพ่อโชติ (พระเทพสุทธาจารย์) วัดวชิราลงกรวราราม อำเภอปากช่อง<O:p</O:p
    3. หลวงปู่นิล (พระครูนครธรรมโฆษิต) วัดครบุรี อำเภอครบุรี<O:p</O:p
    4. หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน อำเภอเมือง <O:p</O:p
    5. หลวงพ่อก้อน (พระครูสาครคณารักษ์) วัดห้วยสะแกราช อำเภอปักธงชัย<O:p</O:p
    6. หลวงพ่อดัด วัดนกออก อำเภอปักธงชัย<O:p</O:p
    7. หลวงพ่อมหานิต (พระปทุมญาณมุนี) วัดบึง อำเภอเมือง<O:p</O:p
    8. หลวงพ่อโกศล (ต่อมาเป็นพระธรรมโสภณ) วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง<O:p</O:p
    ซึ่งมีพระครูสุนทรธรรมโกศล (วิจิตร จิตฺตทนฺโต ต่อมาเป็นพระราชวรญาณ ) วัดศาลาลอย เจ้าคณะอำเภอเมือง เป็นผู้ดำเนินการ และคณะสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมาได้ช่วยงาน 7 วัน 7 คืน จนแล้วเสร็จ รวบรวมทุนทรัพย์นำฝากธนาคารในนามวัดป่าเวฬุวันเป็นจำนวน 221,519 บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยสิบเก้าบาท) และได้แบ่งทุนดังกล่าวนำไปใช้หนี้ค่าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างอุโบสถ จำนวนหนึ่งนำไปสร้างรั้วล้อมบริเวณวัดขนาด <st1:metricconverter w:st="on" ProductID="15 ไร่">15 ไร่</st1:metricconverter> และอีกส่วนหนึ่งนำไปเก็บไว้เป็นกองทุนของวัดจำนวน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาท) <O:p</O:p
    ปีพุทธศักราช 2533 ได้รื้อถอนศาลาหลังเก่า และดำเนินการสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้นในพื้นที่เดิม ซึ่งมีลักษณะทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สิ้นค่าก่อสร้าง 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) โดยใช้เงินจากกองทุนวัดที่ฝากไว้และได้รับศรัทธาจากญาติโยมสมทบด้วยอีกส่วนหนึ่ง แล้วเสร็จในปี 2536 และตั้งชื่อศาลาหลังใหม่ว่า “ศาลาอุดมธรรม”<O:p</O:p
    ปีพุทธศักราช 2544 หลวงพ่อได้พิจารณาถึงพระสังกัจจายน์ซึ่งถือว่าเป็นพระคู่วัด เพราะได้สร้างไว้ในขณะที่หลวงพ่อมาอยู่วัดป่าเวฬุวันใหม่ๆ ตั้งแต่ปี 2513 องค์พระตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง ไม่มีเครื่องมุงบัง บัดนี้ล่วงเวลา 30 ปีเศษแล้วที่โดนแดดโดนฝน จึงได้ดำเนินการสร้างวิหารพระสังกัจจายน์ ลักษณะทรงไทยตรีมุขคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้ทุนของวัดที่สมทบจากกฐิน และงานเทศน์มหาชาติตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา สิ้นค่าก่อสร้าง 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) เสร็จแล้วได้สมโภชน์องค์พระและวิหารในวันวิสาขบูชา ปีพุทธศักราช 2546 และตั้งชื่อวิหารพระสังกัจจายน์ว่า “อุดมวิหาร”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    รับภาระในด้านการปกครอง<O:p</O:p
    เมื่อหลวงพ่อมาอยู่ที่วัดป่าเวฬุวัน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2511 ท่านได้รับภาระหน้าที่ทางการปกครองสนองงานคณะสงฆ์ในด้านต่างๆ ดังนี้<O:p</O:p
    พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสแทนเจ้าอาวาสวัดป่าเวฬุวัน<O:p</O:p
    พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเวฬุวัน<O:p</O:p
    พ.ศ. 2521 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเมืองปัก (ธ)<O:p</O:p
    พ.ศ. 2527 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอปักธงชัย (ธ)<O:p</O:p
    พ.ศ. 2531 ได้เข้าสอบซ้อมเป็นพระอุปัชฌาย์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สมณศักดิ์<O:p</O:p
    พ.ศ. 2515 เป็นฐานานุกรม พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชโล) ที่ “พระครูสังฆรักษ์”<O:p</O:p
    พ.ศ. 2521 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ “พระครูอุดมคัมภีรญาณ” (จร.ชท.วิ)<O:p</O:p
    พ.ศ. 2534 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ในนามเดิม<O:p</O:p
    พ.ศ. 2538 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในนามเดิม<O:p</O:p
    พ.ศ. 2546 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “พระชินวงศาจารย์” (สย.)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มรณนิมิต<O:p></O:p>
    ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2546 หลวงพ่อได้นิมิตว่าท่านได้มรณภาพลง คณะศิษย์ได้นำร่างไร้วิญาณขึ้นสู่เมรุเพื่อทำการฌาปนกิจ ขณะที่กำลังนำร่างขึ้นสู่เชิงตะกอนนั้น ปรากฏว่าวิญาณได้กลับเข้าสู่ร่าง ท่านจึงได้ชูมือขึ้นเหนือศีรษะเพื่อให้สัญญาณว่าฟื้นแล้ว ทำให้ผู้พบเห็นตกใจวิ่งหนีกันอลหม่าน ท้ายที่สุดคณะศิษย์จึงช่วยกันปฐมพยาบาลจนท่านฟื้นคืนมา เมื่อตื่นตอนเช้าหลังจากทำวัตรเสร็จ ท่านจึงพิจารณานิมิตดังกล่าวและถือว่าเป็นเหมือนเทวทูตที่มาเตือนให้ทราบว่าวันเวลาของชีวิตเหลือน้อยนิดเต็มทีแล้ว จงรีบขวนขวายทำความดี เหมือนดังปัจฉิมพจน์ของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานไว้ก่อนปรินิพานว่า “หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา ขอเธอทั้งหลายจงทำประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมเถิด” ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้ฝากถึงสหธรรมิกและศิษย์ทั้งหลายว่า อย่าได้รอช้า รอวันเวลาที่จะสร้างความดีแก่สังคม เพราะความดีที่ทำไว้จะเป็นเหมือนกระจกเงาที่ส่องสะท้อนให้เห็นตัวเอง ควรประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ด้วยจิตที่เป็นสัมมาทิฐิเถิด
    <O></O>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2011
  2. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    หากท่านใดมีเวลาว่าง ลองเดินทางไปกราบหลวงตาดูนะครับ
     
  3. LMong

    LMong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2009
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +541
    อนุโมทนา สาธุ เคยไปกราบหลวงตามาครับรู้สึกได้ว่าท่านมีเมตตามากจิงๆ

    ขอเชิญร่วมสร้าง มหาเจดีย์ ที่วัดเขาจอมทอง อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
     
  4. tatty

    tatty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    8,976
    ค่าพลัง:
    +8,223
    เตี่ยกับแม่ผมเป็นลูกศิษย์ท่านมา 20 ปีแล้ว แต่ผมไม่เคยได้ไปกราบสักที
     
  5. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    ภาคอีสานมีพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเยอะจริงๆ ขออนุโมทนาครับ
     
  6. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    ลองไปกราบท่านดูครับ เพราะท่านคือพระแท้ที่ยังเหลืออยู่ ครับ
     
  7. LMong

    LMong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2009
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +541
    ^
    ^
    ^
    เห็นด้วยกับ ข้อความ คุณ ด้านบน ครับผม

    อนุโมทณา สาธุ
     
  8. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    ในวันที่ 28 มีนาคม 53 เวลา ประมาณ 10 โมง ครับ ทางวัด จะมีการทอดผ้าป่าสร้างทางเข้าวัด เนื่องจากทางเดิมคับแคบ รถไม่สามารถสวนทางกันได้ จึงได้สร้างทางใหม่ขึ้น ท่านใดมีจิตศรัทธา เชิญไปทำบุญร่วมกันครับ
     
  9. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]
    พระสมเด็จ อุดมมงคล ท่านมอบ แจกฟรี แก่ลูกศิษย์ ที่ไปร่วมทำบุญที่วัดครับ
     
  10. LMong

    LMong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2009
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +541
    อนุโมทนาสาธุๆ ด้วยคนนะคัรบผม ปล. หลวงตาท่านเมตตามากจริงๆนะคัรบผม
     
  11. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]
    ภาพซุ้มประตูวัดป่าเวฬุวัน ที่สร้างโครงสร้างไว้ และ รอ การดำเนินการต่อครับ
    สามารถร่วมทำบุญได้ที่
    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคาร กสิกรไทย สาขา ปักธงชัย
    ชื่อบัญชี วัดป่าเวฬุวัน เลขที่บัญชี 239-2-53322-5
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2011
  12. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]
    พระสัมพุทธชัยมงคลสุวิมลอนันตญาณ
    พระประธาน วัดป่าเวฬุวัน
    เดือนเมษายน พุทธศักราช 2520 ได้จัดงานวันสงกรานต์เฉลิมฉลองอุโบสถ โดยอาราธนาพระเกจิอาจารย์มานั่งแผ่เมตตาพุทธาภิเษกพระประธานในอุโบสถ และวัตถุมงคลต่างๆ จำนวนหลายรูป เช่น <O:p</O:p
    1. หลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง<O:p</O:p
    2. หลวงพ่อโชติ (พระเทพสุทธาจารย์) วัดวชิราลงกรวราราม อำเภอปากช่อง<O:p</O:p
    3. หลวงปู่นิล (พระครูนครธรรมโฆษิต) วัดครบุรี อำเภอครบุรี<O:p</O:p
    4. หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน อำเภอเมือง <O:p</O:p
    5. หลวงพ่อก้อน (พระครูสาครคณารักษ์) วัดห้วยสะแกราช อำเภอปักธงชัย<O:p</O:p
    6. หลวงพ่อดัด วัดนกออก อำเภอปักธงชัย<O:p</O:p
    7. หลวงพ่อมหานิต (พระปทุมญาณมุนี) วัดบึง อำเภอเมือง<O:p</O:p
    8. หลวงพ่อโกศล (ต่อมาเป็นพระธรรมโสภณ) วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2011
  13. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    แจ้งกำหนดการจางทางวัดครับ
    วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
    ทางวัดจะดำเนินการเททองรูปเหมือน พระชินวงศาจารย์ ขนาดเท่าองค์จริงครับ เวลา 13.29 น.
    ขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีใจบุญใจกุศล ร่วมเททองในครั้งนี้ครับ
    หรือบริจาคได้ที่
    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคาร กสิกรไทย สาขา ปักธงชัย
    ชื่อบัญชี วัดป่าเวฬุวัน เลขที่บัญชี 239-2-53322-5
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  14. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG][​IMG]

    พระกริ่งอุดมมงคล ชุดถวายพระพิธี ครับ
     
  15. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]
    [​IMG]
    รูปหล่อ หลวงตาชิน รุ่นแรก ครับ
     
  16. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]
    รูปหล่อ ขนาดเท่าองค์จริง หล่อ เมื่อ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ครับ
     
  17. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]
    พระสังกัจจายน์ อุดมโชค
    พระชินวงศาจารย์ (อุดม ขนฺติพโล) หรือ หลวงตาชิน วัดป่าเวฬุวัน ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    จัดสร้างเนื้อ
    1. เนื้อเงิน
    2.เนื้อสัมฤทธิ์
    3.เนื้อบรอนซ์
     
  18. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]
    ประชาสัมพันธ์ งานกฐิน วัดป่าเวฬุวัน จัดงานวันที่ 17 พฤษจิกายน พ.ศ.2555
    รายละเอียด และกำหนดการ ต่างๆ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งครับ
    ขออนุโมทนาบุญครับ สาธุ
     
  19. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    [​IMG]

    ขอเชิญร่วมงานกฐินสามัคคี วัดป่าเวฬุวัน ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    ในวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลาประมาณ 12.00 น.
    ผู้ร่วมงานจะได้รับแจก พระสิวลี เมตตา มหาลาภ ท่านละ 1 องค์ ฟรี
     

แชร์หน้านี้

Loading...