รูปหล่อหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว สิงห์บุรี

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] -->
    [​IMG]

    พระรูปหล่อของพระคณาจารย์ ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่องเมืองไทย ได้แก่ รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร รูปหล่อหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ รูปหล่อหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ฯลฯ



    รูปหล่อของพระคณาจารย์เหล่านี้เปี่ยมล้นไปด้วยพุทธคุณ มีการเช่าหากันในวงการพระเครื่องค่อนข้างสูงมาก มานานแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีรูปหล่อของพระคณาจารย์อีกท่านหนึ่ง ที่กำลังมาแรง เป็นที่ต้องการของวงการพระเครื่องเป็นอย่างสูง เพราะมีผู้นำไปบูชาติดตัวแล้วมีประสบการณ์ยอดเยี่ยมในทุกๆ ด้าน คือ รูปหล่อหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ณ โอกาสนี้ ผู้เขียนขอนำประวัติเกี่ยวกับการสร้าง รูปหล่อหลวงพ่อซวง ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ทราบ เพื่อเป็นวิทยาทาน หลวงพ่อซวง มีนามเดิมว่า ซวง พานิช เป็นบุตรของ นายเฮง และ นางอ่ำ พานิช เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๔๒ ที่บ้านพัก ณ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งอยู่เหนือ วัดชีปะขาว ไปเล็กน้อย เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี ท่านได้บวชที่วัดโบสถ์ ต.ชัยภูมิ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางกั้นอยู่ พระอุปัชฌาย์ของท่าน คือ หลวงพ่อเฟื่อง วัดสกุณาราม (วัดนก) อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณของ จ.อ่างทอง ผู้สร้าง พระพิมพ์สมเด็จวัดนก อันลือลั่น เป็นที่รู้จักกันดีในวงการพระเครื่องทั่วไป เมื่อหลวงพ่อซวงบวชแล้ว ได้รับฉายานามว่า "อภโย" จากนั้นได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดชีปะขาว โดยไม่เคยลาสิกขาเลย ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดชีปะขาว จนกระทั่งถึงวันที่ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๐ สิริรวมอายุได้ ๖๙ ปี หลวงพ่อซวง ได้รับการถ่ายทอดการฝึกหัดจิตสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานตลอดจนวิชาไสยเวท คาถามอาคมต่างๆ มาจาก ๓ พระคณาจารย์ และอาจารย์ฆราวาสผู้ทรงวิทยาคุณ อันได้แก่ ๑.หลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน อ.กงไกรลาส จ.สุโขทัย ๒.หลวงพ่อแป้น วัดเสาธงใหม่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ๓.อาจารย์คำ ฆราวาสจอมอาคม ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี สมัยหลวงพ่อซวงยังมีชีวิตอยู่ คณะกรรมการวัดวัดชีปะขาวได้ขออนุญาตหลวงพ่อ จัดสร้าง พระรูปหล่อรุ่นแรก ขึ้นเมื่อช่วงปลายปี ๒๕๐๘ เป็นรูปหล่อขนาดห้อยคอ เพื่อสมนาคุณผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างอุโบสถหลังใหม่ หลวงพ่อซวงได้ใช้เวลาพิจารณาไตร่ตรองอยู่หลายวัน จึงอนุญาตให้จัดสร้างรูปหล่อเหมือนองค์ท่านขึ้น จำนวน ๔๐๐ องค์ โดยท่านบอกกับคณะกรรมการวัดว่า สุขภาพของท่านไม่แข็งแรง คงมีอายุอยู่ได้อีกไม่นาน ให้จัดสร้างรูปหล่อเหมือนองค์ท่านขึ้นจำนวน ๔๐๐ องค์ และให้ถือว่าเป็นวัตถุมงคลสิ่งสุดท้ายที่ท่านอนุญาตให้จัดสร้าง ต่อจากนี้ไป ท่านจะไม่อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกเพราะเป็นบั้นปลายของชีวิตท่านแล้ว ทางคณะกรรมการวัดได้ไปว่าจ้างช่างหล่อแถบหมู่บ้านบางมัญ ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดสว่างอารมณ์ ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จัดสร้างรูปหล่อขึ้นจำนวน ๔๐๐ องค์ ด้วยเนื้อทองเหลือง โดยวิธีหล่อแบบโบราณ ซึ่งหลวงพ่อได้มอบแผ่นทองเหลืองชนวนที่ท่านลงอักขระเลขยันต์ไว้แล้ว นำไปเป็นส่วนผสมด้วย ลักษณะของรูปหล่อ เป็นรูปหลวงพ่อซวงในท่านั่งสมาธิ ที่ใต้ฐานของรูปหล่อทุกองค์จะเป็นเลขหนึ่งไทย (๑) เป็นร่องลึกลงไปในพิมพ์ เมื่อช่างหล่อได้จัดสร้างรูปหล่อรุ่นนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางคณะกรรมการวัดได้นำมามอบให้หลวงพ่อ ท่านได้นำรูปหล่อทั้งหมดใส่ไว้ในบาตร แล้วนำไปปลุกเสกเป็นปฐมฤกษ์ที่อุโบสถหลังเก่า ซึ่งเป็น อุโบสถแบบมหาอุด การปลุกเสกของท่าน ใช้วิธีพิเศษที่ไม่เหมือนใคร กล่าวคือ ท่านจะหมุนเวียนตำแหน่งที่นั่งปลุกเสก ไปจนครบทั้ง ๔ ทิศ คือ ทิศเหนือ ใต้ ตก ออก ทิศละ ๑ ชั่วโมง รวมใช้เวลาปลุกเสกเป็นปฐมฤกษ์นานถึง ๔ ชั่วโมง จากนั้นหลวงพ่อได้นำบาตรที่บรรจุรูปหล่อดังกล่าวไปเก็บไว้ภายในกุฏิของท่าน แล้วได้ปลุกเสกทุกคืนนานนับเดือน จนกระทั่งท่านมั่นใจว่า เปี่ยมล้นไปด้วยพุทธคุณแล้ว ท่านจึงนำไปมอบให้กับคณะกรรมการวัด เพื่อนำออกแจกจ่ายสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างอุโบสถหลังใหม่ โดยผู้ที่ร่วมบริจาคเงิน ๕๐ บาท จะได้รับแจกรูปหล่อ ๑ องค์ ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง และรูปหล่อได้หมดลงอย่างรวดเร็ว รูปหล่อหลวงพ่อซวง สามารถจำแนกออกได้เป็น ๒ พิมพ์ พิมพ์แรก มีลำคอค่อนข้างยาว หน้าเชิดขึ้นเล็กน้อย จึงเรียกว่า "พิมพ์คอยาว" ส่วน พิมพ์ที่ ๒ มีลำคอค่อนข้างสั้นกว่าพิมพ์แรก หน้าไม่เชิด จึงเรียกว่า "พิมพ์คอสั้น" รูปหล่อหลวงพ่อซวงทั้ง ๒ พิมพ์ได้รับความนิยมพอๆ กัน เมื่อมีผู้นำไปบูชาติดตัวต่างก็ได้รับประสบการณ์นานัปการ ทั้งด้านเมตตานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี มหาอุด และคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆ แบบครอบจักรวาลเลยทีเดียว จึงมีการเสาะหากันอย่างกว้างขวาง ราคาเช่าหารูปหล่อหลวงพ่อซวงทั้ง ๒ พิมพ์อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน คืออยู่ในช่วง ๓๐,๐๐๐ - ๖๐,๐๐๐ บาท ขึ้นอยู่กับสภาพความสวยงาม คมชัดขององค์รูปหล่อ ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่า ในอนาคต รูปหล่อหลวงพ่อซวง ต้องมีการเช่าหากันทะลุหลักแสนอย่างแน่นอน เพราะจำนวนการสร้างไม่มาก เพียงแค่ ๔๐๐ องค์เท่านั้น อนึ่ง ท่านผู้อ่านที่ต้องการเช่าบูชา รูปหล่อหลวงพ่อซวง ไว้สักการะบูชา ขอให้ระมัดระวังให้จงหนัก เพราะมี ของปลอม ระบาดอยู่หลายฝีมือ ท่านผู้อ่านเชื่อหรือไม่ ผู้ที่ทำ ของปลอม ขึ้นมานั้นมิใช่ ชาวจังหวัดสิงหบุรี แต่เป็นชาวต่างถิ่นทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะชาวสิงห์บุรีต่างให้ความเคารพนับถือ และยำเกรงในบารมีของหลวงพ่อซวงกันทั้งนั้น ตลอดจนมีความเชื่ออย่างสนิทใจว่า ผู้ที่ทำปลอมรูปหล่อหลวงพ่อซวงนั้น จะได้รับภัยพิบัติอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว


    ที่มา
    [​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ligore

    ligore เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    993
    ค่าพลัง:
    +5,807
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">ขอบคุณครับ</TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. pocharawat

    pocharawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +199
    ลงรูปให้ดูเป็นบุญตาบ้างซิ ขอบคุณล่วงหน้า
     
  4. NUM9999

    NUM9999 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +24
    ลองให้ชม

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...