ท่านเชื่อหลักทางพุทธศาสนาเพราะอะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 13 สิงหาคม 2011.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนาสาธุๆ ยินดีร่วมสนทนาและปติบัติธรรมด้วยครับ
     
  2. มารีจัง

    มารีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2007
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +351
    อนุโมทนาค่ะ เข้าใจ แต่ยังปฏิบัตจนเข้าใจไม่ได้
     
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ขอยก ธรรมข้อ วิจิกิจฉา มาแสดงที่มาจาก


    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในพระรัตนตรัย โดยเฉพาะในพระธรรม อันคือ ธรรมคำสอนโดยพระพุทธองค์ ที่มีพุทธประสงค์สูงสุดล้วนเป็นเรื่องของสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่เกี่ยวกับความทุกข์ ดังเช่น การเกิดขึ้นของทุกข์ ไม่ใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อให้รู้เหตุ ก็เพื่อนำไปใช้ในการดับไปแห่งทุกข์ต่างๆนั่นเอง จึงยังให้เกิดความสุขจากการหลุดพ้น อันสุขยิ่งกว่าสุขทางโลกนั่นเอง, อันวิจิกิจฉาหรือความลังเลสงสัยนี้ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเนื่องจากความไม่เข้าใจในธรรมของพระองค์ท่านอย่างถ่องแท้ในเบื้องต้นเนื่องด้วยอวิชชา ดังนั้นเมื่อปฏิบัติไปย่อมต้องเกิดการติดขัดเป็นธรรมดา ก็เกิดความสงสัย ลังเล ไม่เชื่อถือ, ค้นหาการปฏิบัติใหม่, ลัทธิใหม่, วิธีใหม่, อาจารย์ใหม่, ที่ยึดถือใหม่ ฯลฯ. จึงเป็นการค้นหา, วิ่งเข้าหาสิ่งผิดๆด้วยอวิชชาเสียก็มี หรือเป็นการเริ่มต้นกันใหม่อยู่เสมอๆ จึงไม่สามารถบังเกิดความรู้ความเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งแท้จริง, ถ้าไม่มีวิจิกิจฉาความลังเลสงสัยอันจักบังเกิดขึ้นจากความเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมพื้นฐานอย่างถูกต้อง เมื่อเกิดอุปสรรคในการปฏิบัติ จิตจะไม่เกิดความลังเลสงสัย แต่จิตจะพลิกไปพิจารณา, ครุ่นคิด, คิดค้นคว้า แก้ไขให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่กระจ่างสว่างขึ้นไปเป็นลําดับ กล่าวคือเจริญวิปัสสนาจนเกิดความรู้ความเข้าใจให้หลุดพ้นขึ้นนั่นเอง, วิจิกิจฉาจึงเป็นอุปสรรคสําคัญที่บั่นทอนสัมมาปัญญาหรือญาณไม่ให้เกิด จึงทําให้ร้อยรัดสรรพสัตว์ไว้กับทุกข์, แต่การไม่ลังเลสงสัยก็ต้องไม่เป็นไปในลักษณะของความมัวเมาด้วยอธิโมกข์ จึงต้องประกอบด้วยปัญญาหรือการเจริญวิปัสสนา
    [​IMG]
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    บุรกรรมของพาหิยทารุจิยะและนางยักษิณี
    ได้ยินว่า โคแม่ลูกอ่อนนั้น เป็นยักษิณีตนหนึ่ง เป็นแม่โค ปลงชีวิตคนทั้ง ๔ นี้ คือ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ๑ พาหิยทารุจิยะ ๑ นายโจรฆาตกะชื่อตัมพทาฐิกะ ๑ สุปปพุทธกุฏฐิ ๑ จากชีวิตคนละร้อยชาติ.เรื่องในอดีตมีอยู่ว่า ชนเหล่านั้น เป็นบุตรเศรษฐีทั้ง ๔ คน นำหญิงแพศยาผู้เป็นนครโสเภณีคนหนึ่งไปสู่สวนอุทยาน ร่วมภิรมย์กันตลอดวันแล้วได้มอบทรัพย์หนึ่งพันกหาปนะและเครื่องประดับอันมีค่าให้เป็นค่าจ้าง ครั้นตกเย็น ได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ในที่นี้ไม่มีคนอื่น เราทั้งหลาย จักฆ่าหญิงนี้เสียกันเถิด แล้วเอาทรัพย์ และเครื่องประดับทั้งหมดนั้นคืนมาเถิด” หญิงนั้นเมื่อฟังถ้อยคำของบุตรเศรษฐีเหล่านั้นแล้ว คิดว่า “ชนพวกนี้ไม่มียางอาย อภิรมย์กับเราแล้ว บัดนี้ ปรารถนาจะฆ่าเรา เราจักอาฆาตชนเหล่านั้น” เมื่อถูกชนเหล่านั้นฆ่าอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า “ขอเราพึงเป็นยักษิณี ผู้สามารถฆ่าชนเหล่านั้น เหมือนอย่างที่พวกนี้ฆ่าเราฉะนั้น”

    อกุศลกรรมเหล่าใดทำแล้วส่งผลให้ได้รับกรรมอันน่ากลัว ศิล เป็นเครื่องมืออันช่วยให้ไม่ กระทำสิ่งผิดพลาดและได้รับผลชั่วของกรรมเหล่านั้น ดังพระวินัยที่บรรญัติขึ้นเพื่อความสงบสุขของเหล่าพระสาวก และหมู่ชนที่ยังคงมีขันธ์
     
  5. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ประวัติพระพาหิยทารุจีริยเถระ


    พระพาหิยทารุจีริยเถระผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็ว สำหรับพระเถระองค์นี้ แม้ว่าตามพระไตรปิฎก พระพุทธองค์จะทรงสถาปนาเป็นเอตทัคคะของภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็วก็จริงอยู่ แต่ถ้าจะว่าตามตัวอักษรที่ปรากฏในพระไตรปิฎกแล้ว ท่านได้บรรลุพระอรหัตตั้งแต่ยังเป็นคฤหัสถ์ และได้ฟังพระธรรมเทศนาอย่างย่อจากพระพุทธองค์ที่กลางถนนในกรุงสาวัตถีแล้ว แต่ก่อนที่ท่านจะได้บรรพชาเป็นพระภิกษุท่านก็ถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดและเสียชีวิต และการที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นเอตทัคคะของภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็วนั้น นอกจากเหตุที่ท่านสามารถบรรลุธรรมได้เพียงแค่ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์เพียงย่อ ๆ เท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป อีกด้วย ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    [​IMG]


    ความปรารถนาในอดีต


    กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แห่งหังสวดีนคร เมื่อเติบใหญ่ก็ได้เล่าเรียนจนถึงความสำเร็จในศิลปะของพวกพราหมณ์แล้ว เป็นผู้มีความรู้ไม่ขาดตกบกพร่องในเวทางคศาสตร์ทั้งหลาย วันหนึ่งท่านได้ไปยังสำนักของพระปทุมมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญา (ตรัสรู้ได้เร็วไว) ท่านปรารถนาจะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานตลอด ๗ วัน ครั้นเมื่อครบ ๗ วันแล้ว จึงหมอบลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลขอพรโดยเริ่มว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ ๗ วันก่อนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้สถาปนาภิกษุองค์ใดไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุขิปปาภิญญา ในอนาคตกาล ข้าพระองค์ก็พึงเป็นเหมือนภิกษุรูปนั้น คือ พึงเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญา ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูด้วยอนาคตังสญาณแล้ว ทรงทราบว่าความปรารถนาของเขาจักสำเร็จผล จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล เขาบวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม จักเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุขิปปาภิญญาแล
    เขาได้ทำบุญไว้เป็นอันมากจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยสมบัติในกามาวจร ๖ ชั้นในเทวโลกนั้นแล้ว ก็ได้เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมาบัติ เป็นต้น ในมนุษยโลกอีกหลายร้อยโกฏิกัป จนสิ้นพุทธันดรหนึ่ง

    [​IMG]


    บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ต่อมา ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ได้ออกบวชหลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ในเวลาต่อมาเมื่อพระศาสนาใกล้จะเสื่อมสิ้นลง เขาและภิกษุอีก ๖ รูป มองเห็นความเสื่อมในการประพฤติของบริษัท ๔ ก็พากันสังเวชสลดใจ คิดว่า ตราบใดที่พระศาสนายังไม่เสื่อมสิ้นไป พวกเราจงเป็นที่พึ่งแก่ตนเองเถิด จึงพากันไปสักการะพระสุวรรณเจดีย์สูงหนึ่งโยชน์ที่มหาชนได้ร่วมกันสร้างเมื่อครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว ได้มองเห็นภูเขาสูงชันลูกหนึ่ง จึงชวนกันขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่บนภูเขาลูกนั้น โดยตั้งใจว่าถ้าไม่สำเร็จมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะยอมสิ้นชีวิตอยู่บนนั้น แล้วจึงตัดไม้ไผ่มาทำเป็นพะอง (บันไดไม้) เพื่อปีนป่ายขึ้นไปตามหน้าผาของภูเขานั้น เมื่อทั้งหมดพากันขึ้นไปยังยอดสูงของภูเขาลูกนั้นแล้ว ก็ผลักพะองให้ตกหน้าผาไปเพื่อไม่ให้มีทางกลับลงมาได้ แล้วต่างก็บำเพ็ญสมณธรรมอยู่บนนั้น
    ในบรรดาภิกษุทั้ง ๗ รูปเหล่านั้น พระเถระผู้อาวุโสสูงสุด ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยอภิญญา ๖ ในคืนนั้นเอง ครั้นรุ่งเช้าพระมหาเถระจึงไปสู่ หิมวันตประเทศด้วยฤทธิ์ ล้างหน้าที่สระอโนดาต เที่ยวไปบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ฉันอาหารเสร็จแล้วได้ไปยังที่อื่นต่อไป ได้ภัตตาหารเต็มบาตรแล้ว เอาน้ำที่ สระอโนดาตล้างหน้าแล้วและเคี้ยวไม้สีฟันชื่อ อนาคลดา แล้วจึงนำภัตและสิ่งของเหล่านั้นมายังพระภิกษุเหล่านั้นที่ยังไม่บรรลุธรรมอันวิเศษ แล้วกล่าวว่า อาวุโส ทั้งหลาย บิณฑบาตนี้ผมนำมาจากแคว้นอุตรกุรุ น้ำและไม้สีฟันนี้นำมาจากหิมวันตประเทศ ท่านทั้งหลายจงฉันภัตตาหารนี้บำเพ็ญ สมณธรรมเถิด ผมจะอุปัฏฐากพวกท่านอย่างนี้ตลอดไป ภิกษุเหล่านั้นได้ฟัง แล้วจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ พระคุณเจ้าทำกิจเสร็จแล้ว พวกกระผม แม้เพียงสนทนากับพระคุณเจ้าก็เสียเวลาอยู่แล้ว บัดนี้ ขอพระคุณเจ้าอย่ามาหา พวกกระผมอีกเย.พระมหาเถระนั้นเมื่อไม่สามารถจะให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม ได้โดยวิธีได ๆ ก็หลีกไป
    แต่นั้นบรรดาภิกษุเหล่านั้นรูปหนึ่ง โดยล่วงไป ๒-๓ วันได้เป็น พระอนาคามีได้อภิญญา ๕ ภิกษุนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างเช่นที่พระเถระที่บรรลุพระอรหัตทำเหมือนกัน ครั้นถูกภิกษุที่เหลือที่ยังไม่บรรลุธรรมใด ๆ ห้ามก็กลับไปเช่นเดียวกัน.ภิกษุที่เหลือ ๕ องค์นั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ จากวันที่ขึ้นไปสู่ภูเขาก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษไร ๆ จึงมรณภาพแล้วก็ไปเกิดในเทวโลก ฝ่ายพระเถระผู้เป็นขีณาสพก็ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง ท่านที่เป็นพระอนาคามีได้บังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส เทพบุตรทั้ง ๕ เสวยทิพยสมบัติใน สวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้นกลับไปกลับมา

    [​IMG]


    กำเนิดเป็นพ่อค้าชื่อพาหิย ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในมนุษยโลก
    ในบรรดาชน ๕ คนเหล่านั้น คนหนึ่งไปเป็น โอรสเจ้ามัลละนามว่าปุกกุสะ (ต่อมาได้พบพระพุทธองค์ ได้ฟังธรรมและประกาศตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต) คนหนึ่งชื่อว่ากุมารกัสสปะ อยู่ในกรุงตักกสิลา แคว้นคันธาระ (ต่อมาได้บวชและบรรลุอรหัต และได้รับการสถาปนาเป็นเอตทัคคะผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร) คนหนึ่งชื่อว่า พาหิยทารุจิริยะ คนหนึ่งชื่อว่าทัพพมัลลบุตร (ต่อมาได้ออกบวชและบรรลุเป็นพระอรหัตเป็นเอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะ ) และคนหนึ่งชื่อว่า สภิยปริพพาชก (ต่อมาได้พบพระพุทธองค์ ทูลขอบรรพชาและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง)
    ในบรรดาชน ๕ คนเหล่านั้น พาหิยทารุจิริยะคนนี้ ได้บังเกิดในตระกูลพ่อค้าในพาหิยรัฐ ได้ชื่อว่า พาหิยะ เพราะเกิดในพาหิยรัฐ เขาเจริญวัยแล้วก็ประกอบอาชีพโดยเอาเรือบรรทุกสินค้ามากมายแล่นไปค้าขายยังคาบสมุทรอื่น กลับไปกลับมา สำเร็จความประสงค์ ๗ ครั้งจึงกลับนครของตน ครั้นครั้งที่ ๘ คิดจะไปสุวรรณภูมิ จึงขนสินค้าแล่นเรือไป เรือแล่นเข้ามหาสมุทรยังไม่ทันถึงถิ่นที่ตั้งใจ เรือก็ต้องพายุอับปางลงในท่ามกลางสมุทร ผู้คนที่เหลือ ก็เสียชีวิตไปทั้งหมดเหลือเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น เขาได้เกาะไม้กระดานแผ่นหนึ่ง ลอยตัวอยู่ท่ามกลางคลื่น ในวันที่ ๗ ก็เข้าถึงฝั่งใกล้ท่าสุปปารกะ ท่านนอนเปลือยกายอยู่ที่ชายหาดเพราะเสื้อผ้าถูกน้ำซัดไปหมด ด้วยความละอายเขาจึงได้ลุกขึ้นเข้าไประหว่างพุ่มไม้มองไม่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะใช้มาเป็นเครื่องนุ่งห่มได้ จึงหักก้านไม้รัก เอาเปลือกพันกาย ทำเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดไว้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เจาะแผ่นกระดาษเอาเปลือกไม้ร้อยทำเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดไว้ ท่านจึงได้ชื่อใหม่ว่า พาหิยทารุจีริยะ เพราะนุ่งผ้าทำด้วยไม้
    เขานั้นก็เที่ยวถือชามกระเบื้องอันหนึ่ง เดินขอข้าวที่ท่าสุปปารกะ ชาวบ้านเห็นเข้าจึงคิดว่า ถ้าพระอรหันต์ยังมีในโลกอยู่ ท่านก็คงประพฤติอย่างนี้แหละ พระผู้เป็นเจ้าองค์นี้ จะรับผ้าที่เขาให้เอาไว้หรือไม่ หรือไม่รับเพราะความมักน้อย ก็ประสงค์จะทดลองใจดังนี้ เมื่อจะลองใจ จึงนำเอาผ้าจากที่ต่างๆ เข้าไปถวาย พาหิยทารุจีริยะคิดว่า ถ้าเราจะนุ่งหรือจะห่มผ้าไซร้ พวกเหล่านี้ก็จะไม่เลื่อมใสเรา ลาภและสักการะของเราก็จักเสื่อมสิ้นไป ฉะนั้นเราจำต้องไม่รับ ถ้าเราทำเช่นนี้ลาภสักการะก็จักเกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเขาคิดอย่างนี้แล้ว จึงไม่ยอมรับผ้าที่พวกชาวบ้านนำมาถวาย.ใช้สอยเฉพาะแต่ผ้าเปลือกไม้อย่างเดียว พวกชาวบ้านก็เกิดความเลื่อมใสว่า พระผู้เป็นเจ้านี้มักน้อยแท้ จึงกระทำสักการะเป็นอันมาก ฝ่ายเขารับประทานอาหารแล้ว ได้ไปยังเทวสถานแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ฝูงชนก็ไปกับเขาเหมือนกัน และได้ทำการซ่อมแซมเทวสถานนั้นให้ เขาคิดว่า คนเหล่านี้เลื่อมใสเราเพียงเพราะเรานุ่งผ้าเปลือกไม้ จึงพากันทำสักการะถึงอย่างนี้ เราควรจะมีความประพฤติอย่างสูงสำหรับคนเหล่านี้ เขาจึงทำตัวเป็นผู้มีบริขารไม่มาก เป็นผู้มักน้อยอยู่ และเขาเมื่อถูกคนเหล่านั้นยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์ ก็เลยสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่นั้นการทำสักการะและทำความเคารพ ก็มีมากยิ่งๆ ขึ้น และท่านก็ได้มีปัจจัยมากมาย

    [​IMG]

    พระเถระที่เป็นพระอนาคามีและไปเกิดเป็นพรหมมาเตือน
    กล่าวถึงพระเถระที่ร่วมปฏิบัติธรรมอยู่บนยอดเขาในครั้งกระโน้น และบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นชีวิตลงก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ตรวจดูพรหมสมบัติของตน ก็นึกรำลึกถึงเรื่องราวก่อนที่ตนจะมาเกิดในพรหมโลก รำลึกถึงเรื่องที่ตนขึ้นไปยังภูเขาก็เพื่อนสหธรรมิก เห็นที่บำเพ็ญสมณธรรมแล้ว จึงนึกถึงสถานที่ที่คนที่เหลืออีก ๖ คนไปเกิด ก็รู้ว่าท่านหนึ่งปรินิพพานแล้ว และรู้ว่า นอกนี้อีก ๕ คนไปบังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร
    ครั้นเวลาต่อมาก็ได้รำลึกถึงคนทั้ง ๕ เหล่านั้นอีก ก็สงสัยว่าเวลานี้คนทั้ง ๕ เหล่านั้นไปบังเกิดในที่ไหนหนอ เมื่อตรวจดูจึงได้เห็นทารุจิริยะ ผู้อาศัยท่าสุปปารกะเลี้ยงชีวิตด้วยการการหลอกลวงจึงคิดว่า เมื่อก่อน เขาผู้นี้พร้อมกับพวกเรา ผูกบันไดขึ้นภูเขาทำสมณธรรม ไม่อาลัยในชีวิต เพราะประพฤติกวดขันอย่างยิ่ง แม้พระอรหันต์จะนำบิณฑบาตมาให้ก็ไม่ฉัน บัดนี้เพียงแค่ประสงค์แต่จะให้เขายกย่อง ตัวเองไม่เป็นพระอรหันต์เลย ก็ยังเที่ยวประกาศตนว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะมีความปรารถนาลาภ สักการะและชื่อเสียง อีกทั้งไม่รู้ว่าพระทศพลอุบัติขึ้นแล้ว เอาเถอะเราจักทำเขาให้สังเวชสลดใจแล้วให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ดังนี้
    ทันใดนั้นเองจึงลงจากพรหมโลก ปรากฏตรงหน้าท่านทารุจีริยะ ที่ท่าสุปปารกะ ตอนกลางคืน ท่านพาหิยะเห็นแสงสว่างโชติช่วงในที่อยู่ของตน จึงสงสัยว่าเกิดเหตุอะไรขึ้น แล้วได้ออกไปข้างนอกเพื่อตรวจดูอยู่ ครั้นเมื่อออกมาแล้วก็แลเห็นท้าวมหาพรหมลอยอยู่ในอากาศ จึงยกมือขึ้นสักการะแล้วถามว่า ท่านเป็นใคร ? ท้าวมหาพรหมตอบว่า เราเป็นสหายเก่าของท่าน เมื่อครั้งนั้นเราบรรลุอนาคามิผล ตายแล้วไปบังเกิดในพรหมโลก แต่ตัวท่านไม่สามารถจะทำคุณวิเศษอะไรให้บังเกิดได้ ท่านทำตัวเป็นเดียรถีย์ ตนไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย ยังเที่ยวคิดว่า ตนเป็นพระอรหันต์
    ดูก่อนพาหิยะ เรารู้ดังนี้จึงได้มาหาท่าน เพื่อจะเตือนท่านว่า ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์ หรือไม่เป็นผู้ถึงอรหัตตมรรคอย่างแน่นอน ท่านไม่มีปฏิปทาเครื่องให้เป็นพระอรหันต์หรือเครื่องเป็นผู้ถึงอรหัตตมรรค ท่านจงสละทิฏฐิอันลามกเช่นนั้นเสียเถิด ท่านอย่าได้ทำตนให้เกิดความฉิบหาย ทำตนเพื่อให้เกิดทุกข์ตลอดกาลนานเลย
    ฝ่ายพาหิยะ มองดูท้าวมหาพรหมผู้ยืนกล่าวอยู่ในอากาศแล้ว คิดว่า โอ เราได้กระทำกรรมหนักหนอ เรามิได้เป็นพระอรหันต์ แต่คิดว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว ท้าวมหาพรหมนี้กล่าวกะเราว่า ท่านไม่ใช่เป็นพรอรหันต์เลย ทั้งท่านก็มิได้ปฏิบัติตามหนทางพระอรหัตด้วย
    ลำดับนั้น พาหิยะจึงถามท่านท้าวมหาพรหมนั้นว่า
    เมื่อเป็นเช่นนั้นพวกใครเล่า เป็นพระอรหันต์ หรือว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามหนทางพระอรหัต ลำดับนั้น ท้าวมหาพรหมจึงบอกเขาว่า พาหิยะ ในอุตตรชนบทมีพระนครหนึ่ง ชื่อสาวัตถี บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น กำลังประทับอยู่ในพระนครนั้น พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ และทรงแสดงธรรมเพื่อให้คนเป็นพระอรหันต์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระองค์เถิด.
    ในราตรีนั้นเอง พาหิยะด้วยความสังเวชสลดใจ จึงได้ออกจากท่าสุปปารกะ แล้วได้เดินทางไปยังกรุงสาวัตถีระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ โดยคืนเดียวด้วยอานุภาพแห่งเทวดา
    เมื่อเขาถึงกรุงสาวัตถี.ก็เป็นเวลารุ่งเช้า ในเวลานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พาหิยะมาถึง ทรงพระดำริว่า ชั้นแรก อินทรีย์ของท่านพาหิยะยังไม่แก่กล้า แต่ในระหว่างชั่วครู่หนึ่งจักถึงความแก่กล้า ดังนี้แล้ว จึงต้องรอคอยให้ท่านมีอินทรีย์แก่กล้าเสียก่อน จึงเสด็จทรงบาตรยังกรุงสาวัตถีในขณะนั้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ส่วนท่านพาหิยะนั้นก็เข้าไปยังพระเชตวัน เห็นภิกษุเป็นอันมากฉันภัตตาหารเช้าแล้ว จงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง จึงถามว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบาตรยังกรุงสาวัตถี แล้วถามว่า ก็ท่านเล่ามาแต่ไหน ? ท่านตอบว่า มาจากท่าสุปปารกะ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านมาไกล เชิญนั่งก่อน จงล้างเท้า ทาน้ำมัน แล้วพักสักหน่อยหนึ่ง ในเวลาพระองค์กลับมา ก็จะเห็นพระองค์
    ท่านพาหิยะกล่าวว่า ท่านขอรับ กระผมไม่รู้ว่าชีวิตของกระผมจะสิ้นไปเมื่อใด กระผมเดินทางมาโดยไม่พักนานตลอดระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ เพียงขอให้ได้เฝ้าพระศาสดาแล้วจึงจะพักผ่อน
    เขาพูดอย่างนั้นแล้วก็รีบร้อน เดินทางเข้าไปยังกรุงสาวัตถี ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จจาริกไป เมื่อท่านพาหิยะได้แลเห็นพระพุทธเจ้า ด้วยพระพุทธสิริอันหาที่เปรียบมิได้ ก็บังเกิดปิติขึ้นท่วมท้น แล้วก็น้อมสรีระไปแล้ว กราบลงที่ระหว่างถนนด้วยเบญจางคประดิษฐ์จับที่ข้อพระบาทไว้มั่นแล้ว กราบทูลว่า อาราธนาพระพุทธองค์ให้แสดงธรรมโปรด
    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงตรัสห้ามเขาไว้ด้วยเหตุว่ามิใช่เวลาเหมาะ เพราะเป็นเวลาที่พระพุทธองค์จะทรงบิณฑบาต.พาหิยะ ก็ได้กราบทูลวิงวอนซ้ำอีก พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสห้ามอีกเป็นครั้งที่สอง ในครั้งที่สามเมื่อท่านพาหิยะทูลวิงวอนอีก พระศาสดาได้มีพระดำริว่า ที่ท่านห้ามท่านพาหิยะถึงสองครั้งก็ด้วยเหตุว่า นับตั้งแต่เวลาที่ท่านพาหิยะเห็นพระพุทธองค์แล้ว เขาก็มีปิติท่วมท้นไปทั้งร่างกาย ในช่วงเวลาที่ปิติมีกำลังมากนี้ แม้จะได้ฟังธรรม ก็จักไม่ทำให้ท่านสามารถบรรลุธรรมได้เลย อีกประการหนึ่งเป็นเพราะทรงเห็นว่าพาหิยะมีความกระวนกระวายในการฟังธรรมมาก ซึ่งก็เป็นเหตุให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เช่นกัน เพราะเหตุนั้นพระศาสดาจึงตรัสห้ามถึง ๒ ครั้ง ครั้นเมื่อเขาทูลขอในครั้งที่ ๓ ทรงพิจารณาเห็นความแกร่งกล้าในอินทรีย์ของท่านพาหิยะพร้อมแล้ว จึงทรงประทับยืนอยู่ในระหว่างทางและได้ทรงแสดงธรรมโดยย่อว่า


    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 136pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 539.8pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 136pt" vAlign=top width=720>ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

    ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล
    ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พาหิยะนั้นขณะกำลังฟังธรรมของพระศาสดาอยู่นั่นแล ได้ทำอาสวะทั้งปวงให้หมดสิ้นไปแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.ครั้นแล้วท่านจึงได้ทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้าในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านว่า ท่านนั้นได้มีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ ? ท่านพาหิยะกราบทูลว่า ยังไม่มี พระเจ้าข้า พระศาสดาจึงตรัสให้ท่านไปแสวงหาบาตรและจีวรมาก่อน แล้วก็เสด็จหลีกไป
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ จักไม่เกิดขึ้นแก่เขาแน่จึงมิได้ประทานการบรรพชาด้วยเอหิภิกขุ
    ได้ทราบมาว่า ในอดีตที่ท่านพาหิยะบำเพ็ญสมณธรรมมาสิ้น ๒ หมื่นปี ท่านไม่ได้ทำการสงเคราะห์บาตรหรือจีวรแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่งเลย อรรถกถาจารย์บางท่านกล่าวว่า ในอดีต เมื่อสมัยโลกว่างจากพระพุทธศาสนา ท่านเป็นโจร เที่ยวไปในป่า เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เพราะความโลภในบาตรและจีวร จึงใช้ธนูยิงท่านแล้วถือเอาบาตรและจีวรไป ด้วยเหตุนั้น บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์จึงมิปรากฏ
    ในเวลาที่ท่านพาหิยทารุจิยะกำลังแสวงหาบาตรและจีวร จากกองขยะอยู่นั้น ขณะที่ท่านกำลังดึงเอาเศษผ้าออกจากกองขยะอยู่ นางยักษิณีผู้มีเวรกันในกาลก่อน เข้าสิงในร่างของโคแม่ลูกอ่อนตัวหนึ่ง วิ่งเข้าขวิดท่านที่โคนขาข้างซ้าย ล้มลงเสียชีวิตอยู่ในกองขยะนั่นเอง

    บุรกรรมของพาหิยทารุจิยะและนางยักษิณี

    ได้ยินว่า โคแม่ลูกอ่อนนั้น เป็นยักษิณีตนหนึ่ง เป็นแม่โค ปลงชีวิตคนทั้ง ๔ นี้ คือ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ๑ พาหิยทารุจิยะ ๑ นายโจรฆาตกะชื่อตัมพทาฐิกะ ๑ สุปปพุทธกุฏฐิ ๑ จากชีวิตคนละร้อยชาติ.เรื่องในอดีตมีอยู่ว่า ชนเหล่านั้น เป็นบุตรเศรษฐีทั้ง ๔ คน นำหญิงแพศยาผู้เป็นนครโสเภณีคนหนึ่งไปสู่สวนอุทยาน ร่วมภิรมย์กันตลอดวันแล้วได้มอบทรัพย์หนึ่งพันกหาปนะและเครื่องประดับอันมีค่าให้เป็นค่าจ้าง ครั้นตกเย็น ได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ในที่นี้ไม่มีคนอื่น เราทั้งหลาย จักฆ่าหญิงนี้เสียกันเถิด แล้วเอาทรัพย์ และเครื่องประดับทั้งหมดนั้นคืนมาเถิด” หญิงนั้นเมื่อฟังถ้อยคำของบุตรเศรษฐีเหล่านั้นแล้ว คิดว่า “ชนพวกนี้ไม่มียางอาย อภิรมย์กับเราแล้ว บัดนี้ ปรารถนาจะฆ่าเรา เราจักอาฆาตชนเหล่านั้น” เมื่อถูกชนเหล่านั้นฆ่าอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า “ขอเราพึงเป็นยักษิณี ผู้สามารถฆ่าชนเหล่านั้น เหมือนอย่างที่พวกนี้ฆ่าเราฉะนั้น”

    พระพุทธองค์ทรงให้ปลงศพและก่อสถูป

    พระศาสดา เสด็จจาริกไปบิณฑบาตแล้วทรงกระทำภัตรกิจเสร็จแล้ว ขณะกำลังเสด็จออกพร้อมกับพวกภิกษุมากรูป ได้ทอดพระเนตรเห็นร่างของพาหิยะ ซึ่งฟุบจมกองขยะแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อนสพรหมจารีของพวกเธอปรินิพพานแล้ว และตรัสให้พระภิกษุนำร่างของท่านพาหิยะขึ้นเตียงนำออกไปทางประตูเมือง และให้ทำการฌาปนกิจ เก็บเอาธาตุไว้ก่อเป็นสถูป.พวกภิกษุเหล่านั้น ดำเนินการตามที่พระบรมศาสดาทรงตรัส แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ได้กราบทูลให้ทรงทราบถึงการงานที่ตนได้ทำเสร็จแล้ว และทูลถามพระพุทธองค์ถึงคติภพ (ภพเบื้องหน้า) ของท่านพาหิยะ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบอกแก่ภิกษุเหล่านั้นว่าท่านพาหิยะปรินิพพานแล้ว. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกว่า ท่านพาหิยทารุจีริยะบรรลุพระอรหัตที่ไหน. และเมื่อตรัสว่า ในเวลาที่ฟังธรรมของเรา พวกภิกษุจึงทูลถามว่า ก็พระองค์แสดงธรรมแก่ท่านในเวลาไหน. พระศาสดาตรัสว่า เมื่อเรากำลังบิณฑบาตยืนอยู่ระหว่างถนนวันนี้เอง. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระองค์ยืนตรัสในระหว่างถนนนั้นมีประมาณน้อย ท่านทำคุณวิเศษให้เกิดด้วยเหตุเพียงเท่านั้นได้อย่างไร.

    พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายเธออย่าประมาณธรรมของเราว่ามีน้อยหรือมาก แม้คาถาตั้งหลายพันแต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ประเสริฐเลย ส่วนบทคาถาแม้บทเดียวซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ยังประเสริฐกว่า

    พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ (เหตุเกิดเรื่อง) จึงสถาปนาท่านพาหิยะทารุจิริยะไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้ได้โดยพลัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2011
  6. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    เมื่อเข้าใจ ใจถึงธรรม ย่อมละ วาง ว่าง สุขอันใหญ่หลวงก้บังเกิดขึ้น เพราะสิ้นอยาก
     
  7. chunhapong

    chunhapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +731
    - ท่านเชื่อหลักทางพุทธศาสนาเพราะอะไร
    อนิจจัง
    - ธรรมข้อใดที่ท่านแจ้งแก่ใจและเห็นว่าเป็นจริง
    ทุกขัง
    - ความเชื่อนั้นมีผลกับการดำเนินชีวิตอย่างไร
    อนัตตา
    - คิดว่าพระพุทธเจ้าต้องการสอนให้รู้ อะไร?
    พระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    มนัสการพระคุณเจ้า อนุโมทนาธรรมที่ร่วมสนทนาครับ
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เชื่อเพราะพิสูจน์แล้ว
    ธรรมที่ปรากฏคือ ทุกข์ลดลง
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนาครับ ท่านพิสูจธรรมนั้นอย่างไร และทุขนั้นลดลงอย่างไร
    หากสดวกเชิญแสดงเพื่อเป็นการสนทนาธรรมอันยัง กิเลศ ให้เบาบาง
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ระลึกถึง ไม่ได้สนทนากันนานมากนะ

    ยินดีในความก้าวหน้าที่สมควรแก่ธรรมในการปฏิบัติ เพราะได้พิสูจน์แล้ว

    ***

    แม้อดีตชาตินานสักกี่แสนกัปป์ก็ตาม ที่อธิฐานจิตขอให้บรรลุธรรมไว้

    ถ้าปัจจุบันยังขาดความเพียรเพ่งภาวนาแล้วละก็ ฟังธรรมให้ตายก็บรรลุไม่ได้

    ดูตัวอย่างง่ายๆที่แลเห็นได้ชัดเจน พระพุทธองค์กว่าจะทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น

    ในชาติปัจจุบันของพระพุทธองค์ท่าน

    พระพุทธองค์ยังทรงเพียรเพ่งภาวนาลองผิดลองถูกมาตั้งหลายปี กว่าจะพบอมตะธรรม

    แล้วมีใครละที่จะมีทรงภูมิปัญญาได้ยิ่งกว่าพระพุทธองค์อีกละ ที่ฟังธรรมเพียงครั้งเดียวก็บรรลุได้

    ในส่วนที่ต้องเพียรเพ่งปฏิบัติ ลองผิดลองถูกในกาลก่อนหน้าที่จะพบพระพุทธองค์ไม่มีใครพูดถึง

    ขอบ่นหน่อยนะ เพียงแค่อธิฐานจิตขอให้บรรลุธรรม แค่ฟังธรรมก็บรรลุได้มีด้วยหรือ?
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    หลักทางพระพุทธศาสนา ว่าด้วยเรื่องของการพ้นทุข อริยสัจ 4
    เป็นการมอบความเห็นที่ถูกต้องให้แก่ผู้ไม่รู้ ความจริงของชีวิต
    เมื่อผู้ไม่รู้ได้รู้ ธรรมดาของชีวิตแล้ว ก้เปลี่ยนแปลงทั้ง การกระทำ พูด และความคิด
    เพียงแต่ว่าเมื่อได้รับฟังธรรมแล้ว จะสามารถเข้าใจในอรรถของธรรมนั้นหรือไม่
    ท่ายังไม่เข้าใจก้ต้องอาศัยการ ฝึกฝน สั่งสม และความพยามเผื่อการ กำจัดเอาความไม่รู้นั้นออกไป
    แต่ละคนมีวิธีกำจัดความไม่รู้ ต่างๆนานา

    ขอยกตัวอย่าง
    พระจูฬปันถก

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext -->พระจูฬปันถก หรือ พระจูฬปันถกเถระ, พระจุลลปันถกะ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็น 1 ในพระอสีติมหาสาวก ของพระพุทธเจ้า

    พระจูฬปันถก เป็นน้องชายของพระมหาปันถก ท่านบวชตามการสนับสนุนของพี่ชาย เมื่อแรกบวชท่านเป็นคนมีปัญญาทึบมาก ไม่สามารถท่องมนต์หรือเข้าใจอะไรได้เลย จึงทำให้ท่านถูกพระพี่ชายของท่านขับไล่ออกจากสำนัก เมื่อพระพุทธเจ้าทราบความจึงได้ให้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านไปลูบ จนในที่สุดท่านพิจารณาเห็นว่าผ้าขาวเมื่อถูกลูบมีสีคล้ำลง จึงนำมาเปรียบกับชีวิตของคนเราที่ไม่มีความยั่งยืน ท่านจึงได้เจริญวิปัสสนาและบรรลุพระอรหันต์เพราะสิ่งที่ท่านพบจากการลูบผ้าขาวนั่นเอง

    เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็นเอตทัคคะในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ
    <SUP></SUP>
    พระจูฬปันถก เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เกี่ยวกับปัญญาในการจำเรียนรู้ทั่วไป (สัญญา) ปัญญาในการตรัสรู้คือจินตมยปัญญา กล่าวคือความสามารถที่จะใช้ปัญญาแยบคายที่เกิดจากใช้ปัญญาภายในพิจารณาให้เห็นความจริงของโลกได้ด้วยตนเองได้หรือไม่ การท่องจำหรือเรียนเก่งไม่เก่งจึงไม่ใช่อุปสรรคในการตรัสรู้ธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2011
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    พระธรรมนั้นมีมากหากแต่จะใช้ประโยชน์จากส่วนไหนให้เหมาะสม ก้จะรู้ได้ เห็นได้
     
  14. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    เพราะว่า

    ... กาล หนึ่ง ไม่เชื่อ ไม่สนใจ และหมายเป็นศัตรูกับตถาคต
    ครั้งนึง เป็น คริสต์เตียน เชื่อในพระเจ้า
    เชื่อใน สรรพสิ่งล้วน ยั่งยืน มั่นคง ถาวร เป็น นิรันดร์
    เชื่อใน บุตรของพระเจ้า นาม เยซู ที่ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับ บาปทั้งปวงไป
    สิบปีกว่า หลังสิ้น ศรัทธาในตถาคต สู่ ทิฐิ อัตตา
    ... กาล ภายหลัง ความตายเข้ามาเยือน
    รถพุ่งชนคอ สะพาน กลางลำน้ำยม
    พระเจ้าอยู่ไหน พระเยซูอยู่ไหน
    ว่างเปล่า ไม่มีคำตอบ ไม่มีปรากฎ
    เพียง หนึ่ง ชายชุดขาว ปรากฎ
    ว่า เป็นเพียง ความปรุงแต่งเท่านั้น
    ...กาล ต่อมา พบ ภิกษุอริยะ
    นามะ อุบาลี อตุโล
    คิด อย่างไร นึกอย่างไร
    ท่านพูดโต้ตอบ ทั้งด้วยใจและวาจา
    นับสิบนับร้อย
    แม้ปรากฎ เช่นนั้น ก็ยังมี ทิฐิในพระเจ้า มิก้มกราบ
    ...กาลสุดท้าย ความสงสัยทั้งปวง
    พระเจ้ามีจริงไหม หาเท่าไรก็ไม่เจอ
    ด้วยเพราะ เห็น ฤทธิของภิกษุอริยะ
    จึงอยากรู้ เปิด พระไตรปิฎก อ่านตั้งแต่ สุตตันตปิฎก
    จน ถึง ปฎิจจสมุทบาท
    ดวงตาที่บอด กลับมองเห็น
    ไม่มี ธรรมใดแล้ว ที่จะงดงามเท่า ปฎิจจสมุทบาท อีกแล้ว
    ไม่มี ธรรมใดจะทำให้เห็นตามความเป็นจริงเท่า ธรรมนี้ อีกแล้ว
    ด้วยธรรมบทนี้ ชายที่เคยตาบอด กลับได้เห็นแสงสว่างอีกครั้ง
    ธรรมล้วนเกิดจากเหตุ เมื่อเหตุดับไปธรรมเหล่านั้นย่อมดับไปด้วย
    ไม่มีพระเจ้า ไม่มีเทพเจ้า ไม่มี มีแต่เหตุทั้งสิ้น
    แม้ ตถาคต จะนิพพานไป แต่พระธรรมของพระองค์ยังงดงาม เช่นเดิม
    เมื่อ บัวนี้ได้ตื่นขึ้น ชายที่มองเห็น สลัดทิ้งทุก มิจฉาทิฐิ
    ออกบรรพชา ตามพระอริยะ ผู้ประกาศพระศาสนา

    นี่จึงเป็นเหตุผลทั้งหมด ผมคือ คนที่ไม่เคยเชื่อ ตถาคต
    แต่วันนี้ เชื่อพระองค์แล้ว โดยไม่สงสัยอะไรอีกแล้ว
    จะขอก้มกราบ ซึ่งคุณ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
    หมดแล้ว สิ้นแล้ว ความสงสัยทั้งปวง
    ขอบคุณครับ พระพุทธเจ้า

    อดีตสาวกเยซู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2011
  15. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนาด้วยครับ :cool:
     
  16. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    การเจริญวิปัสนากรรมฐานนั้น ก้เป็นเหตุให้บรรลุอรหันต์ ด้วยเช่นกัน
    จึงยกตัวอย่างพระสูตรเรื่อง
    ผู้เปินเลิศทางด้านวิปัสนากรรมฐาน และได้การยกย่องจากพระพุทธเจ้า



    <CENTER>พระมหาปันถกเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา


    </CENTER>พระมหาปันถก เป็นลูกชายของธิดาของเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ มีน้องชายอีกคนหนึ่ง ซึ่งพี่น้องสองคนนี้เดิมชื่อว่า “ ปันถก” เหมือนกันแต่เพราะท่านเป็นคนพี่จึงได้นามว่า “ มหาปันถก” ส่วนคนน้องได้นามว่า “ จูฬปันถก” ทั้งสองพี่น้องถือว่าอยู่ในวรรณจัณฑาล เพราะพ่อแม่ต่างวรรณะกันโดยพ่อเป็นวรรณะศูทร ส่วนแม่เป็นวรรณะแพศย์ ประวัติมีดังต่อไปนี้..
    <HR><CENTER>ธิดาเศรษฐีหนีตามชายหนุ่ม

    </CENTER>มารดาของท่านนั้น เป็นธิดาของธนเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญเติบโตย่างเข้าสู่วัยสาว เป็นผู้มีความงามเป็นเลิศ บิดามารดาจึงห่วงและหวงเป็นหนักหนา ได้ป้องกันรักษาให้อยู่บนปราสาทชั้นสูงสุด



    มิให้คบหากับบุคคลภายนอกจึงเป็นเหตุให้นางมีความใกล้ชิดกับคนรับใช้ ซึ่งเป็นชายหนุ่มในเรือนของตนจนได้เสียเป็นสามีภรรยากัน ต่อมาทั้งสองกลัวบิดามารดาและคนอื่นจะล่วงรู้การกระทำของตน จึงได้พากันหนีออกจากบ้านไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอื่นที่ไม่มีคนรู้จัก อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาจนภรรยาตั้งครรภ์



    เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ใกล้คลอด ได้ปรึกษากับสามีว่า “ ถึงอย่างไร พ่อแม่ก็คงไม่ทำอันตรายลูกของตนได้ ดังนั้น ขอให้ท่านช่วยพาดิฉันกลับไปคลอดที่บ้านเดิมด้วยเถิด การคลอดในที่ห่างไกลพ่อแม่นั้นไม่ค่อยปลอดภัย ”



    ฝ่ายสามีเกรงว่า บิดามารดาของภรรยาจะลงโทษจึงไม่กล้าพาไป และได้พยายามพูดบ่ายเบี่ยงผลัดกันประกันพรุ่งออกไปเรื่อย ๆ จนภรรยาเห็นท่าไม่ได้การเมื่อสามีออกไปทำงานจึงหนีออกจากบ้าน เดินทางมุ่งหน้าสู่บ้านเกิดของตนเอง แต่ครรภ์ของนางได้รับการกระทบกระเทือนจึงคลอดบุตรในระหว่างทาง ฝ่ายสามีกลับเข้าบ้านไม่พบภรรยา ถามได้ทราบความจากคนใกล้เคียงแล้ว ติดตามโดยด่วน ได้มาพบภรรยาคลอดลูกอยู่ในระหว่างทาง และแม่ลูกทั้งสองก็แข็งแรงปลอดภัยดี กิจที่จะไปคลอดลูกยังบ้านเกิดของตน นั้นก็เสร็จสิ้นลงแล้วจึงพากันกลับสู่บ้านของตน และได้ตั้งชื่อกุมารนั้นว่า “ ปันถก ” เพราะว่าเกิดในระหว่างหนทาง



    ครั้นต่อมา นางได้ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่สอง และเหตุการณ์ก็เป็นเหมือนครั้งแรก นางได้คลอดลูกระหว่างอีก และตั้งชื่อให้ว่า “ ปันถก” เหมือนคนแรกแต่เพิ่มคำว่า มหา ให้คนพี่ เรียกว่า “ มหาปันถก ” และเพิ่มคำว่า จูฬ ให้คนน้องเรียกว่า “ จูฬปันถก ”


    <HR><CENTER>มาอยู่กับตายายจึงได้บวช

    </CENTER>สองสามีภรรยานั้น ได้ช่วยกันเลี้ยงดูลูกทั้งสอง อยู่ครองรักกันมานาน จนกระทั้งลูกเจริญเติบโตขึ้น ได้วิ่งเล่นกับเด็กเพื่อน ๆ กัน ได้ฟังเด็กคนอื่น ๆ เรียกญาติผู้ใหญ่ว่าปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น ส่วนของตนไม่มีคนเหล่านั้นให้เรียกเลย จึงซักไซ้ถามไถ่จากบิดามารดาอยู่บ่อย ๆ จนทราบว่าญาติผู้ใหญ่ของตนนั้นอยู่ที่เมืองราชคฤห์ จึงรบเร้าให้บิดามารดาพาไปพบท่านเหล่านั้น จนในที่สุดบิดามารดาอดทนต่อการรบเร้าไม่ไหว จึงตัดสินใจพาลูกทั้งสองไปพบตา ยาย ที่เมืองราชคฤห์



    เมื่อเดินทางมาถึงเมืองราชคฤห์แล้ว ได้พักอยู่ที่ศาลาหน้าประตูเมืองไม่กล้าที่จะเข้าไปหาบิดามารดาในทันที เมื่อพบคนรู้จักจึงสั่งความให้ไปบอกแก่เศรษฐีว่า ขณะนี้ลูกสาวของท่านพาหลานชายสองคนมาเยี่ยม ฝ่ายเศรษฐียังมีความแค้นเคืองอยู่ จึงบอกแก่คนที่มาส่งข่าวว่า “ สองผัวเมียนั้น อย่ามาให้เห็นหน้าเลย ถ้าอยากได้ทรัพย์สินเงินทอง ก็จงเอาไปเลี้ยงชีพเถิด แต่ขอให้ส่งหลานชายทั้งสองคนมาให้ก็แล้วกัน ”



    สองสามีภรรยา ถึงจะมีความรักสุดรัก หวงแสนหวง ไม่อยากให้ลูกต้องมาพรากจากอกไปเลย แต่เพื่ออนาตอันสดใสและความสบายของลูกจึงตัดใจหักความรักอาลัยรักทิ้งไป ยอมรับเอาทรัพย์ที่บิดามารดาส่งมาให้ แล้วมอบลูกชายทั้งสองคนให้แก่คนใช้ไป อันเป็นการที่ไม่มีความเต็มใจเลยแม้สักเท่าเศษธุลี เพราะเป็นการพลัดพรากจากกันทั้งรัก จึงมีแต่ความระทมทุกข์ใจยิ่งนัก



    มหาปันถก และจูฬปันถก ได้เจริญเติบโตขึ้นในตระกูลของคุณตาผู้เป็นเศรษฐี แต่ต้องตกอยู่ในฐานะเด็กกำพร้าทั้งพ่อและแม่ขาดความอบอุ่นมีแต่ความว้าเหว่ ไม่เหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่



    จูฬปันถก ยังเป็นเด็กที่เล็กมาก ไม่สามารถที่จะติดตามคุณตาธนเศรษฐีไปไหน ๆ ได้เหมือนกันมหาปันถก ๆ มักชอบตามท่านธนเศรษฐีไปไหนมาไหนอยู่บ่อย ๆ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มหาปันถกได้ไปรับฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาที่วัด เวฬวันเป็นประจำ และเมื่อมหาปันถกเข้าไปสู่สำนักพระผู้เป็นเจ้าอยู่เป็นนิจ จิตจึงน้อมไปเพื่อการจะบรรพชา



    เมื่อมหาปันถกมีจิตคิดจะบรรพชา จึงบอกท่านธนเศรษฐีว่า “คุณตาครับ ถ้าหากคุณตาอนูญาตให้กระผมออกบรรพชา กระผมจะบรรพชาอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอรับ”



    ท่านเศรษฐีพูดกับมหาปันถกหลานชายด้วยความดีใจว่า “ มหาปันถก หลานพูดอะไรอย่างนี้ การบรรพชาของหลานเป็นการดีสำหรับตายายยิ่งกว่าการบรรพชาของใคร ๆ ทั้งหมดในโลกนี้ ถ้าหลานพร้อมที่จะบรรพชาได้ จงบรรพชาเถิด” ครั้นท่านเศรษฐีกล่าวดังนี้แล้ว จึงนำมหาปันถกไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า



    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า “ คฤหบดี ท่านได้ทารกมาจากไหน”



    ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เด็กคนนี้เป็นหลานของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า และหลานของข้าพระองค์คนนี้มีศรัทธาต้องการจะบรรพชาอยู่ในสำนักของพระองค์ พระเจ้าข้า ”



    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงทราบความประสงค์ของท่านเศรษฐีและหลานดังนั้น แล้ว จึงตรัสสั่งพระภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นกิจวัตว่า “ ดูก่อนภิกษุ เธอจงให้ทารกผู้นี้บรรพชาเถิด ”



    พระภิกษุรูปนั้นรับฟังพระพุทธบัญชาแล้ว จึงตระเตรียมการบรรพชาให้แก่มหาปันถกทันที



    เบื้องแรกพระเถระบอกพระกรรมฐาน ที่เรียกว่า ตจปัญจกกรรมฐาน คือ พิจารณาร่างกายมีหนังเป็นที่ ๕ ได้แก่ เกสา ( ผม ) โลมา ( ขน ) นขา ( เล็บ ) ทันตา (ฟัน) ตโจ (หนัง) แก่มหาปันถก แล้วจึงบรรพชาเป็นสามเณร



    สามเณรมหาปันถกนั้น เป็นผู้มีความเพียรเล่าเรียนพระพุทธพจน์ได้มาก และเมื่อท่านเป็นสามเณรจนครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านพยายามบำเพ็ญเจริญวิปัศสนากรรมฐาน จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสกิเลสทั้งปวง กิจของสมณะที่เกี่ยวกันการประพฤติพรตพรหมจรรย์ของท่าน ในพระพุทธศาสนาเพื่อกระทำให้สิ้นทุกข์ได้ดำเนินมาถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้น ความเพียรพยายามจึงเป็นเหมือนต้นทุนที่ให้ผลกำไลงาม



    พระมหาปันถกเถระ เป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ คือ ปัญญาที่กระทำให้เข้าถึงพระนิพพานอันมีวัฏฏะ ( การวนเวียน ) ไปปราศแล้ว



    เหตุที่กล่าวเช่นนี้ เพราะท่านได้สำเร็จอรูปปาวจรฌาน เมื่อออกจากธุดงค์ฌานแล้วได้สำเร็จพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงที่สุดในพระพุทธศาสนา ตามที่ท่านแบ่งพระอริยะบุคคลผู้บรรลุชั้นผลไว้เป็นสี่ชั้นคือ



    ๑ . พระโสดาปัตติผล ( ผลแห่งการเข้าถึงกระแสธรรมหรือพระนิพพาน)
    ๒ . พระสกทาคามิผล ( ผลของผู้จะมาเกิดอีกครั้งเดียว)
    ๓ . พระอนาคามิผล ( ผลของผู้ไม่มาเกิดอีก)
    ๔ . พระอรหัตผล ( ผลคือความเป็นผู้ไม่มีกิเลส )


    <HR><CENTER>ได้รับยกย่องในตำเเหน่งเอตทัคคะ

    </CENTER>พระมหาปันถก เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้ช่วยกิจการพระศาสนา เป็นกำลังช่วยงานพระบรมศาสดา ตามกำลังความสามารถพระบรมศาสดา ได้ทรงมอบหมายให้ท่านรับหน้าที่ “ ภัตตุทเทศก์ ” คือ ผู้แจกจ่ายภัตตาหารและกิจนิมนต์ ตามบ้านทายกทายิกาและอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ได้รับลาภสักการะโดยทั่วถึงกัน ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเรียบร้อยยุติธรรม จนเป็นที่พอใจของบรรดาเพื่อนสหธรรมิก และทายกทายิกาอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ท่านได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสาสวะทั้งปวงแล้ว ท่านได้ระลึกถึงน้องชายของท่าน ต้องการที่จะให้น้องชายได้รับความสุขเช่นเดียวกับตนบ้าง จึงไปขออนุญาตจากคุณตาแล้วพาจูฬปันถกผู้เป็นน้องชาย มาบวชเป็นศาสนทายาทอีกคนหนึ่ง



    พระมหาปันถก เป็นผู้มีความชำนาญในการเจริญวิปัสสนา จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้เจริญวิปัสสนา



    ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน...
     
  17. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    หนทางนั้นหลากหลายสู่เป้าหมายเดียวกันคือนิพพาน
    ท่านเชื่อหลักทางพระพุทธศาสนาเพราะอะไร ?
    อนุโมทนาสาธุๆ
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    สมถะและวิปัสสนานั้น เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้
    ต้องมีและดำเนินไปด้วยกันจึงจะบรรลุผลได้จริง
    ขึ้นอยู่ว่าในขณะจิตนั้น อะไรเป็นเบื้องหน้า สลับกันไปเกื้อกูลกัน
    ในพุทธวจนะนั้นตรัสไว้ชัดเจนว่า


    สมถะและวิปัสสนา "และ"ไม่ใช่"หรือ"
    คำว่า"และ"ต้องทั้งสองสิ่งร่วมกันจึงบรรลุได้
    ส่วน"หรือ"นั้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

    "ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้
    ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด

    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง

    ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น

    ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง
    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด

    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ"

    เมื่อท่านยังไม่รู้จักจิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์แล้ว
    ยังจะคิดดูจิตที่ติดความคิด(วิปัสสนา)ไปเพื่อประโยชน์อะไร
    ละอารมณ์ก็ละไม่เป็น แล้วจะเกิดปัญญาปล่อยวางอารมณ์ได้อย่างไร???

    ธรรมภูต<!-- End Comment 3-->
     
  19. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  20. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...