ทำไมพระจึงออกธุดงค์??

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย อุทยัพ, 14 สิงหาคม 2011.

  1. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    [​IMG]

    คัดลอกจากหนังสือสู่แสงธรรม ตามคำสอนของหลวงพ่อ
    โดย พล.อ.ต.มนูญ ชมภูทีป

    ทำไมพระจึงออกธุดงค์??


    เนื่องด้วยข้าพเจ้ามีความสงสัย และยังไม่เข้าใจอยู่ตลอดมาว่า"ทำไมพระปฎิบัติทั้งหลายจะต้องออกธุดงค์? การธุดงค์เพื่อไปบำเพ็ญกรรมฐานอยู่ในป่ากันดาร กับ บำเพ็ญกรรมฐานอยู่ที่วัดก็ไม่น่าจะมีผลแตกต่างกัน หากมีความตั้งใจจริง และเพียรพยายามปฎิบัติจริงไม่ท้อถอย"
    การที่ข้าพเจ้าคิดเช่นนี้ เพราะข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นมาโดยตลอดว่า "หากตั้งใจจริงและมีความเพียรพยายามที่เด็ดเดี่ยวไม่ท้อถอยแล้ว ย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาได้เสมอมา" อยากจะยกตัวอย่างสักนิดเพื่อประกอบความเชื่อมั่นของข้าพเจ้า(ขอท่านผู้อ่านอย่าได้คิดว่าข้าพเจ้ายกตัวเองเลยนะครับ เพราะถ้าข้าพเจ้ามิใช่เป็นคนประเภทนี้แล้วปัญหาในข้อนี้ก็คงจะไม่เกิดขึ้น) เช่นเมื่อข้าพเจ้าเรียนหนังสือข้าพเจ้าก็ตั้งใจไว้ว่าจะต้องสอบให้ได้ที่๑ และเมื่อตั้งใจแล้วในตอนปิดเทอมใหญ่ ขณะที่เด็กทุกคนเอาแต่เที่ยว และเล่นกันอย่างสนุกสนานนั้นข้าพเจ้าจะนั่งดูหนังสือเรียนของปีต่อไปทันที ตัวอย่างเช่นเมื่อสอบไล่ม.๓ เสร็จ จะเลื่อนขึ้น ม.๔ มาดู อะไรที่จะต้องท่องจำ เช่น ทฤษฎีของเราขาคณิตบทต่างๆ หรือ บทท่องจำต่างๆ ข้าพเจ้าจะรีบท่องไว้ทันที บรรดาแบบฝึกหัดทุกบทข้าพเจ้าจะทำความเข้าใจและทดลองทำดูทั้งหมด เป็นต้น ดังนั้นข้าพเจ้ามักจะเรียนจบในตอนปิดเทอม โดยครูยังไม่ได้สอนเสมอและเมื่อมีการสอบทีไรข้าพเจ้าก็จะสอบได้เป็นที่๑ ตลอดมา และแม้ข้าพเจ้าจะเรียนอยู่ที่โรงเรียนมัธยมวัดดอนเมือว แต่เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเรียนอยู่ในโรงเรียนนายร้อย จปร. ก็หาได้เคยนึกหวาดหวั่น นักเรียนที่มาจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงต่างๆ ในกรุงเทพฯไม่ และเคยได้เป็นแม้กระทั่งหัวหน้าตอนด้วยคะแนนดี อีกทั้งผลการเรียนตลอด ๗ ปี(เตรียมนายร้อย ๒ ปี และนักเรียนนายร้อยอีก ๕ปี)ก็ยังอยู่ในประเภทท็อปเท็นอีกด้วย ส่วนในด้านการกีฬานั้นหากสนใวจในกีฬาประเภทใดข้าพเจ้าจะทุ่มสุดตัว และเล่นจนกว่าจะได้ถ้วยหรือรางวัลชนะเลิศเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาในร่ม เช่น สนุกเกอร์ บิลเลียด ไพ่บริดจ์ หรือกีฬากลางแจ้งเช่น ฟุตบอล ตะกร้อข้ามตาข่าย โดยเฉพาะยิมนัสติคนั้นหากท่าใดที่ข้าพเจ้าทำไม่ได้ ก็จะหลบเข้าโรงยิมในยามค่ำคืน ไปฝึกซ้อมจนกว่าจะได้หรือกอล์ฟ หากตีไม่ดี ข้าพเจ้าก็จะไปนอนคิดทบทวนถึงความผิดพลาดของวงสวิง หากนึกออกแม้ดึกดื่นเที่ยงคืน ตี๑ ตี๒ ข้าพเจ้าก็จะถือไม้ลงไปฝึกซ้อมที่สนามจนกว่าจะแก้ไขได้เป็นต้น



    ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงฉงนสนเท่ห์ใจนัก และในวันหนึ่งข้าพเจ้าก็ได้ถามหลวงพ่อว่า "หลวงพ่อครับ ทำไมพระจึงไม่กระทำความเพียรเพื่อให้บรรลุมรรคผลกันในวัด มีความจำเป็นอะไรหรือครับ ที่จะต้องออกธุดงค์ไปทำความเพียรกันในป่า" เมื่อถามคำถามนี้แล้วข้าพเจ้าก็เล่าเหตุผลที่ข้าพเจ้าเข้าใจ และเชื่อมั่นดังที่ได่้กล่าวแล้วแต่ต้นให้หลวงพ่อฟัง และย้ำในสุดท้ายว่า"อย่างผมนั้นเรียนอยู่โรงเรียนมัธยมวัดดอนเมือง ซึ่งนับว่าเป็นโรงเรียนบ้านนอกในขณะนั้นก็ไม่เห็นจะต้องคิดดิ้นรนเข้าไปเรียนร่วมกับนักเรียนชั้นดีจากโรงเรียนต่างๆเหล่านั้นในโรงเรียนายร้อย ผทก็สามารถเรียนกับพวกเขา ได้อย่างสบายมาก และผมยังได่้มีโอกาสเป็นหัวหน้าตอนเสียด้วยซ้ำไป"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 สิงหาคม 2011
  2. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    หลวงพ่อ:เออ! แล้วคุณเคยเล่าถึงเรื่องวิธีที่จะเอาดีในการเรียนและการเล่นของคุณให้ลูกๆ ฟังบ้างไหม? หลวงพ่อถามเรื่อยๆ
    ข้าพเจ้า:เล่าให้ฟังบ่อยเลยครับ เพราะอยากจะให้เขาเรียนเก่ง ข้าพเจ้าตอบอย่างภูมิใจ
    หลวงพ่อ:แล้วลูกนำวิธีการของคุณไปใช้บ้างไหม?
    ข้าพเจ้า:ตอนแรก เขาไม่เชื่อหรอกครับว่าเด็กอายุแค่สิบกว่าขวบระดับชั้นมัธยมสมัยนั้น จะมีใครบ้าเรียนขนาดเอาหนังสือชั้นสูงกว่ามานั่งเรียนในช่วงปิดเทอม เพราะเด็กอายุขนาดนั้นน่าจะชอบเล่นซุกซนมากกว่า จนผมต้องเอาสมุดพกตั้งแต่ม.๑ ถึง ม.๖ ออกมาให้ดู นั้นแหละครับจึงเชื่อว่าผมสอบได้ที่ ๑ ทั้งสอบซ้อม สอบไล่มาโดยตลอดจริง
    หลวงพ่อ:อะไรกัน คุณเก็บสมุดพกตั้งแต่ชั้นมัยมจนถึงบัดนี้ทีเดียวหรือ? หลวงพ่อถามติง
    ข้าพเจ้า:ครับ! ผมเก็บไว้แม้ขณะนี้ก็ยังอยู่ กระดาษกรอบเป็นสีน้ำตาลเชียวครับ ข้าพเจ้าตอบอย่างภูมิใจ
    หลวงพ่อ:ในเมื่อลูกคุณเขาเชื่อแล้วว่าวิธีการของคุณจะทำให้เรียนดีได้ แล้วเขายอมเรียนตามวิธีของคุณหรือไม่? หลวงพ่อถามยื้มๆ
    ข้าพเจ้า:ไม่มีใครเอาวิธีของผมไปใช้สักคนครับ เอาแต่เล่นสนุกสนานกันไปตามประสาเด็กหมด ข้าพเจ้าตอบอย่างท้อแท้
    หลวงพ่อ:นี้แหละคำตอบละ คนเรานั้นไม่เหมือนกันคุณลองไปถามดูได้ว่า ยังจะมีใครสักกี่คนที่เขาใช้วิธีการเรียน และการเล่นแบบคุณบ้าง มันผิดปกตินะ มันหนักเกินไปนะสำหรับบุคลลทั่วๆไป การจะทำเช่นนี้ได้ต้องอาศัยกำลังใจสูง มีความตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่ท้อถอย อีกทั้งต้องมีความเพียรเป็นเลิศจึงจะกระทำได้นะ จริงของคุณการกระทำความเพียรเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้นกระทำกันในวัดโดยไม่ต้องออกธุดงค์ก็ได้ ถ้ามีกำลังใจเด็ดเดี่ยวไม่ท้อถอย และมีความเพียรเป็นเลิศ แต่โดยทั่วๆไปแล้วพระภิกษุ ที่เพิ่งเรื่มปฎืบัติใหม่ๆ จะกระทำได้สักกี่องค์ เพราะสถานที่และสื่งแวดล้อมไม่ให้ อีกทั้งยังมีกิจอย่างอื่นที่สงฆ์จะต้องช่วยกันปฎิบัติเป็นส่วนรวม นอกจากนั้นญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ที่เข้าออกเพ่นพ่านในวัดก็มีมาก เมื่อมาก ตาก็จะเห็น หูก็จะได้ยิน ลิ้นก็จะลิ้มรสอาหารโอชะ จมูกจะได้กลิ่น จิตเกิดการรับรู้ เกิดอารมณ์หวั่นไหว ตกเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมได้โดยง่ายจริงไหม?

    หลวงพ่ออธิบายอย่างอารมณ์ดี และเมื่อเห็นข้าพเจ้ายังนั่งฟังด้วยความสนใจ จึงอธิบายต่อว่า

    หลวงพ่อ:ด้วยเหตุนี้เองพระบรมศาสดา ซึ่งหยั่งรู้ถึงอารมณ์ของพระภิกษุที่เริ่มปฎิบัติใหม่ๆ เป็นอย่างดี จึงได้มอบอุบายให้พระภิกษุที่เริ่มปฎิบัติออกธุดงค์เพื่อหาความสงบวิเวกในป่า ในเขา ทั้งนี้ก็เพื่อให้อารมณ์ของจิตสงบ ระงับในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เสีย กล่าวคือตาที่เคยเห็นรถรุ่นใหม่รูปงาม หรือ อุบาสิกาที่อ่อนหวานน่ารัก ก็กลับเห็น ลิง ค่าง บ่าง ชะนี หรือ เสือ สิงห์ กระทิง แรด แทน ความอยากได้ใคร่มีในรูปก็จะหมดไป หูซึ่งเคยได้ยินแต่เสียงอันไพเราะ หรือเสียงหวานเสนาะโสตของสาวงาม ก็กลับได้ยิน เสียง ลิง ค่าง บ่าง ชะนี หรือ นก กา แทน ความอยากได้ใคร่ดีในเสียงก็จะสงบไป จมูกที่เคยได้กลิ่นหอกจากน้ำหอมลือชื่อ ก็จะได้กลิ่นไอดินแทนความอยากได้ใคร่ดีในกลิ่น ก็จะสงบระงับไป ลิ้นที่เคยได้ลิ้มรสอาหารรสเลิศที่ญาติโยมเคยเอามาถวาย กลับต้องลื้มรสเผือก มัน ผลไม้ป่าแทน ความอยากได้ใคร่ดีในรส ก็จะสงบระงับไป ส่วนกายที่เคยหนุนหมอนอ่อนหนุ่ม ห่มผ้าห่มยามหนาวหรืออาบน้ำฟอกสบู่อย่างสะดวกสบาย ก็จะได้สัมผัสกับขอนไม้ หญ้า ฟาง แทน ความอยากได้ใคร่ดีในสัมผัสก็จะสงบระงับไป และเมื่อความอยากได้ใคร่ดีในรูป เสียง รส กลิ่น เสียง สัมผัส หมดก็หมายถึงกามฉันทะหมด ความคิดที่จะจองล้างจองผลาญกับผู้ใดในป่าก็ย่อมไม่มี เป็นอันว่า พยาบาทไม่มี ความคิดฟุ้งซ่านไม่มี เพราะไม่มีอะไรทำให้คิดเหมือนอยู่วัด ความลังเลสงสัยคือวิจิกิจฉา ก็ย่อมไม่มี เพราะถ้ามีก็คงไม่ออกธุดงค์ และถ้าไม่มีความง่วงเหงาหาวนอนด้วยก็หมายควารมว่า นิวรณ์๕ ซึ่งเป็นเสี้ยหนามในการบำเพ็ญเพื่อข้าถึงปฐมฌานหมดไป การเข้าสู่ปฐมฌานก็ย่อมเป็นไปได้โดยง่าย และเมื่อปฐมฌานเกิด ได้ ฌาน ๒ ,๓ , ๔ ก็จะเกิดขึ้นมาได้ นั่นคือการเจริญสมถกรรมฐานเพื่อเข้าถึงฌาน ๔ ย่อมทำได้อย่างแน่นอน และเมื่อทรงฌานได้ เอากำลังของฌานมาพิจารณาวิปัสสนาญาณ ก็ย่อมเป็นไปได้โดยง่ายอีก ในที่สุดปัญญาก็จะเกิด และเมื่อปัญญาเกิด ก็นำปัญญานั้นแหละไปห้ำหั่นกิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม จนละสังโยชน์ ๑o ไปทีละข้อๆ ถ้าละได้ ๓ข้อ ก็เป็นโสดาบัน และสกิทาคามี ถ้าละได้ ๕ข้อ ก็เป็นอนาคามี ถ้าละได้ทั้ง๑o ข้อก็เป็นพระอรหันต์ บรรลุมรรคผลนืพพานได้เร็วกว่าที่จะเริ่มฝึกและนั่งเพียรปฎิบัติอยู่แต่ในวัดนะ การธุดงค์จึงเปรียบเสมือนเครื่องช่วย หรือ เครื่องผ่อรแรงที่ช่วยให้การบำเพ็ญเพียรไปสู่มรรคผลนิพพานของพระภิกษุที่เริ่มปฎิบัติใหม่ๆง่ายขึ้นเท่านั้นเองนะ

    หลวงพ่ออธิบายอย่ายืดยาว แต่แปลกเป็นที่สุดที่ข้าพเจ้าสามารถจดจำได้ทั้งหมดแม้จนกระทั่งทุกวันนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2011
  3. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    ข้าพเจ้า:ถ้าการออกธุดงค์ ได้ผลดีเช่นนี้ ทำไมพระภิกษุจึงไม่ธุดงค์ไปเรื่อยๆ เล่าครับ กลับเข้ามาอยู่ในวัดในเมืองอีกทำไมครับ? ข้าพเจ้าถามด้วยความสงสัย
    หลวงพ่อ:อ้าว! ถ้าท่านวำเร็จเป็นพระอริยเจ้าแล้ว ไม่กลับวัดท่านจะมีโอกาสได้แสดงธรรมสั่งสอนอุบาสก อุบาสิกา เพื่อสั่งสมบารมีต่อไปได้อย่างไรล่ะคุณ จะให้ท่านนั่งสั่งสอนลิง ค่าง บ่าง ชะนี ในป่าตลอดไปหรือ?

    หลวงพ่อตอบอย่างเห็นขัน และเมื่อเห็นข้าพเจ้าหัวเราะจึงพูดต่อไปว่า

    หลวงพ่อ:พระพุทธเจ้าเอง เมื่อท่านได้ทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็เข้าเมืองมาแสดงธรรมโปรดผู้คนมิใช่หรือ??
    ข้าพเจ้า:จริงครับ หลวงพ่อ
    หลวงพ่อ:อีกประการหนึ่ง การกลับเข้าวดในเมืองก็จะเป็นการทดสอบจิตไปในตัวด้วยนะว่า เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไปเจอกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันเย้ายวนในเมืองเข้าแล้วไปบอกจิต จิตมีปัญญาเพียงพอที่จะรู้เท่าทันกิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรมหรือไม่ ถ้ายังหวั่นไหวก็จะต้องออกธุดงค์ เข้าป่าไปฝึกกันใหม่นะ เพราะถือว่าจิตไม่แน่จริงเข้าใจหรือยังล่ะ

    หลวงพ่ออธิบายเพิ่มเติมแล้วถาม

    ข้าพเจ้า:เข้าใจแล้วครับ หลวงพ่อ

    ข้าพเจ้าตอบด้วยความปลาบปลื้มปิติ

    หวังว่าคำถามข้อนี้ของข้าพเจ้า จะทำให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงประโยชน์ ที่พระออกธุดงค์บ้างพอสมควรทีเดียวนะครับ:cool:
     
  4. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2011
  5. awatan

    awatan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +13
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1003"><tbody><tr><td align="left" valign="top"><table align="center" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"><tbody><tr><td><center> มิลินทปัญหา ตอนที่ ๓๓

    </center>
    ตอนที่ ๓๓
    ปัญหาที่ ๙ถามเกี่ยวกับธุดงค์
    พระ เจ้ามิลินท์ได้ทรงเห็นพวกภิกษุที่ถือธุดงค์อยู่ในป่ามีอยู่ ทั้งรู้ว่าคฤหัสถ์ผู้ได้สำเร็จอนาคามีผลมีอยู่ จึงทรงสงสัยว่า ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จธรรมได้ ธุดงค์ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เราจักถามถึงพระศาสนาอันละเอียดอันย่ำยีเสียซึ่งถ้อยคำของผู้อื่น อันเป็นของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้ เพื่อให้สิ้นสงสัยของเรา
    ครั้ง ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้รีบเสด็จไปหาพระนาคเสนด้วยความรีบร้อน เหมือนกับโคที่กระหายน้ำ และเหมือนกับคนที่หิวข้าวเหมือนกับคนเดินทางไปพบพวกเกียว หรือเหมือนกับคนเจ็บไข้ต้องการหมอ เหมือนกับคนไม่มีทรัพย์แสดงหาทรัพย์
    เหมือน กับผู้จะข้ามฟากต้องการเรือ เหมือนกับคนกำลังเกิดความรัก ต้องการความรัก หรือเหมือนกับคนเป่าปี่ ต้องการให้ปี่มีเสียงไพเราะ หรือเหมือนกับคนกลัวภัยแสวงหาที่พึ่ง หรือเหมือนกับพระภิกษุผู้ต้องการความดับกิเลสฉะนั้น
    ครั้ง เสด็จเข้าไปถึงแล้ว จึงทรงนึกถึงคุณอันประเสริฐ ๑๐ ประการ ว่าถ้าเราถามแล้ว ท่านแก้ให้เราฟัง เราก็จักหมดสงสัย ๑ ใจของเราจักบริสุทธิ์ ๑ เราจักไม่มีวิตกที่ชั่ว ๑ จักถึงซึ่งกระแสธรรม ๑
    จัก ได้ปัญญาจักษุ ๑ จะได้ชื่อว่าอาจารย์อนุเคราะห์ ๑ จักเป็นผู้ไม่มีเครื่องกีดขวางกุศลธรรมทั้งปวง ๑ จะได้ประกอบด้วยโลกุตตรธรรม ๑ จักไม่สะดุ้งกลัวต่อภพทั้งปวง ๑ เวลาเข้าสู่ที่ประชุมจะอาจแทงตลอดเหตุผลทั้งปวง ๑
    ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสถามขึ้นว่า
    “ ข้าแต่พระนาคเสน คฤหัสถ์ได้สำเร็จนิพพานมีอยู่หรือ? ”
    “ มีอยู่ มหาบพิตร มีอยู่มากทีเดียว นับเป็นจำนวนร้อยหมื่นแสนล้านโกฏิไม่ได้”
    “ ขอพระผู้เป็นเจ้า จงแสดงให้โยมแจ่มแจ้งด้วยเถิด ”
    “ ขอ ถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นอาตมภาพจักแสดงถวาย คือพระธรรมในพระพุทธศาสนาอันประกอบด้วยองค์ ๙ ย่อมรวมลงใน ธุดงค์ ทั้งนั้น เหมือนกับน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งสิ้น ย่อมไหลไปรวมมหาสมุทรฉันนั้น อาตมภาพจักจำแนกเนื้อความข้อนี้ให้แจ่มแจ้ง เหมือนอาจารย์เลขผู้ฉลาดสอนเลขให้แก่ลูกศิษย์ฉะนั้นคฤหัสถ์ผู้ได้มรรคผลใน สมัยพุทธกาล
    ขอถวายพระพร ที่กรุงสาวัตถีมีอริยสาวก ๕ โกฏิ มีอุบาสกอุบาสิกาตั้งอยู่ในอนาคามีผลถึง ๓๕๗,๐๐๐คน พวกนั้นล้วนแต่เป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นบรรพชิตเลย
    ยังมีอีกคือคราวที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ก็มีพวกคฤหัสถ์บรรลุมรรคผลถึง ๒๐ โกฏิ
    คราว ทรงแสดงราหุโลวาทสูตร มหามงคลสูตร สมจิตตปริยายสูตร ปราภวสูตร จูฬสุภัททสูตร กลหวิวาทสูตร จูฬพยูหสูตร มหาพยูหสูตร ตุวัฏฏกสูตร สารีปุตตสูตร มีเทวดาบรรลุมรรคผลนับไม่ถ้วน
    ในกรุงราชคฤห์มีอริยสาวก ซึ่งล้วนแต่เป็นอุบาสกอุบาสิกา ๓๕๐,๐๐๐ คน ยังมีอีกคือในคราวทรงทรมานช้างธนบาล มีผู้ได้บรรลุมรรคผลอีก ๙๐ โกฏิ คราวทรงแก้ปัญหาแห่งมาณพ ๑๖ คน ( ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี) ที่ปาสาณกเจดีย์มีผู้บรรลุมรรคผลอีก ๑๔ โกฏิ
    คราว ทรงแสดงสักกปัญหาสูตร ที่ถ้ำอินทสาลคูหา มีเทวดาบรรลุมรรคผลถึง ๘๐ โกฏิ คราวทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตรที่ป่าอิสิปตนมิคทายวันครั้งแรก มีพรหม ๑๘ โกฏิ กับเทวดาประมาณมิได้บรรลุมรรคผล
    ใน คราวทรงแสดงพระอภิธรรม ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์สวรรค์ มีเทวดาบรรลุมรรคผล ๘๐ โกฏิ ในคราวเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ก็มีผู้บรรลุมรรคผล ๓๐ โกฏิ
    ใน คราวทรงแสดงพุทธวงศ์ที่นิโครธารามกรุงบิลพัสดุ์ และในคราวทรงแสดงมหาสมัยสูตร ก็มีเทวดาได้บรรลุมรรคผลนับไม่ได้ ในคราวนายสุมนมาลาการบูชาด้วยดอกมะลิ อันเรียกว่าในสมาคนแห่งสุมนมาลาการ และในสมาคมคราวทรงแสดงเรื่องอานันทเศรษฐีในสมาคมคราวโปรดชัมพุกาชีวา
    ใน สมาคมคราวมัณฑุกเทพบุตรลงมาเฝ้า ในสมาคมคราวมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรลงมาเฝ้าคราวสมาคมนางสุรสานครโสเภณี และนางสิริมานครโสเภณี ธิดาช่างทอผูก ( เปสการี ) นางจูฬสุภัททา สาเกตพราหมณ์ อาฬาหณทัสสนะ สุนาปรัตปะ สักกปัญหา ติโลกุฑฑสูตร มีผู้บรรลุมรรคผลถึง ๘๔,๐๐๐คน
    พระ พุทธเจ้าประทับอยู่ในโลก อันมีใน ๑๖ ชนบทนั้น หรือไม่ว่าประทับอยู่ในที่ใด ๆ โดยมากมีเทพยดามนุษย์ สำเร็จนิพพานในที่นั้น ๆ คราวละ ๒ - ๓ ตลอดถึงคราวละแสนเทพยดามนุษย์เหล่านั้น เป็นพวกคฤหัสถ์ทั้งนั้นขอถวายพระพร
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งว่า
    “ ข้า แต่พระนาคเสน ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จนิพพานได้ ธุดงคคุณ ๑๓ ก็ไม่มีประโยชน์อะร ถ้าหากว่าความเจ็บไข้หายไปได้ด้วยการร่ายมนต์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับยาถ่ายและคนผู้มีความรู้ ถ้าปราบศัตรูได้ด้วยกำปั้น ดาบ หอก แหลน หลาว เกาทัณฑ์ ธนู หน้าไม้ ค้อนเหล็ก ไม้ค้อน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
    ถ้า ขึ้นต้นไม้ได้ด้วยการผูกไม้หรือกิ่งไม้ที่เป็นข้อเป็นปมคด ๆ งอ ๆ เป็นโพรงได้ ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการที่แสวงหาบันไดยาว ๆ ถ้าธาตุจะเสมอดีได้ด้วยการนอนตามพื้นดินก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาที่นอน ที่สุขสบายดี ถ้าสามารถเดินผ่านพ้นทางที่มีอันตรายลำพังผู้เดียวได้ ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาพรรคพวกที่มีศาตราวุธ
    ถ้า สามารถข้ามแม่น้ำไปได้ด้วยแขนของตน ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาสะพานหรือเรือ ถ้าการกินอยู่ของตนมีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นอะไรที่จะต้องเที่ยวขอผู้อื่น ถ้าได้น้ำในที่ไม่มีห้วงน้ำแล้ว ก็ไม่จำเป็นอะไรที่จะขุดบ่อน้ำ หนองน้ำ สระน้ำ ข้อความเหล่านี้ฉันใด
    ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จนิพพานได้ ก้ไม่จำเป็นอะไรที่ต้องถือธุดงคคุณ”คุณแห่งธุดงค์ ๒๘ ประการ
    “ ขอถวายพระพร ธุดงค์ประกอบด้วยคุณเหล่าใด ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการคุณแห่งธุดงค์เหล่านั้น มีอยู่ ๒๘ ประการคือ
    ๑. การหาเลี้ยงชีพบริสุทธิ์
    ๒. มีผลเป็นสุข
    ๓. เป็นของไม่มีโทษ
    ๔. บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย
    ๕. เป็นของไม่มีภัย
    ๖. เป็นของไม่เบียดเบียน
    ๗. มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม
    ๙. ไม่ขุ่นมัว
    ๑๐. เป็นเครื่องป้องกัน
    ๑๑. ให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา
    ๑๒. กำจัดเสียซึ่งอาวุธทั้งปวง
    ๑๓. มีประโยชน์ในทางสำรวม
    ๑๔. สมควรแก่สมณะ
    ๑๕. สงบนิ่ง
    ๑๗. เป็นเหตุให้สิ้นราคะ
    ๑๙. ทำโมหะให้พินาศ
    ๒๐. กำจัดเสียซึ่งมานะ
    ๒๑. เป็นเหตุตัดเสียซึ่งวิตกชั่ว
    ๒๒. ทำให้ข้ามสงสัยเสียได้
    ๒๓. กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
    ๒๔. กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม
    ๒๕. เป็นเหตุให้อดทน
    ๒๖. เป็นของชั่งไม่ได้
    ๒๗. เป็นของหาประมาณมิได้
    ๒๘. ทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวงองค์ ๑๘ ของผู้สมาทานธุดงค์
    ขอถวายพระพร บุคคลเหล่าใดสมาทานถือมั่นธุดงคคุณ บุคคลเหล่านั้นย่อมประกอบด้วยองค์ ๑๘ คือ
    ๑. มีมรรยาทบริสุทธิ์
    ๒. มีปฏิปทาบริบูรณ์ดี
    ๓. รักษากาย วาจา ดี
    ๔. มีใจบริสุทธิ์ดี
    ๕. ประคองความเพียรดี
    ๖. ระงับความกลัว
    ๗. ปราศจากความยึดถือในตัวตน
    ๘. ระงับความอาฆาต
    ๙. มีจิตเมตตา
    ๑๐. รอบรู้อาหาร
    ๑๑. เป็นที่เคารพแห่งสัตว์ทั้งปวง
    ๑๒. เป็นผู้รู้จักพอดีในโภชนะ
    ๑๓. เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร
    ๑๔. ไม่ห่วงที่อยู่
    ๑๕. อยู่ที่ไหนสบายก็อยู่ที่นั่น
    ๑๖. เกลียดชังความชั่ว
    ๑๗. ยินดีในวิเวก
    ๑๘. ไม่ประมาทเนือง ๆผู้ควรแก่ธุดงคคุณ ๑๐
    ขอถวายพระพร บุคคลผู้ที่ควรแก่ธุดงคคุณ มีอยู่ ๑๐ คือ
    ๑. ผู้มีศรัทธา
    ๒. ผู้มีหิริ ( ละอายชั่ว )
    ๓. ผู้มีความอดทน
    ๔. ผู้ไม่คดโกง
    ๕. ผู้อยู่ในอำนาจเหตุผล
    ๖. ผู้ไม่ละโมภ
    ๗. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา
    ๘. ผู้มีใจมั่นคง
    ๙. ผู้ไม่ชอบยกโทษผู้อื่น
    ๑๐. ผู้อยู่ด้วยเมตตา
    ขอ ถวายพระพร พวกคฤหัสถ์ที่กระทำให้แจ้งนิพพานทั้งสิ้น ล้วนได้กระทำให้ธุดงคคุณ ๑๓ ไว้ในชาติก่อน ๆ แล้วทั้งนั้น มาในชาตินี้ได้กระทำความประพฤติ และการปฏิบัติให้บริสุทธิ์ซึ่งอีก จึงจะสำเร็จนิพพานได้อุปมาธุดงคคุณ
    เปรียบ เหมือนพวกนายขมังธนูผู้ฉลาดได้ฝึกหัดวิชาธนูไว้ก่อนแล้ว ครั้งเข้าไปสู่พระราชฐาน ก็ยิงถวายพระมหากษัตริย์ได้แม่นยำ แล้วได้รับพระราชทานรางวัลเป็นอันมาก ฉะนั้นผู้ไม่ได้กระทำในธุดงค์ไว้เมื่อชาติก่อน ย่อมไม่สำเร็จอรหันต์ในชาตินี้ จะสำเร็จก็เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น
    อีก ประการหนึ่ง ผู้ได้กระทำธุดงค์ ๑๓ ไว้ในชาติก่อนมาชำนาญแล้ว มาชาตินี้ได้อบรมความประพฤติและข้อปฏิบัติซ้ำอีก ก็กระทำให้แจ้งนิพพานได้ เหมือนกับแพทย์ที่เรียนจนชำนิชำนาญในสำนักอาจารย์มาแล้ว ก็รักษาโรคได้ดีฉะนั้น
    การ สำเร็จธรรมย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่บริสุทธิ์ในธุดงคคุณ เหมือนกับการไม่งอกขึ้นแห่งพืชด้วยไม่ถูกรดน้ำฉะนั้น หรือเหมือนกับการไปสู่สุคติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำกุศลไว้ฉะนั้น
    ขอ ถวายพระพร ธุดงคคุณเปรียบเหมือนปฐพี เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผู่มุ่งความบริสุทธิ์และเปรียบเหมือนน้ำ เพราะเป็นเครื่องชำระกิเลสมลทิน เปรียบเหมือนไฟ เพราะเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งปวง เปรียบเหมือนลม เพราะเป็นเครื่องพัดเอามลทินคือกิเลสไป เปรียบเหมือนยาแก้พิษงู เพราะเป็นเครื่องแก้ความเจ็บไข้คือกิเลส
    เปรียบ เหมือนดังน้ำอมฤต เพราะทำลายกิเลสทั้งปวง เปรียบเหมือนนา เพราะเป็นที่งอกขึ้นแห่งคุณของสมณะทั้งปวง เปรียบเหมือนแก้วมโนหรจินดา เพราะให้สำเร็จสมบัติตามความปรารถนา เปรียบเหมือนเรือ เพราะให้ข้ามฟากคือสงสารได้ เปรียบเหมือนเครื่องป้องกันภัย เพราะทำให้เกิดความเบาใจแก่ผู้กลัวชรามรณะ
    เปรียบ เหมือนมารดา เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์ ซึ่งผู้กำจัดกิเลสแห่งทุกข์ เปรียบเหมือนบิดา เพราะทำให้เกิดผลแห่งความเป็นสมณะ เปรียบเหมือนมิตร เพราะไม่ทำให้ผิดพลาด จากการแสวงหาคุณธรรม เปรียบเหมือนดอกปทุม เพราะไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลสเปรียบเหมือนของหอม ๔ อย่าง เพราะกำจัดกลิ่นเหม็นคือกิเลส
    เปรียบ เหมือนพระยาเขาสิเนรุราช เพราะไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ เปรียบเหมือนอากาศ เพราะปราศจากการยึดถือในสิ่งทั้งปวงเปรียบเหมือนแม่น้ำ เพราะเป็นที่ล้างเครื่องเศร้าหมองคือกิเลส เปรียบเหมือนผู้นำทางเพราะช่วยให้ข้ามพ้นหนทางที่กันดาร คือหลงผิดไปกับการเกิด เปรียบเหมือนหมู่เกวียนเพราะส่งให้ถึงพระนครคือนิพพาน อันประเสริฐอันไม่มีภัย ไม่มีกิเลสและกองทุกข์เปรียบเหมือนกระจกที่บริสุทธิ์สะอาดเพราะทำให้เห็น ความจริงแห่งสังขารทั้งหลายเปรียบเหมือนโล่ห์ เพราะเป็นเครื่องกั้งซึ่งไม้ค้อน ลูกศร อาวุธ คือกิเลศ เปรียบเหมือนดวงจันทร์เพราะทำให้เกิดความเย็นใจ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ เพราะกำจัดความมืดทั้งปวง
    ขอ ถวายพระพร ธุดงคคุณย่อมมีคุณมากเป็นของทำความเกื้อกูล ทำความสบาย ทำความรัก ทำความไม่มีโทษ ทำให้ไปจากบาป เป็นที่ตั้งนำมาซึ่งยศ นำมาซึ่งสุข มีสุขเป็นผล มีคุณมากมายก่ายกอง มีพระคุณหาประมาณมิได้เป็นของประเสริฐในที่ทั้งปวง
    เป็น เครื่องกำจัดภัย กำจัดโศก กำจัดทุกข์ กำจัดความกระวนกระวาย กำจัดความเร่าร้อน กำจัดความไม่ยินดีทางธรรม กำจัดภพ กำจัดตะปู กำจัดราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ กำจัดอกุศลทั้งปวง
    ขอ ถวายพระพร มนุษย์ทั้งหลายย่อมบริโภคอาหาร เพราะเป็นเครื่องค้ำชูชีวิตย่อมบริโภคยาใช้ยา เพราะเป็นของเกื้อกูลย่อมคบมิตร เพราะเห็นแก่อุปการคุณ ย่อมหารือ เพราะมุ่งจะข้าฟาก ย่อมหาดอกไม้ของหอบด้วยต้องการกลิ่นหอม ย่อมหาเครื่องป้องกันภัยด้วยไม่อยากมีภัย ย่อมหาแผ่นดินด้วยเห็นว่าเป็นที่อาศัย
    ย่อมหา อาจารย์เพราะอยากได้ความรู้ ย่อมหาพระราชาเพราะอยางได้ยศ ย่อมหาแก้วมณี เพราะอยากได้สำเร็จความปรารถนาทั้งปวงฉันใด พระอริยะทั้งหลายก็เป็นประพฤติธุดงคคุณ ด้วยเห็นว่าเป็นเครื่องให้สำเร็จคุณแห่งสมณะทั้งปวงฉันนั้น
    ขอ ถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง น้ำเป็นของทำให้พืชงอกงาม ไฟเป็นของเผา อาหารเป็นของทำให้เกิดกำลัง เครื่องไม้สำหรับผูกมัดอาวุธสำหรับผ่าตัด น้ำดื่มสำหรับกำจัดความกระหายน้ำ ขุมทรัพย์ทำให้เกิดความยินดี เรือสำหรับข้ามฟาก ยาสำหรับแก้โรค
    ยาน พาหนะสำหรับไปมาให้สบาย เครื่องป้องกันสำหรับกำจัดภัย พระราชาสำหรับปกครอง โล่ห์สำหรับป้องกันไม้ค้อน ก้อนดิน ก้อนเหล็ก ลูกศร อาวุธ อาจารย์สำหรับสั่งสอน มารดาสำหรับเลี้ยง กระจกสำหรับส่องเครื่องแต่งกายให้สวยงาม ผ้าสำหรับปกปิด
    บันได สำหรับให้ขึ้นลง คันชั่งสำรหับชั่งมนต์สำหรับร่าย อาวุธสำหรับป้องกันตัว ประทีปสำหรับกำจัดความมืด ลมสำหรับดับความร้อน ศิลปะสำหรับเลี้ยงชีวิต ยาแก้พิษสำหรับประดับ บ่อสำหรับทำให้เกิดแก้ว แก้วสำหรับประดับ อาญาสำหรับไม่ให้ล่วงละเมิด ความเป็นใหญ่สำหรับให้มีอำนาจฉันใด ธุดงคคุณก็ฉันนั้น
    คือ ธุดงคคุณสำหรับเป็นที่งอกแห่งพืชคือคุณแห่งความเป็นสมณะ สำหรับเผามลทินคือกิเลส ทำให้เกิดกำลังฤทธิ์เป็นเครื่องผูกสติไว้ เป็นเครื่องกำจัดลูกศรคือความสงสัย เป็นเครื่องกำจัดความหิวกระหายคือตัณหา เป็นเครื่องทำให้เบาใจในการสำเร็จธรรม เป็นเครื่องข้ามห้วงกิเลสทั้ง ๔
    เป็น เครื่องดับโรคคือกิเลส เป็นเครื่องทำให้ไปสู่ที่มีความสุขคือนิพพาน เป็นเครื่องดับทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องรักษาสมณคุณ เป็นเครื่องกำจัดวิตกชั่วร้าย เป็นเครื่องสอนให้ได้สมณคุณ เป็นเครื่องเลี้ยงสมณคุณ เป็นเครื่องทำให้เป็นสมถะวิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน เป็นที่สรรเสริญแห่งโลกทั้งสิ้น
    เป็น เครื่องทำให้เกิดคุณอันใหญ่อันงาม เป็นเครื่องเปิดเผยอุบายทั้งปวง เป็นที่ขึ้นไปสู่ยอดเขาคือสมณคุณ เป็นเครื่องชั่งซึ่งความเป็นไปแห่งจิตไม่ให้คดโกง เป็นเครื่องสาธยายธรรมที่ควรเกี่ยวข้องและไม่ควรเกี่ยวข้อง เป็นเครื่องปราบศัตรูคือกิเลส เป็นเครื่องกำจัดความมืดคืออวิชชา
    เป็น เครื่องดับความเร่าร้อนคือไฟ ๓ กอง เป็นเครื่องให้สำเร็จสมบัติอันสงบละเอียด เป็นเครื่องให้เกิดการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นเครื่องรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมทั้งปวง เป็นที่เกิดแห่งแก้วอันประเสริฐคืออภิญญา ๖ เป็นเครื่องประกอบทำให้เกิดสันติสุขอย่างยิ่ง ทำให้ไม่ล่วงอริยธรรมไปได้
    เป็น อันว่า ธุดงคคุณอย่างหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้ได้คุณเหล่านี้ ธุดงคคุณเป็นของมีคุณชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนเป็นของประเสริฐสุด
    ขอ ถวายพระพร บุคคลผู้มักมาก ผู้ลวงโลก ผู้ละโมภ ผู้เห็นแก่ท้อง ผู้มุ่งลาภยศสรรเสริญ ผู้ไม่ประกอบในทางธรรม ย่อมไม่สมควรสมาทานธุดงค์ เพราะจะทำให้ได้รับโทษทวีคูณ ทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป
    คือ ในชาตินี้ก็จะได้รับแต่ความติเตียน ส่วนในชาติหน้าก็จักไปจมอยู่ในอเวจีนรก พ้นจากอเวจีนรกมาแล้ว จะมาเกิดเป็นเปรตอีกเหมือนกับผู้ทำผิดต่อพระราชา ย่อมได้รับพระราชอาชญา มีตัดมือตัดเท้าเป็นต้นฉะนั้น
    ส่วน ผู้ที่มักน้อยสันโดษ ชอบสงัดมีความเพียรแรงกล้า ไม่มีความโอ้อวดมารยา ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่มุ่งลาภยศ สรรเสริญ เป็นผู้บวชด้วยศรัทธา ปรารถนาจะพ้นจากชรามรณะ จึงควรสมาทานธุดงค์
    เมื่อ สมาทานธุดงค์แล้ว ย่อมได้รับผลทวีคูณ ย่อมเป็นที่รักใคร่พอใจของเทพยดา มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อมั่นอยู่ในธุดงค์แล้วคุณธรรมทั้งหลายก็เจริญขึ้น แล้วก็ได้สำเร็จโลกุตตรผลนานาประการ เหมือนกับผู้เป็นข้าเฝ้าของพระมหากษัตริย์ ทำให้เป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์แล้ว ย่อมได้รับพระราชทานสิ่งของต่าง ๆ ฉะนั้น
    ขอ ถวายพระพร ผู้ที่กระทำให้บริสุทธิ์ในธุดงคคุณ ๑๓ แล้ว ย่อมได้สำเร็จคุณวิเศษต่าง ๆ เป็นต้นว่า รูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ และอภิญญา ๖ อันว่าธุดงคคุณ ๑๓ นั้นได้แก่อะไร...ธุดงค์ ๑๓ ข้อ
    ๑. ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒. ถือทรงเพียรไตรจีวรเป็นวัตร
    ๓. ถือเที่ยวบิณฑาตเป็นวัตร
    ๔. ถือเที่ยวบิณฑาตไปตามแถวเป็นวัตร
    ๕. ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
    ๖. ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
    ๗. ถือห้ามภัตอันนำมาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร
    ๘. ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
    ๙. ถืออยู่โครไม้เป็นวัตร
    ๑๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
    ๑๑. ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    ๑๒. ถืออยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร
    ๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร
    ผู้ ที่ทำให้บริบูรณ์ในธุดงคคุณ ๑๓ นั้นแล้ว ย่อมได้สามัญคุณทั้งปวง เปรียบเหมือนพ่อค้าเรือผู้มีทรัพย์ ไปค้าขายได้กำไรงามฉะนั้นหรือเปรียบเหมือนชาวนาทำนาได้ข้าวมากเปรียบเหมือน กษัตริย์ ได้เป็นใหญ่ในปฐพีฉะนั้น
    ขอถวายพระพร พระอุปเสนเถระ ผู้เป็นบุตรแห่งวังคันตพราหมณ์ ได้ทำให้บริบูรณ์ในธุดงคคุณ ได้รับสรรเสริญจากพระพุทธองค์ในที่ประชุมชน
    ขอ ถวายพระพร ดอกปทุมอันเป็นที่ต้องการของคนทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ คือเป็นของอ่อนนุ่ม ๑ สวยงาม ๑ มีกลิ่นหอม ๑ น่ารัก ๑ น่าต้องการ ๑ น่าสรรเสริญ ๑ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและตม ๑ ประดับไปด้วยใบอ่อนเกษรและกลีบ ๑ เป็นที่ประชุมแห่งแมลงผึ้งแมลงภู่ ๑ เจริญอยู่ในน้ำอันเย็น๑
    ข้อ นี้มีอุปมาฉันใด ธุดงคคุณก็ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการฉันนั้น คือ อ่อนสนิท ๑ สวยงาม ๑ มีกลิ่นหอม ๑ น่ารัก ๑ น่าต้องการ ๑ น่าสรรเสริญ ๑ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนเลน ๑ ประดับด้วยใบเกษรและก้าน ๑ เป็นที่เกาะเกี่ยวแห่งหมู่แมลงผึ้ง ๑ เกิดขึ้นในน้ำอันเย็น ๑คุณอันประเสริฐ ๓๐ ของผู้บำเพ็ญธุดงค์
    ขอ ถวายพระพร อริยสาวกย่อมประกอบด้วยคุณอันประเสริฐ ๓๐ ด้วยธุดงค์ ๑๓ อันตนได้บำเพ็ญแล้วในชาติก่อน คุณอันประเสริฐ ๓๐ นั้น ได้แก่อะไร...ได้แก่
    ๑. มีจิตเมตตา อ่อนโยน เยือกเย็น
    ๒. ฆ่ากิเลส กำจัดกเลส
    ๓. ฆ่ามานะทิฏฐิ กำจัดมานะทิฏฐิ
    ๔. มีศรัทธาตั้งมั่น
    ๕. ได้ความร่าเริงดีใจง่าย
    ๖. ได้สมาบัติอันเป็นสุขอย่างสงบแน่นอน
    ๗. อบรมด้วยกลิ่นหอมคือศีล
    ๘. เป็นที่รักของเทวดามนุษย์ทั้งหลาย
    ๙. ได้กำลังแห่งพระขีณาสพ
    ๑๐. เป็นที่ปรารถนาของพระอริยบุคคล
    ๑๑. เป็นที่สรรเสริญและเป็นที่เชยชม แห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย
    ๑๒. เป็นที่กราบไหว้บูชาของพวกอสูร
    ๑๓. เป็นที่สรรเสริญของมารทั้งหลาย
    ๑๔. เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในโลก
    ๑๕. เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
    ๑๖. เป็นผู้สำเร็จประโยชน์อันประเสริฐ คือมรรคผล
    ๑๗. เป็นผู้มีส่วนแห่งปัจจัยอันไพบูลย์ประณีต
    ๑๘. เป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่อยู่ที่นอน
    ๑๙. เป็นผู้อยู่ด้วยฌานอันประเสริฐ
    ๒๐. เป็นผู้ตัดวัตถุแห่งกิเลสให้ขาดสูญ
    ๒๑. มั่นอยู่ในธรรมอันไม่รู้จักกำเริบ
    ๒๒. มีการบริโภคสิ่งไม่มีโทษ
    ๒๓. เป็นผู้หลุดพ้นจากคติ คือภพที่จะถือกำเนิดอีก
    ๒๔. เป็นผู้ข้ามความสงสัยทั้งปวงได้
    ๒๕. เป็นผู้เพ่งต่อวิมุตติ คือความหลุดพ้น
    ๒๖. เป็นผู้เข้าถึงซึ่งเครื่องป้องกันภัย อันไม่หวั่นไหว
    ๒๗. เป็นผู้ตัดอนุสัย คือกิเลสละเอียดเสียได้
    ๒๘. เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะทั้งปวง
    ๒๙. เป็นผู้ได้ซึ่งสุขสมาบัติอันสงบ
    ๓๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสมณคุณ คือคุณแห่งสมณะขอถวายพระพร พระสารีบุตรเถระ ผู้ลำเลิศในหมื่นโลกธาตุ ยกองค์สมเด็จพระบรมโบกนาถเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอเหมือนก็เพราะได้อบรมในธุดงคคุณ ๑๓ มาตลอดอสงไขย หาประมาณมิได้ ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า
    “ เป็นผู้ใช้พระธรรมจักรอันเยี่ยม ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธองค์ได้”
    จึงเป็นอันว่า ธุดงคคุณ ให้ซึ่งคุณหาที่สุดมิได้อย่างนี้แล ขอถวายพระพร
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า
    “ ข้า แต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พระพุทธวจนะทั้งสิ้น ที่ได้สำเร็จคุณวิเศษทั้งหลายย่อมรวมลงใน ธุดงคคุณ ๑๓ ทั้งนั้น ข้อนี้เป็นอันโยมเข้าใจดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”อธิบาย
    พระ อุปเสนเถระ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติขัดเกลาด้วยธุดงคคุณ ท่านได้เดินทางไปกรุงสาวัตถี มิได้เอื้อเฟื้ออาลัยในข้อกติกา ของพระสงฆ์ทั้งหลาย พาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของตนเข้าไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาค ในเวลาเสด็จเข้าที่เร้นอันสงัด ถวายนมัสการโดยเคารพแล้ว ก็นั่งอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ส่วน ว่าองค์สมเด็จพระบรมศาสดาทอดพระเนตรดูผู้เป็นศิษย์ของพระอุปเสนนั้นมีกิริยา พาทีเป็นแบบเดียวพิมพ์เดียวกัน ก็มีพระหฤทัยหรรษา จึงตรัสสนทนาปราศรัยด้วยกับศิษย์ของพระอุปเสนนั้น
    แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
    “ ดูก่อนอุปเสนะ ศิษย์ของเธอเหล่านี้ดูจริยามารยาทเป็นพิมพ์เดียวกัน ศิษย์ของเธอนั้น สั่งสอนกันด้วยอุบายประการใด ? ”
    พระอุปเสนจึงทูลว่า
    “ ข้า แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเข้ามาสู่สำนักของข้าพระองค์แล้ว ขอบรรพชาก็ดี ขอนิสสัยก็ดี ข้าพระองค์จึงว่ารูปนี้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ถ้า แม้ท่านถือได้อย่างนี้ จึงจะบวชให้และจะให้นิสสัย ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่บวชให้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ศิษย์ของข้าพระองค์ จึงพร้อมกันปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า” ดังนี้จบวรรคที่ ๙จบเมณฑกปัญหา********************อุปมาปัญหาว่าด้วยอุปมาต่าง ๆ
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงสำเร็จพระอรหันต์ได้? ”
    “ ขอ ถวายพระพร ภิกษุผู้มุ่งจะสำเร็จพระอรหันต์ ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งลา องค์ ๕ แห่งไก่ องค์ ๑๐ แห่งกระแต องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง องค์ ๕ แห่งเต่า องค์ ๑ แห่งไม่ไผ่ องค์ ๒ แห่งกา องค์ ๒ แห่งวานร ( นี้เป็น วรรคที่ ๑ )
    ( วรรค ที่ ๒ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งเครือน้ำเต้า องค์ ๓ แห่งดอกปทุม องค์ ๒ แห่งพัด องค์ ๑ แห่งไม้ขานาง องค์ ๓ แห่งเรือ องค์ ๒ แห่งเครื่องขัดข้องเรือ องค์ ๑ แห่งเสากระโดง องค์ ๓ แห่งนายท้ายเรือ องค์ ๑ แห่งกรรมกร องค์ ๕ แห่งทะเล
    ( วรรค ที่ ๓ ) ควรถือเอาองค์ ๕ แห่งปฐพี องค์ ๕ แห่งแม่น้ำ องค์ ๕ แห่งไฟ องค์ ๕ แห่งพายุ องค์ ๕ แห่งบรรพต องค์ ๕ แห่งอากาศ องค์ ๕ แห่งพระจันทร์ องค์ ๕ แห่งพระอาทิตย์ องค์ ๓ แห่งท้าวสักกะ องค์ ๕ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
    ( วรรค ที่ ๔ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งปลวก องค์ ๒ แห่งแมว องค์ ๑ แห่งหนู องค์ ๑ แห่งแมงป่อง องค์ ๑ แห่งพังพอน องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก องค์ ๓ แห่งเนื้อในป่า องค์ ๔ แห่งโค องค์ ๒ แห่งหมู องค์ ๕ แห่งช้าง
    ( วรรค ที่ ๕ ) ควรถือเอาองค์ ๗ แห่งราชสีห์ องค์ ๓ แห่งนกจากพราก องค์ ๒ แห่งนกเงือก องค์ ๑ แห่งนกกระจอก องค์ ๒ แห่งนกเค้า องค์ ๒ แห่งตะขาบ องค์ ๒ แห่งค้างคาว องค์ ๑ แห่งปลิง องค์ ๓ แห่งงู องค์ ๑ แห่งงูเหลือม
    ( วรรค ที่ ๖ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งแมงมุม องค์ ๑ แห่งเด็กออ่น องค์ ๑ แห่งเต่าเหลือง องค์ ๕ แห่งป่า องค์ ๓ แห่งต้นไม้ องค์ ๕ แห่งเมฆ องค์ ๓ แห่งแก้วมณี องค์ ๔ แห่งนายพราน องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ด องค์ ๒ แห่งช่างไม้
    ( วรรค ที่ ๗ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งช่างหม้อ องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำ องค์ ๓ แห่งฉัตร องค์ ๓ แห่งนา องค์ ๒ แห่งยาดับพิษงู องค์ ๓ แห่งโภชนะ องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู องค์ ๔ แห่งพระราชา องค์ ๒ แห่งนายประตู องค์ ๑ แห่งหินบด
    ( วรรค ที่ ๘ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งประทีป องค์ ๒ แห่งนกยูง องค์ ๒ แห่งโคอุสุภราช องค์ ๒ แห่งม้า องค์ ๒ แห่งบ่อน้ำ องค์ ๒ แห่งเขื่อน องค์ ๒ แห่งคันชั่ง องค์ ๒ แห่งพระขรรค์ องค์ ๒ แห่งชาวประมง องค์ ๑ แห่งกู้หนี้
    ( วรรค ที่ ๙ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งคนเจ็บป่วย องค์ ๒ แห่งหนทาง องค์ ๒ แห่งแม่น้ำ องค์ ๑ แห่งมหรสพ องค์ ๓ แห่งบาตร องค์ ๑ แห่งของเสวย องค์ ๓ แห่งโจร องค์ ๑ แห่งเหยี่ยวนกเขา องค์ ๑ แห่งสุนัข องค์ ๓ แห่งคนรักษาโรค องค์ ๒ แห่งหญิงมีครรภ์
    ( วรรค ที่ ๑๐ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งนกจามรี องค์ ๒ แห่งนกกระต้อยตีวิด องค์ ๒ แห่งนกพิราบ องค์ ๒ แหงนกตาข้างเดียว องค์ ๓ แห่งคนไถนา องค์ ๑ แห่งสุนัขจิ้งจอกชัมพุกะ องค์ ๒ แห่งผ้ากรองด่าง องค์ ๑ แห่งทัพพี องค์ ๓ แห่งคนใช้หนี้แล้ว องค์ ๑ แห่งอวิจีนิกะ
    ( วรรค ที่ ๑๑ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งนายสารถี องค์ ๑ แห่งช่างหูก องค์ ๑ แห่งมัตถยิกะ องค์ ๒ แห่งโภชนกะ องค์ ๑ แห่งช่างชุน องค์ ๑ แห่งนายเรือ องค์ ๒ แห่งแมลงภู่ ”
    โฆรสวรรคที่ ๑
    อุปมาองค์ ๑ แห่งลา
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์ ๑ แห่งลานั้น หมายความว่า องค์หนึ่งแห่งลานั้นได้แก่อะไร ? ”
    “ ขอ ถวาบพระพร ธรรมดาว่า ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี ๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่เลือกที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วยหญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้ หรือแผ่นดินแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วก็นอนฉันนั้น
    ข้อนี้สมกับที่มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า
    “ ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทำกายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ”
    ส่วน พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า
    “ การนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งขัดสมาธิก็พออยู่สบาย สำหรับภิกษุผู้มุ่งต่อพระนิพพาน ” ดังนี้ขอถวายพระพร”อุปมาองค์ ๕ แห่งไก่
    “ ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไก่นั้นได้แก่อะไร? ”
    “ ขอ ถวายพระพร ธรรมดา ไก่ ย่อมอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันใด พระโยคาวจรก็กวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ อาบน้ำชำระกาย ไหว้พระเจดีย์แต่ในเวลายังวัน แล้วไปหาอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งไก่
    ธรรมดา ไก่ย่อมตื่นแต่เช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ตื่นแต่เช้าฉันนั้น แล้วลงไปปัดกวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ชำระร่างกายดีแล้ว ก็กราบไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงเข้าไปสู่ที่สงัดอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไก่
    ธรรมดา ไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยพื้นดินหากินอาหารฉันใด พระโยคาวจรก็พิจารณาแล้วจึงฉันอาหารไม่ฉันเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมาความสวยงามแห่งร่างกาย ฉันเพียงให้กายนี้อยู่ได้ เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไปและเพื่อบรรเทาเวทนาเก่า กำจัดเวทนาใหม่เท่านั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไก่
    ข้อนี้สมกับสมเด็จพระจอมไตรตรัสไว้ว่า
    “ บุคคล กินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารได้ด้วยความลำบากใจ กินพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำมันหยอดเพลาพอให้รถแล่นไปได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันอาหารพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น ”
    ธรรมดา ไก่ถึงมีตา ก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืนฉันใด พระโยคาวจรถึงตาไม่บอดก็ควรเป็นเหมือนตาบอดฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่ายินดี อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไก่
    ข้อนี้สมกับถ้อยคำของ พระมหากัจจายนเถระ กล่าวไว้ว่า
    “ พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูนวก คนใบ้ คนไม่มีกำลัง เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ควรนอนเหมือนคนตาย” ดังนี้
    ธรรมดา ไก่ถึงถูกไล่ตีด้วยก้อนดิน ไม้ค้อนหรือถูกตีด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ก็ไม่ทิ้งที่อยู่ของตนฉันใด พระโยคาวจรถึงจะทำจีวรกรรมคือการทำจีวร หรือนวกรรม คือการก่อสร้าง การเรียน การถาม ก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการคือตั้งใจไว้ด้วยอุบายอันชอบฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๕ แห่งไก่
    ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
    “ อะไรเป็นโคจรของภิกษุ เป็นวิสัยบิดาของตน อันนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ” ดังนี้
    ถึง พระสารีบุตรเถระ ก็ได้กล่าวไว้ว่า
    “ ไก่ ย่อมไม่ทิ้งเล้าไก่ของตน ย่อมรู้จักสิ่งที่ควรกินไม่ควรกิน พอใช้ชีวิตเป็นไปได้ฉันใด พระพุทธบุตรก็ไม่ควรประมาทไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการอันประเสริฐฉันนั้น”
    ดังนี้ ขอถวายพระพร


    </td></tr> <tr> <td align="right">โดย Duplex</td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> <tr> <td align="left" background="images_print/dot.gif" height="1" valign="top" width="10">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="right" bgcolor="#CCCCCC" valign="middle">กลับไปที่ www.oknation.net </td> </tr> </tbody></table>
     
  6. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254


    [​IMG]
    ขอกราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้ทำบุญสร้างกุศลทุกอย่าง
    และได้นำพระธรรมมาเผยแพร่ให้ได้รับรู้เกิดสติปัญญา
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2011
  7. ไม่เที่ยง

    ไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +500
    ขออนุโมทนากุศลบุญกับท่านด้วยและขออนุโมทนากุศลกับคุณดีเลิศด้วยสาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
     
  8. นิ่งไว้

    นิ่งไว้ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +20
    สาธุ.. ขออนุโมทนาบุญกับเจ้าของบทความที่เอามาลงให้ได้อ่านกันนะคะ
    เกิดประโยชน์มากต่อข้าพเจ้าเหลือประมาณ

    เพราะถูกรุ่นพี่ที่ทำงานถาม และซักอยู่บ่อยๆ ว่าทำไมต้องไปปฏิบัติ ทำสมาธิที่วัด ทำที่บ้านไม่ได้หรือ พอตอบว่าเราอินทรีย์ยังอ่อนด้อย ต้องมีครูบาอาจารย์นำทาง
    ก็ถูกสบประมาทเล็กๆ แถมยังถูกยกตนข่มท่านว่าเค้าเอง พวกเค้าเองสามารถ ปฏิบัติและทำสมาธิที่บ้านได้ และจากการอ่านหนังสือเอง ไม่ต้องเสียเวลาไปวัด

    ตอนแรกๆ ก็แอบจิตตก แต่ตอนนี้สบายใจแล้วเพราะมันตัวของเรา ชีวิตของเรา เราเลือกที่จะไปกราบไหว้ ปฎิบัติใกล้ๆ เนื้อนาบุญที่ดี ย่อมส่งผลดีแก่เรา

    ยิ่งมาได้อ่านบทความของหลวงพ่อ เรื่องนี้ เกิดความรู้สึกปิติมากค่ะ เย็นใจ สบายใจ ถือเป็นกำลังใจให้เรามุ่งมั่นที่จะไปปฏิบัติที่วัดต่อไปค่ะ

    ขอบพระคุณมากๆ นะคะ
     
  9. tharushnu

    tharushnu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +1,276
    อนุโมทนาบุญทุกประการครับ...สาธุ
    _____________________________________________

    <iframe src="http://www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FBuddhaPhothiyan&width=500&colorscheme=light&show_faces=true&border_color&stream=true&header=true&height=427" style="border:none; overflow:hidden; width:500px; height:427px;" allowtransparency="true" frameborder="0" scrolling="no"></iframe>
     
  10. tawansongsaeng

    tawansongsaeng เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +423
    คุณเอกีภาวะครับ

    ๑๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร

    ๑๑. ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    ๑๒. ถืออยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร
    ๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร

    ข้อที่ 13 ถือการนั่งเป็นวัตรนี่ มันมีด้วยหรือครับ ผมรู้สึกไม่คุ้นเลย กรุณาตรวจสอบด้วย
    เป็นเนสัชชิก (การไม่เอนกายนอน หลังติดพื้น) หรือเปล่าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 สิงหาคม 2011
  11. awatan

    awatan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +13
    เมื่อพูดถึงการธุดงค์ท่านทั้งหลายอาจจะเข้าใจว่า การธุดงค์จะต้องออกปฏิบัติธรรมตามป่าตามเขาไปหา สถานที่สงบสงัด ไปหาความวิเวก เพื่อปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมแห่งองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีข้อ กำหนดในการปฏิบัติธุดงค์ 13 ข้อ คือ
    <table align="center" border="0" height="891" width="93%"> <tbody><tr> <td colspan="2" class="webbody">1. คะหะปะติจีวะรัง ปฏิกขิปามิ ปังสุกูลิกังคัง สะมาทิยามิ </td> </tr> <tr> <td width="4%">
    </td> <td class="webbody" width="96%">คือ การสมาทาน ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร</td> </tr> <tr> <td width="4%">
    </td> <td width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody">2. จะตุตถะจีวะรัง ปฏิกขิปามิ เตจีวะริกังคัง สะมาทิยามิ</td> </tr> <tr> <td width="4%">
    </td> <td class="webbody" width="96%">คือ การสมาทาน ถือทรงผ้าไตรเป็นวัตร </td> </tr> <tr> <td height="12" width="4%">
    </td> <td height="12" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody">3. อะติเรกะลาภัง ปฏิกขิปามิ ปิณฑะปาติกังคัง สะมาทิยามิ</td> </tr> <tr> <td height="11" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="11" width="96%"> คือ การสมาทาน ถือการบิณฑบาตร เป็นวัตร</td> </tr> <tr> <td width="4%">
    </td> <td width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="23">4. โลลุปปะจารัง ปฏิกขิปามิ สะปะทานะจาริกังคัง สมาทิยามิ</td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="23" width="96%">คือ การสมาทาน เที่ยวบิณฑบาตร ไปตามแถวเป็นวัตร </td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td height="23" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="23">5. นานาสะนะโภชะนัง ปฏิกขิปามิเอกาสะนิกังคัง สะมาทิยามิ </td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="23" width="96%">คือ การสมาทาน ถือการนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร </td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td height="23" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="23">6. ทุติยะภาชะนัง ปฏิกขิปามิ ปัตตะปิณฑิกังคัง สะมาทิยามิ</td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="23" width="96%">คือ การสมาทาน ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร </td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td height="23" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="23">7. อะติริตตะโภชะนัง ปฏิกขิปามิ ขะลุปัจฉาภัตติกังคัง สะมาทิยามิ </td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="23" width="96%">คือ การสมาทาน ถือ การห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร </td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td height="23" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="23">8. คามันตะเสนาสะนัง ปฏิกขิปามิ อารัญญิกังคัง สะมาทิยามิ </td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="23" width="96%">คือ การสมาทาน ถืออยู่ป่าเป็นวัตร </td> </tr> <tr> <td height="23" width="4%">
    </td> <td height="23" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="2">9. ฉันนัง ปฏิกขิปามิ รุกขะมูลิกังคัง สะมาทิยามิ </td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="2" width="96%">คือ การสมาทาน ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร </td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td height="2" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="25">10. ฉันนัญจะ รุกขะมูลัญจะ ปฏิกขิปามิ อัพโภกาสิกังคัง สะมาทิยามิ</td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="2" width="96%">คือ การสมาทาน ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร</td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td height="2" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="2">11. อะสุสานัง ปฏิกขิมา โสสานิกังคัง สะมาทิยามิ</td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="2" width="96%">คือ การสมาทาน ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร </td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td height="2" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="2">12. เสนาสะนะโลลุปปัง ปฏิกขิปามิ ยะถาสันถะติกังคัง สะมาทิยามิ </td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="2" width="96%">คือ การสมาทาน ถือการอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร</td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td height="2" width="96%">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" class="webbody" height="2">13. เสยยัง ปฏิกขิปามิ เนสัชชิกังคัง สะมาทิยามิ</td> </tr> <tr> <td height="2" width="4%">
    </td> <td class="webbody" height="2" width="96%">คือ การสมาทาน ถือการนั่งเป็นวัตร </td> </tr> </tbody></table> พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้กล่าวว่า การธุดงค์นั้นจะใช้สถานที่ใด เป็นเขตธุดงค์ก็ได้จะเป็นป่าเขา ลำเนา ไพร หรือวัด หรือกุฏิ โดยเลือกสมาทานกฎธุดงควัตรทั้ง 13ข้อว่าจะสมาทานข้อใดบ้าง แล้วจึงปฏิบัติอย่าง เคร่งครัด ตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ การธุดงค์ เป็นการหาความสงบสงัด เพื่อพิจารณาธรรม ใคร่ครวญ ธรรมปฏิบัติธรรมโดยใช้จิตเป็นสำคัญ เพราะ จิตเท่านั้นที่เข้าซึ้งถึงธรรม แห่งองค์สงเด็จพระสัม มาสัมพุทธเจ้า กายไม่สามารถถึงซึ่งธรรมได้
    ดังนั้น วัดท่าซุง จึงได้เริ่มจัดงานธุดงค์ โดยได้ใช้บริเวณป่า 100ไร่ เป็นสถานที่ธุดงค์ ทางวัดได้ริเริ่มงาน ธุดงค์ปีแรก พ.ศ.2536 และได้ปฏิบัติต่อเนื่องเรื่อยมาในปี พ.ศ.2539 ท่านเจ้าอาวาส ได้ซื้อที่ดิน อันเป็น ป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นที่ดินติดกับวัด และ ติดกับป่า 100 ไร่ บริเวณที่ใช้ในงานธุดงค์ โดย ซื้อที่ดิน ประมาณ 170 ไร่ ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่สำหรับกิจการธุดงค์ต่อไปในเดือน ธันวาคม ปี พ.ศ.2539 ช่วงงาน ธุดงค์ ทางวัดท่าซุงจะทำการหล่อรูปพระมหากัสสป เพื่อประดิษฐานไว้ในเขตธุดงค์ เพราะ
    ท่านเป็นพระผู้เลิศด้านธุดงควัตร และท่านได้ตั้งปฏิปทาไว้ในการธุดงค์ตลอดชีวิต

    คัดจากหนังสือ มรดกของพ่อ จัดทำโดยคณะคุณมิตรดา เลิศสุมิตรกุล
     
  12. awatan

    awatan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +13
    หลักการปฏิบัติธุดงค์


    พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า .. "ในเวลาใกล้ที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน ในกาลนั้น พระมหากัสสปเข้าไปทูลลาองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จะออกธุดงค์ สมเด็จพระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า



    "กัสสปะ! ดูก่อน กัสสป เวลานี้ตถาคตก็แก่แล้ว เธอก็แก่แล้ว จงละจากการอยู่ป่าเสียเถิด จงอยู่ในสถานบ้านเมือง จงรับสักการะที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีความเลื่อมใสเธอ และชีวิตของเธอกับชีวิตของตถาคตก็ใกล้อวสานแล้ว"



    พระมหากัสสปก็ได้กราบทูลองค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า



    "ภันเต ภควา .. ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระพุทธเจ้าข้า การที่ข้าพระพุทธเจ้าปฏิบัติธุดงควัตรอย่างนี้ ก็มิได้หมายคามว่า จะปฏิบัติเพื่อความดีของตน.."



    ( ทั้งนี้เพราะอะไร..เพราะพระมหากัสสปเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ความดีของท่านจบกิจพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ก็กราบทูลกับองค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า )



    "..ที่ข้าพระพุทธเจ้าทำอย่างนี้ ก็เพื่อว่าจะให้เป็นแบบฉบับของบรรดาภิกษุทั้งหลายภายหลัง ที่เกิดมาไม่ทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้ทราบว่า ในสมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ยังมีพระคณะหนึ่งนิยม "ธุดงควัตร" เป็นสำคัญ เพื่อเป็นการส่งเสริมบรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้นประพฤติปฏิบัติตาม"



    ฉะนั้น ธุดงค์แท้ ๆ ตามแบบฉบับ พระมหากัสสป ก็คือ แบบของพระพุทธเจ้านั่นเอง คำว่า "ธุดงค์" แปลว่า องค์ที่ประกอบไปด้วยความดี ชาวบ้านเขาแปลว่ายังไงก็ไม่รู้ แต่ขอแปลเป็นภาษาไทยว่า "ตั้งใจทำความดี"



    ธุดงค์มีอยู่ ๑๓ ข้อด้วยกัน ปฏิบัติได้ทั้งอยู่ในป่าช้า อยู่ในป่าชัฏ อยู่ในบ้าน หรืออยู่ในวัด ธุดงค์นี่อยู่ในวัดก็ปฏิบัติได้ หรือว่า ชาวบ้านจะปฏิบัติธุดงค์ก็ปฏิบัติได้ เขาไม่ห้าม การปฏิบัตินี้ไม่มีเฉพาะพระหรือไม่มีเฉพาะเณร


    อันดับแรกจะถือ "สันโดษ" เป็นสำคัญ เตจีวเรนะ เราพอใจเฉพาะเครื่องนุ่งห่มที่มีอยู่ชุดเดียว อย่างนี้ฆราวาสก็ทำได้ เราจะไม่มีผ้าเกินกว่าชุดเดียว เว้นไว้แต่ผ้าผลัดอาบน้ำ พอใจเพียงเท่านี้



    แต่ว่าพอใจเพียงเท่านี้ก็ยังใช้ไม่ได้ ต้องน้อมลงไปว่าที่เราพอใจผ้าผืนเดียวนี้ เป็นการตัดความรุ่มร่าม ตัดความละโมภในเครื่องอาภรณ์ เครื่องประดับ หรือเครื่องแต่งตัว



    และก็ต้องพิจารณาด้วยว่า การที่จะห่มผ้า การที่จะนุ่งผ้าใส่เสื้อนี่ เราไม่ต้องการความสวยสดงดงามของผิวพรรณ เราไม่ต้องการความสวยสดงดงามของเสื้อผ้า เราห่มผ้า เราใส่เสื้อ เรานุ่งผ้า เพื่อปรารถนาป้องกันความหนาว ความร้อน หรือเหลือบยุงเท่านั้น ไม่ต้องการความสวยสดงดงาม ความเรียบร้อยใด ๆ ทั้งหมด



    เพราะเราคิดไว้เสมอว่า ชีวิตของเรานี้มีความตายในที่สุด เราจะแต่งให้มันดีไปยังไง .. ก็แก่ลงทุกวัน ร่างกายเป็น "โรคะนิทธัง" เป็นรังของโรค มันป่วยทุกวัน แล้วในที่สุดมันก็ตาย



    ผ้าผ่อนท่อนสไบที่เราแต่งกายนี่เหมือนกัน มันก็เก่าลงไปทุกวัน ในที่สุดมันก็ขาด ทั้งร่างกายก็ดี เครื่องอาภรณ์ เครื่องประดับ ผ้าผ่อนท่อนสไบก็ดี ไม่เป็นที่ถูกใจ ไม่เป็นที่ประสงค์ของเรา เพราะว่าเราไม่ได้มองเห็นว่าร่างกายเป็นของดีสำหรับเรา



    เพราะร่างกายนี่มัน ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ประกอบไปด้วย ธาตุ ๔ และก็มี วิญญาณธาตุ เข้ามาอาศัย มีอากาศธาตุ มาบรรจุให้เต็ม เป็นเรือนร่างที่อาศัยของจิตชั่วคราว



    มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วเสื่อมไปทุกวันและตายในที่สุด ร่างกายที่ประกอบไปด้วยทุกข์ ความทุกข์ต่าง ๆ ที่มันมีกับเรา เพราะอาศัยร่างกายเป็นสำคัญ



    ฉะนั้น ที่เราปฏิบัติความดีนี้นั้น เราไม่ต้องการร่างกายอย่างนี้อีก เรามุ่งศัพท์เดียวที่ พระอินทร์ ตรัสในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรินิพพานว่า



    "เตสัง วูปะสะโม สุโข" ซึ่งแปลเป็นใจความว่า การเข้าไปสงบกายนั้น ชื่อว่ามีความสุข



    คำว่า "สงบกาย" หมายความว่า เราไม่ต้องการกาย คือ ขันธ์ ๕ อย่างนี้ต่อไป เพราะขันธ์ ๕ มันเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา



    ตายชาตินี้แล้ว เราก็ปล่อยขันธ์ ๕ ทิ้งไว้เป็นสมบัติของโลก เครื่องอาภรณ์ เครื่องประดับต่าง ๆ เราก็ทิ้งมันไว้ เราไม่ต้องการมันอีก จิตมีความประสงค์อย่างเดียวคือ พระนิพพาน



    นี่ว่ากันถึงว่าเครื่องแต่งกาย ถือผ้า ๓ ผืนนะ อย่าถือส่งเดช ต้องถือให้มันเป็นกรรมฐาน ถืออสุภสัญญา และ ไตรลักษณญาณ แล้วก็ สักกายทิฏฐิ ต้องถือไปถึงจุดนั้น จึงชื่อว่าเป็นธุดงค์แท้ ๆ



    ทีนี้ ถ้าเราถือ เอกภาชนะ หรือ เอกา "เอกภาชนะ" กินภาชนะเดียว "เอกา" กินเวลาเดียว ถือแค่กินแค่นี้ไม่พ้นหรอก เวลาก่อนจะกินเราต้องพิจารณาเป็น อาหาเรปฏิกูลสัญญา ไม่ติดในรส



    อาหารอะไรก็ตาม ถ้าไม่เป็นโทษแก่ร่างกาย และก็ไม่ผิดพระวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เรากินได้ทุกอย่าง เพราะว่าการกินไม่ต้องการรส กินเพื่อยังอัตภาพให้ทรงอยู่เท่านั้น เท่านี้ยังไม่พอ ยังไม่เป็นธุดงค์แท้



    ธุดงค์แท้ต้องจับใจเข้าไปอีกว่า เวลาจะกินอาหารจะต้องพิจารณาให้เป็น อาหาเรปฏิกูลสัญญา พิจารณาว่าอาหารนี้มาจากพื้นฐานแห่งความสกปรกทั้งหมด ข้าวที่จะมีเมล็ดข้าวขึ้นมาได้ เพราะอาศัยปุ๋ย ปุ๋ยมันมาจากความสกปรก ของสกปรกเป็นปุ๋ยเลี้ยงพืช



    เมื่อข้าวมันโตขึ้นมาจากความสกปรก เมล็ดข้าวก็ชื่อว่าเป็นเชื้อสายของความสกปรก ผักต่าง ๆ ที่เราบริโภค เขามาจากปุ๋ย คือ ความสกปรก บรรดาเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมาได้ เพราะอาศัยของสกปรกเป็นพื้นฐานเป็นอาหารและเนื้อสัตว์ทั้งหมดก็สกปรก



    ในเมื่อเรากินของสกปรกเข้าไป ร่างกายของเรามันก็สกปรก ร่างกายเกิดขึ้นมาจากพื้นฐานแห่งความสกปรก เราก็ต้องพิจารณาว่าร่างกายของเราเกิดขึ้นมาได้ เพราะพื้นฐานแห่งความสกปรก อาหารที่พยุงร่างกายเข้าไปก็เป็นอาหารที่สกปรก



    รวมความว่า ร่างกายของเรานี้ทั้งร่างกาย เต็มไปด้วยความสกปรก ร่างกายเราก็สกปรก ร่างกายของบุคคลอื่นก็สกปรก



    เป็นอันว่าความผูกพันในร่างกายทั้งหมด จะเป็นร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของคนอื่นก็ดี จะไม่มีสำหรับเรา เพราะว่าคนทุกคนต้องการความสะอาด คำว่า "เรา" ในที่นี้คือ "จิต" ที่มาสิงอยู่ในร่างกาย



    การที่มาได้อย่างนี้เพราะ อำนาจกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม นำเรามาเข้าสู่ร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรก มันจับเข้ามาขังคุกไว้ หลงเล่ห์เหลี่ยมของ "กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม"



    กิเลส คือ จิตชั่ว ตัณหา คือ ความอยาก อยากสวย อยากรวย อยากโกรธ อยากจะสะสมทรัพย์สิน อยากทรงชีวิตอยู่ อยากเกิดใหม่ อันนี้เป็นกำลังของ "ตัณหา"



    อุปาทาน คิดว่าของสวยเป็นของดี ความรวยเป็นของดี โกรธชาวบ้านเป็นของดี สะสมทรัพย์สินพอกพูนไว้ หลงใหลใฝ่ฝันปรารถนาในความเกิดใหม่เป็นของดี อย่างนี้เป็น "อุปาทาน"



    และก็ อกุศลกรรม เมื่อจิตมันชั่วแบบนี้ มันก็ทำในทางที่ชั่ว เพราะความไม่ฉลาด (อกุศล แปลว่า ความไม่ฉลาด) ทำด้วยความไม่ฉลาด คือ สร้างความเศร้าหมองให้เกิดขึ้น ทำกรรมสิ่งใดที่อยากจะได้ของสวย อยากจะได้ความร่ำรวย อยากจะโกรธชาวบ้าน อยากจะสะสมทรัพย์สิน อย่างนี้เป็น "อกุศลกรรม" ที่มันเกิดขึ้นกับจิต



    ที่เราต้องเกิดมาเป็นทุกข์อย่างนี้เพราะความโง่ โง่ติดกับของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม คือ มีอวิชชา เป็นนายใหญ่



    ฉะนั้น เวลานี้เรารู้แล้ว พบองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเลิกคบ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม ขับไล่ อวิชชา ตัวใหญ่ คือ หัวหน้าพาลใหญ่ให้พินาศไปด้วยกำลังของ ปัญญา คือ ไม่ติดใน ขันธ์ ๕ ไม่ติดในร่างกายของเรา และไม่ติดในร่างกายของบุคคลอื่น



    นี่ขอพูดแบบย่อ ๆ ธุดงค์นี่พูด ๓ ปี ไม่จบหรอก จะไปจบอะไร ธุดงค์มีตั้ง ๑๓ ข้อ ข้อหนึ่งพูดไปเป็นปียังไมจบ เป็นอันว่าถ้าเทศน์จบแล้วก็เถอะ คนฟังนี่ตายเป็นแถว คนเทศน์ก็ตายก่อนจบพอดี..ก็ไม่ไหวใช่ไหม?


    หมวดย่อย



    สรุปอารมณ์ของนักธุดงค์



    เป็นอันว่าการปฏิบัติธุดงค์ขอกล่าวโดยย่อเพียงเท่านี้ สรุปแล้วว่า



    ๑. จะต้องมีพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ



    ๒. ตัดปลิโพธิ ความกังวล



    ๓. พยายามระงับนิวรณ์ ๕



    ๔. มีอาหาเรปฏิกูลสัญญา



    ๕. มีมรณานุสสติกรรมฐาน



    ๖. มีอุปสมานุสสติกรรมฐาน คือ ถือพระนิพพานเป็นอารมณ์



    จิตจะต้องทรงฌานอยู่ตลอดเวลา ทั้งเวลาว่างและไม่ว่าง ยามที่นั่งคุยกันใช้อารมณ์อยู่ใน อุปจารสมาธิเป็นอย่างต่ำ เวลามีภาระจะพึงเกิดขึ้น ก็ต้องใช้อารมณ์อย่างน้อยก็อุปจารสมาธิ เดินไปจากที่ไม่มีใครคุย ใช้อารมณ์อย่างต่ำขั้น ปฐมฌาน นี่เฉพาะ.."จิต"



    นอกจากนั้น "จิต" จะต้องเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเราอยู่ตลอดเวลา คิดว่าโลกนี้เป็นทุกข์ เทวโลกเป็นทุกข์ พรหมโลกเป็นทุกข์ และไม่พ้นทุกข์ เราไม่ต้องการโลกทั้งสาม



    เราไม่พอใจในร่างกายของเรา คือ ไม่สนใจร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจร่างกายของบุคคลอื่นด้วย ไม่ต้องการทุกสิ่งทุกอย่างในโลกด้วย อย่างนี้เป็น "อารมณ์ของนักธุดงค์" ทั้งในวัดและในป่า..



    เป็นอันว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้แนะนำวิธีฝึกไว้อย่างละเอียด เพื่อไว้เป็นแบบฉบับในการปฏิบัติ เพราะการจัด งานธุดงค์นี้ เป็นการจัดกิจกรรมหลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว คือ เริ่มงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖



    ทั้งนี้ เป็นไปตามความประสงค์ของท่านทุกประการ ตามที่ท่านได้เตรียมการไว้ให้ตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ คือ นอกจากจะมีคำแนะนำไว้แล้ว ท่านยังได้เตรียมสถานที่ไว้ฝึกธุดงค์อีกด้วย ตามที่จะได้เล่าดังต่อไปนี้



    คือ มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่ท่านไปสอนพระกรรมฐานที่ บ้านสายลม เมื่อ วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๑ พระท่านมาบอกหลวงพ่อเมื่อ ๑๐ ปีก่อนว่า ...



    "ที่วัดท่าซุงฉันสั่งให้ทำที่เดินใหญ่ ทำเป็นทางเดินรอบบนหลังคา และมีฝาด้านเดียว นั่นเป็นที่ฝึกพระธุดงค์"



    ท่านบอกวิธีธุดงค์เขาปฏิบัติตามนี้ เดี๋ยวก่อน...ฉันจดไว้นะ ยังไม่ลอกลงสมุดเลย..



    ๑. เอาจิตจับที่ศูนย์ ตั้ง "อานาปานุสสติ" ไว้ตลอด ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกว่าจะหลับ คือว่าเผลอไม่ได้เลย ถ้าเผลอเมื่อไหร่ "นิวรณ์"เข้า ตัวนี้กั้นนิวรณ์ ไม่ใช่เฉพาะไปนั่งสมาธิ ต้องฝึกแม้แต่ทำงาน ไม่ใช่ธุดงค์ทำอะไรไม่ได้ ธุดงค์ต้องทำงานได้ทุกอย่าง



    ๒. นึกถึง บารมี ๑๐ ตั้งใจปฏิบัติให้ครบถ้วน เวลาที่จะภาวนาคู่กับลม ให้ใช้ คาถาหัวใจบารมี ๓๐ ทัศ หรือว่า "พุทโธ"ก็ได้ แต่ผลที่จะได้ต่างกัน ถ้าภาวนา"บารมี ๓๐ ทัศ"ได้คล่อง จิตจะแจ่มใสมาก มารต่าง ๆ จะไม่รบกวน สัตว์ในป่าจะเป็นมิตร ป้องกันอันตรายได้



    การภาวนาจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ภาวนาได้ ส่วนบารมี ๑๐ ก็ให้ทรงอารมณ์ไว้ทั้งวันอย่าให้พร่อง เขียนวางไว้ข้างตัว ให้สะดุดตา แล้วตั้งใจปฏิบัติให้ครบถ้วน



    ๓. เมื่ออารมณ์คลาย ให้ตั้งอารมณ์ไว้ใน พรหมวิหาร ๔ คิดรัก คิดสงสาร ไม่อิจฉาริษยา พลอยยินดีด้วยและวางเฉย อันนี้ต้องทรงตัว ถ้าพรหมวิหาร ๔ ไม่ทรงตัว อย่าลืม..ทั้งศีล ทั้งภาวนา ไม่เหลือเลย!



    ๔. มรณานุสสติกรรมฐาน บวกกับ วิปัสสนาญาณ ๙ คือ ข้อ ๘ - ๙ (นิพพิทาญาณ - สังขารุเปกขาญาณ) แล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์



    ๕. ค่อย ๆ เคาะ สังโยชน์ ๑ - ๑๐ แต่ให้ถือสังโยชน์ ๓ เป็นใหญ่ แล้วตัดตัวสุดท้าย คือ อวิชชา



    สรุปความว่า พอลืมตาปั๊บ..จับ อานาปา ปั๊บ! คิดบารมี ๓๐ ทัศ ภาวนา ๆ ๆ จิตทรงตัว จิตมันจะเอนมาเอง จิตเลื่อนลงมาถึงอารมณ์คิดได้ อารมณ์คลายตั้งอยู่ในอารมณ์ พรหมวิหาร ๔ แล้วคิดถึง มรณานุสสติ คิดว่าเราอาจตายเดี๋ยวนี้ก็ได้ ถ้าได้มโนมยิทธิ ให้เอาใจไปตั้งอยู่พระนิพพาน



    สำหรับผู้ที่เข้าป่าลึก ให้ติดต่อกับเทวดาเป็นปกติ ระหว่างคุยกับเทวดากับพรหม กิเลสจะไม่เกาะจิต ต้องภาวนาบารมี ๓๐ ทัศ และการคุมอารมณ์ต้องเข้มแข็งจึงจะเอาตัวรอด มิฉะนั้นอาจจะถูกทดสอบอารมณ์จากภัยที่ไม่เห็นตัว..
     
  13. awatan

    awatan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +13
    ๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร ว่า
    เสยยัง ปะฏิกขิปามิ เนสัชชิกังคัง สะมาทิยามิ

    ข้าพเจ้างดการนอน ขอสมาทานองค์ของผู้ถือการนั่งเป็นวัตร
    (ถือ ตามเวลาที่สมควร ไม่ใช่ถือกันตลอดวัน ถือเฉพาะเวลา เช่น เวลานั่งกรรมฐานเป็นต้น ถ้านั่งตัวตรงไม่เอามือยัน ...ถือเป็นขั้นอุกฤษณ์ ถ้าเอามือยัน...ขั้นธรรมดา..หย่อนไปหน่อย ถ้าหลังแตะพื้น..ก็ถือว่าขาดจากธุดงค์ข้อนี้)
    คำสอนหลวงพ่อฤาษี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 สิงหาคม 2011
  14. awatan

    awatan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +13
    ธุดงค์วัตรข้อ ๑๓. เนสัชชิกังคกถา

    [​IMG]
    การสมาทาน แม้เนสัชชิกังคธุดงค์ ก็ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้ว ด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง จากคำสมาทาน ๒ อย่างนี้คือ
    เสยยํ ปฏิกขิปามิ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธอิริยาบถนอน ดังนี้อย่างหนึ่ง

    เนสขขิกงคํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกติ ดังนี้อย่างหนึ่ง

    ว่าด้วยการสมาทานในเนสัชชิกังคธุดงค์นี้ เพียงเท่านี้



    กรรมวิธี
    ก็แหละ อันเนสัชชิกภิกษุนั้น ต้องลุกขึ้นเดินจงกรมให้ได้ยามหนึ่ง ในบรรดายามสามแห่ราตรี เพราะในอิริยาบถ ๔ นั้น อริยาบถนอนเท่านั้น ย่อมไม่สมควรแก่ผู้บำเพ็ญเนสัชชิกังคธุดงค์
    ว่าด้วยกรรมวิธีในเนสัชชิกังคธุดงค์นี้ เพียงเท่านี้
    ประเภท
    ก็แหละ เมื่อว่าโดยประเภท แม้เนสัชชิกภิกษุนี้ก็มี ๓ประเภท ใน ๓ ประเภทนั้น
    สำหรับเนสัชชิกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ หมอนอิงข้าง แคร่นั่งทำด้วยผ้า และผ้าสายโยค ใช้ไม่ได้ทั้งนั้น
    สำหรับเนสัชชิกภิกษุชั้นกลาง ในของ ๓ อย่างนี้ เพียงแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ได้
    สำหรับเนสัชชิกภิกษุชั้นต่ำ พนักอิงข้างก็ดี แคร่นั่งทำด้วยผ้าก็ดี ผ้าสายโยคก็ดี หมอนพิงก็ดี เก้าอี้มีองค์ ๕ ก็ดี ใช้ได้ทั้งนั้น
    ก็แหละ เก้าอี้ที่ทำมีพนักข้างหลัง ชื่อว่าเก้าอี้มีองค์ ๕ (คือ เท้า ๔ พนักหลัง ๑) เก้าอี้ที่ทำมีพนักข้างหลังด้วย มีพนักในข้างทั้ง ๒ ด้วย ชื่อว่าเก้าอี้มีองค์ ๗
    ได้ยินว่า เก้าอี้มีองค์ ๗ นั้น พวกทายกได้ทำถวายแก่ท่านพระจูฬอภยเถระ พระเถระสำเร็จพระอนาคามีปรินิพพานแล้ว
    ว่าด้วยประเภทในเนสัชชิกังคธุดงค์นี้ เพียงเท่านี้
    จากวิสุทธิมรรค
     
  15. waythai

    waythai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,499
    ค่าพลัง:
    +15,192
    สาธุขอร่วมโมทนาในมหากุศลทั้งหมดทั้งสิ้นครับ**ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ครับ**ท่านใดมีความประสงค์อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อสักการะบูชาสามารถติดต่อขอรับพระบรมสารีริกธาตุ(ไม่มีค่าใช้จ่าย)ได้ที่ 08-2685-5608 อั๋นครับ
    (ขอสงวนสิทธิ์ไม่ส่งพระบรมสารีริกธาตุทางไปรษณีย์โดยเด็ดขาดครับ เพื่อความเหมาะสมเป็นการแสดงความเคารพและไม่เป็นการปรามาสต่อพระพุทธองค์ครับ
    ชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในกระทู้ด้านล่างนี้ครับ
    http://palungjit.org/threads/มอบพระบรมสารีริกธาตุกว่า15-สัณฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นมีมอบให้เรื่อยๆ.244017/

    <!-- google_ad_section_end -->
    http://palungjit.org/threads/เมื่อกระผมและคณะได้น้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมต้นพุทธวงศ์ที่วัดท่าซุง.290965/

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ



    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...