สรุปสถานการณ์สตรี กับความรุนแรงทางเพศ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 1 มีนาคม 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG] มูลนิธิเพื่อนหญิง จัดสัมมนา "เสียงร้อง...ของผู้หญิง" รายงานสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศในรอบปี 2549 พร้อมเปิดตัวหนังสือ "ข่มขืน...เสียงเงียบที่ต้องเปิดเผย" ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค รัชดาภิเษก

    งานสัมมนาสรุปรายงานสภาพปัญหาความรุนแรงทางเพศ จากการให้บริการศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง ในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547-2549 ที่ผ่านมา โดยเก็บข้อมูลจากการให้บริการปี2547 จำนวน 1,275 กรณี แบ่งเป็นกรณีปัญหาด้านสังคมสงเคราะห์ 750 กรณี และปัญหาด้านกฎหมาย 525 กรณี ส่วนในปี 2548 จำนวน 1,452 กรณี มีปัญหาด้านสังคมสงเคราะห์ 766 กรณี และปัญหาด้านกฎหมาย 686 กรณี และในปี 2549 จำนวน 1,491 มีปัญหาด้านสังคมสงเคราะห์ 767 กรณี และปัญหาด้านกฎหมาย 724 กรณี

    น.ส.สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศจากการให้บริการของศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี ว่าตลอดปี 2549 มีผู้มาปรึกษาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิงในกรณีความรุนแรงทางเพศ จำนวน 106 ราย แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ปรึกษาด้านกฎหมาย 81 ราย คิดเป็นร้อยละ 76 และปรึกษาด้านสังคมสงเคราะห์ โดยเป็นเรื่องสภาพจิตใจหลักถูกกระทำความรุนแรง ย้ายโรงเรียน การตั้งครรภ์ฯ จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 23

    ในปี 2549 ผู้เสียหายกรณีความผิดเกี่ยวกับเพศ จำนวน 106 ราย ถูกข่มขืนกระทำชำเรามากที่สุด ร้อยละ 51.69 จำนวน 61 ราย รองลงมา คือ พรากผู้เยาว์ อนาจาร และน้อยที่สุดคือการทำให้ได้รับความอับอาย และเผยแพร่ภาพทางอินเตอร์เน็ต และการถ้ำมอง ร้อยละ 0.85 หรือ 1 ราย ซึ่งมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความเพียงร้อยละ 59 หรือ 63 ราย

    ส่วนที่ไม่เข้าแจ้งความ ร้อยละ 41 หรือ 43 ราย เกิดจากปัจจัยทางครอบครัวผู้กระทำเป็น พ่อหรือญาติ ส่วนหญิงที่มีสามีแล้วมักกลัวว่าสามีรับไม่ได้ และครอบครัวมีฐานะทางสังคมสูง ส่วนปัจจัยด้านสังคม เกิดความอาย กลัวได้รับอันตราย เพราะผู้กระทำเป็นผู้มีอิทธิพล สุดท้ายคือปัจจัยด้านกฎหมาย คิดว่าการลงบันทึกประจำวันเป็นการแจ้งความแล้วและไม่รู้ว่าผู้เสียหายต้องยืนยันการดำเนินคดี
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ด้านความสัมพันธ์ของผู้กระทำ ส่วนใหญ่เป็นคนรู้จัก ได้แก่ เพื่อน สามี คนทำงาน แม้กระทั่งพ่อ หรือครูที่เด็กให้ความเคารพนับถือ ร้อยละ 84 หรือ 89 ราย ขณะที่บุคคลที่ไม่รู้จักเพียงร้อยละ 11

    ส่วนอายุผู้เสียหายเป็นหญิงอายุน้อยที่สุด 6 ปี และมากที่สุด 60 ปี ส่วนผู้กระทำอายุน้อยที่สุดคือ ชาย 14 ปี และมากที่สุด 69 ปี และกลุ่มผู้เสียหายที่มีมากที่สุดคือ อายุ 20 ปี ขึ้นไป และศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 19.81 และผู้กระทำความรุนแรงมากที่สุด คือมีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 16.03 หรือ 17 ราย และน้อยที่สุด คือ ปริญญาโท

    สถานที่ที่ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ ส่วนใหญ่เป็นบ้านและห้องพักผู้เสียหายและไม่คิดว่าจะเกิดเหตุกับตนเอง รวมถึงสถานที่สาธารณะ เช่น วัด สถานที่ราชการ ซอยเปลี่ยว

    ด้านน.ส.นิภาพร แหล่พั่ว ฝ่ายข้อมูลและเผยแพร่ มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวถึงสถิติข่าวการละเมิดทางเพศ ปี 2549 จากการรวบรวมการละเมิดทางเพศจากหนังสือพิมพ์รายวัน 5 ฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ข่าวสด และ คม ชัด ลึก พบข่าวการละเมิดทางเพศจำนวน 324 กรณี มีผู้ถูกละเมิดทางเพศจำนวน 370 ราย และพบผู้กระทำจำนวน 678 ราย

    ประเภทของการละเมิดทางเพศ คือ ข่มขืน มี 129 กรณี ร้อยละ 40, รุมโทรม 62 กรณี คิดเป็นร้อยละ 19, อนาจาร 54 กรณี คิดเป็นร้อยละ 17, ข่มขืนและฆ่า 28 กรณี คิดเป็นร้อยละ 9, พยายามข่มขืน 30 กรณี คิดเป็นร้อยละ 9, พรากผู้เยาว์มี 7 กรณี คิดเป็นร้อยละ 2 และพยายามข่มขืนแต่ไม่สำเร็จจึงฆ่า 5 กรณี คิดเป็นร้อยละ 1 <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผู้ที่ถูกกระทำอายุน้อยที่สุดคือ 2 ขวบเศษ และผู้ที่กระทำอายุน้อยที่สุดคือ 8 ขวบ และอายุมากที่สุดคือ 79 ปี และผู้ถูกละเมิดทางเพศเป็นนักเรียนนักศึกษา 180 ราย คิดเป็นร้อยละ 49, ผู้มีรับจ้าง มี 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 14, พนักงานบริษัท 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 2, รับราชการ 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 1, อิสระ 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 2, นักท่องเที่ยวต่างชาติ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 3

    ส่วนผู้กระทำเป็นแก๊งวัยรุ่น ร้อยละ 40, นักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 12, รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9, รับราชการ ร้อยละ 3 และพระภิกษุ ร้อยละ 1

    ด้านความสัมพันธ์ของผู้ถูกละเมิดและผู้กระทำการละเมิดทางเพศ จาก 342 กรณี เกิดจากคนรู้จัก 139 กรณี ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนบ้าน เพื่อนนักเรียน เพื่อนร่วมงานและคนคุ้นเคย ร้อยละ 43, คนแปลกหน้า จำนวน 90 กรณี คิดเป็นร้อยละ 28, เครือญาติ 46 กรณี คิดเป็นร้อยละ 14, ครู-ลูกศิษย์จำนวน 8 กรณี คิดเป็นร้อยละ 2 และไม่ระบุความสัมพันธ์ 41 กรณี ร้อยละ 13

    สถานที่เกิดเหตุ มักเกิดจากในบ้านหรือห้องพักของผู้ถูกละเมิดทางเพศ คิดเป็นร้อยละ 23 ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นเพื่อนบ้านหรือคนรู้จักคุ้นเคย รวมไปถึงบุคคลที่อยู่อาศัยในบ้านเดียวกัน แต่มีบางส่วนผู้กระทำเข้าไปชิงทรัพย์และข่มขืนร่วมด้วย และบางกรณีผู้กระทำมักพักใกล้กับห้องผู้ถูกกระทำจึงปีนเข้าไปข่มขืน

    ขณะเดียวกันเหตุเกิดในบ้านหรือห้องพักของผู้กระทำ คิดเป็นร้อยละ 19 หรือเหตุเกิดที่กระท่อม ป่าละเมาะ พงหญ้า ริมถนน ร้อยละ 17 และในซอยเปลี่ยวและที่อื่นๆ เช่น รถยนต์ รถแท็กซี่ รถตู้ มีถึงร้อยละ 8 มักเกิดจากการล่อลวง ฉุด และจี้บังคับไปในที่ลับตา ไม่ใช่เพราะเดินไปในที่เปลี่ยวเอง หากเกิดเหตุที่ริมหาดมักเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

    ส่วนการดำเนินคดี มีการแจ้งความโดยผู้เสียหายแจ้งเอง 72 กรณี ผู้ปกครองแจ้ง 124 กรณี หน่วยงานหรือโรงเรียนแจ้ง 23 กรณี มีพลเมืองแจ้งเหตุให้ 57 กรณี นอกนั้นไม่ระบุการแจ้ง เพราะไม่ระบุในเนื้อข่าว 48 กรณี และจากรายงานข่าว จับผู้กระทำได้ 198 กรณี สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการกระทำการละเมิดทางเพศ คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 60 กรณี เสพยาเสพติด 6 กรณี และดูสื่อลามก 11 กรณี

    ด้านนายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลยกปัญหาความรุนแรงในเด็กและสตรีเป็นวาระแห่งชาติ ทั้งยังขอให้มีพนักงานสอบสวนเป็นหญิงทั่วประเทศ เพื่อจะได้แก้ปัญหาอคติทางเพศได้ เมื่อมีการรับแจ้ง ด้านศูนย์พึ่งพาของกระทรวงสาธารณสุขที่ช่วยเหลือสตรีที่ถูกทำร้าย ทุบตีซึ่งมีอยู่ 104 แห่งทั่วประเทศ นั้นใช้ได้เพียงโรงพยาบาลนำร่อง 20 แห่งเท่านั้น เพราะได้รับการสนับสนุนเรื่องงบประมาณน้อย ทำให้มีปัญหาเยอะ

    ส่วนแนวคิดที่ว่าชายเป็นใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดความรุนแรงนั้น นายจะเด็จกล่าวว่า รัฐต้องสร้างค่านิยมหญิงชายให้เกิดความเท่าเทียม โดยกระทรวงศึกษาฯ ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา บรรจุเป็นหลักสูตรตั้งแต่มัธยมไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้เปลี่ยนแปลงค่านิยมบท และเคารพในสิทธิชายหญิง ไม่ใช้ความรุนแรงในการทำร้ายเด็กและสตรี รวมทั้งเร่งผลักดันพ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดการซื้อให้ยากขึ้น เพราะการดื่มสุรา ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ชายใช้ความรุนแรงมากขึ้น

    ภายในงานยังมีการเปิดตัวหนังสือ "ข่มขืน...เสียงเงียบที่ต้องเปิดเผย" โดยมูลนิธิเพื่อนหญิง ขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก ความหนา 500 กว่าหน้า มีเนื้อหาเป็นงานวิจัยกรณีศึกษาจากเรื่องจริงของเหยื่อ 11 ราย ตีแผ่ให้เห็นถึงภัยการข่มขืน และกระบวนการช่วยเหลือของหน่วยงาน เพื่อให้สังคมเรียนรู้ เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และช่วยกันป้องกันแก้ไข เพื่อไม่ให้เป็นภัยใกล้ตัว
    [​IMG]
     
  2. เจสุน ลาโม

    เจสุน ลาโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2006
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +218
    ถึงเวลาแล้วที่ทุก ๆ คนในสังคมจะต้องรวมตัวกันต่อต้านความรุนแรง
     

แชร์หน้านี้

Loading...