องค์กรชาวพุทธฯยืนยันตั้งธนาคารพระพุทธฯ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 30 สิงหาคม 2011.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    องค์กรชาวพุทธฯยืนยันตั้งธนาคารพระพุทธฯ

    วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2554 เวลา 9:29 น



    พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ เลขาธิการองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการที่องค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย และองค์กรเครือข่าย ได้เข้าพบนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา เมื่อเร็ว ๆ นี้ นั้น นายสมศักดิ์ ได้รับปากกับทางองค์กรชาวพุทธฯ ว่าจะช่วยผลักดันกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารพระพุทธศาสนา เป็นต้น ซึ่งทั้งร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และร่างพ.ร.บ. ธนาคารพระพุทธศาสนา เกิดมาจากความประสงค์ของพุทธศาสนิกชนทั้งสิ้น โดยเฉพาะในเรื่องธนาคารพระพุทธศาสนา ที่มีการยกร่าง พ.ร.บ.เสร็จไปตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว และอยู่ในขั้นตอนของการสอบถามความคิดเห็นจากพระผู้ใหญ่ แต่ต้องหยุดชะงักไปเพราะยุบสภาไปเสียก่อน

    พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ กล่าวต่อไปว่า เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว ทางองค์กรชาวพุทธฯ เตรียมที่จะนำร่าง พ.ร.บ.ธนาคารพระพุทธศาสนา ร่างเดิมเสนอไปอีกครั้ง โดยขณะนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคเพื่อไทย 20 คน ลงนามที่จะเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้แล้ว ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วเมื่อมี ส.ส.ลงนาม 20 คน จะทำให้สามารถเสนอออกกฎหมายได้ และทางนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง ซึ่งเป็นผู้ร่วมยกร่าง พ.ร.บ.นี้เมื่อครั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ในรัฐบาลที่แล้ว ยืนยันว่าจะเป็นผู้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะได้นำเสนอต่อไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไป

    ด้าน พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล นายกสมาคมผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนา กล่าวว่า ทราบมาว่าทางพรรคเพื่อไทยจะดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เสร็จภายใน 1 ปี ตนหวังว่าในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะมีการบัญญัติคำว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ด้วย.

    Daily News Online > หน้าการศึกษา > องค์กรชาวพุทธฯยืนยันตั้งธนาคารพระพุทธฯ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ขอให้สำเร็จนะครับ....
     
  3. ปุถุชน

    ปุถุชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +715
    เห็นด้วย
    สนับสนุน
    ขอให้สำเร็จ สำเร็จ สำเร็จ
     
  4. 2499

    2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,033
    ธนาคารพระพุทธศาสนา

    ธนาคารพระพุทธศาสนา


    [​IMG]

    เรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบของธนาคาร ดูเหมือนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเลย เพราะพระสงฆ์ทำนิติกรรมตามกฎหมายไม่ได้ องค์กรสงฆ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงมอบหมายให้มีผู้ทำธุรกรรมทางการเงินแทน วัดมีไวยาวัจจกรทำหน้าที่ ส่วนองค์กรอื่นๆ หากมีการทำนิติกรรมเกิดขึ้น ก็มอบหมายให้ฆราวาสทำหน้าที่แทน

    หากมีคนคิดจะตั้งธนาคารพระพุทธศาสนาขึ้นมาเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ระดมการออม ให้สินเชื่อ ตราสารทางการเงิน จัดกองทุน ให้ผลตอบแทนสงเคราะห์และให้บริการแก่ลูกค้า เพื่ออุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาและส่งเสริมการบริหารงานของคณะสงฆ์จะทำอย่างไร

    วันศุกร์ที่ผ่านมา (18 มี.ค. 2554) นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดการประชุมเรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนา พ.ศ.........” ร่วมกันระหว่างคณะทำงานกองทุนพระพุทธศาสนา และผู้บริหารคณาจารย์เจ้าหน้ามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ห้องประชุมอาคารสุชีพ ปุญญานุภาพ ศาลายา จังหวัดนครปฐม ในงานนี้มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมด้วย

    แนวคิดของการเสนอร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนาเกิดจากคณะกรรมาธิการ การศาสนาศิลปวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปัจจุบันมีนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นประธาน ได้แนวคิดมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 79 ความว่า “ รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานและศาสนาอื่น ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุก ศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต” (น่าสังเกตว่ารัฐธรรมพยายามเลี่ยงคำว่า “ศาสนาประจำชาติ” โดยใช้คำว่า “ศาสนาที่ประชาชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน” แทน)

    ในส่วนของธนาคารที่มาจากศาสนา ในปัจจุบันมีอยู่เพียง 2 ศาสนา คือ ศาสนาคริสต์ มี ธนาคารวาติกัน และศาสนาอิสลาม มี ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีพระราชบัญญัติธนาคารประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 119 ตอนที่ 108 ก เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2545 มีทั้งหมด 55 มาตรา ดำเนินการมายังไม่ถึง 10 ปี แต่มีเงินฝากจำนวนมหาศาล

    พระพุทธศาสนาเกิดมาก่อน 2 ศาสนานั้น แต่ยังไม่เคยมีธนาคารสำหรับพระพุทธศาสนามาก่อนเลย เท่าที่มีส่วนมากจะเป็นมูลนิธิ กองทุนด้านศาสนาต่างๆ มูลนิธิทางพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธรู้จักมากที่สุดคือ “มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย” ปัจจุบันมีเงินบริจาคเพื่อใช้ดอกผลในการบำรุงพระพุทธศาสนาเช่นศาสนวัตถุ การศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นต้น มีจำนวนเงินมหาศาลเหมือนกัน

    ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนา ที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น มี่ทั้งหมด 10 หมวด 63 มาตรา สรุปสาระสำคัญในแต่ละหมวดได้ดังนี้
    • หมวดที่ 1 มาตรา 7 ให้กำหนดทุนเรือนหุ้นของธนาคารไว้ 2,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 200 ล้านหุ้น
    • หมวดที่ 2 มาตรา 12 “ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน อันเป็นการพัฒนา ส่งเสริม อุปถัมภ์ สนับสนุน และคุ้มครองการดำเนินงานด้านพระพุทธศาสนา โดยมุ่งหมายเพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ตลอดจนองค์กรทางพระพุทธศาสนา" โดยวัตถุประสงค์กำหนดไว้ 17 ข้อ เช่นรับฝากเงิน จัดหาเงินทุน ประกอบธุรกิจการเงิน ให้สินเชื่อ ให้คำแนะนำด้านการเงิน เรียกเก็บดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ เป็นต้น โดยมีบทสรุปสำคัญว่า “การดำเนินกิจการของธนาคารจะต้องสอดคล้องกับหลักการของพระพุทธศาสนา”
    • หมวดที่ 3 กรรมการและการจัดการ กำหนดให้มีกรรมการ 3 ชุด คือ คณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการธนาคารพระพุทธศาสนา และกรรมการบริหารและการจัดการ กรรมการทั้ง 3 ชุดมีคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งคือ “กรรมการทุกท่านต้องเป็นพุทธศาสนิกชน”
    • หมวดที่ 4 ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารและผู้จัดการ ว่าด้วยคุณสมบัติและหน้าที่ของกรรมการกำหนดไว้ 7 มาตรา
    • หมวดที่ 5 ว่าด้วยที่ปรึกษาธนาคารพระพุทธศาสนา กำหนดไว้ 4 มาตรา
    • หมวดที่ 6 ว่าด้วยการกำกับ การดำเนินงาน และการควบคุม กำหนดไว้ 4 มาตรา
    • หมวดที่ 7 ว่าด้วยการสอบบัญชีรายงาน และหมวดที่ 8 ว่าด้วยการตรวจสอบ หมวดที่ 9 บทกำหนดโทษและบทเฉพาะกาลระบุว่า “ให้รัฐบาลดำเนินการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ”
    รายละเอียดต่างๆ คงพรรณนาได้ไม่หมด แต่สาระสำคัญคือ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะทำให้มีธนาคารพระพุทธศาสนา

    ปัญหาอย่างหนึ่งคือ ทำไมไม่มีคำว่า “แห่งประเทศไทย” ต่อท้าย เหตุผลของคณะกรรมการยกร่างบอกไว้น่าคิดว่า “เพราะต้องการให้ธนาคารนี้เป็นธนาคารของพระพุทธศาสนาทั่วโลก ไม่ใช่พระพุทธศาสนในประเทศไทยเท่านั้น” พิจารณาดูก็เข้าท่าดี

    อีกแห่งหนึ่งคือ คุณสมบัติของคณะกรรมการที่ทุกคนจะต้องเป็นพุทธศาสนิกชน จะไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หรือ ซึ่งมีหลายมาตราว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนเช่นมาตราที่ 29, 30, 31, 33, 36, 41 และมาตรา 43

    ในมาตรา 29 ระบุไว้ว่า “การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม

    โดยเฉพาะมาตรา 30 ความว่า “ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็น ทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

    ในมาตรา 43 ก็ระบุไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรี อย่างเป็นธรรม การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษา ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษา ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวะการทำงาน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

    คณะกรรมการยกร่างอธิบายว่า “ไม่ได้จำกัดสิทธิของบุคคลใด แต่ต้องการให้กรรมการที่ทำหน้าที่บริหารต้องมีความเข้าใจในหลักการของพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งมีความรู้ทางด้านเศรษฐกิจการเงิน หากมิใช่พุทธศาสนิกชนจะเข้าใจสาระสำคัญของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร อาจจะนำพาธนาคารพระพุทธศาสนาไปในทางที่ขัดต่อหลักการของพระพุทธศาสนาได้”
    พระพุทธศาสนามิได้สอนให้คนมุ่งสู่ความหลุดพ้นไปนิพพานเท่านั้น แต่มีหลักธรรมส่วนหนึ่งที่สอนเรื่องเศรษฐกิจ การเป็นอยู่ซึ่งเรียกว่าเป็นธรรมระดับชาวบ้าน มีแทรกอยู่ในพระไตรปิฎกแห่งแห่ง ในเรื่องของการใช้จ่ายทรัพย์มีแสดงไว้ในอาทิยสูตร อังคุตรนิกาย ปัญจก (22/41/40) ความว่า
    “ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ 5 ประการ คือ
    1. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำบริหารตนให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำบริหารให้เป็นสุขสำราญ
    2. อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ
    3. อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ทำตนให้สวัสดี
    4. อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม ทำพลีห้าอย่าง คือ 1) ญาติพลี บำรุงญาติ 2) อติถิพลี ต้อนรับแขก 3) ปุพพเปตพลี บำรุงญาติผู้ตายไปแล้วคือทำบุญอุทิศกุศลให้ 4) ราชพลี บำรุงราชการ คือบริจาคทรัพย์ช่วยชาติ 5) เทวตาพลี บำรุงเทวดา คือทำบุญอุทิศให้เทวดา
    5. อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม บำเพ็ญทักษิณา มีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไปด้วยดีในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับดับกิเลสโดยส่วนเดียว
    นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตนแล้ว ได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้นภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมีผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำพลี 5 ประการแล้ว และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน พึงปรารถนาโภคทรัพย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์"
    ถึงจะไม่มีส่วนใดในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนากล่าวถึงธนาคารไว้เลย แต่หากจะวิเคราะห์ให้ดีในข้อที่สามคือ “ใช้เพื่อป้องกันอันตราย” อาจจะพอประยุกต์ใช้ได้ เพราะไม่รู้ว่าอันตรายจะมาถึงเมื่อไหร่ จึงมีความจำเป็นต้องเก็บทรัพย์ส่วนหนึ่งไว้ ในอดีตอาจจะฝังดินไว้ หรือเก็บรักษาไว้ในที่มิดชิด แต่ปัจจุบันมีวิธีเลือกหลายทางเช่นทำประกันชีวิต ประกันภัย และฝากธนาคารไว้ ในเวลาที่มีอันตรายจะได้นำมาใช้ทันท่วงที

    ธนาคารส่วนมากจะดำเนินการเพื่อหวังผลกำไร หลายวัดพอได้ยินเรื่องนี้อาจจะสงสัยว่ารัฐบาลต้องการยึดเงินวัดหรืออย่างไร อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ในมาตรา 3 แห่งร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนากล่าวถึง “บัญชีบริจาค” ไว้ความว่า “บัญชีบริจาค หมายความว่าบัญชีที่ธนาคารจัดตั้งขึ้นเพื่อรับเงินบริจาค รวบรวมจัดการผลประโยชนันเกิดจากหุ้นและรับดำเนินการตามประสงค์ของผู้บริจาค เพื่อใช้ในกิจกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาตามที่คณะกรรมการ กำหนด” ถ้าอย่างนี้คงหายกังวลว่าธนาคารจะใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค ซึ่งมีสิทธิระบุว่าจะนำดอกผลจากเงินต้นไปใช้ในกิจการใดก็ได้ตามที่ตนเองเห็นสมควร

    ธนาคารพระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ยังมองอนาคตไม่ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดก็มีผู้ให้ความสนใจเพื่อจะได้บริหารการเงินอย่างมีระบบ มีพระราชบัญญัติรองรับ เพื่อที่จะให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พศ. 2550 มาตรา 79 ที่ ระบุไว้ว่า “รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน........” เมื่อรัฐจะอุปถัมภ์และคุ้มครองจึงมีวิธีการของรัฐ ส่วนหนึ่งรัฐเห็นว่าน่าจะตั้งธนาคารพระพุทธศาสนาขึ้นมา

    ใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเชิญแสดงความเห็นมาได้ จะได้รวบรวมข้อมูลนำเสนอความเห็นต่อกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนและธรรม สภาผู้แทนราษฎรต่อไป

    [​IMG]
    พระมหาบุญไทย ปุญญมโน

    ที่มา : ไซเบอร์วนาราม ผ่าน ศูนย์พิทักษ์ฯ
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
    ::
     
  5. chansinghvasin

    chansinghvasin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +82
    ธนาคารพระพุทธศาสนาต่างจากธนาคารทั่วไปหรือไม่อย่างไร รับทำธุรกรรมให้เฉพาะพระหรือให้คนทั่วไป ใครมีความรู้ช่วยอธิบายหน่อยครับ
     
  6. ธงสามสี

    ธงสามสี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2011
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +72
    สนับสนุนมากครับ ขอให้สำเร็จ
     
  7. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    [​IMG]

    ขอเป็นอีกเสียงสนับสนุนครับ
     
  8. นิรันตรัง

    นิรันตรัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +92
    พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ เลขาธิการองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการที่องค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย และองค์กรเครือข่าย ได้เข้าพบนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา เมื่อเร็ว ๆ นี้ นั้น นายสมศักดิ์ ได้รับปากกับทางองค์กรชาวพุทธฯ ว่าจะช่วยผลักดันกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารพระพุทธศาสนา เป็นต้น ซึ่งทั้งร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และร่างพ.ร.บ. ธนาคารพระพุทธศาสนา เกิดมาจากความประสงค์ของพุทธศาสนิกชนทั้งสิ้น โดยเฉพาะในเรื่องธนาคารพระพุทธศาสนา ที่มีการยกร่าง พ.ร.บ.เสร็จไปตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว และอยู่ในขั้นตอนของการสอบถามความคิดเห็นจากพระผู้ใหญ่ แต่ต้องหยุดชะงักไปเพราะยุบสภาไปเสียก่อน


    พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา



    ใครมีรายละเอียดพระราชบัญญัติฉบับนี้ ช่วยนำมาเผยแพร่ให้ชาวพุทธทั่วไปให้ทราบโดย

    แพร่หลายด้วยนะครับ เพราะเท่าที่ผมทราบ สมัยรัฐบาลท่านนายกสมัคร สุนทรเวช มีพระ

    สังฆาธิการ เจ้าอาวาสเกือบทุกวัดทั่้วประเทศ ทำหนังสือถึงท่านนายกฯให้ยับยั้ง พ.ร.บ

    ฉบับนี้ ไม่ให้นำเข้าสภา เพราะมีหลายข้อความและหลายมาตรา ที่ท่านเห็นว่าอันตรายต่อ

    พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เนื้อแท้เป็นอย่างไร เราชาวพุทธน่าจะได้รับรู้ให้กว้างขวาง

    กว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ เพราะถ้ามีปัญหาจริงตามนั้น แสดงว่าตอนนี้มันกำลังมาอีกแล้ว ต้อง

    ช่วยกันป้องกันส่วนที่จะทำให้มีปัญหา และ ช่วยกันส่งเสริมส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อความ

    เจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา เสียตั้งแต่ต้นลม ในฐานะพุทธศาสนิกชนกันนะครับ มวล

    สมาชิกเว็ปผู้ที่เป็นชาวพุทธทุกท่านครับ สมัยนี้การหมกเม็ดในการออกกฏหมาย เป็นเื่รื่อง

    ที่เราพึงระวังเป็นที่สุด



    ชื่อ พ.ร.บ อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา แต่เนื้อหาจะคุ้่มครองจริงหรือไม่อย่างไร?

    อาจจะให้ผลเป็นตรงข้ามก็ได้ ถ้าไม่ช่วยกันพิจารณาอย่างละเอียดถึ่ถ้วน และ รอบคอบ

    รอบด้าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  9. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,359
    ค่าพลัง:
    +6,493
    เจตนาบริสุทธิ์ ขอให้สำเร็จ
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เปิดร่างพระราชบัญญัติ อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา

    เมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการประชุมพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... เสนอโดย พล.อ.ปรีชา โรจนเสน สมาชิก สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม และคณะ รวม 180 คน
    สำหรับร่างดังกล่าว กำหนดให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมกับมีบทลงโทษผู้จาบจ้วงดูหมิ่นศาสนา นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติครอบคลุมดูแลถึงแม่ชีด้วย
    อย่างไรก็ตาม มีสมาชิก สนช.หลายคน แสดงความเป็นห่วงในเรื่องบทลงโทษที่รุนแรง หากไม่ปรับเนื้อหากฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสม จะก่อให้เกิดความปั่นป่วนในสังคมได้ เพราะการตรากฎหมายเพื่อมุ่งคุ้มครองศาสนธรรม ศาสนบุคคล ฯลฯ อย่างสุดโต่ง ใครทำผิดต้องโทษรุนแรงนั้นเป็นอันตราย
    อีกทั้ง เนื้อหาบางส่วนลักลั่น เช่น กำหนดว่าผู้ใดร่วมประเวณีไม่ว่าทางใดและวิธีการใดกับพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ต้องโทษจำคุก 5-10 ปี และปรับ 1 แสนบาทถึง 5 แสนบาทนั้น แต่กลับไม่มีการลงโทษพระภิกษุ สามเณร หรือ แม่ชี ซึ่งเป็นคู่ผู้ร่วมประเวณีอย่างรุนแรงเลย
    นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ อภิปรายว่า ตามความผิดของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ อาจมีคนติดคุกกันครึ่งประเทศ เพราะแค่ปูเสื่อขายพระก็เข้าข่ายติดคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และปรับแสนบาท ถือเป็นกฎหมายเผด็จการทางความคิดและอันตรายมาก
    ในที่สุด นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ตัวแทนรัฐบาล ได้ขอรับร่างกลับไปพิจารณา 30 วัน ก่อนส่งกลับมาให้ สนช.พิจารณาอีกครั้ง
    สำหรับรายละเอียดในร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... แบ่งออกเป็น 5 หมวด จำนวน 24 มาตรา ประกอบด้วย หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 การอุปถัมภ์และคุ้มครอง หมวด 3 คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หมวด 4 แม่ชี และหมวด 5 บทกำหนดลงโทษ
    ส่วนเนื้อหาในแต่ละมาตรา โดยสรุปมีดังนี้
    มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติ พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ....
    มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
    มาตรา 3 ตัวบทกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบและคำสั่ง อื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
    มาตรา 4 อธิบายความหมายศัพท์ที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ อาทิ พระศาสดา หมายความว่า พระพุทธเจ้า, ศาสนบุคคล หมายถึง พระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา, คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น
    มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง
    มาตรา 6-7 การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา ตามแนวทางศาสนธรรม และต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานคณะสงฆ์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์
    มาตรา 8 รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    มาตรา 9 การจาบจ้วง ละเมิด ลอกเลียน บิดเบือน หรือการกระทำอื่นใดให้พระศาสดา ศาสนธรรม ศาสนศึกษา ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสีย มัวหมอง หรือวิปริตผิดเพี้ยน จะกระทำมิได้
    มาตรา 10-11 บรรยายถึงหน้าที่ที่รัฐต้องอุปถัมภ์และส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
    มาตรา 12 กำหนดให้นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 21 รูป/คน โดยมีนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
    มาตรา 13 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่งของคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การเป็นกรรมการมิใช่โดยตำแหน่ง อยู่ในวาระคราวละ 2 ปี เป็นต้น
    มาตรา 14 บัญญัติถึงหน้าที่ของคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การวางนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการและโครงการเกี่ยวกับการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานคณะสงฆ์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ เป็นต้น
    มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล โดยมีองค์ประกอบ อำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    มาตรา 16 อธิบายความหมายของแม่ชี คือ อุบาสิกาประเภทอนาคาริกาผู้ไม่ครองเรือนที่ปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นนักบวชสตรี นุ่งขาว ห่มขาว โกนผม โกนคิ้ว ถือศีลแปด
    มาตรา 17 แม่ชี ต้องผ่านพิธีกรรมการเป็นนักบวชในวัดพระพุทธศาสนา โดยมีเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นผู้ทำพิธีกรรม และต้องมีผู้รับรองในการเข้าเป็นแม่ชี
    มาตรา 18 แม่ชีต้องสังกัดและพำนักอยู่ในวัด หรือในสำนักแม่ชีที่มีวัดหรือองค์กรนิติบุคคลทางพระพุทธศาสนาให้การรับรอง รวมทั้งแม่ชีต้องสังกัดสถาบันแม่ชีไทยและต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของสถาบันแม่ชีไทย
    นอกจากนี้ ที่พักอาศัยของแม่ชี ต้องจัดให้เป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด
    มาตรา 19 แม่ชี มีหน้าที่ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติธรรม เผยแผ่และรักษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาและสังคม ตลอดถึงให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาชีวิตให้แก่ประชาชน
    มาตรา 20 รัฐต้องส่งเสริมและพัฒนาแม่ชีให้มีศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมและพัฒนาแม่ชีให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยคำแนะนำของสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
    มาตรา 21 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับพระศาสดาและศาสนธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
    มาตรา 22 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนศึกษา ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท
    ผู้ใดร่วมประเวณีไม่ว่าทางใดและวิธีการใดกับพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ตลอดจนผู้ชักจูง จัดหา หรือจ้างวาน ให้มีการร่วมประเวณีดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท
    มาตรา 23 ผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำต่อพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ผู้นั้นต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ สามเท่า
    มาตรา 24 เป็นบทเฉพาะกาล ระบุว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นของผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
    ที่มา:
    ข่าวสด

    เปิดร่างพระราชบัญญัติ อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา | phrathai.net
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ข่าวของ พระราชบัญญัติ อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา ข้างบนนี้เป็นข่าวเก่า และตอนนี้ พรบ. นี้ก็ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมมาบ้างแล้ว...เห็นได้จากข่าวที่ว่า...

    พศ.จัดการประชุมแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ. อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9E%E0%B8%A8-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E-%E0%B8%A3-%E0%B8%9A-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2.232466/

    สำหรับผมแต่ก่อนนั้นไม่เห็นความสำคัญเท่าไร มาปีนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ต้องการให้ พรบ. ออกมาสำเร็จโดยไว ในรัฐบาลนี้....เพราะปัจจุบันภัยของพระศาสนาจากภายนอกมีมากอย่างเห็นได้ชัด...และจะมีผลทำให้พระศาสนาเป็นปึกแผ่นมั่นคงยิ่งขึ้น....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    วิเคราะห์พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนาพ.ศ..

    [​IMG]


    วิเคราะห์พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนาพ.ศ..

    พระมหาดร.โชว์ ทสฺสนีโย ป.ธ.๗,พธ.บ.,ศศ.ม.,Ph.D.,DODT. รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รองเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย


    -----------------------------------------------------------
    ในร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาพ.ศ......(ฉบับสำนักงานพุทธพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีข้อที่ควรปรับปรุงหลายประการดังนี้
    ข้อความในร่างพระราชบัญญัติมีเนื้อหาค่อนข้างแคบ อย่างมาตรา ๖ “รัฐต้องจัดให้มีการสอดส่องดูแลและปกป้องกิจการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในส่วนที่เป็น ศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และศาสนพิธี มิให้ถูกละเมิด ลอกเลียน หรือทำให้วิปริตผิดเพี้ยน ควรเพิ่มข้อความให้ครอบคลุมองค์ประกอบของศาสนาทั้งหมดคือ พระศาสดา ศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนศึกษา ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี เพราะที่ผ่านมาการสร้างพระพุทธรูปล้อเลียนหลากหลายรูปแบบเช่น พระพุทธใส่หน้าหมา พระพุทธรูปหน้าแมว หรือเอาพระพุทธรูปไปไว้ที่กางเกงใน ใส่ไว้ที่รองเท้า หรือแม้แต่ล่าสุดเรื่องภิกษุสันดานกา เรื่องกลับเงียบเฉย คนดำเนินการกลับลอยนวลอย่างไม่สะทกสะท้านและไม่มีกฎหมายใดเอาผิดกับคนเหล่านี้ได้
    ในร่างพระราชบัญญัติสำนักพุทธฯ ไม่กล่าวถึงคนที่จะเป็นว่าเป็นศาสนาใด ถือว่าเป็นช่องว่างจะทำให้มีการแซกแทรงได้ในอนาคตถ้าคนมาทำงานไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชน ควรเพิ่มกำหนดให้ชัดเจนลงไปว่า “คณะกรรมการกองทุนทุกคนต้องเป็นพุทธศาสนิกชน ไม่อย่างนั้นจะมีการครอบงำจากศาสนิกอื่นได้ในอนาคต เมื่อมีผู้มาดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือถ้าหากจะเป็นกรรมการโดยตำแหน่งผู้มิใช่พุทธศาสนิกชน ก็ควรกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงมาที่เป็นพุทธศาสนิกชนเป็นกรรมการแทน”
    ในคณะกรรมการและคุ้มครองพระพุทธศาสนา ควรมีพระภิกษุผู้แทนมหาเถรสมาคมกำหนดให้ชัดเจน อาจจะเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาโดยตรง หรือเป็นประธานก็ได้ จากนั้นรองประธานก็อาจจะเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ควรกำหนดแค่เพียงว่าจะตั้งก็ได้ไม่ตั้งก็ได้ สาเหตุถ้าไม่มีที่ปรึกษาจากฝ่ายสงฆ์จะไม่มีการคานอำนาจหรือการทำงานอาจจะคลาดเคลื่อนจากหลักการของพระพุทธศาสนาก็ได้ในอนาคต
    สถานะของสำนักงานกองทุนอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ควรเป็นสำนักงานหรือองค์กรเป็นอิสระ เป็นนิติบุคคล ไม่ส่วนราชการ ไม่ควรสังกัดหรือจำกัดอยู่ในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติอย่างฉบับที่ร่างนี้ และอีกอย่างถือว่าเป็นความเลินเล่ออย่างหนักก็คือคณะกรรมการบริหารกองทุน ก็ไม่ควรเอาตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นประธานโดยลำพัง ควรมีพระภิกษุสงฆ์จากมหาเถรสมาคมร่วมเป็นประธานหรือที่ปรึกษา เพื่อร่วมรับรู้รับทราบร่วมแก้ปัญหาที่เกิดมีขึ้นกับการบริหารกองทุนในพระพุทธศาสนา ไม่อย่างนั้นก็จะดูเสมือนประหนึ่งว่าเป็นกฎหมายที่ฆราวาสปกครองสงฆ์(ฆราวาสเป็นใหญ่กว่าพระ)
    คุณสมบัติของคณะกรรมการบริหารกองทุนในพรบ.ของสำนักพุทธฯ ไม่กำหนดเอาไว้ กำหนดเฉพาะคุณสมบัติของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น ให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาครอบคลุมพื้นที่ของประเทศ ในระดับจังหวัดอำเภอ และตำบล โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    ให้สำนักงานกองทุนพระพุทธศาสนาเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกองทุน มีผู้จัดการกองทุนพระพุทธศาสนา เป็นผู้บังคับบัญชา คุณสมบัติเป็นไปตามกฎกระทรวง
    คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในจำนวนคณะกรรมการดังกล่าวนั้น ควรจะมีพระสงฆ์ร่วมเป็นองค์ประกอบร่วมอยู่ด้วย และการเป็นคณะกรรมการดังกล่าวนั้นพระสงฆ์ควรจะเป็นประธานคณะกรรมการ ถือว่าเป็นการให้เกียรติพระสงฆ์และเป็นการคานอำนาจไปในตัวด้วย ถ้ามีฆราวาสเป็นประธานและคณะกรรมการเต็มรูปแบบแล้วพระสงฆ์เป็นเพียงแค่ที่ปรึกษา นานไปก็จะถูกยึดอำนาจโดยเบ็ดเสร็จเด็ดขาด พระสงฆ์ก็จะเป็นเพียงไม้ประดับเฉย ๆ เหมือนการเลือกหรือคัดสรรผอ.สำนักพุทธฯผอ.บรรยากาศจะไม่ค่อยสนใจพระสงฆ์มหาเถรสมาคม กลับไปสนใจเอาอกเอาใจเฉพาะนักการเมืองผู้ให้คุณและโทษเท่านั้น ที่เป็นดังนั้นเพราะพระสงฆ์ไม่มีอำนาจช่วยคานทำงานเดินได้ เรื่องดังกล่าวนี้ก็มีลักษณะทำนองเดียวกัน นาน ๆ ไปก็จะมองได้ว่าเป็นกฎหมายที่ฆราวาสปกครองสงฆ์อย่างที่เราเคยกลัว
    ณ วินาทีนี้มีร่างกฎหมายเกี่ยวการอุปภัมภ์และคุ้มครอง ๓ ฉบับ คือ
    ๑.ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพ.ศ...ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
    ๒.ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาพ.ศ....ของกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันมีพล.เอกปรีชา โรจนเสน ประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปและวัฒนธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
    ๓.ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองและส่งเสริมพระพุทธศาสนา ที่มีพล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (สุวิทย์ คุณกิตติ) พร้อมคณะทำงานพรรคเพื่อแผ่นดิน ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ในคณะรัฐมนตรี จะนำเสนอรัฐสภาต่อไป
    ทั้ง ๓ ฉบับนี้มีส่วนดีส่วนด้อยอยู่เนื้อหาสาระ ทุกคณะก็ล้วนมีความปรารถนาดีต่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ถ้าต่างคนต่างพาย ต่างจั้ม ไม่รวมกันแล้วคัดเลือกเก็บเอาส่วนที่ดีที่สุดเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและสังคมมากที่สุด ถ้าทำงานแบบไม่ประสานกัน ใครทำก่อนคนนั้นก็ได้หน้าได้ตา หาเป็นประโยชน์ไม่ ท้ายสุดก็จะมีลักษณะเหมือนพรบ.คณะสงฆ์ที่ถูกดองเอาไว้ในกฤษฎีกาในปี พ.ศ.๒๕๔๕ มาจนถึงป่านนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าไม่คลอด ร่องรอยประวัติศาสตร์แห่งความชอกช้ำเกี่ยวกับร่างกฎหมายอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา เคยมีมาแล้วมีการดำเนินการมาแล้วในปี ๒๕๓๘ โดยคณะของนายชงค์ วงษ์ขันธ์ ในปีนั้นร่างกฎหมายกลับล้มโดยไม่เป็นท่า เพราะขาดเอกภาพในการทำงานของชาวพุทธ และเพราะขาดสิ่งสำคัญคือความไม่สามัคคีกันในกลุ่มชน
    ทางออก
    การดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายของพระพุทธศาสนาควรดำเนินการโดยเร่งด่วน เพราะอายุของรัฐบาลมีอายุยืนยาวไม่พอที่จะรอให้คณะสงฆ์และชาวพุทธได้ทำการประชาพิจารณ์อย่างถ้วนทั่วทุกรูปของประเทศไทย เพราะกลุ่มต่าง ๆต่างจ้องเพื่อที่ล้มล้างรัฐบาลได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว เช่น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มสสร.เก่าที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีน.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นต้น มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อการคัดค้านไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มนักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ก่อหวอดหลายเรื่อง และอีกหลายกลุ่มที่จ้องหาหนทางเพื่อทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลเพื่อให้มีอายุสั้นเข้า และถ้าผ่านรัฐบาลนี้ไปต่อรัฐบาลอื่นความหวังของชาวพุทธคิดหรือว่าจะมีหนทางในการสนับสนุนชาวพุทธ จะเหมือนกับบรรยากาศหน้ารัฐสภาที่ชาวพุทธได้รณรงค์ ให้มีการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติที่ผ่านมา มันคาดการณ์กับเสถียรภาพของรัฐบาลไม่ได้ เมื่อทำการประชาพิจารณ์สังฆประพิจารณ์ในครั้งนี้แล้วต้องรีบด่วน เพื่อให้ทันเวลากับสถานการณ์ของบ้านเมืองในเวลานี้ด้วย
    ------------------------------------------------------------------​

    พระมหาดร.โชว์ ทสฺสนีโย
    ป.ธ.๗,พธ.บ.,ศศ.ม.,Ph.D.,DODT.
    รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    รองเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย​

    http://newweb.bpct.org/content/view/197/33/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  13. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,410
    ค่าพลัง:
    +15,762
    กำลังเต๊ะหมูเข้าปากหมาหรือเปล่าหนอ...แค่นี้ก็วุ่นวาย ป่นปี้จะแย่อยู่แล้ว เอาแค่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยก็ดีแล้ว ขอแค่นี้ให้สำเร็จก่อนเถิด
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ผมว่าคุณยังไม่รู้อะไรอีกมากนะครับ....ไปศึกษาให้ดีก่อนแล้วค่อยพูดคงจะดี...

    มัวแต่ไปสนใจแค่นั้นอีกหน่อยไทยก็ไปเป็นแบบตะวันออกกลางแทน.

    http://palungjit.org/threads/กฎหมายอิสลามฉบับล่าสุดที่อาจมีผลกระทบกับชาวพุทธ.298777/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  15. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,410
    ค่าพลัง:
    +15,762
  16. นายดอกบัว

    นายดอกบัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +5,676
    ดีครับ เพราะเราจะได้ตรวจสอบการฟอกเงินของกาฝากในคราบผ้าเหลืองได้
     
  17. นพคุณ จุธากรณ์

    นพคุณ จุธากรณ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +79
    อะไรที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับมรรคกับผลไม่น่าจะเกี่ยวกับสงฆ์(พระผู้มีปณิธานที่จะพ้นจากวัฏฏ) ควรเป็นกิจของฆราวาส ควรแยกหน้าที่ที่มีต่อพระศาสนากันให้ถูกต้อง
     
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    คิดไว้แล้วว่าจะต้องมีชาวพุทธที่มีความคิดเห็น เช่นนี้ จริงๆแล้วมันก็อาจที่จะเป็นเรื่องธรรมชาติ...

    ทำไมพระสงฆ์จะต้องเข้ามายุ่งในเรื่องกฏหมาย มองแล้วไม่น่าจะเป็นกิจของสงฆ์ สมควรที่จะให้ฆราวาสทำมากกว่า....เป็นความคิดเห็นที่ออกมาจากใจจริง....

    ในความเป็นปกตินั้น คนๆหนึ่งจะเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีคุณค่า ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นมีค่ามากในจิตใจ....ย่อมให้ความสำคัญ ย่อมให้การดูแลรักษา.....ในขณะเดียวกันถ้าสิ่งในสิ่งหนึ่งมีค่าน้อย หรือเป็นอันดับที่ต่ำลงมา ก็มักจะให้ความสำคัญน้อยลงมา หรือ ไม่ให้ความสำคัญ....อันนี้มันเป็นธรรมชาติ...

    เมื่อคุณได้เห็นภาพพระสงฆ์ ที่ออกมาดิ้นรนด้านกฏหมาย ก็อาจคิดว่าไม่ใช่กิจ ไม่ใช่หน้าที่ของสงฆ์.....สิ่งหนึ่งที่เป็นคำถามคือ หน้าที่ของสงฆ์คืออะไร...หน้าที่ของสงฆ์จำกัดแต่ว่าอยู่ที่วัด ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ ไม่ต้องสนใจเรื่องภายนอก ไม่ต้องร่วมกันรักษาพระศาสนา ปล่อยมันเลยตามเลย...อย่างนั้นหรือ...

    หวลกลับไปในเรื่องค่าของจิตใจ....พระสงฆ์ ทุกวัน ทุกลมหายใจเข้าออก จะต้องอยู่กับพระศาสนา พระศาสนาอยู่ได้ พระสงฆ์อยู่ได้ พระศาสนาอยู่ไม่ได้ พระสงฆ์อยู่ไม่ได้ แน่นอนว่าค่าทางจิตใจในเรื่องของพระศาสนาของท่านต้องสูงกว่ามากกว่าฆราวาส....ยกตัวอย่าง..คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->นพคุณ จุธากรณ์<!-- google_ad_section_end --> เป็นต้น และอาจเป็นอย่างกับหลายๆคนในที่นี้...เพราะว่าอะไร เพราะว่าเมื่อพระศาสนาเสื่อมสูญ ฆราวาสย่อมอยู่ได้ และสิ่งที่เป็นเรื่องปกติอีกอย่างคือ ไม่ใช่เรื่องของฉัน ฉันไม่สนใจ (ค่าในใจมันน้อย)....จึงมีลักษณะของบุคคล โดย เฉพาะฆราวาส อย่างคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->นพคุณ จุธากรณ์<!-- google_ad_section_end --> ค่อนข้างมาก....

    เมื่อเห็นพระสงฆ์ท่านออกมาทำหน้าที่เพื่อรักษาและทำนุบำรุงพระศาสนาไว้ให้มีความมั่นคงต่อไป เช่น ร่างกฏหมายคุ้มครองพระพุทธศาสนา หรือ ผ้าป่าช่วยชาติ เป็นต้น ก็จะมีคำกล่าวในลักษณะที่ว่า..

    คำถามต่อไปคือ ฆราวาส คนใหนเล่าที่จะมาให้ความสนใจด้านพระพุทธศาสนาเท่าพระสงฆ์........

    น่าอนาจใจอย่างยิ่ง ไม่เข้าใจ หรือว่ามันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่ชาวพุทธอย่างคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->นพคุณ จุธากรณ์<!-- google_ad_section_end --> ทำไมจึงมีมากจริงๆ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  19. Reynolds

    Reynolds เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    578
    ค่าพลัง:
    +1,501
    ทำอะไรเพื่อพระพุทธศาสนาบ้างเถอะ เรื่องบางเรื่องก็อย่ามัวแต่ปล่อยวางช่างมันอยู่อย่างเดียวแล้วไม่ทำอะไรเลย แล้วปล่อยให้ศาสนาอื่นสาวเอาๆ ได้คืบเอาศอกโดยที่เราปล่อยวางอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นศาสนาของพระศาสนาหายไวแน่ อย่ามัวแต่ขัดแข้งขัดขากัน เราพุทธศาสนิกชนควรช่วยเหลือผลักดันส่งเสริม อะรที่ช่วยพระพุทธศาสนาไว้ได้ทำเถอะ จะเล็กจะน้อยจะเยอะก็ทำ ยังดีที่ได้ทำถึงแม้ทำน้อยยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเพื่อศาสนาของพระศาสดาเราเลย อย่าเอาแบบประเภทไม่ทำอะไรไม่คิดจะช่วยเหลือแล้วมาขัดแข้งขาเขา ไม่ให้ความร่วมมือแถมมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ไม่ดีแน่
     
  20. โชเต

    โชเต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +331
    ดีครับ...ผมสนับสนุน ให้มีธนาคารชาวพุทธ และข้อกฏหมายของชาวพุทธ

    เขียนกฏหมายไปเลยว่า รัฐธรรมนูญแห่งพระราชอานาจักรไทย

    "มีศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติไทย"

    เพื่อเป็นประโยชน์แก่ศาสนาพุทธ และประเทศไทย ตราบกาลนาน...
     

แชร์หน้านี้

Loading...