ธรรมชโย วัดพระธรรมกาย จริงๆแล้วเป็นใคร??มีคำตอบ..

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย maxgatod, 16 มกราคม 2011.

  1. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +516
    เอาแล้วไง ทำมาดีตลอดไหงหลุดไปเฉยๆงั้นแหละ
    เรื่องลูกแก้วหรืออะไรก็ตามที่ใช้ในการฝึก ผมคิดว่ามันเป็นกลอุบายวิธีของอาจารย์แต่ละท่านครับ
    มโนมยิทธิ เป็น1ในวิชชา3 หรือแตกออกไปอีกคือวิชชา8 ทั้งวิชาธรรมกายและมโนมยิทธิ อยู่ในหลักวิชชาเหล่านี้ทั้งหมด อันเป็นวิชชาทางพระพุทธศาสนา การปฎิบัติทั้งสมถกัมมัถฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติจะมีวิชชาเหล่านี้ติดตัวหากบารมีที่สะสมมีพอ
    ไม่ว่าจะมหายาน หรือเถรวาท รากเหง้ามาจากตัวเดียวกันคือพระไตรปิฎก แต่ที่เราบอกว่าเพี้ยนไปนั้นผมคิดว่าไม่น่าจะใช่ทั้งหมด มันน่าจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภูมิประเทศ วัฒนธรรมของแต่ละยุคสมัย ส่วนหนึ่งที่เห็นกันชัดๆเลยคือ ศาสนาพุทธนั้นถูกจ้องทำลายมาตั้งแต่สมัยพระบรมศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ที่ชัดเข้าไปอีกก็คือ ผู้เป็นอาจารย์บางท่านในพุทธศาสนาเป็นผู้จ้องทำลายเสียเอง จึงต้องมีการทำสังฆายนาทุกครั้งไป
    ทั้งหินยาน มหายาน เถรวาท ล้วนโต้เถียงกันในเรื่องความถูกต้องในพระธรรมวินัยกันมาตลอด ถ้าใครเป็นเปรียญธรรมจะทราบดี ว่าประวัติศาสตร์ตรงนี้เป็นอย่างไร ผมเองเรียนมาคร่าวๆ ก็พอทราบบ้างเล็กน้อย
    แต่สรุปแล้วบ้านเราเหมาะสมกับเถรวาทมากที่สุด ไม่ตรึงหรือหย่อนเกินไป
    จะนิกายใหนก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ให้เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นแหละครับ ตราบใดที่นิกายเหล่านั้นยังอ้างพระไตรปิฏกไว้เป็นหลัก
    หลักการตัดสินคำสอนของพระพุทธศาสนาว่าอันใหนแท้ใหนเทียมนั้นก็ไม่ยากใช้หลักมหาปเทส 10 มาตัดสินก็ทราบแล้ว
    อนุโมทนาครับ
     
  2. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    ของแบบนี้ ตราบใดที่นิพานมีเมืองแก้วมีภพนั้นภพนี้ก็ปลอมหมดแหละ ผมเหนื่อยที่จะเอาหลักพิจรณาวินัยสงฆ์8ปรพการมาโฟสแล้วไปหาอ่านเองละกัน
     
  3. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    อันนี้เข้าใจดีครับ แต่มันอยู่ที่เจตนาผู้ถ่ายทอด ว่าท่านหาผลรึเปล่า...
     
  4. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    ไม่้ได้ปรามาสครับ ผมวิเคราะห์ เป็นการแสดงความเห็นของผม ถ้ายังติกับหลักเทวนิยมไม่กล้าแสดงออกผมว่าปะเทศชาติไม่เ้จริญหรอกครับ เรามีความคิดเราเป็นปัญญาชน มีสิทธิ์มีเสียง สาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสย์ศาสาตร์ ฉนั้นคนคิดตามและออกเสียงได้
     
  5. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    คนอย่างผมไม่ได้เก่งอุตริอะไรไม่ได้อวดรู้ทั้งนั้น มีอะไรขัดข้องหรือผมผิดพลาดประการได้ โทรมาต่อว่าหรือคุยได้ผมลูกผู้ชายพอไม่ใช่ว่าเก่งแต่ออนไลน์ 0847319077
    หลัง2ทุ่มนะครับ
     
  6. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    613
    ค่าพลัง:
    +683
    วิถีคนจร


    ขอโทษนะ ไม่ได้ดูตัวเองเลย กิเลสท่วมกระบาน ดันทลึ่งไปวิจารณ์

    พระที่ทรงคุณธรรม ไอ่ที่ ที่คุณรู้มาน่ะ ยังไม่เท่าาหางอึ่งเลย ตื่นเช้า ลองถามตัวเอง

    ดูสิ ศีลห้าครบยัง โลภ โกรธ หลง ยังท่วมหัว ยังมืดบอด

    ตาบอดคลำช้าง แสดงวิสัยทัศน์ เปรียบได้กับ คนมีกิเลสท่วมหัวแบบคุณ

    แบบผม วิจารณ์ นิพพาน สิบครั้ง ก็ผิดสิบครั้ง
     
  7. หน้าใส

    หน้าใส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +128
    หยุดเสียทีเลิกกันทีได้ไหม
    หยุดคว้าไขว่ตามพอใจของตน
    หนทางแจ่มใสเมื่อคุณหยุดใจของตน
    โลกคลายหมองหม่นตลอดไป
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  8. DarKKazE

    DarKKazE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +240
    ถูกต้องครับ พระนิพพานนั้น ภาษามนุษย์ยังหยาบเกินไปที่จะอธิบายได้

    ขนาดฌาณญาณสมาบัติซึงหยาบกว่าพระนิพพาน ใช้ภาษาอธิบายยังไม่เท่าอารมณ์สัมผัสเองเลย

    ประสาอะไรกับวิทยาศาสตร์หีดๆหุ้ยๆ จะอธิบายความลึกล้ำของพระพุทธศาสนาได้

    พระพุทธศาสนาไม่ได้ตรงกับวิทยาศาสตร์ดอกครับ

    แต่วิทยาศาสตร์น่ะ แค่สัมผัสกับส่วนเล็กๆน้อยๆทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    จะเรียกว่าตรงกับกระพี้ของพระพุทธศาสนายังมากไปเลยครับ
     
  9. กำนันธงชัย

    กำนันธงชัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +75

    เห็นด้วย ตอนแรกก็คิดว่าคุณวิถีคนจร ไม่เห็นด้วยแต่กับวัดธรรมกาย แต่นี่เล่นไปถึงหลวงพ่อฤาษีเลยหรือ นรกท้วมแล้ว
     
  10. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    พวกท่านนี่ยังไม่เข้าใจ ต้องให้ผมมาอธิบายจนยืดยาวววว

    ก็เพราะถ้าหลวงพ่อฤษีท่านบอกว่านิพพานคือไม่มีอะไรเลย ถามว่าอาม่าอาซิ้มคุณยายคุณป้าคุณลุงทั้งหลาย จะมานั่งสมาธิไหมครับจะมาปฏิบัติธรรมไหมครับ
    ถามว่าที่หลวงพ่อฤษีท่านบอกว่า ไปเจอนั้นนู่นนี่ในพระนิพาน ผมก็เคยอ่านหันงสือท่าน คุณคิดว่าจริงไหมหล่ะ พวกคุณควรมองหลายมิติ

    .............คนที่ฟังความว่านิพพานโดยยังไม่มีปัญญาก็อาจคิดไปว่านิพพานไม่น่าไปฉันจะไปทำไม!!! "ฉันอยากไปสวรรค์ นิพพานก็จบสิ"
    ฉะนั้น """มโนยิทธิ ก็ออกนอกทาง เพราะไม่ได้เป็นทางไปนิพาน"""
    ผมวิเคาระห์ออกมาคือ มโนยิทธิ เปรียบเหมือนโฆษณาของศาสนารูปแบบหนึ่ง เพราะมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ถอดจิต มีฤทธิได้ ตรงนี้คือจุดสนใจ เป็นโมษณา ที่ชวนให้มาถือศีล

    เมื่อถือศีลก็ไปนั่งสมาธิแบบ"""มโนยิทธิ"" กระบวนการของไตรลักษณ์ เกิด คือศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อชวนไปถือศีลและสมาธิ ผมถามตรงๆ ลูกศิษย์ท่านหลวงพ่อฤษี ที่เข้ามาปฏิบัติสายนี้ทีแรกเพราะเห็นทางพ้นทุกข์หรือ ส่วนมากท่านๆทั้งหลายที่มาก็เพราะความวิเศษในฤทธิ์ของหลวงพ่อ แทบทุกคนที่มาก็มาเพราะความอยาก อยากมีฤทธิ์ อยากขึ้นสรววค์ อยากไปนิพพาน(ที่เป็นเมืองแก้ว) พอมาปฏิบัติเข้า เกิดปัญญาบางท่านเกิดหน่ายในฤทธิ์เกิดหน่ายในโลกเริ่มแสวงหาแก่นธรรมศึกษาต่อ บางท่านก็ยังไม่เกิดปัญญาสักทีอย่างน้อย ก็ได้ในลำดับญาณสักขั้นหนึ่ง แน่ๆคือไม่ตกอบายแน่นอน

    ผมจึงบอกไม่ผิดและไม่ได้เป็นการปรามาสหลวงพ่อว่า"มโนยิทธิ"ออกนอกทาง
    แต่เมื่อคุณเดินทางนี้แล้วก็จะรู้ทางเองแล้วแต่ปัญญา แต่สิ่งที่หลวงพ่อให้คือทางของท่านไม่สะดุดไม่ขุขระ ไม่เลี้ยวไปตกอบาย แถมยังมีแยกไปนิพานจริงๆอยู่เป็นระยะ ก็อย่างที่บอกอะครับแล้วแต่ปัญญา


    ฉนั้นผมไม่ได้ต่อต้านสายหลวงพ่อฤษี
    แต่ผมต่อต้าน วัดพระธรรมกาย วิชาธรรมกายยังไม่เท่าไหรเพราะเมื่อโยนลูกแก้วทิ้งจากใจเข้าสู่อรูปญาณได้ก็ไปต่อได้

     
  11. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    ส่วนเรื่องธรรมกายนี้นะครับ ของจริงๆไม่ใช่แบบวัดธรรมกายหรือแบบวิชาของหลวงพ่อสดปฏิบัติกัน แต่ธรรมกายคือสภาวะหนึ่งและเข้าถึงยาก พระโพธิสัตว์ ที่บรรลุแห่งการรู้แจ้ง(โพธิญาณ)แล้ว ท่านก็จะมีอิสระจากวัฏะสงสารท่านจะอยู่ในรูปแบบของธรรมกายครับ
    นี่คือธรรมกาย" ส่วนรายละเอียดมากกว่านี้ผมยังศึกษาไม่พอขอยังไม่อธิบายดีกว่านะครับ เดียวจะผิดครับ""""" ยังไงก็สนทนาธรรมกันได้นะครับสำหรับกัลยาณมิตรทุกท่าน""""
    จะมาแลกเปลี่ียนความรู้กันหรือจะมาด่าผม
    โทรมาได้ครับ 0847319077 เพราะผมเปิดเผย.....ไม่ได้ใช้userที่ไม่มีที่มาคุยกันอย่างเดียวผมมีตัวตนจริงๆครับ
     
  12. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    ความสามารถในการละสังโยชน์จะเรียงจากต่ำไปหาสูง ดังนั้น ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทการตรัสรู้ การรู้แจ้ง หรือการบรรลุธรรมจึงมีลำดับขั้นที่เป็นระบบกฎเกณฑ์แน่นอนชัดเจน ดังนี้

    พระโสดาบัน เป็นผู้ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้

    พระสกิทาคามี เป็นผู้ละสังโยชน์ 3 อย่างได้เช่นเดียวกับที่พระโสดาบันละได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถทำราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบางลงไปได้อีก

    พระอานาคามี เป็นผู้ละสังโยชน์เพิ่มขึ้นได้อีก 2 อย่าง (จากที่พระโสดาบันและพระสกิทาคามีละได้) ได้แก่ กามราคะและปฏิฆะ รวมเป็น 5 อย่าง

    พระอรหันต์ เป็นผู้ละสังโยชน์ทั้ง 10 อย่างได้โดยสมบูรณ์ (อภิ.วิ.35/837)
     
  13. เทพเมรัย

    เทพเมรัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +81
    ผมว่า มันก็เหมือนคนเป็นพ่อเป็นแม่ หลอกลูกน้อยให้กินยาเพื่อบรรเทาเจ็บป่วย

    ลูกยังเด็ก เมื่อกินยาขมก็ไม่ยอมกิน พ่อแม่ไม่อาจอธิบายผลดีของยาให้ลูกทราบได้ และลูกน้อยคงยากจะเข้าใจ บางครั้งพ่อแม่ต้องใช้ข้าว ใช้ขนมห่อหุ้มยา และหลอกลูกน้อยว่า นี่ขนมแสนอร่อยน่ะลูก กินเสียเถอะลูกรัก

    ความมุ่งหมายของพ่อแม่ อยู่ที่ผลของยาบรรเทาป่วยไข้ ส่วนสิ่งหุ้มห่อ และคำหลอกลวง เป็นกุศโลบายเพื่อให้บรรลุผล ก็ลูกน้อยยังด้อยปัญญานัก จำต้องใช้วิธีนี้

    การสอนสั่งพระธรรมของสำนักต่างๆ แรกก่อตั้งก็ด้วยมีจิตที่ปราถนาดีต่อมวลมนุษย์ แต่ถ้าจะให้สอน ให้เรียน ตามตำราไตรปิฏก ตามตัวอักษร คนคงเบื่อน่าดู กุศโลบายต่างๆ ที่เปรียบเหมือนขนมห่อยาขม จึงจำเป็นต้องมี ก็เพราะปัญญาคนมันไม่เท่า ไม่เหมือนกัน มาแต่ไหนแต่ไร

    ปัญญาบางคน มุ่งเน้นไปที่แก่นได้เลย ไม่มีอ้อม ไม่มีเปลือกหุ้ม
    ปัญญาบางคน ต้องเติมเปลือก เติมสิ่งห่อหุ้มเข้าไป เพื่อฉุดเข้าหาแก่น
    ปัญญาบางคน ได้เพียงเปลือก ไม่สนแก่น ก็ยังถือว่าดีแล้ว
    ปัญญาบางคน แยกเปลือก แยกแก่น ไม่ได้เลย

    คนแต่ละกลุ่ม ต่างก็มอง วิจารณ์พฤติกรรมของกลุ่มอื่นที่ผิดเพี้ยนไปจากตน ว่าไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ซึ่งมันก็ย่อมเป็นเหตุแห่งการโต้เถียงกันไม่จบ ไม่สิ้น บางครั้งถึงขั้นล้มล้างกัน หรือทำลายกัน อย่างน่าสลด

    ประวัติศาสตร์มนุษย์เรา มักเป็นเช่นนี้เสมอ วนเวียนไปมา สมดั่ง ใจมนุษย์นี้ ยากสุดหยั่งถึง
     
  14. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    อนุสสติกรรมฐาน ๑๐
    อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว

    ๒๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ๒๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
    ๒๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    ๒๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
    ๒๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
    ๒๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    ๒๗. มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    ๒๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต
    ๒๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต
    ๓๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ผมยกตรงนี้มา เพื่อจะได้เห็นว่ากรรมฐานที่เราปฏิบัติกันเบื่องต้นโดยไม่รู้ตัว
    เช่นการสวดภาวนา หลายสำนักหลายหลวงพ่อก็จะใช้อุบายต่างๆนาส่วนมากที่พบครับจะเข้าในหมวด "อนุสสติ" เป็นส่วนใหญ่
     
  15. กำนันธงชัย

    กำนันธงชัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +75
    สวัสดี เจ้าสำนักคนใหม่

    ท่านวิถึคนจร
     
  16. หน้าใส

    หน้าใส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +128
    ส่วนเรื่องธรรมกายนี้นะครับ ของจริงๆไม่ใช่แบบวัดธรรมกายหรือแบบวิชาของหลวงพ่อสดปฏิบัติกัน แต่ธรรมกายคือสภาวะหนึ่งและเข้าถึงยาก พระโพธิสัตว์ ที่บรรลุแห่งการรู้แจ้ง(โพธิญาณ)แล้ว ท่านก็จะมีอิสระจากวัฏะสงสารท่านจะอยู่ในรูปแบบของธรรมกายครับ

    ธรรมะผมยังไม่ค่อยละเอียดลึกซึ้งเท่าไหร่ ไม่ขอวิจารณ์นะครับ
    เชิญคุณวิถีคนจรแสดงภูมิรู้ภูมิธรรมของ่ทานมาให้หมดเถิดครับ จะได้เป็นบุญตาแก่ปุถุชนอย่างผม

    หยุดเสียทีเลิกกันทีได้ไหม
    หยุดคว้าไขว่ตามพอใจของตน

    หนทางแจ่มใสเมื่อคุณหยุดใจของตน
    โลกคลายหมองหม่นตลอดไป
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  17. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    แฮ่ม...ผมว่าการนำเสนอสวรรค์มาหลอกล่อ...แค่นี้ก้อคงไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะไม่ต่างอะไรกับการหลอกลวง แต่ใครจะเชื่อถือนับถือ ก้อแล้วแต่จริตของแต่ละบุคคล
     
  18. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    มันเป็นปัญญาของคนครับ ถ้าปัญญาน้อยก็หลงก็ติด กลายเป็นวิปัสนูกิเลศไป
    ถ้าปัญญามาก พัฒนาละลางตัวตนต่อได้ก็ไปได้ อย่างที่ผมบอกนะครับ
    วิชาธรรมกาย แค่โยนลูกแก้วทิ้ง อย่าไปติดกับกายอะไรในลูกแก้วก็ลบมันเสีย
    มันเป็นอุปทานทั้งนั้น แค่นั้นก็พัฒนาต่อได้
    ส่วนเจ้าสำนักลัทธิก็อยู่ที่เจตนาเขาเพราะกรรมมีผลมากที่เจตตนา บางที่ลงนรกเลยคงไม่ต้องพูดว่าที่ไหนนะครับ ^^


    ส่วนคนที่เขาบอกให้หยุดเขาคงรับไม่ได้เหมือนกันเพราะเขาก็คือผู้ศึกษาธรรมกายครับ
     
  19. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    ใจที่ติดคะติแบบเทวะนิยมเอาเทวะนั้นโยนทิ้งไปเถิด นี่คือการเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดไม่ใช่การแตกแยก รู้จักไหมมีจุดต่างในจุดร่วม
    ถ้าคุณมองว่านี่คือการแตกแยกคิดใหม่ การแลกเปลี่ยนเสวนาเพื่อสานทอปรัชญาและความคิด ถ้าจิตใจยังติดคติเดิมคือเทวะนิยมกับอณุรักษ์นิยมก็ไม่เข้าใจการแลกเปลี่ยนความเห็นแบบนี้หรอกครับ

    ศาสนาพุทธคือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ปรุงแต่งอวิชา
    แต่ทรงสอนให้ละอวิชา(ความไม่รู้)
     
  20. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    698
    ค่าพลัง:
    +226
    อวิชชาคือความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวะเป็นจริงตามสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์ ความไม่รู้นี้ครอบคลุมถึง "ไม่รู้เท่าทันหรือสติ และการไม่นำไปปฏิบัติด้วย" ด้วย หรือความไม่รู้แจ้งแทงตลอดและไม่ปฏิบัติในอริยสัจ๔ และปฏิจจสมุปบาท หรือ อวิชชาทั้ง๘ ตามความเป็นจริง
    กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ สรรพสัตว์ทั้งหลายกำเนิดเกิดขึ้นมาพร้อมด้วยอวิชชา(ความไม่รู้,รวมทั้งไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริง)โดยธรรมชาติอันมีพร้อมกับการเกิด จึงย่อมต้องดำเนินและเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทล้วนสิ้น เพราะวิชชาเป็นสิ่งที่ต้องสังขาร(ต้องปรุงขึ้น)ทำให้เกิดขึ้น ต้องสั่งสม ต้องทำให้เจริญยิ่งๆขึ้น มิใช่เกิดขึ้นมาได้เอง จึงเป็นการสังขารสั่งสมทั้งทางด้านปัญญา ศีล สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จนเกิดสัมมาญาณ(ปัญญาอันยิ่ง)อันเป็นมรรคองค์ที่๙ (สัมมัตตะ๑๐) จึงจะเกิดสัมมาวิมุตติขึ้นได้ อันคือ สุขจากการหลุดพ้นอันเป็นมรรคองค์ที่๑๐
    อวิชชา อันคือ ไม่มีความรู้ ความไม่เข้าใจ และไม่รู้เท่าทันในเหตุปัจจัยอันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ และการดับทุกข์หรือพ้นทุกข์ตามความเป็นจริง อันคือความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอด ไม่รู้เท่าทัน(สติ) ในการดับทุกข์ เพราะอวิชชา๘ อันมีดังนี้
    ๑.ไม่รู้จักทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ดับสนิทอันหมายถึง อุปาทานทุกข์ อันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลน หรือก็คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง๕ อันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่อาศัยกันและกันจึงยังให้เกิดขึ้นได้ จึงทําให้การปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเป็นจริง เช่น พยายามในสิ่งที่ยึดแต่เข้าใจผิดๆ อันทําให้ไม่สามารถปฏิบัติได้ เช่น เข้าใจผิดว่าทำบุญทำกุศลหรือปฏิบัติธรรมแล้วจักไม่มีทุกข์ ไม่มีโศก ไม่มีโรค ไม่มีภัยใดๆ มีแต่โชค ลาภ วาสนา มีเทวดา บุญกุศลคอยคํ้าจุนเกื้อหนุน, แต่ตามความเป็นจริงแล้วกลับเป็น เหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่เพราะเป็นสภาวะธรรม แต่ไม่มีผู้รับ(หมายถึงจิต)ผลทุกข์นั้น หรือที่เรียกว่าสภาพ "เหนือกรรม" จึงจักเป็นการเข้าใจที่ถูกต้องดีงาม
    หรือความไม่เข้าใจว่าทุกข์นั้น มีทั้งที่เป็นทุกข์ธรรมชาติที่เป็นสภาวะธรรม จึงมีความเที่ยงเป็นธรรมดา ดังเช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย การพลัดพรากจาดสิ่งอันเป็นที่รัก การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก การปรารถนาในสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้น เหล่านี้เป็นทุกข์ รวมทั้งเวทนาต่างๆ ยังคงต้องเกิดมีเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดา จึงไม่สามารถดับให้สูญไปได้ แต่กลับไปพยายามปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ธรรมชาติเหล่านั้น จึงย่อมไม่ประสบผลสำเร็จ, ตามความเป็นจริงและถูกต้องนั้น ต้องปฏิบัติอย่างไร อย่าให้ทุกข์เหล่านั้นแปรปรวนไปเป็นอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน ได้แก่การมีสติระลึกรู้เท่าทันอย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีปัญญาเข้าใจในสิ่งต่างๆเหล่านั้นอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงในธรรมนั้นๆ
    ทุกข์ธรรมชาติเหล่านั้นอันรวมทั้งทุกขเวทนาทั้งหลายนั้นก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่งจริงๆเช่นกัน เพียงแต่ว่าธรรมชาติเดิมแท้ของทุกข์ธรรมชาตินั้นไม่มีความเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายด้วยไฟของกิเลสตัณหาอุปาทาน เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่อย่างจางคลายไป และเนื่องจากขาดเหตุปัจจัยให้เกิดสืบเนื่องต่อไปอีก จึงดับไปในขณะจิตหนึ่ง แต่ที่ปุถุชนมีความรู้สึกเป็นทุกข์กันอยู่นี้ อันแท้จริงแล้วล้วนเป็นอุปาทานทุกข์ทั้งสิ้น แต่เพราะอวิชชาจึงไม่รู้ว่าเป็นอุปาทานทุกข์ กลับไปคิดว่าเป็นทุกข์ธรรมชาติเสียอีก (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)
    ๒.ไม่รู้จักสมุทัย ว่าเหตุให้เกิดทุกข์มาจาก ตัณหา๓, หรือในแนวทางปฏิจจสมุปบาท คือ อาสวะกิเลส ไม่เห็นเป็นไปอย่างแจ่มแจ้งแทงตลอด กลับไปคิดนึกค้นหาเหตุปัจจัยอื่นๆว่าเป็นเหตุ เช่น พยายามดับรูป ดับนาม ดับเวทนา กันไปต่างๆนาๆเพราะคิดว่าเป็นเหตุ, หรือโทษกรรมเก่าในชาติก่อน(กรรมวิบาก)อันแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆไม่ได้แล้ว อันไม่มีคุณประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น อันรังแต่ก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์ (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)
    ๓.ไม่รู้จักนิโรธ เป็นเช่นใด ไม่เคยสัมผัสสภาวะว่างจากกิเลสตัณหาอันยังให้ใม่เกิดอุปาทานทุกข์, หรือเข้าใจผิดคิดว่าผลอันเกิดแต่สมาธิหรือฌานเป็นสภาวะนิโรธ, ไม่ทราบว่าดับทุกข์ได้แล้ว จักเป็นสุข(ในธรรม)เยี่ยงใด? คุ้มค่าให้ปฏิบัติไหม? มีจริงหรือเปล่า? ทําให้มีความสงสัยอยู่ลึกๆแบบแอบซ่อนนอนเนื่องอยู่ในจิตตลอดมา (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)
    ๔.ไม่รู้จักมรรค ควรปฏิบัติอย่างไร?, ศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจ, ปฏิบัติไม่ถูก, ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน?, ทําตัวไหนก่อน? (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา จึงยังให้เกิด ศีล - สัมมาสติ - สัมมาสมาธิ อย่างถูกต้องดีงาม)
    ๕.ความไม่รู้อดีต คือ การไม่รู้ระลึกชาติหรือภพที่เคยเกิดเคยเป็นในปัจจุบันชาติ หรือก็คือการย้อนระลึกขันธ์๕ที่เคยเกิดเคยเป็น กล่าวคือไม่รู้ไม่เข้าใจขันธ์๕ที่เคยเกิดๆดับๆ อันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์นั้นมีเหตุปัจจัยจากอะไร? เพื่อเป็นเครื่องเตือน เครื่องรู้ เครื่องระลึก อันก่อให้เกิดปัญญา อันยังให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)
    ๖.ความไม่รู้อนาคต คือ การไม่รู้อนาคต คือไม่รู้ไม่เข้าใจในการอุบัติ(เกิด) การจุติ(ดับ) ของขันธ์ทั้ง๕ว่าล้วนเป็นไปตามกรรมคือตามการกระทําที่มีเจตนาทั้งสิ้น หรืออนาคตนั้นก็จักเป็นไปตามเหตุปัจจัยอันคือกรรมการกระทํานั่นเอง และความทุกข์ในภายหน้าก็ล้วนเกิดดับอันเกิดแต่กรรมการกระทํา อันจักยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕เช่นเดิมหรือเกิดความทุกข์ขึ้นเฉกเช่นเดียวกับอดีตเพราะความไม่รู้จึงมิได้แก้ไข กล่าวคือการรู้อนาคตเพราะการเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง คือเมื่อเหตุเป็นเช่นนี้ ผลเยี่ยงนี้จึงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อันเกิดขึ้นจากความเข้าใจในสภาวะธรรมอย่างแจ่มแจ้ง (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)
    ๗.ความไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)
    ๘.ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ทราบ,ไม่รู้ธรรมชาติของทุกข์ คือ ไม่รู้กระบวนธรรมการเกิดขึ้น และการดับไปแห่งทุกข์ คือ ไม่รู้ในธรรมข้อที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้ตามหลักอิทัปปัจจยตา เมื่อกําจัดเหตุปัจจัยบางประการเสียได้ ย่อมทําให้ธรรมนั้นไม่ครบองค์หรือขาดสมดุลย์ที่จะประชุมปรุงแต่งกันขึ้นมาได้ อุปาทานทุกข์หรือธรรมนั้นๆก็ย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้ (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)
    วิชชานี้ไม่ใช่วิชาความรู้ทั่วๆไปในทางโลกๆที่เรา เล่าเรียนศึกษากัน เป็นวิชาทางพุทธศาสตร์ในการดับทุกข์ อันไม่เกี่ยวเนื่องใดๆกับวิชาความรู้ในทางโลกทั้งหลาย ดังจักเห็นได้ว่าในบางคนนั้นวิชาทางโลกนั้นสูง แต่กลับเต็มไปด้วยอวิชชาและความทุกข์
    หรือเราอาจจักกล่าวได้ว่า อวิชชาก็คือตัณหา,อุปาทานหลักที่นอนเนื่องอยู่ในจิต(หมายความว่ายังไม่แสดงอาการหรือฤทธิ์ออกมา) และยังไม่มีวิชชาความรู้ความเข้าใจในการดับทุกข์มากําจัดมันออกไป จึงเรียกความไม่รู้ไม่เข้าใจนี้ว่าอวิชชา (หรือเพื่อให้เห็นเป็นภาพพจน์ที่ชัดเจนขึ้นอีกอาจกล่าวได้ว่า คือตัณหาและอุปาทานในจิตใต้สํานึกที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิต ดังนั้นอวิชชาจึงทำหน้าที่คล้ายดั่งตัณหาที่นอนเนื่อง ส่วนตัณหาและอุปาทานในขบวนปฏิจจสมุปบาทกองธรรมที่ต่อจากเวทนานั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นตัณหาหรืออุปาทานเฉพาะกิจหรือจรคือเกิดขึ้นในขณะจิตนั้นๆ หรือตัวย่อยๆที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในปัญหานั้นๆ ซึ่งเมื่อเรานําออกและละเสียอยู่เรื่อยๆ อวิชชาหรือตัณหาอุปาทานหลักที่นอนเนื่องก็จักอ่อนแรงลง และหมดลงเช่นกัน
    ผู้ที่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท, อาจกล่าวได้ว่า อวิชชา คือความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดในการดับทุกข์ ซึ่งฝังแน่นลงรากลึกอยู่ในจิต และไม่สามารถมองเห็นได้ในปุถุชน และเป็นต้นกําเนิดของความทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง
    อวิชชาเกิดจากปัจจัยอันมีอาสวะกิเลสที่เกิดจากความทุกข์และสุขทั้งหลายที่ทิ้งผลร้ายหรือแผลเป็นเอาไว้ อันทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า กล่าวคือเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมกันกับอวิชชา คือเมื่อไม่รู้ในความเป็นจริง กล่าวคือจึงไปยึดอาสวะกิเลสนั้นว่าเป็นเราของเราอยู่ลึกๆในจิต จึงไปขุ่นมัวเศร้าหมอง หรือเต้นไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ
    อาสวะกิเลส เหล่านี้อันมี
    ๑. โสกะ ความโศก โศรกเศร้า แห้งใจ หดหู่ใจ โศรกเศร้าจากการเสื่อมหรือสูญเสียต่างๆเช่น โศกเศร้าของผู้ที่เสื่อมสุข เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค เสื่อมศีล เสื่อมทิฏฐิ เสื่อมยศ ฯลฯ.
    ๒. ปริเทวะ ความครํ่าครวญ โหยหา รํ่าไรรําพัน พิรี้พิไรรําพัน อาการของความอาลัยอาวรณ์คิดคํานึงถึงในสุขหรือทุกข์ในอดีตที่เสื่อมหรือสูญเสียไปแล้ว เช่นโหยหา, อาลัย, ครํ่าครวญถึงสุข, ความสนุก, ญาติ, ทรัพย์, เกียรติ ฯลฯ.ที่เสื่อมหรือดับไปแล้วแต่อดีต อันอยากให้เกิดหรือไม่อยากเกิดขึ้นอีก
    ๓. ทุกข์ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สบายกายทั้งหลาย ความจดจําได้ ความกลัว ในความเจ็บปวด ความป่วยไข้ การบาดเจ็บ
    ๔. โทมนัส เศร้าใจ เสียใจ ความทุกข์ทางจิต ความไม่สําราญทางจิต อารมณ์ไม่ดีเป็นทุกข์ หดหู่ เศร้าหมอง เกิดแต่ไม่ได้ตามใจปรารถนา
    ๕. อุปายาส ความขุ่นเคือง คับแค้นใจ ขุ่นข้อง เช่น ความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ขุ่นเคือง หรือเกิดจากความคับแค้นใจหรือถูกเบียดเบียน รังแก เอาเปรียบ หรือไม่ได้ดังใจปรารถนา
    อาสวะกิเลสที่เกิดจากความทุกข์เหล่านี้ที่หมักหมม นอนเนื่อง ซึมซ่าน ย้อมจิต เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า ขับไส ผลักดันเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันร่วมกับอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง กระตุ้นสังขารให้ผุดขึ้นหรือเจตนาขึ้นมาอันเป็นเหตุปัจจัยอันก่อให้เป็นทุกข์ ปล่อยให้เป็นไปจนเป็นทุกข์ตามขบวนการเกิดของทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท(ดูภาพการเป็นเหตุปัจจัยร่วมกัน) อันจักหมุนดําเนินต่อไปไม่รู้จักจบ จักสิ้น เนื่องจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจจึงหยุดวงจรแห่งทุกข์นั้นไม่ได้, และเหล่าอาสวะกิเลสเหล่านี้จะหมักหมม นอนเนื่องอยู่ในจิต ตามปกติจะมองไม่เห็นเช่น โกรธเกลียดใครอยู่คนหนึ่ง และไม่พบกันเป็นเวลานานๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไปเป็นเวลาหลายปีเมื่อมาเจอกันอีก อาสวะกิเลส(อุปายาส-ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ)ที่นอนเนื่องสงบอยู่ จนไม่เคยคิดว่ายังมีอยู่ จะเกิดขึ้นทันที เปรียบได้ดั่งนํ้าที่แลดูใสสะอาดแต่มีตะกอนนอนก้นอยู่ เมื่อมีสิ่งใดมากวนก็จะฟุ้งกระจายขึ้นมาแสดงความไม่บริสุทธิ์ให้เห็นทันที แต่มันไม่จบแค่นั้น มันร่วมเป็นปัจจัยกับอวิชชาความไม่รู้ให้ทํางานเริ่มวงจรของทุกข์...เริ่มสังขารในปฏิจจสมุปบาท เช่นความคิดที่เป็นทุกข์ ก่อทุกข์ใหม่ขึ้นอีกครั้ง ให้เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอีก, นอกจากตกตะกอนนอนเนื่องแล้วยังมีแขวนลอยเป็นเชื้อโรคอยู่ในจิตเฉกเช่นเดียวกับนํ้า ที่มีทั้งแขวนลอยและตกตะกอน อาการพวกแขวนลอยได้แก่มีอาการหดหู่ หงุดหงิดมีโทสะกรุ่นๆโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ขุ่นมัว เศร้าหมอง มักไม่เห็นเหตุที่เกิด นอกจากใช้ตาปัญญาเท่านั้น อาการอย่างนี้เป็นได้นานๆมาก ล้วนเป็นผลมาจากพิษภัยอันร้ายกาจของอาสวะกิเลส และเพราะอาสวะกิเลสนั้นก็เป็นสภาวะธรรมชาติที่เกิดจากความจํา(สัญญา)ดังนั้นจึงคงมีอยู่อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ), เราจึงจําเป็นต้องมีวิชชาไม่ปล่อยไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ จนกว่าจักสิ้นอาสวะกิเลส(หมายถึงดับกิเลสโดยสัญญาจํายังมีอยู่ แต่ไม่มีผลใดๆต่อสภาวะจิตใจเนื่องจากเข้าใจสภาวะธรรมระดับสูงสุดแล้ว)เป็นการถาวร ดั่งนี้ท่านคงเห็นแล้วอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ชาติ)นั้นเป็นตัวสําคัญที่สุด เข้าใจยาก กําจัดยาก พระพุทธองค์จึงทรงจัดไว้ลําดับสุดท้ายใน สังโยชน์ ๑๐ (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์)ที่ต้องกําจัดก่อนถึงนิโรธ
    แล้วธรรมอันใดเล่าที่เราจักนําไปใช้ในการปราบพญามารนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนแล้วในอริยสัจ๔ คือ มรรค๘ ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์(ดูอริยสัจ) อันจักต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดมรรค ๑๐ ในที่สุด (มรรคเพื่อการปฏิบัติมี๘ เพื่อยังให้เกิดมรรคมีองค์๑๐ของพระอริยเจ้า) ซึ่งจะขอเน้นองค์ธรรมที่สําคัญที่ใช้เป็นหัวกระบวนรบนี้ "โลกุตรสัมมาทิฏฐิ หรือ สัมมาญาณ อันเป็นมรรคองค์ที่๙ ซึ่งจะยังให้เกิดมรรคองค์ที่๑๐ อันคือ สัมมาวิมุตติอันคือสุขจากการหลุดพ้น(นิโรธ,นิพพาน)ของเหล่าพระอริยเจ้า" นั่นเอง ก่อนอื่นต้องขอกล่าวซํ้ากับเรื่องที่พูดในขันธ์๕เรื่องเวทนาไปแล้ว องค์ธรรมนี้ไม่ใช่องค์ธรรมในระดับศีล และธรรม หรือทางโลกทั่วๆไป(โลกียธรรม) เพราะอวิชชานั้นกล้าแกร่ง ต้องเป็นระดับโลกุตตระคือระดับเหนือโลก(มิได้หมายถึงอิทธิฤทธิ์)อันหมายถึงรู้เข้าใจตามสภาวะเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ ชึ่งจักบังเกิดขึ้นได้โดยวิธีโยนิโสมนสิการ หรือธรรมะวิจยะเท่านั้น คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายอันมีสติและสมาธิเป็นเครื่องสนับสนุน ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการอ่าน การฟัง หรือเชื่อตามโดยศรัทธาฝ่ายเดียว ต้องเอาธรรม(ธรรมชาติ)เป็นข้อพิจารณาโดยตรงจนเชื่อมั่นชนิดถึงใจ กระแทกใจ เข้าไปอย่างลึกซึ้งถึงที่สุด กล่าวคือ จนเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นและเป็นไปเยี่ยงนั้นด้วยเหตุด้วยผลจริงด้วยตนเองเท่านั้น จึงจักกําหราบอวิชชาพญามารนี้ได้ เพราะในภาวะนี้เท่านั้นที่จะสามารถเปลี่ยนทัศนะคติ ความเชื่อ ความยึดถือ อุดมคติเดิมๆ ดังเช่น ทิฏฐปุาทานความยึดมั่นตามความเชื่อความเข้าใจของตัวของตน หรือสีลัพพตปาทานการเชื่อการปฏิบัติตามที่ยึดถือสืบต่อๆกันมา ที่มีและสั่งสมมาตั้งแต่เกิดจวบจนปัจจุบัน หรือนานเสียจนไม่รู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้นให้คลายดับไป เป็นการเชื่อหรือเข้าใจอย่างถูกต้องดีงามตามธรรมนั้นๆ จึงจักสามารถปราบอวิชชานี้ได้อย่างเด็ดขาด มิใช่ใช้การกด,ข่มไว้ อย่างการใช้กำลังสมาธิกดข่มไว้ ซึ่งไม่เป็นการถาวร อันอุปมาดั่งหินทับหญ้า เมื่อยกหินออกเมื่อใดก็จักงอกงามขึ้นมาใหม่ ไม่เป็นไปเพื่อการกําจัดไปอย่างถาวรสิ้นเชิง, ดั่งนี้จึงจักเกิดความมั่นคงดุจหินผาในคุณธรรม เป็นนิรันดร์ตลอดไป
    ข้าพเจ้าคงจะเขียนแนะแนวได้อย่างหยาบๆเท่าที่พอรู้อยู่บ้างเท่านั้นอันล้วนบังเกิดขึ้นโดยการพิจารณาธรรม(ธรรมะวิจยะ)โดยการโยนิโสมนสิการ(พิจารณากระทําในใจโดยละเอียดและแยบคาย), ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหาทางพ้นทุกข์เช่นกันโดยศึกษาจากหนังสือต่างๆของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล, ท่านพุทธทาส, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และโดยเฉพาะหนังสือ "พุทธธรรม"ของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), ท่านหลวงปู่เทสก์เทสรังสี .....ฯลฯ จนใคร่ขอกราบแทบเท้าของปูชนียบุคคลของข้าพเจ้าไว้ ณ.ที่นี้ด้วย, ท่านทั้งหลายนี้ได้ช่วยแนะแนวจนข้าพเจ้าเกิดปัญญาพอนําไปใช้แก้ทุกข์ทางโลกทั้งหลาย จนมีความสุขสบายใจพอสมควร ชื่นอกชื่นใจในรสพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่โปรดประทานธรรมอันยิ่งใหญ่นับแต่โลกนี้อุบัติมา เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ตกอยู่ในห้วงสมุทรแห่งทุกข์ และแก่นธรรมของพระองค์สามารถปฏิบัติได้จริง เป็นวิทยาศาสตร์ชั้นสูงโดยแท้ ไม่ใช่ของงมงาย ไม่ใช่ไสยศาตร์ ไม่ใช่เวทมนต์ ไม่ใช่อิทธิฤทธิ์ หรือล้าสมัย อย่างที่เข้าใจและคิดในตอนแรก ไม่ใช่ของเกินเอื้อมหรือเป็นแค่ทฤษฎีหรือปรัชญาจนปฏิบัติไม่ได้ตามความคิดที่เคยยึดถือ เคยเข้าใจจากการฟัง จากการอ่าน จากการปรุงแต่งฟุ้งซ่านมาอย่างผิดๆงมงาย ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดบันทึกธรรมเล่มนี้ของข้าพเจ้าขึ้นมา เพื่อเผยแผ่ธรรมบางประการที่ข้าพเจ้าพอจักเข้าใจอยู่บ้าง เพื่อเกื้อกูลกัลยาณมิตรนักปฏิบัติและผู้ใฝ่ในธรรมเพื่อการดับทุกข์ และเป็นการตอบแทนพระคุณของพระพุทธศาสนา
    การปฏิบัตินี้ข้าพเจ้าเขียนตามภพภูมิความเข้าใจของข้าพเจ้าล้วนๆเป็นหลัก อาจแปลกตาหรือแปลกใจท่านบ้าง แต่ก็ยืนอยู่ในหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมั่นคง ท่านต้องไปแยกพินิจพิจารณาโดยวิธีโยนิโสมนสิการ ตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะในกาลามสูตร สิ่งใดท่านพิจารณาโดยละเอียด และแยบคาย(ฉลาดในธรรม)แล้ว เห็นว่าถูกต้องก็เก็บไว้ สิ่งใดไม่ดีขัดกับความเข้าใจของท่านก็ทิ้งไป แต่ขอให้ทิ้ง มานะ และ ทิฏฐุปาทานลงเป็นการชั่วคราว (ท่านต้องพยายามจริงๆเพราะมานะนี้และทิฏฐุปาทานนี้ บุคคลที่จักละได้สิ้นมีแต่อริยสาวก ระดับพระอรหันต์เท่านั้น เพราะฉนั้นโปรดพยายามใช้สติระงับไว้ชั่วคราว) ให้พิจารณาโดยใช้ข้อธรรมในข้อ อุเบกขา (เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง โดยวางใจเป็นกลาง) ใน สัมโพชณงค์๗ วางความเชื่อ ความเข้าใจ ความรู้เดิมๆไว้ชั่วขณะ แล้วประโยชน์อันสูงสุดจักบังเกิดแก่ท่านเป็นอัศจรรย์
    อนึ่งท่านที่ปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนามาจนแก่กล้าแล้ว แต่ยังมีปัญหา คือ ไม่คืบหน้าไปตามสมควร อย่าโกรธหรือท้อแท้ แต่สํารวจตัวท่านเองอย่างละเอียดถ่องแท้อันไม่มีใครทราบได้นอกจากท่านคนเดียว ขออย่าได้เอาความรู้สึกที่ว่าดี, ดีสุดยอดแล้ว ดีอยู่แล้ว มาร่วมด้วยโดยเด็ดขาด ขอให้ขาดจากความรู้สึกเชื่อมั่น ยึดมั่น ว่าดีแล้วดังกล่าวชั่วขณะ
    จริงๆแล้วสัมมาทิฎฐิ และ สัมมาดําริ(สังกัปปะ)ในมรรคองค์๘มันทํางานสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอด ไม่สามารถแยกแยะออกจากกันโดยเด็ดขาด ถ้าเราพยายามไปแยกหรือกังวลกลัวปฏิบัติไม่ก้าวหน้าเร็วอาจจะทําให้ติดขัดได้ จะเห็นชอบก็ต้องมีดําริชอบก่อน จะมีดําริชอบก็ต้องมีเห็นชอบ จะคล้ายปัญหาไก่กับไข่อันไหนเกิดก่อนกัน ต่างทํางานประสานร่วมกัน แต่ถือว่าสัมมาทิฎฐิเป็นตัวฐานกําเนิดของมรรค๘ ตามพุทธพจน์ ดังกล่าวไว้ในเรื่องมรรคในอริยสัจ แต่ในระดับที่ต้องการพ้นทุกข์นั้นจําเป็นต้องใช้ในระดับโลกุตตระ
    โลกุตตรสัมมาทิฎฐิ หรือสัมมาญาณ คือ ปัญญาชอบ ความเห็นชอบ เข้าใจชอบอย่างถูกต้องอย่างแยบคาย เห็นตามความเป็นจริงตามสภาวะธรรม(ชาติ)แท้ๆ โดยอุเบกขา(ใจเป็นกลาง)ในระดับเหนือโลกคือพ้นจากอํานาจของกิเลส ตัณหาตลอดจนทัศนคติ ความเชื่อเดิมๆ มาเจือปนให้เกิดอคติใดๆ, เห็นชอบ เข้าใจชอบในอวิชชา ต้องทราบว่าตัวอวิชชามีอยู่ในจิตแบบใด ทํางานอย่างไรดังได้อธิบายไว้โดยสังเขปเบื้องต้น เปรียบประดุจ ช่างยนต์ต้องมีความรู้เรื่องเครื่องยนต์กลไกต่างๆอย่างดีจึงจักสามารถซ่อมเครื่องยนต์ได้ ถ้าท่านไม่รู้เรื่องเครื่องยนต์อาจจะต้องรื้อหมดยกเครื่องทั้งคัน ทั้งๆที่แค่นมหนูในคาบิวเรเตอร์ตันเพียงเอาลมเป่าก็จบแล้ว เช่นเดียวกันท่านต้องเข้าใจในอวิชชาว่าทํางานอย่างไร(ศึกษาจากปฏิจจสมุปบาทมีกล่าวถึงกระบวนการทํางานของทุกข์ไว้) เมื่อท่านศึกษาแล้วจะรู้จะเข้าใจว่า มันเนื่องมาจากความทุกข์(อุปาทานทุกข์)ที่ก่อให้เกิดอาสวะกิเลส อันเป็นปัจจัยร่วมกับอวิชชา แล้วเป็นไปตามกระบวนการเกิดทุกข์ คือ เกิดตัณหา และอุปาทานตัวใหญ่สุด,ประณีตที่สุด,ละเอียดที่สุด กล่าวได้ว่าเป็นหัวหน้าพญามารของมารทั้งหลายทั้งปวง, เห็นและเข้าใจในโทษอันมหันต์ของอวิชชา กล่าวได้ว่าความทุกข์ทั้งหลายทั้งมวลตั้งแต่เราอุบัติขึ้นในโลกนี้เกิดจากอวิชชาความไม่รู้และไม่รู้เท่าทันคือยังไม่มีวิชชา จึงปล่อยไปตามกิเลสตัณหาอันมีคุณอยู่สิ่งเดียวแท้ๆคือตัณหาที่อยากพ้นทุกข์ เป็นการเอาตัณหาดับตัณหา นอกนั้นเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น มีแอบแฝงกิเลสและตัณหาอยู่ทุกขณะจิต แม้กระทั่งการทําบุญทํากุศลก็เพื่อมุ่งหวังชีวิตที่ดีขึ้นในภพนี้, ภพหน้า หรือหน้าตาในวงสังคม อยู่ลึกๆในจิตโดยไม่รู้ตัว
    -เห็นเข้าใจอริยสัจ กระทํากิจในอริยสัจ๔ อันมี ๑๒ ญาณทัศนะหรือ ๑๒ ข้อ (อ่านอริยสัจ)
    -เห็นหรือเข้าใจว่า อวิชชามันมีจริงคือความไม่รู้ และไม่รู้เท่าทัน(สติ)ตามความเป็นจริงในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ จึงแสดงผลออกมา เข้าใจให้ได้ว่ามีอยู่จริงๆ
    -เห็นหรือเข้าใจกระบวนการทํางานของทุกข์ว่า เมื่อเกิดอุปาทานทุกข์ใน ชรา-มรณะ ก็จะเกิดอาสวะกิเลส แล้วเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชา โดยคิดนึกเปรียบเทียบจากอดีต ตามความเป็นจริงจนเห็นหรือเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ถ้าไม่เห็นเช่นนั้นท่านต้องหาคําตอบมาตอบตัวเองให้ได้ เพราะปล่อยเป็นวิจิกิจฉา(สงสัย ลังเล)ไว้ไม่ได้ เพราะเป็นการตัดทอนกําลังของปัญญาในธรรม
    -เห็น หรือเข้าใจ ในโทษอันมหันต์ที่สุดของอวิชชาที่แอบแฝง ล่องหน อยู่ในจิตจนปุถุชนมองไม่เห็นตัวการใหญ่แห่งความทุกข์นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกๆความคิดนึกปรุงแต่ง ที่ก่อให้เกิดทุกข์ ทุกชนิดล้วนก่อกําเนิดมาจากอวิชชาทั้งสิ้น จึงมาเร่งเร้าผลักดันอยู่เบื้องหลังอย่างแอบแฝงและเร้นลับตลอดเวลาไม่เคยหยุดแม้ขณะหลับ ตั้งแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบันกาลนี้ในปุถุชนทุกผู้ทุกนาม ยกเว้นผู้ที่กําจัดอวิชชาจนจบสิ้น
    การเห็น, เข้าใจในโลกุตตรสัมมาทิฎฐินั้น ต้องเป็นการเห็นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจริง ไม่ใช่อ่านแล้วเข้าใจก็จบ คิดว่าเข้าใจแล้ว(เป็นเช่นนี้ส่วนใหญ่) ต้องมาจากโยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณาโดยแยบคายตามความเป็นจริงของธรรมชาติ (ที่ไม่ใช่จากความอยากให้เป็นไปหรือการปรุงแต่งใดๆของเรา) มีวิจิกิจฉา(ความสงสัยใดๆ)ไม่ได้ ถ้าท่านยังรู้สึกมีวิจิกิจฉาอยู่ก็ต้องพิจารณาต่อ (ไม่ได้หมายความว่าต้องทําวันเดียวจบ) จนหายสงสัยจนหมดสิ้น เพราะสัมมาทิฎฐินี้จะต้องมั่นคงดุจภูผาใหญ่ เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างความยึดถือเข้าใจใหม่ของจิต เป็น จิตพุทธะ ผู้ไม่มีอาสวะกิเลสและอวิชชา เนื่องจากการเห็นมหันตโทษ จิตเมื่อรู้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วก็จะค่อยๆถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นออก บางคนอาจจะถอดถอน(หรือเข้าใจ)ออกเป็นชุดใหญ่ๆในขณะจิตเดียวที่เรียกว่ามรรคสมังคี หรือ ธรรมสามัคคีขึ้นอยู่กับจริต และเหตุที่ปฏิบัติ ไม่เหมือนกันทุกคน (อย่าไปคิดบังคับให้มีให้เกิดเพราะทําเหตุปัจจัยถูกมันก็เป็นเอง ควบคุมให้เป็นไปตามใจปรารถนาไม่ได้)
    สังขารเข้าใจแล้วว่ามาจากอาสวะกิเลสเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชา ต้องลดกําลังของอาสวะกิเลส......ฯลฯ.เมื่อท่านตัดการส่งกําลังบํารุงอย่างถูกต้องมีหรือที่ข้าศึกจะไม่ยอมแพ้ หมั่นปฏิบัติแบบสบายๆอยู่เป็นประจํา ไม่จําเป็นต้องนั่งสมาธิในรูปแบบ แต่จิตขณะนั้นต้องปลอดโปร่งจากสิ่งขุ่นมัวก็ใช้ได้(ขณิกสมาธิ) ทําในชีวิตประจําวันทั่วไป เห็นการเกิดขึ้นต่างๆในจิตอย่างเข้าใจว่าล้วนเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์๕ หรือปฏิจจสมุปบาทล้วนสิ้น
    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สรุปได้ว่าเมื่อเราเข้าใจและดับทุกข์ในปัจจุบันของเราไปอย่างสมํ่าเสมอเมื่อนั้นอวิชชาก็จะอ่อนกําลังไปตลอดเวลา ไม่มีกําลังใหม่มาเสริม อันเนื่องมาจากอาสวะกิเลสอันเกิดจากทุกข์ลดน้อยถอยลงไปทุกขณะที่มีสติ จนในที่สุดมันไม่สามารถอยู่ได้เพราะขาดเหตุปัจจัยมาสนับสนุน หรือเมื่อปัญญาหรือวิชชามีกําลังเหนือกว่าอวิชชา เพราะทุกขณะจิตที่ทุกข์ไม่เกิด กําลังของปัญญาหรือวิชชาก็จักเจริญเติบโตกล้าแข็งขึ้นทุกขณะจิตเช่นกัน จนเหนือกว่าอวิชชา ทําให้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงของธรรมชาติ วันนั้นก็เป็นการสิ้นสุดการปฏิบัติของเรา สิ้นภพอันเป็นสภาวะที่เกิดใหม่ สิ้นชาติแห่งการกระทําอันเป็นทางเกิดแห่งทุกข์

    จิตไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง(กิเลส) อวิชชาอันนอนเนื่องอยู่ก็ไม่ทํางาน
    สังขารก็ย่อมเกิดไม่ได้...........ทุกข์อุปาทานก็ย่อมเกิดไม่ได้
    ถ้าลดอาสวะกิเลสยังไม่ได้ให้ปรับจิตที่ขุ่นมัวแทนคือยังมีเหลืออยู่แต่น้อยลง อวิชชาก็ย่อมเบาบางลง เป็นเหตุปัจจัยกัน
    อวิชชาเบาบางลง เป็นปัจจัยให้ สังขารคิดอันก่อทุกข์น้อยลง เป็นเหตุปัจจัยกัน
    สังขารน้อยลง เป็นปัจจัยให้ เวทนา(หรือสังขารขันธ์)น้อยลง เป็นเหตุปัจจัยกัน
    เวทนาน้อยลง เป็นปัจจัยให้ ตัณหาน้อยลง เป็นเหตุปัจจัยกัน
    ตัณหาน้อยลง เป็นปัจจัยให้ อุปาทานน้อยลง เป็นเหตุปัจจัยกัน
    อุปาทานน้อยลง เป็นปัจจัยให้ ทุกข์อุปาทานขันธ์๕และกิเลสขุ่นมัวพึงเกิดน้อยลงเป็นเหตุปัจจัยกัน........วนเวียนเป็นวงจรถอดถอนอย่างนี้เช่นกัน ทุกข์ก็จักน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงสภาวะนิโรธ
    ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์๕ทั้งทางใจและกายนั้นมีเป็นปกติอันเป็นสภาวะธรรมชาติ
    แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์
     

แชร์หน้านี้

Loading...