สมาชิกใหม่ ขอความเห็นจากลุงๆน้าๆคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thedchaya, 25 กันยายน 2011.

  1. thedchaya

    thedchaya สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมได้ติดตามเวปไซด์นี้มาในระยะเวลาพอสมควรแล้วครับ พึ่งได้สมัครและไล่อ่านสิ่งที่พอจะเป็นความรู้และแนวทางการปฏิบัติ เกี่ยวกับการทำสมาธิมาพอสมควร ขณะนี้ พึ่งอายุได้ 17 ปี กว่าๆครับ ถือว่าอายุยังน้อยไม่ขออวดอ้างอะไรแต่จะขอคำชี้แนะและแนวทางการปฏิบัติจากคุณลุง คุณน้าก็แล้วกันครับขณะนี้กำลังฝึกการทำสมาธิน่าจะเป็นขั้นต้นๆ ***สิ่งที่ผมอยากจะเล่าคือ ผมเคยทำสมาธิขณะนั้นเวลา 3 ทุ่มได้ที่พักของผมเป็นหอพักอยู่กับเพื่อน ตอนนั้นอยู่น่าจะม.3 ผมจำได้ว่าในห้องเพื่อนเปิดทั้งเพลง ส่งเสียงดัง โวยวายและพูดคุยกัน มีกันประมาณ 7-8 คน ผมเริ่มนั่งจากการท่องพุธโธ จนสติเริ่มนิ่งในขณะนั้นไม่ได้คิดว่าจะนั่งเอาอะไร คิดว่านั่งแล้วจะทำให้สุข ในหัวโล่งเสียงที่ดังอยู่รอบข้างเริ่มบอดไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย หลังจากนั้นรู้สึกอิ่มเอมใจอย่างมากเป็นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน พอรู้สึกว่ามีความสุขเท่านั้นแหละ จิตผมเริ่มผุ้งซ่านไม่ว่างเหมือนเดิมแล้วสะดุ้งลืมตาโวยวายตามประสาเด็กเพ่ื่อนก็ตกใจ พอต่อๆมาผมทุกครั้งที่อยากจะนั่งให้ได้ ความสุขแบบนั้นไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย **อยากจะถามลุงๆน้าๆว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร และที่ผมนั่งแล้วไม่เกิดความสุขแบบนั้นอีกเลยเป็นเพราะผม ยึดติดกับความสุขนั้นเกินไปหรือปล่าวคับ ขอบคุณคับ แล้วก็ขอแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นจะเป็นพระคุณอย่างมากเลยคับ
     
  2. ขอนไม้แห้ง

    ขอนไม้แห้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    228
    ค่าพลัง:
    +1,618
    พิจารณาเอาว่าจิตของเราอยู่ขั้นไหน
    “จงละอารมณ์ที่ยังมาไม่ถึงนั้นเสีย เพราะสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นอนาคต อารมณ์ที่ล่วงไปแล้วก็เป็นอดีตไป
    อารมณ์ที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนี้ก็ไม่ควรยึดถือเอา ดังนี้”​

    เรื่องกัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น ในตำราท่านไม่ได้แยกออกว่า อันนั้นเป็นอารมณ์ของฌาน อันนั้นเป็น อารมณ์ของสมาธิ หรือท่านแยกไว้แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นตำราก็เป็นได้ ฉะนั้น เทศนากัณฑ์นี้จะรวม กัมมัฏฐาน ๔๐ นั้นไว้เสียก่อนว่า กัมมัฏฐานใดควรเป็นอารมณ์ของฌาน และกัมมัฏฐานใดควรเป็น อารมณ์ของสมาธิ ต่อไปถ้ามีโอกาสจะเทศน์เรื่อง อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ ให้ฟัง

    กัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น พวกที่เป็นอารมณ์ของฌาน ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อรูปฌาน ๔ รวมเป็น ๒๔

    ส่วนพวกที่เป็นอารมณ์ของสมาธิ ได้แก่ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ รวมเป็น ๑๖

    อนุสสติ ๑๐ ได้แสดงแล้ว ยังเหลือแต่ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ นี่แล เรื่องบัญญัติจำเป็นจะต้องจดจำหน่อย ความจำเรียกว่า สัญญา ถ้ามีสัญญาอยู่สมาธิก็จะไม่รวมลงได้ ถ้าสมาธิรวมได้แล้ว กัมมัฏฐาน ๔๐ เป็นอันว่าทำถูกต้องแล้ว ถึงอย่างไรบัญญัติก็ต้องเป็นบัญญัติ อยู่ดี ๆ นี่แหละ

    ทีนี้จะอธิบายถึงเรื่อง ฌาน ก่อน ฌาน แปลว่า เพ่ง เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาที่ตนประสงค์ไว้แล้ว เช่น เพ่งกสิณ หรือ เพ่งอสุภ เป็นต้น ให้เป็นไปตามประสงค์ของตน เช่น อยากจะให้เป็นไฟ แล้วก็เพ่งว่า ไฟ ๆ จนกว่าจิตนั้นจะรวมลงสู่ไฟ เกิดความร้อนขึ้นมา เป็นต้น หรือเพ่งคนให้เป็นอสุภ จนจิตรวมลงในคนนั้น แล้วเกิดอสุภขึ้นมาในบุคคลนั้นจริง ๆ ดังนี้ เป็นต้น

    รวมความว่า จิต กับ สังขาร ไปปรุงแต่งหลอกลวงตนเอง แล้วตนเองก็เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น จริง ๆ เกิดความสลดสังเวชถึงกับร้องไห้ร้องห่ม ทั้ง ๆ ที่ตัวของเราก็ยังดี ๆ อยู่ไม่เป็นอสุภเปื่อยเน่า อะไรเลย เพราะจิตรวมแล้วมัน ส่งใน คุมจิตของตัวเองไม่ได้ จึงร้องไห้ร้องห่มและเห็นเป็นอย่างนั้น จริง ๆ ก็ดีเหมือนกัน ถ้าไม่เห็นอสุภด้วยใจของตนแล้ว ก็จะประมาทมัวเมาอยู่ว่า ตัวของเรานี้สวยสด งดงาม จะไม่แก่ไม่เฒ่าไม่ตาย

    ฌาน มีองค์ห้า คือ วิตก จิตไปกำหนดเอาอารมณ์ของกัมมัฏฐานนั้น ๆ มาเป็นอารมณ์ ๑ วิจารณ์ จิตนึกคิดตรึกตรองว่า ทำอย่างไรจิตเราจะละอารมณ์นั้น ๆ แล้วรวมเข้ามาเป็นฌานได้ ๑ เมื่อจิตละอารมณ์นั้น ๆ แล้ว ก็เข้าสู่ภวังค์ เกิด ปีติ ซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย หรือเบากายเบาใจ ๑ แล้วเกิดความ สุข สงบอย่างยิ่ง ๑ จิตก็เป็นอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ ๑ อันนี้เรียกว่าได้ ปฐมฌาน

    ด้วยความคล่องตัวของการกระทำเช่นนั้นจึงไม่ต้องมีวิตก มีแต่ วิจารณ์ สุข เอกัคคตา เรียกว่า ทุติยฌาน

    ด้วยความคล่องตัวยิ่งขึ้น ตติยฌาน จึงไม่ต้องมีวิจารณ์ มีแต่ สุข กับ เอกัคคตา เท่านั้น

    จตุตฺถฌาน จิตมันแน่วแน่ใน เอกัคคตา จนสุขก็ไม่ปรากฏ จะปรากฏแต่ เอกัคคตา กับ อุเบกขา วางเฉยเท่านั้น

    ฌาน เป็นเพียงแต่ข่มนิวรณ์ห้าได้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะฌานไม่ได้ใช้ปัญญา ใช้แต่จิตสงบ อย่างเดียว จึงเป็นแต่ข่มนิวรณ์ห้าได้

    นิวรณ์ห้า คือ

    กามฉันทะ ความรักใคร่พอใจในกามคุณห้า มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ เมื่อจิตสงบแล้วไม่ต้องเกี่ยวข้องกันกับสิ่งเหล่านี้ ๑

    พยาบาท จิตคิดปองร้ายอยากให้ได้ตามความปรารถนาของตน ไม่ว่ากามนั้นจะอยู่ ในสภาพเช่นไร และอาการอย่างไร โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบเลย เปรียบเหมือนคนคิดจะทำลายคนอื่น โดยเขาไม่ทันรู้ตัวเลย ฉะนั้น ๑

    ถีนะมิทธะ จิตเมื่อคิดฉะนั้นแล้วก็หมกมุ่นอยู่แต่ในอารมณ์นั้น และไม่กล้าบอกแก่ ใคร จนกระทั่งซึมเซ่อและมึนงงไปหมด ๑

    อุทธัจจะกุกกุจจะ จิตที่ฟุ้งซ่านส่งไปในอารมณ์ของกามนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ๑

    วิจิกิจฉา จิตที่ลังเล ไม่แน่ใจว่ากามนั้นจะสำเร็จลงได้เมื่อใดหนอ ๑

    ทั้ง ๕ นี้ เมื่อจิตสงบเข้าถึงฌานแล้วก็จะไม่ปรากฏ เมื่อออกจากฌานก็จะปรากฏอีกตามเดิม

    จิตของฌานมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับกัน คือ

    ๑. ภวังคุบาท

    ๒. ภวังคจารณะ

    ๓. ภวังคุปัจเฉทะ

    ภวังคุบาท จิตจะรวมเป็นครั้งคราว รวมแล้วถอนออกมาจะตั้งหลักไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าจิตของ เรารวม มีได้ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย เช่น เมื่อเห็นคนหรือสัตว์ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้นว่า ถูกเขาฆ่าหรือ ทรมานด้วยประการต่าง ๆ จิตจะสลดสังเวชแล้วรวมลงขณะหนึ่ง ถ้าไม่รวมก็จะไม่ สลดสังเวช เรียกว่า ภวังคุบาท

    ภวังคจารณะ เมื่อผู้ฝึกหัดจิตแล้วจึงจะเกิด เมื่อเกิดมีอาการให้พิจารณาอารมณ์ภายใน หรือที่ เรียกว่า ส่งใน เช่น เห็นสีแสงต่าง ๆ นานา แล้วจิตจะจดจ้องมองแต่สิ่งนั้น หรืออารมณ์อื่น ๆ ก็ เหมือนกัน เป็นต้นว่า รูปพระปฏิมากร หรือพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ตลอดถึง เทวดา อินทร์ พรหม เป็นต้น แม้จะพิจารณาในธรรมนั้น ๆ ก็เรียกว่า ภวังคจารณะ ทั้งสิ้น

    ภวังคุปัจเฉทะ นั้นตัดขาดเสียซึ่งอารมณ์ทั้งปวงไม่มีเหลือแม้แต่ ผู้รู้ (คือใจเดิม) ก็ไม่ปรากฏ บางท่านที่สติอ่อนย่อมนอนหลับไปเลยก็มี

    ภวังคุบาท ได้แก่ผู้ได้ ปฐมฌาน

    ภวังคจารณะ ได้แก่ผู้ได้ ทุติยฌาน และ ตติยฌาน

    ภวังคุปัจเฉทะ ได้แก่ผู้ได้ จตุตฺถฌาน

    ฌาน แปลว่า เพ่ง คือ เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานที่ตนต้องการอยากจะให้เป็นไปตามปรารถนา ของตน ดังอธิบายแล้วเบื้องต้น นี้เรียกว่า กสิณ ไม่ต้องพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงก้ได้

    สมาธิ คือ ทำจิตให้สงบแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียวเหมือนกับฌาน แต่มีการพิจารณาให้เห็น ตามเป็นจริง มันเป็นจริงอย่างไรก็ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น ไม่ต้องให้เกิดปฏิภาค (คือแปรสภาพ จากของเดิม) เช่น นึกคำบริกรรมว่า พุทโธ ๆ เป็นต้น เพื่อให้จิตรวมเข้ามาอยู่ในที่เดียว แล้วพิจารณา พุทโธนั้นให้เห็นว่ามีคุณวิเศษอย่างไร และใครเป็นผู้ว่าพุทโธนั้น และอยู่ ณ ที่ไหน ให้เห็นชัดลงไปตามเป็นจริง เมื่อเห็นชัดลงไปแล้วจะเกิดความอิ่มเอิบในใจ เพลินอยู่กับความรู้ของตนนั้น ใจจะไม่ส่งออกไปภายนอก และใจจะนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว สมาธินี้จิตจะไม่ปรุงแต่งให้เป็นอสุภเหมือนกับฌานหรือกสิณ แต่เห็นตามเป็นจริงในสิ่งนั้น ๆ จิตรวมลงได้เหมือนกัน แต่ไม่ ส่งใน คงที่อยู่ที่ใจแห่งเดียว

    สมาธิ ท่านไม่แสดงไว้ว่า ผู้ได้ ขณิกะ อุปจาระ และ อัปปนาสมาธิ ได้ขั้นนั้นขั้นนี้ จึงจะได้ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และ พระอรหันต์ เห็นแต่แสดงไว้ว่า องค์ของพระโสดาบันมี ๖ ดังนี้คือ

    ถึงพระพุทธเจ้า ๑

    ถึงพระธรรม ๑

    ถึงพระสงฆ์ ๑

    ไม่ถือมงคลตื่นข่าว (คือถือโชคชะตาและเครื่องรางของขลัง เป็นต้น) เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ด้วยตนเอง ๑

    ไม่ถือลัทธินอกจากพุทธศาสนา ๑

    มีศีลห้าเป็นนิจศีล ๑

    ผู้ประกอบด้วยคุณลักษณะครบ ๖ อย่างนั้นนับว่าเป็นพระโสดาบันบุคคล ส่วนสมาธิไม่ได้ กล่าวถึง แต่ สมาธิ เป็นการเดินมรรค ฌาน มิใช่เดินมรรค ถึงจะได้ฌานขั้นสูงสุด คือ นิโรธสมาบัติ ท่านก็เรียกว่า ฌานโลกิย อยู่นั่นเอง

    พระโสดาบัน แปลว่า ผู้ตกกระแสพระนิพพานแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงพระนิพพาน เหมือนกับคน เดินทางไปสู่พระนครอันสุขเกษมถึงต้นทางแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงพระนครฉะนั้น และเมื่อถึงพระ โสดาบันแล้ว กิเลสทั้ง ๓ กองนี้จะต้องละได้ด้วยตนเอง คือ

    สักกายทิฏฐิ ถือว่าอันนี้เป็นของตัวเที่ยงแท้แน่นอนถือรั้นจนเกิดทิฐิ ๑

    วิจิกิจฉา ลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย ไม่แน่นอนว่าเป็นที่พึ่งอันแท้จริง ๑

    สีลัพพตปรามาส ลูบคลำในสิ่งที่ไร้สาระประโยชน์เชื่อสิ่งอื่นโดยไม่ตรึกตรองให้ถี่ถ้วน ๑

    กิเลสทั้ง ๓ กองนี้ ผู้ทำสมาธิให้มั่นคงแล้ว ย่อมเกิดปัญญาเห็นชัดในพระไตรลักษณญาณ เห็นแจ้งด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งสามนั้นเป็นของไร้สาระประโยชน์ไม่มีแก่นสาร แล้วละได้

    ท่านไม่ได้กล่าวถึงว่าสมาธิมีเท่านั้นเท่านี้ เพราะมิใช่การเพ่งอย่างฌาน จะจับเอาอะไรมา พิจารณาก็ได้ แม้ที่สุดนำอารมณ์ของฌานมาพิจารณาก็ได้ ขอแต่ให้พิจารณาเป็น พระไตรลักษณญาณ ก็แล้วกัน จิตจะรวมลงถึงสมาธิได้เหมือนกัน

    จิตของผู้ที่ได้สมาธิแล้วมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับ แต่ท่านไม่ได้เรียกว่า ภวังค์ เหมือนกับฌาน ท่านเรียกว่า สมาธิ เพราะพิจารณาเห็นตามเป็นจริงในอารมณ์ที่ตนพิจารณาแล้วนั้น คือ

    ๑. ขณิกสมาธิ เมื่อนักปฏิบัติกำหนดเอาอารมณ์ของสมาธิอันใดอันหนึ่งมาเป็นอารมณ์ กัมมัฏฐาน เป็นต้นว่า พุทโธ ๆ อยู่นั้น จิตส่วนหนึ่งจะแวบเข้าไปเห็น ผู้รู้ ที่ว่า พุทโธ ๆ นั้นชัดเจน เหมือนกับมีผู้มาบอกให้ฉะนั้น พร้อมกับจิตรวมเป็นสมาธิขณะหนึ่ง แล้วก็หายไป แต่จิตไม่ได้ลืมสติ รู้ตัวอยู่ดี ๆ นี่เอง เรียกว่า ขณิกสมาธิ ขณิกสมาธินี้นักปฏิบัติทั้งหลายเป็นไม่เหมือนกัน แต่ขอให้ สังเกตไว้ว่า ขณะที่จิตรวมมีสติรู้ตัวอยู่เรียกว่า สมาธิ ถ้าลืมตัวส่งไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า ฌาน

    ๒. อุปจารสมาธิ นักปฏิบัติมากำหนดเอาอารมณ์ของขณิกสมาธิเช่นนั้นเหมือนกัน หรือ อารมณ์อันใดที่ตนชำนิชำนาญแล้วติดอยู่ในใจของตนก็ได้ พิจารณาอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว ไม่ส่ง ไปจากอารมณ์อันนั้นตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน แต่ไม่รวมลงเป็น อัปปนา เรียกว่า อุปจารสมาธิ

    ก่อนจะเข้าถึง อัปนาสมาธิ หรือเมื่อถึงอัปนาแล้ว จิตถอนออกมาอยู่ใน อุปจาระ ก็มีอาการ เช่นเดียวกัน แต่นุ่มนวลและละเอียดกว่า ตอนนี้จะทำให้เกิดปัญญาและความรู้ต่าง ๆ ที่เรียกว่า อภิญญา มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น เช่น พระโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงมาจากภูเขาคิชกูฏ เห็นเปรตตัว หนึ่งมีร่างกายยาว ๓๐๐ เส้น มีปากเล็กเท่ารูเข็ม แล้วท่านหัวเราะในลำคอฮึ ๆ ลูกศิษย์ผู้ติดตามเห็น ดังนั้น เข้าใจว่าท่านเห็นนางเทพธิดา จึงถามท่าน ท่านก็ไม่บอก พอมาถึงสำนักพระพุทธเจ้า ลูกศิษย์ก็กราบทูลเหตุนั้นถวายพระองค์ให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสถามพระโมคคัลลานะ พระ โมคคัลลานะก็กราบทูลพระองค์ดังกล่าวข้างต้น พระองค์ตรัสว่า “จริงอย่างโมคคัลลานะว่า เราได้เห็น แล้วแต่แรกได้ตรัสรู้ใหม่ ๆ แต่ไม่มีใครเป็นพยาน นี่โมคคัลลานะเป็นพยานของเรา”

    แต่ถ้าควบคุมจิตไว้ไม่ได้จะเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่ นักปฏิบัติทั้งหลายจะเสียก็ตรงนี้เอง ถ้าควบ คุมจิตของตนไว้ไม่ได้

    เมื่อเกิดความรู้และปัญญาต่าง ๆ แล้วรวมเข้ามาเป็นอัปปนาสมาธิ เพราะพิจารณาเห็นว่า ความรู้และปัญญาเหล่านั้นก็เป็น อนิจฺจํ ไม่เที่ยง รู้แล้วก็หายไป ทุกฺขํ เป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้ ประเดี๋ยวก็รู้ ประเดี๋ยวก็ไม่รู้ ถึงรู้และไม่รู้ สิ่งที่เราไปรู้ไปเห็นนั้น มันหากเป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหน แต่ไรมา รู้และไม่รู้มันก็ไม่ว่าอะไรกับใคร อนตฺตา ไม่ใช่เป็นของ ๆ เรา มันเป็นจริงอย่างไร มันก็เป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะทั้งหมด ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว บาปหรือบุญ ธรรมะเป็นผู้แต่ง มาทั้งนั้น

    เมื่อจิตรวมเข้ามาเป็น อัปปนาสมาธิ อยู่พักหนึ่ง แล้วก็จะถอนออกไปเป็น อุปจาระ ออก ๆ เข้า ๆ อยู่อย่างนี้ จิตของท่านผู้นั้นจะมีพลังแก่กล้า เดินก้าวหน้าได้อย่างดีที่สุด

    ๓. อัปปนาสมาธิ จิตจะรวมเข้าอย่างสนิท จนถอนอารมณ์ภายนอกออกหมด ไปอยู่อันหนึ่ง ของมันต่างหาก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติจะไม่มี ณ ที่นั้นเลย ยังเหลือ แต่ผู้รู้อันเดียว บางทีมีคนมาเรียกได้ยินเสียง (เพราะประสาทหรือเซลล์ยังมีอยู่) แต่ไม่รู้ว่าเป็นเสียง อะไร เมื่อออกจาก อัปปนาสมาธิ แล้ว ในขณะนั้นมองดูคนและสิ่งต่าง ๆ จะเห็นเป็นสักแต่ว่าเท่านั้น ไม่มีสมมุติบัญญัติว่าคนหรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่สักห้านาที สิบนาที แล้วจึงจะค่อย จางลง ๆ จนเป็นปกติสมมุติบัญญัติตามเคย

    ฌาน และ สมาธิ เป็นอันเดียวกันและต่างกัน ฌาน ได้แก่การเพ่งในอารมณ์นั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลงในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไป ตามปรารถนาของตน ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่า ฌาน

    สมาธิ ได้แก่การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมันตามความเป็นจริงจนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่นึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้ เรียกว่า สมาธิ

    ฌาน และ สมาธิ นี้จิตรวมเหมือนกัน ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน มีแปลก ต่างกันที่ ฌาน นั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสติอยู่ แต่ไป เพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียก ว่าความเห็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน ส่วน สมาธิ นั้น เมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ

    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้น หรือพิจารณาอารมณ์อันใด ก็ตาม จนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์อันนั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่ แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญาณ เสีย จิตไม่รวมลงเป็น ภวังค์ เรียกว่า ฌานกลับมาเป็นสมาธิ

    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าไปสู่ ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมา เป็นฌาน

    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ไม่เป็นการเสีย หายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิ อย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆ ก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว แล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้ พระบรมศาสดาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณา ฌาน นี้เป็น วิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่าน ธรรมดาจิตจำเป็นจะต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อ วัฏฏะ เพราะฉะนั้นท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็น ฌาน เสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ใน ทิฏฐธรรม ของท่าน

    ฌาน และ สมาธิ นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มี สมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอวํ ฯ.

    นั่งสมาธิ

    ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน

    อธิบายเรื่อง สัญญา มามากแล้ว คราวนี้นั่งสมาธิเพื่อลบสัญญากันเถิด ความจริงนั้นสัญญามี ประโยชน์มากถ้าใช้เป็น ถ้าใช้ไม่เป็นก็ยุ่งมากเหมือนกัน ความจดจำของเก่าหรือเรื่องเก่าไว้ได้นาน เรียกว่า สัญญา เช่น จดจำอารมณ์แต่ก่อนเก่าที่ตนได้ทำไว้นานแล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่ว เอามาเป็นอารมณ์ ถ้าอารมณ์นั้นเป็นของดี ก็เอามาปรุงแต่งให้เป็นของดียิ่งขึ้น แล้วก็เพลิดเพลินติดอยู่ในอารมณ์นั้น ถ้า อารมณ์นั้นเป็นของชั่ว ก็ทำใจให้เศร้าหมองเดือดร้อน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    จงละอารมณ์ที่ยังไม่มาถึงนั้นเสีย เพราะสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นอนาคต อารมณ์ที่ล่วงไปแล้วก็ เป็นอดีตไป อารมณ์ที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนี้ก็ไม่ควรยึดถือเอา ดังนี้

    สัญญาเป็นของละเอียดมาก บางทีเราอยู่ดี ๆ ก็โผล่ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้งที่เป็นของดีและไม่ดี ถ้าใช้ เป็นก็เป็นของดี เราจดจำเอามาเทียบเคียงกับความประพฤติของตนในเดี๋ยวนี้ เราควรทำในสิ่งที่ดี หรือจะสอนคนอื่นก็ได้ให้ทำแต่สิ่งที่ดี เพราะความชั่วเราได้ทำมาแล้ว ได้รับความเดือดร้อนอย่างนั้น ๆ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายท่านก็ได้ตรัสรู้มาแล้ว เพราะสัญญานี้เอง รู้ว่าตัวของพระองค์เองและสัตว์ ทั้งหลายในโลกนี้ ได้เคยทำกรรมดีและกรรมชั่วมาแล้วอย่างนั้น ๆ ตายไปแล้วได้เสวยกรรมอย่างนั้น ๆ ในอดีตล่วงมาแล้วนานแสนนาน เรียกว่า อดีตญาณ

    สัตว์มนุษย์ทั้งหลายที่จะเกิดมาในโลกนี้ จะต้องทำกรรมดีและกรรมชั่วด้วยกันทั้งนั้น เมื่อ ตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่ตนกระทำนั้นทั้งดีและชั่ว ถ้าดีก็ได้ไปเกิดในสุคติภพ ถ้าชั่วก็จะได้ ไปเกิดในทุคติภพอย่างนั้น ๆ เรียกว่า อนาคตญาณ

    พระองค์ทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว จึงทรงกลัวภพกลัวชาตินี้หนักหนา แล้วจึงทรงละสัญญาทั้ง อดีตและอนาคต พร้อมด้วยสัญญาในปัจจุบันเสียได้ เรียกว่า อาสวกฺขยญาณ

    พวกเราทั้งหลายจะให้ได้ ญาณ ๓ อย่างพระพุทธเจ้า แล้วจึงจะละไม่ได้หรอก ญาณของพวก เราก็เห็นแล้วมิใช่หรือ สัญญาความจดจำว่า นั้นลูกกูหลานกู ภรรยาสามีของกู ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของทั้งปวงเป็นของกู แล้วก็ปรุงแต่งให้เป็นไปตามความปรารถนาของตน นี้เป็นญาณปุถุชนของ พวกเราทั้งหลาย ซึ่งเห็นอยู่เฉพาะหน้า

    จงพากันมาทำความสงบเพื่อลบล้างสัญญาเหล่านั้นเสีย อย่าให้ติดอยู่ในใจของตน ถึงแม้จะ ไม่ได้นาน ในชั่วขณะที่เราภาวนาอยู่นี้ก็เอา เมื่อถึงความสงบสุขแล้ว มันจะชอบใจ ภายหลังมันจะทำ เองของมันหรอก ไม่ต้องไปบังคับให้มันทำก็ได้.
     
  3. บริสุทธ์

    บริสุทธ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +4
    ขอแนะนำนิดหนึ่งค่ะพึ่งฝึกทำสมาธิเหมือนกัน อยากให้น้องไปบูชาซีดี หลวงพ่อวัดพระธรรมกาย สอนทำสมาธิง่ายๆไม่ได้โฆษณาวัดนะ โดยส่วนตัวปฏิบัติตามทุกหลวงพ่อค่ะคือ อ่านเอง ฝึกเอง บางครั้งคนเราต้องมีครูบาอาจารย์ค่ะ ทางไหนเป็นทางสอนให้หลุดพ้นเป็นอันว่าใช้ได้หมด อย่าเลือก ครูบาอารย์ค่ะ หลวงปู่ชาท่านสอนไว้ว่าวิธีการสอนแต่ละที่หรืออาจารย์ก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนชอบเข้าทิศเหนือ บางคนทิศใต้ ทิศตะวันออก ตามลำดับ แต่จุดประสงค์คือที่เดียวกัน สอนให้หลุดพ้นจากความทุกข์อย่างแท้จริง เป็นอันใช้ได้ อยากฝากไว้ให้ไปคิดนิดหนึ่งค่ะ


    ขออนุโมทนาค่ะ
     
  4. บริสุทธ์

    บริสุทธ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +4
    ขอเติมนิดหนึ่งค่ะ แต่ก่อนฝึกเองมั่วๆนั่งได้ไม่นานแต่พอได้ซีดีหลวงพ่อวัดพระธรรมกายจากพี่คนหนึ่งนั่งได้นิ่งมากๆๆ และเข้าใจตั้งแต่การหลับตาจนเข้าถึงสมาธิค่ะ การที่น้องนั่งไม่ได้อีกเพราะมีความอยากอยู่ในจิตค่ะ ไปบูชามาฟังเองดีกว่าค่ะ
     
  5. แป้งรำ่

    แป้งรำ่ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +6
    ถ้าจะหาซีดีฟัง ขอให้ฟังจากหลายๆแห่ง จะได้มีข้อเปรียบเทียบ ว่าอย่างไหนเหมาะกับเรา การเริ่มต้น เหมือนการมองแผนที่ ถ้าเรากำหนดเส้นทางของเราได้รอบคอบดี เราก็จะเดินทางสั้นหน่อย เหนื่อยน้อยกว่า ถึงเร็วกว่า ถ้าเราไม่ตรวจดูเสียก่อนว่าถนนเส้นนี้จะพาวนเวียนไปทางไหนบ้าง เราก็อาจจะเดินทางอ้อมวนเวียน หนทางไกล จะเหนื่อยมาก หมดแรงเสียก่อน จะถึงจุดหมายได้
    ช่วงเริ่มต้น ลองอ่านหนังสือคำสอนของ หลวงพ่อชา จะเข้าใจง่าย ท่านอธิบายได้ชัดเจนดี และคำสอนของ หลวงพ่อพุธ ก็อ่านง่ายเข้าใจตรงตัวดี อีกเล่มหนึ่งที่แนะนำแบบปฏิบัติได้ทุกเวลาก็ลองอ่านหนังสือเรื่อง วิปัสสนานุบาล ของดังตฤน อันนี้เข้าไปอ่านได้เลยในเว็ปของ ดังตฤนดอทคอม เป็นการสอนผู้เริ่มต้นแบบ ครูอนุบาลจับมือนักเรียนลากเส้นเขียน ก ไก่ พอเริ่มเข้าใจดีแล้ว ก็มีหนังสือเล่มที่เนื้อหาเข้มขึ้นตามลำดับ ให้ค่อยศึกษาไป มีให้อ่านฟรีมากมายในเว็ปดังตฤน ส่วนคำสอนของครูบาอาจารย์นั้น เข้าไปอ่านในเว็ปพลังจิตได้ กดคำว่าเว็ปบอร์ดด้านบนสุดขวามือ แล้วหาแนวปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นสายพระป่า จะมีเยอะแยะเลือกศึกษาเอาเถอะ จะเป็นเส้นทางที่สั้นหน่อย ตัดตรงเข้าหาความไม่กลับมาเกิดอีก
    ที่อยากแนะนำแบบนี้ ก็เพราะประสบการณ์ตรงของตัวเองในอายุเท่าๆกับน้องนี้ ก็หลงเดินวนเวียนเสียเวลานานมากกว่าจะพบถนนสายหลัก หมดเวลาไปหลายสิบปี บอกเคล็ดลับให้อย่างหนึ่ง ลองไปอธิษฐานจิตหน้าพระพุทธรูปองค์ใดก็ได้ที่เรากราบไหว้อยู่ ขอพรพระพุทธองค์ให้ได้เรียนรู้พระธรรมคำสอนของท่านผ่านครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตรงแน่วสู่พระนิพาน โดยไม่หลงวนเวียนกับทางแยกทางอ้อมใดๆ
    ขออนุโมทนากับความตั้งใจดี เป็นผู้ที่ตื่นเช้า หาทางขัดเกลาจิตตั้งแต่อายุยังน้อยอย่างนี้ สาธุ
     
  6. Aung CapA

    Aung CapA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +274
    ลองคลิกไปฟัง แนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต ซิค่ะ
    watThipwanaram-Nongharn Chiangmai Thailand

    ขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง และปฏิบัติต่อไปอย่าท้อถอย
     
  7. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +4,062
    ตอนแรกที่นั่ง..ทำความรู้สึกอย่างไร จำได้ไหม ให้นั่งและทำความรู้สึกแบบเดิมนั่นแหละแล้วก็เลิกเล่นเกมส์ กีตาร์ อ่านการ์ตูน สักพักหนึ่ง ทำอะไรให้จริงจัง ทำให้จริงโดยทำในสิ่งที่ถูกต้อง จิตจะเกิดศิลในเจตนาเอง โดยเฉพาะการทำความดี ต้องทำจริงและทำให้ตลอด จะเกิดสติฝังใจ
    ไปวัดไหนก็ไป ยกเว้นธรรมกายขอห้าม..อย่าเข้าไปเดี๋ยวหมดตัว ชาวุทธเราเป็นสังคมฐานความรู้สึก เห็นอะไรสวยงามเป็นระเบียบจะชอบหมดในครั้งแรกที่พบ เจอ ประสบ.. เมื่อจิตใจสบาย ขออะไรใคร ก็ง่ายให้หมดนี่คือหลักการณ์ของพวกธรรมกาย เดี๋ยวมันใช้คารมหลอกเราทำบุญเกลี้ยงเลย นี่คือธรรมชาติของจิต..น้อยคนจะตามทันอลัชชี
    มันยุให้คนทำบุญอย่างเดียว ตัวเจ้าอาวาสกินอาหารภัตราคาร ..จะเอาเงินอย่างเดียว พระพุทธเจ้า ท่านสอนให้คนทำบุญทีละนิด ทีละหน่อยแต่ให้ทำบ่อยๆจนเป็นนิสสัยนี่คือหลักพุทธศาสนา
    ที่สำคัญตนเอง ต้องไม่เดือดร้อนด้วยจำหลักไว้ให้ดี ตัวเองและครอบครัวต้องไม่เดือดร้อนด้วย.
     
  8. samaice

    samaice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +1,017
    มาอ่านค่ะ ขอแชร์ด้วยน่ะค่ะ จากประสบการ์ณไม่เคยนั่งสมาธิได้ เคยแต่นั่งหลับภาวนาไปจิตไน้นไปนี้ เรื่อยเปื่อย ไม่เคยทำจริงจัง เป็นคนขี้กลัว กลัวจะมีอะไรมานั่งดู คิดไปโน้น บางคนบอกมีครูบาอาจารย์จะดี บางคนสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง แต่คนมีกรรมอย่างดิฉันต้องมีครูบาอาจารย์สอน ในความคิดดิฉันถ้าคนโง่มาก ควรมีคนสอนก็จะเร็ว ถ้าบางคนฉลาดหรือมีบุญเก่าอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็น เพราะสามารถเข้าใจอะไรได้ง่ายๆ มีครั้งหนึ่งดิฉันไปบวชศีล 8 ก็ไปบ้างหากมีโอกาส ไปก็ไม่ได้อะไร ผิดศีลประจำ แต่ลองไปวัดหนึ่งซึ่งอยู่ไกล มีคนแนะนำ ก็พากันไป ตามประสา เหมือนไปพักผ่อนสมอง ทุกวันที่หลวงพ่อให้นั่งสมาธิ แปลกหลายครั้งที่ดิฉันมึความสุข นิ่ง ว่าง เบา ไม่อยากออกมาจากตรงนั้น หลวงพ่อบอกให้ออก ก็ยังไม่อยากออก พอลืมตามาเห็นหลวงพ่อมองมาที่ดิฉันเหมือนท่านรู้ ดิฉันรู้เลย นี่แหละ ความสุข มันสุขจริงๆ พอกลับมาก็เหมือนเดิม กลัว ทำไม่ได้ แต่พออยู่ไกล้พระ กับวัดมันอุ่นใจ ในความคิดเรา เราคิดว่าหลวงพ่อท่านสามารถช่วยการปฏิบัติได้ ทุกวันคิดถึงหลวงพ่อ อยากกลับไปหาท่านอีกตั้งแต่เราไปปฎิบัติกับท่านมาชีวิตเราก็ดีขึ้นมากก
     
  9. mozard002

    mozard002 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +433
    ลุยโลด!!!! ผมก็เริ่มประมาณคุณนี่แหละครับเพียงแต่มีแรงจูงใจที่ต่างกัน ^^
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  11. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อารมณ์ที่จิตนิ่งสงบดีแล้ว จะไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง และ มีความรู้สึกที่สบาย

    แต่การที่จะอยากให้เป็นเช่นนั้นอีก ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้อีก เหตุด้วยความอยากที่มี

    สิ่งที่ผ่านไปแล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไป อย่าได้สนใจในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว

    ควรสนใจในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่ดีกว่า วางภาระทุกสิ่งให้จิตไม่นึกคิด

    ทำใจให้เป็นกลาง ว่างเปล่าจากทุกสิ่ง มุ่งมั่นในคำภาวนาเพียงอย่างเดียว

    การปฎิบัตินั้น ย่อมมีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ไม่ได้คงที่ทุกวัน ฉนั้นยิ่งควรที่จะพัฒนาให้มากขึ้น

    จนกว่าจะจดจำความรู้สึก หรือ อารมณ์ในขณะนั้น อย่างแม่นยำ ซึ่งจะทำให้หยุดนิ่งสงบได้ง่าย

    หากจิตมีการเคลื่อนโดยที่ไม่ได้บังคับ สิ่งนั้นเป็นการฟุ้งซาน แต่หากเคลื่อนโดยที่เราเป็นผู้บังคับ

    นั้นย่อมแตกต่าง ให้ผลแตกต่างโดยสิ้นเชิง อย่าได้สนใจในระดับขั้น ปฎิบัติไปเรื่อยๆ โดยไม่มุ่งหวังในสิ่งใด
     
  12. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    เอ่อ ลุง.....ลุงก็ลุง ว๊ะ

    มันต้องแยก ข้อดี ข่อเสีย ออกมาให้ได้ก่อน แล้วจะเข้าใจ หนทางการปฏิบัติ
    ได้มากขึ้นนะหลานเอ้ย

    ข้อดี ที่เด่นมาก ไม่ใช่เรื่องจิตรวม แต่เป็นเรื่อง "จิตฉลาดในอารมณ์สมาธิ"

    จิตฉลาดในอารมณ์สมาธิ หมายถึง ขณะที่สรรพสิ่งรอบกายเต็มไปด้วยความ
    วุ่นวาย จิตระคนไปด้วยการกระทบผัสสะ แต่เราสามารถ เฝ้นอารมณ์บางอย่าง
    ออกมาจาก สภาพระคนเหล่านั้น โดยเลือกความเด่นของสิ่งที่วุ่ยวายทั้งหมด
    เหลือออกมาเป็น สิ่งเดียว ได้

    เหมือนเล้งฮุ้ชงโดนตงฟางปุป้ายซัดห่าใบไผ่เข้าใส่ แล้วซัดเข็มและด้ายร้อยรัดแทรกเข้า
    มาท่ามกลางม่านใบไผ่นั้นๆ แล้วเล้งฮุ้ชงก็จับได้ว่ามี เพียงเสียงเดียวที่นิ่งและชัด จับแต่
    เพียงเสียงนั้น เผิกเสียงใบไผ่ที่ปลิวกระทบ บ้างหล่นพื้นออกไปเสีย แล้วสกัดกั้น สิ่งร้อยรัด
    ที่ควรพิจารณาที่สุดเพียงหนึ่งเดียว

    การที่เรา ฉลาดในอารมณ์สมาธิ จะทำให้ สามารถทำสมาธิได้แม้ว่าสิ่งรอบ
    ตัวจะสับสนขนาดไหน

    เรียกอีกอย่างว่า ฉลาดในการหาสถานที่สัปปายะ หรือ ฉลาดในการหามุม
    สงบเพื่อทำสมาธิ จะเห็นว่า ความฉลาดในสถานที่สัปปายะ สถานที่เย็น
    ใจไม่ได้แปลว่า วิ่งเข้าป่า แต่หมายถึง ทำให้ สถานที่ใดๆก็ได้ ให้กลายเป็น
    สถานที่ เย็น ได้ทันที

    จบข้อดี ไปหนึ่ง นะหลานเอ้ย ชี้แค่หนึ่งก็ เหลือแหล่

    * * * *

    แต่ ไม่ว่าอะไรก็ตามหากเรา ยึดมั่นถือมั่นว่า เราทำได้ เราอยู่ เราเป็น เราเปิด

    สิ่งที่เป็นข้อดี ก็จะผลิกมาทำร้าย คนยึดมั่นถือมั่นว่า เราทำได้ เราอยู่ เราเป็น
    เราเปิด ทันที

    สังเกตนะ ตอนที่เราทำสมาธิ เราทำได้ เพื่อนจะกี่คน เสียงจะดังอย่างไร
    ตอนนั้นเราทำได้ สมาธิเกิดดีอยู่

    แต่พอเรา ถอยออกจากสมาธิ แล้วเราเกิดการ สำคัญมั่นหมายว่า ตะกี้เรา
    ทำสมาธิได้ เราอยู่ในสมาธิ เราเปิดรับสมาธิ จิตตรงที่ ยินดี ยินร้าย ที่เกิด
    มาภายหลังที่เราหยุดสมาธิไปแล้ว นั่นแหละ จะผลิกเป็นข้อเสียทันที เสีย
    อย่างไร เผ็ดร้อนอย่างไร ให้รู้สึก ระลึกไปเลยว่า เราแสดงอาการออกไป
    อย่างนั้น สังคมเขามองอย่างไร ซึ่งให้รับรู้ไว้ แต่อย่าลือ อย่ายึดมั่นถือมั่น
    อีกซ้ำซ้อน คือ เพื่อนว่า วิจาร เราอย่างไร ให้เรารับฟัง และ ไม่เก็บมาถือ

    ถ้าเก็บมาถือนะ เราก็จะต่อว่าเพื่อน ไม่เข้าใจเพื่อน ไม่เข้าใจโลก ทำสมาธิ
    ปฏิบัติธรรม เราทำเพื่อ ช่วยโลก ไม่ได้ทำเพื่อเป็น ปฏิปักษ์กับโลก

    จะเห็นว่า ข้อเสีย นั้นมี

    แต่ การจะกำจัดข้อเสียนั้น ง่ายต่อการชี้ ซึ่งก็คือ ความยินดี ยินร้าย หรือ การยึด
    มั่นถือมั่น ที่ตามมาภายหลัง การรู้ การเห็น การอยู่ การเปิด ใดๆ

    นี่ง่ายที่จะชี้ แต่ ตอนลงมือปฏิบัตินะ ยากทุกราย และไม่เลือกสถานการณ์
    และ เวลา ( ลองนึกดีๆ บางที เราก็ระลึก ภาพตอนนั้นขึ้นมาได้อีก )

    ภาษาบาลี เขาจะเรียกว่า "อภิชญา และ โทมนัส ในกาลก่อนๆ" ถ้าข้ามตัว
    นี้ได้ ไม่โดนมันลากไป การปฏิบัติของเราจะพ้นจาก "ข้อดี" และ "ข้อเสีย"

    พ้นเพราะ ทราบทั้ง "ข้อดี" และ "ข้อเสีย"

    เป็น "กลาง" เพราะ"เข้าใจ" "ข้อดี" และ "ข้อเสีย" หรือ "คุณ" และ "โทษ"

    ความเป็นกลางเพราะเข้าใจ ตัวนี้เราเรียกว่า สัมมาทิฏฐิที่ตบแต่งการปฏิบัติ

    ซึ่งเราจะทำไปเรื่อยๆ อาศัยการตบแต่งขันธ์เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิแบบตบแต่ง
    ไปก่อน จนกว่า จะข้ามโคตรไปจากปุถุชน สัมมาทิฏฐิก็จะเป็นสิ่งพ้นการปรุง
    แต่ง กลายเป็น สัมมาทิฏฐิแบบผู้พ้นแล้วตามความสมควรแก่ธรรม

    * * * *

    สรุปคือ เราไม่ได้ทำอะไรผิด ให้ทำต่อ เพียงแต่ เพิ่ม การแยกแยะ ข้อดี
    ข้อเสีย เหตุ และ ปัจจัย ให้มันแยกจากกัน

    "ต่างกรรม ต่างวาระ"

    ขณะทำสมาธิ หยุดจากสมาธิ และ หลังทำสมาธิ นั้น ไม่ใช่ กรรมเดียวกัน
    แล้วใช้ความฉลาดในการ ทันอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง ไว้เสมอ เฝ้นให้ได้
    แยกให้ออก แล้วเราจะเข้าใจ วิธีปฏิบัติธรรม ได้ บริหารได้

    "put the like manner on the right plot"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2011
  13. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +4,062
    ยาววววววววววววววเชียววววววววววววว ไม่ได้พุดมากี่วันนี่ เช็ดพื้นหน่อยยยยย เอ้าเร็วมันลื่น..!:mad::mad::mad:
     
  14. ukitake

    ukitake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +140
    ลุงเลยหรอ ผม15เอง ครับพี่
     
  15. บริสุทธ์

    บริสุทธ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +4
    อยากบอกเกี่ยวกับวัดนิดหนึ่งค่ะ คนที่เปิดใจรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆแล้วมาเปรียบเทียบเพื่อให้เข้ากับจริตของตัวเองก็ไม่แปลก แต่คนที่ปิดหูปิดตาไม่ได้ไปเรียนรู้ และเห็นเอง ได้ยินมา ได้ฟังมา อย่างโน่นอย่างนี้ ระวังนะค่ะมันเหมือนกับคุณกำลังเอาเท้าไปจุ่มลงนรก โดยไม่รู้ตัว หลวงพ่อฤาษีลิงดำสอนลูกศิษย์ อะไรที่เราไม่รู้ไม่ควรวิจารย์ ผลร้ายจะมาสู่ตัวคุณเอง ถ้ายึดติดในตัวอาจารย์มากก็คงไปไม่ถึงไหน ศึษาธรรมะต้องเปิดใจ ใจกว้าง ใช้สติปัญญาพิจารณาดูด้วยตัวเอง พุทธเจ้าสอนให้ใช้เหตุผล ไม่ใช่ใช้อารมณ์ หรืิอความคิดตัวเองตัดสินคนอื่น

    อนุโมทนากับทุกความคิดเห็นค่ะ
     
  16. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    เอาเเรกเริ่มให้มั่นคงก่อน ดูคริปหลวงปู่ วิริยังค์ที่มีคนโพสไว้เรื่องเกียวกับการทำสมาธิให้เข้าใจก่อน วันก่อนยังเห็นอยู่

    แล้วเอาฐานการทำสมาธิให้เเน่น โดยจับคำบริกรรมไม่ไปเสียดายความรู้ที่เกิดขึ้น สนใจในคำบริกรรม จนจิตรวม เอาง่ายๆก่อน ไม่ต้องไปวิจงวิจัยอะไรให้มากความหรอกเดียวก็ติดสัญญายิ่งเสียเวลา เมื่อผ่านตามที่ผมว่ามาจะมองเห็นทาง ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

    แต่ต้องเริ่มที่ ศีล สมาธิ ปัญญา นะครับ

    อนุโมทนาครับ
     
  17. shevvy

    shevvy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2007
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +300
    ภาวนาไป ภาวนาไป เดี๋ยวก็ดีเอง ขอแค่ปฏิบัติให้มันจริง :cool:
     
  18. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    ครั้งแรกเข้าได้ถึงฌานสาม แต่ต่อมาทำไม่ได้ลองวิธีนี้ดูครับ สำหรับการแก้ไขครับ สิ่งที่ปฏิบัติได้แล้วเลือนหายไปนั่นเป็นเพราะว่า มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในวิธีที่ปฏิบัติครับ อยากก้าวหน้าให้ตั้งใจใหม่ครับ ลืมวิธีปฏิบัติแบบเดิมๆนั่นเสีย แล้วปฏิบัติดังนี้ครับ
    1.ให้มีสติ โดยยึดพิจารณาอยู่ที่ใจของตนเองตลอดเวลา คิดดี คิดชั่ว หยาบ ละเอียด ก็ให้รู้ตัว สติ คือความระลึก ให้เอามาตั้งไว้ที่คำบริกรรมแทนตัวจิต คือ จิตไม่มีตัวไม่มีตน จึงต้องให้เอาคำบริกรรมมาตั้งอยู่ บริกรรมพุทโธให้มันอยู่ที่จิต จิตเป็นคนนึก คนคิดพุทโธ จับตัวนั้นไว้ให้ได้ เมื่อเอาพุทโธ มาไว้แล้วมันจะรวมความคิดความอ่านทั้งหมด มารวมอยู่กับพุทโธในที่เดียว นึกเอาพุทโธตัวเดียว ให้เห็นตัวนั้นเสียก่อน ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถทั้งปวงหมดอยู่กับพุทโธอันเดียว
    2.ฝึกหัดจิตคือ ให้รู้จักจิต จับจิตได้ ฝึกสติ ตามรู้ รักษาจิตจนเห็นจิตของตนอยู่ทุกขณะ เมื่อเห็นจิตแล้ว ควบคุมรักษาให้จิตอยู่ในอำนาจของเรา จิตคิดอะไร นึกอะไร ส่งส่ายไปไหนไม่ให้คิด ไม่ให้นึกก็ได้ เรียกว่า เราคุมจิตหรือจิตอยู่แล้วครับ <!-- google_ad_section_end -->
     
  19. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ฌานโลกีย์ ก็แบบนี้แหละ รักษาไม่ได้ก็เสื่อมไปเป็นของธรรมดา

    ถ้าไม่อยากให้ฌานเสื่อมก็ต้องตัดสังโยชน์ให้ได้ 3 ข้อ

    ขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้

    เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...