พนังกั้นน้ำพัง VDO

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ๙๙๙๙๙๙๙๙๙, 26 กันยายน 2011.

  1. ๙๙๙๙๙๙๙๙๙

    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,752
    ค่าพลัง:
    +2,808
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=M3ffhxqLeuc&feature=player_embedded#]พนังกั้นน้ำพัีง - YouTube[/ame]
     
  2. tuato

    tuato เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +482
    น่ากลัวจังนี่แต่พนังกั้นน้ำธรรมดา ถ้าเป็น....
     
  3. ขุนเวช

    ขุนเวช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +245
    ยังกะในหนัง....น่าจะมีแผนการซ้อมหนีน้ำบ้างนะ ดูๆ แล้ว
    ที่ทำให้การอพยพช้า คือ รถติด นี่แหละ
     
  4. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ต้องสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำอื่น ๆ แล้วระดมใช้เครื่องสูบน้ำหลาย ๆ เครื่องสูบน้ำออกจากแม่น้ำระบายลงสู่อ่าวไทย น้ำจะไหลได้เร็วมาก การท่วมจะท่วมไม่นาน หรืออีกอย่างเมื่อเห็นเมฆตั้งเค้ามาในทะเลก็ทำฝนเทียมให้ฝนตกลงไปในทะเลเลยไม่ต้องมาตกในพื้นดิน รัฐบาลลองไประดมมันสมองเพราะมีงบประมาณมากอยู่แล้ว การสร้างเขื่อน การป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ดีกว่าเอาไปสร้างถนน สร้างรถไฟฟ้า เห็นใหมเมื่อน้ำท่วมแล้วถนนก็ใช้ไม่ได้เสียหายไม่รู้กี่สาย นี่ดีนะยังไม่ท่วม กทม. แล้วจะรู้ว่านโยบายรถไฟฟ้า 10 ทางสายจะเกิดอะไรขึ้นที่อยากสร้างกันจัง เผลอ ๆ รถไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นยังไงมั้งก็ไม่รู้ รีบ ๆ สร้างเขื่อน ขุดลอกคูคลองแม่น้ำต่าง ๆ ยิ่งสันดอนปากแม่น้ำยิ่งต้องขุดเพื่อให้น้ำระบายได้เร็วขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2011
  5. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571

    อย่าาาาาาาาาา ไปปปปปปป คิดดดดดด ถึงงงงง มันนนนนน

    น่าาาา กลัววววววว ๕ ๕ ๕
     
  6. Yurichan

    Yurichan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +97

    ด้วย พระอัจฉริยภาพแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อหลวง” ของปวงไทย... ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น นับแต่ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการทำ “ฝนเทียม” ครั้งแรกในปี 2498 จวบจนถึงแนวพระราชดำริในการทำฝนเทียมแบบพิเศษ “ซูเปอร์ แซนด์วิช” ในปี 2548 นี้...

    ในที่สุด...ฝนเทียมหรือ “ฝนหลวง” ก็โปรยปรายประดุจ “น้ำทิพย์” ชโลมดับทุกข์เข็ญประชาชนคนไทยกว่าค่อนประเทศที่ต้องประสบความเดือดร้อนจาก ปัญหา “ภัยแล้ง” ได้อย่างมีประสิทธิผลอีกครั้ง

    ปัญหา “ภัยแล้ง” ในปีนี้...ทุเลาเบาบางลงทันตาเห็น !!
    ด้วยพระเมตตา-พระอัจฉริยะแห่งองค์ในหลวงโดยแท้...

    และ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังพระราชทานคำว่า “สารฝนหลวง” สำหรับเรียกสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบกันในการทำฝนเทียม เพื่อป้องกันประชาชนซึ่งยังไม่เข้าใจกระบวนการการทำฝนเทียมรู้สึกไม่มั่นใจ หรือรู้สึกกลัวว่าฝนเทียมอาจมีอันตรายแฝงจากสารเคมี...

    “ฝนเทียม” ไม่มีอันตรายใด ๆ
    “ปลอดภัย” เพราะไม่ใช่ฝนกรด !!


    ทั้ง นี้ กระบวนการทำฝนเทียมหรือฝนหลวงนั้น จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ หรือสำนักงาน กปร. ระบุว่าแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน โดยสรุปคือ...

    ขั้น ตอนที่ 1 เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็นแกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารที่ใช้กระตุ้นก็ได้แก่... แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมออกไซด์ หรือสารผสมระหว่างเกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสมระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ

    ขั้นตอนนี้เรียกว่า “ก่อกวน” เพื่อก่อเมฆฝน

    ขั้น ตอนที่ 2 เป็นการใช้... เกลือแกง สารยูเรีย สารแอมโม เนียมไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำให้กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากขึ้น

    ขั้นตอนนี้เรียกว่าการ “เลี้ยงให้อ้วน”

    ขั้น ตอนที่ 3 ใช้สารเย็นจัดคือ... ซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำที่มีขนาดใหญ่ และตกกลายเป็นฝน

    ขั้นตอนนี้เรียกว่าการ “โจมตี”

    กระบวน การคร่าว ๆ ที่ว่ามานี้ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เคยนำเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง ส่วนการทำฝนเทียมแบบพิเศษ “ซูเปอร์ แซนด์วิช” ตามที่ในหลวงพระราชทานแนวพระราชดำรินั้น หลักใหญ่ใจความคือการใช้เครื่องบิน 3 ลำปล่อยสารโจมตีกลุ่มเมฆในตำแหน่ง-ระดับความสูงที่ต่างกันเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำให้เกิดฝน และด้วยพระอัจฉริยภาพ...ก็บังเกิดประสิทธิผลดังที่ประชาชนคนไทยได้ประจักษ์ กัน

    อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ...การทำฝนเทียมนั้นนอกจากจะไม่ใช่การนำน้ำ ขึ้นปล่อยบนฟ้าให้ตกลงมาเป็น ฝนแล้ว ยังมิใช่การนำสารเคมีขึ้นไปแปลงให้ตกลงมาเป็นฝนเคมี

    เป็นแต่เพียง “ดัดแปลงสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน”
    น้ำฝนที่ตกลงมาก็คือความชื้น-ไอน้ำตามธรรมชาติ !!

    และ ตอกย้ำความมั่นใจ-ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ด้วยข้อมูลจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งระบุเกี่ยวกับสารที่มีชื่อปรากฏในการทำฝนเทียม อาทิ...

    “เกลือ แกง” หรือโซเดียมคลอไรด์ ปัจจุบันในชีวิตประจำวันของเราก็ต้อง “ใช้ในการประกอบอาหาร” อยู่แล้ว ซึ่งไม่ได้เป็นอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย

    “ยูเรีย” ส่วนใหญ่สารนี้จะนำไปทำเป็น “ปุ๋ย” สำหรับพืช ซึ่งไม่ได้มีอันตรายต่อพืช สัตว์ และคนเรา ในปัสสาวะของคนเราก็มียูเรีย

    “ซิลเวอร์ไอโอได” ที่ใช้ในการสร้างฝนเทียม ก็ทำหน้าที่แค่ “เป็นแกนควบแน่นเพื่อให้ไอน้ำในอากาศมาจับตัว” และควบแน่นเป็นเมฆฝน

    หรือเจ้า “แคลเซียมคาร์ไบด์” ก็เป็นสารที่นำมา “ใช้ทางด้านเกษตรกรรม” ทั่วไป

    “...พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ใช้คำว่า…สารฝนหลวง แทนการใช้คำว่า...สารเคมี เพราะเกรงประชาชนจะตื่นตระหนกว่าฝนเทียมเป็นอันตราย...”

    รัฐมนตรีว่า การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมทั้งบอกว่า... ล่าสุดมีฝนตกและสามารถกักเก็บน้ำได้แล้วกว่า 140 ล้านลูกบาศก์เมตร

    “ฝนเทียม-ฝนหลวง” ช่วยบรรเทา “ภัยแล้ง” ได้แล้วในระดับหนึ่ง
    กักเก็บและนำมาใช้อย่างถูกสุขลักษณะ...ก็ไม่มีอันตรายใด ๆ
    ที่สำคัญ...ถึงฝนจะชุ่มฉ่ำแล้วก็ยังต้องช่วยกัน “ประหยัดน้ำ”.

    ฝนกรด (อังกฤษ: acid rain) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย
    ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide: SO<sub>2</sub>) และไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide: NO) โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ (water: H<sub>2</sub>O) และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (sulfuric acid: H<sub>2</sub>SO<sub>4</sub>) , กรดไนตริก (nitric acid: HNO<sub>3</sub>) และสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อน ชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเมื่อไปโดนกับออกซิเจนอาจถูกกระแสลมพัดพาไปหลาย ร้อยกิโลเมตร และมักจะกลับสู่พื้นโลกโดยฝน หิมะ หมอก หรือแม้แต่ในรูปฝุ่นผงละออง


    การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี มักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเมฆเย็น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และ การทำฝนเมฆอุ่น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในสองสภาวะนี้จะใช้สารในการดัดแปรสภาพอากาศที่แตกต่างกัน<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup>

    สารเคมีที่ใช้ในการทำฝนเทียม

    แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    สารเคมีประเภทคลายความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemical) ปัจจุบันนี้มีใช้ในการทำฝนเทียมในประเทศไทย 3 ชนิด คือ

    • แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide; CaC2)
    • แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride; CaCl2)
    • แคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide; CaO)
    สารเคมีประเภทดูดกลืนความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิต่ำลง (Endothermic Chemicals) ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ 3 ชนิด คือ

    • ยูเรีย (Urea; CO(NH2)2)
    • แอมโมเนียไนเตรด (Ammoniumnitrate; NH4N03)
    • น้ำแข็งแห้ง (Dry ice; CO2(S))
    สารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้นประการเดียว

    • เกลือ (Sodium chloride; NaCl)
    • สารเคมีสูตร ท.1
    การทำฝนเทียมนั้นใช้เพื่อประโยชน์หลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน<sup id="cite_ref-1" class="reference">[2]</sup>
    <sup id="cite_ref-0" class="reference">
    </sup>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...