ด่านยมโลกจะปล่อยวิญญาณที่ต้องรับโทษในเดือนส.ค. - ก.ย.ของทุกปี

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย honey_bee414, 21 กันยายน 2011.

  1. honey_bee414

    honey_bee414 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,665
    ด่านยมโลกระหว่าง เดือนสิงหาคมกับเดือนกันยายนของทุกปี

    ทางการยมโลกจะปล่อยพวกผีวิญญาณที่ต้องโทษสถานเบา
    กับพวกที่จะพ้นโทษแล้ว ให้ออกมา
    รับแจกทานและส่วนบุญกุศลที่โลกมนุษย์.


    [​IMG]

    อ้างอิงข้อมูลจากเว็บพลังจิต
    ภาพขุมนรก



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2011
  2. honey_bee414

    honey_bee414 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,665
    ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทำบุญ เพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ บิดา-มารดา
    ตลอดจนบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้้วค่ะ



    [​IMG]



    เมื่อปีที่แล้ว 2553 ได้ฟังธรรมจากคุณแม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรมบรรยายธรรมช่วงใกล้ๆถึงเทศการวันสารท หรือ วันชิงเปรตค่ะ ขออนุญาติเล่าเป็นธรรมทานเท่าที่จำได้นะค่ะ

    ช่วงที่เขามีทำบุญวันสารท หรือ ทำบุญชิงเปรตกันของทุกปี เขาจะปล่อยพวกที่รับโทษในนรกให้ขึ้นมารับบุญกุศลที่โลกมนุษย์ โดยบรรพบุรุษก็จะขึ้นมาหาลูกหลานที่บ้าน (จะมาเคาะตามฝาบ้าน มาเตือนเราให้รู้) มาเตือนลูก เตือนหลานให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้.... บ้านไหนครอบครัวไหนทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษหมู่ญาติ เมื่อท่านได้รับแล้วก็จะอนุโมธนาและให้พรแก่ลูกหลาน ให้เจริญรุ่งเรือง...

    แต่ถ้าบ้านไหน ครอบครัว ไม่ได้ทำบุญ ทำกุศลอุทิศให้บรรพบุรุษ.. พวกเขาเหล่านั้นก็จะมารอรับบุญเก้อ.. อด..อยาก.. หิวโหย.. เมื่อลูกหลานไม่ได้ทำบุญกุศลให้ ก็จะสาบแช่ง ไม่ให้ได้รับความเจริญ..

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2011
  3. honey_bee414

    honey_bee414 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,665
    ขอเชิญร่วมทำบุญประเพณีชิงเปรต

    ณ วัดพิชัยญาติการาม วรวิหาร เขตคลองสาน

    วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554 เวลา 07.00 น.





    [​IMG]




    ทำบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวภาคใต้ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณ จนถึงปัจจุบัน
    ทั้งนี้เนื่องมาจากความเชื่อทางพุทธศาสนาว่า ในปลายเดือน 10 พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
    โดยเฉพาะผู้ที่มีบาปตกนรกอยู่ซึ่งเรียกว่า “เปรต”

    จะได้รับการปล่อยตัวจากพญายมให้ขึ้นมาพบลูกหลานและญาติพี่น้องของตนในเมือง มนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และให้กลับไปอยู่เมืองนรกดังเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10



    ชาวบ้านจึงจัดให้มีการทำบุญเป็นประเพณีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ครั้งหนึ่ง กับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ที่ล่วงลับไปแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2011
  4. honey_bee414

    honey_bee414 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,665
    การทำบุญสารทเดือนสิบเป็นการแสดงให้ เห็นถึงวัฒนธรรมทางด้านจิตใจของผู้ปฏิบัติที่มีต่อบุรพชน อันเป็นค่านิยมที่สำคัญของชาวใต้และคนไทยทั่วไป ชาวภาคใต้จึงรู้สึกว่างานบุญนี้มีความสำคัญมาก เมื่อใกล้ถึงวันทำบุญเดือนสิบทุกครอบครัวต่างก็เตรียมข้าวของให้พร้อมเพื่อ การทำบุญ ผู้ที่จากภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่น ก็จะเริ่มกลับสู่ถิ่นใต้ เพื่อมาร่วมงานประเพณีโดยทั่วหน้ากัน การทำบุญเดือนสิบจึงเป็นงานประเพณีที่ก่อให้เกิดการชุมนุมของเครือญาติได้ อีกทางหนึ่งด้วย


    ชาวภาคใต้บางคนบางพวกที่ไม่อาจกลับสู่ภูมิลำเนาของตนได้ด้วยความจำเป็นบางประการก็พยายามหาโอกาสทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บุรพชนในวาระทำบุญวัน สารท และถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้ก็จะจัดประเพณีทำบุญนี้ขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งในแหล่งที่ไปอาศัยอยู่นั้น

    ดังเช่น การรวมกลุ่มของชาวภาคใต้ที่เข้าไปอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้ เคียง แล้วพร้อมใจกันจัดประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบขึ้นโดยให้ชื่อว่า “งานวันสารทสหภูมิภาคทักษิณ” ซึ่งจัดขึ้นที่วัดพิชัยญาติการาม วงเวียนเล็ก ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508 และได้จัดติดต่อกันมาทุกปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การทำบุญเดือนสิบเป็นประเพณีสำคัญที่ฝั่งแน่นอยู่ในจิตสำนึกของชาวใต้โดย ทั่วไป...


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2011
  5. honey_bee414

    honey_bee414 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,665
    ประเพณีชิงเปรต



    [​IMG]


    เดือนสิบของไทยซึ่งตรงกับเดือนกันยายนต่อต้นเดือนตุลาคม ช่วงระยะเวลานี้มีความสำคัญกับสังคมไทยอย่างหนึ่ง นั่นคือเป็นช่วงเทศกาลสารทของทุกภาคก็ว่าได้ เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันไป เช่นภาคกลางเรียกว่า 'สารทไทย' ภาคอีสานเรียกว่า “ทำบุญข้าวสาร” ภาคเหนือเรียก “งานทานสลากภัต” ส่วนภาคใต้เรียก “งานบุญเดือนสิบ” หรือ ประเพณีชิงเปรต



    ความเป็นมา


    คำว่า เปรต ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำจำกัดความว่า “สัตว์พวกหนึ่งเกิดใน อบายภูมิ คือ แดนทุกข์ ผีเลวจำพวกหนี่งมีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหงอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในเวลาตอนกลางคืน”

    แต่สำหรับชาวใต้ เปรต มีความหมายว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วมีพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง เป็นต้น ที่อาจจะมีบาปมากต้องตกนรก ญาติเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้มีกรรม แต่ทุกปีในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 พญายมจะปล่อยให้ขึ้นมาพบลูกหลานได้ และกำหนดวันให้กลับไปนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 รวมแล้วมีเวลาอยู่ในโลกมนุษย์ได้ราว 15 วัน


    [​IMG]

    ศูนย์กลางการจัดงานบุญเดือนสิบที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองด้าน พุทธศาสนา และ ศาสนาพราหมณ์ มาก่อน จนเป็นที่สันนิษฐานว่า งานบุญเดือนสิบอาจได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่หลายในสมัยนั้น
    ประเพณีทำบุญเดือนสิบ มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปหลายชื่อตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ตามความเชื่อและตามลักษณะของการจัดงาน เช่น
    1. เรียกตามชื่อเดือนที่จัดงาน เรียกว่า "ประเพณีทำบุญเดือนสิบ"
    2. เรียกชื่อตามประเพณี "สารท" ของอินเดียที่เรารับเอาวัฒนะธรรมนี้มา คำว่า "สารท" เป็นภาษาบาลีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายว่า "เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดูใบไม้ร่วง, เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ" ในอินเดีย คำว่า "สารท" หมายถึง ฤดูใบไม้ร่วง เป็นฤดูกาลที่พืชพันธุ์ธัญญาหารกำลังผลิดอกออกผล ชาวอินเดียจะเก็บเกี่ยวไปทำขนมเซ่นพลีบูชาผีปู่ย่าตายาย และเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อตอบแทนพระคุณที่บันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร บางแห่งบางท้องถิ่นเรียกงานนี้ว่า "ประเพณีทำบุญวันสารท" หรือ "ประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ"
    3. เรียกตามชื่อตามขั้นตอนและลักษณะสำคัญของงานประเพณี เช่น "ประเพณียกหมรับ" หรือ "ประเพณีชิงเปรต"
    4. เรียกชื่อตามความมุ่งหมายหลักของประเพณี เพราะประเพณีการทำบุญนี้มีความมุ่งหมายหลักอยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว บางท้องถิ่นจึงเรียกประเพณีนี้ว่า "ประเพณีทำบุญตายาย" หรือ "ประเพณีรับส่งตายาย"

    [​IMG]


    ขั้นตอนพิธีกรรมงานบุญเดือนสิบ

    ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้านไม่ถือเป็นวันสำคัญนัก ง่าย ๆ เพียงจัดเตรียมอาหารหวานคาว ไปทำบุญถวายพระภิกษุสงฆ์ตามวัดวาอาราม เพื่อต้อนรับการกลับมาของตายาย บางที่ชาวบ้านเรียกว่า วันรับตายาย จัดหมรับ หรือ สำรับอาหารตามสมควรไม่จัดใหญ่โต ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชบางท้องถิ่นเรียกว่า วันหมรับเล็ก แต่ในวันแรม 15 ค่ำซึ่งเป็นวันสำคัญ (วันแรม 13 ค่ำ แรม 14 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ) ชาวบ้านจะจัดหมรับ หรือสำรับอย่างใหญ่ เรียกว่า วันหมรับใหญ่ มีขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม ดังนี้
    1. วันเตรียมการหรือวันจ่าย อยู่ในช่วงระยะเวลาก่อนวันแรม 1 ค่ำ ประมาณ 15-20 วัน เป็นการเตรียมการจับจ่ายใช้สอยซื้ออาหาร ขนม สิ่งของเครื่องใช้สำหรับการทำบุญ
    2. การจัดหมรับ ส่วนใหญ่จะจัดกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้านจะชุมนุมรวมตัวกันที่ลานวัด เพื่อเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ตั้งแต่ภาชนะที่นิยมใช้ เช่น กระบุง กระจาด หรือถาด กะละมังก็ได้ แล้วนำของแห้งที่จำเป็นใช้ในชีวิตประจำ เช่น ข้าวสาร หอมแดง กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำปลา น้ำตาล ปลาเค็ม เนื้อเค็ม มะพร้าว ฟัก กล้วยดิบ มัน อ้อย ข่า ตะไคร้ ขมิ้น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ขี้ไต้ ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย และเครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูร พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญ
    ประจำบ้าน ธูปเทียน น้ำดื่ม แต่สิ่งสำคัญที่ต้องจัดใส่หมรับ คือ ขนม 5 อย่าง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานเดือนสิบ



    อ้างอิงข้อมูลจาก (บทความ ประเพณีชิงเปรต..!)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2011
  6. samaice

    samaice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +1,017
    ขอบคุณค่ะที่นำมาแบ่งปัน
     
  7. Bosszat

    Bosszat สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +14
    ขอบคุณมากๆครับพี่ ที่นำสิ่งดีๆมาเสนอ รักเคารพคุณแม่ชีมากมาย
     
  8. กระติ๊บ

    กระติ๊บ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    672
    ค่าพลัง:
    +939
    อนุโมทนาค่ะ ได้ความรู้มากเลยค่ะ..ก่อนหน้านี้ไม่ทราบเกี่ยวกับพิธี ชิงเปรต มาก่อนเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...