เื่ขื่อนแก่งเสือเต้น

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย deity, 9 ตุลาคม 2011.

  1. deity

    deity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +1,645
    ขอสนับสนุนให้รัฐบาลรีบสร้างแก่งเสือเต้น

    มันเป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่สามารถช่วยป้องกันน้ำท่วมได้ในระยะยาว
     
  2. mamboo

    mamboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +1,973
    mamboo ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องน้ำท่วมเลยอ่ะ >< เรื่องภูมิศาสตร์ ก็ไม่รู้เรื่อง

    แต่ งง ว่า..

    ทำไมปีที่แล้ว มันท่วม สงขลา กับ โคราช แล้วก็ สระบุรี

    แต่ทำไมปีนี้ มันไปท่วมอีกจังหวัดหนึ่ง (แล้วตอนนี้ กทม. ก็อากาศหนาวแล้วนะ เร็วมากๆ)

    ดูเหมือน แต่ละปี มันไม่เหมือนกัน (นี่หนาวแล้วเนี่ย อีกไม่กี่วันคงจะหนาวกว่านี้)

    จำได้ว่า เมื่อ 2-3 ปีก่อน กทม. หนาวแค่ 3 วัน (ตอนเดือน ธันวาคม) มกรา ก็ร้อนแระ

    แต่ปีที่แล้ว คงจำกันได้ ว่ามันหนาวมากๆๆๆ (กลับไปบ้านขอนแก่น ยิ่งหนาวใหญ่เลย) แล้วมันมาหนาวเดือนมีนาอ่ะ ประหลาดมากๆ

    แล้วปีนี้ หนาวเร็วมากๆ นี่เพิ่งต้นตุลาคมนะ >< หนาวซะแระ O.O

    แล้วปีหน้า น้ำจะไปท่วมจังหวัดไหนเนี่ย ?? ><

    ดูๆไป mamboo ว่า ทุกๆจังหวัด แทบจะไม่มีระบบการระบายน้ำที่ดี (บางจังหวัดก็คงดีอ่ะนะ แต่หลายๆจังหวัด ไม่ดี)

    แล้วพอเจอฝนกระหน่ำ น้ำพัดมาจากประเทศอื่น (ผ่านอากาศ ก็คือ เมฆ อ่ะแหละ) ก็มาท่วมประเทศไทย

    แบบนี้ ทุกๆจังหวัดก็มีสิทธิ์โดนน้ำท่วมสิ่ ><

    แล้วภาคเหนือ เมื่อ 4-5 เดือนก่อน เชียงรายกับเชียงใหม่อ่ะ .. ทำไม แผ่นดินไหว ?? O.O

    มันแปลกๆแล้วนะ..

    ถ้าทำ video เก่งๆ จะทำให้ดูเลย ว่ามันแปลกๆแล้วแหละ มันไม่ปกติแล้วแหละ
     
  3. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,022
    โถ่ๆ จขกท ตอนนี้ประเทศไทยมีทั้งหมดกี่เขื่อน เขื่อนทั้งประเทศรวมกันก็กั้นน้ำไม่อยู่น่ะ ไม่เห็นหรือ สร้างเขื่อนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่แท้จริงน่ะ
     
  4. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    เขื่อนในเมืองไทยมีลำดับความสำคัญในการผลิดไฟฟ้าเป็นลำดับแรก ชลประทานเป็นเรื่องรอง
     
  5. Siani_3D

    Siani_3D เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +607
    แต่ที่แน่ๆ บริเวณเหนือเขื่อนที่จะสร้าง ท่วมแน่นอน
     
  6. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    เอาเถอะ สร้างไม่สร้างไม่สำคัญ
    อย่าให้มันมาท่วมกรุงเทพเป็นพอ
     
  7. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    มีเขื่อนช่วยเก็บน้ำกันน้ำท่วม และเก็บเอาไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ ที่ได้ข่าวมาคือน้ำในเขื่อน
    ถูกกักเก็บไว้เพื่อใช้หน้าแล้ง แต่บังเิอิญคาดการณ์ผิดเพราะฝนดันตกต่อเนื่อง เลยระบาย
    น้ำออกไปไม่ทัน น้ำเลยเต็มเขื่อนเร็ว ทั้งๆที่จริงแล้วถ้าคาดการณ์ถูกอาจจะระบายน้ำออก
    ไปก่อนก็จะมีปัญหาน้อยกว่านี้ ส่วนการมีเขื่อนเพิ่มน่าจะช่วยเพิ่มการยืดหยุ่นของการเก็บน้ำ
    ไว้หน้าแล้ง และกักน้ำช่วงน้ำเย๊อะได้ครับ
     
  8. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    เขื่อนเป็นที่กักเก็บน้ำเพื่อบรรเทาความแห้งแล้งและน้ำท่วม ได้ ในหลายพื้นที่ แต่การคาดการณ์ที่ผิด ไม่สามารถระบุได้มันเกิดจากอะไร นี้แหละธรรมชาติครับ ไม่มีใครควบคุมได้
     
  9. Omniverse

    Omniverse สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +12
    OMG! มีคนคิดว่าเขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้เหลืออยู่ด้วยหรือเนี่ย เยี่ยมมว๊ากกกกก :cool:

    แก่งเสือเต้นเก็บกักน้ำได้แค่ร้อยกว่าล้านลบ.ม. แต่ที่ท่วมทั้งภาคกลางตอนนี้มีน้ำมากกว่านั้นเป็นร้อยๆ เท่า

    จะต้องสร้างเขื่อนให้ทั่วภาคเหนือเลยไหมล่ะท่าน น้ำจะได้ไม่ท่วมบ้านคนภาคกลางและกรุงเทพแดนเทวดา

    ส่วนพวกกระผมก็โดนอพยพไปอยู่บนดอย ดินปลูกพืชอะไรไม่ได้ พอเข้าไปถางป่าทำไร่ไถนาป่าไม้ก็จับเข้าคุกเข้าตะราง

    สุดท้ายก็ต้องไปเป็นแรงงานรับจ้างในเมืองกรุง ถ้ารายได้ไม่พอกินก็ต้องไปลักขโมยเงินทองชาวบ้านเขา ส่วนผู้หญิงและเด็กสาวก็.....
    จินตนาการเอาเองละกันท่านผู้เจริญทั้งหลาย!!! :'(
     
  10. นักรบโบราณ

    นักรบโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +973
    คิดง่ายๆ...ตอนนี้ ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่น้อยทั้งหลายช่วยเก็บไว้ให้จำนวนเท่าไหร่

    ถ้าปล่อยลงมาทั้งหมด หรือไม่มีเขื่อนใหญ่น้อยต่างๆเก็บไว้ให้ อะไรจะเกิดขึ้น

    มองเอาในปัจจุบันวันนี้กันเลย น่าจะพอมองเห็นกันไม่ยาก

    ทุกอย่างมีผลได้ ย่อมมีผลเสีย สุดท้ายต้องดูประโยชน์ส่วนรวม

    ว่าได้หรือเสียมากกว่ากัน ควรมองกว้างๆส่วนรวมเป็นหลักด้วย
     
  11. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    น่าจะเอาข้อมูลที่เป็นงานวิจัยมาให้อ่านกันนะคะ ประชาชนทั่วไปอย่างเราๆ จะได้ช่วยกันคิดพิจารณาแบบมีทิศทางหน่อย เวลาไปอ่านในเว็บข่าวที่มีบอร์ดให้แสดงความเห็นท้ายบทความ คนเข้าไปอ่านก็ได้ฟังข้อมูลทั้งสองฝ่าย

    ดิฉันเอางานวิจัยจากเว็บหนึ่งมาให้ลองอ่านกัน เห็นว่าเขาเสนอแนวทางแก้ปัญหาเอาไว้ด้วย ถ้าใครมีงานวิจัยโต้แย้งก็นำมาลงให้อ่านด้วยก็ดีนะคะ ดิฉันจะลองหาเองด้วย จะได้ฟังความรอบด้านกัน


    งานวิจัย "เขื่อนแก่งเสือเต้น" เรื่องที่นักการเมืองไม่อยากรู้ แต่ "นายกฯ" ควรต้องรู้

    16 สิงหาคม 2011


    [​IMG]


    เมื่อประสบการณ์พร้อมงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า กว่า 40 ปีที่ผ่านมา แม้มีเขื่อนขนาดใหญ่แต่ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ก็ยังทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี แต่สำหรับ “โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น” เหตุผลใดๆ ก็อาจไม่เข้าตานักการเมือง




    บทเรียนเขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศไทย

    จากประสบการณ์กว่า 40 ปี ที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เราเห็นว่า แม้จะมีเขื่อนขนาดใหญ่แล้ว อาทิ ลุ่มน้ำปิง มีเขื่อนภูมิพล ลุ่มน้ำวัง มีเขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา ลุ่มน้ำน่าน มีเขื่อนสิริกิตต์ แต่ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง กลับทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ดังนั้นข้ออ้างที่ว่าหากมีเขื่อนขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำยม อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน หรือ เขื่อนยมล่าง แล้ว จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่จริง ในทางกลับกัน เขื่อนขนาดใหญ่ดังกล่าว จะนำไปสู่การทำลายป่าสักทองธรรมชาติผืนสุดท้ายของประเทศไทย กว่า 24,000 ไร่ (สองหมื่นสี่พันไร่) และป่าเบญจพรรณอีกกว่า 36,000 ไร่ (สามหมื่นหกพันไร่) รวมพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไปกว่า 60,000 ไร่ (หกหมื่นไร่) จึงเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งในการผลักดันเขื่อนขนาดใหญ่ในแม่น้ำยม และลุ่มน้ำยม อีกทั้งยังมีผลการศึกษา การวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ที่ออกมา ก็มีความชัดเจนแล้วว่าไม่สมควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

    [​IMG]
    ป่าสักทองกว่า 24,000 ไร่ ออกดอกบานสะพรั่ง สวนทางกับคำพูดเสธหนั่นที่ว่าไม่มีป่าสักทองแล้ว
    (บันทึกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา)

    ผลการศึกษากรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นที่ผ่านมา

    1.จากการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี ได้ชี้ชัดว่า บริเวณที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ตั้งอยู่แนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก คือ รอยเลื่อนแพร่ ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นการเสี่ยงอย่างมากที่จะสร้างเขื่อนใกล้กับรอยเลื่อนของเปลือกโลก เสมือนหนึ่งเป็นการวางระเบิดบนหลังคาบ้านของตัวเอง สันเขื่อนที่สูงจากท้องน้ำถึง 72 เมตร หากมีการแตกหรือพังทลายลงมาจะมีคลื่นยักษ์ยิ่งกว่าสึนามิหลายเท่า

    2.จากการศึกษาของ องค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO.) ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันน้ำท่วม กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถ เยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ เพียง 8 เปอร์เซ็นต์ ล่าสุด กรมชลประทานศึกษาแล้วพบว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นสามารถเยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ ถึง 9.6เปอร์เซ็นต์ (ร้อยละเก้าจุดหก หรือน้ำท่วมสูง หนึ่งเมตร หากมีเขื่อนแก่งเสือเต้น จะเยียวยาปัญหาได้เก้าจุดหกเซนติเมตร)

    3.จากการศึกษาของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI.) ด้วยเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน

    4.จากการศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา ที่มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศน์ของอุทยาน แห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าที่จะถูกน้ำท่วมไว้จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ และชุมชนอย่างมาก

    5.จากการศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลทางด้าน ป่าไม้ สัตว์ป่า ที่มีข้อสรุปว่า พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติ ผืนเดียวที่เหลืออยู่ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ เพื่ออนาคตของประชาชนไทย และมวลมนุษยชาติ

    6.จากการศึกษาของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยเหตุผลในการจัดการน้ำ ยังมีทางออก และทางเลือกอื่น ๆ อีกหลายวิธีการ ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

    7.จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เสนอ 19 แผนงานการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม ได้อย่างเป็นระบบทั้งลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

    [​IMG]
    “การจัดการน้ำต้องฟังเสียงประชาชน ป่าเป็นเรื่องสำคัญ ผมเป็นอธิบดีกรมป่าไม้มาก่อน"
    ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี แกนนำพรรคเพื่อไทย รับข้อเสนอภาคประชาชน ที่ ม.รังสิต 24 มิถุนายน 2554

    แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม

    การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุผล มองปัญหา ดิน น้ำ ป่า ชุมชน เป็นหนึ่งเดียว จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ต้องลงมือทำหลายอย่างร่วมกันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลยแล้วรอเทพเจ้าแก่งเสือเต้นจะมาช่วย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ข้อเสนอเหล่านี้ อาจใช้งบประมาณไม่มากนัก อาจไม่ถูกใจนักการเมือง แต่มันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ เช่น

    1.การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ การอนุรักษ์ป่า การปลูกป่าเสริม การปกป้อง พิทักษ์ รักษา และการจัดการป่า โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม นับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพของระบบนิเวศน์ ให้กลับคืนมาสู่สมดุล อย่างยั่งยืน โดยเน้นการฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้เป็นวาระแห่งชาติ

    2.การผลักดันแนวคิดการจัดการน้ำชุมชน ให้เป็นแผนแม่บทในการจัดการน้ำแห่งชาติ โดยใช้แนวทางทางภูมินิเวศวิทยา การจัดการน้ำแบบใหม่ และการพัฒนาที่ยั่งยืน มองภาพรวมการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ โดยมีชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนาแผนการจัดการน้ำของแต่ละชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการวางแผนและสนับสนุนงบประมาณในการผลักดัน แผนการจัดการน้ำชุมชนให้เป็นรูปธรรม

    [​IMG]

    3.แผนการกักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา กรณีของลุ่มน้ำยม มีลำน้ำสาขาถึง 77 สาขา ซึ่งสามารถผลักดันให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดกลางประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยใช้งบประมาณอ่างละไม่เกิน 200-300 ล้านบาท รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่น้ำยม สามารถดำเนินการได้โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กตามที่มีรายละเอียดในแผนการ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยแล้วหมู่ บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น

    4.แผนการกักเก็บน้ำ หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งกักเก็บน้ำ ในกรณีของลุ่มน้ำยม มีอยู่ 96 ตำบล ใช้งบประมาณไม่เกินแหล่งละ 5-10 ล้านบาท ซึ่งแผนงานเหล่านี้จะกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนไม่มากนัก แต่จะมีประโยชน์ต่อชาวบ้านและชุมชนโดยตรงในแต่ละพื้นที่

    5.การขุดลอกตะกอนแม่น้ำ อันจะสามารถฟื้นฟูแม่น้ำให้กลับมาทำหน้าที่แม่น้ำตามธรรมชาติได้ การทำทางเบี่ยงน้ำเพื่อระบายออกนอกเขตชุมชน การสร้างเครือข่ายทางน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังนอกเขตชุมชน เป็นต้น

    6.การฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สามารถทำได้โดย ขุดลอกคูคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับหนองบึง การยกถนนให้สูงขึ้น หรือเจาะถนนไม่ให้กีดขวางทางน้ำ การสร้างบ้านเรือนให้อย่างน้อยชั้นล่างสุดต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด การแนะนำให้เกษตรกรการปลูกพืชอายุสั้น พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การกำหนดให้เป็นเขตเสี่ยงภัยจากน้ำท่วม การหยุดยั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ขวางทางน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำยม การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น เป็นที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่งประมง เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ยังสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทางตอนล่างลงมาตลอดจนถึงกรุงเทพได้ เนื่องจากที่ราบลุ่มแม่น้ำยมเป็นที่พักน้ำ ที่สามารถพักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกันถึง 500-1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร (ซึ่งมากกว่าความจุของเขื่อนแก่งเสือเต้นเสียอีก

    7.การจัดการทางด้านความต้องการ ในปัจจุบันลุ่มแม่น้ำยมมีระบบชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง 24 แห่ง ระบบชลประทานขนาดเล็ก 220 แห่ง บ่อน้ำตื้น 240 บ่อ และระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าของกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน 26 แห่ง รวมพื้นที่ชลประทาน 1,117,465 ไร่ ระบบชลประทานเหล่านี้ล้วนแต่มีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือ ประสิทธิภาพเฉลี่ยระบบชลประทานของกรมชลประทานมีเพียง 35% ส่วนระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 57% ขณะที่ประสิทธิภาพระบบชลประทานทั่วโลกเฉลี่ย64% การจัดการด้วย DSM โดยการซ่อมบำรุงระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้ใช้น้ำ การให้ความรู้แก่ผู้ใช้น้ำจะสามารถทำให้เหลือน้ำจำนวนมาก เฉพาะระบบของกรมชลประทานถ้าใช้ระบบ DSM จะเหลือน้ำถึง 101 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับปริมาณในการอุปโภคบริโภคของคนในลุ่มแม่น้ำยมถึง 7.6 ล้านคน

    8.การพัฒนาระบบประปา การขาดแคลนน้ำในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ความต้องการน้ำมีสูง ไม่ได้เกิดจาก การขาดน้ำดิบเท่านั้น แต่เกิดจากระบบการผลิตน้ำประปาของการประปาภูมิภาคไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น เมืองสุโขทัยขาดแคลนน้ำประปาในฤดูแล้ง เพราะระบบการผลิตน้ำประปามีความสามารถในการผลิตน้ำประปาเพียง 60 % ของความต้องการน้ำประปาสูงสุดในฤดูแล้ง การขยายระบบการผลิตน้ำประปาจะสามารถช่วยในการขาดแคลนน้ำอุปโภค–บริโภค ในเมืองใหญ่ได้อย่างไรก็ตามการรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำในฤดูแล้งก็ยังเป็น สิ่งจำเป็น

    9.การสนับสนุนให้เกิดการฝายต้นน้ำ ฝายทดน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ บ่อ หรือ สระน้ำในไร่นา รวมทั้งระบบเหมืองฝายที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น จะสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้าน และชุมชน อย่างเป็นจริง มากกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น

    [​IMG]
    ป่าแม่ยม อุทยานแห่งชาติแม่ยม ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่

    บทสรุปของผลงานวิจัยเรื่องเขื่อนแก่งเสือเต้น (ที่นักการเมืองไม่อยากรู้)

    งานวิจัยเหล่านี้ได้ข้อสรุปและชี้ให้เห็นว่าไม่สมควรที่จะสร้างเขื่อน แก่งเสือเต้น เพราะกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมาก และข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เหล่านี้อาจไม่เข้าตานักการเมือง เพราะงบประมาณไม่มากนัก ไม่เหมือนโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่ต้องใช้งบประมาณ 12,000 ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสองพันล้านบาท) โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จึงเป็นบททดสอบวุฒิภาวะของนายกหญิงคนแรกของประเทศไทย

    เรื่อง: ประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี
    กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่
    ภาพ: น้อย ยอดคม เว็บประชาไท
    และเว็บกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
     
  12. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    บอกตามตรง หาบทความงานวิจัยที่สนับสนุนไม่ค่อยจะเจอเลย
    ส่วนใหญ่เป็นแค่บทความข่าว เช่น..


    [​IMG] นักวิชา​การอ้างผลศึกษา​เขื่อน​เสือ​เต้น​แก้น้ำท่วม


    ข่าวทั่ว​ไป หนังสือพิมพ์​ไทย​โพสต์ -- ​เสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2554 00:00:05 น.
    ​ไทย​โพสต์ * "นักวิชา​การ" ​เผยผลศึกษา​แนวทาง​แก้น้ำท่วม ชี้ชัดสร้าง​เขื่อน​แก่ง​เสือ​เต้น​เป็นผลดี​ทั้งด้านวิศวกรรม​และ​ เศรษฐศาสตร์ ช่วย​เ​ก็บกักน้ำ​ได้​ถึง 1,100 ล้านลูกบาศก์​เมตร งบ​แค่ 1 หมื่นล้านบาท ​แถมระยะ​เวลาดำ​เนิน​การ​เพียง 2 ปี​เสร็จ

    เมื่อวันที่ 19 ส.ค. นาย​เจษฎา ​แก้วกัลยา ​ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรม ​การทรัพยากรน้ำ​แห่งชาติ กล่าวระหว่าง​การ​เสวนา​เรื่อง "น้ำ" วิกฤติ ​หรือ​โอกาส จัด​โดยสถาบันน้ำ​เพื่อ​ความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรม​แห่งประ​เทศ​ไทย (ส.อ.ท.) ตอนหนึ่งระบุว่า ช่วงนี้ฝนมา​เร็วกว่าปกติ ​ทำ​ให้มีน้ำต้นทุน​เพิ่มสูงมากจน​เกิน​ความพอดี​ไป ​ซึ่งรัฐบาลชุดนี้มีน​โยบายจะ​แก้ปัญหาน้ำท่วม​เร่งด่วนอยู่​แล้ว ​จึง​ให้​เวลา 1 ​เดือน ​ใน​การวาง​แผนบริหารจัด​การว่าจะมี​แนวทาง​ใดบ้าง ​โดย​เบื้องต้นกรมชลประทาน​ได้มอบหมาย​ให้มหาวิทยาลัยมหิดลศึกษา​ในทุกมิติ​ ถึง​แนวทาง​การตัดยอดน้ำ ​เพื่อลดปัญหาน้ำท่วม​ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ​เพื่อนำ​เสนอ​ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา


    นาย​เจษฎากล่าวว่า ​ในภาพรวม​ได้มี​การศึกษา​ไว้ 4 ​แนวทาง คือ 1.มอง​ถึงสภาพปัจจุบันประสิทธิ ภาพของอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ ​ให้​ทำงาน​ได้มากขึ้น ​เช่น ​การซ่อม บำรุงสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ 2.พัฒนาสิ่ง ก่อสร้างขนาดกลาง (ขนาด​ความจุน้ำประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์​เมตร) ​เช่น ​การสร้าง​แก้มลิง ฝาย​และอ่าง​เ​ก็บน้ำต่างๆ 3.สร้าง​เขื่อน 2 ​เขื่อน​ใหญ่​เพิ่ม​ในพื้นที่หัว​และท้าย พื้นที่จะก่อสร้าง​เขื่อน​แก่ง​เสือ​เต้น​เดิม ​และ 4.ดำ​เนิน​การก่อสร้าง​เขื่อน​แก่ง​เสือ​เต้นพร้อมกับพัฒนาสิ่งก่อสร้างที่ มีอยู่​เดิม​ให้ดีขึ้น


    "ผล​การศึกษาที่ดีที่สุดคือ​แนวทางดำ​เนิน​การสร้าง​เขื่อน​แก่ง​เสือ​ เต้นพร้อมพัฒนาสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่​ให้ดีขึ้น ​ซึ่ง​แนวทางนี้จะ​เป็นผลดีทางด้านวิศวกรรม​และ​เศรษฐศาสตร์ ​เพราะ​ใช้​เงิน​ใน​การดำ​เนิน​การรวม 10,000 ล้านบาท สามารถรับน้ำ​ได้ 1,100 ล้านลูกบาศก์​เมตร ​โดยจะ​ใช้​เวลาก่อสร้าง​เพียง 2 ปี​เท่านั้น ​เพราะมี​การออก​แบบ​ไว้​แล้ว นอกจากนี้ยังออก​แบบ​เผื่อ​ไว้​ใช้ผลิต​ไฟฟ้า​ได้ด้วย" นาย​เจษฎากล่าว

    ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรม​การทรัพยากรน้ำ​แห่งชาติ กล่าวว่า อีก​แนวทางที่มี​ความ​เป็น​ไป​ได้คือ ​ไม่สร้าง​เขื่อน​แก่ง​เสือ​เต้น ​แต่ต้องสร้าง ​เขื่อนขนาด​ใหญ่ 2 ​แห่ง ​เพื่อดักน้ำจากหัว​และท้ายพื้นที่ที่จะสร้าง​เขื่อน​แก่ง​เสือ​เต้น​แทน ​ซึ่งจะ​ใช้​เงินลงทุนรวมประมาณ 10,000 ล้านบาท​เช่นกัน ​แต่รับน้ำ​ได้​เพียง 600 ล้านลูกบาศก์​เมตร​เท่านั้น ​และต้อง​ใช้​เวลาก่อสร้างรวม 4 ปี ​เนื่องจากต้อง​ใช้​เวลาออก​แบบ​และ​ทำราย งานด้านสิ่ง​แวดล้อมก่อน


    "ขณะนี้ผล​การศึกษาดังกล่าว​เสร็จ​แล้ว อยู่ระหว่างรอนำ​เสนอต่อคณะกรรม​การน้ำ​แห่งชาติ ​ซึ่งยังต้องรอ​การ​แต่งตั้งคณะกรรม​การชุดนี้ขึ้นมา​ใหม่ก่อน ​เนื่องจากมีนายกรัฐมนตรี​เป็นประธาน หลังจากนั้น​จึงจะนำ​เสนอ ต่อ ครม.​เพื่อพิจารณาว่าจะดำ​เนิน​การอย่าง​ไร" นาย​เจษฎากล่าว.

    ใครเจอบทความงานวิจัยว่าควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นช่วยโพสต์ด้วยค่ะ
     
  13. konngaam

    konngaam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    615
    ค่าพลัง:
    +369
    อันที่จริงควรกลับไปศึกษาว่าทำไมน้ำถึงท่วมหนัก ในรอบร้อยปีที่ผ่านมา
    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วม แน่นอนว่า คือป่า ปัญหาตัดไม้ทำลายป่าถือเป็นตัวการลำดับต้นๆ แต่ปัญหารองมาซึ่งไม่ค่อยมีคนพูดกันหรือมีพูดแต่ไม่มีคนสนใจ คือ การสร้างสิ่งต่างๆปิดทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการถมที่ถมคลอง สิ่งปลูกสร้าง หรือแม้แต่คลองตื้นเขิน ก็เป็นปัญหาสำคัญ หรืออาจเป็นเพราะมันทำไปแล้วแก้อะไรไม่ได้แล้ว เลยไม่ต้องพูดแบบนั้น

    ประเทศไทยเราอาจเพิ่งเคยเจอปรากฏการณ์ลานินญ่า ที่ส่งผลต่อมรสุม ทำให้เกิดพายุมากกว่าที่เราเคยเจอตามปกติประมาณ 3-4ลูก เลยทำให้การระบายน้ำที่เจอมรสุมไม่กี่ลูกก็มีปัญหา ปีนี้โดนไป 5 ลูกจึงทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก
    ชลประทานจำเป็นต้องหันกลับไปดูปัญหาทางน้ำ แม่น้ำตื้นเขิน ไม่ใช่เพราะน้ำน้อย แต่เป็นเพราะคลองตื้นต่างหาก

    ไปลองแก้ปัญหานี้ก่อนแล้วค่อยมาว่าเรื่องเขื่อนแก่งเสือเต้นดีกว่า
     
  14. AFIKLIFI๋

    AFIKLIFI๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    869
    ค่าพลัง:
    +78
    สร้างท่อระบายน้ำขนาดใหญ่
    เดี๋ยวนี้นะ ตั้งแต่เหนื่อจรดใต้
     
  15. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ต้องสร้างเขื่อนกั้นอ่าวไทยครับ
    แล้วสูบน้ำจากเจ้าพระยาออกทะเล
     
  16. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    รู้สึกไหมว่า มนุษย์ยุคเราเหมือนเป็นยุคที่ต้องเลือกระหว่าง...

    การพยายามปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ อยู่อย่างสอดคล้องและสมดุลกับธรรมชาติให้มากที่สุด

    กับ

    การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางแล้วพัฒนาต่อไปในทิศทางที่ต้องต่อสู้กับธรรมชาติให้มากที่สุด

    ส่วนตัวแล้ว รู้สึกว่ามันเป็นอย่างนั้นนะ
     
  17. DarKKazE

    DarKKazE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +240
    เห็นด้วยอย่างแรงครับ

    ปรับปรุงคูคลองที่มีอยู่ก่อน
     
  18. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    แล้วอะไรคือแนวคิด water way?
     
  19. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    การทำเขื่อนไม่สามารถช่วยได้เลยในกรณีที่น้ำมันมาเยอะอย่างปีนี้
    แต่การสร้างแม่น้ำขนาดใหญ่พร้อมคันกั้นริมแม่น้ำที่สูงและแข็งแรงเพื่อให้สามารถระบายออกทางทะเลไดเร็วที่สุดจึงจะช่วยได้ แต่ใครจะไปรู้ว่าปีนี้น้ำจะมากมายขนาดนี้

    แล้วปีหน้าน้ำก็จะมากกว่าปีนี้อีกแล้วจะทำอย่างไร คำตอบคือทำใจครับ

    อันที่จริงถ้าช่วงแรกที่ฝนเริ่มตก แล้วเขื่อนไม่เก็บน้ำเอาไว้เลยหรืออาจจเก็บไว้เพียง 20 % ก็พอจะช่วยได้บ้างโดยเฉพาะทางพื้นที่ตอนล่าง หากพื้นที่ตอนล่างโดนผลกระทบจากน้ำท่วมบางพื้นที่ ถึงค่อยๆเพิ่ม % การเก็บกักน้ำเป็น 30 % 40% อย่างช้าๆ ก็จะเป็นการชลอความรุนแรงของน้ำท่วมของพื้นที่ตอนล่างได้ แต่คนที่รับผิดชอบเก็บน้ำเพื่อใช้ในหน้าแล้งคงไม่มีใครมาเสี่ยงที่จะปล่อยน้ำทิ้งไปก่อนแน่นอน เพราะเขากลัวว่าฝนเกิดหมดขึ้นมาพวกเขาก็ถูกด่าถูกดองขั้น คงไม่มีใครกล้าเสี่ยงหรอกครับ
     
  20. noinid0209

    noinid0209 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    742
    ค่าพลัง:
    +570
    เห็นด้วยครับ แต่ความคิดผม ที่คิดไว้ คือ ทำฉากกั้นน้ำ ตลอดแนวแม่น้ำ
    คือ เวลาที่น้ำเพิ่มสูงขึ้นเราก็ทำการยกฉากขึ้นตามระดับน้ำ แต่แนวคิดน้ำ
    มันจะใช้งบประมาณสูงมาก แต่ถ้าทำได้ผมว่า แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้แน่นอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...